โรค ที เอ็ ม ดี

   โรคทีเอ็มดีสามารถรักษาให้หายได้ โดยทันตแพทย์จะประเมินความรุนแรงของอาการ รวมถึงการแนะนำการบริหารขากรรไกร เพื่อช่วยลดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อบดเคี้ยวและช่วยให้อ้าปากได้กว้างกล้ามเนื้อมีความยืดหยุ่นแข็งแรงข้อต่อขากรรไกรขยับได้คล่องขึ้น

ข้อต่อขากรรไกร หรือ Temporomandibular joint (TMJ) เป็นข้อต่อเชื่อมต่อขากรรไกรล่างกับฐานของกระโหลกศีรษะ ภาวะข้อต่อขากรรไกรผิดปกติ หรือ Temporomandibular joint Disorder (TMD) จะสามารถทำให้เกิดอาการปวดกราม ปวดขากรรไกร เจ็บปวดทั้งบริเวณข้อต่อขากรรไกร และกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องได้สาเหตุของภาวะข้อต่อขากรรไกรผิดปกติ TMD หาสาเหตุที่แน่ชัดได้ยาก เนื่องจากอาการเจ็บปวดข้อต่อขากรรไกรอาจส่งผลมาจากหลายปัจจัยร่วมกัน เช่น กรรมพันธุ์ ภาวะข้อเสื่อม การได้รับอุบัติเหตุบริเวณขากรรไกร หรือมีการนอนกัดฟัน ปวดฟัน เค้นฟันทั้งแบบรู้ตัวและไม่รู้ตัว ซึ่งจะส่งผลต่อข้อต่อขากรรไกรที่จะต้องรับแรงมากขึ้นทำให้ข้อต่อขากรรไกรผิดปกติ

ข้อต่อขากรรไกรอักเสบเกิดจาก สาเหตุใด ?

ข้อต่อขากรรไกรที่อักเสบ สามารถเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ

– แผ่นหมอนรองกระดูกสึกกร่อน หรือ เคลื่อนตัวออกนอกตำแหน่ง
– กระดูกอ่อนของข้อต่อถูกทำลายจากภาวะข้อเสื่อม
– ข้อต่อถูกกระทบกระเทือนจากปัจจัยภายนอก หรือ อาจจะหาสาเหตุไม่ได้ก็เป็นไปได้เช่นกัน
– ความผิดปกติระหว่างฟันกับกล้ามเนื้อใบหน้าและขากรรไกร
– แรงกระแทกจากการบดเคี้ยว
– ฟันไม่สบกัน
– นอนกัดฟัน ปวดฟัน
– กลไกลการทำงานของฟันที่ผิดปกติ
– การทำงานของกล้ามเนื้อที่ผิดปกติ
– การหายใจทางปาก
– การเติบโตของ ข้อต่อขากรรไกรผิดปกติ
– อาการตกใจสุดขีด
– ข้อต่อขากรรไกรเสื่อม

อาการที่พบได้บ่อย

– ปวดศีรษะ ปวดหู ปวดบริเวณหลังตา
– เสียงคลิกเวลาอ้างปากหรือหุบปาก
– ปวดข้อต่อขากรรไกร จากการหาว อ้าปากกว้าง เคี้ยวอาหาร
– ขากรรไกรค้าง
– เจ็บกล้ามเนื้อ ปวดกราม ปวดขากรรไกร

รักษาข้อต่อขากรรไกรอักเสบด้วย Myosa®

โรค ที เอ็ ม ดี

ข้อดีของการรักษาข้อต่อขากรรไกรอักเสบด้วย Myosa®

การรักษาวิธีนี้ถือเป็นวิธีรักษาข้อต่อขากรรไกรผิดปกติที่นิยมในต่างประเทศ ตัวเครื่องมือสามารถยืดหยุ่นได้ มีชั้นเดียว สวมใส่สบาย ช่วยลดความตึงตัวของกล้ามเนื้อรอบปากขณะนอนหลับและรองรับการกระแทกของข้อต่อขากรรไกร

– ตัวฐานมีความแข็งแรง ป้องกันได้เป็นอย่างดี

– ช่วยให้ลิ้นวางอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง

– ฐานรองรับฟันสามารถถอดได้สะดวกสบาย

– ตัวฐานด้านในออกแบบให้รองรับข้อต่อขากรรไกรได้อย่างดี

– ช่วยจัดให้ขากรรไกรอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง

การทำงานของเครื่องมือรักษาข้อต่อขากรรไกรอักเสบ Myosa®

เครื่องมือ Myosa® สามารถช่วยรักษานอนกัดฟัน รวมทั้งข้อต่อขากรรไกรทั้งส่วนนอกและส่วนใน โดยวัตถุประสงค์คือ การลดแรงกระแทกจากข้อต่อขากรรไกร รวมถึงลดแรงกระแทกจากกล้ามเนื้อและบรรเทาอาการนอนกัดฟัน ปวดฟันได้อีกด้วย จุดเด่นคือ สามารถช่วยลดอาการข้อต่อขากรรไกรอักเสบได้ทันทีหลังใส่

เครื่องมือชนิดนี้ประกอบด้วยอุปกรณ์รักษาชนิดนุ่ม ออกแบบพิเศษมาเพื่อรักษาข้อต่อขากรรไกรผิดปกติ ตัวฐานด้านในของอุปกรณ์ชนิดนี้มีความหนา จึงช่วยป้องกันอาการนอนกัดฟัน ปวดฟัน เมื่อใส่เข้าไปแล้วจะช่วยลดแรงกระแทกจากการบดเคี้ยวและอักเสบของข้อต่อขากรรไกร นอกจากนี้ยังถูกออกแบบมาเพื่อจัดวางให้ขากรรไกรอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง เห็นผลทันที และลดอาการบาดเจ็บในระยะยาว

อุปกรณ์ Myosa® รักษาข้อต่อขากรรไกรอักเสบควรสวมใส่ตอนไหน  

อุปกรณ์ชนิดนี้ออกแบบมาเพื่อเป็นเสมือนกำแพงป้องกันตัวฟันไม่ให้ถูกทำลาย หากใส่ตอนนอนสามารถใช้รักษาผู้ที่เป็นข้อต่อขากรรไกรผิดปกติได้  แต่หากผู้ป่วยมีการกัดฟันระหว่างวัน ก็สามารถใส่ในตอนกลางวันได้ด้วยเช่นกัน อีกทั้งช่วยลดการทำงานของกล้ามเนื้อบดเคี้ยวและกล้ามเนื้อใบหน้า ให้เกิดสมดุลได้ด้วยจากการบำบัดกล้ามเนื้อใบหน้าและทางเดินหายใจ ที่รวมในคอร์สฝึก MYOSA จะทำให้การรักษาการนอนกัดฟัน ข้อต่อขากรรไกรที่อักเสบ มีประสิทธิภาพและเป็นการรักษาที่ต้นเหตุมากกว่าปลายเหตุ

สรุป

นอกจากข้อต่อขากรรไกรอักเสบ คลินิกเรายังมีรักษาอาการนอนกรน และการนอนกัดฟัน โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้รับการรับรองจาก American Board of Dental Sleep Medicine

ถ้าคุณหรือคนใกล้ตัวนอนกัดฟัน ปวดฟันขั้นรุนแรงหรือเสียงดังกว่าปกติ หรือมีอาการปวดกราม ปวดขากรรไกร ปวดข้อต่อขากรรไกร เสี่ยงเป็นข้อต่อขากรรไกรเกิดการอักเสบ อย่าปล่อยไว้นานควรรีบพบแพทย์เพื่อแนะนำแนวทางการรักษา หรือขอคำปรึกษาเบื้องต้น

ข้อต่อขากรรไกร (Temporomandibular joint) เป็นข้อต่อระหว่างฐานกระโหลกศรีษะและขากรรไกรล่าง ข้อต่อนี้จะมีตำแหน่งอยู่ที่หน้ารูหูประมาณ 1 เซนติเมตร หากเราใช้นิ้วมือแตะที่ตำแหน่งหน้าหูและอ้าปากกว้าง ก็จะรู้สึกว่ามีกระดูกเคลื่อนดันผิวหน้าออกด้านข้าง ตำแหน่งนี้ ก็คือตำแหน่งของข้อต่อขากรรไกรนั่นเอง

ข้อต่อขากรรไกร มีความสำคัญเหมือนข้อต่อส่วนต่างๆ ในร่างกาย เช่นข้อต่อหัวเข่า ข้อศอก แขน ขา หากมีการสึกหรอจากการใช้งาน ก็จะมีอาการเจ็บปวดเมื่อมีการเคลื่อนไหว ส่งผลต่อการดำรงชีวิตประจำวันได้ ข้อต่อขากรรไกรนั้นหากมีปัญหา ก็จะส่งผลให้เกิดอาการเจ็บปวดที่หน้าหู หรือกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้า ตั้งแต่ขมับไปถึงส่วนคอได้ ข้อต่อขากรรไกรนั้น เป็นส่วนที่หัวข้อต่อขากรรไกรล่าง วางประกบในเบ้าของส่วนฐานกระโหลกหน้ารูหู โดยระหว่างกระดูกข้อต่อขากรรไกรและเบ้าที่ฐานกระโหลก จะมีข้อกระดูกอ่อนรูปร่างคล้ายเบ้า หวํ๋าที่กลางแผ่นกระดูกอ่อน กั้นระหว่างกระดูกทั้งสอง และแผ่นกระดูกอ่อนนี้จะเคลื่อนไหวหน้าหลังได้ เมื่อมีการอ้าปาก หุบปาก หรือเคลื่อนขากรรไกรซ้าย ขวา ทำให้การเคลื่อนไหวคล่องและไม่เกิดปัญหาต่อข้อกระดูกแข็งทั้งสองส่วน แผ่นกระดูกอ่อนนี้ มีกล้ามเนื้อบดเคี้ยวมาเกาะ มีเส้นเลือดและเส้นประสาทมาหล่อเลี้ยงและประสานเป็นระบบข้อต่อที่มีความซับซ้อนมาก ปัจจุบันนี้ยังไม่สามารถทำการถ่ายเปลี่ยนข้อต่อขากรรไกรได้เหมือนข้อเข่าหรือข้อสะโพกได้ เพราะฉะนั้น หากข้อต่อขากรรไกรพังเสียหาย เราก็ได้แต่รักษาตามอาการไปเท่านั้น ต้องทนทุกข์ทรมานไปตลอดชีวิต การดูแลรักษาข้อต่อขากรรไกรให้ดี เพื่อให้ใช้งานได้ดีที่สุดจนเราอายุมากๆ จึงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมาก

โรค ที เอ็ ม ดี

อาการที่บ่งบอกว่าข้อต่อขากรรไกรอาจเริ่มมีปัญหา ได้แก่ เจ็บหน้าหู เมื่ออ้าปาก หุบปาก เคี้ยวอาหารแข็งแล้วเจ็บหน้าหูไม่ใช่ฟัน อ้าปากแล้วมีเสียงคลิ้กหน้าหู หรือเสียงกรอบแกรบ อ้าปากไม่ขึ้น หรืออ้าปากได้ลำบาก (คนปกติจะอ้าปากได้กว้างประมาณ 50 เซนติเมตร หรือสามารถใส่นิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนางสามนิ้วในแนวตั้ง เข้าปากได้) ปวดกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้าตั้งแต่ขมับไปคอ และอ่อนล้าบริเวณใบหน้าหากเริ่มมีอาการข้างต้นเหล่านี้ แนะนำให้รีบเข้าพบทันตแพทย์ เพราะอาการจากข้อต่อขากรรไกรมักจะมีสาเหตุเริ่มมาจากฟัน หากรักษาให้หายได้เร็ว ความเสียหายที่เกิดขึ้นจะถูกเยียวยา และข้อต่อก็จะเป็นปกติดีต่อไป

อาการรุนแรง ที่บ่งบอกว่า ข้อต่อขากรรไกร มีปัญหารุนแรง ต้องรักษาเร่งด่วน ได้แก่
• อ้าปากไม่ขึ้นเลย
• อ้าปากแล้วขากรรไกรค้าง หุบปากไม่ลง

โรค ที เอ็ ม ดี

อาการทั้งสองนี้ จะพัฒนามาจากอาการข้างต้นที่ไม่ได้รับการดูแลรักษา โดยปล่อยให้อาการเกิดต่อเนื่อง จนข้อต่อกระดูกอ่อนของขากรรไกรหลวมหรือหลุดจากเบ้า ไม่กลับคืนตำแหน่ง จะมีอาการเจ็บปวดอย่างมาก และเมื่อรักษาแล้วก็ไม่หายขาด มักจะเป็นอีกเป็นระยะๆ

โรคข้อต่อขากรรไกรนั้น เป็นกลุ่มอาการของโรค ภาษาอังกฤษเรียกว่า Temporomandibular joint disorder หรือ TMD พบได้ในช่วงอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย (อาจเพราะผู้หญิงเครียดง่ายกว่าผู้ชาย) มักพบในคนที่มีฟันสึกเยอะๆ หรือฟันหายไปหลายซี่ พบในคนที่ชอบกินอาหารแข็ง เหนียว ที่การกัดบดอาหารจะเพิ่มความเครียดกับข้อต่อขากรรไกร หรือในคนที่นอนกัดฟัน หรือกัดขบฟันเมื่อเครียด และในช่วงที่มีภาวะบ้านเมือง มีปัญหา น้ำท่วมชุมนุม ก็พบคนไทยเป็นโรค TMD มากกว่าช่วงบ้านเมืองสงบสุขการรักษาของหมอฟัน มีตั้งแต่การจัดการกับฟันที่เสียหายและเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรค การใส่เฝือกฟันเพื่อการรักษา หรือการคุยให้ความรู้และปรับพฤติกรรมการนอน การกินอาหาร เป็นต้น

โรค ที เอ็ ม ดี

ในกรณีที่เป็นรุนแรงมาก อาจต้องรักษาร่วมกับการให้ยา ทั้งยาทานและยาฉีดเข้าข้อต่อขากรรไกร หรือฉีดโบท็อกซ์ที่กล้ามเนื้อบดเคี้ยว เพื่อลดอาการให้หายอย่างฉับพลัน การผ่าตัดนั้น เป็นทางเลือกสุดท้าย หากข้อต่อเสียหายอย่างหนัก แต่จากงานวิจัย ผลสำเร็จก็ยังไม่มากอยู่ดี ดังนั้น การดูแลแก้ไขแต่เนิ่นๆ นั้น จึงเป็นวิธีที่ดีที่สุด

ทีเอ็มดี แก้ยังไง

คำแนะนำสำหรับผู้มีภาวะ TMD.
ปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร ... .
ไม่อ้าปากกว้างๆ ... .
ประคบน้ำอุ่นหรือน้ำเย็น ... .
ฝึกคลายกล้ามเนื้อบริเวณขากรรไกร ... .
ทรงท่าที่ดี ... .
หลีกเลี่ยงคาเฟอีน ... .
สร้างเสริมการนอนหลับ.

โรคTMD หายเองได้ไหม

ภาวะข้อต่อขากรรไกรผิดปกติ (TMD) ในคนไข้บางรายอาจหายได้เอง แต่ถ้าหากอาการไม่ดีขึ้น คนไข้อาจจำเป็นต้องรักษาด้วยวิธีเหล่านี้ ทานยาลดการอักเสบ ยาบรรเทาอาการปวด กลุ่ม NSAIDs พาราเซตามอล ยาคลายกล้ามเนื้อ รวมไปถึงยาคลายกังวลเพื่อช่วยลดการทำงานมากจนผิดปกติของกล้ามเนื้อบริเวณขากรรไกร

โรค TMD หาหมออะไร

หากสงสัยว่าจะมีความผิดปกติของกลุ่มอาการ T.M.D. อาจปรึกษาทันตแพทย์สาขาระบบการบดเคี้ยวได้ เพื่อช่วยรักษาและบรรเทาอาการที่เกิดขึ้นในระยะเริ่มต้น

อาการกรามแข็งเกิดจากอะไร

สาเหตุของกรามค้าง ทานอาหารที่แข็งเกินไป ความเครียด เกิดอุบัติเหตุบริเวณบริเวณข้อต่อขากรรไกร