คนสามขามีปัญญาหาไว้ทัก คนสามขา หมายความว่าอย่างไร

บทที่ ๑๔ 

                                   สูงอย่าให้สูงกว่าฐานนานไปล้ม   จะเรียนคมเรียนไปเถิดอย่าเปิดฝัก 

                                       คนสามขามีปัญญาหาไว้ทัก         ที่ไหนหลักแหลมคำจงจำเอา 

คำศัพท์ สำนวน คนสามขา        หมายถึง      คนแก่ที่ถือไม้เท้า 

                                     เรียนคม           หมายถึง      เรียนเพื่อหาวิชาความรู้ 

                                     อย่าเปิดฝัก      หมายถึง      อย่าโอ้อวด 

ถอดความได้ว่า  จะสร้างสิ่งใดให้สูงก็อย่าสร้างเกินว่าฐานที่จะรับน้ำหนักไว้ได้ เพราะจะทำให้ล้มง่าย 

                                      (สอนให้รู้จักประมาณ ตน ไม่ให้ทำอะไรเกินฐานะของตนเอง) จะเรียนวิชาอะไรให้มีสติปัญญา 

เฉียบแหลม ก็เรียนเถิด แต่ให้เก็บความรู้ไว้ใช้เมื่อถึงเวลาอันสมควร (สอนให้เป็นคนใฝ่รู้แต่อย่า 

อวดรู้) คนแก่มีประสบการณ์มากเราควรเชื่อฟังคำทักท้วง (สอนให้เห็นความสำคัญของผู้มีอาวุโส) 

สุภาษิตที่เกี่ยวข้อง              คมในฝัก   หมายถึง คนที่เขาฉลาดจริงๆ เขาไม่โอ้อวด  

บทที่ ๑๕ 

                                               เดินตามรอยผู้ใหญ่หมาไม่กัด       ไปพูดขัดเขาทำไมขัดใจเขา 

                                        ใครทำตึงแล้วหย่อนผ่อนลงเอา     นักเลงเก่าเขาไม่หาญพาลนักเลง 

คำศัพท์                                นักเลงเก่า หายถึง   ผู้ที่เป็นนักเลง 

ถอดความได้ว่า  ประพฤติตนตามแนวทางที่ผู้ใหญ่เคยทำมาก่อนแล้วย่อมปลอดภัย ไม่ควรไปพูดขัดคอคน เพราะ 

จะทำ ให้เขาโกรธไม่พอใจ ให้รู้จักผ่อนหนักผ่อนเบา นักเลงเก่าเขาไม่รังแกหรือทำร้ายนักเลงด้วยกัน 

สุภาษิตที่เกี่ยวข้อง            เดินตามผู้ใหญ่หมาไม่กัด หมายถึง ประพฤติตามอย่างผู้ใหญ่ย่อมปลอดภัย 

                                         รู้ยาวรู้สั้น                      หมายถึง รู้จักผ่อนปรน รู้จักผ่อนสั้นผ่อนยาว 

บทที่ ๑๖ 

                                    เป็นผู้หญิงแม่หม้ายที่ไร้ผัว           ชายมักยั่วทำเลียบเทียบข่มเหง 

                                       ไฟไหม้ยังไม่เหมือนคนที่จนเอง  ทำอวดเบ่งกับขื่อคาว่ากระไร 

คำศัพท์                  ทำเป็นเลียบ     หมายถึง  พูดจาแทะโลม 

                          คนที่จนเอง      หมายถึง  คนที่ทำตัวให้จนเอง 

                          ขื่อคา หมายถึง  เครื่องจองจำนักโทษ ทำด้วยไม้ มีช่องสำหรับสอดมือเท้าแล้วมีลิ่มตอกกำกับกัน 

ขื่อหลุด 

ถอดความได้ว่า  ผู้ที่เป็นหญิงหม้ายมักถูกผู้ชายพูดจาแทะโลม เหมือนกับถูกข่มเหง คนที่จนเพราะถูกไฟไหม้ ยังน่า 

สงสาร หรือดีกว่าตนเองที่ทำตัวเองให้จน (จนเพราะเล่นการพนัน) และอย่าอวดเก่งกับขื่อคาที่เป็น 

เครื่องจองจำ (อย่า แสดงอำนาจโอ้อวดทำสิ่งที่ท้าทายกับบทลงโทษ) 

สุภาษิต สำนวน ที่เกี่ยวข้อง           เล่นกับคุกกับตาราง 

บทที่ ๑๗ 

                                    อันเสาหินแปดศอกตอกเป็นหลัก                  ไปมาผลักย่อยเข้าเสายังไหว 

                                       จงฟังหูไว้หูคอยดูไป                                                  เชื่อน้ำใจดีกว่าอย่าเชื่อยุ 

คำศัพท์                                ฟังหูไว้หู                         หมายถึง      รับฟังไว้แต่ไม่เชื่อทั้งหมด 

                         เชื่อน้ำใจดีกว่าอย่าเชื่อยุ  หมายถึง      เป็นคนหนักแน่นไม่ฟังคำยุแหย่ 

ถอดความได้ว่า  แม้จะมั่นคงดังเสาหินใหญ่สูงแปดศอก แต่เมื่อถูกผลักบ่อย ๆ เข้า เสานั้นก็อาจคลอนแคลนได้ 

เปรียบ เหมือนใจคนย่อมอ่อนไหวไปตามคำพูด ของผู้อื่นได้ ฉะนั้น จึงควรฟังหูไว้หู และคิดให้ 

รอบคอบก่อนที่จะเชื่อใคร (สอนให้มีใจคอหนักแน่นไม่หลงเชื่อยุยงโดยง่าย ให้รู้จักไตร่ตรองให้ดี 

เสียก่อนที่ จะคล้อยตามคำพูดของผู้อื่น) 

สุภาษิตที่เกี่ยวข้อง            ฟังหูไว้หู      หมายถึง      รับฟังไว้แต่ไม่เชื่อทั้งหมด 

บทที่ ๑๘ 

                                    หญิงเรียกแม่ชายเรียกพ่อยอไว้ใช้               มันชอบใจข้างปลอบไม่ชอบดุ 

                                                      ที่ปิดที่ชิดไขให้ทะลุ                               คนจักษุเหล่หลิ่วไพล่พลิ้วพลิก 

คำศัพท์                                ไพล่พลิ้วพลิก                   หมายถึง       ให้รู้จักหลีกเลี่ยง พูดตรงทำให้เสียน้ำใจ 

                                          หลิ่ว                               หมายถึง       เดี่ยว หนึ่ง 

ถอดความได้ว่า  เมื่อเวลาจะใช้ใครให้รู้จักพูดจาโดยใช้ถ้อยคำที่อ่อนหวาน ซึ่งใคร ๆ ก็ชอบ ไม่ควรใช้คำดุด่าว่า 

กล่าว สิ่งใดที่ปล่อยปละละเลย หรือฟุ่มเฟือยก็ต้องเข้มงวดกวดขันหรือประหยัดถี่ถ้วนขึ้นสิ่งใดที่ 

เข้มงวดตระหนี่ถี่เหนียวจนเกินไป จะต้องแก้ไขทำให้สะดวก หรือคล่องตัวขึ้น และจงประพฤติตน 

ตาม ที่คนส่วนใหญ่เขาประพฤติกัน  

สุภาษิตที่เกี่ยวข้อง น้ำร้อนปลาเป็นน้ำเย็นปลาตาย 

บทที่ ๑๙ 

                                               เอาปลาหมอเป็นครูดูปลาหมอ                      บนบกหนออุตส่าห์เสือกกระเดือกกระดิก 

                                        เขาย่อมว่าฆ่าควายเสียดายพริก                   รักหยอกหยิกยับทั้งตัวอย่ากลัวเล็บ 

คำศัพท์                                เอาปลาหมอเป็นครูดูปลาหมอ หมายถึง มีความอดทนต่อความยากลำบาก 

ถอดความได้ว่า  จงดูปลาหมอไว้เป็นครูสอนใจเรา แม้ปลาหมอจะถูกปล่อยไว้บนบก มันก็ยังกระเสือกกระสนเพื่อ 

จะเอา ชีวิตรอด ฉะนั้นคนเราจึงไม่ควรพ่ายแพ้แก่อุปสรรค ต้องดิ้นรนขวนขวายต่อสู้ชีวิตต่อไป 

สุภาษิตที่เกี่ยวข้อง ฆ่าควายเสียดายพริก  หมายถึง ทำการใหญ่ไม่ควรตระหนี่ 

                            ปลาหมอแตกเหงือก   หมายถึง กระเสือกกระสนดิ้นรน 

บทที่ ๒๐ 

มิใช่เนื้อเอาเป็นเนื้อก็เหลือปล้ำ                    แต่หนามคำเข้าสักนิดกรีดยังเจ็บ 

                                             อันโลภลาภบาปหนาตัณหาเย็บ                 เมียรู้เก็บผัวรู้กำพาจำเริญ 

คำศัพท์                               เนื้อ(ในที่นี้)     หมายถึง  เนื้อคู่ 

                       ตัณหา            หมายถึง  ความทะยานอยาก ความใคร่ในกาม 

ถอดความได้ว่า   คนเราถ้าไม่ใช่เนื้อคู่กัน อยู่ไปก็เปล่าประโยชน์อาจจะมีเรื่องราวกัน ไม่ผิดอะไรกับถูกหนามตำเข้า 

นิดเดียว   ก็เกิดอาการเจ็บปวด ความโลภเป็นบาปทำให้เกิดความอยาก สามีภรรยาคู่ใดถ้าภรรยา 

รู้จักออมรู้จักเก็บ สามี รู้จักทำหากินก็จะทำให้ชีวิตที่สมบูรณ์ 

สุภาษิตที่เกี่ยวข้อง            ผัวหาบเมียคอน                   ชายหาบหญิงคอน