อาการ ซิ ลิ โคน การ์ดจอ แห้ง

หลายๆคนที่ทำงานด้วยคอมพิวเตอร์ที่จำเป็นต้องใช้การ์ดจอในการประมวลผล มักจะเจอปัญหาคล้ายๆกันคือ การ์ดจอร้อนมา ยิ่งถ้าใช้งานมานาน พวกอุปกรณ์ถ่ายเทความร้อนก็จะเสื่อมลง แต่ไม่เป็นไรครับ การ์ดจอก็เหมือน CPU ที่เราสามารถเปลี่ยนซิลิโคนให้มันได้ ลองมาดูวิธีคร่าวๆกันดีกว่า

ดูที่คลิปนี้เลย หรือจะดูที่รูปด่านล่างก็ได้ครับ มีอธิบายเป็นฉากๆย่อๆ

สำหรับการ์ดจอของผมนั้นเป็นของ inno3d ichill Geforce GTX 1080 Ti อายุก็ประมาณสองปีกว่าๆได้แล้วมั้ง ซื้อแล้วก็เอาเข้าไปขุดในเหมือง Cryptocurrency เลย พอผ่านไปปีกว่าๆ หมดประกันแล้วเลยเอาออกจากเหมืองมาประกอบคอมตัวนึง จากในคลิปจะเห็นได้ว่าตัวการ์ดผ่านการเปลี่ยนซิลิโคนมาก่อนแล้วจากในเหมืองขุดเหรียญ

การทาซิลิโคน หรือ Thermal Paste นั้นเป็นประเด็นที่ถกเถียงกันมาอย่างยาวนานว่าแบบไหนดีที่สุด เราคงเคยได้ยินกันมาบ้างแล้ว สำหรับการทาแบบเม็ดถั่วเขียว, รูปตัว X, ทาตามยาว, ปาดให้ทั่ว, บีบจำนวนมาก หรือ จำนวนน้อย ซึ่งตรงนี้แต่ละคนก็มีความเชื่อและวิธีการที่แตกต่างกันออกไปครับ และนอกจากนั้นแล้วการทาสำหรับ CPU และ GPU เองก็มีหลักการ ศาสตร์และศิลป์ทีแตกต่างกันไปอีกนะ !

ล่าสุดนี้นาย Igor Wallossek จากเว็บไซต์ Igor's Lab ซึ่งนับได้ว่าเป็นสื่อไอทีสายซีเรียสที่มีชื่อเสียงอันดับต้นๆของโลก เพราะเอาจริงๆ นายคนนี้ชอบทดลองอะไรแบบจริงจัง ลงไม้ลงมือจริงๆ พร้อมการทดสอบที่เป็นวิทยาศาสตร์ ทำให้เขาจัดว่าเป็นอีกหนึ่งคนที่ "เชื่อได้" .. โดยคอนเทนท์ล่าสุดของเขาก็เป็นการทาซิลิโคน GPU .. ย้ำนะครับ GPU ที่เป็นหน่วยประมวลผลของ "การ์ดจอ" ไม่ใช่ CPU ที่เราเถียงกันบ่อยๆ

จริงๆแล้ว การทาซิลิโคนของ GPU ก็ไม่ใช่เรื่องที่จำเป็นสำหรับคนทั่วๆไปแต่อย่างใด เพราะว่าตัวการ์ดจอทุกตัวก็มีซิงค์ประกบมาให้แล้วจากโรงงาน ซิลิโคนก็ทามาให้แล้วทั้งนั้น ไม่จำเป็นต้องมาทาเองเหมือนกับ CPU ยกเว้นแค่ว่าเราต้องการจะถอดออกมาทาใหม่ หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกกันกว่า re-pasting ซึ่งสาเหตุที่ทำอาจจะเป็นเพราะว่าเราต้องการเปลี่ยนให้เป็นชนิดที่ดีขึ้น หรือถอดซิงค์ เปลี่ยนซิงค์ อะไรก็ตามแต่ครับ

นาย Igor ก็ได้เริ่มต้นด้วยการอธิบายถึงความสำคัญของการทาซิลิโคนให้ถูกต้อง โดยเฉพาะกับ GPU ตัวใหญ่ๆ พื้นที่เยอะๆ แม้ว่าพวกการ์ดจอรุ่นประหยัด หน้า GPU เล็กๆจะไม่เป็นประเด็นเท่าไหร่ แต่ถ้าคุณใช้การ์ดจอรุ่นบนๆ GPU หน้าใหญ่ๆแล้ว อันนี้แหละมีความจำเป็นอย่างมาก เนื่องจากหน้าสัมผัสมีโอกาสไม่เรียบเท่ากันสูง และอาจจะมีการผิดรูปได้จากแรงกระทำของ Heatsink ขนาดมหึมาที่ประกบอยู่ด้วยกัน ซึ่งกรณีนี้เราได้เห็นกันมาแล้วกับ CPU ของ Intel Gen 12 ที่แอ่นจนการเอา Mounting Frame มาใส่ค้ำจะสามารถช่วยลดอุณหภูมิไปได้หลายองศาเลย

และนอกจากนั้นเขาก็ยังเน้นถึงความสำคัญของการทำความสะอาดคราบซิลิโคนเก่าออกให้หมดจด ซึ่งก็แน่นอนว่าเขาแนบวิธีทำที่ถูกต้องมาโดยละเอียด รวมไปถึงสิ่งที่ต้องระวัง และสิ่งที่มองข้ามไปได้ด้วยเช่นกัน .. ข้อมูลที่น่าสนใจส่วนนึงก็คือตัว GPU ละ Heatsink นั้นมักจะมีหน้าสัมผัสที่ ห่าง มากกว่าของ CPU นั่นทำให้การเลือกใช้ซิลิโคนที่เนื้อหนา(ข้น) เป็นอะไรที่เหมาะสมมากกว่า โดยมาถึงตรงนี้เขาบอกเลยว่าซิลิโคนยอดนิยมอย่าง Arctic MX-2 หรือ MX-4 นั้นไม่ค่อยแหล่มเท่าไหร่ แต่เขาเชียร์ Alphacool Apex หรือ Subzero และ Gelid PC Extreme แทน

อาการ ซิ ลิ โคน การ์ดจอ แห้ง

ก่อนที่จะเริ่มลงมือทาซิลิโคนนั้น คุณควรจะทำให้ตัวซิลิโคนมีอุณหภูมิใกล้เคียงมือมนุษย์ก่อน ตัว GPU เองก็เช่นกัน วิธีที่เขาแนะนำก็คือให้เอาหลอดซิลิโคนนี่แหละ ใส่ไปในกระเป๋าเสื้อหรือกางเกงซักระยะนึง และตรวจสอบให้แน่ชัดว่าตัว die ของ GPU นั้นไม่เย็น และหลังจากทาเสร็จเรียบร้อยแล้ว การใช้ไดร์เป่าผมมาเป่านิดหน่อยจะทำให้ซิลิโคนที่มีความข้นสามารถกระจายได้ง่ายมากขึ้น

อาการ ซิ ลิ โคน การ์ดจอ แห้ง

ส่วนประเด็นเรื่องรูปแบบในการบีบที่คนถกเถียงกันนั้น นาย Igor ก็ได้มีการทดสอบอย่างละเอียด ไม่ว่าจะเป็นการปาดให้ทั่ว การบีบเป็นก้อนเม็ดทั่วเขียวเฉพาะตรงกลาง รวมไปถึงการบีบเป็นแนวยาวรูปทรงเหมือนไส้กรอก แต่เขาไม่ได้ทำการทดสอบรูปแบบตัว X หรือสไตล์อื่นที่คนชอบเล่นกันนะครับ .. ผลที่ออกมาก็คือการบีบในรูปแบบไส้กรอกหรือแนวยาวนั้น ดูแล้วจะออกมาดีที่สุด ซึ่งสามารถทำอุณหภูมิได้ต่ำกว่าวิธีอื่นถึง 5 องศาเซลเซียสเลยทีเดียวครับ ส่วนการทดสอบครั้งนี้จะทำกับการ์ดจอ RTX3080 Founder's Edition และ Waterblock

อาการ ซิ ลิ โคน การ์ดจอ แห้ง

แต่ไม่ใช่แค่นั้น การขันน๊อตก็สำคัญด้วย คือเขาต้องใช้เทคนิคการทำ Screw Tensioning นิดหน่อย วิธีก็คือตอนวางซิงค์กับ GPU คุณต้องวางลงไปตรงๆเลยนะ ห้ามสไลด์ซ้ายขวาหน้าหลัง และคุณก็ต้องไขน๊อตให้เป็น Pattern ยกตัวอย่างเช่น เริ่มที่ฝั่งซ้าย ใส่น๊อตเข้าไปทีละตัว และเริ่มขันจนน๊อตเข้าเกลียว (ไม่ใช่ขันให้แน่น) แล้วก็ต่อที่ฝั่งขวาด้วยวิธีเดียวกัน หลังจากนั้นก็ให้ขันน๊อตเป็น Pattern ด้านตามยาว สลับไปมา จนรู้สึกถึงแรงตึงมือแค่นั้นพอ

สรุปก็คือ การที่จะทำให้ผลออกมาดีที่สุดนั้น ต้องใช้วิธีการทาแบบตามยาวและการขันกระจายน้ำหนักที่ถูกต้องด้วย ซึ่งเขายังบอกอีกว่าแบรนด์ผู้ผลิตการ์ดบางเจ้า ก็ใช้วิธีนี้ในการประกอบการ์ดมาจากโรงงานเช่นเดียวกัน 

ครั้งหน้าใครมีการ์ดจอแล้วต้องถอดซิงค์ออกมาทำอะไรก็แล้วแต่ .. ลองใช้วิธีนี้ในการทาซิลิโคนกลับเข้าไปดูครับ เมืองนอกเขาทดสอบกันมาแล้วแบบเชิงวิทยาศาสตร์เลย อาจจะเป็นประโยชน์กับเราก็ได้นะ ใครที่อยากอ่านบทความเต็มๆ เข้าไปดูใน >>นี้<< ได้เลยครับ

สวัสดีครับทุกๆท่านสำหรับวันนี้ทางผมก็ได้ไปเจอ User หนึ่งในกลุ่มของพวกเรา ที่มาโพสว่ากำลังเล่นเกมส์อยู่ดีๆแล้วชิพการ์ดจอไหม์คาเครื่องโดยการ์ดจอรุ่นที่ไหม้นั้นเป็นเจ้า GTX 980

 

อาการ ซิ ลิ โคน การ์ดจอ แห้ง

 

อาการ ซิ ลิ โคน การ์ดจอ แห้ง

โดย User ได้บอกว่าทำการเช็คอุณหภูมิหลังเปลียนซิลิโคนแล้วก็เย็นปกติไม่มีปัญหาแต่อย่างใด สำหรับส่วนนี้อาจจะเกิดจากตัววัดอุณหภูมิในชิพ GPU จะอยู่บริเวณตรงกลางไม่ได้อยู่ตรงขอบที่เกิดการไหม์
ทำให้เห็นอุณหภูมิเย็นปกติไม่มีปัญหาโดยปัญหานี้เกิดจากชิพรุ่นใหม่ๆไม่มีการใส่กระดองมาแล้วทำให้ถ้าเกิดการทาซิลิโคนไม่ดีหรือไม่แนบสนิท อาจจะเกิดการไหม์ได้ เพราะส่งถ่ายความร้อนไม่ดี ไม่เหมือนกับ CPU ที่เขามีการใส่กระดองมาให้แล้วเพราะเป็นอุปกรณ์ที่ต้องติดตั้งชุดระบายความร้อนเอง

อาการ ซิ ลิ โคน การ์ดจอ แห้ง

สำหรับในส่วนนี้เราจะเห็นว่ามุมที่ GPU เกิดความร้อนสูงจนชิพไหม้ขึ้นมานั้น เกิดได้ 2 สาเหตุด้วยกันเนื่องจากการประกบซิงค์ GPU หรือตัวการ์ดจอนั้นขันน๊อตทั้ง 4 ตัวไม่แน่นเพียงพอ หรือขันแต่ลงมุมมีน้ำหนักการกดทับไปยังตัวชิพไม่เท่ากัน
ทำให้ตัวซิลิโคนนั้นกระจายตัวไม่ทั่วถึงดังภาพด้านบน เราจะเห็นว่าเนื้อซิลิโคนนั้นไปไม่ถึงมุมตัวชิพการ์ดจอด้านบนขวามือ ทำให้การส่งถ่ายความร้อนไม่สะดวก
สำหรับในส่วนนี้ผมอยากจะอธิบายว่าปกติ CPU จะมี HIS หรือตัวกระดองปิดกันระหว่างตัว Chip กับฮิตซิงค์เอาไว้เพราะกันเราติดตั้งและอาจจะเกิดการแตกหักของตัวชิพหรือทาซิลิโคนไม่ทั่วอย่างกรณีนี้
เพราะว่าตัว Chip นั้นการส่งถ่ายความร้อนไม่เหมือนโลหะทำให้ความร้อนไม่ถ่ายเทไปทั่วจึงเกิดความร้อนสูงจนไหม์ดังภาพ

 

อาการ ซิ ลิ โคน การ์ดจอ แห้ง

โดยถ้าสังเกตจากภาพนี้ดีๆแล้วนั้นเราจะเห็นว่าการกดทับของตัวฮิตซิงค์นั้นจะมีแค่บริเวณมุมล่างขวาเท่านั้นการกระจายตัวของซิลิโคนเกิดเพียงฝั่งเดียวที่ถูกแรงกด
แต่ทางด้านบนซ้ายมือนั้นตัวซิลิโคนยังมีความหนาอยู่เพราะว่าตอนที่เราประกบฮิตซิงค์กลับเข้าไปแล้วตอนขันน๊อตเราไม่ได้กระจายแรงทั้ง 4 มุมให้เท่ากันหรืออาจจะใส่ฮิตซิงค์ไม่ตรงรูก็เป็นสาเหตุให้ไม่แนบสนิดทั้งตัว GPU นั้นเองครับ

อาการ ซิ ลิ โคน การ์ดจอ แห้ง

สำหรับการขันน๊อตที่ถูกวิธีนั้นให้เราทำการขันแบบแนวทะแยงโดยค่อยๆขั้นให้เข้าไปพร้อมๆทั้ง 4 ด้านอย่าอัดให้แน่นทีเดียวเพราะไม่งั้นแรงการกดจะกระจายไม่เท่ากันทั้ง 4 มุมครับ

สำหรับเพื่อนๆชาว ExtremePC นั้นใครที่จะแกะมาเปลียนซิลิโคนแล้ว จริงๆไม่มีความอัตรายแต่อย่างใน แต่ต้องทำให้รอบคอบโดยการทาซิลิโคนทางผมแนะนำว่าให้ปาดให้ทั่วๆ ชิพจะดีกว่าการหยดเพราะเราไม่รู้ว่าจะเพียงพอมั้ยแล้วการขันน๊อตนั้นขันให้ตึงมือก็เพียงพอแล้วและกระจายแรงขันน๊อตให้ทั่วทั้ง 4 ด้าน