ข้อสอบสามก๊ก ม.6 พร้อมเฉลย

ข้อสอบสามก๊ก ม.6 พร้อมเฉลย

สามก๊ก ตอน กวนอูไปรับราชการกับโจโฉ

ผู้แต่ง  หลอกว้านจง (ล่อกวนตง)  ในสมัยราชวงศ์หมิง
ผู้แปล  เจ้าพระยาพระคลัง (หน)
ลักษณะคำประพันธ์ ร้อยแก้ว ประเภท ความเรียงเรื่องนิทาน
ที่มา  พงศาวดารจีน "สามก๊กจี่"
จุดประสงค์ในการแต่ง เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับอุบายการเมืองและการสงคราม
ประวัติผู้แปล เจ้าพระยาพระคลัง (หน) เกิดในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ และถึงอสัญกรรมเมื่อปพ.ศ.2348 ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้า กรุงธนบุรี ได้รับราชการเป็นหลวงสรวิชิต ในสมัยรัชกาลที่ 1 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้เลื่อนตำแหน่งเป็นพระยาพิพัฒน์โกษาและเป็นเจ้าพระยาพระคลัง เจ้าพระยาพระคลัง (หน) มีความสามารถด้านการประพันธ์ทั้งร้อยแก้วและร้อยกรองงานประพันธ์ ที่สำคัญ ได้แก่ ราชาธิราช สามก๊ก ร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก (กัณฑ์กุมารและกัณฑ์มัทรี) บทมโหรีเรื่องกากี ลิลิตเพชรมงกุฎ และอิเหนาคำฉันท์
ลักษณะการเขียน
                เรื่องสามก๊กเป็นร้อยแก้วที่ได้รับการยกย่องว่ามีสำนวนโวหารดี ถ้อยคำภาษาเรียบเรียงไว้อย่างสละสลวย จนมีนักประพันธ์ยุคหลังได้เลียนแบบสำนวนโวหารจากเรื่องสามก๊กทั้งนี้เพราะว่าเป็นเรื่องที่บรรยายได้ดี และมีการดำเนินเรื่องดี ในการกล่าวถึงลักษณะนิสัยตัวละคร การสนทนา นอกจากสำนวนภาษาที่จัดว่าดีเยี่ยมแล้ว หนังสือสามก๊กยังอยู่ในความนิยมของผู้อ่านไม่ว่าจะอยู่ในสมัยใด เพราะเนื้อเรื่องของสามก๊กนั้น ไม่ว่าจะจับเอาตอนใดขึ้นมาปรับใช้กับชีวิตคนในทุกยุคทุกสมัยได้เป็นอย่างดี
การใช้ภาษา
                สามก๊กเป็นเรื่องที่มีสำนวนเฉพาะตัว ได้รับการยกย่องว่ามีสำนวนโวหารดีเยี่ยม ทั้งในการเรียบเรียงถ้อยคำที่สละสลวย และการใช้โวหารอุปมาอุปไมย บรรยายโวหาร จนถือเป็นแบบอย่างการเขียนร้อยแก้วที่ดี ถ้อยคำสำนวนต่างๆล้วนเป็นสำนวนที่ติดใจคนอ่านทุกยุคทุกสมัย
ที่มาของเรื่อง
                จดหมายเหตุเรื่อง สามก๊ก เรียกว่า สามก๊กจี่ตันซิ่ว เป็นผู้บันทึก ในสมัยราชวงศ์จิ้น (ปลายพุทธศตวรรษที่ 9) แบ่งเนื้อหาออกเป็น 3 เรื่อง คือ จดหมายเหตุก๊กวุ่ย (วุ่ยก๊ก) จดหมายเหตุก๊กจ๊ก (ก๊กถ๊ก) จดหมายเหตุก๊กง่อ (ง่อก๊ก)
                ต่อมาในต้นราชวงศ์เหม็ง (ต้นพุทธศตวรรษที่ 21) หลอกว้านจง (ล่อกวนตง) ได้นำเอาจดหมายเหตุของตัวซิ่ว มาแต่งให้สนุกสนาน เรียกว่า สามก๊กจี่ทงซกเอี้ยนหงีหมายความว่า จดหมายเหตุสามก๊กสำหรับ สามัญชน เริ่มเหตุการณ์ตั้งแต่รัชกาล พระเจ้าเลนเต้ ไปจนถึงรัชกาล พระเจ้าจิ้นบู๊เต้สุมาเอี๋ยน
                พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช มีพระราชดำรัสสั่งให้แปลพงศาวดารจีนเป็นภาษาไทย 2 เรื่อง คือ ไซ่ฮั่น และสามก๊ก (พ.ศ.2345) เดิมเป็นหนังสือจำนวน 95 เล่มสมุดไทย เมื่อนำมาพิมพ์มีจำนวน 4 เล่ม สมุดฝรั่ง สำนวนที่นำมาพิมพ์ครั้งแรกที่โรงพิมพ์หมอบรัดเลย์ มิชชันนารีอเมริกัน เป็นสำนวนที่ได้สอบกับต้นฉบับของ สมเด็จเจ้าพระยามหาศรีสุริยวงศ์ และพิมพ์ออกจำหน่ายเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2408 ในสมัย รัชกาลที่ 4
เนื้อเรื่อง
                กวนอูได้รับมอบหมายให้ปกป้องครอบครัวเล่าปี่ อยู่ ณ เมืองแห้ฝือ รุ้ว่าเล่าปี่ที่อยู่ชีจิ๋วพ่ายให้กับโจโฉแล้ว ก็คิดจะสู้ตาย แต่โจโฉนั้นอยากได้กวนอูมาเป็นพรรคพวกจึงปรึกษากับนายทหาร เตียวเลี้ยวอาสาไปเกลี้ยกล่อมกวนอูเอง ขณะนั้นกวนอูถูกทัพโจโฉล้อมไว้ไม่สามารถหนีได้ เตียวเลี้ยวจึงเข้าไปเจราจาให้กวนอูยอมจำนน เพราะตนได้ทราบว่าเล่าปี่ กวนอู เตียวหุย เป้นพี่น้องร่วมสาบานกัน หากวันนี้กวนอูรบจนตัวตาย เท่ากับว่ากวนอูได้เสียสัตย์ที่ได้ให้ไว้กับพี่น้องถึง ๓ ข้อด้วยกัน ได้แก่
                1. เล่าปี กวนอู เตียวหุย สาบานเป็นพี่น้องกันที่สวนดอกท้อ ว่าแม้ไม่ได้เกิดวันเดือนปีเดียวกัน ก็ขอ ตายวันเดือนปีเดียวกัน หากกวนอู ถึงแก่ความตาย ก็จะถือเป็นความผิดข้อที่ 1 เนื่องจากว่าเล่าปี่และเตียวหุยยังไม่ตายในการศึกที่ชีจิ๋ว
                2. เล่าปี่ ซึ่งเป็นเชื้อพระวงศ์คิดกอบกู้บ้านเมือง บัดนี้เล่าปี่ยังไม่สำเร็จการใหญ่ หากกวนอูต้องตายลงเสียก่อน ก็จะถือเป็นความผิดข้อที่ 2 เพราะมิได้อยู่ช่วยงานเล่าปี่ให้สำเร็จการใหญ่ และหากกวนอูตายในวันนี้ เล่าปี่และเตียวหุยก็จะต้องยกมาแก้กันจนตายตกตามกันไปทั้ง 3 พี่น้อง
                 3. เล่าปี่ฝากครอบครัวของตนแก่กวนอู หากกวนอูตาย ก็จะถือเป็นความผิดข้อที่ 3 เพราะหากกวนอูตาย ก็ย่อมไม่มีใครดูแลครอบครัวของเล่าปี่
            กวนอูได้ฟังเตียวเลี้ยวดังนั้นจึงตัดสินใจยอมจำนน ให้เตียวเลี้ยวไปบอกโจโฉว่าจะไปอยู่ด้วยพร้อมกับพาพี่สะใภ้ทั้งสองไปด้วยกัน แต่ต้องขอให้โจโฉสัญญาในข้อเสนอ 3 ประการของตนด้วย ซึ่งกวนอูขอให้โจโฉยอมรับข้อเสนอว่า
                1. กวนอูจะไม่ไปอยู่กับโจโฉในฐานะขุนพลของโจโฉ หากแต่ในฐานะของข้าพระบาทพระเจ้าเหี้ยนเต้
                2. ขอให้โจโฉดูแล ให้เกียรติพี่สะใภ้ทั้งสองเป็นอย่างดี เบี้ยหวัดเงินเดือนตามยศของเล่าปี่ ให้จ่ายแก่พี่สะใภ้ทั้งสอง และห้ามผู้ใดมากร้ำกรายใกล้ประตูห้อง
                3. หากได้ข่าวเล่าปี่เมื่อไร ตนจะขอไปหาทันที แม้จะไม่ได้กล่าวลาโจโฉก็ตาม หรือแม้โจโฉจะห้ามก็มิฟัง
            โจโฉยอมรับข้อเสนอดังกล่าว กวนอูจึงไปอยู่กับโจโฉ โจโฉก็พยายามที่จะซื้อใจกวนอูอยู่ทุกวี่วัน โดยสามวันแต่งโต๊ะเลี้ยงทีหนึ่ง อีกทั้งพากวนอูไปเฝ้าพระเจ้าเหี้ยนเต้ กวนอูได้รับพระราชทานนามว่า "บีเยียงก๋ง" แปลว่า เจ้าหนวดงาม ครั้งหนึ่งกวนอูกินเลี้ยงร่วมกับโจโฉ โจโฉเห็นเสื้อกวนอูเก่าและขาดจึงให้คนนำเสื้อตัวใหม่ที่ปราณีต งดงามมาให้ กวนอูรับไว้แต่ถอดเสื้อตัวเก่าออก สวนเสื้อตัวใหม่ไว้ด้านในและสวมเสื้อตัวเก่าทับไว้ โจโฉสงสัยจึงถามว่าเหตุใดจึงรักเสื้อเก่าขนาดนี้ กวนอูตอบว่าเสื้อตัวเก่านี้เล่าปี่เป็นคนให้ วันหนึ่งโจโฉเห็นม้าของกวนอูผอมโซ จึงยกม้าเซ็กเทา ซึ่งเคยเป็นม้าฝีเท้าดีของลิโป้ให้ กวนอูปลาบปลื้มใจยิ่งนัก ถึงกับหลุดปากออกมาว่า ดีจริงวันใดเมื่อเรารู้ข่าวว่าท่านพี่เล่าปี่อยู่ที่ใด เราจะได้ไปหาเล่าปี่ได้เร็วขึ้น โฉจึงมีความวิตกยิ่งนัก ใจหนึ่งก็ชื่นชมกวนอูว่ามีความกตัญญูหาผู้ใดเสมอมิได้ แต่อีกใจหนึ่งรู้สึกน้อยใจที่พยายามเลี้ยงดูกวนอูด้วยทรัพย์สมบัติและยศศักดิ์เท่าใด ก็ไม่สามารถทำให้กวนอูเสื่อมความภักดีต่อเล่าปี่ได้ โจโฉจึงปรึกษากับเตียวเลี้ยวว่า เห็นจะเปล่าประโยชน์ที่จะเลี้ยงดูกวนอูอีกต่อไป เตียวเลี้ยวจึงอาสาไปหยั่งฟังความคิดเห็นของกวนอูดูก่อน แล้วเตียวเลี้ยวก็ได้คำตอบจากกวนอูว่า สำหรับโจโฉนั้น กวนอูสำนึกในบุญคุณอยู่เสมอ แต่เล่าปี่เป็นพี่ร่วมสาบาน มีคุณแก่กวนอูมาก่อน ถ้าเล่าปี่ตาย กวนอูก็จะตายตามไปด้วยดังที่สาบานไว้ แม้ว่ากวนอูจะต้องจากโจโฉไป ก็จะไม่ลืมบุญคุณของโจโฉ และจะต้องตอบแทนบุญคุณของโจโฉอย่างแน่นอน เตียวเลี้ยวนำความไปบอกโจโฉ โจโฉได้แต่ถอนหายใจ วิตกกังวลที่ไม่สามารถซื้อใจกวนอูมาจากเล่าปี่ได้ ซุนฮกจึงแนะนำแก่โจโฉว่า เมื่อกวนอูบอกว่าจะแทนคุณก่อนจากไป เพราะฉะนั้น เวลามีศึกก็อย่าให้กวนอูออกรบ เพราะถ้ายังไม่มีความชอบ กวนอู ก็จะยังอยู่กับโจโฉเป็นมั่นคง โจโฉ เห็นด้วยกับซุนฮก ซ้ำโจโฉยังแสร้งใช้อุบาย เพื่อให้น้ำใจของกวนอูหักหาญแปรเปลี่ยนจากเล่าปี่ ในคราวระหว่างเดินทัพทางไกล เมื่อหยุดทัพ ณ ตำบลใด ยามตกค่ำ โจโฉก็จัดให้กวนอูกับ ฮูหยินของเล่าปี่ พักอยู่ร่วมกระโจมเดียวกัน หมายว่าหากชายหญิงอยู่ใกล้ชิดกัน ย่อมเสมือนน้ำมันใกล้เปลวไฟ ซึ่งพร้อมที่ปะทุลุกโชนด้วยเรื่องความรักความใคร่ โจโฉจึงเปิดช่องให้กวนอูคิดล่วงเกินฮูหยินเล่าปี่ ซึ่งนำไปสู่การแตกหักกับเล่าปี่ แต่การณ์ผิดคาด ทุกค่ำคืน กวนอู จะออกมาอยู่หน้ากระโจมพักเพียงลำพัง กุมง้าวมังกรเขียวไวัอย่างมั่นคง นั่งจุดตะเกียงอ่านหนังสือเฝ้ารักษาการณ์ภายนอกอย่างสงบนิ่งไม่ขยับเขยี้อนตลอดคืน เป็นเช่นนี้ทุกค่ำคืน
            ฝ่ายเล่าปี่พ่ายศึกหลบหนีไปอยู่กับอ้วนเสี้ยว ได้ยุยงให้อ้วนเสี้ยวออกรบกับโจโฉ สมรภูมิกัวต๋อเริ่มต้นขึ้น อ้วนเสี้ยวได้สั่งให้งันเหลียงทหารเอกเป็นทัพหน้า เดินทัพเข้าทางด่านแปะเบ๊ กวนอูอาสาออกรับศึกเอง แต่โจโฉเกรงว่ากวนอูจะหาเหตุแทนคุณ จึงไม่อนุญาต แต่งันเหลียงฝีมือร้ายกาจ ตีแปะเบ๊แตกอย่างรวดเร็วและยังตามตีทัพโจโฉเสียหายสาหัส โจโฉจำใจต้องให้กวนอูออกสู้รบ กวนอูฟันงันเหลียงคอขาดตาย อ้วนเสี้ยวจึงส่งบุนทิว ทหารเอกที่มีฝีมือเทียบเคียงกับงันเหลียงออกรบ กวนอูก็ฟันบุนทิวตกม้าตายเสียอีกคน กวนอูฆ่าแม่ทัพของอ้วนเสี้ยวตายถึงสองคน ซึ่งควรจะถือเป็นการตอบแทนบุญคุณของโจโฉได้ในระดับหนึ่ง อยู่มากวนอูได้ข่าวว่าเล่าปี่ไปอยู่กับอ้วนเสี้ยว จึงคิดเดินทางไปหาเล่าปี่
            กวนอูเดินทางไปหาโจโฉเพื่อร่ำลา แต่โจโฉรู้ว่ากวนอูจะลาไปหาเล่าปี่จึงให้เคาทูไปบอกว่ามหาอุปราชไม่อยู่ กวนอูอาศัยสัญญาของโจโฉข้อที่ 3 พาพี่สะใภ้ทั้งสองขึ้นเกวียนออกจากฮูโต๋ไปยังโห้ปักที่เล่าปี่อยู่โดยพลการ แต่เนื่องจากไม่ได้ร่ำลาโจโฉจึงไม่มีหนังสืออนุญาตเปิดทาง จึงทำให้มีปัญหาในการผ่านแดน กวนอูเดินทางถึงด่านตังเหลงก๋วน ขงสิ้วนายด่านสอบถามว่ากวนอูจะไปไหน กวนอูตอบตามความจริง ขงสิ้วถามหาหนังสือผ่านทางแต่กวนอูไม่มี โต้เถียงกันจนสู้กัน กวนอูฆ่าขงสิ้วตายและฝ่าด่านเดินทางต่อไปถึงด่านเมืองลกเอี๋ยงซึ่งเป้นราชธานีเก่า พบกับฮันฮกเจ้าเมืองลกเอี๋ยง เกิดปัญหากันอีกเช่นเคย ฮันฮกจึงให้เบงทันสู้กับกวนอู กวนอูฆ่าทั้งเบงทันและฮันฮกตาย และฝ่าด่านไปยังกิสุยก๋วน เตียนฮีนายด่านทราบข่าวว่ากวนอูฝ่ามา 2 ด่าน สังหารขุนพลไปแล้ว 3 คนจึงออกอุบายเลี้ยงต้อนรับกวนอูอย่างดี ณ วัดตีนก๊กซือ และให้ซุ่มทหารไว้ลอบสังหารกวนอูเมื่อกวนอูเมาไม่ได้สติ แต่พระรูปหนึ่งชื่อเภาเจ๋งเตือนกวนอูไว้ก่อน แผนจึงแตก และเตียนฮีถูกกวนอูฟันขาดสองท่อน กวนอูเร่งเดินทางเนื่องจากกลัวทัพใหญ่จะรู้เรื่องและยกตามมาทัน ผ่านเมืองเอี๋ยงหยงเป็นด่านที่ 4 สังหารอองเซ็กเจ้าเมือง ผ่านด่านที่ 5 หวยจิวก๋วน สังหารจินกี๋ ขณะกำลังรบติดพันอยู่ที่หวยจิวก๋วนนั้นเอง แฮหัวตุ้นได้รับคำสั่งจากโจโฉถือธงมหาอุปราชมาเบิกทางให้ โจโฉก็ได้เดินทางมาส่งด้วยตนเอง โจโฉให้เสื้อตัวใหม่แก่กวนอูเป็นของแทนใจ กวนอูกลับดูหมิ่นโจโฉด้วยการใช้ง้าวรับเสื้อ และไม่ยอมลงจากหลังม้า ทั้งนี้อาจเป็นเพราะกวนอูไม่มั้นใจในความปลอดภัยหากต้องวางง้าวและลงจากหลังม้าก็เป็นได้ หลังจากนั้นโจโฉก็เดินทางไปหาเล่าปี่ ณ เมืองโห้ปักได้อย่างสวัสดิภาพ
ลักษณะนิสัยตัวละคร
                1.โจโฉ: บุรุษผู้ยอมทรยศคนทั้งโลก แต่ไม่ยอมให้โลกทรยศตน ตำแหน่งสูงสุดคือ มหาอุปราช เป็นผู้กุมอำนาจทั้งปวง อยู่เหนือฮ่องเต้ เดิมทำราชการอยู่ภายในราชสำนัก คนทั้งปวงยำเกรง ถูกแต่งตั้งให้ไปสกัดการโจมตีของขบถโจรโพกผ้าเหลือง สุดท้ายแยกตัวหนีออกมาหลังจาก ลอบฆ่า ตั๋งโต๊ะ ไม่สำเร็จ รวบรวมเจ้าเมืองต่างๆ เข้าโจมตีตั๋งโต๊ะ แต่ไม่สำเร็จ จึงแยกตัวออกมา ต่างหาก สะสมกำลังพลและแสนยานุภาพ ครอบครองหัวเมืองฝ่ายเหนือ จนถูกเชิญมาเป็น มหาอุปราช ได้ใช้ความสามารถ การรู้จักใช้คน และเล่ห์เหลี่ยมกลยุทธ์ ที่เป็นที่เลื่องลือ จนสามารถครอบครองส่วนของแผ่นดินจีนไว้มากที่สุด ที่ได้ชื่อว่า วุยก๊ก 
                2.เล่าปี่: ผู้ อ้างว่าสืบเชื้อสายราชวงศ์ฮั่น เดิมเป็นคนยากจน ทอเสื่อขาย ได้ร่วมสาบานเป็นพี่น้อง กับ กวนอู เตียวหุย ปราบปรามขบถโจรโพกผ้าเหลือง นิสัยโอบอ้อมอารี เป็นที่รักใคร่แก่คนทั่วไป ได้เป็นเจ้าเมืองชีจิ๋ว ภายหลังต้องระหกระเหเร่ร่อนไปอาศัยเจ้าเมืองต่างๆอยู่ จนได้ขงเบ้งเป็น ที่ปรึกษา จึงได้ฟื้นตัวและสามารถครอบครองดินแดนเสฉวนได้ในชื่อว่า จ๊กก๊ก 
                3.ซุนกวน: ผู้เป็นบุตรของซุนเกี๋ยน และน้องของซุนเซ็ก ครอบครองดินแดนฝั่งกังตั๋ง อายุน้อยกว่า โจโฉ กับ เล่าปี่มาก อาศัยความรุ่งเรืองของการค้าขายติดแม่น้ำ สร้างความแข็งแกร่ง ให้กับก๊กตัวเอง ได้ใช้ชื่อว่า ง่อก๊ก 
                4.กวนอู: น้อง ร่วมสาบานของเล่าปี่ หลังจากตายไปได้ถูกยกย่องว่าเป็นเทพเจ้าแห่งความซื่อสัตย์ หน้าแดงหน้าแดง จักษุยาว หนวดเครางาม มีง้าวคู่กาย ภายหลังอยู่ร่วมกับ กวนเป๋ง ผู้บุตรบุญธรรม กับจิวฉอง เป็นเจ้าเมืองเกงจิ๋ว ถูกแผนกลยุทธ์ของลกซุน และลิบองฆ่าตาย
                5.เตียวหุย: น้อง ร่วมสาบานของ เล่าปี่และเตียวหุย นิสัยวู่วามอารมณ์ร้อน ชอบเหล้าสุรา ศรีษะเหมือนเสือ จักษุโตกลม เสียงดัง มีกำลังมาก ติดตามเล่าปี่มาตลอด ตายเพราะถูกลอบฆ่า และนิสัยวู่วามของตนเอง
                6.ขงเบ้ง: ผู้ ถูกยกย่องว่า หยั่งรู้ดินฟ้า มหาสมุทร จากคำแนะนำของชีซีทำให้เล่าปี่ต้องมาเชิญด้วยตัวเอง ถึงสามครั้งสามครา มีความรู้เป็นเลิศ รับใช้ราชวงศ์เล่าถึง 2 ชั่วอายุคน ภายหลังเล่าปี่ตาย ได้ฝากฝัง เล่าเสี้ยน ให้ดูแลแต่ไม่อาจสำเร็จได้ เพราะพระเจ้าเล่าเสี้ยนหูเบา เชื่อแต่คำยุยง ของขันที ฮุยโฮ ยกทัพไปปราบปรามชาวม่าน และได้สู้รบกับวุยก๊กหลายครั้ง มีคู่ปรับคือ สุมาอี้ 
                7.สุมาอี้: เริ่ม จากรับข้าราชการเล็กๆ ในก๊กโจโฉ เริ่มไว้วางใจในสมัย พระเจ้าโจยอย ออกสู้รบ กับขงเบ้งหลายครั้ง อย่างคู่คี่สูสี เป็นคู่ปรับตัวฉกาจของขงเบ้ง มีบุตรชื่อสุมาสู สุมาเจียว ได้ถอดพระเจ้าโจฮองออกจากราชสมบัติ สะสมอำนาจเหนือตระกูลโจ ภายหลัง สุมาเอี๋ยน ผู้บุตรสุมาเจียว ถอดพระเจ้าโจฮวนออก แต่งตั้งตัวเองเป็นฮ่องเต้ รวบรวมแผ่นดินจีน เป็นหนึ่งเดียว สถาปนาราชวงศ์จิ้น 
                8.จูล่ง: วีรบุรุษ ผู้เก่งกาจติดตามเล่าปี่ และขงเบ้ง เป็น 1 ใน 5 ทหารเสือที่เล่าปี่แต่งตั้งขึ้น ประกอบด้วย จูล่ง  กวนอู  เตียวหุย  ม้าเฉียว  ฮองตง สร้างวีรกรรมสำคัญคือ จูล่งฝ่าทัพรับ อาเต๊า โดยที่ตัวคนเดียวฝ่าช่วยชีวิตท่ามกลางทหารและองครักษ์มากมายของโจโฉที่ยกทัพ ลงใต้ หวังครอบครองแผ่นดิน ฝ่าออกมาคืนแก่เล่าปี่อย่างแสนสาหัส ฆ่าทหารเอกและทหารเลว ของโจโฉอย่างดาษดื่น เป็นบุคคลที่ตายดีที่สุดในสามก๊ก เพราะตายอย่างสงบ สุภาพเรียบร้อย  นิสัยซื่อสัตย์  กล้าหาญในหน้าที่
                9.ตั๋งโต๊ะ: ทรราช ที่อ้างตัวมาชุบเลี้ยงพระเจ้าเหี้ยนเต้ แต่ไม่อยู่ในจริยธรรม ฆ่าคนอย่างสนุกสนาน แผ่นดินเดือดร้อนไปทุกหย่อมหญ้า มีทหารเอกคู่ใจ คือ ลิโป้ ไม่มีใครกล้าต่อกรด้วย ภายหลังตายพราะผู้หญิง โดยเป็นแผนของอองอุ้นใช้กลยุทธ์ที่เลื่องลือ โดยมีแม่นางเตียวเสี้ยน หว่านล้อมเสน่ห์ ให้พ่อลูก ตั๋งโต๊ะ กับลิโป้ ผิดใจกัน
                10.ลิโป้: บุตร บุญธรรมของ ตั๋งโต๊ะ ถูกชุบเลี้ยงมาเป็นองครักษ์ข้างกาย มีฝีมือเป็นหนึ่งในแผ่นดินจีน ยอมฆ่าพ่อบุญธรรมคนเดิมเต๊งหงวน เพราะเห็นแก่ลาภยศ มัวเมาลุ่มหลงอิสตรีได้ขึ้นชื่อเป็น ลูกทรพี 3 พ่อถูกกลยุทธ์แม่นางเตียวเสี้ยน ลุ่มหลงจนฆ่าตั๋งโต๊ะด้วยมือตนเอง หลบหนี ไปพึ่งใบบุญเล่าปี่ แล้วทรยศซ้ำ ภายหลังถูกโจโฉไล่ตามตี จนมุมที่เมืองแห้แฝือ ถูกฆ่า ประหารชีวิต ตัดศรีษะไปเสียบประจาน จบยุคของผู้มีฝีมือเก่งกาจที่สุดในแผ่นดิน 
                11.จิวยี่: ผู้ ได้รับฉายาว่าเป็นผู้ถ่มนำลายรดฟ้า ได้อยู่รับใช้ในสมัย ซุนเซ็ก และซุนกวน เป็นเพื่อนสนิทของซุนเซ็ก ได้ถูกชวนมาร่วมบริหารบ้านเมือง ครั้นซุนเซ็กตาย จึงอยู่มาสมัยซุนกวน วางแผนออกรบ ร่วมกับขงเบ้ งปราบปรามต่อต้านโจโฉที่ยกทัพมาทำสงครามกับกังตั๋ง ได้ขึ้นชื่อว่าศึกเซ็กเพ็ก สงครามไฟประวัติศาสตร์จารึก ที่เผาผลาญทหารโจโฉร่วมล้านคน ภายหลังถูกขงเบ้งหักหลัง แย่งชิงเมืองทั้งหลายที่รบได้ไป จึงคิดแค้นใจและถูกพิษธนูกลุ้ม ขาดใจตาย ก่อนตายได้ตะโกน ว่า ฟ้าให้ยี่มาเกิด ไฉนจึงให้เหลียงมาเกิดด้วย

วิดีโอ YouTube