ข้อสอบทักษะชีวิต ม.6 พร้อมเฉลย

หน่วยที่ 1 (ทักษะชีวิตกับการดำรงตนในสังคม)

1. ทักษะชีวิตมีความสัมพันธ์กับคำว่าทักษะ หรือความสามารถที่มีลักษณะเป็นสมรรถภาพ (competency) ประกอบด้วยความสามารถทางจิตใจในทักษะการคิด การตัดสินใจ การปรับตัว ทักษะชีวิตเกิดขึ้นกับบุคคลได้โดยการฝึกฝนในทุกช่วงชีวิต ซึ่งมีความแตกต่างไปจากคำว่า ภูมิคุ้มกัน ศิลปะการดำรงชีวิต และทักษะการดำรงชีวิต คำดังกล่าวนี้เกิดขึ้นกับบุคคลได้โดยการได้รับการขัดเกลาทางสังคม (Socialization) และการเรียนรู้จากประสบการณ์

2.ทักษะชีวิตเริ่มต้นจากฝึกฝนให้บุคคลมีพลังเสริมสร้างให้กับตนเอง (Empowement) โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) เป็นองค์กรที่ริเริ่ม ทั้งนี้เพื่อใช้ในการพัฒนาสุขภาพ หากบุคคลสามรถรักษาสุขภาพของตนเองได้แล้วจะเป็นผลดีในการพัฒนาด้านสติปัญญา อารมณ์ และสังคม พร้อมการแก้ไขปัญหาอย่างประสิทธิภาพ ต่อมาหน่วยงานอื่น อาทิ องค์การยูนิเซฟ (Unicef) และองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนะธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO)  ได้นำทักษะชีวิตมาใช้ในการพัฒนาบุคลิกภาพเพื่อการป้องกันปัญหาสังคม ซึ่งเกิดจากพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของมนุษย์

3.ทักษะชีวิตได้นำมาใช้ในประเทศไทยในด้านการจัดการเรียนการสอนเพื่อการพัฒนาสุขภาพและการพัฒนาทรัพย์ยากรมนุษย์ ในการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา รวมทั้งการพัฒนาคนในสังคมเพื่อการฝึกฝนทักษะด้านสติปัญญาร่วมกับการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ และการฝึกฝนความอดทน รวมทั้งความรับผิดชอบต่อสังคมโดยรวม.

ประเทศไทยได้ความสำคัญในการมุ่งเน้นให้คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา แผนพัฒนาเศรษฐกิจ ฉบับที่ 8 (พ.ศ.2540-2544) ต่อเนื่อง ฉบับที่ 9 (พ.ศ.2545-2549) รัฐมุ่งพัฒนาให้คนไทยมีศักยภาพทักษะพื้นฐานในการพัฒนาคน 3 มิติ คือ 1.มติด้านการศึกษาหาความรู้ 2.ด้านสุขภาพเพื่อความสมบูรณ์ทั้งร่างกาย และจิตใจ 3.ด้านเจตคติเพื่อมองโลกในแง่ดี

จำแนกทักษะพื้นฐานในการพัฒนาคนใน 3 มิติ

1.ทักษะการพัฒนาตน หมายถึง ทักษะพื้นฐานที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ในอนาคต ประกอบด้วย พัฒนาบุคคลให้มีทักษะการเรียนรู้-คิด-สื่อสาร

2.ทักษะพัฒนางาน หมายถึง ทักษะพื้นฐานที่จำเป็นต่อการทำงาน ประกอบด้วย การจัดการ มีความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ ขยัน อดทน อดออม และประหยัด

3.ทักษะการอยู่ร่วมกันในสังคม ประกอบด้วย การควบคุมตนเองได้ มีความรับผิดชอบ มีวินัยในตนเอง ช่วยเหลือผู้อื่น เสียสละ มุ่งมั่นพัฒนา

มนุษย์จะต้องผ่านการบวนการหล่อหลอมทางธรรมชาติและการขัดเกลาทางสังคม (Socialization) ประกอบด้วย 1ขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรม ครอบครัว เพื่อน สิ่งแวดล้อม

ความหมายและความสำคัญของทักษะชีวิต

การศึกษาทักษะชีวิตในเชิงความหมาย

                1.ความหมายตามศัพท์บัญญัติ หากพิจารณาศัพท์ในภาษาไทยและภาษาอังกฤษประกอบด้วย คำว่า ทักษะ หรือSkill กับคำว่า ชีวิต หรือLife คำว่า ทักษะหมายถึง ความชำนาญ สำหรับคำว่า ชีวิต หรือLife หมายถึง ความเป็นอยู่

                2.ความหมายซึ่งสัมพันธ์กับการศึกษาในวิชาจิตวิทยาศึกษา คำว่า ทักษะหรือ skill มีความสัมพันธ์กับคุณลักษณะ ความสามารถ และศักยภาพ

                ทักษะ หมายถึง ความคล่องแคล่วในการประกอบกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งให้เนินไปอย่างต่อเนื่องตามลำดับ ซึ่งคุณลักษณะของบุคคลที่มีความสามารถสูง คลัชมีเออร์และริบเพิล (Klusmier และ Ripple) ได้กล่าวสรุปคุณลักลักษณะดังนี้ 1.ความสามารถปฏิบัติงานให้สำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2.สามารถแยกและมองเห็นแนวทางที่จะทำงานให้ดีกว่าเดิม 3.สามารถรู้ผลและตรวจสอบความถูกต้องให้เร็วและไม่ผิดพลาด 4.ทำงานอย่างรวดเร็วและมีการประสานงานกันเป็นอย่างดี 5.มีความคงที่ สม่ำเสมอ แม้อยู่ในภาวะแวดล้อมต่างกัน

ความหมายในศาสตร์สาขาจิตวิทยาสังคม องค์กรซึ่งเกี่ยวกับการดูและสุขภาพของมนุษย์ชาติและการศึกษาแก่มวลมนุษย์ ซึ่งได้แก่ องค์การอนามัยโลก (WHO) องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ UNESCO ได้ให้ความหมายคำว่า ทักษะชีวิต ดังนี้

1.องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ให้ความหมายทักษะชีวิตว่า เป็นความสามารถในการปรับตัว และการมีพฤติกรรมที่ถูกต้องเมื่อเผชิญกับสิ่งที่ท้าท้ายต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังเป็นสิ่งที่จรรโลงให้เกิดการดำรงไว้ซึ่งสภาวะสุขภาพจิตที่ดี สามารถปรับตัวและมีพฤติกรรมไปในทางที่ถูกต้องในขณะที่เผชิญแรงกดดัน หรือกระทบกับสิ่งแวดล้อมต่างๆ ที่เกิดขึ้นรอบตัว ความสามารถนี้ประกอบด้วย ความรู้ ความเข้าใจ เจตคติและทักษะในการจัดการกับปัญหาที่อยู่รอบตัวภายใต้สังคมปัจจุบัน

2.องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ              UNESCO ให้คำนิยามว่า ทักษะชีวิต คือ ความสามารถในการปรับตัวและพฤติกรรมที่ถูกต้องเหมาะสมกับการเผชิญกับปัญหาต่างๆ ในชีวิตประจำวัน

ข้อสรุปซึ่งได้จากองค์การอนายมัยโลก (WHO) และองค์กการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ UNESCO ได้เน้นความสำคัญให้มนุษย์รู้จักการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง มีเจนคติและทักษะเพื่อการดำรงตนอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข โดยเน้นความสำคัญในการดูแลสุขภาพ

สรุปความของคำว่า ทักษะชีวิต จากนิยามขององค์กรต่างๆ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทักษะชีวิต เป็นความสามารถเชิงจิตสังคม จิตวิทยา (Psychosocial Competency) ซึ่งเป็นความสามารถที่มีความสำคัญต่อการส่งเสริมสุขภาพกายและจิตเพื่อการใช้ชีวิตในสังคมปัจจุบันได้อย่างปกติสุข เมื่อเกิดปัญหาทางด้านพฤติกรรม ความเครียด และแรงกดดันที่เกิดขึ้นในชีวิต จำเป็นต้องได้รับการพัฒนาความสามารถเชิงจิตสังคมอันจะนำไปสู่การส่งเสริมสุขภาพ ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น รวมถึงการส่งเสริมให้บุคคลมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของสังคม

ทักษะชีวิตมีองค์ประกอบเป็นสมรรถภาพ (competencies) จำแนกเป็นทักษะหลัก 3 ทักษะประกอบด้วย 1.ทักษะด้านการคิด 2.การปรับตัว 3.การตัดสินใจ

คำซึ่งมีความใกล้เคียงกับคำว่าทักษะชีวิต ซึ่งได้แก่ คำว่า ภูมิคุ้มกัน ศิลปะการดำรงชีวิต

ทักษะชีวิตศึกษาขององค์การอนามัยโลก WHO ได้ริเริ่มการนำทักษะชีวิต 5 คู่ ประกอบด้วย

                คู่ที่ 1 ความคิดวิเคราะห์ กับ ความคิดสร้างสรรค์

                คู่ที่ 2 ความตระหนักรู้ในตน กับ ความเห็นใจผู้อื่น

                คู่ที่ 3 การสร้างสัมพันธ์ภาพ กับ การสื่อสาร

                คู่ที่ 4 การตัดสินใจ กับ การแก้ปัญหา

                คู่ที่ 5 การจัดการกับอารมณ์ กับ ความเครียด

กิจกรรม จงอธิบายการนำทักษะชีวิตมาประยุกต์ใช้ในการจัดการศึกษาด้านการสาธารณสุขและการพัฒนาบุคลิกภาพของของบุคคลในชีวิตการทำงาน

แนวตอบกิจกรรม การนำทักษะชีวิตมาประยุกต์ใช้ในการจัดการศึกษาด้านการสาธารณสุขเริ่มต้นจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ริเริ่มในการนำทักษะชีวิตมาใช้ในการสอนให้คนมีพลังเสริมในตนเอง (Empowerment) ทั้งนี้เพื่อลดความรุนแรงในปัญหาสังคมอันเกิดจากพฤติกรรมของมนุษย์และสร้างเสริมให้สังคมนุษย์รู้จักรักษาสุขภาพเพื่อให้คนมีความสุข (Health community) สำหรับการนำทักษะชีวิตมาใช้ในการพัฒนาบุคลิกภาพของบุคคลเป็นการนำทักษะชีวิตซึ่งประกอบด้วยทักษะ 5 คู่มาใช้ในการพัฒนาบุคคลด้านทักษะ การคิด การตัดสินใจ การปรับตัว ทั้งในด้านการทำงาน และการดำรงชีวิตประจำวันเพื่อให้อยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข.

การนำทักษะชีวิตมาใช้ในประเทศไทย

                ในประเทศไทย หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาและการสาธารณสุข ได้แก่ กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงสาธารณสุข

การบูรณาการทักษะชีวิตไว้ในการจัดการเรียนการสอนทั้ง 8 สาระการเรียนรู้ ประกอบด้วย วิชาภาษาไทย คณิตสาสตร์ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สุขศึกษา และพลศึกษา ศิลปะ การงานอาชี และเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ และภาษาต่างประเทศ

                การบูรณาการทักษะชีวิตในการเรียนการสอน 8 สาระการเรียนรู้

1.การรู้จักตนเอง เข้าใจตนเอง และเห็นคุณค่าของตนเอง 2.การรู้จักคิดอย่างมีวิจารณญาณและคิดสร้างสรรค์

3.การรู้จักตัดสินใจและแก้ปัญหา 4.การรู้จักแสวงหาและใช้ข้อมูลความรู้ 5.การสื่อสารและสร้างสัมพันธ์ภาพกับผู้อื่น 6.การจัดการภาวะอารมณ์และความเครียด 7.การปรับตัวท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงและริเริ่มใหม่ 8.การตั้งเป้าหมาย การวางแผนและดำเนินการตามแผน 9.ความเห็นใจผู้อื่น ความรับผิดชอบ และซาบซึ้งในสิ่งที่ดีงามรอบตัว

                การนำทักษะชีวิตมาใช้ในประเทศไทยเริ่มต้นการใช้ในสถานศึกษาทั้งระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และระดับอุดมศึกษาโดยใช้โปรแกรมทักษะชีวิตศึกษา Life Skills Education เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาตนเองและการอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างมีความสุข ซึ่งเป็นผลดีในด้านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมนุษย์และการแก้ปัญหาสังคม

                ภายหลังจากการปฏิรูปการศึกษา พ.ศ.2542 สถานศึกษาทุกระดับได้สนองตอบในปรัชญาการศึกษา ความรู้คู่คุณธรรม ด้วยเหตุนี้การจัดการศึกษาทั้ง 2 ระดับ ได้ทำการบูรณาการทักษะชีวิตไว้ในการจัดการเรียนการสอนโดยในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจัดไว้ใน 8 สาระการเรียนรู้ สำหรับระดับอุดมศึกษาได้บูรณาการทักษะชีวิตไว้ในรายวิชาการศึกษาทั่วไป ทั้งนี้เพื่อให้เด็กและเยาวชนไทยมีการพัฒนาตนเองทั้ง 3 มิติ ได้แก่ การพัฒนาตน พัฒนางาน พัฒนาสังคม การนำทักษะชีวิตมาใช้ในการเรียนการสอนประกอบด้วยทักษะหลัก 3 ด้าน 1.ด้านการคิด 2.การปรับตัว 3.กาตัดสินใจ การประยุกต์ใช้ทักษะชีวิตในการสอนวิชาการศึกษาทั่วไปให้เน้น รู้รอบ รู้กว้าง สร้างสรรค์ รู้คิด รู้วิจารณ์ รู้คุณธรรม

องค์ประกอบของทักษะชีวิต

                1.กลุ่มทักษะการคิดทักษะการคิดพื้นฐาน ทักษะการคิดระดับกลาง ทักษะกรคิดระดับสูง

โครงสร้างทางสมองของบุคคลบ่งชี้ความสามารถของบุคคลโดยจำแนกออกเป็น 2 ส่วน กลุ่มแรก สมองซีกขวา จะรับผิดชอบทางด้านอารมณ์ (Emotional) และความคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking) ก่อให้เกิดคุณลักษณะที่โดดเด่นในด้านความอ่อนไหวทางอารมณ์ที่สามารถประกอบอาชีพทางด้านศิลปะ การออกแบบ การแสดงต่างๆ  กลุ่มที่สอง สมองซีกซ้าย จะทำหน้าที่ในการควบคุมการรับรู้ การคิดเหตุผล วิเคราะห์วิพากษ์วิจารณ์ ก่อให้เกิดลักษณะเด่นในการคิดอย่างเป็นระบบ มีขั้นตอนเหมาะสมกับการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์ สำหรับการคิดเชิงวิเคราะห์เปรียบเทียบมีความเหมาะสมกับงานเชิงธุรกิจและการตลาด เป็นต้น

                2.กลุ่มทักษะการตัดสินใจ 3.กลุ่มทักษะในการปรับตัว

มนุษย์แต่ละชีวิตมีความแตกต่างระหว่างบุคคล ซึ่งในทางปฏิบัติไม่สามารถทำให้ทุกคนมีความรู้ ความสามารถเท่าเทียบกันได้เช่นผลผลิตจากโรงงาน แต่การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์มีหลักการร่วมกันในการฝึกฝนให้บุคคลรู้จักตนเองในด้านความสามารถตามความถนัด มีความตระหนัก ความรับผิดชอบ และเห็นใจผู้อื่น รู้จักใช้ความคิด การตัดสินใจและควบคุมอารมณ์ของตนเอง การหาทางเลือกโดยให้หลักการเจรจาต่อรองพร้อมการผ่อนคลายความเครียดในทางสร้างสรรค์ การฝึกฝนตนเองในแต่ละช่วงวัยอย่างต่อเนื่องโดยได้รับแรงบัลดาลใจจากสภาพแวดล้อมโดยรวมแล้ว แสดงถึงการนำทักษะชีวิตมาใช้ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างสมบูรณ์ 

                ทักษะชีวิตมีจุดเริ่มต้นจากครอบครัวโดยบุคคลในครอบครัวเป็นผู้ฝึกฝนและอบรมขัดเกลาทางสังคม (Socialization) ครอบครัวที่มีความอบอุ่นและมีบรรยากาศภายในครอบครัวซึ่งมีความสุขจะหล่อหลอมบุคลิกภาพที่ดีให้กับบุคคลตั้งแต่วัยเยาว์

พัฒนาการทางบุคลิกภาพของบุคคลในแต่ละช่วงวัยตามทฤษฎีการพัฒนาบุคลิกภาพของ อีริค.เอช. อีริคสัน (Erik. H. Erikson) มีความเห็นว่าบุคลิกภาพของบุคคลเกิดจากการที่บุคคลได้ปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางสังคมตลอดเวลา การอบรมเลี้ยงดู และวัฒนธรรมของสังคมจึงมีผลต่อสุขภาพจิตและบุคลิกภาพของบุคคล ซึ่งเขาได้แบ่งออกเป็น 8 ขั้น แต่ละขั้นมีช่วงวิกฤติของชีวิตดังนี้

1.ขั้นไว้วางใจ - ไม่ไว้วางใจ (อายุ 0-1 ปี) เป็นขั้นพัฒนาตามความเชื่อถือและไว้ใจผู้อื่น ซึ่งมีผลสะท้อนการมองโลกเชิงบวกและเชิงลบ

2.ขั้นเป็นตัวของตัวเอง ไม่เป็นตัวของตัวเอง (อายุ 2-3 ปี)เป็นช่วงวัยในการพัฒนาความเชื่อมั่นในตนเอง

3.ขั้นมีความคิดริเริ่ม ความรู้สึกผิด (อายุ 4-5 ปี) เป็นระยะเวลาที่มีผลต่อการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์

4.ขั้นมีความขยันหมั่นเพียร ความรู้สึกต่ำต้อย (อายุ 6-11 ปี) เป็นช่วงที่เด็กไปโรงเรียน เกิดการเรียนรู้ ฝึกฝนทักษะการเขียน ในช่วงนี้เด็กต้องการกำลังใจจากผู้ใหญ่เพื่อเสริมสร้างความมั่นใจและมีความมานะอดทน

5.ขั้นแสวงหาเอกลักษณ์ ความสับสนในบทบาท (อายุ 12-18 ปี) ในช่วงวัยนี้เป็นช่วงวัยรุ่น เป็นวัยแห่งการค้นหาเอกลักษณ์ของตนเอง ซึ่งผลจากการสั่งสม 4 ชั้นที่ผ่านมาจะก้าวไปสู่ความสำเร็จ ถ้าหากในวัยนี้เด็กขาดประสบการณ์การหล่อหลอมบุคลิกภาพจะส่งผลในด้านการตามเพื่อน-ติดเพื่อน

                6.ขั้นมีความผูกพัน การแยกตัว (วัยผู้ใหญ่ตอนต้น) เริ่มออกไปประกอบอาชีพ การรู้จักบทบาทและหน้าที่ตนเอง ถ้าหากบุคคลใดขาดความสมหวังในชีวิตจะมีนิสัยชอบอิจฉาริษยา ไม่สามารถแก้ไขข้อแย้งได้ ถ้าหากเป็นผู้แต่งงานแล้ว การขาดความเข้าใจจะเป็นเหตุแห่งการหย่าร้าง

                7.ขั้นการทำประโยชน์สร้างสรรค์ ความเห็นแก่ตัว (วัยกลางคน) ถ้าหากบุคคลได้รับการฝึกฝนความรับผิดชอบมาก่อน จะส่งผลในการช่วยเหลือสังคมโดยรวม ในทางตรงกันข้ามบุคคลที่ถูกเลี้ยงดูอย่างตามใจหรือเป็นคนที่ขาดความรักจากบุคคลอื่นจะพบนิสัยเห็นแก่ตัว

                8.ขั้นบูรณภาพ ความสิ้นหวัง (วัยชราวัยสุดท้ายของชีวิต) ถ้าหากบุคคลเคยได้รับการยกย่อง เป็นผู้มีความรู้ความสามารถสูงจะรู้สึกภาคภูมิใจ ในทางตรงกันข้าม บุคคลที่ไม่สมหวังกับการดำรงชีวิตในวัยหนุ่มสาวจะกลายเป็นคนโดดเดี่ยว เหงา ว้าเหว่ สิ้นหวัง และขาดความสุขในการดำรงชีวิต

ทักษะชีวิตเพื่อการดำรงตนในสังคม

                1.ทักษะภายในคือจิต หากบุคคลได้รับการฝึกฝนให้มีจิตที่สมบูรณ์ หมายถึง การมองโลกในแง่ดี มีการเคารพในสิทธิของตนเองและผู้อื่นอย่างเหมาะสม จะหล่อหลอมให้บุคคลมีจิตที่เข้มแข็ง ครองตนให้อยู่ในวัฒนธรรมอันดีงาม ทักษะภายในมีความสัมพันธ์กับทักษะการตัดสินใจและการปรับตัว

                2.ทักษะภายนอกคือการดำรงชีวิตเมื่อต้องเผชิญกับสิ่งแวดล้อมนอกกาย เป็นการฝึกฝนทักษะด้านการแสวงหาความรู้อันเป็นพื้นฐานของทักษะการคิดเพื่อให้ได้รับความทันสมัยและปรับเปลี่ยนตนเองให้สามารถทำงานให้เกิดผลสำเร็จ

แบบประเมินผลตนเองก่อนเรียน หน่วยที่ 1

1.ข้อใดคือความหมายของคำว่า ทักษะชีวิต = ความสามารถของบุคคลที่จัดการกับความต้องการและสิ่งที่ท้าทายในชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2.ข้อใดที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาบุคลิกภาพของมนุษย์ตลอดการดำรงชีวิต = ขนบธรรมเนียมและวัฒนธรรม ครอบครัว เพื่อน สิ่งแวดล้อม

3.หน่วยใดจัดเป็นหน่วยงานแห่งแรกในการริเริ่มนำทักษะชีวิตไปใช้ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ = องค์การอนามัยโลก WHO

4.ข้อใดตรงกับการจัดการเรียนการสอนทักษะชีวิตในประเทศไทยเป็นครั้งแรก = การศึกษาการป้องกันโรคในสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์

5.ในทฤษฎีพัฒนาการของมนุษย์ตามแนวคิดของอีริค เอช อิริกสัน (Erik H. Erikson) ได้ให้ความสำคัญช่วงวัยของมนุษย์ในช่วงวัยใดที่มีบทบาทสำคัญในการแสวงหาความเป็นเอกลักษณ์ให้กับตนเอง = วัยรุ่น

6.ข้อใดตรงกับความหมายที่ถูกที่สุดของคำว่า ทักษะชีวิต ศิลปะการดำรงชีวิต ทักษะการดำรงชีวิต และภูมิคุ้มกัน = ทักษะชีวิตเป็นความสามารถอันเกิดจากการฝึกฝน ทั้งทางด้านการ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา

7.การเสริมพลังในตนเอง (Empowerment) มีความสำคัญในการพัฒนาบุคลิกภาพของบุคคลได้อย่างไร = ความสามารถในการจัดการกับปัญหารอบตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ

8.จากกรณีศึกษาของเด่นชัยในหน่วยการเรียนทักษะชีวิต การดำรงตนในสังคม มีความสัมพันธ์กับขั้นตอนในการศึกษาทักษะชีวิต และข้อใดคือคำตอบที่ถูกต้องที่สุด = การฝึกประเมินสถานการณ์และการวิเคราะห์ปัญหาเป็นลำดับแรก

9.การนำทักษะชีวิตมาใช้ในการพัฒนาสังคมเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม ทักษะใดมีความสำคัญสูงสุดซึ่งควรปลูกฝังเพื่อให้เกิดในประชาชนโดยรวมอย่างยั่งยืน = ความรับผิดชอบต่อสังคม

10.การใช้ทักษะชีวิตในระดับอุดมศึกษาควรส่งเสริมความสามารถในด้านใด = การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์

แบบประเมินผลหลังเรียน หน่วยที่ 1

1.ข้อใดคือความหมายของคำว่า ทักษะชีวิต = ความสามารถของบุคคลที่จัดการกับความต้องการและสิ่งที่ท้าทายในชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2.ข้อใดที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาบุคลิกภาพของมนุษย์ตลอดการดำรงชีวิต = เพื่อน สิ่งแวดล้อม ครอบครัว ขนบธรรมเนียมและวัฒนธรรม

3.หน่วยใดจัดเป็นหน่วยงานแห่งแรกในการริเริ่มนำทักษะชีวิตไปใช้ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ = องค์การอนามัยโลก WHO

4.ข้อใดตรงกับการจัดการเรียนการสอนทักษะชีวิตในประเทศไทยเป็นครั้งแรก = การศึกษาการป้องกันโรคในสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์

5.ในทฤษฎีพัฒนการของมนุษย์ตามแนวคิดของอีริค เอช อิริคสัน (Erik H. Erikson) ได้ให้ความสำคัญช่วงวัยของมนุษย์ ในช่วงวัยใดที่มีบทบาทสำคัญในการแสวงหาความเป็นเอกลักษณ์ให้กับตนเอง = วัยรุ่น

6.ข้อใดตรงกับความหมายที่ถูกที่สุดของคำว่า ทักษะชีวิต ศิลปะการดำรงชีวิต ทักษะการดำรงชีวิต และ ภูมิคุ้มกัน = ทักษะชีวิตเป็นความสามารถอันเกิดจากการฝึกฝนทั้งทางด้านกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา

7.การเสริมพลังในตนเอง (Empowerment) มีความสำคัญในการพัฒนาบุคลิกภาพของบุคคลได้อย่างไร = ความสามารถในการจัดการกับปัญหารอบตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ

8.จากกรณีศึกษาของเด่นชัยในหน่วยการเรียนทักษะชีวิต การดำรงตนในสังคม มีความสัมพันธ์กับขั้นตอนในการศึกษาทักษะชีวิต ข้อใดคือคำตอบที่ถูกต้องที่สุด = การฝึกประเมินสถานการณ์และการวิเคราะห์ปัญหาเป็นลำดับแรก

9.การนำทักษะชีวิตมาใช้ในการพัฒนาสังคมเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม ทักษะใดมีความสำคัญสูงสุดซึ่งควรปลูกฝังเพื่อให้เกิดในประชาชนโดยรวมอย่างยั่งยืน = ความรับผิดชอบต่อสังคม

10.การใช้ทักษะชีวิตในระดับอุดมศึกษาควรส่งเสริมความสามารถในด้านใด = การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์

หน่วยที่ 2 (การคิด การวิเคราะห์ การอ้างเหตุผล)

การคิดเป็นการรับสารและเข้าใจสารที่ผู้ส่งสารมา และมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสารนั้นๆ โดย การพูด อธิบาย และชี้แจงเหตุผลได้

ในชีวิตประจำวันเราควรฝึกทักษะการคิดวิจารณ์โดยไม่คิดเชื่อข้อมูลข่าวสารทุกประการที่ได้รับโดยถูกซับไว้เหมือนฟองน้ำ แต่ควรมีการคิดวิเคราะห์ข่าวสารโดยหาเหตุผลและหลักฐาน และคัดข้อมูลที่น่าเชื่อถือไว้เหมือนการคัดแยกทองออกจากก้อนกรวด

ความคิดเชิงวิจารณ์เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตในการที่จะคัดเลือกข้อมูลเพื่อประโยชน์ในการตัดสินใจที่จะกระทำหรือไม่กระทำสิ่งใด โดยอาศัยการตรวจสอบและเปลี่ยนความคิดเห็นจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องแล้วนำมาประมวลเป็นทางเลือกและเหตุผลที่ดีที่สุดนำมาปฏิบัติ

ตัวอย่างของการคิดที่ถูกต้องตามความหมาย เป็นลักษณะและทักษะการคิดของมนุษย์ที่จะแก้ปัญหาและใช้ทักษะการคิดที่มีอยู่ เช่น

1. ด.ช.ยิ้ม ไม่เข้าใจการบ้านที่ครูสั่งให้ทำ จึงไม่อยากไปโรงเรียน  2.คอมพิวเตอร์แข่งขันคิดเลขกับคนปรากฏผลว่าคนชนะ

แนวคิดของ นีล เบรา กับ สจวร์ต คีลี (Neil Brown Stuart Keeley) แบ่งวิธีคิดได้ 2 แบบ คือ

                1. ท่าทีแบบฟองน้ำ คือ ดูดซับทุกสิ่งทุกอย่าง การดูดซับในแง่นี้หมายถึงการเชื่อทุกสิ่งทุกอย่างโดยไม่คัดอะไรออกเลย คนที่เป็นเหมือนฟองน้ำในแง่นี้ก็คือคนที่เชื่อทุกสิ่งทุกอย่างที่มีใครบอก ไม่ตัดอะไรทิ้งไปเลย เรามักจะคุ้นเคยกับคนแบบนี้หรือท่าทีแบบนี้ เพราะในการเรียนในโรงเรียนเรามักได้รับอบรมสั่งสอนว่า ให้จดจำสิ่งที่ครูสอน การจดจำนี้ก็คือการซับน้ำของฟองน้ำนั่นเอง

                2. ท่าทีแบบร่อนทอง กล่าวคือ  เราเปรียบเทียบข้อมูลข่าวสาร (ที่ดีๆ) ว่าเหมือนทองที่ต้องใช้แรงและความพยายามในการร่อนออกมาจากก้อนหินก้อนกรวดที่ไม่มีค่า (เปรียบได้กับข้อมูลข่าวสารขยะ) เห็นได้ชัดว่าท่าทีแบบนี้ดีกว่าท่าทีแบบฟองน้ำที่เอาทุกอย่าง

กิจกรรม ความคิดในข้อใดต่อไปนี้เป็นความคิดวิเคราะห์แบบฟองน้ำ หรือแบบร่อนทอง

แนวตอบกิจกรรม 1.คนส่วนใหญ่จะเชื่อกันว่าในเลือดจะมีคลอเรสโตรอลต่ำ(ความคิดแบบร่อนทอง)   2.รัฐบาลถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าผู้ค้ายาเสพติดถูกฆ่าตัดตอนในจำนวนมากเพราะทางการละเลยให้กระทำวิสามัญฆาตกรรม (ความคิดแบบร่อนทอง) 3.ผู้ย้ายเข้าไปอาศัยในบ้านที่ปลูกใหม่ ถ้าไม่มีพิธีขึ้นบ้านใหม่ คนอยู่อาศัยจะเดือนร้อนเนืองๆ (ความคิดฟองน้ำ)

ประโยชน์ของแนวคิดเชิงวิจารณ์ ที่ได้จากเรื่องโหราศาสตร์คือทำให้มองหาเหตุผลและความสมเหตุสมผลของข้อมูลโดยไม่เชื่อสิ่งใดง่ายๆ ดังเช่น ความคิดในเชิงวิพากษ์วิจารณ์โหราศาสตร์ที่เป็นความฟ้องของเหตุการณ์กับโหราศาสตร์ที่เป็นเหตุกำหนดผล

การอ้างเหตุผล

                การอ้างเหตุผลเป็นการแยกแยะข้อความ หรือเสนอข้อความที่ควรเชื่อหรือไม่ควรเชื่อโดยยกเหตุผลมาสนับสนุน การอ้างเหตุผลประกอบด้วยโครงสร้าง 2 ส่วน ส่วนแรกเป็นข้อสรุป (conclusion) ส่วนที่ 2 เป็นข้ออ้าง

                ความจริงเป็นคุณสมบัติของข้อความหรือประโยชน์ที่ตรงกับความจริง ความสมเหตุสมผลเป็นคุณสมบัติของการอ้างเหตุผล ถ้าข้ออ้างทั้งหมดเป็นความจริง ข้อสรุปทั้งหมดจะต้องเป็นความจริง และความถูกต้องเป็นคุณสมบัติของการอ้างเหตุผล เมื่อการอ้างเหตุผลนั้นสมเหตุสมผลและมีข้ออ้างที่เป็นจริงทั้งหมด

การอ้างเหตุผลได้แก่ชุดของข้อความที่ประกอบด้วยข้ออ้างกับข้อสรุป โดยที่ข้ออ้างสนับสนุนว่าข้อสรุปน่าเชื่อถือด้วยการใช้เหตุผลหรือให้หลักฐานมายืนยัน ดังนั้นหากเราอยากจะรู้ว่าข้อความชุดใดเป็นการอ้างเหตุผลหรือไม่ ก็ให้มองคำที่แสดง ความเป็นเหตุผล ดังนี้

เพราะว่า                  เพราะฉะนั้น

เนื่องจาก                ดังนั้น

ด้วยเหตุที่ว่า           ด้วยเหตุนี้

โครงสร้างของการอ้างเหตุผล

การอ้างเหตุผลประกอบด้วยสองส่วน โดยที่ส่วนข้ออ้างสนับสนุนข้อสรุป ตัวอย่างเช่น ทักษิณเป็นคนดี เพราะตั้งใจทำงาน ในการวิเคราะห์โดยโครงสร้างของการอ้างเหตุผล เราจะแสดงสนับสนุนดังนี้

1 ได้แก่ประโยค ทักษิณตั้งใจทำงาน 2. ได้แก่ประโยค ทักษิณเป็นคนดี หมายความว่า ประโยค1 สนับสนุนประโยค2

มโนทัศน์ที่สำคัญมากในความคิดเชิงวิจารณ์ คือ ความจริง ความสมเหตุสมผล และความถูกต้อง

การวิเคราะห์โพลล์และสถิติ การอ้างเหตุผลแบบอุปนัยแบบนับจำนวน (induction by enumeration)

                1.มีการอ้างอิงผู้เชี่ยวชาญหรือไม่ 2.ใครเป็นผู้ทำการสำรวจ 3.วิธีการสำรวจเป็นวิธีการแบบใด 4.คำถามละข้อในแบบสอบถามนั้นเป็นคำถามประเภทใด 5.มีการปกปิดหลักฐานที่เกี่ยวข้องหรือไม่ 6.มีการใช้วิธีอ้างที่น่าสงสัยหรือไม่ 7.มีการใช้การทิ้งเหตุผลในสถิติต่างๆหรือไม่ (การทิ้งเหตุผลแบบเปรียบเทียบบกพร่อง -การทิ้งเหตุผลแบบสถิติลำเอียง การทิ้งเหตุผลแบบสถิติที่รู้ไม่ได้ -การทิ้งเหตุผลแบบอ้างความสัมพันธ์ที่เกี่ยวกันโดยบังเอิญ)

-เดวิด โอกิลวี่ (David Ogilvy) ซึ่งถือว่าเป็นปรมาจารย์ทางการโฆษณาได้กล่าวไว้ว่า การขอให้ผู้ทำโฆษณาบรรยายข้อบกพร่องของสินค้าของตนนั้นเป็นการขอกันมากเกินไป

กิจกรรม การทำโพลล์และสถิติใช้วิธีการอ้างเหตุผลแบบใดในการอ้างอิงความน่าเชื่อถือ

แนวตอบกิจกรรม ใช้วิธีการอ้างเหตุผลอุปนัยแบบนับจำนวน (induction by enumeration)

กิจกรรม ในการรับทราบข้อมูลการทำโพลล์และสถิติ เราต้องตรวจสอบในเรื่องอะไร

แนวตอบกิจกรรม เราต้องตรวจสอบโดยใช้วิธีการประเมินการอ้างเหตุผลมาประกอบการอ่านวิเคราะห์

แบบประเมินผลตนเองก่อนเรียน หน่วยที่ 2

1.ทักษะการคิดใดสำคัญที่สุดในยุคข้อมูลข่าวสาร = การคิดช่วยแยกความจริงที่ควรเชื่อออกจากความเท็จ

2.สมมติว่าเราทำงานเป็นตัวแทนขายประกันชีวิต เราอยากให้เพื่อนของเราเห็นความสำคัญของการมีหลักประกัน เราควรจะพูดกับเพื่อนว่าอย่างไร = ถึงรัฐบาลจะมีการประกันอุบัติเหตุทดแทนให้ แต่ถ้าเธอเสียชีวิต ครอบครัวเธอจะไม่ลำบาก ถ้าเธอทำประกันชีวิต

3.ในสถานการณ์ปัจจุบัน จำเป็นหรือไม่ที่เราต้องพิจารณาว่าจะเลือกเชื่อข้อมูลข่าวสารใด = จำเป็น เพราะหลอกบ้างจริงบ้า และการรู้ความจริงมีประโยชน์

4.เหตุผลการป้องกันโรคหวัดซารส์ของรัฐบาลในข้อใดสมเหตุสมผลที่สุด = การเดินทางกลับจากประเทศกลุ่มเสี่ยงควรกักตัวไว้เพื่อดูอาการ เป็นการป้องกันการแพร่เชื่อ

5.การโน้มโน้มใจให้เชื่อในข้อใดมีเหตุผลน้อยที่สุด = มีลูกผู้หญิงดีกว่าลูกผู้ชายเพราะจะไม่เป็นกะเทย

6.จากการที่นักศึกษาอ่านเรื่องบั้งไฟพญานาคมาคิดว่าข้อใดเป็นข้อที่เราสามารถสรุปได้มากที่สุด = บั้งไฟพญานาคเป็นผลจากความเชื่อของคน และเราต้องค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่องนี้มากขึ้น

7.นักศึกษาคิดว่าอะไรเป็นเหตุผลที่ดีที่สุดที่ทำให้เราต้องสนใจเรื่องความคิดเชิงวิจารณ์ = การปกครองระบอบประชาธิปไตยทำให้เราต้องมีความรับผิดชอบ และต้องรู้จักคิดแยกแยะเพื่อให้เราตัดสินใจได้ถูกต้อง

8.ข้อความต่อไปนี้ ข้อใดไม่ใช่การอ้างเหตุผล = สหรัฐฯ รบชนะอิรักเนื่องจากมีกำลังเหนือกว่ามากมาย

9.ปัจจัยข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับความน่าเชื่อถือของการทำและนำเสนอโพลล์ = อายุของผู้ทำการสำรวจ

10.การอ้างเหตุผลต่อไปนี้ ข้อใดไม่สมเหตุสมผล = คนทุกคนที่นั่งสมาธิจะเป็นคดี ดังนั้นสมรเป็นคนดี เพราะเธอนั่งสมาธิ

แบบประเมินผลตนเองหลังเรียน หน่วยที่ 2

1.ในยุคข้อมูลข่าวสาร ทักษะการคิดในข้อใดสำคัญที่สุด = การคิดที่แยกความจริงออกจากความเท็จได้

2.สมมติว่าเราทำงานเป็นตัวแทนขายเครื่องสำอาง เราอยากจะให้เพื่อนมองเห็นความสำคัญของการใช้เครื่องสำอาง เพราะควรจะพูดกับเพื่อนว่าอย่างไร = เธอเป็นคนหน้าใส อ่อนเยาว์อยู่แล้ว แต่ตรงนัยน์ตานี่มีรอยตีนกาขึ้น ฉันใช้เครื่องสำอางชนิดนี้ได้ผล ฉันจึงแนะนำให้เธอลองใช้ดูเผื่อจะลบรอยตีกาได้บ้าง

3.ในสถานการณ์ปัจจุบัน จำเป็นหรือไม่ที่เราควรจะคัดเลือกข้อมูลข่าวสารก่อนที่จะเชื่อถือ = จำเป็น เพราะข้อมูลบางอย่างมีจริงปนเท็จ การรู้ความจริงจึงมีประโยชน์

4.เหตุผลในการป้องกันโรคซารส์ของรัฐบาล ในข้อใดสมเหตุสมผลที่สุด = การกักตัวไว้ดูอาการเพราะต้องการป้องกันการแพร่เชื้อ

5.การโน้มน้าวใจให้เชื่อในข้อใดสมเหตุสมผลมากที่สุด = ช่วงสงกรานต์มีคนตายมากเพราะขับรถขณะมึนเมาและเล่นสาดน้ำกัน

6.ข้อใดเป็นข้อสรุปของเรื่อง บั้งไฟพญานาค = บั้งไฟพญานาคเป็นผลจากความเชื่อของคนและเราต้องค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่องนี้มากขึ้น

7.เพราะเหตุใดเราจึงต้องมีทักษะการคิดเชิงวิจารณ์ = การมีทักษะการคิดเชิงวิจารณ์ทำให้รู้เท่าทันคน

8.ข้อความต่อไปนี้ ข้อใดไม่ใช่การอ้างเหตุผล = สหรัฐ รบชนะอิรัก เนื่องจากมีกำลังเหนือกว่ามากมาย

9.ปัจจัยใดไม่เกี่ยวข้องกับความน่าเชื่อถือของการทำและนำเสนอโพลล์ = เพศของผู้ทำการสำรวจ

10.การอ้างเหตุผลต่อไปนี้ ข้อใดไม่สมเหตุสมผล = คนทุกคนที่นั่งสมาธิจะเป็นคนดี ดังนั้นสมรเป็นเป็นคนดี เพราะเธอนั่งสมาธิ

หน่วยที่ 3 (การใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสม)

เทคโนโลยีในศตวรรษที่ 21 จะเป็นเทคโนโลยีระดับสูง มีความซับซ้อน และมีลักษณะเป็นสหสาขาวิชา วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ที่ถูกพัฒนาขึ้นจะมีขนาดเล็กลง แต่ทำงานได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพสูงขึ้น

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยีว่า คือ วิทยาการที่เกี่ยวกับศิลปะ โดยการเอาวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติ และอุตสาหกรรม หรือกล่าวได้ว่า เทคโนโลยี คือ การนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาสร้างเป็นเครื่องมือหรือวิธีการต่างๆ นั่นเอง โดยเทคโนโลยีที่อยู่ในรูปแบบของเครื่องมือหรืออุปกรณ์ต่างๆ ที่จับต้องได้ มักถูกเรียกว่า ฮาร์ดแวร์ (hardware) ส่วนเทคโนโลยีในลักษณะที่เป็นความรู้ วิธีการ กระบวนการ และกลไกการทำงาน รวมทั้งฝีมือในด้านต่างๆ เรียกว่า ซอฟต์แวร์ (software)

วิวัฒนาการของเทคโนโลยี

                1.ยุคหิน (Stone Age) แบ่ง 3 ระยะคือ 1.ระยะพาลีโอลิติค หรือยุคหินเก่า (เครื่องมือ เครื่องใช้ และอาวุธของคนในยุคนี้ล้วนทำงมาจากหิน) 2.ระยะมีโซลิติค หรือยุคหินกลาง (เครื่องมือเครื่องใช้จากกรวดและหินที่มีความสลับซับซ้อน และหลากหลายชนิดมากขึ้น) 3.ระยะนีโอลิติค หรือยุคหินใหม่ (เริ่มมีการใช้โลหะบางชนิดและนำเกษตรกรรมมาใช้ในชีวิตประจำวันด้วย)

                2.ยุคทองสัมฤทธิ์ (Bronze Age)  เครื่องมือที่จากทองสัมฤทธิ์ขึ้นครั้งแรกในประเทศแถบตะวันออกกลาง ในทวีปยุโรป ยุคทองสัมฤทธ์เริ่มขึ้นที่ประเทศกรีก ส่วนในทวีปเอเชียเริ่มขึ้นที่ประเทศจีน สำหรับประเทศไทยมีการค้นพบวัตถุโบราณที่ทำมาจากทองสัมฤทธิ์ เช่น ขวาน กำไล และหอก ที่ ต.บ้านเชียง อ.หนองหาน จ.อุดรธานี และที่ ต.แวง อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร

                3.ยุคเหล็ก (Iron Age) ในยุคนี้ เหล็กวัสดุสำคัญในการผลิตอุปกรณ์ และเครื่องใช้ต่างๆ และถูกใช้อย่าแพร่หลายในช่วง 500 ปี ก่อนคริสตศักราช ในประเทศไทยมีการขุดพบเครื่องมือที่ทำจากจากเหล็กที่บ้านดอนตาเพชร จ.กาญจนบุรี และที่ ต.โนนชัย อ.เมือง จ.ขอนแก่น ในยุคนี้มีการนำเอาเหล็กมาใช้เป็นโครงสร้างในการก่อสร้างตึกและอาคาร และพบว่ามีการพัฒนาอุตสาหกรรมเหมืองแร่ด้วย

                4.ยุคการปฏิวัติอุตสาหกรรม (Industrial Revolution) เริ่มต้นที่ประเทศอังกฤษ ในระหว่าง ค.ศ. 1790-1830 โดยมีการพัฒนาการเกษตรแบบชนบทมาเป็นการเกษตรแบบเมือง และกลายเป็นอุตสหกรรมการผลิตในที่สุด อุตสาหกรรมการผลิตชนิดแรกคืออุตสาหกรรมสิ่งทอ นอกจากนั้นเครื่องจักรกลไอน้ำที่สร้างขึ้นโดย เจมส์ วัตต์ และ ทอมมัส นิวโคเม็น ก็เกิดขึ้นในยุคนี้ ยุคอุตสาหกรรมได้แพร่หลายไปยังประเทศต่างๆ ในยุโรปในช่วงศตวรรษที่ 19 และขยายไปสู่สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และรัสเซีย ในช่วงศตวรรษที่ 20

                5.ยุคศตวรรษที่ 20 (The 20th Century) เป็นยุคทองของเทคโนโลยีในด้านต่างๆ ได้รับการพัฒนาและก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว เช่น เทคโนโลยีไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เทคโนโลยีการติดต่อสื่อสาร การบิน พลังงาน อาวุธสงคราม โทรทัศน์ โทรศัพท์ รถยนต์ คอมพิวเตอร์

วิวัฒนาการของเทคโนโลยี ยังสามารถแบ่งได้ตามการเปลี่ยนแปลงทางสังคมหรือวัฒนธรรมของมนุษย์ แบ่งออกเป็น 3 ระลอก (ทอฟฟเลอร์)

                1.ยุคสังคมเกษตรกรรม โดยมนุษย์เปลี่ยนวิถีชีวิตจากการเร่ร่อนมาตั้งถิ่นฐานตามลุ่มน้ำสำคัญของโลก เช่น แม่น้ำไทกริส และยูเฟรติส และทำมาหากิจเลี้ยงชีพด้วยการทำเกษตรกรรม ยุคนี้เป็นสังคมที่มีภูมิปัญญา มีวัฒนธรรมค่อนข้างสูง อีกทั้งผู้คนมีความอื้ออาทรสมานฉันท์

                2.ยุคสังคมการปฏิวัติอุตสาหกรรม เป็นยุคที่สังคมโดยเฉพาะสังคมตะวันตกมุ่งเน้นการพัฒนาประเทศเพื่อการลงทุน มีการพัฒนาอุตสาหกรรมหนัก ซึ่งทำให้เกิดการจ้างงานในโรงงานเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ยุคเกษตรกรรมล่มสลาย คนชนบทต้องเข้ามาหางานในเมือง อีกทั้งความมีน้ำใจ มิตรไมตรีก็ลดน้อยไปจากสังคม

                3.ยุคสังคมแห่งการเรียนรู้ หรือยุคข้อมูลข่าวสาร

เทคโนโลยีแบ่งได้ 3 ระดับ 1.เทคโนโลยีระดับต่ำ 2.เทคโนโลยีระดับกลาง 3.เทคโนโลยีระดับสูง (ตัวอย่างของการพัฒนาเทคโนโลยีตั้งแต่ระดับพื้นบ้านไปจนถึงเทคโนโลยีระดับสูง เช่น การสร้างบ่อน้ำ อ่างเก็บน้ำ และเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำ)

ประโยชน์ของเทคโนโลยี

                1.มิติด้านเศรษฐกิจ 2.มิติด้านสังคม การศึกษา และการเมือง 3.มิติด้านตัวบุคคล 4.มิติด้านสิ่งแวดล้อม

เทคโนโลยีสารสนเทศ

                ในระยะเวลา 100 ปีที่ผ่านมา เป็นช่วงที่วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วที่สุด ศตวรรษที่ 20 ถือว่ายุคทองของเทคโนโลยี เนื่องจากมีการค้นคว้า วิจัย และพัฒนาเทคโนโลยีมาใช้ประโยชน์มากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีบทบาทอย่างมากมายต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก จนถูกขนานนามว่า เป็นคลื่นลูกที่สาม ถัดจากคลื่นการปฏิวัติเกษตรกรรมและการปฏิวัติอุตสาหกรรม ส่วนคลื่นลูกที่สี่ที่ทุกคนกำลังจับตามองและให้ความสำคัญไม่น้อยกว่าเทคโนโลยีสารสนเทศ คือเทคโนโลยีชีวภาพยุคใหม่

                เทคโนโลยีในศตวรรษที่ 21 จะเป็นเทคโนโลยีระดับสูง มีความหลากหลายและซับซ้อน อีกทั้งจะมีลักษณะเป็นสหสาขาวิชา (multidisciplinary) เช่น การเชื่อมโยงเทคโนโลยีชีวภาพยุคใหม่เข้ากับเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้เกิดวิทยาการแขนงใหม่ที่มีชื่อว่า ชีวสารสนเทศ (bioinformatics) ซึ่งมีประโยชน์อย่างมากต่อการเข้าใจกลไกการทำงานของสิ่งมีชีวิต และนำไปสู่การรักษาโรคที่ร้ายแรง ในศตวรรษที่ 21 ที่เราควรรู้จักได้แก่ เทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีชีวภาพยุคใหม่ นาโนเทคโนโลยี และเทคโนโลยีโลหะวัสดุ

                คอมพิวเตอร์ที่ถูกพัฒนาในยุคแรกเป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้หลอดสุญญากาศ ทำให้เครื่องมีขนาดใหญ่ การสั่งงานที่ใช้รหัสตัวเลขทำให้มีความยุ่งยากและซับซ้อน ต่อมามีการพัฒนาทรานซิสเตอร์มาใช้ และมีการพัฒนาซอฟต์แวร์ให้ดีขึ้น มีการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาระดับสูง เช่น ภาษาฟอร์แทรน ภาษาโคบอล เป็นต้น ในปัจจุบันคอมพิวเตอร์ที่ใช้เป็นวงจรรวม (integrated circuit IC) ที่สามารถบรรจุทรานซิสเตอร์ได้จำนวนมาก หรือเรียกว่าวงจรรวมความจุสูงมาก (very large scale integration VISI) เช่น วงจรรวมชนิดเพนเทียม (Pentium) ที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบันสามารถบรรจุทรานซิสเตอร์ได้กว่า 3 ล้านชิ้น ส่งผลให้คอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลง ทำงานได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพสูง ทรานซิสเตอร์ตัวแรกของโลกที่ถูกพัฒนาขึ้นใน พ.ศ. 2490 และวงจรรวมชนิดเพียนเทียม

เทคโนโลยีการสื่อสารประกอด้วย โทรศัพท์ เส้นใยนำแสง เคเบิลใต้น้ำ คลื่นวิทยุ ไมโครเวฟ ดาวเทียม และเครือข่ายคอมพิวเตอร์

เทคโนโลยีชีวภาพ คือ เทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการนำสิ่งมีชีวิตและผลผลิตของสิ่งมีชีวิต ทั้งที่เป็นพืช สัตว์ จุลินทรีย์ มาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อมนุษย์ ซึ่งครอบคลุมทั้งด้านเกษตรกรรม และการผลิตในภาคอุตสาหกรรม  เทคโนโลยีดังเดิม เช่น การหมักดอง การทำน้ำปลา นมเปรี้ยว และขนมปัง เทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่เป็นการผสมผสานความรู้จากหลายสาขาวิชา เช่น ชีววิทยา เคมี วิศวกรรม ประโยชน์จาการใช้เทคโนโลยีชีวภาพอย่างกว้างขวางในด้านต่างๆ ดังนี้ 1.ด้านเกษตรกรรมและอาหาร 2.ด้านการแพทย์และเภสัชกรรม 3.ด้านสิ่งแวดล้อม

                ยีน มีอยู่ในทุกเซลล์ของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นเส้นผม ผิวหนัง กล้าวเนื้อ หรือเลือด ยีนแต่ละตัวมีหน้าเฉพาะ เช่น ยีนควบคุมสีผิว และยีนควบคุมลักษณะหน้า จำนวนยีนในสิ่งมีชีวิตมีมากน้อยขึ้นอยู่กับความซับซ้อนของสิ่งมีชีวิตนั้น เช่น ไวรัสมีจำนวนยืนไม่ถึงสิบ แบคทีเรียมีประมาณ 4,000 ยีน ส่วนมนุษย์มียีนอยู่ร่วมแสน

                ยีน ทั้งหมดในสิ่งมีชีวิตหนึ่งเราเรียกว่า จีโนม (genome)  เนื่องจากการศึกษาจีโนมมนุษย์คือการศึกษาข้อมูลส่วนตัวทั้งหมดในร่างกายของมนุษย์เรา ดังนั้นการนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ในทางที่ผิดก็จะเกิดผลเสียอย่างใหญ่หลวง เช่น ไม่รับผู้ที่มีความผิดปกติของยีนบางตัวเข้าทำงาน ถูกปฏิเสธการทำประกันชีวิต หรือเสียเบี้ยประกันชีวิตที่สูงกว่าอัตราปกติ

นาโนเทคโนโลยี

                นาโน มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก แปลว่า ตัวจิ๋ว ดังนั้นนาโนเทคโนโลยี จึงหมายถึงเทคโนโลยีที่ใช้ในการสร้างสิ่งที่มีขนาดเล็กมากๆ ซึ่งมีขนาดประมาณนาโนเมตร หรือ 10 ลบ9 เมตร (หนึ่งในพันล้านส่วนของเมตร) โดยการจัดเรียงหน่วยที่เล็กที่สุดหรืออะตอมเข้าด้วยกันด้วยความถูกต้องและแม่นยำ อาจเรียกได้ว่า นาโนเทคโนโลยี คือ เทคโนโลยีระดับอะตอม หรือเทคโนโลยีซูเปอร์จิ๋ว และวัสดุที่ประดิษฐ์ขึ้นก็คือวัสดุจิ๋วนั่นเอง

                นาโนเทคโนโลยีเป็นองค์ความรู้ใหม่ที่เกิดจากการผสมผสานเทคโนโลยีหลายๆ สาขาวิชา ทั้งทางด้าน ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา วิศวกรรม และคอมพิวเตอร์ นาโนเทคโนโลยีดูเหมือนจะเป็นเทคโนโลยีค่อนข้างใหม่ แต่ธรรมชาติได้ใช้นาโนเทคโนโลยีสร้างสิ่งชีวิตต่างๆ ขึ้นมาช้านานแล้ว นั่นคือ การปฏิสนธิของสเปิร์มกับไข่ในครรภ์มารดา และเกิดเป็นเซลล์ที่พัฒนาจนกลายมาเป็นทารกที่มีอวัยวะที่ซับซ้อน การวิจัยและพัฒนาด้านเทคโนโลยีชีวภาพยุคใหม่ที่พยายามศึกษารายละเอียดในระดับยีนหรือดีเอ็นเอของสิ่งมีชีวิต ทำให้นาโนเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือที่จะช่วยศึกษาและแก้ปัญหาในระดับยีนนี้ได้

                นาโนเทคโนโลยี อาจจะยังไม่มีผลงานให้เห็นได้ชัดเจนในปัจจุบัน แต่การวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่องจะส่งผลให้นาโนเทคโนโลยีมีบทบาทอย่างสูงต่อชีวิตประจำวันของเราในอนาคต เช่น ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาโรค และทำให้อุปกรณ์ต่างๆ มีขนาดเล็กลงแต่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น แต่การนำนาโนเทคโนโลยีไปใช้ในทางไม่สร้างสรรค์ก็เกิดผลเสีย เช่น การผลิตอาวุธเคมีและชีวภาพ เป็นต้น

เทคโนโลยีโลหะวัสดุ

                เทคโนโลยีโลหะวัสดุ หรือเทคโนโลยีวัสดุศาสตร์ เกี่ยวข้องกับวัสดุหลายประเภท ได้แก่ โลหะ เซรามิก พอลิเมอร์หรือพลาสติก และสิ่งทอง รวมไปถึงวัสดุเชิงประกอบต่างๆ

                การสังเคราะห์วัสดุใหม่ขึ้นมาใช้งานที่มีประสิทธิภาพสูง เช่น การนำสารกึ่งตัวนำ (semiconductor) มาใช้ในการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกชนิดต่างๆ รวมทั้งคอมพิวเตอร์ จนทำให้ยุคปัจจุบันถูกเรียกว่า ยุคซิลิคอน (silicon age) การพัฒนาเป็นเซรามิกยุคใหม่ หรือบางครั้งเรียกกันว่า เซาริกรุดหน้า (advanced ceramics) เช่น ใช้ทำผิวของกระสวยอวกาศที่สามารถทนความร้อนสูงได้ นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาวัสดุที่เรียกว่า วัสดุฉลาด (smart materials) ซึ่งเป็นวัสดุที่สามารถปรับตัวและตอบสนองต่อสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงได้ เช่น เลนส์ของแว่นที่สามารถปรับระดับความเข้มได้ตามความเข้มของแสง

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีโลหะวัสดุในวงการต่างๆ ดังนี้ ด้านการแพทย์  ด้านกีฬา ด้านพลังงาน ด้านยานยนต์ ด้านสิ่งแวดล้อม (มีการแปรรูปมันสำปะหลังเป็นภาชนะบรรจุที่ย่อยสลายทางชีวภาพได้ เพื่อทดแทนภาชนะจากโฟมและพลาสติก โดยจดสิทธิบัตรในชื่อ เคยูกรีน KU-GREEN)

ประเทศไทยจัดตั้งอุทยานวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (SciencePark) ขึ้นประกอบด้วยศูนย์แห่งชาติ 3 แห่ง คือ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC) ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)  และศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC)

การพัฒนาที่ยั่งยืนคือการพัฒนาที่สนองความต้องการของคนในปัจจุบันโดยไม่ทำให้คนรุ่นหลังสูญเสียโอกาสในการพัฒนา เพื่อสนองความต้องการของเขาเอง เป็นการพัฒนาแบบบูรณาการที่มีความสมดุลทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

ทฤษฎีใหม่หรือเศรษฐกิจพอเพียงมี 3 ขั้นตอน

                1. การจัดการทรัพยากรที่ดินและแหล่งน้ำ 2.กระบวนการพัฒนาสังคม 3.การพัฒนาสู่การเกษตรเชิงพาณิชย์

ภูมิปัญญาท้องถิ่น แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะคือ

1.ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เป็นรูปธรรม เป็นสิ่งที่มองเห็นได้ชัดเจน ซึ่งอาจเรียกว่าเทคโนโลยีพื้นบ้านก็ได้ เช่น การเกษตรพื้นบ้าน การใช้ยาสมุนไพร ดนตรี และงานหัตถกรรมพื้นบ้าน เช่น การทอผ้า เลี้ยงไหม ทำเสื่อ

 2.ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เป็นนามธรรม ได้แก่ ปรัชญา อุดมการณ์ หรือหลักยึดในการดำรงชีวิต ขนบธรรมเนียม ประเพณี และความเชื่อทางศาสนา

                - เทคโนโลยีที่เหมาะสมคือการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์ให้เหมาะสมกับการพัฒนาท้องถิ่น มักเป็นเครื่องมือเครื่องจักรอย่างง่าย ใช้ทรัพยากรและแรงงานที่มีอยู่ในท้องถิ่น ดังนั้นเทคโนโลยีที่เหมาะสมจึงมีความแตกต่างกันไปตามสภาพเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และความต้องการของแต่ละท้องถิ่น

                - หลักสำคัญของทฤษฎีใหม่คือการพัฒนาที่เป็นลำดับ โดยให้เกิดการพึ่งพาตนเองก่อน แล้วจึงเพิ่มสมรรถนะในการแข่งขัน และสร้างเครือข่ายการดำเนินงาน หรือมีความเพียงพอใน 3 ระดับ คือระดับครัวเรือน ชุมชน และประเทศชาติ

                - ตัวอย่างของภูมิปัญญาท้องถิ่น เช่น การทำเกษตรอินทรีย์ ช่วยช่วยลดการใช้ปุ๋นเคมีและยาฆ่าแมลง หรือการทำหัตถกรรม ที่ช่วยให้มีรายได้เสริมจากการทำอาชีพหลัก

การเลือกใช้เทคโนโลยีเพื่อให้ได้รับประโยชน์จากเทคโนโลยีสูงสุด= ต้องศึกษาและทำความเข้าใจถึงรูปแบบของเทคโนโลยี แล้วเลือกใช้เทคโนโลยีให้เหมาะสมกับกำลังทางเศรษฐกิจ ศักยภาพของบุคลากร การยอมรับของสังคม ศีลธรรม ข้อบังคับทางกฎหมาย และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

การเลือกใช้เทคโนโลยีในชีวิตประจำวัน

                1.เลือกใช้ให้เหมาะสมกับกำลังทางเศรษฐกิจ 2.เลือกใช้ให้เหมาะสมกับศักยภาพการใช้งาน 3.เลือกใช้ให้สอดคล้องกับการยอมรับของสังคม ศีลธรรม และข้อบังคับทางกฎหมาย 4.เลือกใช้โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

                แบบประเมินก่อนเรียนหน่วยที่ 3

1.เทคโนโลยีคืออะไร = เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ ความรู้ วิธีการ และกระบวนการต่างๆ

2.ในการทำเกษตรกรรม อะไรเป็นเทคโนโลยีบ้าง = การใช้ปุ๋ยเคมี คราดและไถ การคัดเลือกพันธุ์พืช

3.เทคโนโลยีสารสนเทศประกอบด้วยเทคโนโลยีอะไรบ้าง = เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต

4.ข้อใดไม่ใช่เทคโนโลยีชีวภาพ =NO

5.นาโนเทคโนโลยีคืออะไร = เทคโนโลยีที่ใช้สร้างสิ่งที่มีขนาดเล็กมากๆ

7.เทคโนโลยีโลหะและวัสดุครอบคลุมวัสดุใดบ้าง = สิ่งทอ พลาสติก เซรามิค

8.เทคโนโลยีท้องถิ่นคืออะไร = เทคโนโลยีอย่างง่าย เทคโนโลยีใช้ทรัพยากรในท้องถิ่น เทคโนโลยีระดับต่ำ

9.การพัฒนาที่ยั่งยืนคือการพัฒนารูปแบบใด = การพัฒนาที่มีความสมดลในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

10.ทฤษฎีใหม่หรือเศรษฐกิจพอเพียงคืออะไร = การพัฒนาที่มีความเพียงพอ 3 ระดับ คือ ระดับครอบครัว ชุมชน และประเทศชาติ

แบบประเมินหลังเรียนหน่วยที่ 3

1.คำกล่าวใดถูกต้อง = เทคโนโลยีมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจากเทคโนโลยีอย่างง่าย มาเป็นเทคโนโลยีที่สลับซับซ้อนในปัจจุบัน ประโยชน์ที่ได้จากเทคโนโลยีขึ้นอยู่กับการเลือกใช้

2.ในการทำเกษตรกรรม อะไรคือซอฟต์แวร์ = การปรับปรุงดินโดยการปลูกพืชหมุนเวียน

3.ข้อใดไม่ใช่การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวัน =NO

4.เทคโนโลยีชีวภาพยุคใหม่ที่กำลังเป็นที่ถกเถียงถึงผลกระทบในระยะยาวต่อสุขภาพอนามัย และสิ่งแวดล้อมคืออะไร = การดัดแปลงพันธุกรรมสิ่งมีชีวิต การผลิตสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะทางพันธุกรรมเหมือนกัน

5.เทคโนโลยีที่เป็นหัวใจสำคัญที่ทำให้สังคมในปัจจุบันเป็นสังคมโลกาภิวัตน์คืออะไร = เทคโนโลยีสารสนเทศ

6.ข้อใดคือลักษณะสำคัญของเทคโนโลยีในศตวรรษที่ 21 = เทคโนโลยีระดับสูงที่มีความสลับซับซ้อน เทคโนโลยีต้องอาศัยความรู้ในหลายสาขาวิชา

7.ข้อใดคือประโยชน์ที่ได้จากการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีโลหะและวัสดุ = มีวัสดุหลากหลายชนิดไว้ใช้งาน วัสดุมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ลดปริมาณของเสียที่เกิดขึ้น

8.หากประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสมจะเกิดประโยชน์อะไรบ้าง = ประหยัดค่าใช้จ่าย -ไม่พึ่งพิงเทคโนโลยีมากเกินไป ลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อม

9.ข้อใดเป็นสิ่งที่ผลักดันให้เกิดแนวคิดของการพัฒนาที่ยั่งยืน = ปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อม

10.ข้อใดคือภูมิปัญญาท้องถิ่น = การทำหัตถกรรม การใช้ยาสมุนไพร การทำการเกษตรและผสมผสาน

หน่วยที่ 4 (การแสวงหาความรู้)

การเปลี่ยนแปลงสู่สังคมความรู้

สังคมมนุษย์มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง อัลวิน ทอฟเลอร์ เปรียบเป็นเสมือนคลื่นอารยธรรม คลื่นลูกที่หนึ่งคือ สังคมเกษตรกรรม คลื่นลูกที่สองคือ สังคมอุตสาหกรรม คลื่นลูกที่สาม คือ สังคมสารสนเทศ และปัจจุบันก้าวเข้าสู่สังคมความรู้ซึ่งเปรียบเป็นคลื่นลูกที่สี่

สังคมความรู้ เป็นสังคมที่มีความรู้เป็นฐานในการพัฒนาประเทศในทุกด้าน นอกจากนี้ยังมีคำอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เช่น เศรษฐกิจฐานความรู้ ระบบเศรษฐกิจใหม่ อุตสาหกรรมฐานความรู้ สังคมความรู้ หรือในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเรียกว่า สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้

แนวคิดเกี่ยวกับความรู้

นิยามคำว่าความรู้และคำที่เกี่ยวข้อง คำว่า ความรู้ ข้อมูล ข่าวสาร สารสนเทศ หรือสารนิเทศ บ่อยครั้งนำมาใช้ในความหมายเดียวกันคือใกล้เคียงกัน โดยนัยของความหมายที่แท้จริงมีความแตกต่างกันและเกี่ยวข้องกัน

                1.ข้อมูล คือ ข้อเท็จจริงหรือสิ่งที่ถือหรือยอมรับว่าเป็นข้อเท็จจริงสำหรับเป็นหลักอนุมานหาความจริงหรือการคำนวณ (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน) ข้อมูลเชิงปริมาณ หมายถึง ข้อมูลที่แสดงเป็นตัวเลข เช่น จำนวนนักศึกษา อัตราดอกเบี้ย ข้อมูลเชิงคุณภาพ คือข้อมูลที่ไม่สามารถวัดค่าออกมาเป็นตัวเลข แต่อธิบายลักษณะหรือคุณสมบัติเชิงคุณภาพ เช่น วิถีชีวิต การจำแนกตามที่มาของข้อมูลหรือการจัดเก็บข้อมูล เป็นข้อมูลปฐมภูมิ ซึ่งได้มาจากต้นตอหรือเจ้าของข้อมูลโดยตรง หรือพบด้วยตนเอง และข้อมูลทุติยภูมิ ซึ่งเป็นข้อมูลที่ผู้อื่นจัดเก็บรวบรวมและอาจวิเคราะห์หรือจัดระบบไว้เบื้องต้นแล้ว

                2.สารสนเทศ คือข้อมูลที่ประมวลผลแล้ว นำมาเรียบเรียงและจัดระบบให้อยู่ในรูปแบบหรือสารที่มีความหมายเป็นที่เข้าใจได้หรือนำไปใช้ประโยชน์ คำว่าข้อมูลและสารสนเทศมีความหมายเกี่ยวเนื่องอย่างใกล้ชิดและไม่อาจแบ่งแยกกันได้อย่างตายตัว ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบต่างๆ เช่น สถานการณ์ เวลา ผู้ใช้สารสนเทศในสถานการณ์หนึ่งอาจเป็นข้อมูลหากนำไปใช้สถานการณ์ที่แตกต่างกันไป

                3.ความรู้ คือสิ่งที่เกิดขึ้นจากการผสมผสานระหว่างประสบการณ์ ค่านิยม ข้อเท็จจริง ข้อมูลสารสนเทศ การพิสูจน์ประเมินค่า และการตัดสินใจ ความรู้เป็นสิ่งที่ไม่คงที่ สามารถเปลี่ยนแปลงได้ และสั่งสมมากขึ้นตามกาลเวลา (ความรู้ที่ผ่านการหาคำตอบทางวิทยาศาสตร์ นั่นคือ การวิจัย)

ประเภทของความรู้

                องค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา แบ่งความรู้ออกเป็น 4 ประเภทเพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์ทางเศรษฐกิจ คือ

                รู้ อะไร (Know-what) เป็นการรู้ข้อเท็จจริง ข้อมูล และสารสนเทศ เช่นประชากรไทยมีจำนวนเท่าไร กลุ่มวิชาชีพแพทย์และกฎหมายใช้ความรู้กลุ่มนี้ในการปฏิบัติงานมาก

                รู้ ทำไม (Know-why) เป็นความรู้ทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับหลักการและกฎธรรมชาติ ซึ่งต้องมีการศึกษาวิจัย การผลิตความรู้ในสถาบันการศึกษา สถาบันวิจัย ห้องปฏิบัติการ

                รู้ อย่างไร (Know-how) เป็นความสามารถและทักษะในการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง มักจะเก็บไว้ในองค์กร

                รู้ ใคร (Know-who) หมายถึงข้อมูลหรือความรู้ว่าใครมีความรู้อะไร ใครรู้วิธีการที่จะทำเรื่องต่างๆ ความรู้ประเภทนี้เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ทางสังคมแบบพิเศษ ซึ่งสามารถทำให้เข้าถึงผู้เชี่ยวชาญและใช้ความรู้ของผู้เชี่ยวชาญเหล่านั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ลักษณะของความรู้ ความรู้ที่มีการบันทึกไว้เป็นรูปลักษณ์ และความรู้ที่มีอยู่ในตัวบุคคล

ความสำคัญของความรู้  ความรู้ในฐานะของปัจจัยการพัฒนา  -ความรู้ในฐานะปัจจัยการผลิตใหม่ (ความรู้เป็นทรัพย์สินทางปัญญา)

การเรียนรู้และความใฝ่รู้

                การเรียนรู้ มนุษย์สามารถเรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้โดยอาศัยสมองและประสาทสัมผัส ซึ่งรับความรู้สึกจากอวัยวะความรู้สึก ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มีหลักฐานทางการแพทย์ยืนยันว่ามนุษย์สามารถเรียนรู้ได้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา และมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่องจนตลอดชีวิต

ความใฝ่รู้ สรุปได้ดังนี้

1.รักการเรียนรู้ เรียนรู้ตลอดชีวิต มีความสุขจากการเรียนรู้ มีความสนใจใคร่รู้และกระตือรือร้นต่อการเรียนรู้ การศึกษาค้นคว้า การเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ทุกสถานที่ ทุกเวลา ทุกสถานการณ์

2.มีความรู้และทักษะเกี่ยวกับวิธีการเรียน โดยวิธีการเรียนรู้ที่หลากหลาย และมีทักษะสารสนเทศ ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการแสวงหาความรู้และเป็นเครื่องมือสำคัญ สำหรับการเรียนรู้ตลอดชีวิต

3.มีปัญญา ความคิด วิจารณญาณ รู้จักวิเคราะห์ สังเคราะห์ มีเหตุผล มีผล มีจิตนาการ ชอบค้นหาความจริงด้วยวิธีทางวิทยาศาสตร์ อันเป็นคุณสมบัติที่สำคัญประการหนึ่งของวัฒนธรรมวิทยาศาสตร์

4.มีความรู้ รู้กว้าง และรู้ลึก ทั้งในเรื่องของตน เรื่องรอบตัว เหตุการณ์ ความเป็นไปต่างๆ ในสังคม และรู้เท่ารู้ทันการเปลี่ยนแปลง

5.มีคุณธรรมและจริยธรรมในการเรียนรู้ การแสวงหาความรู้ และการใช้ความรู้

ลักษณะกระบวนการเรียนรู้ที่พึงประสงค์

                -เป็นกระบวนการทางปัญญาพัฒนาผู้เรียนอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต

                -เรียนรู้อย่างมีความสุข เน้นประโยชน์ของผู้เรียนเป็นสำคัญ

                -บูรณาการสาระการเรียนรู้ สอดคล้องกับความสนใจ ทันสมัยตามสภาพจริง

                -เน้นกระบวนการคิด และการปฏิบัติจริง นำไปใช้ประโยชน์ได้

                -เป็นกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน โดยมีผู้เรียน ครู และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ทุกฝ่ายร่วมจัดบรรยากาศให้เอื้อ

  ต่อการเรียนรู้

หลักการเบื้องต้นของการเรียนรู้และการเป็นผู้ใฝ่รู้ พหูสูต หรือปราชญ์ คือ สุ จิ ปุ ลิ คือหัวใจนักปราชญ์

                สุ คือ สุตมยปัญญา การฟัง ร่วมถึงการรับข้อมูลข่าวสารจากแหล่งต่างๆ เช่นการฟังบรรยาย อภิปรายจากผู้สอน วิทยากร ผู้ทรงคุณวุฒิหรือผ่านสื่อมวลชน รวมถึงการอ่าน การดู

                จิ คือ จินตมยปัญญา การคิดเป็น รู้จักคิด พิจารณาไตร่ตรอง วิเคราะห์ ใช้เหตุผล ไม่เชื่อทุกสิ่งทุกอย่างโดยทันที

                ปุ คือ ปุจฉา การซักถาม หาความรู้ หาคำตอบ เพื่อให้เกิดความกระจ่างชัดเจน ให้ปัญญางอกงาม

                ลิ คือ ลิขิต การจัดบันทึก ซึ่งปัจจุบันขยายรวมถึงการพิมพ์ การทำฐานข้อมูล คอมพิวเตอร์บันทึกความรู้ไว้ อันจักนำมาสู่การใช้ประโยชน์ได้ในภายหลัง

ผู้ใฝ่รู้ หรือบุคคลแห่งการเรียนรู้ ควรมีคุณสมบัติ ดังนี้คือ รักการเรียนรู้ มีความรู้และทักษะเกี่ยวกับวิธีการเรียนรู้ มีปัญญา ความคิด วิจารณญาณ มีความรอบรู้ และมีคุณธรรม จริยธรรม

                แหล่งการเรียนรู้

        1.สถาบันบริการสารสนเทศ  ห้องสมุด หรือหอสมุด ศูนย์บริการวิทยบริการ ศูนย์บรรณสารสนเทศ ฯลฯ (กำหนดเลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ ISBN เลขมาตรฐานสากลประจำวารสาร ISSN) ศูนย์สารสนเทศ ศูนย์ข้อมูลและศูนย์สถิติ -หน่วยงานจดหมายเหตุ หน่วยงานจดหมายเหตุ (เก็บรักษาจดหมายเหตุอันได้แก่ เอกสารของราชการ รัฐวิสาหกิจและเอกชน ที่สิ้นสุดกระแสการปฏิบัติงาน เป็นเอกสารปฐมภูมิ) พิพิธภัณฑสถาน (รวบรวมจัดแสดง และจัดแสดงรักษาวัตถุสิ่งของโดยเฉพาะของมีค่าของหายาก) หอประวัติ (ประวัติบุคคลสำคัญ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ โล่ประกาศเกียรติคุณ) -ศูนย์ศึกษา

กิจกรรม

ถ้าท่านต้องการค้นคว้าเพื่อทำรายงานเกี่ยวกับสมุนไพรไทย ท่านควรศึกษาจากแหล่งการเรียนรู้ใด = ห้องสมุดวิทยาลัยและมหาวิทยาลัย หรือห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ห้องสมุดเฉพาะ ศูนย์สารสนเทศ

มีผู้กล่าวว่า หน่วยงานจดหมายเหตุมีหน้าที่จัดเก็บ อนุรักษ์เอกสารเก่า ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้บริการหรือการศึกษาค้นคว้าเช่นห้องสมุด ข้อความดังกล่าวนี้ถูกต้องหรือไม่ = ไม่ถูกต้อง แม้หน่วยงานจดหมายเหตุหรือหอจดหมายเหตุจะเน้นการเก็บรักษาจดหมายเหตุ ซึ่งเป็นเอกสารสำคัญมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ แต่ก็ได้ให้บริการสารสนเทศจากเอกสารจดหมายเหตุเพื่อการค้นคว้าวิจัยด้านประวัติศาสตร์ หรือเชิงประวัติเช่นเดียวกับห้องสมุด

ภูมิปัญญาชาวบ้านเป็นแหล่งการเรียนรู้ในด้านใด = ด้านวิถีชีวิต วัฒนธรรม ความเป็นไทย

แหล่งการเรียนรู้ใดที่มีบทบาทสำคัญในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่มีเครือข่ายทั่วโลก หรือเปรียบเป็นห้องสมุดโลก = อินเทอร์เน็ต.

ทักษะสารสนเทศ

1.การกำหนดสิ่งที่ต้องการค้นหา = ชื่อเรื่อง (ชื่อหนังสือที่ปรากฏในหน้าปกหรือปกหนังสือ) เรื่อง หรือหัวเรื่อง (คำ กลุ่มคำ หรือวิลีที่ใช้แทนเนื้อหาหลัก เนื้อหาสำคัญ บอกให้ทราบว่าหนังสือดังกล่าวมีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร)  คำสำคัญ (คำที่บ่งบอกถึงเนื้อหาในเอกสาร อาจเป็นคำจากชื่อเรื่องได้ เช่นชื่อเรื่อง หลักบูรณาการทางการศึกษาตามนัยแห่งพุทธธรรม คำสำคัญ คือ การศึกษา พุทธธรรม)

 2.การกำหนดประเภทหรือรูปแบบของวัสดุสารสนเทศที่ต้องการหา

3.การใช้เครื่องมือค้นหาสารสนเทศ = 1.รายการทรัพยากรสารสนเทศหรือแคตาลอก นิยมจัดทำเป็นออนไลน์ เรียกว่า โอแพค (Online Public Access Catalog –OPAC) สำหรับการสืบค้นสารสนเทศจากสื่อสิ่งพิมพ์โดยเฉพาะหนังสือพิมพ์ บทความในวารสาร และวัสดุสารสนเทศรูปแบบอื่นๆ โดยพัฒนามาจากการค้นหาด้วยมือในรูปแบบบัตรรายการ ผู้ใช้สามารถค้นได้จากหลายทาง แต่ที่นิยมใช้แพร่หลาย คือ รายการชื่อผู้แต่ง ชื่อเรื่อง หัวเรื่อง และคำสำคัญ 2.ดรรชนีวารสาร คือเครื่องมือสืบค้นสารสนเทศจากบทความในวารสาร ซึ่งสามารถสืบค้นได้จากรายการต่างๆ  เช่น ชื่อผู้แต่ง ชื่อเรื่อง ชื่อบทความ ชื่อวารสาร หัวเรื่อง และคำสำคัญ โดยทั่วไปในการค้นคว้าและเขียนรายงานทางวิชาการ นิยมสืบค้นจากหัวเรื่องหรือคำสำคัญ ดรรชนีวารสารมีทั้งในรูปบัตรรายการรูปเล่มสิ่งพิมพ์ และฐานข้อมูล

 4.การประเมินสารสนเทศที่ได้รับ โดยทั่วไปสิ่งที่ได้รับจากการสืบค้นรายการทางบรรณานุกรม

                หนังสือ ประกอบด้วย ชื่อผู้แต่ง ชื่อหนังสือ สถานที่จัดพิมพ์ สำนักพิมพ์ ปีที่พิมพ์ จำนวนหน้า และเลขเรียกหนังสือ ชื่อบอกตำแหน่งที่จัดเก็บบนชั้นในห้องสมุด

                บทความวารสาร ประกอบด้วย ชื่อผู้เขียนบทความ ชื่อบทความ ชื่อวารสาร ปีที่ ฉบับที่ เดือน ปี เลขหน้า กรณีที่เป็นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ มีข้อมูลเพิ่มเติม คือ ยู อาร์ แอล URL ของเว็บไซต์ซึ่งเป็นที่มาของข้อมูล.

การประเมินสารสนเทศที่ได้รับมีความจำเป็นยิ่งโดยเฉพาะอินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายสาธารณะ และสารสนเทศที่เผยแพร่ไม่ได้ผ่านการกลั่นกรองจึงจำเป็นต้องมีการประเมินสารสนเทศที่ได้รับ โดยประเมินในประเด็นสำคัญคือ 1.ความเชื่อถือได้ ควรเป็นข้อพิจารณาประการแรก โดยพิจารณาจากผู้จัดทำ หรือผู้ผลิต เช่น ผู้เขียน ผู้จัดพิมพ์ หรือผู้จัดทำเว็บไซต์ ว่ามีความรู้ ประสบการณ์ ผลงาน ความเชี่ยวชาญ ชำนาญการ ในเรื่องนั้นๆมากน้อยเพียงไร 2.ความทันสมัย เนื่องจากข้อมูลมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จึงจำเป็นต้องพิจารณาความทันสมัยของสารสนเทศด้วย โดยพิจารณาจากปีที่จัดพิมพ์เผยแพร่หรือปรับปรุงข้อมูล 3.ขอบเขต ตรงกับวัตถุประสงค์และความต้องการในการใช้ประโยชน์หรือไม่

กิจกรรม

                ท่านจะมีวิธีการสืบค้นสารสนเทศต่อไปนี้ จากรายการทรัพยากรสารสนเทศหรือโอแพค อย่างไร

1.หนังสือที่แต่งโดยพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ 2.หนังสือชื่อเรื่อง สี่แผ่นดิน 3.เรื่องเกี่ยวกับการเลี้ยงสุนัข                = 1.ค้นจากรายการชื่อผู้แต่ง (พลเอกเปรม ติณสูลานนท์) ที่ตัวอักษร ป โดยไม่คำนึงถึงยศ ซึ่งจะนำไปจัดเรียงไว้หลังนามสกุล 2.ค้นจากรายการชื่อเรื่อง (สี่แผ่นดิน) ที่ตัวอักษร ส 3.ค้นจากรายการหัวเรื่อง หรือคำว่า สุนัข.

                ถ้าท่านต้องการค้นหาสารสนเทศบนอินเทอร์เน็ตเกี่ยวกับเรื่องดอกกุหลาบ ทั้งที่เป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษท่านมีวิธีการอย่างไร = ใช้โปรแกรมค้นหาใดก็ได้โดยภาษาไทยพิมพ์คำว่า กุหลาบ และภาษอังกฤษพิมพ์คำว่า ROSES กรณีที่สืบค้นสารสนเทศได้น้อย ควรกำหนดคำค้นให้กว้างขึ้น เช่น ค้นจากคำว่า ดอกไม้ หรือ FLOWERS

                ทำไมจึงต้องมีการประเมินสารสนเทศที่ได้รับจากอินเทอร์เน็ต และจะประเมินจากสิ่งใดเป็นเบื้องต้น = เพราะสารสนเทศบนอินเทอร์เน็ตไม่ได้มีผู้ใดกลั่นกรอง ทั้งนี้ให้ประเมินความเชื่อถือได้ของผู้จัดทำ หรือผู้ผลิตเป็นหลักในเบื้องต้น.

การแสวงหาความรู้อย่างมีคุณธรรมและจริยธรรม 1.ความซื่อตรง ซื่อสัตว์สุจริต 2.ความขยันหมั่นเพียร 3.การรักษาความลับและเคารพสิทธิส่วนบุคคล 4.ความรับผิดชอบ.

กิจกรรม

จงวิเคราะห์พฤติกรรมต่อไปนี้ว่าเป็นการแสวงหาความรู้อย่างมีคุณธรรมและจริยธรรมหรือไม่ อย่างไร

1.นาย ก นำภาพในหนังสือภาษาต่างประเทศมาประกอบรายงานทางวิชาการของตน โดยไม่ได้บอกแหล่งที่มาเพราะไม่ได้มีผลประโยชน์เชิงพาณิชย์ = นาย ก ผิดจริยธรรม และยังเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ได้ด้วย กรณีนี้นาย ก ต้องระบุแหล่งที่มาของภาพกำกับไว้ด้วย

2.นาย ข ขาดความรู้เกี่ยวกับเรื่องสงครามอิรัก = นาย ข ขาดความขยันหมั่นเพียร เอาใจใส่ติดตามข้อมูลข่าวสาร ความรู้ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นรอบตัว

3.นาย ค บันทึกเทปการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิโดยไม่ได้แจ้งให้ทราบเพราะเกรงว่าจะไม่ได้รับอนุญาต และไม่ได้นำไปเปิดเผยให้ผู้ใดทราบ = นาย ค ขาดความซื่อตรง และการเคารถสิทธิส่วนบุคคล แม้ว่าจะไม่เปิดเผยให้ผู้ใดทราบก็จะต้องขออนุญาตอย่าเป็นทางการ เพราะการถูกบันทึกเทป ผู้ให้สัมภาษณ์จะมีความระมัดระวังมากขึ้น โดยเฉพาะหากมีข้อมูลอันเป็นความลับ

แบบประเมินผลตนเองก่อนเรียน หน่วยที่ 4

1.อะไรคือพลังขับเคลื่อนที่ทำให้เกิดสังคมสารสนเทศ = เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

2.ในสังคมความรู้เน้นการพัฒนาสิ่งใด = มนุษย์

3.ข้อมูลที่ประมวลผลแล้วนำมาเรียบเรียงและจัดระบบให้อยู่ในรูปแบบหรือสารที่มีความหมาย เป็นที่เข้าใจได้หรือนำไปใช้ประโยชน์ หมายถึงอะไร = สารสนเทศ

4.ข้อใดกล่าวถึงความรู้ไม่ถูกต้อง= ความรู้เป็นสิ่งที่คงที่ ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้

5.ข้อใดเป็นแนวคิดของการศึกษาตลอดชีวิต = การศึกษาในระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย

6.หลักพหูสูต หรือหัวใจของนักปราชญ์ประกอบด้วยอะไรบ้าง = ฟัง คิด ถาม เขียน

7.ข้อใดคือจุดเด่นของห้องสมุดดิจิทัล = เน้นการสะสมสื่ออิเล็กทรอนิกส์แทนสื่อสิ่งพิมพ์ -ผู้ใช้สามารถเข้าถึงและใช้บริการโดยไม่จำกัดสถานที่ ผู้ใช้สามารถเข้าถึงและใช้บริการโดยไม่จำกัดเวลา

8.ถ้าท่านต้องค้นหาหนังสือที่แต่งโดย ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ท่านควรค้นจากข้อมูลใด และที่ตัวอักษรใด = ชื่อผู้แต่ง ที่ตัวอักษร ค

9.ถ้าท่านต้องการค้นคืนสารสนเทศจากหนังสือในห้องสมุด ท่านควรใช้เครื่องมือสืบค้นสารสนเทศใด = โอแพค (OPAC)

10.การที่ท่านระบุแหล่งที่มาของข้อความที่ท่านคัดลอกมาใช้ในรายงานทางวิชาการที่ท่านเรียบเรียง เป็นการแสดงให้เห็นว่าท่านมีคุณธรรม จริยธรรมทางวิชาการด้านใด = ความรับผิดชอบ

แบบประเมินผลตนเองหลังเรียน หน่วยที่ 4

1.ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับสังคมสารสนเทศ = ประเทศอุตสาหกรรมใหม่

2.การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์คือจุดเน้นของสังคมลักษณะใด = สังคมความรู้

3.สารสนเทศคืออะไร = ข้อมูลที่ประมวลผลและจัดระบบในรูปแบบที่เข้าใจและใช้ประโยชน์ได้

4.ข้อใดกล่าวถึงความถูกต้อง = การผสมผสานระหว่างประสบการณ์ ค่านิยม และข้อเท็จจริง -สิ่งที่มีการบันทึกไว้เป็นรูปลักษณ์และความรู้ที่มีอยู่ในตัวบุคคล ปัจจัยการพัฒนาและปัจจัยการผลิตใหม่ สารสนเทศที่พิสูจน์แล้ว และรับทราบโดยทั่วกัน

5.ที่กล่าวว่า การเรียนรู้คือชีวิต ชีวิตคือการเรียนรู้ แสดงแนวคิดเกี่ยวกับการศึกษาอะไร = การศึกษาตลอดชีวิต

6.ข้อใดกล่าวถึง สุ จิ ปุ ลิ ถูกต้อง = หัวใจของนักปราชญ์ การฟัง คิด ถามเขียน การสร้างคุณลักษณะของผู้ใฝ่รู้ หลักพหูสูต

7.แหล่งการเรียนรู้ประเภทใดมีหน้าที่รวบรวม จัดแสดงและสงวนรักษาวัตถุสิ่งของโดยเฉพาะของมีค่า ของหายากเพื่อประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้า = พิพิธภัณฑสถาน

8.ถ้าท่านต้องการทำรายงานเกี่ยวกับเรื่องอินเทอร์เน็ต ท่านควรสืบค้นสารสนเทศจากข้อมูลใด = หัวเรื่อง

9.ถ้าท่านต้องการค้นสารสนเทศบนอินเทอร์เน็ต ท่านควรใช้เครื่องมือช่วยค้นคืนใด = โปรแกรมค้นหา

10.ท่านจะสามารถแสดงความรับผิดชอบการมีคุณธรรม จริยธรรมในการนำข้อความ 2-3 ประโยคของผู้อื่นมาใช้ในรายงานทางวิชาการที่เขียนขึ้นได้อย่างไร = การอ้างอิงระบุแหล่งที่มาของข้อความ

หน่วยที่ 5 (เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาความรู้)

เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง เทคโนโลยีต่างๆ ที่ใช้การสร้าง ประมวล จัดเก็บ และจัดส่งระบบสารสนเทศโดยทางอิเล็กทรอนิกส์ เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาความรู้ในด้านต่างๆ ได้แก่ การรวบรวมและจัดสารสนเทศ การประมวลผล การสื่อสาร การเชื่อมโยงกัน และการเข้าถึงและการใช้สารสนเทศ

ฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ประกอบด้วยส่วนประกอบหลักอยู่ 5 ส่วนคือ หน่วยรับข้อมูล หน่วยประมวลผลกาลางหรือซีพียู หน่วยความจำหลัก หน่วยความจำรอง และหน่วยแสดงผล ซอฟต์แวร์เป็นคำสั่งต่างๆ ที่ใช้ในการควบคุมการปฏิบัติงานของระบบคอมพิวเตอร์ ทำให้ระบบคอมพิวเตอร์ทำงานตามที่เราต้องการ ซอฟต์แวร์สามารถจำแนกออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่คือ ซอฟต์แวร์ระบบ และซอฟต์แวร์ประยุกต์

เทคโนโลยีสารสนเทศหรือไอที (Information Techology - IT) หรือที่เรียกในระยะหลังว่าเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารหรือไอซีที (Information and Technology - ICT) ทั้งสองคำต่างเป็นเทคโนโลยีที่ประกอบด้วยเทคโนโลยีสำคัญ 2 ประเภท คือ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ (computer technology) และเทคโนโลยีการสื่อสาร (communicationtechnology)

เทคโนโลยีสารสนเทศหมายถึง เทคโนโลยีต่างๆ ที่ใช้ในการสร้าง ประมวล จัดเก็บ และจัดส่งสารสนเทศโดยทางอิเล็กทรอนิกส์ สารสนเทศนั้นอาจมีรูปลักษณ์ต่างๆ คือ อักขระ ตัวเลข ภาพ กราฟิก เสียง หรือ สื่อประสมที่มักเรียก มัลติมีเดีย แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ด้วยกันคือ

1.ข้อมูลแอนะล็อก (Analog) ข้อมูลที่เราได้พูดถึงในรูปของ ตัวเลข อักขระ เสียง กราฟิก เป็นข้อมูลที่เราคุ้นเคย เช่น หากพูดถึงจำนวนของหนังสือบนชั้นหนังสือจำนวน 100 เล่ม เลข 100 ใช้แทนจำนวนที่เราต้องการสื่อความหมาย เราอาจมีภาพวัวพันธุ์ที่แสดงไว้ ภาพนั้นใช้สื่อความหมายตามที่เราต้องการ หากกล่าวอย่างกว้างๆ แล้ว ข้อมูลแอนะล็อกนั้นเป็นข้อมูลที่เราใช้ในการสื่อสารในชีวิตประจำวัน

2.ข้อมูลดิจิทัล ข้อมูลในระบคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่มิได้อยู่ในรูปของแอนะล็อก ข้อมูลแอนะล็อกจำเป็นต้องถูกแปลงให้อยู่ในรูปที่คอมพิวเตอร์อ่านได้โดยใช้ระบบฐานสอง หน่วยที่เล็กที่สุดของข้อมูล คือ          0 และ 1 เราเรียกหน่วยนี้ว่า บิด (Bit-Binary Digit) ซึ่งถูกนำมาใช้แทนการเปิดและปิดวงจรไฟฟ้าอันเป็นลักษณะของการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์นั่นเอง เมื่อนำข้อมูลระดับบิตมารวมกันเข้าเพื่อใช้แทนอักขระ ตัวเลข หรือสัญลักษณ์พิเศษอื่นๆ เครื่องคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันใช้กลุ่มของบิตจำนวน 8 บิต มารวมกันเข้าเพื่อใช้แทนตัวอักษรเหล่านี้ กลุ่มข้อมูลจำนวน 8 บิตนี้เรียกว่า ไบต์ (byte) ในระบบฐานสองที่ใช้ 8 บิตนี้สามารถแสดงสัญลักษณ์ได้ตั้งแต่ 00000000 ถึง 11111111หรือ 256 ตัว โดยมีมาตรฐานที่สำคัญและเป็นที่รู้จักกันอย่างดี 2 มาตรฐาน คือ แอสกี (ASCII)  และเอ็บซีดิก (EBCDIC) ระบบแอสกีเป็นรหัสที่นิยมใช้ในระบบการสื่อสารและเปลี่ยนข้อมูลและในระบบคอมพิวเตอร์แบบพีซีทั่วไป ส่วนระบบเอ็บซีดิกนั้นเป็นระบบที่ได้รับการพัฒนาจากบริษัทไอบีเอ็ม ตัวอย่างของสัญลักษณ์ดังกล่าว เช่น 0100001 แทนรหัสอักขระตัว Aและ 10100001 แทนรหัสตัวอักขระตัว ตามมาตรแอสกี

บทบาทสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาความรู้

1.การรวบรวมและจัดเก็บสารสนเทศต่างๆ บทเรียนคอมพิวเตอร์ หนังสืออเล็กทรอนิกส์หรืออีบุ๊ค (ส่วนใหญ่หนังสืออิเล็กทรอนิกส์นี้มีทั้งที่เป็นวรรณกรรมคลาสิกหรือวรรณคดี หรือจดหมายเหตุที่มีคุณค่า หนังสือและเอกสารเหล่านี้มักไม่มีปัญหาด้านลิขสิทธิ์) สิ่งพิมพ์ทางวิชาการที่เผยแพร่บนอินเทอร์เน็ต ฐานข้อมูลทางวิชาการ (ฐานข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศที่ให้บริการในห้องสมุดหรือโอแพ็ก)

2.การประมวลผล หมายถึง การแปลงข้อมูลที่นำเข้าให้เป็นผลลัพธ์ที่ต้องการ เช่น การพิมพ์ต้นร่างรายงานเพื่อจัดทำเป็นผลลัพธ์ คือ รายงานฉบับพิมพ์ การพิมพืรายการรายรับ-รายจ่ายเข้าเพื่อประมวลและจัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายโดยใช้โปรแกรมไมโครซอฟต์เอ็กเซล

3.การสื่อสารไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์หรืออีเมล์ การสนทนากลุ่ม การคุยหรือแช็ต -การประชุมทางไกล

4.การเชื่อมโยงกัน เป็นการเชื่อมโยงให้สามารถสื่อสารหรือทำงานร่วมกันโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสารอาจเป็นภายในองค์การเดียวกันหรืออาจเชื่อมต่อไปยังองค์การอื่นทั่วโลก

5.การเข้าถึงและการใช้สารสนเทศ

เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์

แนวคิด

1.ฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์มี 4 ประเภท คือ ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ เมนเฟรม มินิคอมพิวเตอร์ และไมโครคอมพิวเตอร์

2.ฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ประกอบด้วยส่วนประกอบหลักอยู่ 5 ส่วน คือ หน่วยรับข้อมูล หน่วยประมวลผลกลางหรือซีพียู หน่วยความจำหลัก หน่วยความจำรอง และหน่วยแสดงผล

3.หน่วยรับข้อมูลมีอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับป้อนข้อมูลและคำสั่งอยู่มากมายหลายประเภท อุปกรณ์ที่สำคัญและเป็นที่คุ้นเคย คือ แผงแป้นพิมพ์ เมาส์ จอสัมผัส และเครื่องสแกนเนอร์

4.หน่วยประมวลผลกลางหรือซีพียู เป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดของคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่ประมวลข้อมูลต่างๆ ตามคำสั่ง จัดเก็บข้อมูลและคำสั่งที่ได้รับจากหน่วยนำข้อมูลเข้าไว้ และควบคุมส่วนต่างๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ หน่วยประมวลผลกลางประกอบด้วยหน่วยคำนวณ และตรรกะหรือเอแอลยู หน่วยควบคุม และหน่วยความจำแคช

5.หน่วยความจำหลัก ทำหน้าที่เก็บคำสั่งและข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผลแต่ละครั้ง เนื่องจากคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้ทีละคำสั่ง หน่วยความจำหลักจึงเป็นที่จัดเก็บคำสั่งและข้อมูลที่เหลือไว้ชั่วคราวเพื่อพักไว้ในระหว่างคอมพิวเตอร์ประมวลข้อมูล ตัวอย่างสำคัญของหน่วยความจำหลักคือ แรม (RAM)

6.หน่วยความจำรอง ทำหน้าที่จัดเก็บข้อมูลและคำสั่งได้คงทนและยาวนานกว่าหน่วยความจำหลัก และยังเก็บข้อมูลได้จำนวนมากกว่ามาก แต่ในขณะเดียวกัน การเข้าถึงข้อมูลที่จัดเก็บในหน่วยความจำรองนี้ช้ากว่าหน่วยความจำหลัก จึงมีราคาถูกกว่าด้วย  หน่วยความจำรองที่สำคัญมี 3 ประเภท คือ จานแม่เหล็ก ออปติคัลดิสก์ และหน่วยความจำแฟลส

7.หน่วยแสดงผล มีหน้าที่นำผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลมาแสดงให้ผู้ใช้ทราบในลักษณะต่างๆ ตัวอย่างสำคัญของอุปกรณ์ที่ใช้แสดงผล คือ จอภาพ และเครื่องพิมพ์

8.ซอฟต์แวร์ เป็นคำสั่งต่างๆ ที่ใช้ในการควบคุมการปฏิบัติงานของระบบคอมพิวเตอร์ ทำให้ระบบคอมพิวเตอร์ทำงานตามที่เราต้องการ ซอฟต์แวร์สามารถจำแนกออกได้เป็น 2 ส่วน ประเภทใหญ่คือ ซอฟต์แวร์ระบบ และซอฟต์แวร์ประยุกต์

9.ซอฟต์แวร์ต่างๆ ซอฟต์แวร์ระบบจำแนกออกเป็น 2 ประเภท คือ ระบบปฏิบัติการและโปรแกรมอรรถประโยชน์

10.ซอฟต์แวร์ประยุกต์ เป็นซอฟแวร์ต่างๆ ที่ช่วยให้ผู้ใช้ทำงานตามที่ต้องการ โดยไม่เกี่ยวข้องกับการควบคุมฮาร์ดแวร์ต่างๆ โดยทั่วไปซอฟต์แวร์ประยุกต์เป็นโปรแกรมที่ได้รับการพัฒนามาเพื่องานเฉพาะ หรือซอฟต์แวร์ที่ใช้งานทั่วไป ซึ่งจำหน่ายอยู่ในท้องตลาดโดยเฉพาะสำหรับไมโครคอมพิวเตอร์

ประเภทของฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์

                1.ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (Supercomputer) เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่มีสมรรถนะสูงมาก สามารถคำนวณและประมวลข้อมูลจำนวนมากได้ในเวลาอันรวดเร็ว ส่วนใหญ่มักใช้ในหน่วยงานศึกษาวิจัยขั้นสูงทางด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรม และการทหาร เช่น งานวิจัยด้านอุตุนิยมวิทยาและบรรยากาศของโลก งานวิจัยด้านอวกาศ งานวิจัยนิวเคลียร์ งานวิจัยด้านพันธุ์วิศวกรรม เป็นต้น มักนิยมระบุสมรรถนะของซูเปอร์คอมพิวเตอร์เป็นจำนวนคำสั่งสำหรับคำนวณเลขซึ่งเป็นจุดทศนิยมต่อวินาที โดยมีหน่วยเป็นฟลอปส์ (FLOPS) เครื่องในปัจจุบันสามารถประมวลผลได้รวดเร็วในระดับเอ็มฟลอปส์ หรือกิกะฟลอปส์ ตัวอย่างเช่น หากซูเปอร์คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้ 5 จีฟลอปส์ หมายความว่าในเวลาเพียง 1 วินาที ซูเปอร์คอมพิวเตอร์นี้จะสามารถคำนวณเลขที่มีจุดทศนิยมได้มากถึง 5,000ล้านจำนวน เป็นต้น

                2.เมนเฟรม (Mainframe) เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถนะรองลงมาจากเครื่องซูเปอร์คอมพิวเตอร์ นิยมใช้ในวงการธุรกิจหรือหน่วยงานขนาดใหญ่ที่ต้องประมวลผลข้อมูลจำนวนมาก หรือในงานที่มีกระบวนการยุ่งยากซับซ้อน เช่น งานสำรองที่นั่งของสายการบินต่างๆ งานควบคุมเครือข่ายการฝากถอนเงินของธนาคารโดยใช้ระบบเอทีเอ็ม งานทะเบียนนักศึกษาและการลงทะเบียนของมหาวิทยาลัย งานวิจัยของหน่วยงานขนาดใหญ่ เป็นต้น มักนิยมระบุสมรรถนะของเครื่องเมนเฟรมเป็นหน่วย มิปส์ (MIPS) กล่าวคือ หากเครื่องเมนเฟรมทำงานได้ 200 มิปส์ หมายความว่า ในเวลา 1 วินาที เครื่องเมนเฟรมนี้สามารถทำงานตามคำสั่งได้ทั้งสิ้น 200 ล้านคำสั่ง

                3.คอมพิวเตอร์ขนาดกลาง เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีความสามารถในการประมวลผลด้อยกว่าเมนเฟรม แต่มีราคาและค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติงานและบำรุงรักษาต่ำกว่า คอมพิวเตอร์ขนาดกลางที่นิยมใช้กันในปัจจุบันได้แก่ มินิคอมพิวเตอร์ (minicomputer) และเครื่องคอมพิวเตอร์บริการหรือเซิร์ฟเวอร์ (server)

                มินิคอมพิวเตอร์เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดกลาง มีสมรรถนะรองลงมาจากเมนเฟรม โดยทั่วไปเครื่องมินิคอมฯมีขนาดไม่ใหญ่นัก สามารถตั้งบนโต๊ะทำงานขนาดกลางได้ นิยมใช้มินิคอมฯในงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ การออกแบบทางวิศวกรรม เช่น การผลิตแผงวงจร เป็น ส่วนเครื่องคอมฯบริการ ให้บริการเครือขายคอมฯที่ใช้ในหน่วยงานขนาดกลางและขนาดย่อม ธุรกิจ และอุตสาหกรรม เช่น มหาวิทยาลัย โรงแรม โรงพยาบาล เป็นต้น

                4.ไมโครคอมพิวเตอร์ (Microcomputer)  เป็นคอมฯขนาดเล็ก ราคาย่อมเยา และใช้กันอย่างแพร่หลายในทุกวงการ สาขาวิชา และอาชีพ บางครั้งเราอาจได้ยินผู้เรียกไมโครคอมพิวเตอร์ว่า คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล หรือพีซี (Personal computer – PC) ปัจจุบันมีไมโครคอมพิวเตอร์อยู่หลายลักษณะ เช่น ชนิดตั้งพื้น (Desktop computer) 2.ชนิดหิ้วหรือพกติดตัว (Portable)  -laptop –notebook –palmtop หรือบางครั้งเรียกว่า พีดีเอ (PDA)

ส่วนประกอบของฮาร์ดแวร์ ทำหน้าที่ 5 ประการคือ

                1.หน่วยรับข้อมูล (input unit)แผงแป้นพิมพ์ อุปกรณ์ชี้ เม้า จอสัมผัส เครื่องสแกนเนอร์

                2.หน่วยประมวลผลกลาง หรือซีพียู (CPU)นับเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดของคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่เปรียบเสมือนกับสมองของมนุษย์ที่ทำหน้าที่ประมวลผล หน่วยประมวลผลกลางทำหน้าที่ประมวลข้อมูลต่างๆ ตามคำสั่ง ประกอบด้วย 1.หน่วยคำนวณและตรรกะหรือเอแอลยู ทำหน้าที่ด้านการคำนวณต่างๆ เช่น การบวก ลบ คูณ หาร และตามฟังก์ชั่นคณิตศาสตร์ต่างๆ 2.หน่วยควบคุม ทำหน้าที่ควบคุมและประสานงานการทำงานของส่วนต่างๆ ในเครื่องคอมพิวเตอร์ ได้แก่ การควบคุมการรับและส่งข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผล เก็บรหัสคำสั่งให้ส่วนต่างๆในเครื่องทำงาน และเป็นตัวกลางระหว่างหน่วยความจำหลักและหน่วยคำนวณและตรรกะ หน่วยความจำแคช (cache memory) ซึ่งเป็นหน่วยความจำที่มีความเร็วสูง หน่วยความจำแคชทำหน้าที่เก็บคำสั่งจากหน่วยความจำรองและรอเตรียมไว้ให้กับหน่วยประมวลผลกลาง หน่วยความจำแคชไม่สามารถทำงานได้ตามลำพัง แต่ต้องทำงานร่วมกับหน่วยความหลักในขณะกำลังประมวลผล เพื่อช่วยให้สามารถประมวลผลได้รวดเร็วขึ้น

                3.หน่วยความจำหลัก (main memory หรือ primary memory)ทำหน้าที่เก็บคำสั่งและข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผลแต่ละครั้ง เนื่องจากคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้ทีละคำสั่ง หน่วยความจำหลักจึงเป็นที่จัดเก็บคำสั่งและข้อมูลที่เหลือไว้ชั่วคราวเพื่อพักไว้ในระหว่างคอมพิวเตอร์ประมวลข้อมูล หน่วยความจำหลักที่เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง คือ แรมRAM

                4.หน่วยความจำรอง (secondary memory)เป็นหน่วยความจำอีกประเภทหนึ่ง ที่สามารถจัดเก็บข้อมูลและคำสั่งได้คงทนและยาวนานกว่าหน่วยความจำหลัก และยังเก็บข้อมูลได้จำนวนมากกว่ามาก แต่ในขณะเดียวกัน การเข้าถึงข้อมูลที่จัดเก็บในหน่วยความจำรองนี้ช้ากว่าหน่วยความจำหลัก จึงมีราคาถูกด้วย หน่วยความจำรองมีอุปกรณ์สำคัญ 2 ประเภท คือ สื่อที่ใช้ในการจัดเก็บ และอุปกรณ์เฉพาะที่เรียกว่า อุปกรณ์ขับหรือไดรฟ์ (drive) เพื่อใช้ในการเข้าถึงข้อมูลที่จัดเก็บไว้ เช่น จานแม่เหล็ก (ฮาร์ดดิสก์ ข้อดีของฮาร์ดดิสนั้นคือความจุดสูง และสามารถเข้าถึงข้อมูลที่จัดเก็บได้อย่างสะดวกรวดเร็ว แต่ฮาร์ดดิสนั้นไม่เหมาะกับการใช้จัดเก็บข้อมูลสำรอง เพราะข้อมูลที่แก้ไขปรับปรุงจะถูกเขียนทับข้อมูลเดิม ทำให้ข้อมูลเดิมถูกลบไปอย่างถาวร การกู้ข้อมูลเดิมขึ้นมาทำได้ยาก) ดิสเกตต์ -ออฟติคัลดิสก์  ซีดี ดีวีดี และหน่วยความจำแฟลช

                5.หน่วยแสดงผล (output unit) จอภาพ เครื่องพิมพ์ (แบบอิมแพค แบบนอนอิมแพค เครื่องพิมพ์เธอมัล  เครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ต เครื่องพิมพ์เลเซอร์)

กิจกรรม

                กฎสำคัญใดนิยมใช้อธิบายความก้าวหน้าด้านฮาร์ดแวร์ และกฎนี้มีสาระสำคัญอะไร = กฎสำคัญที่มักกล่าวถึงความก้าวหน้าในด้านฮาร์ดแวร์ คือ กฎของมัวร์ ที่ว่าจำนวนวงจรทรานซิสเตอร์บนชิปคอมพิวเตอร์จะมีจำนวนเพิ่มขึ้นทุก 18 เดือน หรืออาจกล่าวได้ว่าชิปคอมพิวเตอร์ที่ถือเป็นอุปกรณ์สำคัญในการประมวลข้อมูลของคอมพิวเตอร์จะทำงานได้รวดเร็วขึ้นอย่างมาก ขณะเดียวกันยังมีขนาดเล็กลงราคาลดลง

                หน่วยประมวลผลกลางมีหน้าที่อะไรในระบบคอมพิวเตอร์ = หน่วยประมลผลกลางหรือซีพียู เป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดของคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลต่างๆ ตามคำสั่ง จัดเก็บข้อมูลและคำสั่งที่ได้รับจากหน่วยนำข้อมูลเข้าไว้ และควบคุมส่วนต่างๆ ของระบบคอมพิวเตอร์

          หน่วยความจำรองต่างจากหน่วยความจำหลักอย่างไร จงอธิบาย = หน่วยความจำรองทำหน้าที่จัดเก็บข้อมูลและคำสั่งได้คงทนและยาวนานกว่าหน่วยความจำหลักและยังเก็บข้อมูลได้จำนวนมากกว่ามาก แต่ในขณะเดียวกัน การเข้าถึงข้อมูลที่จัดเก็บในหน่วยความจำรองนี้ช้ากว่าหน่วยความจำหลัก จึงมีราคาถูกกว่าด้วย.

ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์

                หากเปรียบฮาร์ดแวร์เป็นอุปกรณ์เครื่องครัวในห้องครัวแห่งหนึ่ง ตำรับอาหารซึ่งรวบรวมคำสั่งให้ประกอบอาหารต่างๆ เปรียบเสมือนกับซอฟต์แวร์หรือชุดคำสั่ง ซอฟต์แวร์มีหน้าที่สำคัญ 3 ประการคือ 1.จัดการทรัพยากรต่างๆ ในระบบคอมพิวเตอร์ 2.เป็นเครื่องมือทำให้ผู้ใช้สามารถใช้ทรัพยากรดังกล่าวให้เกิดประโยชน์ 3.ทำหน้าที่เป็นตัวกลางเชื่อมโยงระหว่างผู้ใช้และสารสนเทศที่จัดเก็บไว้ ทำให้สามารถนำสารสนเทศมาใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ

1.ซอฟต์แวร์ระบบ (System software) เป็นซอฟต์แวร์พื้นฐานที่ทำหน้าที่เชื่อโยงระหว่างฮาร์ดแวร์และโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ต่างๆ สามารถจำแนกซอฟต์แวร์ระบบออกเป็น 2 ประเภท คือ 1.ระบบปฏิบัติการ ควบคุมและสื่อสารกับอุปกรณ์ต่างๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ จัดการโปรแกรมและข้อมูลต่างๆ ที่จัดเก็บ จัดการหน่วยความจำ จัดลำดับการประมวลผล และควบคุมและกำกับการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ เช่น วินโดวส์ ยูนิกซ์ ลีนุกซ์หรือไลนัส 2.โปรแกรมอรรถประโยชน์ เป็นโปรแกรมต่างๆ ที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้เพิ่มเติมขึ้นจากระบบปฏิบัติการ ดังนั้นโปรแกรมอรรถประโยชน์จึงถือเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถทำงานที่มีซ้ำๆ กันหรืองานประจำได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว เช่น การจัดทำสำเนาจากหน่วยความจำประเภทต่างๆ การลบแฟ้มข้อมูล เช่น โปรแกรมประมวลคำ โปรแกรมตารางทำการ หรือสเปรดซีด โปรแกรมนำเสนอ โปรแกรมเบราเซอร์ หรือเว็บเบราเซอร์.

เครือข่ายคอมพิวเตอร์

                ประเภทของเครือข่าย

1.แลน หรือเครือข่ายระยะใกล้ (Local Area Network - LAN) หรือเครือข่ายท้องถิ่น เช่น ภายในอาคารสำนักงานเดียวกัน ภายในอาคารโรงงานเดียวกัน

2.แวน หรือ เครือข่ายระยะไกล (Wide Area Network - WAN)  เช่น ระหว่างอำเภอ ระหว่างประเทศ ระหว่างภูมิภาค เครือข่ายแวนประกอบด้วยเครือข่ายย่อยๆ ที่มาเชื่อมต่อกัน มีการนำเทคโนโลยีโทรคมนาคมหลายประเภทมาใช้ร่วมกัน.

                เครือข่ายคอมพิวเตอร์มีประโยชน์หลายด้าน คือ 1.ด้านฮาร์ดแวร์ทำให้ใช้งานฮาร์ดแวร์ร่วมกันประมวลผลร่วมกัน จัดการฮาร์ดแวร์เพื่อให้เกิดการใช้ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด 2.ด้านซอฟต์แวร์ ทำให้ใช้ซอฟต์แวร์ร่วมกันได้  3.ด้านข้อมูล ทำให้เกิดการใช้ข้อมูลร่วมกันผ่านระบบสื่อสารและระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลและสารสนเทศ.

อินเทอร์เน็ต

                อินเทอร์เน็ต หรือที่บางครั้งอาจเรียกว่า เดอะเน็ต อินเทอร์เน็ตมีประวัติย้อนหลังไปใน ค.ศ.1969 โครงการวิจัยชั้นสูง กระทรวงกลาโหมของสหรัฐเมริกา (ARPA) ได้จัดทำโครงการทดลองเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีด้านระบบเครือข่ายที่ใช้เชื่อมโยงนักวิจัยให้สามารถเข้าถึงฐานของสถาบันอื่นๆ ที่อยู่ห่างใกลออกไปได้ ผลจากโครงการดังกล่าวจึงเกิดเป็นอาร์ปาเน็ต (ARPANET) ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นต้นแบบของระบบอินเทอร์เน็ต เครือข่ายอาร์ปาเน็ตจึงได้ถูกแยกออกเป็นเครือข่าย มิลเน็ต

                อินเทอร์เน็ต ก็เช่นเดียวกันกับแวนที่มีการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารหลายประเภทร่วมกันเพื่อเชื่อมโยงหน่วยงานที่อยู่ห่างไกลได้

                บริการที่สำคัญบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ได้แก่ บริการเว็บ บริการไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์หรืออีเมลล์ บริการถ่ายโอนข้อมูลและบริการกลุ่มสนทนา.

การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาความรู้= การค้นหาสารสนเทศที่เผยแพร่บนเว็บนั้นมีวิธีการสำคัญ 3 วิธี คือ การค้นโดยใช้ยูอาร์แอล การค้นโดยใช้ไฮเปอร์ลิงก์ และการค้นโดยใช้เครื่องมือช่วยค้นสารสนเทศ

การเลือกใช้ฮาร์แวร์คอมพิวเตอร์จำเป็นต้องเข้าใจสมรรถนะของไมโครคอมพิวเตอร์ โดยมีส่วนประกอบที่สำคัญ 2 ด้าน คือ หน่วยประมวลผลกลางและหน่วยความจำ.

                วิธีการค้นหาสารสนเทศบนเว็บ การค้นเนื้อหา บนเว็บนั้นมีวิธีการสำคัญ 3 วิธี คือ

                1.การค้นโดยใช้ยูอาร์แอล URL ยูอาร์แอลมีส่วนสำคัญ คือ ชื่อโดเมนเนม (domain name)

                2.การค้นโดยใช้ไฮเปอร์ลิงก์ (Hyperlink หรือลิงก์ Link)

                3.การค้นโดยเครื่องมือช่วยค้น (Search tool หรือ Search engine).

เกณฑ์ในการประเมินผลการค้นคืนสารสนเทศบนเว็บได้แก่ ความน่าเชื่อถือของผู้เขียนและผู้รับผิดชอบ ผู้เขียนและผู้รับผิดชอบอาจเป็นบุคคล สมาคม สมาคมวิชาชีพ หน่วยงาน องค์การ สำนักพิมพ์ หรือกลุ่มในกลุ่มหนึ่งที่เป็นผู้รับผิดชอบด้านเนื้อหาของเอกสารรายนั้นๆ ชื่อโดเมน และความทันสมัย

มรรยาทในการสื่อสารทางอินเทอร์เน็ตที่สำคัญ ได้แก่ ตรงประเด็น ใช้ถ้อยคำสุภาพ ไม่ส่อเสียด ยุยง หรือหยาบคาย ไม่ใช้ช่องทางการสื่อสารสื่อสารระหว่างบุคคลเพื่อประโยชน์ในการโฆษณา ระบุเรื่องให้ชัดเจน และคำนึงถึงข้อกำกัดในการสื่อสาร.

กิจกรรม

                การเลือกใช้ฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์จำเป็นต้องเข้าใจสมรรถนะของไมโครคอมพิวเตอร์ในด้านใด อย่างไร จงอธิบาย = การเลือกใช้ฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์จำเป็นต้องเข้าใจสมรรถนะของไมโครคอมพิวเตอร์ โดยมีส่วนประกอบที่สำคัญ 2 ด้าน คือ 1.หน่วยประมวลผลกลาง ซึ่งพิจารณาความยาวของคำที่สามารถประมวลผลได้ ความเร็วของวงจร ในการดำเนินของหน่วยประมวลผลกลาง ซึ่งนิยมเรียกกันว่าความเร็วของนาฬิกา และความกว้างของบัน 2.หน่วยความจำ โดยหากมีหน่วยความจำมากย่อมมีสมรรถนะสูงกว่าที่มีหน่วยความจำน้อย

                การเลือกใช้ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ต้องพิจารณาอะไรบ้าง จงอธิบาย = การเลือกใช้ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ต้องพิจารณาแหล่งที่มาของซอฟต์แวร์และมาตรฐานของซอฟต์แวร์

          การติดตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศมีแหล่งสารสนเทศที่สำคัญอะไรบ้าง = วารสาร หรือนิตยสารทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและสารสนเทศบนเว็บ

                ให้นักศึกษาลองสำรวจโฆษณาไมโครคอมพิวเตอร์ในท้องตลาดมา 1 รายการ และตรวจสอบดูคุณสมบัติของไมโครคอมพิวเตอร์นั้นว่ามีสมรรถนะอย่างไร = คุณสมบัติทั่วไปของไมโครคอมพิวเตอร์ที่ปรากฏในโฆษณา คือ รุ่นของไมโครโพรเซสเซอร์ ความเร็วของนาฬิกา ความกว้างของบัส ขนาดของหน่วยความจำแคช ขนาดของหน่วยความจำแรม และขนาดของฮาร์ดดิสก์ เป็นต้น.

ความกว้างของบัส (Bus width หรือ Data bus width) บัสเปรียบได้กับถนนหรือเส้นทางที่เชื่อมหน่วยประมวลผลกลาง หน่วยความจำหลัก และอุปกรณ์ต่างๆ เข้าด้วยกัน ถนนนี้ใช้ในการขนส่งข้อมูล หากเป็นถนนใหญ่หรือไมโครคอมพิวเตอร์ที่มีบัสกว้างมาก จะสามารถขนถ่ายข้อมูลได้มากกว่าไมโครคอมพิวเตอร์ที่มีบัสแคบ ดังนั้นแม้ไมโครโพรเซสเซอร์สามารถประมวลผลได้ครั้งละมากๆ และมีนาฬิกาที่รวดเร็ว แต่หากไม่สามารถขนถ่ายข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ต่างๆ ได้รวดเร็วทันการ ย่อมทำให้ไมโครคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นประมวลผลได้ช้าลง เพราะไมโครคอมพิวเตอร์ไม่สามารถขนถ่ายคำสั่งและข้อมูลได้ทัน ทำให้หน่วยประมวลผลกลางต้องรอคำสั่งและข้อมูล เกิดความล่าช้า.

                แบบประเมินผลตนเองก่อนเรียน หน่วยที่ 5

1.เทคโนโลยีต่างๆ ที่ใช้ในการสร้าง ประมวล จัดเก็บ และจัดส่งสารสนเทศโดยทางอิเล็กทรอนิกส์คืออะไร = สารสนเทศ

2.หน่วยที่เล็กที่สุดของข้อมูลดิจิทัลคืออะไร = บิต

3.ข้อใดไม่ใช่สิ่งพิมพ์ที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการรวบรวมและจัดเก็บสารสนเทศอันเป็นประโยชน์ในการพัฒนาความรู้ = ร้านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์

4.คอมพิวเตอร์ในข้อใดที่มีสมรรถนะสูงมาก สามารถคำนวณและประมวลข้อมูลจำนวนมากได้ในเวลาอันรวดเร็ว ส่วนใหญ่มักใช้ในหน่วยงานศึกษาวิจัยขั้นสูงทางด้าน วิทยาศาสตร์ วิศวกรรม และการทหาร = ซูเปอร์คอมพิวเตอร์

5.ข้อใดเป็นอุปกรณ์รับข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์ = หน่วยประมวลผลกลาง

6.ข้อใดเป็นซอฟต์แวร์ระบบ = เชื่อมโยงระหว่างฮาร์ดแวร์กับซอฟต์แวร์ต่างๆ

7.เครือข่ายในข้อใดได้รับความนิยมในองค์การและหน่วยงานเป็นจำนวนมาก เพื่อการใช้ทรัพยากรร่วมกันในองค์การได้อย่างสะดวกและมีประสิทธิภาพ = แลน

8.การค้น เนื้อหา บนเว็บมีวิธีการสำคัญอะไรบ้าง = ใช้ยูอาร์แอล ใช้ไฮเปอร์ลิงก์ ใช้เครื่องมือช่วยค้นสารสนเทศ

9.ข้อใดไม่ใช่มรรยาทในการสื่อสารทางอินเทอร์เน็ตทีสำคัญ = แจ้งชื่อและที่ติดของผู้สื่อสารอย่างชัดเจน

10.การเลือกใช้ซอฟแวร์คอมพิวเตอร์มีเกณฑ์สำคัญอะไร = แหล่งที่มาของฮาร์แวร์

แบบประเมินผลตนเองหลังเรียนหน่วยที่ 5

1.เทคโนโลยีสารสนเทศหมายถึงเทคโนโลยีที่ใช้ในด้านใด = สร้าง ประมวล จัดเก็บสารสนเทศ -จัดส่งสารสนเทศโดยทางอิเล็กทรอนิกส์ จัดการสารสนเทศทั้งที่เป็นอักขระ ตัวเลข ภาพ ภาพกราฟิก และเสียง จัดการสารสนเทศในรูปสื่อประเภทประสมหรือมัลติมีเดีย

2.ไบต์หมายถึงอะไร = กลุ่มของบิตที่มารวมกันเข้าเพื่อใช้แทนสัญลักษณ์ต่างๆ

3.ข้อใดไม่ใช่สิ่งพิมพ์ที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการรวบรวมและจัดเก็บสารสนเทศอันเป็นประโยชน์ในการพัฒนาความรู้ = ร้านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์

4.คอมพิวเตอร์ในข้อใดนิยมใช้ในวงการธุรกิจหรือหน่วยงานขนาดใหญ่ที่ต้องประมวลข้อมูลจำนวนมากหรือในงานที่มีกระบวนการยุ่งยากซับซ้อนอย่างรวดเร็วทันที = คอมพิวเตอร์เพื่องานธุรกิจ

5.ข้อใดเป็นหน่วยความจำรองในระบบคอมพิวเตอร์ = สมาร์ทมีเดีย

6.ข้อใดกล่าวถึงซอฟต์แวร์ประยุกต์ได้อย่างถูกต้องที่สุด = ไม่เกี่ยวข้องกับการควบคุมฮาร์ดแวร์ต่างๆ

7.เครือข่ายในข้อใดครอบคลุมไปในพื้นที่ที่กว้างไกลและต้องใช้เทคโนโลยีโทรคมนาคมหลายประเภทมารวมกันเพื่อช่วยในการสื่อสารระยะไกลที่อาจข้าม น้ำ ภูเขา หรือมหาสมุทรได้ = แวน

8.การค้น เนื้อหา บนเว็บโดยผู้ใช้ทราบเพียงคำสำคัญของเรื่องที่ต้องการค้น ควรค้นด้วยวิธีใด จึงจะเหมาะสมที่สุด = ใช้เครื่องมือช่วยค้นสารสนเทศ

9.ข้อใดไม่ใช่มรรยาทในการสื่อสารทางอินเทอร์เน็ตที่สำคัญ = แจ้งชื่อและที่ติดต่อของผู้สื่อสารอย่างชัดเจน

10.การเลือกใช้ฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์มีเกณฑ์สำคัญอะไร = ความยาวของคำที่สามารถประมวลผลได้

หน่วยที่ 6 (การเข้าใจตนเอง)

การเข้าใจตนเอง หมายถึง การมีความรู้เกี่ยวกับตนเองเพิ่มขึ้น ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา การมีความรู้เกี่ยวกับตนเองจะนำไปสู่การพัฒนาตัวของเรา และช่วยพัฒนาผู้อื่น

การเห็นคุณค่า หมายถึง การมองตนเองทางด้านบวก และมองเห็นว่าตนเองมีความสำคัญ

ความหมายของการเข้าใจตนเอง 1.ความรู้ 2.ตนเอง 3.ความรู้เกี่ยวกับตนเองเพิ่มขึ้น

                1.ความรู้ หมายถึง ความกระจ่างในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ซึ่งความรู้จะประกอบด้วยลักษณะสำคัญ 2 ประการได้แก่ 1.สาระของความรู้ หรือเรื่องที่ต้องการรู้ 2.ลักษณะของความรู้ หรือรู้ความกระจ่างชัด (ความรู้หมายถึง ความกระจ่างชัดในเรื่อง จุดเด่น จุดด้อย ที่ตรงกับความจริง พร้อมทั้งรู้แนวทางเพิ่มจุดเด่น และลดจุดด้อยของตนเอง)

                2.ตนเอง หมายถึง สิ่งที่คงตัวในตัวเฉพาะของแต่ละบุคคล เช่น สติปัญญา ความรู้สึกนึกคิด สุขภาพ บุคลิกภาพ จากตัวอย่าง สติปัญญา ความรู้สึกนึกคิด สุขภาพ บุคลิกภาพ เป็นสิ่งที่อยู่ประจำตัวในตัวบุคคลของแต่ละคน (ตนเอง หมายถึง ลักษณะเฉพาะตัวของเรา) 3.ความรู้เกี่ยวกับตนเองเพิ่มขึ้น

ขอบข่ายของการเข้าใจตนเอง

                ได้มีการกำหนดขอบข่ายของการเข้าใจตนเองไว้แตกต่างกัน เช่น องค์การอนามัยโลก who ได้กำหนดไว้ 10 ขอบข่าย และต่อมาประเทศไทยได้ปรับให้เหมาะสมกับสภาพสังคมไทย จึงได้กำหนดให้มี 12 ประการ

                1.ความคิดสร้างสรรค์ 2.ความคิดวิเคราะห์วิจารณ์ 3.ความตระหนักรู้ในตน 4.ความเห็นใจผู้อื่น 5.ความภูมิใจในตนเอง 6.ความรับผิดชอบต่อสังคม 7. และ 8. การสร้างสัมพันธ์ภาพและการสื่อสาร, 9 และ 10 การตัดสินใจและการแก้ปัญหา, 11 และ 12 การจัดการกับอารมณ์ และความเครียด

- การเข้าใจตนเองมีขอบข่ายครอบคลุม 4 ด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ ด้านสังคม ด้านสติปัญญา

ความสำคัญของการเข้าใจตนเองการเข้าใจตนเองช่วยการในการพัฒนาตน -การเข้าใจตนเองช่วยในการพัฒนาองค์รวมของชีวิต การเข้าใจตนเองช่วยในการช่วยเหลือผู้อื่น(การเข้าใจตนเองว่าตนเองมีจุดเด่นจุดด้อยอย่างไร ก็จะช่วยให้เข้าใจผู้อื่นว่าคนอื่นก็มีเอกลักษณ์ของเขา เขาจึงมีทั้งจุดเด่น จุดด้อยเช่นเดียวกัน ในส่วนที่เป็นจุดด้อยจะจำแนกจุดด้อยเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ประเภทแรก จุดด้อยที่แก้ไขได้ เช่น เป็นคนพูดชมเชยคนอื่นไม่เป็นแต่งกายไม่ถูกกาลเทศะ หงุดหงิดง่าย เป็นต้น กรณีเช่นนี้เราบอกให้เขารู้เพื่อลดจุดด้อย ประเภทที่สอง จุดด้อยที่ไม่สามารถแก้ไขได้ เช่น ความบกพร่องทางกายที่เกิดมาแต่กำเนิด กรณีเช่นนี้ควรให้กำลังใจเพื่อไม่มองเป็นปมด้อย)

การเข้าใจตนเองกับการเห็นคุณค่าตนเอง

                การเห็นคุณค่าตนเอง หมายถึง การมองตนเองทางบวก และมองเห็นตนเองมีความสำคัญ

กิจกรรม

                จงอธิบายความหมาย ความสำคัญ การเกิดขึ้นของการเห็นว่าของตนเอง และความสัมพันธ์ระหว่างการเข้าใจตนเองกับการเห็นคุณค่าของตนเอง = การเห็นคุณค่าตนเองทางบวก และมองเห็นว่าตนเองมีความสำคัญ ความสำคัญของการเห็นคุณค่า ได้แก่ ทำให้เกิดความมั่นใจในตนเอง มีผลต่อการมองผู้อื่น และมีผลต่อการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น การเห็นคุณค่าตนเองเกิดจากการได้ข้อมูลข่าวสารทางบวกหรือทางลบ จากนอกตัวเราหรือภายในตัวเรา ความสัมพันธ์ระหว่างการเข้าใจตนเองกับการเห็นคุณค่าของตนเอง ได้แก่ การเข้าใจตนเองเป็นวิธีทำให้เราเห็นคุณค่าของตนเองที่เกิดจากแหล่งภายในตัว

-การบวนการเข้าใจตนเองในแต่ละขั้นมีสาระดังนี้

          1.กำหนดวัตถุประสงค์ของการทำความเข้าใจตนเอง 2.สำรวจตนเอง 3.วิเคราะห์และประเมินหาดจุดเด่นจุด้อย 4.พัฒนาตนด้วยการลดจุดด้อย เพิ่มจุดเด่น 5.ประเมินผลการพัฒนาตนเอง 6.หากผลการประเมินไม่พึงพอใจให้ปรับปรุงแก้ไขใหม่ หากพึงพอใจให้ยุติการพัฒนา หรือพัฒนาต่อไปอย่างต่อเนื่อง

แมคคอล์ม โพรวัส ได้เสนอแนวคิดการประเมินตนเองดังนี้

                S ย่อมาจากคำว่า Standard หมายถึง มาตรฐาน หรือวัตถุประสงค์ หรือผลลัพธ์ที่คาดหวัง

                P ย่อมาจากคำว่า Performance หมายถึง ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริงหลังจากได้ดำเนินกิจกรรมต่างๆ เสร็จสิ้น

                C ย่อมาจากคำว่า Compare หมายถึง การเปรียบเทียบผลลัพธ์ระหว่าง S กับ P

          D ย่อมาจากคำว่า Discrepancy หมายถึง ความเคลื่อนหรือความแตกต่างระหว่าง S กับ P โดยเปรียบเทียบว่าผลที่เกิดจริงต่างจากที่คาดหวังหรือไม่

                ตัดสินใจ เป็นการตกลงใจว่าจะปรับเปลี่ยนวิธีการใหม่ เมื่อ S ไม่เท่ากับ P หรือรักษาวิธีการเดิมนั้นไว้หาก S เท่ากับ P

ปัจจัยของความสำเร็จในการเข้าใจตนเองมี 6 ขั้นตอนดังนี้

                ขั้นที่ 1 กำหนดวัตถุประสงค์ของการทำความเข้าใจตนเอง

                ขั้นที่ 2 สำรวจตนเอง

                ขั้นที่ 3 วิเคราะห์และประเมินหาจุดเด่นจุดด้อย

                ขั้นที่ 4 พัฒนาตนด้วยการลดจุดด้อย เพิ่มจุดเด่น

                ขั้นที่ 5 ประเมินผลการพัฒนาตนเอง

                ขั้นที่ 6 หากผลการประเมินไม่พึงพอใจ ให้ปรับปรุงแก้ไขใหม่

การสำรวจและประเมินตนเองด้านร่างกาย

                1.การสำรวจและประเมินสุขภาพกาย 2.การสำรวจและประเมินสุขภาพจิตตนเอง

สาเหตุจากปัญหาใจจิตใจ = เป็นสาเหตุที่เกิดจากอารมณ์ซึมเศร้าที่ผสมผสานความรู้สึกหลายๆ อย่าง ตั้งแต่ความรู้สึกกลัว เกลียด โกรธ ละอาย และรู้สึกผิด โดยที่ความรู้สึกโกรธเป็นอารมณ์พื้นฐานที่สุด ปรากฏให้เห็นแต่ในเด็กทารก ส่วนความรู้สึกผิดเป็นอารมณ์ละเอียดอ่อนและสลับซับซ้อนมากที่สุด จะเกิดขึ้นได้ก็เฉพาะในบุคคลที่มีมโนธรรมอยู่ในใจ

-การประเมินด้านอารมณ์ครอบคลุม 2 ขอบข่ายได้แก่ ความฉลาดทางอารมณ์  และเฉพาะด้าน

                ลักษณะของคนที่มีความฉลาดทางอารมณ์ 9 ประการ คือ

1.ควบคุมตนเองได้ 2.เห็นใจผู้อื่น 3.มีความรับผิดชอบ 4.มีแรงจูงใจ 5.ตัดสินใจแก้ปัญหาได้ 6.มีสัมพันธภาพกับผู้อื่นด้วยดี 7.มีความภาคภูมิใจตนเอง 9.มีความสงบสุขทางใจ

การสำรวจและประเมินเชิงจริยธรรม

                จริยธรรม หมายถึง ความประพฤติภายในกรอบของกฎเกณฑ์ที่สังคมยอมรับ -เป็นความประพฤติของคนสังคม ตัวเรา ผู้อื่น ความสัมพันธ์ระหว่างตนเองกับผู้อื่น เพื่อให้สังคมอยู่รอดปลอดภัย และอยู่อย่างสงบสุขของสมาชิกในสังคม

                การพิจารณาว่าบุคคลใดมีจริยธรรมหรือไม่ พิจารณาได้ 2 แนวทางได้แก่ 1.พิจารณาจากการกระทำ โดยพิจารณาว่า การกระทำใดที่ทำแล้วทำให้สังคมอยู่รวมกันแล้วอยู่รอดปลอดภัย และอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข เรียกว่า การกระทำนั้นมีจริยธรรม 2.พิจารณาจากเหตุผลที่บุคคลนั้นนำมาเป็นหลักเกณฑ์ในการตัดสินใจกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น การที่ตำรวจยิงผู้ร้ายด้วยเหตุผลเพื่อให้สังคมอยู่อย่างสงบสุข เนื่องจากผู้รายทำให้ชาวบ้านเดือดร้อนจากการลักขโมยของชาวบ้าน ฆ่าชาวบ้าน ผิดลูกเมียของชาวบ้าน การฆ่าผู้ร้ายของตำรวจนั้นจึงทำถูกต้อง แต่ถ้าตำรวจนั้นยิงเพื่อนบ้านเพราะความโกรธ เนื่องจากตำรวจขอพระที่คล้องคอ แต่เพื่อนบ้านไม่ให้จึงโกรธ คว้าปืนยิงเพื่อนบ้านเพราะความโกรธ คว้าปืนยิงเพื่อนจนตาย ดังนั้นจากดูพฤติกรรมตำรวจนั้นผิด

-การสำรวจและประเมินเชาวน์ปัญญา

                การสำรวจและประเมินเชาวน์ปัญญามีวัตถุประสงค์เพื่อวัดความสามารถทางสมอง ซึ่งเหนื้อหาที่วัดจะมีหลายๆ ด้าน คะแนนที่ได้เรียกว่า IQ หากทดสอบแล้วได้คะแนนสูงจะแปลความหมายว่า ฉลาดมาก ปกติ หรือต่ำกว่าปกติ ลักษณะแบบทดสอบอาจเป็นภาพหรือคำถาม ซึ่งพัฒนาโดย เจ ซี ราวัน (j.c.Ravan) แบบทดสอบนี้มีชื่อเรียกว่า แบบทดสอบ Standard progressive Matrices เรียกย่อว่า แบบทดสอบ สแตนดาร์ด พีเอ็ม (Stardard PM) การใช้แบบทดสอบเชาวน์ปัญญามาตรฐานเหล่านี้ ต้องขอรับจากสถาบันการศึกษาหรือนักจิตวิทยา และต้องแปลความหมาย

                พีอาเจต์ อธิบายว่า คนทุกคนมีวิธีคิดที่ต่างกันตามระดับของอายุ และเรียกวิธีคิดนี้ว่า โครงสร้างทางปัญญา และจากการศึกษาวิธีคิดของเด็ก วัยรุ่น และผู้ใหญ่ พบว่าเมื่ออายุเปลี่ยนไปวิธีคิดจะเปลี่ยนไปด้วย วิธีคิดที่เปลี่ยนไปนี้เรียกว่า พัฒนาการของปัญญา วิธีสำรวจและประเมินโครงสร้างทางปัญญาและพัฒนาการของปัญญานี้ ทำได้โดยให้ผู้รับการทดสอบทำหรือคิดตามโจทย์ที่พีอาร์เจต์เสนอ แล้วประเมินตอนเองว่ามีสติปัญญาอยู่ที่ระดับใด

                การสำรวจและประเมินสติปัญญาเฉพาะเรื่อง เช่น ความคิดเชิงเปรียบเทียบ ความคิดเชิงวิพากษ์ ความคิดเชิงมโนทัศน์ ความคิดเชิงวิเคราะห์ ความคิดเชิงอนาคต ความคิดเชิงประยุกต์ เป็นต้น

การพัฒนาสุขภาพ สามารถทำได้ 4 ลักษณะ ได้แก่ 1.การลด 2.การสร้าง 3.การเพิ่ม และ 4.การรักษาให้คงไว้ตลอดไป เช่น อาหาร การลด (ละ ลด เลิกสิ่งที่เป็นโทษต่อร่างกาย) การสร้าง (เริ่มการรับประทานอาหารที่เป็นคุณต่อร่างกาย) การเพิ่ม (เพิ่มการรับประทานอาหารที่เป็นคุณต่อร่างกาย) การรักษา (รับประทานอาหารที่เป็นคุณต่อร่างกายจนเป็นนิสัย)

-กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ได้เสนอแนวทางพัฒนา EQ ไว้ 5 แนวทาง ได้แก่ 1.รู้จักกับอารมณ์ตนเอง 2.จัดการกับอารมณ์ตนเองได้ 3. สร้างแรงจูงใจให้กับตนเอง 4.รู้จักอารมณ์ผู้อื่น 5.รักษาความสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน

แนวทางการพัฒนาเชิงจริยธรรม

                1.กำหนดพฤติกรรมเป้าหมาย 2.รวบรวมข้อมูลพื้นฐานพฤติกรรมเป้าหมาย 3.เลือกวิธีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 4.ควบคุมตนเองตามวิธีเลือกในข้อที่สาม 5.ประเมินพฤติกรรมตนเอง.

แนวทางการพัฒนาทักษะสังคมเฉพาะเรื่อง

                แนวทางการพัฒนาทักษะสังคมเหล่านี้ทำได้ด้วยเทคนิคเลียนแบบบุคคลที่เราชื่นชอบ หรือการฝึกทักษะจุลภาค ดังนี้ 1.กำหนดทักษะทางสังคมที่ต้องการฝึก 2.ศึกษาหลักเกณฑ์ที่ดีของทักษะที่ต้องฝึก 3.ชมตัวแบบทักษะที่ต้องการฝึก 4.เตรียมวางแผนฝึกทักษะ 5.ฝึกทักษะตามแผนที่ได้เตรียมไว้ 6.อภิปรายผลการฝึกทักษะ (หากบรรลุเป้าหมายจึงไปฝึกทักษะอื่นต่อไป หากไม่บรรลุเป้าหมายจะฝึกทักษะนั้นซ้ำ)

แนวทางการพัฒนาตนเองด้านสติปัญญา

                แนวทางการพัฒนาเชาวน์ปัญญา หลักการพัฒนาปัญญาของพีอาเจต์ ได้แก่ หลักการสร้างภาวะสมดุล (equilibration) หมายถึง ภาวะที่เท่าเทียมกัน หรือภาวการณ์ลดความขัดแย้งทางความคิด เมื่ออยู่ท่ามกลางแรงบังคับของ 2 ฝ่าย แรงบังคับ ได้แก่ เหตุการณ์ที่ทำให้เกิดความขัดแย้งทางความคิด เช่น ความรู้ใหม่ที่ได้รับซึ่งไม่ตรงหรือสอดคล้องกับความรู้เดิมที่มีอยู่ มนุษย์จะมีความรู้เก่ากับความรู้ใหม่ที่ไม่ตรงกัน ไม่สอดคล้องกัน มนุษย์จึงต้องปรับภาวะให้สมดลได้ 3 วิธี

                วิธีที่ 1 ยอมรับความรู้ใหม่

                วิธีที่ 2 ยังยึดมั่นในความรู้เดิม

                วิธีที่ 3 ปรับเปลี่ยนความคิดใหม่ โดยมีทั้งความรู้เก่าและความรู้ใหม่

                วิธีการทั้ง 3 นี้ เป็นวิธีการสร้างภาวะสมดุลทางความคิด

แนวทางการพัฒนาสติปัญญาเฉพาะเรื่อง หรือการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์

 1.กำหนดเป้าหมายของการคิด 2.การแสวงหาแนวคิดใหม่ 3.การประเมินและคัดเลือกแนวคิด

แบบประเมินผลก่อนเรียน หน่วยที่ 6

1.การเข้าใจตนเองหมายถึงข้อใด = การมีความรู้เกี่ยวตนเองเพิ่มขึ้น

2.ปัจจัยที่มีผลต่อการทำงานร่วมกับผู้อื่นคือข้อใด = การเห็นคุณค่าตนเอง

3.ข้อใดเป็นการสำรวจและประเมินตนเองด้านร่างกาย = สุขภาพจิต

4.การแสดงความเห็นขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์ เป็นลักษณะของบุคคลที่มีความฉลาดทางอารมณ์ในองค์ประกอบใด = ความสามารถในการมีสัมพันธภาพกับผู้อื่น

5.แบบทดสอบ Standard Progresssive Mattrices ใช้ในการสำรวจและประเมินผลตนเองด้านใด = สติปัญญา

6.แนวทางการพัฒนาตนเองด้านสุขภาพกาย มีลักษณะแนะทิศทางอย่างไร = การลด การสร้าง การเพิ่ม การรักษา

7.เทคนิคที่ช่วยในการคลายความเครียดได้แก่ข้อใด = การออกกำลังกาย

8.การฝึกสร้างความรู้สึกที่ดีต่อผู้อื่น เป็นการช่วยสร้างและพัฒนาอารมณ์ตนเองในวิธีใด ตามแนวคิดของแดเนียล โกลแมน = รักษาสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน

9.ข้อใดเป็นขั้นตอนแรกของกระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้วยวิธีควบคุมตนเอง = กำหนดพฤติกรรมควบคุมตนเอง

10.การยอมรับความรู้ใหม่ เป็นวิธีการปรับภาวะให้สมดุลตามแนวคิดของนักจิตวิทยาใด = พีอาเจต์

แบบประเมินผลหลังเรียน หน่วยที่ 6

1.ข้อใดเป็นความหมายของคำว่าการเข้าใจตนเอง = การมีความรู้เกี่ยวกับตนเองเพิ่มขึ้น

2.ปัจจัยที่มีผลต่อการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นคือข้อใด = การมองตนเองทางบวก

3.การสำรวจและประเมิน สุขภาพจิตตนเอง เป็นการสำรวจในด้านใด = ร่างกาย

4.การรู้จักมองโลกในแง่ดี เป็นลักษณะของบุคคลที่มีความฉลาดทางอารมณ์ในองค์ประกอบใด = ความสามารถในการดำเนินชีวิตอย่างเป็นสุข

5.ข้อใดเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวัดและประเมินด้านสติปัญญา = แบบทดสอบ Standard Progessive Matrices

6.ข้อใดเป็นลักษณะและทิศทางของการพัฒนาตนเองด้านสุขภาพกาย = การลด การสร้าง การเพิ่ม การรักษา

7.การมองหาแง่ดีของเหตุการณ์ต่างๆ เป็นการช่วยสร้างและพัฒนาอารมณ์ตนเองในวิธีใด ตามแนวคิดของแดเนียล โกแมน = การสร้างแรงจูงใจให้กับอารมณ์ตนเอง

8.ข้อใดเป็นขั้นตอนแรกของแนวทางการพัฒนาพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้วยวิธีการควบคุมตนเอง = กำหนดพฤติกรรมเป้าหมาย

9.หลักการสร้างสภาวะสมดุล เป็นหลักการพัฒนาตนเองด้านใด = เชาวน์ปัญญา

10.การยึดมั่นใจความรู้เดิม เป็นวิธีการปรับภาวะให้สมดุลตามแนวคิดของจิตวิทยาคนใด = พีอาเจต์

หน่วยที่ 7 (การจัดการอารมณ์และความเครียด)

อารมณ์ของคนเรามีลักษณะติดตัวมาตั้งแต่ทารก เรียกว่า พื้นอารมณ์ พัฒนการทางอารมณ์ เป็นการผสมผสานระหว่างพื้นอารมณ์เดิมกับอิทธิพลจากสิ่งแวดล้อม เด็กวัยก่อนเรียนจะเริ่มมีความรู้สึกกลัว วิตกกังวล และรู้สึกผิดแทนที่จะกลัวการถูกลงโทษเท่านั้น เด็กวัย 4-5 ปี เริ่มสามารถรู้สึกเห็นอกเห็นใจผู้อื่น เด็กวัย 6-12 ปี จะมีความสามารถในการตระหนักถึงอารมณ์ต่างๆ ของตนเองมากขึ้นตามลำดับ

ลักษณะของอารมณ์แบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ 3 กลุ่ม คือ อารมณ์ด้านบวก อารมณ์ด้านลบ อารมณ์กลางๆ นอกจากนี้ยังมีอารมณ์พื้นฐาน เช่น โกรธ กลัว รังเกียจ ดีใจ เสียใจ แปลกใจ ซึ่งมีระดับความเข้มข้นของอารมณ์จากน้อยไปมาก ซึ่งเป็นอารมณ์พื้นฐานที่มีในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัมพันธ์กับการทำงานของระบบลิมบิก limbic systemในสมองส่วนกลาง ในคนเรานั้นพบว่ายังมีการทำงานของสมองส่วนหน้าบริเวณ prefrontal มาเกี่ยวข้องด้วย โดยมีการเชื่อมโยงกับระบบลิมบิกที่ซับซ้อน จึงทำให้คนเรามีลักษณะอารมณ์ความรู้สึกที่หลายหลากมากกว่าในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม

ลักษณะของอารมณ์อาจแบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ได้ 3 กลุ่ม

                1.อารมณ์ด้านบวก เช่น อารมณ์ดีใจ ภูมิใจ สุขใจ ปลาบปลื้ม พึงพอใจ

                2.อารมณ์ด้านลบ เช่น อารมณ์โกรธ เกลียด ริษยา เศร้า

                3.อารมณ์กลางๆ เช่น แปลกใจ ยอมรับ

องค์ประกอบของอารมณ์ 1.ด้านการรับรู้ 2.ด้านอารมณ์ 3.แรงผลักดัน

ปัจจัยที่ส่งผลต่ออารมณ์ 1.พันธุกรรม 2.การเลี้ยงดูและสภาพแวดล้อม 3.การทำงานของสมอง (ส่วนของสมองที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์มีอยู่หลายแห่ง เช่น ระบบลิมบิก limbic system ทำหน้าที่รับรู้และประเมินสถานการณ์ต่างๆ บริเวณที่เรียกว่า อะมิกดาลา amygdala เป็นจุดเชื่อมโยงที่สำคัญระหว่างการประเมินข้อมูลจากประสาทรับรู้ต่างๆ ของสมองบริเวณคอร์ติคัล คอร์เท็ก cortical cortex กับการแสดงออกด้านพฤติกรรมของอารมณ์ต่างๆ นอกจากนี้อะมิกดาลายังมีส่วนสำคัญในการรับรู้สิ่งที่เป็นอันตราย กระตุ้นให้ร่างกายมีการตื่นตัวพร้อมที่จะรับมือต่อสิ่งนั้น จากการทดสอบพบว่าในสัตว์ที่ดุร้ายเมื่อผ่าตัดเอาส่วนที่เป็นอะมิกดาลาออกไป สัตว์จะมีลักษณะเชื่อง เฉย ไม่ดุร้ายเหมือนเดิม) 4.การทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติ ได้แก่ ระบบซิมพาเธติก จะทำงานเมื่อคนเราประสบกับภาวะเครียดหรือตื่นเต้น โดยสารสื่อประสาทในสมองที่เกี่ยวข้องคือนอร์เอพิเนฟริน หรือบางครั้งเรียกว่า อะดรีนาลีน ระบบพาราซิมพาเธติก การทำงานจะเด่นเมื่อคนเราอยู่ในสภาวะผ่อนคลาย และเป็นภาวะที่มีการเก็บสะสมพลังงานไว้ในตัว โดยสารสื่อประสาทที่เกี่ยวข้องคืออะเซทิลโคลีน ผู้ที่อยู่ในภาวะหิวอาหาร น้ำตาลในเลือดจะต่ำ ซึ่งจะไปกระตุ้นให้ร่างกายหลั่ง อะดรีนาลีนออกมามาก จะเกิดอารมณ์หงุดหงิด ฉุนเฉียวได้ง่าย เป็นต้น 5.สภาวะจิต

-ผลกระทบของอารมณ์ = ต่อร่างกาย ต่อจิตใจและพฤติกรรม ต่อผู้อื่น

การจัดการกับอารมณ์

                1.การรู้เท่าทันอารมณ์ตนเอง หมายถึง รู้เท่าทันว่าอารมณ์ตนเองในแต่ละขณะนั้นเป็นอย่างไร ตนเองรู้สักอย่างไร รู้เท่าทันอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป มองอารมณ์ตนเองออกว่าเป็นอย่างไร

                2.ยอมรับอารมณ์ของตนเอง ขั้นตอนนี้เป็นการมองอารมณ์ที่เกิดขึ้นอย่างยอมรับตามที่เป็นจริง ยอมรับว่าเรามีความรู้สึกนั้นอยู่ เช่น เรามีความกลัว ความโกรธ ความคับข้องใจ หรือความดีใจ สุขใจ เป็นการมองอย่างไม่ตัดสินถูกผิด การยอมรับอารมณ์ทางบวกเป็นเรื่องไม่ยาก แต่การยอมรับว่าตนเองมีอารมณ์ทางลบเป็นเรื่องไม่ง่าย เช่น เรามีความอิจฉาเพื่อน เวลาเพื่อนมีความสำเร็จเราไม่สามารถทำจิตใจให้ยินดีไปกับเพื่อนได้

                3.การควบคุมอารมณ์ เป็น ความสามารถที่จะจัดการกับอารมณ์ที่เกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสม โดยเฉพาะอารมณ์ในทางลบ เช่น ความโกรธ ฉุนเฉียว

                4.เติมพลังใจให้ตนเอง ทักษะทางอารมณ์มิใช่การเพียงคอยจัดการกับอารมณ์ตามสถานการณ์เท่านั้น หากแต่ยังหมายถึงการเติมพลังให้จิตใจของตนเอง อันจะเป็นการส่งเสริมพื้นฐานอารมณ์ให้อยู่ในระดับบวก

                5.มีเจตคติและความคิดในเชิงบวก เจตคติและความคิดมีส่วนสัมพันธ์กับสภาวะอารมณ์อย่างแยกกันไม่ออก ในทางพุทธศาสนาได้ยกสัมมาทิษฐิไว้ว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการดำเนินชีวิตที่ดีงาม หรือดังคำกล่าวว่า คิดดี ย่อมพูดดี ทำดี ในที่นี้คือการมองสิ่งต่างๆที่เกิดในทางบวก

                6.การรู้สึกดีต่อตนเอง

เทคนิคการจัดการกับอารมณ์

                1.ทบทวนการแสดงออกทางอารมณ์ของตัวเอง 2.เตรียมการในการแสดงอารมณ์ 3.ฝึกสติ 4.ฝึกการผ่อนคลายตนเอง 5.ประเมินสถานการณ์และอารมณ์

เทคนิคในการจัดการอารมณ์สำเร็จได้หรือไม่ ขึ้นกับวิธีคิดที่สำคัญต่อไปนี้

                1.การจัดการกับอารมณ์เป็นความรับผิดชอบของตนเอง 2.การเปลี่ยนแปลงตนเองต้องมีความตั้งใจที่จะเปลี่ยนแปลง 3.หมั่นฝึกตัวเอง 4.ให้กำลังใจตนเอง 4.ฝึกให้เป็นคนอารมณ์ดีอยู่เสมอ

การรู้จักและเข้าใจอารมณ์ผู้อื่น

                1.ให้ความสนใจการแสดงออกของผู้อื่น 2.อ่านอารมณ์ความรู้สึกผู้อื่น 3.ฝึกเอาใจเขามาใส่เรา 4.แสดงความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น

ความหมาของความเครียด

                เชลเย (Selye) เป็นบุคคลแรกที่กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากความเครียด เขาได้ให้ความหมายคำว่า ความเครียด (stress) ว่า เป็นภาวะที่ร่างกายมีการตอบสนองต่อสิ่งที่เข้ามากระตุ้น ปัญหาที่สำคัญ คือ สิ่งเร้าที่เข้ามากระตุ้นความรุนแรงขนาดไหนจึงจะทำให้คนเราเกิดการตอบสนองเป็นความเครียด เชลเยเห็นว่าการเกิดความเครียดแสดงโดยการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านร่างกายและด้านจิตใจโดยไม่สัมพันธ์กับสาเหตุของความเครียด กล่าวโดยสรุปคือ 1.ความเครียดเป็นปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งเร้า 2.การตอบสนองต่อความเครียดแสดงโดยมีการเปลี่ยนแปลงของร่างกายและจิตใจ โดยทั้งร่างกายและจิตใจนี้ร่างก็มีปฏิสัมพันธ์กันอย่างซับซ้อน 3.การตอบสนองต่อความเครียด โดยรวมแล้วเป็นภาวะที่แสดงถึงการที่ร่างกายและจิตใจถูกเร้า ทำให้เกิดอาการแสดงออกมาหลายๆ ระบบ ซึ่งบางระบบอาจถูกเร้า หรือบางระบบอาจถูกยับยั้งให้ทำงานน้อยลง สิ่งเร้าที่กระตุ้นให้เกิดการตอบสนองออกมาเป็นความเครียด เรียกว่า ความกดดัน

                เคอทซ์และมัว (Kirtz and Moss) เสนอว่าสิ่งเร้าทางสังคมมิได้ส่งผลโดยตรงต่อบุคคล แต่เกิดจากการที่บุคคลแปลความหมายของสิ่งเร้านั้น และตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมตามความหมายที่แปล และการแปลความหมายยังขึ้นกับลักษณะบุคลิกภาพ สถานภาพ และบทบาททางสังคมของบุคคลนั้น

                สาเหตุของความเครียด

                1.เผชิญกับเหตุการณ์ที่คุกคาม ซึ่งอาจเป็นความคุกคามจากร่างกายส่งผลต่อจิตใจ หรือเป็นความรู้สึกเกิดขึ้นภายใน เช่น การเจ็บป่วย ปัญหาการเรียน ปัญหาการงาน

                2.ปัญหาจากตัวบุคคล เนื่องจากตัวบุคคลมีลักษณะบางประการที่ทำให้เสี่ยงต่อความเครียดได้ง่าย เช่น เป็นคนคิดมาก เป็นคนมองโลกในแง่ร้าย.

ลักษณะอาการแสดงและผลกระทบของความเครียด

                ระบบแรก คือ ระบบประสาทอัตโนมัติ ซึ่งเป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับการถูกเร้าทางอารมณ์ การเร้าระบบประสาทอัตโนมัตินำไปสู่การเร้าอวัยวะที่เป็นปลายทางของระบบนี้ได้แก่ ระบบหัวใจ ระบบหายใจ ระบบทางเดินอาหาร ระบบปัสสาวะ เป็นต้น เกิดอาการแสดงของอวัยวะเหล่านี้ เช่น ใจสั่น ชีพจรเต้นเร็ว ฯลฯ

                ระบบที่สอง คือ ภาวะทางจิตใจ เกิดอารมณ์ตึงเครียด มีความวิตกกังวล ซึงเศร้า นำไปสู่ความผิดปกติด้านความคิดหรือพฤติกรรม เช่น คิดซ้ำ หมกมุ่น ไม่สามารถตัดสินใจได้ อยู่กับจินตนาการ

                ระบบที่สาม คือ ระบบต่อไรท่อ การตอบสนองต่อความเครียดที่เรื้อรังจะผ่านทางระบบนี้ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการทำงานหลายด้าน เช่น เพิ่มความดันโลหิต เพิ่มการบีบของหัวใจ

***ผลกระทบของความเครียด นำไปสู่โรคต่างๆ***

การจัดการกับความเครียด

                เป้าหมายของการจัดการกับความเครียดไม่ใช่การระงับหรือลีกเลี่ยงความเครียด แต่เป็นการปรับและเผชิญกับความเครียดโดยไม่มีผลติดตามาในทางลบ สิ่งที่สำคัญประการหนึ่ง คือ สามารถตระหนักถึงความเครียดที่มากเกินปกติได้ ซึ่งต้องการการเรียนรู้ที่จะเข้าใจตนเอง ดังนี้ ตระหนักถึงอาการที่แสดงว่าเครียด ศึกษาว่าอะไรทำให้เครียด

เรียนรู้วิธีการปรับตัวของตนเอง และวิธีที่จะจัดการกับความเครียด

                1.การดูแลตนเอง ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เลือกรับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี พักผ่อนให้เพียงพอ ไม่เสพหรือใช้สิ่งเร้าที่จะเป็นอันตรายต่อร่างกาย เช่น เหล้า บุหรี่

                2.การฝึกคิดไม่ให้เครียด การคิดในเชิงบวก การมองโลกในแง่ดี การคิดยืดหยุ่น การคิดถึงคนอื่น

                3.การวางแผนแก้ไขปัญหา (ลักษณะการปัญหาที่ไม่ดี สรุปดังนี้ -การแก้ปัญหาแบบวู่วาม การหนีปัญหา การตำหนิตนเอง การโยนความผิดให้ผู้อื่น) การแก้ปัญหาอย่างถูกวิธี ได้แก่ การตั้งสติให้มั่นคง การแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ การมองปัญหาอย่างสร้างสรรค์ การขอความช่วยเหลือจากผู้อื่น

                4.การผ่อนคลายความเครียด (1.การผ่อนคลายความเครียดในระดับปกติ เช่น หยุดพักสิ่งที่กำลังทำชั่วคราว การอ่านหนังสือ เปลี่ยนอิริยาบถ เล่นดนตรี เล่นกีฬา พักผ่อนให้เพียงพอ 2.การคลายเครียดในภาวะที่มีความเครียดสูง การฝึกหายใจ การฝึกเกร็งและคลายกล้ามเนื้อ การจินตนาการ การทำสมาธิเบื้องต้น การนวดและการกดจุดตนเอง.

แบบประเมินผลตนเองก่อนเรียน หน่วยที่ 7

1.ข้อใดอธิบายลักษณะของอารมณ์ได้ถูกต้อง = อารมณ์เป็นส่วนสำคัญที่ผลักดันให้เกิดการกระทำ

2.ข้อใดไม่ใช่องค์ประกอบของอารมณ์ = การเปลี่ยนท่าทาง

3.ข้อใดไม่ใช่ผลกระทบที่เกิดโดยตรงจากอารมณ์ = เรียนหนังสือไม่เก่ง

4.ข้อใดแสดงถึงความรับผิดชอบต่ออารมณ์ของตนเอง = ฉันรู้สึกเสียใจ

5.สิ่งสำคัญอันดับแรกในการจัดการกับอารมณ์ของตนเองคือข้อใด = รู้เท่าทันอารมณ์ตนเอง

6.ปัจจัยต่อไปนี้ส่งผลต่อความสำเร็จในการพัฒนาความสามารถด้านอารมณ์ ยกเว้น ข้อใด = การหาวิธีให้คนอื่นยอมรับตัวเรา

7.ใครมีความสามารถในการจัดการอารมณ์ได้ดีที่สุด = วิรัตน์ทบทวนและยอมรับความผิดพลาดของตนเอง

8.อาการใดต่อไปนี้ไม่ได้แสดงถึงความเครียด = คิดหาทางออก

9.ข้อใดกล่าวเกี่ยวกับความเครียดได้ถูกต้อง = ปฏิกิริยาความเครียดมีทั้งด้านบวกและด้านลบ

10.การคลายเครียดในภาวะที่มีความเครียดสูงเป็นอย่างไร = ฝึกปฏิบัติเทคนิคการคลายเครียด

แบบประเมินผลตนเองหลังเรียน หน่วยที่ 7

1.ข้อใดอธิบายลักษณะของอารมณ์ได้ถูกต้อง = อารมณ์เป็นส่วนสำคัญที่ผลักดันให้เกิดการกระทำ

2.ข้อใดไม่ใช่องค์ประกอบของอารมณ์ = การเปลี่ยนท่าทาง

3.ข้อใดไม่ใช่ผลกระทบที่เกิดโดยตรงจากอารมณ์ = เรียนหนังสือไม่เก่ง

4.ข้อใดแสดงถึงความรับผิดชอบต่ออารมณ์ของตนเอง = ฉันรู้สึกเสียใจ

5.สิ่งที่สำคัญอันดับแรกในการจัดการกับอารมณ์ของตนเองคือข้อใด = รู้เท่าทันอารมณ์ตนเอง

6.ปัจจัยต่อไปนี้ส่งผลต่อความสำเร็จในการพัฒนาความสามารถด้านอารมณ์ ยกเว้น ข้อใด = การหาวิธีให้คนอื่นยอมรับตัวเรา

7.ใครมีความสามารถในการจัดการอารมณ์ได้ดีที่สุด = วิรัตน์ทบทวนและยอมรับความผิดพลาดของตน

8.อาการใดต่อไปนี้ ไม่ได้ แสดงถึงความเครียด = คิดหาทางออก

9.ข้อใดกล่าวเกี่ยวกับความเครียดได้ถูกต้อง = ปฏิกิริยาความเครียดมีทั้งด้านบวกและด้านลบ

10.การคลายเครียดในภาวะที่มีความเครียดสูงเป็นอย่างไร = ฝึกปฏิบัติเทคนิคการคลายเครียด

หน่วยที่ 8 (การใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร)

การสื่อสารเป็นกระบวนการถ่ายทอดสารจากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสารโดยผ่านสื่อ จุดประสงค์ของการสื่อสารมี 4 ประการคือ ให้ข้อมูล ให้การศึกษา ให้ความบันเทิง และโน้มน้าวใจ องค์ประกอบของการสื่อสาร คือ ผู้ส่ง ผู้รับ สาร และช่องทางหรือสื่อ

ประเภทของการสื่อสารอาจจำแนกได้หลายอย่างตามเกณฑ์ที่กำหนด การสื่อสารมีลักษณะดังนี้ การสื่อสารเป็นกระบวนการ มีความสัมพันธ์กับกระบวนการจิตวิทยา สภาพแวดล้อมทางกายภาพ สังคมและวัฒนธรรม

ภาษาที่มนุษย์ใช้สื่อสารมีทั้งวัจนภาษาและอวัจนภาษ การใช้วัจนภาษาต้องคำนึงถึงกฎเกณฑ์โครงสร้าง เหมาะกับผู้รับสาร โอกาส กาลเทศะ และสภาพแวดล้อม ส่วนอวัจนภาษาต้องสอดคล้องกับวัจนภาษา สถานการณ์ และผู้ส่งสาร

ประสิทธิภาพของการสื่อสารเกิดจากองค์ประกอบของการสื่อสาร 4 อย่างคือ ผู้ส่งสาร ผู้รับสาร สาร และสื่อ การสร้างสัมพันธภาพระหว่างคู่สื่อสาร และการพัฒนาทักษะในการสื่อสารอยู่เสมอจะช่วยให้การสื่อสารประสบความสำเร็จ

ความหมายของการสื่อสาร

                เอ็ดเวิร์ด สะเพียร์ (Edward Sapir)  กล่าวว่า การสื่อสาร คือ การตีความหมายดดยสัญชาตญาณต่อท่าทางที่แสดงเป็นสัญลักษณ์โดยไม่รู้ตัว ต่อความคิด และต่อพฤติกรรมทางวัฒนธรรม

                -การสื่อสาร คือ กระบวนการของการถ่ายทอดสาร message จากบุคคลฝ่ายหนึ่งซึ่งเรียกว่าผู้ส่งสาร source ไปยังบุคคลอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งเรียกว่าผู้รับสาร receiver โดยผ่านสื่อ channel ดังนั้นการสื่อสารของมนุษย์จึงประกอบไปด้วยส่วนสำคัญ 4 ส่วนคือ ผู้ส่งสาร ผู้รับสาร ตัวสาร และสื่อหรือช่องทาง

จุดประสงค์ของการสื่อสาร อาจแบ่งกว้างๆเป็น 4 ประการคือ 1.เพื่อให้รายละเอียดหรือให้ข้อมูล 2.เพื่อให้การศึกษา 3.เพื่อให้ความบันเทิง 4.เพื่อโน้มน้าวใจ.

องค์ประกอบของการสื่อสาร= ผู้ส่งสาร สาร ช่องทาง และผู้รับสาร

โดยทั่วไปสารที่ส่งมาจะประกอบด้วย 1.รหัสของสาร ก็คือภาษาหรือสัญลักษณ์ที่มนุษย์คิดขึ้นเพื่อแทนสิ่งต่างๆ มีทั้งที่เป็นถ้อยคำหรือไม่ใช่ถ้อยคำ เช่น การพยักหน้าตอบ 2.เนื้อหาของสาร ที่มีทั้งข้อเท็จจริงและความคิดเห็น 3.การจัดสาร เพื่อให้สารเข้าใจได้ง่าย หรือมีการจัดอย่างน่าสนใจ เช่น การจัดสารในการโฆษณา

ประเภทของการสื่อสาร 1.จำนวนของผู้ทำการสื่อสาร 2.ภาษา 3.ลักษณะของเนื้อหาวิชา

การแบ่งประเภทของการสื่อสารตามจำนวนของผู้ทำการสื่อสาร หมายถึง ยึดผู้รับสารและผู้ส่งสารมาเป็นหลักในการจำแนกประเภทของการสื่อสาร แบ่งเป็น การสื่อสารภายในบุคคล การสื่อสารระหว่างบุคคล -การสื่อสารกลุ่มใหญ่ การสื่อสารในองค์การ การสื่อสารมวลชน

การแบ่งประเภทของการสื่อสารโดยใช้ภาษาเป็นเกณฑ์ การสื่อสารในลักษณะนี้เน้นไปถึงรหัส หรือสัญลักษณ์ที่ผู้ส่งสารและผู้รับสารใช้สื่อสาร แบ่งเป็น การสื่อสารเชิงวัจนะ (verbal communication) และการสื่อสารเชิงอวัจนะ (non-verbal communication)

การแบ่งประเภทของการสื่อสารโดยใช้เนื้อหาวิชาเป็นเกณฑ์ระบบข่าวสาร การสื่อสารระหว่างบุคคล การสื่อสารมวลชน การสื่อสารในองค์การ การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม การสื่อสารการเมือง -การสื่อสารการสอน การสื่อสารสาธารณสุข

ลักษณะของการสื่อสาร

                1.การสื่อสารเป็นกระบวนการ หมายถึงเมื่อเริ่มการสื่อสารจะมีการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นต่อเนื่องกันไป เช่น แม่พูดกับลูกก่อนไปโรงเรียนว่า ทานข้าวก่อนไปโรงเรียนนะ ลูกพยักหน้า ต่อจากนั้นก็นั่งลงรับประทานอาหารจนเรียบร้อยก่อนทำอย่างอื่นต่อไป

2.การสื่อสารมีความสัมพันธ์กับกระบวนการทางจิตวิทยา กล่าวคือ การสื่อสารต้องอาศัยการคิด การเรียนรู้ การจดจำ การรับรู้

3.การสื่อสารสัมพันธ์กับสังคมและวัฒนธรรม  เพราะมนุษย์อยู่ในสังคมและมีวิถีดำเนินชีวิตตามกลุ่มของตนเอง ดังนั้นค่านิยม ทัศนคติ ตลอดจนวิถีของสังคมจะมีผลต่อพฤติกรรมการสื่อสารของมนุษย์

4.การสื่อสารสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมทางกายภาพของมนุษย์ เช่น การสื่อสารระหว่างเพื่อนในที่ทำงาน -ห้องประชุม ทางวิชาการ

ภาษาในการสื่อสาร

                ภาษาถ้อยคำ -การออกเสียงถูกต้อง การเขียนถูกต้อง คำที่ใช้ถูกต้อง คำที่ใช้เหมาะสม (เช่น หมายกำหนดการประชุมสัมมนา หมายกำหนดการเป็นคำราชาศัพท์ใช้สำหรับกำหนดการของพระมหากษัตริย์) คำที่ใช้ชัดเจน ประโยคที่ใช้ถูกไวยากรณ์ ประโยคที่ใช้ไม่กำกวม ประโยคที่ใช้กะทัดรัด ประโยคที่ใช้สละสลวย ประโยคที่ใช้สัมพันธ์กัน

                อวัจนภาษา คือภาษาที่ไม่ใช้ถ้อยคำ เป็นภาษาที่แฝงอยู่ในถ้อยคำนั้น เช่น น้ำเสียง จังหวะของการพูด และกิริยาท่าทางๆ การสื่อสารความหมายในลักษณะที่ไม่อาศัยคำพูดหรือถ้อยคำนี้ ภาษาต่างประเทศใช้ว่า non-verbal communication สีหน้าและสายตาม ท่าทาง น้ำเสียง เวลา ช่องว่างหรืออาณาบริเวณ หรือระยะห่าง สี วัตถุ สัญลักษณ์.

ข้อควรคำนึงถึงเกี่ยวกับวัจนภาษาและอวัจนภาษา

                1.วัจนภาษา ผู้ส่งสารควรคำนึงถึงกฎเกณฑ์และโครงสร้างของภาษาที่ต้นใช้ เช่น ความหมายของคำ โครงสร้างของประโยค การผูกประโยค การเลือกใช้ภาษาอย่างถูกต้องเหมาะสม ไม่สร้างความกำกวมให้แก่ผู้รับสาร และต้องใช้ให้เหมาะสมกับบุคคล โอกาส กาลเทศะ และสภาพแวดล้อม

                2.อวัจนภาษา การใช้อวัจนภาษาให้ได้ประสิทธิผลต้องสอดคล้องกับสถานการณ์ เหมาะกับผู้ส่งสาร หมายถึง เหมาะกับบุคลิกลักษณะของผู้ส่งสาร เหมาะกับจุดประสงค์ที่ผู้ส่งสารตั้งใจไว้ โดยทั่วๆ ไปควนใช้       วัจนภาษาและอวัจนภาษาให้สอดคล้องกัน

การสื่อสารเพื่อประสิทธิภาพและสัมพันธภาพ

            1.ประสิทธิภาพในการสื่อสารผู้ส่งสาร หรือผู้เข้ารหัส ผู้รับสารหรือผู้ถอดรหัส ตัวสาร รหัสและสัญลักษณ์ต่างๆ -ช่องทางหรือสื่อ

                2.สัมพันธภาพในการสื่อสารคู่สื่อสารมีลักษณะดึงดูดใจ ความใกล้ชิด การให้แรงเสริมแก่คู่สื่อสาร ความคล้ายคลึงกันของคู่สื่อสาร การเสริมความแตกต่างของคู่สื่อสาร

                3.การพัฒนาทักษะการสื่อสารพยายามขยายประสบการณ์ของตนให้กว้างไกลออกไป ฝึกฝนให้ตนเองมีความอดทน อดกลั้น หมั่นปรับปรุงสัมพันธภาพระหว่างตนเองกับผู้อื่นอยู่เสมอ -หมั่นพัฒนาความถูกต้องในการสื่อสาร.

ภาษาเพื่อการสื่อสาร

                การฟัง ความสำคัญของการฟัง การดำเนินชีวิตประจำวัน (จากการสำรวจพบว่า เราใช้เวลาในการฟังมากกว่าทักษะการสื่อสารชนิดอื่น) สังคม การศึกษา การทำงาน ทักษะทางภาษาอื่นๆ.

                ประเภทของการฟัง ฟังให้เพลิดเพลิน ฟังให้รู้เรื่องหรือฟังให้เข้าใจ ฟังให้ทันการโน้มน้าวใจ

                นิสัยที่ไม่ดีในการฟังก่อนฟังคิดไว้ก่อนเรื่องที่จะฟังนั้นไม่น่าสนใจ ตำหนิหรือวิจารณ์เสียงของผู้พุด หรือกิริยาบางอย่างของผู้พูด แสร้งฟังโดยไม่ได้ตั้งใจ จดบันทึกสารอย่างละเอียด.

                หลักของการพัฒนาการฟังเตรียมตัวฟัง (หมายถึง ฟังอย่างมีจุดประสงค์ เตรียมตัวให้พร้อม) พัฒนาวิธีฟัง (ฟังให้เข้าใจ ฟังอย่างวิพากษ์วิจารณ์) จดบันทึกสาระสำคัญ.

การอ่าน

จุดประสงค์ของการอ่านกับวิธีอ่าน 1.การอ่านเพื่อความเพลิดเพลิน 2.การอ่านเพื่อแสวงหาข้อมูล 3.การอ่านเพื่อศึกษา 4.การอ่านเพื่อตรวจสอบ.

วิธีอ่าน การอ่านสำรวจหนังสือ การให้เข้าใจ การอ่านเร็ว การอ่านเพื่อตีความ การวิเคราะห์ การวิจารณ์ (การวิพากษ์วิจารณ์เป็นขั้นตอนที่สัมพันธ์กับการวิเคราะห์ นั่นคือ เมื่อวิเคราะห์แล้วก็สามารถประเมินสิ่งที่อ่านว่าดีอย่างไร บกพร่องที่ใด เพราะเหตุผลใด).

ภาษาเพื่อสารส่งสาร

                การถ่ายทอดความรู้ ความคิด ด้วยการพูดมีความสำคัญ ก่อนพูดควรคิดและตั้งจุดประสงค์โดยมุ่งไปที่ผู้ฟังเพื่อให้ได้รับผลตอบสนองตามต้องการ ควรวิเคราะห์ผู้ฟังและสถานการณ์เพื่อช่วยกำหนดเนื้อหาและภาษาในการพูด

                ขั้นตอนการเขียนประกอบด้วยการรวบรวมความคิด การจัดระเบียบการเขียน และการตรวจแก้ไข การเรียบเรียงเนื้อหาต้องใส่ใจในประเด็นต่างๆ ได้แก่ การใช้ถ้อยคำ การเขียนย่อหน้า การขยายใจความในย่อหน้า การลำดับความ การเชื่อมโยงย่อหน้า การเขียนคำนำ การเขียนสรุป และการตั้งชื่อเรื่อง.

การพูด

1.จุดประสงค์ของการพูดพูดเพื่อความเพลิดเพลิน พูดเพื่อโน้มน้าวใจ พูดเพื่อให้ความรู้.

2.การวิเคราะห์ผู้ฟังและสถานการณ์วัยของผู้ฟัง เพศ ระดับการศึกษา จำนวนผู้ฟัง กลุ่มทางสังคมวิเคราะห์สถานการณ์โอกาสที่ตนเองพูดมีหลากหลาย เวลา -สภาพแวดล้อม

3.การเตรียมเนื้อหา

4.การฝึกฝนตนเอง การฝึกฝนด้านภาษาการฝึกฝนด้านบุคลิกภาพ (การแต่งกาย กิริยาท่าทางในการเสนอข้อมูล ความมีอารมณ์ขัน ) การเพิ่มความเชื่อมั่นให้ตนเอง

5.การประเมินการพูดของตนเองเนื้อหาสารเป็นที่สนใจ ถูกต้อง และผู้ฟังยอมรับหรือไม่, ภาษา ทั้งถ้อยคำและกิริยาท่าทาง เหมาะสมกับเนื้อหาและผู้ฟังหรือไม่, เวลาที่พูดเป็นไปตามกำหนดหรือไม่, ผู้พูดปรับตนให้เข้ากับผู้ฟังและสถานการณ์หรือไม่.

การเขียน

                1.จุดประสงค์ของการเขียนเขียนบอกเล่าข้อมูลแก่ผู้อ่าน เขียนเพื่อจูงใจ -เขียนเพื่อให้ความบันเทิงแก่ผู้อ่าน

                2.หลักคิดในการเขียนความรู้ ความคิดเห็น อารมณ์

                3.ขั้นตอนการเขียน รวบรวมความคิด จัดระเบียบความคิด ลงมือเขียน ตรวจทานและปรุงแต่ง

                4.การจัดทำโครงเรื่อง โครงเรื่องช่วยให้งานเขียนมีเนื้อหาสมบูรณ์ไม่ซ้ำซ้อนสับสน ทั้งยังช่วยให้มองเห็นสิ่งที่ขาดในงานเขียนชิ้นนั้น การเขียนเนื้อหายาวๆ จึงควรวางเค้าโครงเรื่องทุกครั้ง แต่ถ้าเป็นเนื้อหาสั้นๆ ควรคิดก่อนว่าจะเขียนอะไรก่อนหลังแล้วจึงลงมือเขียน โครงเรื่องที่ผู้เขียนนิยมทำคือโครงเรื่องแบบหัวข้อ แต่โครงเรื่องแบบประโยคมักใช้ในวิทยานิพนธ์เป็นส่วนใหญ่ ส่วนการแบ่งหัวข้ออาจใช้ระบบตัวเลขหรือตัวอักษรหรือใช้ผสมผสานกันก็ได้

                5.การเรียบเรียงเนื้อหาการใช้ถ้อยคำ การเขียนย่อหน้า (ย่อหน้ามี 4 ชนิด คือ ย่อหน้านำความคิด ย่อหน้าโยงความคิด ย่อหน้าเสนอความคิด และย่อหน้าสรุปความคิด) การขยายใจความในย่อหน้า การลำดับความ (ลำดับตามเวลา หมายถึง การลำดับเนื้อหาตามเวลาที่เกิดขึ้นก่อนหลัง เช่น วัน เดือน ปี อายุ ฤดูกาล หรือตามยุคสมัย การลำดับเช่นนี้จะพบในการเขียนข่าว เรื่องราวที่ให้ความรู้ รายงาน เหตุการณ์ต่างๆ ลำดับตามสถานที่ หมายถึง การลำดับตามตำแหน่งโดยอาจใช้ทิศทาง สูงไปต่ำ ต่ำไปสูง ตะวันออกไปตะวันตก หรือใกล้ ไกล เป็นต้น ลำดับตามความสำคัญ หมายถึง การลำดับความตามประเด็นหลักและประเด็นรอง หรือประเด็นสนับสนุน การเขียนแบบนี้อาจพบในการเขียนที่เรียบลำดับเป็นขั้นเป็นตอน ลำดับตามเหตุผล หมายถึง การเรียงลำดับจากสาเหตุตามด้วยผลที่เกิดขึ้น ข้อสรุปหรือข้อเสนอแนะ หรือลำดับจากผลหรือสภาพที่เป็นอยู่แล้วจึงกล่าวถึงสาเหตุ และอาจตามข้อสรุปหรือข้อเสนอแนะก็ได้ การเรียงแบบนี้จะใช้ในการเขียนบทความ บทวิเคราะห์ รายงาน และเอกสารวิชาการ) การเชื่อมโยงย่อหน้า การเขียนคำนำ การเขียนส่วนสรุป (บางคนเรียกว่าส่วนท้ายเพราะว่าส่วนสรุปมักจะอยู่ท้ายตอนจบเรื่อง แต่การจบเรื่องอาจไม่ใช่การสรุปเสมอไป ส่วนท้ายหรือการปิดเรื่องอาจเป็นการคลายปมต่างๆ หรือแสดงความคิดของผู้เขียนก็ได้ วิธีสรุปมีหลายแนวทาง ผู้เขียนควรเลือกมาใช้ให้เหมาะสม เช่น ลงท้ายด้วยสำนวนภาษิตหรือคำคม หรือแสดงความคิดเห็นของผู้เขียนต่อเรื่องนั้น คาดเดาสิ่งที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ชี้ประเด็นที่ผู้อ่านคิดต่อไป ย้ำจุดสำคัญ เป็นต้น) การตั้งชื่อเรื่อง (ชื่อเรื่อง คือส่วนที่บอกขอบเขตของเนื้อเรื่อง การเขียนจึงต้องตั้งให้แคบที่สุดและตรงเนื้อหามากที่สุด เพื่อผู้อ่านสามารถคาดเดาเนื้อหาที่จะอ่านเกี่ยวกับสิ่งใด ในกรณีที่มีผู้อื่นตั้งชื่อให้แล้ว เนื้อหาต้องตรงชื่อเรื่อง ควรตีความหมายของชื่อเรื่องจนเห็นขอบข่ายที่จะเขียน ให้ระลึกไว้ว่าคำทุกคำในชื่อเรื่องเป็นตัวกำหนดประเด็นสำคัญในเนื้อหา)

แบบประเมินผลตนเองก่อนเรียน หน่วยที่ 8

1.กระบวนการถ่ายทอดสารจากผู้สื่อสารไปยังผู้รับสารโดยผ่านสื่อ คือคำจำกัดความของอะไร = การสื่อสาร

2.การสื่อสารผ่านวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์เป็นการสื่อสารประเภทใด = การสื่อสารสื่อมวลชน

3.น้องแคทค้อนพี่หนุ่มพร้อมพูดว่า หมั่นไส้ ข้อความข้างต้นมีอวัจนภาษาประเภทใด = สายตา

4.ท่านควรพัฒนาทักษะการสื่อสารอย่างใดเมื่อพบว่าคู่สนทนาของท่านพูดซ้ำซากแบบย้ำคิดย้ำทำเป็นเวลานานกว่า 10 นาที แล้ว = อดกลั้นโดยแสดงพฤติกรรมที่เหมาะสม

5.ข้อใดคือนิสัยการฟังที่ไม่ดี = เอจดบันทึกทุกสิ่งที่ฟังจากรายงาน

6.ข่าว ภราดร และ นาตาล ควรตั้งจุดประสงค์ในการอ่านอย่างไร = อ่านเพื่อความเพลิดเพลิน

7.โรงเรียนต่างๆ ในนิวยอร์กพร้อมใจเลิกขายน้ำอัดลม ลูกกวาด และโดนัท ให้เด็กนักเรียน นอกจากนี้ยังอาจถอดเมนูอาหารอิตาเลียนบางอย่างออกจากโรงอาหารด้วย ความเคลื่อนไหวดังกล่าวเกิดจากความวิตกเกี่ยวกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีแป้งและไขมันมาก และขาดการออกกำลังกาย ข้อความข้างต้น สาระใดสำคัญที่สุด = ผู้บริหารโรงเรียนพยายามลดการขายอาหารแป้ง น้ำตาล และไขมัน

8.วัยของผู้ฟังมีผลต่อการกำหนดเนื้อหาที่จะพูดอย่างไร = ผู้ใหญ่มีความสนใจแตกต่างจากเด็ก

9.ผมขอให้ท่านมีอายุยาวนับหมื่นปี ข้อความข้างต้น เป็นการพูดที่เน้นประเด็นใด = การอวยพร

10.ข้อใดเป็นหลักในการเขียนคำนำ = เร้าความสนใจของผู้อ่าน

แบบประเมินตนเองหลังเรียน หน่วยที่ 8

1.การตีความหมายโดยสัญชาตญาณต่อท่าทางที่แสดงเป็นสัญลักษณ์โดยไม่รู้ตัวต่อความคิดและต่อพฤติกรรมทางวัฒนธรรมของบุคคล คือความหมายของอะไร = การสื่อสาร

2.การสนทนากับเพื่อน การพูดโทรศัพท์ เป็นการสื่อสารประเภทใด = การสื่อสารระหว่างบุคคล

3.หนุ่ยนักแสดงบอกว่า คราวนี้ผมพูดเสียงเหน่อ ข้อความข้างต้นมีอวัจนภาษาประเภทใด = น้ำเสียง

4.คู่สนทนาของท่านพูดพล่ามมานานกว่า 10 นาทีแล้ว ท่านควรปฏิบัติอย่างไรจึงจะรักษาสัมพันธภาพไว้ได้ = อดทนฟังโดยพยายามแสดงพฤติกรรมที่เหมาะสม

5.ข้อใดคือนิสัยการฟังที่ไม่ดี = เจนโกรธมากที่ทิชาพูดถึงความหลงลืมของตน

6.การหาหมายเลขโทรศัพท์ของศูนย์ซ่อมรถยนต์ควรอ่านโดยวิธีใด = หาข้อมูล

7.สาระสำคัญที่สุดของข้อความต่อไปนี้คืออะไร ตำรวจทลายขบวนการปลอมแปลงบัตรเครดิต โดยได้เบาะแสเกี่ยวกับฐานการผลิตที่เมืองทางภาคใต้ของจีน จึงบุกค้นและจับกุมผู้ต้องสงสัย 11 คน และยึดคอมพิวเตอร์ เครื่องอ่านรหัส ปริ้นเตอร์ และบัตรปลอมจำนวนมาก = ตำรวจทลายแก๊งปลอมบัตรเครดิต

8.การวิเคราะห์เพศของผู้ฟังช่วยให้การเตรียมการพูดอย่างไร = ผู้หญิงชอบภาษาเร้าอารมณ์ ผู้ชายชอบเหตุผล

9.คุณเด่นดวงเป็นคนอ่อนน้อมถ่อมตน ชอบทำงานอยู่เบื้องหลัง เป็นผู้ที่เป็นเอตทัคคะ ในวิชาการประวัติศาสตร์คนหนึ่ง ข้อความข้างต้นเน้นประเด็นใด =  การชื่นชม

10.ข้อใดเป็นหลักในการเขียนส่วนสรุป = มีหลายแนวทาง แล้วแต่ความเหมาะสมของเรื่อง

หน่วยที่ 9 (ชีวิตการทำงาน)

ความสำคัญของชีวิตการทำงานที่เป็นสุข ทำให้คนอยากทำงาน ทำให้ได้งานที่มีคุณภาพ -หน่วยงานมีความเจริญก้าวหน้า

                การกำหนดเป้าหมายในการทำงานงานที่ทำจะมีความสัมพันธ์กับระบบคุณภาพ ลดค่าใช้จ่าย ความรวดเร็วและการตรงต่อเวลา การนำเทคโนโลยีต่างๆมาใช้

การทำงานแบบอิสระเป็นคนช่างสังเกต ใฝ่หาความรู้ใส่ตัวอยู่เสมอ มีความเพียรพยาม มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ กล้าคิด กล้าทำ

วิธีการทำงานแบบอิสระมีการกำหนดเป้าหมายที่เด่นชัด -มีการวางแผนการทำงานที่จะให้บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนด เมื่อปฏิบัติงานต้องทำด้วยความรอบคอบ ประเมินผลการทำงาน เมื่อทำงาน -ปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่อง

การทำงานเป็นทีม

                การทำงานเป็นทีมคือการที่ทุกคนช่วยกันผลักดันงานไปในทิศทางเดียวกันเพื่อวัตถุประสงค์เดียวกัน แต่ละคนทำงานในหน้าที่ต่างๆ กัน ทำให้สอดประสานไปสู่ความสำเร็จ

วิธีทำงานเป็นทีมให้ประสบผลสำเร็จ รู้เป้าหมายที่ชัดเจนแน่นอน มีการคิดร่วมกันระหว่างสมาชิกภายในทีม แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ ยอมรับกติกาการเป็นผู้นำและผู้ตาม ร่วมกันแสวงหาหนทางสู่ความเป็นเลิศ

การสร้างสัมพันธภาพกับผู้บังคับบัญชา

            วิธีการสร้างสัมพันธภาพกับผู้บังคับบัญชาในการปฏิบัติงานทั่วไป เมื่อได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงาน เรียนรู้การทำงาน พยายามหาหนทางให้ความคิดของผู้บังคับบัญชาเป็นจริงและเกิดผลดีมากที่สุด ยกย่องผู้บังคับบัญชาเมื่อมีโอกาส อย่าโกรธเมื่อผู้บังคับบัญชาไม่เห็นด้วยกับความคิดหรือแนวทางของตน ทำตัวให้เป็นที่ไว้วางใจของผู้บังคับบัญชา แสดงความเห็นใจผู้บังคับบัญชาในยามมีปัญหาทุกข์ร้อน

การสร้างสัมพันธภาพกับเพื่อนร่วมงาน

                1.เพื่อนร่วมงานชอบหรือไม่ชอบอะไร เพื่อนร่วมงานไม่ชอบคนที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ ดูถูก เหยียดหยาม รังเกียจคนอื่นที่ฐานะยากจนกว่า มีเจตคติที่ไม่ดีต่อคนอื่น เชื่อมั่นในตนเองสูง  ไม่ไว้วางใจคนอื่น โมโห ฉุนเฉียว โกรธง่าย คิดมาก ชอบเอาเปรียบคนอื่น เห็นแก่ตัว เป็นต้น

                เพื่อนร่วมงานจะชอบคนที่มีลักษณะดังนี้ สุภาพ ให้เกียรติ ยกย่องบุคคลอื่น ไม่พูดมาก อารมณ์เย็น ให้อภัยอดทน มีความรับผิดชอบ รับฟังความคิดเห็น เป็นต้น

                สิ่งที่เพื่อนร่วมงานต้องการจากเพื่อนร่วมงาน ได้แก่ ความจริงใจต่อกัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ให้ความร่วมมือและเคารพนับถือกัน มีความเอื้อเฟื้อ มีน้ำใจต่อกัน ตลอดจนให้อภัยแก่กัน

                การสร้างสัมพันธภาพกับเพื่อนร่วมงานมีความจริงใจให้แก่กันและกัน -พร้อมให้ความช่วยเหลือทุกครั้งเมื่อมีโอกาส ให้ความช่วยเหลือเท่าที่จะทำได้ มีอารมณ์มั่นคง ไม่เป็นคนเจ้าอารมณ์ ไม่โมโหง่าย ฉุนเฉียวง่าย รับฟังความคิดความเห็นของเพื่อนร่วมงาน น้อมรับคำวิจารณ์และข้อเสนอแนะต่างๆ

ลักษณะของหัวหน้าที่ลูกน้องต้องการมีความห่วงใย เอาใจใส่ สนใจในชีวิตของลูกน้อง เป็นกันเอง ยุติธรรม รู้จักเสียสละ จริงใจ ให้เกียรติลูกน้อง เป็นที่ปรึกษาไม่วางอำนาจไม่ใช้อารมณ์ในการทำงาน รับฟังความคิดเห็นของลูกน้อง ไม่เป็นเผด็จการ แนะนำและช่วยเหลือลูกน้อง

การสร้างสัมพันธภาพกับบุคคลทั่วไปความเหมือนกันของคน ความแตกต่างของคน ความต้องการของคนทั่วไป วิธีการทำงานร่วมกับบุคคลทั่วไป.

การผูกใจคนทำได้โดยรู้จักบุคคลซึ่งจะผูกใจ (ผู้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงาน ผู้ใต้บังคับบัญชา หรือบุคคลทั่วไป) และปรับตัวให้มีลักษณะที่คนเหล่านั้นชอบ

การสื่อสารกับคนรอบข้างอาจทำได้ทั้งทางด้านคำพูดหรือการแสดงออกทางท่าทาง ผู้รับ (ผู้ฟัง) จะเป็นคนแปลความหมายว่าเป็นบวกหรือลบ จะขึ้นอยู่กับวิธีการสื่อสาร (ของผู้ส่ง)  และความสามารถในการรับรู้ (ของผู้ฟัง) การสื่อสารกับคนรอบข้างจึงจำเป็นต้องรู้จักผู้รับสารว่ามีลักษณะอย่างไร และหาวิธีการสื่อสารที่เข้าใจพึงพอใจ

การรับฟังและยอมรับผู้อื่นเป็นกลยุทธ์ที่ใช้ในการผูกใจคน อาจทำได้โดยไม่ยึดมั่นว่าสิ่งที่ตนเองคิด ตนเองทำเป็นสิ่งที่ดีที่สุด ต้องไม่เชื่อมั่นในตนเองมากเกินไป และยอมรับในความสามารถของผู้อื่นบ้างว่าเป็นคนมีความรู้ ความสามารถ มีประสบการณ์เช่นกัน

การให้คือการที่บุคคลหนึ่งมอบสิ่งที่ตนเองมีให้แก่ผู้อื่นในรูปของวัตถุหรือสิ่งที่มาจากจิตใจ เช่น ความรัก ขวัญและกำลังใจ ความร่วมมือ ความเมตตากรุณา คำปรึกษา หรือความเอื้อเฟื้อ การให้ทำให้บุคคลทั้ง 2 ฝ่าย (ผู้ให้และผู้รับ) มีความรู้สึกที่ดีต่อกัน เป็นมิตรกัน

การผูกใจคนอาจทำได้ดังนี้ 1.รู้จักปรับตนเอง 2.รู้วิธีการสื่อสารกับคนรอบข้าบง 3.รู้จักรับฟังและการยอมรับผู้อื่น 4.รู้จักให้.

1.การปรับตนเอง ต้องรู้จักบุคลซึ่งเราจะผูกใจ ปรับตัวเราให้มีลักษณะที่คนเหล่านั้นชอบ -การปรับตนให้เข้ากับผู้บังคับบัญชา การปรับตนให้เข้ากับเพื่อนร่วมงาน การปรับตนเองให้เข้ากับผู้ใต้บังคับบัญชา -การปรับตนเองให้เข้ากับคนทั่วไป

2.การสื่อสารกับคนรอบข้างหรือคนทั่วไป อาจทำได้ทางด้านคำพูดหรือการแสดงท่าทาง การสื่อสารของเรา (ในฐานะผู้ส่งสาร) อาจเกิดผลในทางบวกหรือลบ ขึ้นอยู่กับวิธีการสื่อสารและการแปลความหมายของผู้รับ ความสามารถในการรับรู้ของคนขึ้นอยู่กับองค์ประกอบต่างๆดังนี้ 1.อายุ 2.ภูมิลำเนา (ในเมือง หรือชนบท) 3.เพศ 4.ระดับการศึกษา 5.ประสบการณ์ 6.การอบรมเลี้ยงดูของครอบครัว 7.เจตคติต่อผู้สื่อสาร 8.เจตคติเรื่องที่สื่อสาร.

การรับฟังและการยอมรับผู้อื่นต้องไม่ยึดมั่นว่าสิ่งที่ตนเองคิด ตนเองทำ เป็นสิ่งที่ดีที่สุด -ต้องไม่เชื่อมั่นในตนเองมากเกินไป ยอมรับในความสามารถของผู้อื่นบ้าง

การให้ แบ่งประเภทของการให้ดังต่อไปนี้ 1.ความรัก 2.ขวัญและกำลังใจ 3.ความร่วมมือ 4.ความเมตตากรุณา 5.คำปรึกษาหารือ 6.ความเอื้อเฟื้อ.

แบบประเมินผลตนเองก่อนเรียน หน่วยที่ 9

1.การทำงานให้ประสบความสำเร็จ ผู้ปฏิบัติงานควรกำหนดทิศทางการทำงานอย่างไร = งานที่ทำต้องได้รับการยกย่องและยอมรับจากบุคคลอื่น

2.ทำไมผู้ปฏิบัติงานต้องการชีวิตการทำงานที่เป็นสุข = ทำให้มีกำลังใจอยากจะทำงานมากขึ้น

3.คนซึ่งทำงานแบบอิสระและประสบความสำเร็จควรจะมีลักษณะอย่างไรจึงจะดีที่สุด = ช่างสังเกต คิด เปรียบเทียบ วิเคราะห์ ลงมือปฏิบัติ ประเมินผล และปรับปรุงแก้ไข

4.เมื่อท่านมีงานที่ต้องปฏิบัติมากมาย ท่านจะจัดลำดับการปฏิบัติก่อนหรือหลังอย่างไร = อันดับแรก คือ งานที่สำคัญและด่วน อันดับสอง คือ ด่วนแต่ไม่สำคัญ

5.ข้อใดคือลักษณะของการทำงานเป็นทีม = มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ รับทราบภาระหน้าที่ของสมาชิกคนอื่น

6.ข้อใดคือปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่ช่วยให้แต่ละทีมในหน่วยงานมีความเจริญก้าวหน้า = ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้นำกับผู้ตาม รวมทั้งเพื่อนร่วมงานทุกคน

7.ผู้เป็นหัวหน้าชอบลูกน้องแบบใด = ปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายอย่างดีที่สุดและช่วยเหลือเพื่อนร่วมงานเท่าที่ตนจะทำได้

8.เมื่อทำงานร่วมเพื่อน ท่านควรทำตัวอย่างไรเพื่อจึงจะรัก = ให้ความร่วมมือ รวมทั้งให้ความช่วยเหลือเท่าที่จะทำได้ในทุกโอกาส

9.สิ่งที่คนเราทุกคนในโลกนี้ส่วนใหญ่ชอบเหมือนกันมากที่สุดคือข้อใด =  การให้เกียรติ การยกย่อง การยอมรับ

10.วิธีการผูกใจคนที่ดีที่สุดคือข้อใด = ปรับตนเอง รู้จักสื่อสารทั้งทางคำพูดและท่าทาง รู้จักยอมรับผู้อื่นและรู้จักให้

แบบประเมินผลตนเองหลังเรียน หน่วยที่ 9

1.การทำงานให้ประสบความสำเร็จ ผู้ปฏิบัติงานควรกำหนดทิศทางการทำงานอย่างไร = งานที่ทำต้องได้รับการยกย่องและยอมรับจากบุคคลอื่น

2.ทำไมผู้ปฏิบัติงานต้องการชีวิตการทำงานที่เป็นสุข = ทำให้มีกำลังใจอยากจะทำงานมากขึ้น

3.คนซึ่งทำงานแบบอิสระและประสบความสำเร็จควรจะมีลักษะอย่างไร จึงจะดีที่สุด = ช่างสังเกต คิด เปรียบเทียบ วิเคราะห์ ลงมือปฏิบัติ ประเมินผล และปรับปรุงแก้ไข

4.เมื่อท่านมีงานที่ต้องปฏิบัติมากมาย ท่านจะจัดลำดับการปฏิบัติก่อนหรือหลังอย่างไร = อันดับแรกคืองานที่สำคัญและด่วน อันดับสองคือด่วนแต่ไม่สำคัญ

5.ข้อใดคือลักษณะของการทำงานเป็นทีม = มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ รับทราบภาระหน้าที่ของสมาชิกคนอื่น

6.ข้อใดคือปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่ช่วยให้แต่ละทีมในหน่วยงานมีความเจริญก้าวหน้า = ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้นำกับผู้ตาม รวมทั้งเพื่อนร่วมงานทุกคน

7.ผู้เป็นหัวหน้าชอบลูกน้องแบบใด = ปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายอย่างดีที่สุดและช่วยเหลือเพื่อนร่วมงานที่ตนจะทำได้

8.เมื่อท่านทำงานร่วมกับเพื่อน ท่านควรทำตัวอย่างไรเพื่อนจึงจะรัก = ให้ความร่วมมือ รวมทั้งให้ความช่วยเหลือเท่าที่จะทำได้ในทุกโอกาส

9.สิ่งที่คนเราทุกคนในโลกนี้ส่วนใหญ่ชอบเหมือนกันมากที่สุดคือข้อใด = การให้เกียรติ การยกย่อง การยอมรับ

10.วิธีการผูกใจคนที่ดีที่สุดคือข้อใด = ปรับตนเอง รู้จักสื่อสารทั้งทางคำพูดและท่าทาง รู้จักยอมรับผู้อื่นและรู้จักให้

หน่วยที่ 10 (บุคลิกภาพและมารยาทสังคม)

บุคลิกภาพ หมายถึง สภาพทางกายและสภาทางจิตของแต่ละคน

บุคลิกภาพแบ่งออกเป็น 4 องค์ประกอบ คือ รูปลักษณ์ทางกาย ภูมิปัญญา ความสามารถในการควบคุมอารมณ์ และการมีมารยาท ซึ่งรวมแล้วจะเป็นคุณภาพของผู้นั้น ส่วนใหญ่ของบุคลิกภาพจะพัฒนาหลังกำเนิด

บุคลิกภาพ คือ สภาพทางกายและทางจิตของแต่ละคนที่ปรากฏผลรวมออกมาเป็นสภาพและพฤติกรรมที่มีแบบแผนให้ผู้อื่นเห็น รู้ และเข้าใจในภาวะและสถานการณ์ปกติในช่วงชีวิตธรรมดาของผู้นั้น

บุคลิกภาพ มีความหมายครอบคลุมตั้งแต่รูปลักษณ์ทางการที่ปรากฏให้คนเห็นได้ด้วยตาและจิตสำนึก อุปนิสัย ภูมิธรรม ปัญญา ทัศนคติ รสนิยม และการแสดงออกของอารมณ์ ตลอดไปถึงอากัปกิริยา การวางตัว และจรรยามารยาทของแต่ละคนที่ปรากฏออกมาให้ผู้อื่นรู้ได้

บุคลิกภาพที่แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ บุคลิกภาพส่วนที่เป็นคุณสมบัติภายนอก คือ รูปลักษณ์ทางกายและอากัปกิริยาที่ปรากฏให้ผู้อื่นเห็นได้ด้วย และบุคลิกภาพส่วนที่เป็นคุณสมบัติภายในที่จะไม่ปรากฏให้ผู้อื่นรับรู้ได้จนกว่าจะสื่อความหมาย หรือแสดงออกมาด้วย กิริยาและวาจานี้โดยรวมอาจแบ่งได้เป็นองค์ประกอบใหญ่ๆ ได้ 4 องค์ประกอบคือ

                1.รูปลักษณ์ทางกาย ซึ่งปรากฏออกมาให้คนเห็นได้จากรูปโฉมและการแต่งกาย

                2.ภูมิธรรมและปัญญา ซึ่งหมายรวมถึงอุปนิสัย ทัศนคติ ความรู้ ความคิด อันเป็นคุณสมบัติของจิตและสมอง ซึ่งจะไม่ปรากฏให้ผู้อื่นล่วงรู้ได้จนกว่าจะสื่อความหมายออกมา 3.ความสามารถในการควบคุมอารมณ์ 4.มารยาท

บุคลิกภาพของมนุษย์เป็นสิ่งที่ต้องได้รับการพัฒนา  เพราะคุณสมบัติของแต่ละคนที่ติดตัวมาทางพันธุกรรมตั้งแต่แรกเกิดเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่จะติดตัวเป็นบุคลิกภาพถาวร ส่วนใหญ่ของบุคลิกภาพพัฒนาขึ้นหลังกำเนิด จากผลของการเลี้ยงดู อบรมบ่มนิสัย และการศึกษา ที่ได้สั่งสมมาภายใต้สภาพแวดล้อมของแต่ละคน และที่สำคัญ คือ จะตกอยู่ภายใต้ตัวกำหนดหลัก 4 ประการ คือ 1.ตัวกำหนดทางด้านชีววิทยา 2.ตัวกำหนดทางด้านการเป็นสมาชิกขององค์การและสังคม 3.ตัวกำหนดทางด้านวัฒนธรรม 4.ตัวกำหนดทางด้านสถานการณ์

                บุคลิกภาพของคนจะเกิดขึ้นเองในลักษณะที่เป็นวิวัฒนาการ (Evolution) คือ ปรับตนเองให้สอดคล้องไปตามสภาพแวดล้อมของธรรมชาติเพื่อความอยู่รอด แต่ถ้าผู้ใดมีเจตนาที่จะปรับบุคลิกภาพของตน โดยมีวัตถุประสงค์และเป้าหมายเพื่อให้มีคุณสมบัติที่ดีเพิ่มขึ้น บุคลิกภาพที่ดียิ่งขึ้นนั้นจะเป็นผลมาจากการพัฒนา (Development) เหมือนคนป่าที่มีชีวิตอยู่ในป่ามาตลอด บุคลิกภาพของผู้นั้นก็จะเกิดขึ้นมาจากผลของวิวัฒนาการเพื่อความอยู่รอดภายในสิ่งแวดล้อมในป่าที่ตนอยู่อาศัย

องค์ประกอบของบุคลิกภาพ บุคลิกภาพซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ส่วน บุคลิกภาพภายนอกและบุคลิกภาพภายในนั้น แบ่งออกเป็น 4 องค์ประกอบคือ 1.รูปลักษณ์ทางกาย 2.ภูมิปัญญา 3.ความสามารถในการควบคุมอารมณ์ 4.การมีมารยาท

-บุคลิกภาพของแต่ละคนมีผลกระทบต่อบุคคลอื่นรอบข้างได้อย่างไร = บุคลิกภาพจะมีผลกระทบให้คนรอบข้างเกิดความรู้สึกประทับใจได้เสมอ ทั้งในทางบวกทางลบ.

-องค์การ อาจหมายรวมถึงองค์การขนาดใหญ่ที่สถาปนาขึ้นอย่างมีระบบ มีบุคลากรเป็นหมื่นเป็นแสนคน หรืออาจเป็นองค์การเอกชนขนาดเล็กที่มีบุคลากรเพียงไม่กี่คน และรวมตลอดไปถึงองค์การตามธรรมชาติที่เกิดขึ้นโดยไม่เห็นชัดเจนว่าเป็นการก่อตั้งองค์การ เช่น ครอบครัวซึ่งเป็นหน่วยสังคมที่เล็กที่สุด แต่ก็มีสถานะเป็นองค์การทางสังคม

-บุคลิกภาพเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างเสริมมนุษย์สัมพันธ์อย่างไร = มนุษย์สัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่อยู่ร่วมในองค์การเดียวกัน หรือสังคมเดียวกัน จะดีเมื่อแต่ละฝ่ายมีบุคลิกภาพเป็นที่ประทับใจ เช่น มีรูปลักษณ์ทางกายเป็นที่ประทับใจ มีน้ำใจ และมีมารยาทต่อกัน.

-การพัฒนารูปลักษณ์ทางกายมีหลักในการพัฒนาอย่างไร? = การพัฒนารูปลักษณ์ทางกายต้องเริ่มจากสร้างทัศนคติเชิงบวกต่อตนเองให้เชื่อมันในรูปลักษณ์ของตนเอง แล้วรักษาสุขภาพของตนให้ดี แล้วจึงปรับและแต่งกายให้ดี.

การพัฒนาภูมิธรรมและปัญญา

                ผู้มีอุปนิสัยดี มีสำนึกและทัศนคติที่ดี มีความรู้ความคิดและภูมิปัญญาที่ดี ควรจะเป็นที่เลื่อมใสเคารพนับถือของคนทั่วไป แต่ถ้าเป็นผู้ไม่มีศิลปะและความสามารถในการสื่อสารที่ดีพอสมควร ก็ไม่อาจจะแสดงให้ผู้อื่นรู้ถึงความรู้ความคิดอันเป็นภูมิธรรมและปัญญาของตนได้ ความรู้ความคิดนั้นก็ไม่เกิดประโยชน์ ในการพัฒนาภูมิธรรมและปัญญาให้เกิดขึ้นนั้น มีหลักการพัฒนาดังต่อไปนี้

                1.พัฒนาทัศนคติทางบวก มองเรื่องต่างๆ ในแง่ดี โดยเฉพาะเมื่อพิจารณาตนเองต้องมองให้เห็นส่วนดีของตนเองที่จะพัฒนาในทางดีต่อไปได้เสมอ

                2.พัฒนาสำนึกในทางคุณธรรมและจริยธรรม (M.Q.) คุณสมบัติข้อนี้เป็นเรื่องที่กำลังได้รับความสนใจมากที่สุดประการหนึ่งในวงการของผู้ประกอบวิชาชีพ ซึ่งถ้าผู้ใดนำมาพัฒนาเพื่อสร้างเสริมบุคลิกภาพได้ จะเป็นปัจจัยเสริมให้บุคลิกภาพองค์ประกอบนี้ดียิ่งขึ้น

                3.พัฒนาตนเองให้เป็นพหูสูต คือ เป็นคนรอบรู้ และต้องรู้อย่างสมบูรณ์ กระจ่างในทุกแง่มุมของวิชาชีพ หรือเรื่องที่ตนถนัด ไม่ทอดทิ้งให้ความรู้ของตนล้าหลัง

                4.พัฒนาความสามารถในการเจรจาต่อรอง (Negotiation) โดยทั่วไป ทุกคนรู้เรื่องการเจรจาต่อรองและปฏิบัติอยู่ในชีวิตประจำวันอยู่แล้วจนลืมสังเกตว่าตนเองได้ใช้ความสามารถนี้อยู่ทุกวัน แต่ถ้าได้พัฒนาให้รู้ยุทธศาสตร์และยุทธวิธีในการเจรจาที่มีหลักการและเหตุผลอย่างมีระบบ

คุณสมบัติของนักเจรจา 8 ประการ คือ 1.รู้จักฟัง 2.รู้วิธีให้ผู้อื่นฟังเมื่อเราพูด 3.รอบรู้ 4.จำแม่น 5.รู้กระจ่างในเรื่องที่เจรจา 6.สามารถถ่ายทอดให้ผู้อื่นรู้กระจ่างได้ด้วย 7.รู้ว่าอะไรเป็นประโยชน์ อะไรไม่เป็นประโยชน์ 8.ไม่ชวนทะเลาะ

การพัฒนาภูมิปัญญาควรปฏิบัติอย่างไร=ควรสร้างอุปนิสัย ทัศนคติ สำนักในคุณธรรม ความรู้และความคิด กับพัฒนาความสามารถในการสื่อสาร และสร้างคุณสมบัติที่ดีของนักเจรจาต่อรองให้ติดตัว.

                การวัด ไอ.คิว. ตามมาตรการที่กำหนดเป็นมาตรฐานนั้น จะได้ผลเที่ยงตรงได้จำกัดเมื่ออายุไม่เกิน 14 ปี เท่านั้น หลังจากนั้นจะไม่วัด ไอ.คิว กันแล้ว เพราะหลังจากอายุ 14 ปี มีปัจจัยต่างๆ เข้ามาเกี่ยวข้องเบี่ยงเบนให้มีความฉลาดในเรื่อต่างๆ แปลกแยกออกได้หลาย จึงวัด ไอ.คิว.ตามมาตรฐานเดิมไม่ได้ผล.

การพัฒนาความสามารถในการควบคุมอารมณ์   เรื่องนี้สำหรับคนไทย ถ้าต้องการเพิ่ม อี.คิว. ขอให้หันไปศึกษาวิถีชีวิตแบบไทยๆ ที่ได้ปลูกฝังหลักการในพระพุทธศาสนา รวมทั้งศาสนาอื่นๆ ไว้ในวิถีชีวิตด้วย ซึ่งเราจะพบวิธีที่เรียบง่ายและได้ผลจริงเสมอ แม้แต่ในทศพิธราชธรรมของกษัตริย์ ก็มี ทมะ คือ การข่มจิต และสำหรับบุคคลทั่วไปก็มีคำว่า ขันติ ไว้ให้ถือปฏิบัติอยู่แล้ว.

การพัฒนาความรู้ความเจ้าใจในมารยาทสังคมจำเป็นอย่างไร = มารยาทเป็นสิ่งที่ทุกคนทราบและปฏิบัติอยู่ทั่วไป แต่ถ้าไม่เข้าใจในหลักการและเหตุผล อาจจะทำให้การปฏิบัตินั้นไม่มีความหมายหรืออาจผิดมารยาทไปก็ได้ จึงควรทำความเข้าใจในหลักการและเหตุผลอย่างถ่องแท้จึงจะปฏิบัติได้ถูกต้อง และถ้าเข้าใจธรรมชาติจะทำให้การปฏิบัติดูดีและสวยงามด้วย.

สาระสำคัญของรูปลักษณ์ทางกาย การพัฒนารูปลักษณ์ทางกาย คือ มีสุขภาพดี 1.การรักษาสุขภาพและพลานามัย การบริหารจิตและกาย เช่น การฝึกสมาธิ การเดินจงกรม การว่ายน้ำ การลีลาสจังหวะบอลล์รูม หรือการรำวงมาตรฐาน การเลือกรับประทานอาหาร 2.รักษาสภาพร่างกายและปรับโฉมให้ได้รูปทรงที่ดี สะอาด แต่งกายดี การแต่งกายให้มีเอกลักษณ์ของตนเอง เมื่อค้นหารูปลักษณ์เฉพาะตัวพบแล้วแต่งกายให้เป็นการสร้างเอกลักษณ์ของรูปโฉมให้ปรากฏออกมาน่าประทับใจ โดยกำหนดรูปแบบของการแต่งกายที่เหมาะสมแก่ลักษณะตัวของตันเอง และเว้นจากเครื่องแต่งกายบางลักษณะที่จะทำให้บุคลิกของตนเองเสื่อมลง เช่น คนท้วมต้องเว้นจากเสื้อผ้าสีฉูดฉาด หรือที่เป็นดอกดวงโต หรือมีลวดลายทางขวางที่มีแถบสีขนาดกว้างใหญ่ เพราะจะทำให้ดูเหมือนรูปร่างขยายออกทางขวาง ทำให้ดูท้วมขึ้นไปอีก ส่วนผู้มีรูปร่างผอมบางพึงเว้นเสื้อผ้าที่มีสีเข้มทึบมากๆ เช่น สีดำ สีน้ำเงินเข้ม สีเทาเข้ม หรือสีเข้มอื่นๆ และเว้นจากการแต่งกายด้วยเสื้อผ้าลายสีเป็นทางลง และมีแถบลายสีกว้างใหญ่ดูชัดเจน เพราะจะทำให้ดูรูปร่างผอมชะลูดยิ่งขึ้น และผู้มีร่างกายเตี้ยต้องเว้นการใช้เสื้อผ้าที่มีลายขวาง แต่ต้องใช้เสื้อผ้าที่มีสีอ่อนและมีลายแถบเป็นทางลง เพื่อให้ดูเหมือนร่างกายมีส่วนสูงเพิ่มขึ้น และสำหรับคนที่มีรูปร่างเตี้ยเล็ก ควรจะลีกเลี่ยงการใช้รองเท้าที่พื้นและส้นสูง (ส้นตึก) ซึ่งผู้สวมอาจมีความรู้สึกว่าเป็นการเพิ่มความสูงให้แก่ตนเอง แต่ในสายตาผู้อื่นแล้ว ใหญ่หรือเตี้ยก็จะมีรูปร่างสมส่วนตามธรรมชาติอยู่แล้ว หากเพิ่มส่วนสูงด้วยรองเท้าส้นตึกย่อมจะทำให้รูปร่างขาดสมดลทันที.

รูปลักษณ์ทางกายมีสาระสำคัญที่จะต้องพัฒนาอย่างไรบ้าง=  สาระสำคัญของรูปลักษณ์ทางกายที่รวมแล้วทำให้บุคลิกภาพองค์ประกอบนี้ดี ควรต้องพัฒนาให้คุณสมบัติต่อไปนี้ดี คือ มีสุขภาพดี รู้จักรูปลักษณ์ของตนเอง ค้นหาส่วนเด่นและส่วนด้วยของตนเองให้พบแล้วจึงแต่งกายให้เสริมความเด่นและปิดบังส่วนด้อยของตนเอง โดยแต่งกายให้เป็น คือ รู้ปรัชญาในการแต่งกาย.

ปรัชญาในการแต่งกาย 1.ความสะอาด 2.ความสุภาพเรียบร้อย 3.ประณีต 4.การมีรสนิยมดี 5.ความเหมาะสม (เพศ วัย กาละ เทศะ พิธีการ บรรยากาศ สถานะ ตำแหน่งหน้าที่ วิชาชีพ)

ปรัชญาในการแต่งกาย คืออะไร = การแต่งกายสะอาด เรียบร้อย เหมาะสมกับกาลเทศะและโอกาสตามมาตรฐานที่สากลกำหนด.

ชาวไทยควรแต่งกายแบบไทยในโอกาสใดบ้าง= ชาวไทยควรแต่งกายแบบไทยในโอกาสที่เหมาะสม เช่น ในงานนักขัตฤกษ์ หรือในงานพิธีการแบบไทย รวมทั้งเป็นงานนานาชาติ แต่งานนั้นกำหนดให้แต่งกายประจำชาติ

การเรียนรู้เรื่องการแต่งกายตามมาตรฐานสากลจำเป็นสำหรับสังคมไทยหรือไม่= จำเป็น เพราะสังคมไทยยอมรับมาตรฐานการแต่งกายตามแบบสากล เนื่องจากสังคมไทยได้ปรับมาตรฐานทางสังคมในเรื่องต่างๆ ให้ได้ระดับมาตรฐานแล้ว เมื่อถึงเวลาจำเป็นจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้องได้ ซึ่งจะทำให้บุคลิกภาพของคนไทยได้มาตรฐาน และจะเป็นการสะท้อนให้เห็นบุคลิกภาพของชาติไทยด้วย แต่คนไทยต้องควรอนุรักษ์การแต่งกายไทยตามมาตรฐานของเราไว้ เพื่อการปฏิบัติที่ถูกต้องเมื่อสมควร.

                ความหมายของมารยาท

มารยาท หมายถึง กิริยา วาจา ที่ถือว่าสุภาพเรียบร้อย

วัตถุประสงค์ของมารยาทมีอยู่ 5 ประการ ได้แก่ 1.เพื่อความปลอดภัย (การทักทายทุกวัฒนธรรม ไม่ว่าจะเป็นการทักทายด้วยกิริยาหรือวาจา ล้วนมีความหมายเป็นการให้ความปลอดภัยทั้ง การยืนและการนั่งที่ถูกต้อง การต้อนรับ การเดิน มีกฎเกณฑ์ที่แสดงออกถึงการให้ความปลอดภัยที่ผู้น้อยจะต้องแสดงต่อผู้ใหญ่ ชายแสดงต่อหญิง ตลอดจนการต้อนรับ การแสดงออกในการเยี่ยมเยียน หรือในการเลี้ยงรับรองใดๆ เจ้าภาพจะต้องจัดที่นั่งให้แขกได้รับความปลอดภัยเสมอ) 2.เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย 3.เพื่อเป็นการให้เกียรติกัน 4.เพื่อแสดงอัธยาศัย 5.เพื่อความสะดวกสบาย.

มารยาทไทยมีการแสดงออกได้หลายลักษณะ

                มารยาทไทยดั้งเดิม เมื่อจะลาจากผู้ใหญ่ ผู้น้อยจะกราบหรือยกมือไว้ลา แล้วในทางปฏิบัติผู้น้อยจะต้อง คลานหรือเดินเข่าถอยหลังไปจนได้ระยะห่างพอสมควร แล้วจึงหมุนตัวเดินจากไป การหมุนตัวก็เช่นเดียวกันจะต้องหันทางซ้ายเพื่อหันมือขวาให้ผู้ใหญ่ ถือเป็นมงคล ไม่ได้ทำอย่างที่ปฏิบัติกันอยู่ในปัจจุบัน ที่หมุนขวาโดยหันมือซ้ายให้ผู้ใหญ่ ซึ่งตามประเพณีถือว่าเป็นอวมงคล.

                การยืนใกล้ผู้ใหญ่ในขณะที่ผู้ใหญ่นั่งบนเก้าอี้ ต้องยืนให้ห่างจากผู้ใหญ่เป็นระยะห่างไม่น้อยกว่าความสูงของตนเอง ถ้ายืนใกล้กว่านั้นจะเป็น การค้ำศีรษะ ทันที.

การไหว้ตามระดับอาวุโส

                ผู้มีอาวุโสระดับเดียวกัน เริ่มจากฐานของท่าวันทา คือ ประนมมือที่อก โดยให้ศอกชิดข้างลำตัว มือที่ประนมจะไม่อยู่แนบอก จากนั้นให้ก้มศีรษะลงมาเล็กน้อย ยกมือที่ประนมอยู่ขึ้นรับ โดยให้ปลายนิ้วชี้จรดปลายจมูก และที่สำคัญคือ ทั้งสองฝ่ายสบตากัน ต่างฝ่ายต่างมองเห็นกัน ซึ่งเป็นเครื่องหมายว่า ต่างฝ่ายต่างปลอดภัย ถ้าฝ่ายใดลอบทำร้าย อีกฝ่ายมองเห็นก็สามารถหลบได้ แสดงว่าไม่มีใครเสียเปรียบใคร

                ผู้น้อยไหว้ผู้ใหญ่ที่อาวุโสสูงกว่า ผู้น้อยต้องควรเป็นฝ่ายไหว้ก่อน โดยประนมมือในท่าฐานของท่าวันทา แล้วก้มศีรษะลง ยกมือที่ประนมอยู่นั้นขึ้นรองรับ โดยให้ปลายนิ้วจรดหว่างคิ้ว การไหว้ท่านี้ผู้น้อยที่ยกมือไหว้จะไม่มีโอกาสเห็นผู้ใหญ่เลย จึงเป็นการแสดงความหมายว่า ผู้น้อยได้ให้ความปลอดภัยต่อผู้ใหญ่ และยอมอยู่ในอำนาจของท่าน เพราะการไม่เห็นผู้ใหญ่ แม้คิดร้ายจะลอบทำร้ายท่านไม่ได้ เพราะไม่เห็นท่าน แต่ผู้ใหญ่เป็นฝ่ายมองเห็นผู้น้อย ถ้าจะทำร้ายเด็กด้วยประการใด เด็กก็จะเป็นฝ่ายได้รับโทษภัยทันที หลีเลี่ยงไม่ได้.

อย่าไหว้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพราะพระองค์ทรงอยู่ในพระราชฐานะที่ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจที่จะทรงกำราบทุกคนให้กราบพระองค์ได้ จึงปฏิบัติได้ 2 ประการ คือ

                1.ถ้านั่งเฝ้าฯ ต้องกราบโดยการนั่งพับเพียบ และกราบโดยไม่แบมือเพียงประการเดียว แต่ในทางปฏิบัติอย่างแท้จริง หากชาวบ้านประนมมือมือไหว้พระองค์ด้วยเจตนาเคารพอย่างจริงใจ ก็พิจารณาได้ว่าเป็นการแสดงความเคารพอย่างยิ่งได้ด้วย แต่ผู้ที่รู้ธรรมเนียมที่แท้จริงก็ควรปฏิบัติให้ถูกต้องเสมอ คือ ต้องกราบเท่านั้น

                2.ถ้ายืนเฝ้าฯ กราบไม่ได้ ให้ปฏิบัติดังนี้ ชาย ให้ถวายคำนับ หญิง ให้ถอนสายบัว หรือถ้าหญิงสวมเครื่องแบบปกติขาวให้ถวายคำนับเหมือนการปฏิบัติชาย.

การกราบในมารยาทไทยมีอยู่ 2 แบบ คือ 1.การแบบเบญจางคประดิษฐ์ (กราบพระรัตนตรัย)  2.การกราบเคารพบุคคล (กราบพ่อแม่).

มารยาทโดยทั่วไป (พิธีการและมารยาทสากลส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากหลักปฏิบัติของบรรดานักรบที่เราเรียกกันว่า อัศวิน สุภาพบุรุษผู้มีภาระหน้าที่สำคัญ คือ การให้ความพิทักษ์คุ้มครองผู้อ่อนแอที่ถูกรังแก)

                1.การโค้งคำนับ เป็นมารยาทในการทักทาย ซึ่งความจริงพัฒนามาจากการที่ประเทศในยุโรปมีอากาศหนาวคนทั่วไปนั่งกับพื้นไม่ได้ ต้องยืน ใครก็ตามขณะยืนอยู่ ถ้ากษัตริย์เสด็จมา เขาห้ามมองพระองค์ เพราะถ้าเห็น หากคิดร้ายก็สามารถลอบทำร้ายพระองค์ได้ การไม่มองด้วยการหลบตาลงหรือมองไปทางอื่นก็ยังไม่เป็นที่ไว้วางใจ จึงต้องบังคับให้ทุกคนก้มหน้าลงมองพื้นดิน ให้เห็นชัดเจนว่าไม่ได้มอง ครั้งปฏิบัตินานเข้า ความหมายก็เพี้ยนไป กลายเป็นการแสดงความเคารพ

                2.วันทยาหัตถ์ คือ การที่ทหารในเครื่องแบบและสวมหมวกอยู่ด้วย ยกมือขึ้นแตะกระบังหมวก เรารู้ความหมายกันอยู่ทั่วไปว่าเป็นการแสดงความเคารถ แต่ที่มานั้นเกิดขึ้นจากที่ อัศวิน ในยุคก่อนสวมเกราะเหล็ก และสวมเอลเม็ท (helmet) เมื่อไปที่ไหนจะไม่มีใครเห็นหน้า ฉะนั้นเมื่อเข้าไปในพื้นที่ใดจึงต้องเปิดเฮลเม็ทให้คนได้เห็นว่าผู้นั้นคือใคร ไม่ใช่ศัตรูหรือผู้อื่นอำพรางตัวมา ทหารทั้งหลายจึงปฏิบัติเช่นนั้น แม้มิได้สวมเฮลเม็ทก็ทำเสมือนกับสวมเฮลเม็ท พลเรือนทั่วไปที่สวมหมวกก็พลอยใช้การเปิดหมวกให้กันเป็นเครื่องหมายแสดงความเคารพหรือทักทายกันด้วย และเมื่อเข้าไปสู่อาคารบ้านเรือนของผู้อื่น อัศวินจะไม่สวมเฮลเม็ท และทหารก็จะถอดหมวกเสมอ

                3.การโค้งคำนับของนายทหารไทย นายทหารสัญญาบัตรของไทยแสดงความเคารพในขณะไม่สวมหมวกด้วยการโค้งคำนับ ซึ่งเป็นแบบพิธีของของเราเอง จะเห็นความแตกต่างกันอย่างมาก เพราะนายทหารอังกฤษถ้าไม่ได้สวมหมวกจะไม่โค้งคำนับ แต่จะยกมือขวาแบหันออกมาข้างหน้า แตะตางกรอบหน้าเหนือใบหนู เพื่อแสดงว่า ในมือข้าพเจ้าไม่มีอาวุธ ท่านปลอดภัย พร้อมกับสั่นมือให้เห็นได้ชัดเจน ซึ่งหลายคนไม่เข้าใจความหมายของการกระทำดังกล่าว ถ้าไม่มีใครอธิบายให้ทราบ

                4.การจับมือทักทายกัน ตามแบบยุโรปก็มีที่มาจากพวกอัศวินเช่นเดียวกัน อัศวินคาดกระบี่ สะพายดาบเจอใคร คนก็หวาดกลัว ฉะนั้น เมื่อจะทักทายใคร อัศวินจึงยื่นมือขวาที่สามารถจะชักดาบมาฆ่าหรือทำร้ายคนได้ออกมาให้เป็นการแสดงความสุจริตใจว่ามาพบด้วยสันติ ไม่มีการใช้อาวุธ คนที่กลัวอยู่แล้วก็จะรีบจับมือไว้แน่น ไม่ให้โอกาสชักอาวุธทำร้ายได้ หรือถ้าต่างฝ่ายต่างมีอาวุธประจำกาย ต่างก็สละอำนาจของตนที่จะชักอาวุธมาทำร้ายกันโดยต่างยื่นมือขวาให้แก่กัน และในที่สุดก็พัฒนาเป็นการจับมือทักทายกัน และพัฒนาวิธีการและความหมายออกไปอีกหลายประการ เช่น การจับมือทักทายในทางสังคมตามแบบสากล 1.ห้ามชายยืนมือให้หญิงจับ เพราะหญิงเป็นฝ่ายมีเกียรติภูมิสูงกว่า จึงเป็นฝ่ายมีเอกสิทธิ์ จะยื่นมือให้ชายจับหรือไม่ก็ได้ อาจปฏิบัติเพียงแต่ผงกศีรษะทักทายก็พอ 2.ห้ามเด็กยื่นมือให้ผู้ใหญ่จับเป็นอันขาด ผู้ใหญ่เป็นฝ่ายมีอำนาจสูงกว่า จึงเป็นฝ่ายสละอำนาจด้วยการยื่นมือให้เด็กจับ 3.ต่างฝ่ายต้องบีบมือฝ่ายตรงข้ามให้กระชับถึงหัวแม่มือ ใครบีบแรงเกิดไปเป็นความก้าวร้าว ถ้าจับโดยไม่บีบมือเลยหรือบีบเบาเกิน แสดงถึงความไม่เข้าใจ 4.เช็คแฮนด์ (Shake hands) หมายถึงการเขย่ามือ จึงควรปฏิบัติด้วยการเขย่ามือกัน 3-7 ครั้ง บางประเพณีอาจไม่เขย่ามือเลย เช่น ฝรั่งเศสเน้นครั้งเดียวพอ 5.ชายต้องปล่อยมือหญิง และเด็กปล่อยมือผู้ใหญ่ภายใน 5 วินาที จับนานกว่านั้นเป็นการไม่สุภาพ ผู้ใหญ่อาจสร้างสัมผัสที่สองโดยวิธีแตะมือด้วยอีกมือหนึ่ง หรือแตะไหล่ด้วยอีกมือหนึ่งจะสร้างความปลื้มปีติให้แก่เด็กได้มากที่เห็นเราให้ความเป็นกันเองและมีความเมตตากรุณาต่อเด็กนั้น.

การยืนขึ้นต้อนรับ ในมารยาทสากล เมื่อเราอยู่ในห้องหนึ่ง จะนั่งอยู่อย่างไรก็ตาม หากมีผู้ใหญ่เข้ามาในห้องนั้น ทุกคนต้องยืนขึ้นต้อนรับ ซึ่งถือว่าเป็นการแสดงความเคารพด้วย แต่ถ้าผู้ใหญ่นั้นเป็นชาย หญิงไม่ต้องยืนขึ้นต้อนรับ ถ้าผู้ใหญ่นั้นเป็นหญิง ทุกคนรวมทั้งหญิงด้วย ต้องยืนขึ้นต้อนรับ และเมื่อประธานที่ประชุมเดินเข้ามาในห้องประชุม ทุกคนในที่ประชุมต้องยืนขึ้นรับ.

การกำหนดเกียรติยศด้วยการจัดลำดับ ซ้าย ขวา หน้า หลัง เรื่องนี้มาจากหลักการว่า ผู้มีเกียรติสูงย่อมได้สิทธิก่อนผู้น้อย และหญิงมีเกียรติภูมิสูงกว่าชายย่อมได้สิทธิก่อนชาย เมื่อนั่ง ยืน หรือเดิน ชายต้องอยู่ด้านซ้ายของหญิง เมื่อจะเข้าสถานที่หรือออกจากสถานที่ ชายต้องเปิดประตูให้หญิงก่อน เป็นต้น.

การถอนสายบัว (Curtsy) เป็นท่าที่สตรีชาวยุโรปใช้แสดงความเคารพผู้อาวุโสได้ทั่วไป แต่ไทยรับเข้ามาประยุกต์ใช้เป็นท่าสำหรับสตรีแสดงความเคารพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวลงมาถึงระดับบรมวงศ์เท่านั้น.

การเข้าเฝ้าฯ รับพระราชทานสิ่งของ การเข้าเฝ้าฯ รับพระราชทานสิ่งของใดๆ ที่มีขนาดเล็ก รวมทั้งประกาสนียบัตรและปริญญาบัตรจากพระหัตถ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวลงมาถึงเจ้านายระดับบรมวงศ์ จะรับเหมือนกับการรับสิ่งของจากมือผู้ใหญ่ทั่วไปมิได้ มีกิริยาจำเพาะ ที่เรียกว่า เอางาน สำหรับปฏิบัติเพื่อการนี้.

มารยาทในการับประทานอาหารแบบไทย

                เมื่อพัฒนามาใช้ช้อนส้อมในการรับประทานอาหารแบบไทย ก็ปรากฏว่าในโลกมีชาวไทยเพียงชาติเดี่ยวที่รับประทานอาหารด้วยช้อนส้อม โดยพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเลือกใช้ช้อนส้อมหวานของฝรั่งมารับประทานอาหารทั่วไป โดยได้ทรงจัดงานเลี้ยงอาหารแบบสากลเต็มรูปแบบขึ้นเพื่อเป็นการสาธิต แล้วหลังจากนั้น จึงทรงกำหนดให้ใช้เพียงช้อนหวานและส้อมหวานเพื่อการรับประทานอาหารไทย ซึ่งน่าจะได้ทรงพิจารณาว่า 1.คนไทยปากเล็ก ซ้อนโต๊ะของฝรั่งมีขนาดใหญ่เกิน จึงทรงเลือกใช้ช้อนหวาน 2.วิธีชีวิตไทยในการรับประทานอาหารขาดเครื่องจิ้มไม่ได้ ใช้ช้อนได้คล่องตัวเกือบทุกด้าน แต่พันผักทอดยอดต้มจิ้มน้ำพริกไม่ได้ จึงทรงกำหนดให้ใช้ส้อมหวานมาประกอบด้วย

                แต่ไม่ว่าจะมีทั้งช้อนและส้อมใช้ประกอบกันอย่างไร ในการรับประทานอาหารให้ใช้เพียงช้อนนำอาหารเข้าปากด้วยมือขวาเท่านั้น ห้ามใช้มือซ้ายนำอาหารเข้าปากเป็นอันขาด เพราะถือว่ามือขวาเป็นมือมงคล ใช้สำหรับกิจกรรมเหนือเอว และใช้มือซ้ายสำหรับกิจกรรมที่ต่ำกว่าเอว

การเลี้ยงอาหารค่ำแบบสากล

                งานเลี้ยงรับรองมีมากมายหลายประเภท ถือกันว่าการเลี้ยงอาหารค่ำเป็นงานเลี้ยงที่มีความสำคัญที่สุด เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการให้เกียรติสูงสุด และมีพิธีการมากที่สุด

                งานเลี้ยงอาหารค่ำ (seated dinner) ที่ออกบัตรเชิญถือว่าเป็นงานเลี้ยงรับรองที่จัดอย่างเป็นแบบพิธี ถ้างานใดเจ้าภาพเชิญด้วยตำแหน่ง ถือว่าเป็นงานทางการมีแบบพิธีเคร่งครัดที่สุด

                ในการจัดงานเลี้ยงทั้งปวง ถือว่าเจ้าภาพหญิงและภริยาของแขกเป็นผู้มีบทบาทสำคัญยิ่ง โดยเฉพาะภริยาของเจ้าภาพเป็นผู้รับผิดชอบและเป็นหัวใจของงานเสมอ ในการเลี้ยงอาหารค่ำแบบสากลจะมีการกำหนดที่นั่งในการเลี้ยงอาหารค่ำดังนี้

                พิธีการจัดที่นั่งตามลำดับอาวุโสในโต๊ะอาหาร การจัดที่นั่งในโต๊ะอาหารในงานเลี้ยงที่จัดอย่างเป็นแบบพิธีไม่ว่าจะจัดอย่างเป็นทางการหรือไม่เป็นทางการ มีหลักการดังต่อไปนี้ นิยมเชิญแขกชายและหญิงจำนวนเท่ากัน เพื่อจัดให้หญิงนั่งสลับกับชาย, ห้ามจัดให้หญิงนั่งปิดท้ายโต๊ะ, ไม่จัดให้คู่สมรสนั่งตรงข้ามกัน ยกเว้นเมื่อเป็นเจ้าภาพของงานนั้น, ไม่จัดให้คู่สมรสนั่งชิดกัน, ที่นั่งของเจ้าภาพ.

-บัตรเชิญอาจจะมีข้อความกำหนดบางประการ เช่น

                1.กำหนดไว้ที่มุมด้านซ้าย ว่าให้แต่งกายอย่างไร กำหนดอย่างไรต้องแต่งกายอย่างนั้น

                2.กำหนดไว้ที่มุมด้านขวา ให้ตอบการเชิญ เช่น เขียนว่า R.S.V.P.ซึ่งกำหนดให้ตอบไม่ว่าจะไปร่วมงานหรือไม่ ในกรณีนี้ ผู้ได้รับเชิญจะต้องตอบภายในเวลา 24 ชั่วโมง หรือเขียนว่า Regrets Only  หมายความว่า ถ้ารับเชิญไม่ต้องตอบ ถ้ารับเชิญไปร่วมงานไม่ได้จึงจะต้องตอบขัดข้องไป.

การจัดวางเครื่องเงิน (Silver) การวางส้อมต้องวางทางซ้าย และมีดกับช้อนทางขวาเสมอ ยกเว้นส้อมคันเล็กที่วางทางขวาสุดสำหรับอาหารจานแรกที่เป็นเครื่องแกล้ม และมีดเนยที่อยู่ขวา ในปัจจุบันนิยมวางช้อนส้อมหวานไว้เหนือจานหลัก การใช้มีด ส้อม ช้อน จะต้องหยิบใช้จากชุดที่อยู่ด้านนอกสุดเข้ามาสู่ชุดที่อยู่ด้านในสุด ตามลำดับรายการอาหาร.

การจัดวางแก้วเครื่องดื่ม บนโต๊ะอาหารมีหลายใบ วางเรียงเป็นแถวตามลำดับการบริการอาหารที่เข้าชุดกับเครื่องดื่มนั้น หรืออาจวางเป็นมุมสามเส้าหากมีแก้วเพียง 3 ใบ ที่สำคัญคือ ไม่ว่าจะวางแบบไหน แก้วน้ำต้องอยู่หัวแถว ตรงกับใบมีดสำหรับอาหารจานสุดท้าย.

มารยาทในการรับประทานอาหาร

                เมื่อพนักงานนำอาหารมาบริการ อาหารจะถูกนำมาบริการทางด้านซ้ายมือของผู้รับประทาน และถอนจานทางด้านขวาเสมอ เมื่อคนรับใช้หรือบริกรนำอาหารมาบริการ ถ้าเรากล่าวคำขอบคุณก็จะเป็นการสุภาพ แต่เมื่อบริกรมาถอนจานออกไปไม่ต้องขอบคุณ

            การปฏิเสธเครื่องดื่ม เราอาจปฏิเสธไวน์ได้โดยกล่าวปฏิเสธตรงๆ หรืออาจยกมือขึ้นใช้นิ้วแตะปากแก้วไวน์ขณะที่พนักงานกำลังจะรินไวน์ วิธีที่แนบเนียนที่สุด คือ ปล่อยให้เจ้าหน้าที่รินไวน์ประมาร 1/3 ของแก้ว แล้วเรายกนิ้วแตะขอบแก้ว เจ้าภาพจะทราบว่าเราไม่ดื่ม และทุกคนก็จะเห็นว่าเรามีไวน์แล้ว ห้ามคว่ำแก้ว เพราะเป็นการแสดงความก้าวร้าว.

แบบประเมินผลตนเองก่อนเรียน หน่วยที่ 10

1.บุคลิกภาพจำเป็นต้องพัฒนา การพัฒนาบุคลิกภาพควรจะให้บุคคลในกลุ่มใดเป็นผู้พัฒนาให้ = ให้นักออกแบบเครื่องแต่งกายเป็นผู้พัฒนาให้

2.การแต่งกายให้เหมาะสมแก่กาละของชาย ตามหลักสากลถือเอาอะไรต่อไปนี้เป็นเกณฑ์ = สำหรับประเทศไทย ในเมืองไทยซึ่งไม่หนาวอย่างยุโรป ควรใช้สีเข้มทึบไว้เสมอ

3.การแต่งกายของหญิงให้เหมาะสมกับกาละ ตามหลักสากลถืออะไรเป็นเกณฑ์ = ถือเอาความยาวของกระโปรงเป็นหลัก ไปงานกลางวันชายกระโปรงสั้น ไปงานบ่ายชายกระโปรงยาวครึ่งแข้ง ไปงานกลางคืนชายกระโปรงยาว

4.ชายสวมเครื่องแต่งกายชุดสากล เสื้อนอกกระดุมแถวเดียว มีดุม 2 เม็ด เมื่อไปร่วมงานทั่วไปต้องการความเรียบร้อย ควรจะขัดดุมเสื้อนอกอย่างไร = ขัดดุมเม็ดบนเพียงเม็ดเดียว ปล่อยเม็ดล่างไว้ไม่ต้องขัด

5.สุภาพสตรีควรใช้อัญมณีประดับกายในแต่ละครั้งไม่เกินกี่แห่ง = ไม่เกิน 5 แห่ง

6.การทักทายกันด้วยกิริยา เมื่อผู้ใหญ่รับไหว้เด็ก ผู้ใหญ่ควรประนมมือไว้ที่ไหน = ประนมมือให้ปลายนิ้วอยู่ใต้ริมฝีปาก ไม่ต่ำกว่าคาง จะได้มองเห็นเด็ก

7.การจับมือทักทายกันแบบสากลระหว่างผู้ใหญ่กับเด็ก มีวิธีปฏิบัติอย่างไร = ผู้ใหญ่เป็นฝ่ายยื่นมือให้เด็กจับ

8.การจับมือทักทายแบบสากลระหว่างหญิงกับชายมีวิธีปฏิบัติอย่างไร = หญิงเป็นฝ่ายยื่นมือให้ชายจับ

9.ผู้อาวุโสน้อยกว่า เมื่อเดินกับผู้ใหญ่ ควรเดินอย่างไร = เดินทางซ้าย เหลื่อมไปข้างหลัง 1 ก้าว นอกจากเมื่อมีภยันตรายหรือความไม่สะดวกอยู่ทางซ้ายจึงจะไปเดินทางขวาของท่าน

10.คนไทยเป็นชาติเดียวในโลกที่รับประทานอาหารด้วยช้อน-ส้อม ช้อน-ส้อม ที่ใช้คือ = ช้อนหวาน ส้อมหวาน

แบบประเมินผลตนเองหลังเรียน หน่วยที่ 10

1.โดยมารยาทั่วไป ชายจะให้เกียรติหญิงเสมอ หากหญิงและชายนั่งอยู่ในห้องหลายคน มีผู้ใหญ่ที่เป็นชายเข้ามาในห้องอย่างไม่เป็นพิธี หญิงควรจะต้อง = ไม่ต้อลุกขึ้นยืน แต่หันไปมองหรือสบตา ก้มศีรษะให้ก็พอ

2.การเข้าที่นั่งในโต๊ะอาหารต้องปฏิบัติอย่างไร = เข้าทางซ้าย ออกทางขวา

3.ที่นั่งในโต๊ะอาหาร หญิงจะนั่งสลับกับชายเสมอ ชายมีหน้าที่สนทนาและช่วยเหลือ = สุภาพสตรีที่นั่งทางด้านขวา แต่ทางด้านซ้ายบ้างตามสมควร

4.วิธีใช้ผ้าเช็ดปากที่ถูกต้องในโต๊ะอาหารแบบสากล = เหน็บไว้ที่คอ กันเปื้อนได้ดีที่สุด

5.ในงานเลี้ยงแบบนั่งโต๊ะ จานขนมปังของเราตั้งอยู่ที่ = ด้านซ้ายมือของจานอาหาร

6.ขนมปังของเราอยู่ทางซ้าย เมื่อเราจะทาน พอจะหยิบมีมือคนอื่นมาคว้าไปเสียก่อนเราควรจะทำอย่างไร = นิ่งเฉยเสียทำเป็นไม่รู้ ต้องปลงให้ได้ ไปซื้อหามากินเองในภายหลังก็ได้

7.การรับประทานอาหารด้วยช้อน-ส้อมแบบไทย = ใช้มือขวาจับส้อมนำอาหารเข้าปาก ไม่ใช้มือซ้าย

8.แก้วน้ำและแก้วไวน์อยู่ด้านบนทางขวาของเรา เมื่อเขารินไวน์แล้ว เราจะยกขึ้นต้องทำอย่างไร = รอจนกว่าเจ้าภาพเชิญให้ดื่ม ถ้าเจ้าภาพไม่เชิญห้ามดื่ม

9.ในงานเลี้ยงอาหารค่ำแบบสากล นิยมมีไวน์ให้ดื่มประกอบอาหาร ถ้าเขานำไวน์แดงมาเสิร์ฟ เราไม่ดื่มควรทำอย่างไร = ยกนิ้วแตะปากแก้ว คนเสิร์ฟจะรู้ว่าเราไม่ดื่ม

10.งานเลี้ยงอาหารแบบสากล รสชาติไม่อร่อย บนโต๊ะมีเครื่องปรุงจำกัด คือ เกลือกับพริกไทยเท่านั้น ถ้าเราต้องการพริกป่นทำอย่างไร = เขามีอะไรเตรียมไว้ให้ก็ใช้แค่นั้น อย่าเรียกร้องอะไรเป็นพิเศษ

แบบฝึกปฏิบัติข้อสอบปรนัย

1.ปัจจัยที่สร้างความประทับใจให้แก่ผู้พบเห็นได้มากที่สุดคือข้อใด = รูปลักษณ์ทางกาย

2.องค์ประกอบของบุคลิกภาพคือข้อใด = รูปลักษณ์ทางกาย ภูมิปัญญา การควบคุมอารมณ์ มารยาท

3.ข้อใดหมายถึงการมีสุขภาพดี = การรักษาสุขภาพจิตและสุขภาพกาย

4.เกณฑ์เฉลี่ยอายุของประชากรโลก ตามประกาศขององค์การอนามัยโลก คืออายุเท่าไหร่ = 69 ปี

5.ข้อใดไม่ใช่การบริหารจิตและกาย = การร้องเพลง

6.ข้อใดคือการแต่งกายให้มีเอกลักษณ์ของตนเอง = รู้จักรูปร่างของตนเองแล้วแต่งให้ออกมาดูน่าประทับใจ

7.ข้อใดคือหลังการแต่งกายที่ถูกต้อง = อ้อ รูปร่างท้วมสะโพกใหญ่ ชอบใส่เสื้อผ้าลายเป็นทางลง

8.ร่างกายจะหลั่งสารเอ็นโดรฟิน เมื่อออกกำลังกายติดต่อกันไม่น้อยกว่ากี่นาที = 30 นาที

9.ข้อใดแสดงถึงความสุภาพเรียบร้อยในการแต่งกาย = บุ๋มกลับไปอาบน้ำ ทำผม และแต่งตัวที่บ้านก่อนไปงานเลี้ยง

10.ข้อใดแสดงถึงการแต่งกายที่มีรสนิยมดี= บุ๋มไม่ชอบใช้ของแพงแต่แต่งแล้วก็ดูดี

หน่วยที่ 11 (การบริหารตนเอง)

การบริหาร หมายถึง การดำเนินการใดๆ ที่จะก่อให้เกิดผลงานให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิผลและมีประสิทธิภาพ หรือการบริหาร หมายถึง การดำเนินการและการใช้ปัจจัยในการบริหารเพื่อก่อให้เกิดผลงานเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิผลและมีประสิทธิภาพ การบริหาร คือ การใช้เทคนิคหรือวิธีการอย่างมีประสิทธิภาพที่จะใช้ปัจจัยต่างๆ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการทำงานการบริหารจะประกอบองค์ประกอบที่สำคัญดังต่อไปนี้

1.จะต้องมีจุดมุ่งหมาย หรือวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ล่วงหน้าว่าต้องการจะให้เกิดอะไรขึ้น จะต้องมีลักษณะอย่างไร และในเวลาใด 2.มีปัจจัยที่ใช้ในการบริหาร อันได้แก่ คนหรืองาน วัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือ ค่าใช้จ่าย หรืองบประมาณ และเวลา 3.มีการดำเนินการเพื่อใช้ปัจจัยในการบริหารและก่อให้เกิดผลงาน โดยการวางแผน จัดรูปงาน ประสานงาน ควบคุมงาน การสื่อข้อความ การแก้ปัญหา และการตัดสินใจในการปฏิบัติงาน การจูงใจผู้ปฏิบัติงาน การจัดการด้านการตลาด 4.ผลงานที่เกิดขึ้นจะต้องมีประสิทธิผล คือ ผลงานที่เกิดขึ้นจริงจะต้องมีลักษณะถูกต้องตรงตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ทั้งในเชิงประมาณ คุณภาพ ตรงตามเวลาที่กำหนด และตรงกับลักษณะต่างๆ 5.ผลงานที่เกิดขึ้นจะต้องมีประสิทธิภาพ มีการใช้ปัจจัยในการดำเนินการ อันได้แก่ คนหรือแรงงาน วัสดุอุปกรณ์ งบประมาณ และเวลาอย่างประหยัด เหมาะสม  ค่าของปัจจัยที่ใช้ที่ตีค่าออกมาเป็นตัวเงินจะต้องน้อยกว่าค่าของผลงานที่ตีค่าออกมาเป็นตัวเงิน

กล่าวโดยสรุป คือ การบริหารในหน่วยงานใดๆ ก็ตาม เรามักจะหมายถึงหนวยงานนั้นจะมีวัตถุประสงค์หรือลักษณะของผลงานที่จะต้องให้เกิดขึ้นไว้ล่วงหน้า.

เทคนิคการบริหารพื้นฐาน 1.การวางแผน 2.การจัดรูปงานหรือการจัดองค์กรงาน 3.การประสานงาน 4.การควบคุมงาน.

ความหมายของการบริหารตนเอง หมายถึง การดำเนินการใดๆ อันจะทำให้ตนเองสามารถที่จะปฏิบัติงาน ปฏิบัติตนเพื่อให้ได้ผลงานที่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิผลและมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย 1.จะต้องมีจุดมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ล่วงหน้า 2.มีปัจจัยที่ใช้ในการบริหารตนเอง 3.มีวิธีการใช้ปัจจัย 4.ผลสำเร็จของการบริหารตนเอง.

-การกำหนดปรัชญาชีวิตเพื่อการบริหารตนเอง ความเชื่อหรือปรัชญาชีวิตที่สำคัญๆ มีดังนี้

            1.เชื่อในความจริงที่ว่า มนุษย์ไม่สามารถที่จะเลือกที่เกิดได้

                2.เชื่อว่าคุณค่าของมนุษย์อยู่ที่ผลงานหรือผลการกระทำของตน หากต้องการเป็นคนที่มีคุณค่าตัวเอง ต่อครอบครัว ต่อองค์กร และสังคม จะต้องตระหนักและกระทำด้วยหลัก 3 ประการคือ 1.รู้ตำแหน่งของตน  2.มีหน้าที่ 3.มีความรับผิดชอบ

                3.เชื่อว่างานทุกงานมีประโยชน์และคุณค่าแก่ตนเองทั้งในปัจจุบันและในอนาคต.

คุณค่าของเวลาเวลาเป็นของมีค่า และจะต้องรู้จักบริหารเวลาและบริหารตน

                1.เวลาเป็นสิ่งนัดหมายของการกระทำของมนุษย์ในสังคม

                2.เวลาเป็นสิ่งชี้วัดความสามารถในการกระทำ หรือผลการดำเนินงานของบุคคลและของหน่วยงาน

                3.เวลาเป็นสิ่งที่ชัดวัดปรากฏการณ์ที่จะเกิดขึ้นแก่ชีวิตและสังคม.

การบริหารเวลาด้วยการปฏิบัติตนเอง วิธีการบริหารเวลาก็คือวิธีการใช้เวลาให้เกิดประโยชน์สูงสุด เกิดผลงานสูงสุดในช่วงเวลานั้นๆ วิธีการบริหารเวลาที่สำคัญที่สุดอยู่ที่บุคคลนั้นจะต้องรู้จักสร้างทัศนคติเกี่ยวกับเวลาให้ถูกต้อง เหมาะสม และควบคุมดูแลปฏิบัติตนให้เหมาะสม ซึ่งมีหลักการสำคัญดังนี้

                1.จะต้องรู้ว่างานที่จะต้องปฏิบัติแต่ละวัน แต่ละเดือน แต่ละปีมีอะไรบ้าง ต้องรู้กำหนดเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดของงาน 2.จะต้องรู้ว่างานใดเป็นงานสำคัญเรียงลำดับความสำคัญของงาน ด่วน-ไม่ด่วน3.จะต้องจัดลำดับก่อนหลังของงานที่จะต้องทำ งานน้อยใช้เวลาน้อยนำมาทำก่อน 4.ฝึกฝนให้มีสมาธิในการทำงาน 5.ฝึกฝนตนเองให้เป็นคนตรงต่อเวลา และอย่าผัดวันประกันพรุ่ง 6.ในการดำรงชีวิตหรือการปฏิบัติงานประจำวันนั้น งานที่ต้องรวบรวมข้อมูลและใช้เวลาต้องทำอย่างต่อเนื่องควบคู่ไปกับการทำงานอื่นๆ 7.ในการฝึกปฏิบัติงานใดๆ ต้องมีจุดมุ่งหมายของงาน ขั้นตอน วิธีปฏิบัติและทักษะในการปฏิบัติงาน.

การบริหารเวลาด้วยเครื่องมืออุปกรณ์ 1.การใช้อุปกรณ์สำนักงาน 2.การจัดวางโต๊ะ เก้าอี้ และอุปกรณ์ในการปฏิบัติงานให้เหมาะสม 3.การจัดแสงสว่าง 4.งานที่จะต้องใช้ความคิด

กล่าวโดยสรุป การบริหารเวลาและการปฏิบัติงานให้เกิดประสิทธิผลต้องอาศัยสิ่งที่สำคัญดังต่อไปนี้ เครื่องมือ อุปกรณ์ อาคาร สถานที่ และสภาพแวดล้อมในการทำงาน.

การเผชิญปัญหา

                ปัญหา คือ สิ่งที่เกิดขึ้นหรือคาดว่าจะเกิดขึ้นอันเบี่ยงเบนไปจากวัตถุประสงค์หรือสิ่งที่เราต้องการ ซึ่งทำให้หรืออาจจะทำให้เราได้รับความเสียหายทั้งทางตรงหรือทางอ้อม และเรามีความต้องการจะแก้ไข เมื่อเกิดปัญหาขึ้นเราจะต้องเผชิญปัญหาโดยการวิเคราะห์ดังต่อไปนี้

                1.ต้องระบุว่าเป็นปัญหาเกี่ยวกับเรื่องอะไร โดยจะต้องพิจารณาระบุให้ชัดเจน

                2.ต้องระบุให้ชัดเจนว่าวัตถุประสงค์หรือความต้องการเดิมเกี่ยวกับเรื่องที่เป็นปัญหานั้นคืออะไร

                3.ต้องระบุให้ชัดว่าขณะนี้สิ่งที่เกิดขึ้นจริงได้เบี่ยงเบนหรืออาจจะเบี่ยงเบนออกไปจากวัตถุประสงค์หรือความต้องการเดิมเป็นจำนวนเท่าใดหรืออย่างไร

                4.จะต้องระให้ชัดเจนว่าการที่สิ่งที่เกิดขึ้นจริงตามข้อ 3 เบี่ยงเบนไปจากวัตถุประสงค์เดิมตามข้อ 2 จะก่อให้เกิดผลเสียหายอย่างไร มีความร้ายแรงเพียงใด

                5.ต้องมีความตั้งใจว่าจะต้องแก้ไขปัญหาหรือแก้ไขในสิ่งที่เบี่ยงเบนตามข้อ 3 และต้องระบุให้ชัดเจนว่าจะแก่ไขให้เป็นอย่างไร.

การแก้ไขปัญหา 1.กำหนดสาเหตุของปัญหา 2.กำหนดทางแก้ไขปัญหา 3.ตัดสินใจเลือกทางแก้ไขที่เห็นว่าดีที่สุด.

กระบวนการตัดสินใจที่ดีมีองค์ประกอบอะไรบ้าง= 1.มีวัตถุประสงค์ความต้องการที่ชัดเจน 2.ระบุทางเลือกหลายๆทางเลือก 3.กำหนดเกณฑ์ที่จะเลือกที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์

การป้องกันปัญหา ปัญหาในการดำเนินชีวิตมี 3 ประเภท มีแนวทางในการป้องกันปัญหาดังนี้

                1.ประเภทขัดข้อง เรื้อรัง ไม่ได้แก้ไข 2.ปัญหาประเภทพัฒนา คือ ทำอย่างไรจะทำให้ดีขึ้นกว่าเดิม 3.ปัญหาประเภทป้องกัน คือ ในสภาพปัจจุบันมีสิ่งบอกเหตุว่าถ้าไม่แก้ไขปัญหานั้นก่อนก็จะมีปัญหาทั้งในปัจจุบันและอนาคต

                หลักในการป้องกันปัญหาคือ 1.ต้องกำหนดวัตถุประสงค์ในเรื่องสำคัญๆ ให้ชัดเจน 2.ติดตามดูแลปัจจัยภายนอกและภายในที่จะมีผลกระทบทางลบต่อวัตถุประสงค์ของเรา 3.พิจารณาความรุนแรงของผลกระทบ 4.หาสาเหตุผลกระทบทางลบ 5.หาทางแก้ไขหลายๆทาง 6.ตัดสินใจเลือกทางแก้ไข ดำเนินการแก้ไขป้องกันอย่างจริงจัง.

การหารายได้หลักสำคัญของการหารายได้ ได้แก่

                1.เมื่อทำงานใดจะต้องทำด้วยความตั้งใจขยันขันแข็งเพื่อให้ได้ผลงานที่ดี เมื่อผลงานดีแล้ว ผลตอบแทนย่อมดีด้วย

                2.เมื่อมีเวลา มีโอกาสจงหารายได้เพิ่มเติมตามที่ตนมีความรู้ มีความถนัดโดยใช้เวลาที่นอกเหนือจากงานประจำ

                3.ทำงานและเพิ่มพูนรายได้ของตนในทางที่ถูกต้องและสุจริต.

การใช้จ่ายและการเก็บรักษา การเก็บออมรายได้มีหลักดังนี้

                1.ห้ามแข่งขันกันในเรื่องทรัพย์สิน การใช้จ่าย การมีทรัพย์สินเป็นเรื่องของแต่ละบุคคล หากเกิดการแข่งขันกันจะทำให้มีปัญหาการเงิน

                2.ฝึกฝนตนเองให้มีความเป็นอยู่พอเพียง

                3.รายได้ที่หามาได้จะต้องแบ่งเพื่อเก็บออม

4.ควรรู้จักเก็บออมตามรายได้ที่มีและเก็บรักษาไว้ในที่ปลอดภัย

การบริหารหนี้สิน หนี้สิน คือ การใช้ทรัพย์สินที่หยิบยืมมา

                1.ต้องตั้งใจว่าหากไม่จำเป็นแล้วจะไม่ยอมเป็นหนี้สิน

                2.หากจำเป็นจะต้องเป็นหนี้สิน เช่น ต้องกู้เงินเพื่อซื้อที่ดิน สร้างบ้าน ผ่อนรถ จะต้องมั่นใจสิ่งนั้นๆ มีความจำเป็นแก่ชีวิตอย่างแท้จริง

                3.ต้องมีรายได้และการกันรายได้ให้เพียงพอที่จะชำระหนี้สินแต่ละงวด หรือตามกำหนดเวลา

                4.รู้จักใช้บัตรเครดิตอย่างถูกต้อง.

                แบบประเมินผลตนเองก่อนเรียน หน่วยที่ 11

1.จุดเริ่มต้นของการบริหารงานคือข้อใด = การกำหนดวัตถุประสงค์

2.การบริหารงานคืออะไร = การใช้ปัจจัยเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์

3.การบริหารตนเองมีความสำคัญอย่างไร = ทำให้บรรลุเป้าหมายชีวิตด้วยความเรียบร้อย

4.ปรัชญาในการดำเนินชีวิตมีความสำคัญต่อการบริหารตนเองเพราะเหตุใด = เป็นแนวทางในการบริหารตนเอง

5.มนุษย์จะประสบความสำเร็จได้ต้องมีทั้งความตั้งใจ และอดทน หมายถึงอะไร = เมื่อมีความตั้งใจพร้อมจะฝ่าฟันอุปสรรค

6.ค่าของคนอยู่ที่สิ่งใด = ผลงานที่ให้ประโยชน์แก่ผู้อื่น

7.เวลาเป็นปัจจัยสำคัญในการบริหารเพราะเหตุใด = เวลาเป็นเงื่อนไขในการทำงานของคนและสังคม

8.ปัญหาของมนุษย์คือข้อใด = การไม่บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้

9.การตัดสินใจหมายถึงข้อใด = การเลือกทางแก้ไขที่ดีที่สุด

10.ความเป็นอยู่อย่างพอเพียง หมายความว่าอย่างไร = การดำรงชีวิตด้วยความประหยัด ระมัดระวัง

แบบประเมินผลตนเองหลังเรียน หน่วยที่ 11

1.การบริหารงานคืออะไร = การดำเนินการเพื่อใช้ปัจจัยการบริหารเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามที่กำหนดไว้

2.การบริหารตนเองหมายถึงอะไร = การดำเนินการที่จะทำให้ตนเองสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิผล และมีประสิทธิภาพ

3.ความมีประสิทธิผลหมายถึงอะไร = การได้ผลงานตรงตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้

4.ความมีประสิทธิภาพหมายถึงอะไร = การได้ผลงานตามเป้าหมายโดยมีความประหยัดและคนพึงพอใจ

5.มนุษย์จะต้องรู้ตำแหน่ง รู้หน้าที่ และทำหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ = การตั้งใจทำงานให้ดีที่สุดพร้อมรับผิดชอบจากผลของการกระทำ

6.การบริหารเวลาหมายถึงอะไร = การใช้เวลาให้เกิดประโยชน์สูงสุดในช่วงเวลานั้น

7.หลักการบริหารเวลาที่สำคัญประกอบด้วยอะไรบ้าง = หลักการปฏิบัติงานและการใช้เครื่องมืออุปกรณ์

8.สิ่งที่ถือว่าเป็นปัญหาจะต้องมีองค์ประกอบอย่างไร = มีการระบุตัวปัญหา วัตถุประสงค์เดิม การเบี่ยงเบน ความเสียหายและความตั้งใจจะแก้ไข

9.ทางแก้ไขปัญหาที่เคยใช้ได้ผลในอดีตอาจจะใช้แก้ปัญหาในปัจจุบันไม่ได้เนื่องจากสาเหตุใด = สภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไป

10.การใช้บัตรเครดิตที่ถูกต้องควรจะเป็นการใช้เพื่ออะไร = ใช้แทนการพกพาเงินสด.

หน่วยที่ 12 (การเจรจาต่อรองในชีวิตประจำวัน)

การเจรจาต่อรองเป็นกระบวนการที่มนุษย์ดำเนินในกิจกรรมต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาและบริหารความสัมพันธ์ของมนุษย์ด้วยกัน การเจรจาต่อรองที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันของบุคคลทั่วไปได้แก่ การเจรจาต่อรองระหว่างสามีและภรรยา ระหว่างพ่อแม่และลูก ระหว่างเพื่อน ระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง และระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายและการดำเนินงานด้านธุรกิจอื่นๆ

การเจรจาต่อรองอาจจะไม่ได้ผลที่ดีที่สุดเสมอไป ทั้งนี้ส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับการใช้จังหวะเวลาที่เหมาะสม และการเข้าใจในประเด็นของความขัดแย้งเพื่อคัดเลือกกลยุทธ์ในการเจรจาต่อรองให้เหมาะสม

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเจรจาต่อรองได้แก่ สภาพแวดล้อมของการเจรจาต่อรอง ลักษณะของผู้เจรจาต่อรอง กระบวนการเจรจาต่อรอง กลยุทธ์และยุทธวิธีในการเจรจาต่อรอง

การเจรจาต่อรองเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ เป็นการหลอมรวมเอาศาสตร์ต่างๆ เข้าไว้ด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นจิตวิทยา การสื่อสาร การใช้ภาษา และอื่นๆ การเจรจาต่อรองเป็นลำดับขั้นตอน เป็นกระบวนการที่ต้องมีการศึกษา การวิเคราะห์ การใช้ภาษา การสังเคราะห์ โดยมีหลัก แนวคิด และแนวทฤษฏีต่างๆ ที่เกิดขึ้น เช่น เป็นการเจรจาต่อรองทางการค้า ทางการทูต การทหาร ฯลฯ การเจรจาต่อรองยังเป็นศาสตร์สำคัญที่ต้องอาศัยการตัดสินใจ การศึกษาค้นคว้า ซึ่งผู้ที่เข้าใจในเรื่องของการเจรจาต่อรองสามารถสามารถนำศาสตร์การเจรจาต่อรองไปใช้ในการเป็นมืออาชีพทางด้านการเจรจาต่อรอง ซึ่งเป็นอาชีพหนึ่งที่สำคัญได้ด้วย

การเจรจาต่อรองยังเป็นศิลป์ด้วย ในชีวิตประจำวันของมนุษย์ การเจรจาต่อรองนั้นเป็นศิลปะของการให้และการรับ ศิลปะของการสร้างความสัมพันธ์ ศิลปะของการสื่อสาร ศิลปะในการใช้วิธีการและกลยุทธ์เพื่อบรรลุถึงวัตถุประสงค์ ศิลปะในการสร้างความสัมพันธ์ระยะยาวกับผู้คนและมิตรสหาย การที่การเจรจาต่อรองมีลักษณะเป็นศิลป์นั้น จึงทำให้มีหลักสำคัญประการหนึ่งที่ต้องระลึกไว้ก็คือ ไม่มีสูตรสำเร็จในการเจรจาต่อรองโดยทั่วไป ซึ่งหมายถึง การเจรจาต่อรองต้องมีการปรับ มีลักษณะของความยืดหยุ่น แนวทางปฏิบัติที่เคยเจรจาประสบผลสำเร็จอาจจะต้องได้รับการปรับหรือการเพิ่มเติม หรือตัดออกไปตามสถานการณ์

            การเจรจาต่อรองเป็นศิลปะทั้งในแง่ของศิลปะในการสื่อสาร การวางแผน การจัดการ การควบคุมอารมณ์ความรู้สึก ลักษณะศิลปะในแง่ความเข้าใจถึงความแตกต่างของปัจเจกบุคคลที่ไม่เหมือนกัน ศิลปะในแง่ของการใช้กลยุทธ์และยุทธวิธีต่างๆ ในการสื่อสาร การมุ่งสู่วัตถุประสงค์ การบริหารกระบวนการเจรจา การบริหารความสัมพันธ์และการบริหารพฤติกรรมที่อาจแสดงออกมา ดังนั้นทำให้การเจรจาต่อรองเป็นศิลปะที่สามารถเรียนรู้กันได้ สรุปสั้นๆ ก็คือ การเจรจาต่อรองต้องมี การวางแผน มีการนำไปปฏิบัติ และมีการประเมินผลควบคุม

                มีหลายเหตุผลหลายประการที่ทำให้บุคคลพบว่าการเจรจาต่อรองไม่เป็นที่น่าชื่นชม หรือมักจะเชื่อว่าควรหลีกเลี่ยง หรือเกิดความกลัวที่จะดำเนินการเจรจาต่อรอง

                เหตุผลที่ 1 สืบเนื่องมาจากพื้นฐานของการเจรจาต่อรองนั้นอยู่ในรูปของความขัดแย้ง

                เหตุผลที่ 2 ที่ทำให้บุคคลโดยทั่วไปมีความกลัวในการเจราต่อรอง คือ บุคคลหรือปัจเจกบุคคลนั้นมีความคิดว่าการที่จะประสบผลสำเร็จในการเจรจาต่อรองนั้นต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถในการจูงใจ ด้านวาจา หรือเป็นนักพูดที่พูดคล่อง บุคคลโดยทั่วไปก็ไม่ได้มองตนเองว่ามีทักษะต่างๆ เช่น ทักษะการวิเคราะห์ สังเคราะห์ ทักษะการตรวจสอบวินิจฉัยปัญหา ทักษะการคัดเลือกกลยุทธ์และวิธีการเจรจาต่อรองที่เหมาะสม และมักจะต้องการทักษะนั้นๆ ได้ ทั้งๆที่ตนเองสามารถที่จะสร้างหรือพัฒนาทักษะดังกล่าวได้.

                สาเหตุที่บุคคลกลัวการเจรจาต่อรอง= เพราะว่ามองว่าการเจรจาต่อรองเป็นความขัดแย้ง และคิดว่าต้องเป็นนักพูดที่คล่องแคล่วเท่านั้นจึงจะสามารถทำการเจรจาต่อรองได้.

นิยามและองค์ประกอบของการเจรจาต่อรอง

                การเจรจาต่อรองเป็นกระบวนการแห่งการเผชิญหน้า และการให้ข้อเสนอและการรับข้อเสนอต่างๆ

ศาสตราจารย์คาสส์ (Casse) ได้ให้ความหมายของการเจรจาต่อรองว่า เป็นกระบวนการซึ่งปัจเจกบุคคลพยายามที่จะโน้มน้าว จูงใจ หรือเชื้อเชิญปัจเจกบุคคลอื่นเพื่อเปลี่ยนความคิดหรือพฤติกรรม.

                การเจรจาต่อรองเป็นวิธีการที่ทำให้เกิดผลสำเร็จ, การเจรจาต่อรองคือการดำเนินงานให้ได้สิ่งที่ต้องการโดยต้องอาศัยผู้อื่น, การเจรจาต่อรองหมายถึงการสื่อความหมายโดยมีวัตถุประสงค์ที่จำเพาะเจาะจง, การเจรจาต่อรองหมายถึงการปรึกษาหรือเพื่อที่จะบรรลุถึงข้อตกลงในอันที่จะบรรลุความต้องการของทั้ง 2 ฝ่าย หรือมากกว่า, การเจรจาต่อรองหมายถึงกระบวนการต่างๆ ที่จะทำให้เกิดอิทธิพลต่อพฤติกรรมของบุคคลอื่นหรือคู่เจรจาต่อรอง, การเจรจาต่อรองหมายถึง กระบวนการก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านความสัมพันธ์ โดยเฉพาะการสร้างความสัมพันธ์ให้เกิดขึ้นในระยะยาว.

การเจรจาต่อรองและการต่อรอง

                การต่อรอง มีความหมายในลักษณะของการแข่งขันหรือการต่อรองเพื่อให้ผลประโยชน์ต่อตนเองมากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ซึ่งโดยปกติแล้วผลประโยชน์ที่ตัวเองได้รับมากขึ้นก็คือค่าใช้จ่ายของอีกฝ่ายหนึ่ง การต่อรองในบางครั้งจะหมายถึงการเจรจาต่อรองที่มีลักษณะฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งชนะและอีกฝ่ายหนึ่งแพ้

                ในทางตรงกันข้าม การเจรจาต่อรองนั้น หมายถึง การต่อรองเชิงบูรณาการ ซึ่งตรงข้ามกับการต่อรองในเชิงแข่งขัน การเจรจาต่อรองเชิงบูรณาการ หมายถึง การเจรจาต่อรองที่ทั้ง 2 ฝ่ายชนะ (win –wiin negotiation) โดยทั้งสองฝ่ายหรือทุกฝ่ายสามารถบรรลุถึงผลลัพธ์ด้านผลประโยชน์ที่น่าดึงดูดใจ และมีความเท่าเทียมกัน กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ทุกๆคนชนะ การเจรจาต่อรองแบบนี้จะมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดอย่างมากกับวิธีการแก้ไขปัญหา ซึ่งทั้ง 2 ฝ่าย หรือทุกฝ่ายที่เข้าไปเกี่ยวข้องนั้นได้รับรู้ถึงกระบวนการในการเจรจาต่อรองว่า การเจรจาต่อรองนั้นเป็นกระบวนการที่จะค้นหาคำตอบต่อปัญหาต่างๆ ร่วมกัน.

ลักษณะบางประการของการเจรจาต่อรองขั้นพื้นฐานมีดังต่อไปนี้

                1.มีกระแสไหลทางด้านข้อมูลสารสนเทศ 2.มีลักษณะของการเสาะหาคำตอบ 3.ผู้ที่เข้าร่วมในการเจรจาต่อรองนั้นเข้าใจว่าพวกเขามีวัตถุประสงค์ร่วมกันและมีวัตถุประสงค์ที่ขัดแย้งกันด้วย 4.เพื่อบรรลุ 3 ข้อแรกดังกล่าวข้างต้น (ทั้ง 2 ฝ่ายหรือทุกฝ่ายที่เข้าร่วมการเจรจาต่อรองนั้นต้องเข้าร่วมอย่างจริงใจในอันที่จะเข้าใจในทุกแง่มุมมองและทรรศนะของบุคคลอื่น)

จังหวะเวลาที่เหมาะสมในการเจรจาต่อรอง เมื่อไรที่จะดำเนินการเจรจาต่อรอง

                ศาสตราจารย์เบอร์ลิว และไรเดอร์ ได้กล่าวไว้ว่า การเจรจาต่อรองนั้นอาจจะไม่ได้ผลที่ดีที่สุดเสมอไปในการที่จะดำเนินการใดๆ ทั้งนี้ขึ้นกับสถานการณ์ และจังหวะเวลา รวมทั้งกลยุทธ์ที่ใช้ ซึ่งในบางครั้งกลยุทธ์ที่ดีที่สุดอาจจะเป็นกลยุทธ์ที่จะเอา หรือไม่เอา หรือจะดำเนินหรือไม่ดำเนินการเจรจา หรือทิ้ง รวมทั้งบางครั้งอาจมีการต่อรอง และในบางโอกาสก็อาจจะดำเนินการเจรจาต่อรอง ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหา วิธิการหรือการดำเนินการที่เหมาะสมที่สุดจะขึ้นอยู่กับปัญหา เวลา หรือสถานการณ์ที่เหมาะสม

                นอกจากนี้ จังหวะเวลาที่เหมาะสมในการเจรจาต่อรองว่าเมื่อไรที่จำดำเนินการเจรจาต่อรองนั้นขึ้นอยู่กับสถานการณ์การเจรจาต่อรอง ซึ่งมีลักษณะดังต่อไปนี้

                1.คู่เจรจาต่อรองที่ร่วมเจรจาต่อรองตั้งแต่ 2 ฝ่ายหรือมากกว่านั้น ต้องตัดสินใจเกี่ยวกับเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ต่างๆ ของกันและกัน

                2.ผู้ที่เข้าร่วมเจรจาต่อรองต้องทุ่มเทเอาจริงเอาจังไปสู่วิธีการ (ในเชิงสันติ) สำหรับการแก้ไขข้อขัดแย้งต่างๆ

                3.ไม่มีวิธีการที่ชัดเจนหรือวิธีการที่กำหนดหรือสร้างขึ้นมา นั่นคือไม่มีสูตรสำเร็จสำหรับการตัดสินใจในการเจรจาต่อรอง

เมื่อไรที่บุคคลควรทำการเจรจาต่อรอง = บุคคลต่างๆ ควรจะเจรจาต่อรองในสิ่งนั้น เมื่อสิ่งนั้นมีมูลค่าของการแลกเปลี่ยนหรือมีคุณค่าของความสัมพันธ์สูงพอที่จะเจรจา.

ความขัดแย้งในฐานะที่เป็นทั้งความท้าทายและโอกาส

                ความท้าทายของบุคคลหนึ่งคือสามารถทำการหลอมรวมเอาความขัดแย้งให้กลายไปเป็นรูปแบบที่มีลักษณะสร้างสรรค์ โดยพิจารณาความขัดแย้งว่าเป็นสิ่งที่ปกคลุม หรือฉาบผิว หรือปกปิดประเด็นต่างๆ ที่สำคัญๆ ในการเจรจาต่อรองเพื่อจัดการความขัดแย้งให้มีประสิทธิผล จำเป็นต้องเข้าใจประเด็นของความขัดแย้งที่มีความสัมพันธ์กัน 6 กลุ่ม ดังต่อไปนี้คือ

                1.ประเด็นด้านแหล่งที่มาของความขัดแย้ง การกำหนดแหล่งของความขัดแย้งให้ถูกต้องให้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ โดยต้องตั้งคำถามสำคัญ เช่น ชนิดของความขัดแย้งให้ถูกต้องให้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ โดยต้องตั้งตั้งคำถามสำคัญ เช่น ชนิดของความขัดแย้งคืออะไร มีผู้ใดเข้าไปเกี่ยวข้อง ผลลัพธ์ที่ปรารถนาที่ไม่สามารถสอดคล้องซึ่งกันในระหว่างฝ่ายต่างๆ คืออะไร แหล่งของความขัดแย้งนั้นเป็นแหล่งของความขัดแย้งที่แท้จริงหรือมีแหล่งของความขัดแย้งที่อยู่เบื้องหลังปิดบังซ่อนเร้นอื่นๆ อยู่อีกหรือไม่

                2.ประเด็นด้านเนื้อหาสาระ

                3.ประเด็นด้านอำนาจ บุคคลจะต้องถามอยู่ตลอดเวลาว่าสมดลของอำนาจในความขัดแย้งคืออะไร โดยทั่วไปแล้วมีปัจจัยหลายๆ ประการซึ่งมีผลกระทบต่อสมดลอำนาจดังกล่าวดังต่อไปนี้ เวลา, เงินหรือการเงิน, ความรู้และทักษะ, ข้อมูลสารสนเทศ, อำนาจหน้าที่, เครือข่าย

                4.ประเด็นด้านปฏิกิริยา คำถามที่สำคัญที่นักเจรจาต่อรองจะต้องคำนึงอยู่ตลอดเวลาที่เกี่ยวกับประเด็นด้านปฏิกิริยานี้คือ ผู้ที่เข้าร่วมในการเจรจาต่อรองนั้นมีปฏิกิริยานี้คือ ผู้ที่เข้าร่วมในการเจรจาต่อรองนั้นมีปฏิกิริยาต่อความความขัดแย้งอย่างไร มีปฏิกิริยาในแง่ของความกลัว ความเกลียด ความตื่นเต้น หรือความมีเหตุผลอย่างไร

                5.ประเด็นด้านกลยุทธ์

                6.ประเด็นการผลลัพธ์ สิ่งที่นักเจรจาต่อรองมักจะดำเนินคือ ต้องกำหนดข้อเสนอการเจรจาต่อรองบางประการ ว่าจะกำหนดอย่างไร กำหนดอะไร ถ้านักเจรจาต่อรองไม่ได้มีอำนาจทั้งหมดและไม่ได้มีทรัพยากรทั้งหมด ดังนั้น จึงมีความสำคัญที่จะต้องกำหนดผลลัพธ์ขั้นต่ำที่ยอมรับได้หรือเรียกกันว่า บอททอมไลน์ (Bottom line) หรือสิ่งที่ต้องการอันเป็นที่ยอมรับต่ำสุด ก่อนที่จะมีการเจรจาต่อรอง ถ้านักเจรจาต่อรองไม่สามารถกำหนดผลลัพธ์ที่ยอมรับได้ขั้นต่ำ นักเจรจาต่อรองอาจจะพบว่าตนเองอยู่ในอันตรายระหว่างการเจรจาต่อรอง และอาจทำให้สูญเสียแนวทางหรือความเข้าใจอย่างถ่องแท้ซึ่งเป็นสิ่งที่นักเจรจาต่อรองไม่สามารถยอมรับได้.

สภาพแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อการเจรจาต่อรองแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ 1.สภาพแวดล้อมที่มีผลกระทบโดยทั่วไปต่อการเจรจาต่อรอง 2.สภาพแวดล้อมที่มีผลกระทบโดยตรงต่อการเจรจาต่อรอง

1.สภาพแวดล้อมที่มีผลกระทบโดยทั่วไปต่อการเจรจาต่อรอง สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ, สภาพแวดล้อมทางกฎหมาย, สภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรม

2.สภาพแวดล้อมที่มีผลกระทบโดยตรงต่อการเจรจาต่อรอง จำนวนผู้เจรจารอบเวลา, สมดุลแห่งอำนาจ, ผลประโยชน์ของผู้เจรจา, ลักษณะความซ้ำซ้อนของประเด็นต่างๆ, ความชัดเจนของขอบข่ายทางด้านความถูกต้องตามกฎหมาย, ทางเลือกที่จะหลีกเลี่ยงหรือดำเนินการเจรจาต่อรองต่อไป.

ลักษณะของนักเจรจาต่อรอง

                1.จำนวนของผู้เจรจาต่อรอง

2.ผู้เจรจาต่อรองเป็นตัวแทนของใคร  ผู้เจรจาต่อรองที่เป็นตัวแทนสาธารณะจะมีความคิดคำนึง หรือการพิจารณาที่แตกต่างอย่างมาก เมื่อเปรียบเทียบกับผู้เจรจาต่อรองที่เป็นตัวแทนจากบุคคลหรือเอกชน การเจรจาต่อรองก็ยังมีทางเลือกมากมายที่จะไม่ดำเนินการเจรจาต่อรองต่อไป ผู้เจรจาสามารถหยุดการเจรจาต่อรองได้อย่างง่ายดาย ในทางตรงกันข้าม ทางเลือกดังกล่าวจะไม่สามารถมีได้ในกรณีที่มีการเจรจาต่อรองกับสาธารณะ

3.คุณลักษณะด้านบุคลิกภาพ เป็นผู้ที่ชอบออกสังคม, เป็นผู้ที่มีประสบการณ์, ความเป็นลักษณะเป็นสากล, เป็นผู้ที่มุ่งความสำเร็จ, เป็นผู้ที่มีค่านิยมที่มุ่งประสิทธิภาพ.

นักเจรจาต่อรองต้องรำลึกไว้ว่าบุคคลที่สาม หรือ Third Parties นั้นมีส่วนเข้ามาเกี่ยวข้องซึ่งบุคคลที่สามนี้มีอิทธิพลต่อกระบวนการเจรจาต่อรอง ทั้งนี้เนื่องจากมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน ซึ่งบ่อยครั้งที่บุคคลที่สามที่เข้าเกี่ยวข้องจะมีอิทธิพลต่อคู่ต่อรอง

คุณลักษณะของผู้เจรจานั้นจะครอบคลุมถึงประเด็นต่อไปนี้ 1.จำนวนของผู้เจรจาต่อรอง 2.ผู้เจรจาต่อรองนั้นเป็นตัวแทนของใคร 3.ลักษณะทางบุคลิกภาพ 4.ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล.

กระบวนการเจรจาต่อรอง สามารถแบ่งออกเป็นขั้นตอนตามลักษณะของอักษร ABCDE ดังต่อไปนี้

                1.วิเคราะห์ (Analyze) เพื่อเตรียมรากฐานหรือพื้นฐานสำหรับการเจรจาต่อรอง

2.สร้างความสัมพันธ์ (Build relationship) เป็นการวางแผนการสร้างบรรยากาศที่ทำให้เกิดสภาวะให้ทั้งสองฝ่ายชนะ (win-win climate) เพื่อสร้างไว้วางใจ โดยแสดงให้เห็นถึงความเชื่อหรือมุมมองที่เหมาะสม

3.สื่อสาร (Communication) เพื่อทำให้ประเด็นกระจ่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น และกำหนดขอบข่ายของการตกลงและการไม่ตกลงให้ชัดเจน

4.อภิปราย (Discuss) เพื่อสำรวจคำตอบที่เป็นทางเลือกและเคลื่อนไปสู่การตกลงของการเจรจาต่อรอง

5.สิ้นสุด (End) เพื่อมุ่งเสาะหาการปิดการเจรจาต่อรอง.

-ทักษะการเตรียมการและวางแผนนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดของคนที่เกี่ยวข้องกับการเจรจาต่อรอง และเป็นลักษณะที่สำคัญมากที่สุดของนักเจรจาต่อรอง.

กลยุทธ์และยุทธวิธีการเจรจาต่อรอง

                1.กลยุทธ์การต่อสู้ หมายถึง ความพยายามใดก็ตามที่จะแก้ไขความขัดแย้งที่อาศัยผลประโยชน์ของตนเองโดยปราศจากการคิดคำนึงผลประโยชน์ของฝ่ายอื่น บุคคลที่ใช้กลยุทธ์แบบนี้จะชักจูงหรือจูงให้ฝ่ายอื่นยอมจำนนต่อยุทธวิธีที่นำมาใช้เจรจา ยุทธวิธีแบบนี้ได้แก่ การขู่ การลงโทษ การใช้กลยุทธ์แบบนี้เป็นการแก้ไขความขัดแย้งโดยปราศจากการเห็นชอบหรือการยอมรับของฝ่ายอื่นๆ

                2.กลยุทธ์การทำให้ราบรื่น กลยุทธ์แบบนี้เกี่ยวข้องกับการที่นักเจรจาต่อรองฝ่ายหนึ่งมีแรงบันดาลใจค่อนข้างต่ำหรือมีความทะเยอทะยานค่อนข้างต่ำ กลยุทธ์การทำให้การเจรจาต่อรองราบรื่นนั้นอาจพิจารณาได้ว่าเป็นกลยุทธ์ที่ให้ฝ่ายหนึ่งสูญเสีย อีกฝ่ายหนึ่งชนะ (Lose-win-Scenario)

                3.กลยุทธ์การหลีกเลี่ยง หรือกลยุทธ์การถอนตัว หรือกลยุทธ์แห่งความเฉื่อยฉา

                4.กลยุทธ์การต่อรอง เกี่ยวข้องกับการตระหนักถึงผลประโยชน์ของคู่เจรจาต่อรอง หรือของฝ่ายอื่นที่เข้าร่วมในการเจรจาต่อรอง และมุ่งดำเนินการไปสู่การต่อรองที่ให้ผลค่อนข้างเท่าเทียบกัน กลยุทธ์การต่อรองมีทัศนคติที่ว่า เราทั้ง 2 ฝ่ายชนะบางอย่างและสูญเสียบางอย่าง

                5.กลยุทธ์การแก้ไขปัญหา เกี่ยวข้องกับการให้ความสำคัญหรือพิจารณาทั้งผลประโยชน์ของตนเองและผลประโยชน์ของผู้อื่น และให้ความสำคัญทั้งผลประโยชน์ของตนเองสูงและผลประโยชน์ของผู้อื่นสูง กลยุทธแบบนี้บ่อยครั้งจะมีความสัมพันธ์กับผลลัพธ์ที่เป็นเชิงบวกหรือทำให้เกิดสถานการณ์ที่เรียกกันว่า ผู้เข้าร่วมในการเจรจาต่อรองทุกฝ่ายชนะ (win-win-situations)

ยุทธวิธีในการเจรจาต่อรอง

                1.ยุทธวิธีที่ใช้วาจา ยุทธวิธีการให้สัญญา, ยุทธิวิธีขู่, ยุทธวิธีการเสนอแนะ, ยุทธวิธีการเตือน, ยุทธวิธีการให้รางวัล, ยุทธวิธีการทำโทษ, ยุทธวิธีการใช้จุดเว้าวอนที่เป็นบรรทัดฐานในเชิงบวก, ยุทธวิธีจูงใจที่อาศัยบรรทัดฐานในเชิงลบ, ยุทธวิธีการเปิดเผยตนเอง, ยุทธวิธีการตั้งคำถาม, ยุทธวิธีคำสั่ง

                2.ยุทธวิธีที่ไม่ใช่วาจา ได้แก่ ความเงียบ, การเลื่อมล้ำกันของการสนทนา, การจ้องหน้า, การสัมผัส.

ยุทธวิธีลูกไม้สกปรก (Dirty Tricks) หมายถึง ยุทธวิธีที่ฝ่ายหนึ่งดำเนินต่ออีกฝ่ายหนึ่งเพื่อให้ฝ่ายของตนเองได้รับผลประโยชน์และอีกฝ่ายหนึ่งตกอยู่ในเบี้ยล่าง หรือสูญเสียผลประโยชน์ ซึ่งอาจจะมีการใช้สงครามจิตวิทยาเป็นกลเม็ดที่อยู่ในส่วนหนึ่งของการเจรจาต่อรองเชิงแข่งขัน

นักเจรจาต่อรองสามารถลดการใช้ยุทธวิธีลูกไม้สกปรกโดย

                1.ไม่ดำเนินการใช้แต่อย่างใด 2.ตระหนักถึงยุทธวิธีลูกไม้สกปรก เมื่อคู่เจรจาต่อรองนั้นใช้ยุทธวิธีสกปรกอย่างเปิดเผย เช่น กำหนดเกณฑ์ในการเจรจาต่อรอง 3.เดินออกจากการเจรจาต่อรอง ถ้าคู่เจรจาต่อรองอีกฝ่ายหนึ่งปฏิเสธที่จะใช้กลยุทธ์การเจรจาต่อรองที่มีหลักการ 4.ตระหนักว่ายุทธวิธีลูกไม้สกปรกอาจเป็นที่ยอมรับสำหรับฝ่ายหนึ่ง แต่อาจจะไม่เป็นที่ยอมรับของอีกฝ่ายหนึ่ง

การหลีกเลี่ยงใช้ยุทธวิธีลูกไม้สกปรกนั้นมีความซับซ้อนอย่างมาก ยุทธวิธีลูกไม้สกปรกประกอบด้วย

                1.การหลอกลวงที่ตั้งใจหรือจงใจ เช่น การใช้ข้อมูลที่เป็นเท็จหรือหลอกลวง ใช้อำนาจหน้าที่ที่กำกวมไม่ชัดเจน การใช้ความตั้งใจที่น่าสงสัย

                2.การใช้วิธีสงครามจิตวิทยา หมายถึง วิธีที่ออกแบบมาเพื่อให้คู่เจรจาต่อรองไม่สบายใจหรือไม่สะดวกในการเจรจาต่อรอง ทำให้เกิดความอึดอัด ทำให้อีกฝ่ายหนึ่งปรารถนาที่จะเจรจาต่อรองให้สิ้นสุดเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ เช่น การทำให้คู่เจรจาต่อรองเครียด, ห้องเย็นเกินไปหรือร้อนเกินไป หรือการโจมตีส่วนบุคคล เช่น ให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับเสื้อผ้า หรือสภาพต่างๆ หรือดูหมิ่นไหวพริบเชาว์ปัญญา

                3.ยุทธวิธีสร้างแรงกดดันในเชิงตำแหน่ง หมายถึง ยุทธวิธีการเจรจาต่อรองที่ออกแบบเพื่อสร้างกรอบ หรือสร้างโครงสร้างให้กับสถานการณ์หนึ่งเพื่อที่ว่าฝ่ายเจรจาฝ่ายหนึ่งสามารถที่จะให้หรือทำให้เกิดข้อเสนอได้อย่างมีประสิทธิภาพ.

แบบประเมินผลตนเองก่อนเรียนหน่วยที่ 12

1.ถ้าท่านเป็นโสดและไม่ทำงาน การเจรจาต่อรองที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันที่ท่านหลีกหนีไม่พ้นคือ = การเจรจาต่อรองระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย

2.การเจรจาต่อรองเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ ข้อใดต่อไปนี้ใช้ความเป็นศาสตร์มากที่สุด = การใช้ภาษา

3.ข้อใดไม่ใช่องค์ประกอบของการเจรจาต่อรอง = มีฝ่ายหนึ่งฝ่ายขึ้นไป

4.เมื่อไรที่ควรดำเนินการเจรจาต่อรอง = เมื่อมูลค่าการแลกเปลี่ยนมีสูง

5.ประเด็นความขัดแย้งข้อใดเป็นประเด็นด้านปฏิกิริยา = ความกลัว

6.ข้อใดเป็นสภาพแวดล้อมโดยทั่วไปของการเจรจาต่อรอง = เศรษฐกิจ

7.กระบวนการเจรจาต่อรองเริ่มต้นที่ขั้นตอนใด = วิเคราะห์

8.กลยุทธ์สำหรับการจัดการกับความขัดแย้งข้อใดที่ช่วยสนองความต้องการทั้งของตนเองและคู่เจรจาได้สูงสุด = กลยุทธ์การแก้ไขปัญหา

9.ข้อใดเป็นยุทธวิธีการเจรจาต่อรองที่ไม่ใช่วาจา = จ้องหน้า

10.ข้อใดเป็นยุทธวิธีลูกไม้สกปรก = การทำให้อุณหภูมิห้องเจรจาเย็นเกินไปหรือร้อนเกินไป.

แบบประเมินผลตนเองหลังเรียน หน่วยที่ 12

1.การเจรจาต่อรองข้อใดที่ห่างไกลจากชีวิตประจำวันของผู้คนทั่วไปมากที่สุด = การเจรจาต่อรองทางการทูต

2.การเจรจาต่อรองเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ ข้อใดต่อไปนี้ใช้ความเป็นศิลป์มากที่สุด = การยืดหยุ่น

3.ข้อใดเป็นองค์ประกอบของการเจรจาต่อรองทางด้านผลลัพธ์ = มีผลประโยชน์ร่วมกัน

4.เมื่อไรที่ไม่ควรดำเนินการเจรจาต่อรอง = เมื่อมูลค่าการแลกเปลี่ยนมีต่ำ

5.ความกลัว เป็นประเด็นความขัดแย้งด้านใด = ประเด็นด้านปฏิกิริยา

6.ข้อใดเป็นสภาพแวดล้อมโดยตรงของการเจรจาต่อรอง = จำนวนผู้เจรจา

7.การเก็บข้อมูล มองประเด็น และจัดลำดับความต้องการ เป็นขั้นตอนใดในกระบวนการเจรจาต่อรอง = วิเคราะห์

8.กลยุทธ์สำหรับการจัดการกับความขัดแย้งข้อใดที่สนองความต้องการทั้งของตนและคู่เจรจาได้ต่ำที่สุด =        กลยุทธ์การหลีกเลี่ยง

9.ข้อใดเป็นยุทธวิธีการเจรจาต่อรองที่ใช้วาจา = เสนอแนะ

10.ยุทธวิธีการทำให้อุณหภูมิห้องเจรจาเย็นเกินไปหรือร้อนเกินไป คือยุทธวิธีใด = ยุทธวิธีลูกไม้สกปรก

หน่วยที่ 13 (ความคิดสร้างสรรค์)

การคิดเป็นสมบัติที่ติดอยู่กับมนุษย์ ความคิดเป็นสมบัติของมนุษย์ที่ทำให้เกิดประโยชน์ได้ถ้ารู้จักใช้คิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ที่มีคุณค่า เรียกว่า ความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งมีองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ประการ คือ ความคิดคล่องแคล่ว ความคิดริเริ่ม ความคิดยืดหยุ่น และความคิดละเอียดลออ การคิดสร้างสรรค์มีขั้นตอนที่ใช้เป็นแนวทางพัฒนาให้กับบุคคลได้ กระบวนการคิดสร้างสรรค์เกิดขึ้นจากการทำงานของสมองซีกขวาและการประสานงานกันอย่างดีกับสมองซีกซ้าย มีขั้นตอนที่สำคัญ 11 ขั้นตอน.

รูปแบบของความคิด

ศาสตราจารย์นายแพทย์ประเวส วะสี ได้แบ่งความคิดออกเป็น 7 แบบคือ

1.คิดแบบเปะปะ  เป็นความคิดที่เริ่มในเด็กและมีพัฒนาการช้า เพราะเป็นความคิดที่ไม่มีระบบ

2.คิดแบบวิทยาศาสตร์ ความคิดที่ยึดการสอบสวนตรวจสอบความรู้และยังอาจสร้างความรู้ใหม่ได้

3.คิดแบบอิทัปปัจจยตา (คิดแบบเชื่อมโยง) เป็นความคิดเชื่อมโยงว่าสิ่งต่างๆ ล้วนเป็นกระแสของเหตุปัจจัยที่ผลักดันกันต่อๆมา ย้อนกลับไปไม่มีจุดเริ่มต้น ไปข้างหน้าก็ไม่มีจุดสิ้นสุด ความคิดเชิงวิทยาศาสตร์ก็เป็นความคิดเช่นนี้คือวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องของเหตุผลว่าสิ่งใดเป็นผลมาจากเหตุหรือทำให้เกิดสิ่งใด

4.คิดแบบอริยสัจ แนวคิดนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของแนวคิดอิทัปปัจจยา ข้อที่ 1 ทุกข์คืออะไร ซึ่งคงต้องมองทั้งประเภท ชนิด และปริมาณ ข้อที่ 2 สมุทัย อะไรเป็นสาเหตุของทุกข์ ข้อที่ 3 นิโรธ คือการดับซึ่งสาเหตุนั้น ถ้าจะขยายความคือ อะไรมีประโยชน์ที่จะไปใช้ทำอะไร แต่ข้อนี้ยังไม่บอกวิธีใช้ วิธีใช้มาอยู่ข้อ 4 คือ มรรค หรือวิธีที่จะดับทุกข์

5.คิดแบบทวิลักษณ์ (2 ด้าน) มองลักษณะของสรรพสิ่งต่างๆ ทั้งด้านที่เป็นคุณและด้านที่เป็นโทษ เพราะบางทีเรามักจะมองลำเอียง

6.คิดแบบทางบวก หมายถึง ความคิดไปในทางที่ดี นำไปสู่การสร้างสรรค์

7.คิดแบบไม่คิด เป็นการคิดที่มิได้มีการพินิจพิจารณาว่ามีประโยชน์หรือมีโทษ ที่มีลักษณะใกล้เคียงกับความคิดแบบทวิลักษณ์ เช่น คิดวุ่นวายฟุ้งซ่าน หรือคิดผิด ผู้คิดมีเกณฑ์อยู่ในใจแล้วเอาเกณฑ์ของตนเข้าไปจับเอาประสบการณ์จากอดีตหรือฝังใจเข้าไปจับกับเรื่องใหม่ ซึ่งเรื่องใหม่นั้นอาจจะเป็นคนละสถานการณ์กับอดีตประสบการณ์ หรือความฝังใจของผู้คิด.

ความคิดเชิงวิกฤติ ความคิดเชิงสร้างสรรค์

                ความคิดเชิงวิกฤติเป็นแนวความคิดที่เริ่มต้นโดยโสคราติส ที่ได้ถ่ายทอดผ่านเพลโต ที่ใช้วิธีซักถามเพื่อชักนำไปสู่การได้มาซึ่งเหตุผลและแนวความคิดใหม่.

                บุคคลจำนวนมากจึงเชื่อว่าความคิดเชิงวิกฤติเป็นความคิดในด้านลบและบั่นทอนความริเริ่มที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้สมองคิดในเรื่องหรือกิจกรรมต่างๆ ส่วนความคิดเชิงสร้างสรรค์นั้นเป็นความคิดที่ได้กำหนดเป้าหมายในแง่บวกหรือในแง่ที่เป็นประโยชน์ที่นำไปสู่การสร้างสรรค์ในสิ่งใหม่ๆ แล้วพยายามหาแนวทางต่างๆ หรือทางเลือกต่างๆ ที่จะนำไปสู่เป้าหมายเชิงสร้างสรรค์นั้นได้.

                คำสำคัญที่จำเป็นต้องทราบก่อนก็คือ การคิด (Thinking) และ การรับรู้ (Cognition) คำนิยามในพจนานุกรมศัพท์แพทย์ที่ถือว่าเป็นพื้นฐานที่สุดของการคิดก็คือการสร้างภาพหรือมโนทัศน์ในจิตใจของคน.

                ในทางประสาทวิทยา ส่วนของสมองที่เกี่ยวข้องกับความคิดและความฉลาดจะอยู่บริเวณซีกซ้ายของสมองใหญ่ ส่วนที่เรียกว่า กลีบเท็มดพราวน์และกลีบฟรอนทาวน์ โดยมีบริเวณมุมของกลีบเท็บโพราวน์ร่วมด้วย ในทางสัณฐานวิทยาได้มีการแยกแยะประเภทของเซลล์ที่เกี่ยวข้องกับส่วนต่างๆ ของสมองดังกล่าวนั้น นอกจากนั้นแล้วยังมีการพิสูจน์สมองด้านขวาซึ่งเป็นสมองซีกที่ไม่เด่นของบุคคลส่วนมาก ยังมีหน้าที่เฉพาะความรู้ ความสามารถ และทักษะบางประการในเชิงสร้างสรรค์ด้วย อาทิ ในด้านที่เกี่ยวกับดนตรี.

กิจกรรม

จงอธิบายว่าความคิดแบบใดนำไปสู่การคิดสร้างสรรค์ = การคิดที่จะนำไปสู่ความคิดสร้างสรรค์ ได้แก่ การคิดที่มีการกำหนดเป้าหมายในแง่บวกที่นำไปสู่การสร้างสรรค์สิ่งใหม่ที่มีประโยชน์

                จงกล่าวถึงการทำงานของสมองในส่วนที่ทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ = สมองส่วนที่ทำหน้าที่คิดสร้างสรรค์ ได้แก่ สมองซีกขวา.

ความคิดสร้างสรรค์ หมายถึง ความสามารถในการคิดนอกกรอบ เพื่อสร้างแนวคิดใหม่ที่จะนำมาใช้แก้ปัญหาได้หลายๆ แนวคิด และนำแนวคิดเหล่านี้ไปพัฒนาต่อเพื่อให้สามารถใช้แก้ปัญหาที่ต้องการได้.

กิจกรรม

                จงอธิบายความหมายของความคิดสร้างสรรค์ = ความคิดสร้างสรรค์ หมายถึง การคิดหลายแง่หลายมุม คิดนอกกรอบอย่างที่ไม่เคยคิดมาก่อน โดยมีการเชื่อมโยงความคิด หรือความสัมพันธ์ระหว่างความคิดตั้งแต่สองสิ่งเข้าด้วยกัน เพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่ที่อาจเป็นสิ่งประดิษฐ์หรือเป็นวิธีการ ทฤษฏี หลักการ อันเป็นสิ่งที่มีคุณค่า นำไปใช้ประโยชน์ได้

                จงกล่าวถึงความสำคัญของความคิดสร้างสรรค์ = ความคิดสร้างสรรค์มีความสำคัญในเรื่องการตอบสนองความต้องการของมนุษย์ ทำให้มนุษย์ได้พัฒนาตนเองและสังคมที่อยู่โดยการสร้างสิ่งประดิษฐ์ที่ใช้ในการดำรงชีวิต การใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ การพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจให้เป็นประเทศที่เจริญแล้ว.

องค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์

                1.ความคิดคล่องแคล่ว หมายถึง ความสามารถในการคิดให้ได้ปริมาณความคิดที่ไม่ซ้ำกันในเรื่องเดียวกันแบ่งออกเป็น ความคิดคล่องแคล่วทางด้านถ้อยคำ, การโยงสัมพันธ์, การแสดงออก, ในการคิดสิ่งที่ต้องการให้ได้มากที่สุดภายในเวลาที่กำหนดให้

                2.ความคิดริเริ่มหมายถึงความคิดที่แปลกใหม่ที่แตกต่างไปจากความคิดธรรมดาหรือแตกต่างไปจากคนอื่น เป็นความคิดที่มีประโยชน์ต่อตนเองและสังคม

                3.ความคิดยืดหยุ่น หมายถึง ประเภทหรือแบบของความคิดที่แบ่งออกเป็น 1.ความคิดยืดหยุ่นที่เกิดขึ้นทันที เป็นความสามารถที่จะพยายามคิดให้ได้หลายประเภทอย่างอิสระ เช่น คนที่มีความคิดยึดหยุ่นจะคิดตัวอย่างของวัตถุที่มีรูปทรงเป็นสี่เหลี่ยมได้หลายประเภทหลากหลายมากกว่าคนอื่น เป็นลักษณะของคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ ตรงกันข้ามกับคนที่ไม่มีความคิดสร้างสรรค์จะคิดตัวอย่างได้น้อยประเภทกว่า 2.ความคิดยืดหยุ่นทางด้านการดัดแปลง ซึ่งมีประโยชน์ต่อการแก้ปัญหา คนที่มีความคิดยืดหยุ่นจะคิดได้ไม่ซ้ำ เช่น ถ้าถามว่าผ้าขาวม้าใช้ทำประโยชน์อะไรบ้าง ให้คิดคำตอบให้ได้มากที่สุดในเวลา 5 นาที เป็นต้น

                4.ความคิดละเอียดลออ หมายถึง ความคิดเกี่ยวกับรายละเอียดที่ใช้ในการตกแต่ง เพื่อทำให้ความคิดริเริ่มสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

กระบวนการการคิดสร้างสรรค์

สมองซีกซ้าย= ภาษา, การฟัง ความจำ, ตัวเลข, การวิเคราะห์และเหตุผล, การจัดลำดับ, รายละเอียด

             แยกแยะ

                สมองซีกขวา= การจินตนาการ, ความคิดสร้างสรรค์, อารมณ์ความรู้สึก, มิติสัมพันธ์ การเคลื่อนไหว

            ภาพรวม.

กระบวนการคิดสร้างสรรค์จะเกิดขึ้นที่สมองซีกขวา แต่ต้องอาศัยการทำงานของสมองซีกซ้ายในเรื่อง การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล ถ้าสมองทั้ง 2 ซีกทำงานประสานกันดี ความคิดสร้างสรรค์จะเกิดได้ดี.

กระบวนการคิดสร้างสรรค์ตามทัศนะของไรลี่และเลวิส (Reilly and Lewis)

            1.การเห็นปัญหา 2.การขยายปัญหา 3.การประวิงคำตัดสินใจ (คือการประวิงคำตัดสินความถูกต้อง เหมาะสม โดยการเปิดใจยอมรับในทุกสิ่งแม้จะทำได้ยาก เพื่อให้มีเวลาได้ทบทวนความคิด เป็นระยะการฟักตัวของความคิด) 4.การรอรับผลที่เกิดจาการฟักตัว 5.การแสดงความแน่วแน่ที่จะคิดต่อไปจนประสบความสำเร็จ 6.การมองเห็นภาพพจน์ในผลงานโดยใช้จินตนาการ 7.การเลือกข้อมูลที่ดีที่สุดเพื่อใช้ในการตัดสินใจ 8.การเต็มใจทำในสิ่งที่ตนตัดสินใจ 9.การยอมรับในความไม่แน่นอน 10.การยอมรับความไม่มีระบบของความคิดสร้างสรรค์ที่ตายตัว 11.การเผยแพร่ผลของการคิดและพัฒนาปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น.

สรุปเป็นลักษณะโดยรวมของคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ได้ 11 ประการดังต่อไปนี้

                1.เป็นมีใจกว้าง เปิดรับประสบการณ์ที่หลากหลาย เป็นคนอยากรู้อยากเห็น รับข้อมูลทุกแง่มุม

                2.ช่างสงสัย ชอบซักถาม และถามด้วยความถามแปลกๆ ชอบแสดงออก ไม่เก็บกด

                3.ช่างสังเกต เห็นลักษณะทีผิดปกติได้รวดเร็ว

                4.สนุกกับความคิด ชอบคิด

                5.มีสมาธิ กระตือรือร้น มุ่งมั่นและผูกพันกับงาน

          6.มีความคิดเป็นอิสระของตัวเอง มีความมั่นใจในตัวเองสูง ไม่ขึ้นต่อกลุ่ม

                7.มักเป็นคนกล้าเสี่ยง กล้าทดลอง ชอบผจญภัย สามารถทนต่อสภาวะความคลุมเครือ

                8.มีความคิดยืดหยุ่น ชอบใช้สามัญสำนึกมากกว่าเหตุผล มักคิดอะไรใหม่ๆได้รวดเร็ว

                9.มักไม่ชอบคิดในกรอบ ไม่ชอบประเพณีนิยม ไม่ชอบให้ใครแสดงอำนาจเหนือกว่า

                10.ชอบใช้จินตนาการ มีความสนใจด้านศิลปะและสุนทรียภาพ

                11.มีอารมณ์ขัน ขี้เล่น ชอบสนุกแบบเด็กๆ มองสิ่งต่างๆในแง่มุมที่แปลกและสร้างอารมณ์ขันอยู่เสมอ.

การฝึกให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ 1.เป็นคนช่างสังเกต 2.ช่างคิดเปรียบเทียบ 3.ช่างคิดวิเคราะห์ 4.ช่างคิดเชื่อมโยง และสร้างจินตนาการ 5.คิดคล่องแคล่ว 6.คิดยืดหยุ่น 7.คิดริเริ่มนอกกรอบ 8.คิดละเอียดลออ.

ปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดความคิดสร้างสรรค์

                1.ปัจจัยด้านอุปนิสัยส่วนตัวของบุคคล (ฝึกตนให้เป็นคนมีใจกว้าง, ฝึกตนให้เป็นคนช่างสงสัยกับข้อมูลที่ได้รับ, ฝึกตนให้เป็นช่างสังเกตต่อสิ่งรอบตัว, ฝึกตนให้เป็นคนช่างคิด, ฝึกตนให้มีสมาธิ, ฝึกตนให้มีความคิดเป็นอิสระของตนเอง, ฝึกตนให้เป็นคนกล้าเสี่ยง กล้าทดลอง, ฝึกตนให้คนเป็นความคิดยืดหยุ่น, ฝึกตนให้เป็นคนคิดนอกกรอบ, ฝึกตนให้เป็นคนช่างจินตนาการ, ฝึกตนให้เป็นคนมีอารมณ์ขัน)

                2.ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมของการถูกอบรมเลี้ยงดู (การให้ความรัก ความอบอุ่น, การช่วยเหลือตนเอง, การฝึกความสังเกต, การซักถาม, การแสดงความคิดเห็น, การให้รางวัลและคำชมเชย, การจัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้ออำนวยในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์)

อุปสรรคต่อการเกิดความคิดสร้างสรรค์

                1.ปัจจัยด้านอุปนิสัยส่วนตัวของบุคคล (ความกลัวและขาดความเชื่อมั่นในตนเอง, ความเคยชิน, ความมีอคติหรือลำเอียงไม่รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น, ความเฉื่อยฉาและเกียจคร้าน, ความใจร้อนไม่มีคำว่ารอ)

                2.ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมและการถูกอบรมเลี้ยงดู (สังคมไทยแบบดั้งเดิมส่วนใหญ่มักมีวัฒนธรรมไม่สนับสนุนให้เด็กเป็นคนช่างซักถาม, การเอาอย่างกันหรือทำตามกัน, การเน้นบทบาทและความแตกต่างทางเพศมากเกินไป, การมีวัฒนธรรมที่เน้นความสำเร็จ และประณามความล้มเหลว, การสร้างบรรยากาศที่เคร่งเครียดและเอาจริงเอาจังเกินไป, สังคมที่พึ่งพิงผู้ใหญ่มากกว่าพึ่งพึงตนเอง, ระบบการศึกษาของไทยในอดีตเน้นการสอนให้จำมากกว่าสอนให้คิด, สังคมไทยส่วนใหญ่มักให้ความสำคัญกับตัวบุคคลมากกว่าความสามารถของบุคคล, สังคมไทยส่วนมักให้คุณค่าของความเหมือนมากกว่าความแตกต่าง).

การปลูกฝังเจตคติและนิสัยนักคิดสร้างสรรค์

                1.ต้องคิดในแง่บอกว่าเราทำได้

                2.ต้องมีความอดทน พร้อมที่จะอยู่อย่างโดดเดี่ยวไม่ยอมเอนเอียงไปข้างพวกมาก

                3.ต้องมีใจเปิดรับประสบการณ์ใหม่ ไม่ปิดกั้นตัวเองให้อยู่ในวงแคบ

                4.ต้องแสดงความมุ่งมั่น ขยัน ทำงานหนัก ไม่เกียจคร้าน ไม่กลัวความลำบาก

                5.ต้องเป็นคนกล้าเสี่ยง ไม่กลัวความผิดหวัง

                6.ต้องมีความอดทนต่อความคลุมเครือ ไม่หมดกำลังใจเมื่อยังไม่พบคำตอบ

                7.ต้องพร้อมที่จะเรียนรู้จากความล้มเหลว ไม่ท้อใจกับความผิดหวัง              

                8.ต้องใจเย็น มีการชะลอการตัดสินใจ ไม่ละทิ้งความคิดใดๆ จนกว่าจะพิสูจน์ได้ว่าไร้ประโยชน์

                9.ต้องกล้าเผยแพร่ผลงานที่แปลกใหม่

การใช้ความคิดสร้างสรรค์เพื่อการคิดอย่างมีวิจารณญาณ

                1.ตั้งเป้าหมายในการคิด

2.ระบุประเด็นในการคิด

3.ประมวลข้อมูล

4.วิเคราะห์ จำแนก แยกแยะข้อมูล

5.ประเมินข้อมูลที่จะใช้ในแง่ความถูกต้อง ความเพียงพอ และความน่าเชื่อถือ

6.ใช้หลักเหตุผลในการพิจารณาข้อมูล

7.เลือกทางเลือกที่เหมาะสม

8.ชั่งน้ำหนักผลได้-ผลเสีย คุณ-โทษในระยะสั้นและระยะยาว

9.ไตร่ตรอง ทบทวนกลับไปมาให้รอบคอบ

10.ประเมินทางเลือกและลงความเห็นเกี่ยวกับประเด็นที่คิด.

การใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการแก้ปัญหา

                1.การค้นพบมีดโกนหนวดนิรภัยของนายยิลเล็ด 2.นายดันลอปผู้ประดิษฐ์ยางรถยนต์ 3.แม่บ้านญี่ปุ่นกับการประดิษฐ์แผ่นปิดหัวเข่าของกางเกงเด็ก 4.ลิโอนาร์โด ดาวินชีกับเฮลิคอปเตอร์ 5.นายเจมส์ อดัมส์ กับการเก็บมะเขือเทศ 6.การเปลี่ยนบรรยากาศของการรักษาคนไข้ในโรงพยาบาลของหมอแพท อดัมส์ 7.ไมเคิล มิคอลกับแนวคิดการเปลี่ยนภาพลักษณ์ธุรกิจบริการด้านอาหาร 8.เฮนรี ฟอร์ด กับระบบการทำงานแบบใหม่ในโรงงานอุตสาหกรรมรถยนต์ 9.ชาร์ล เปียร์กับการแก้ปัญหาการจราจรติดขัด 10.การใช้เครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำแก้ปัญหานำเสียในประเทศไทย (ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว)

กิจกรรม

                ความคิดสร้างสรรค์นำมาใช้ประโยชน์ในการแก้ปัญหาในการดำรงชีวิตอย่างไร = ในการดำรงชีวิตอาจเกิดปัญหาตัดขัดจากสภาพแวดล้อมทำให้ไม่สามารถดำเนินการในสิ่งที่เคยทำแบบเดิมๆได้ คนที่มีความคิดสร้างสรรค์จะรู้จักการมองต่างมุมและค้นพบทางแก้ปัญหานั้นๆ ออกมาได้ เช่น แม่ครัวที่ขาดวัตถุดิบบางประการในการปรุงอาหาร ก็สามารถคิดเอาวัตถุดิบที่มีอยู่มาดัดแปลงใช้แทนกัน กลายเป็นอาหารสูตรใหม่ขึ้นมาได้.

                คุณสมบัติด้านใดบ้างของคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ ที่มีความสัมพันธ์กับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคคล= การเป็นคนขยัน อดทน รู้จักการแก้ปัญหาการทำงานและปัญหาชีวิตด้วยการมองต่างมุม และการมีอารมณ์ขัน ไม่เคร่งเครียด มีผลให้สุขภาพจิตดีด้วย.

แบบประเมินผลตนเองก่อนเรียน หน่วยที่ 13

1.ความหมายของความคิดสร้างสรรค์ที่กำหนดให้ต่อไปนี้ยังไม่สมบูรณ์ ประเด็นที่ขาดหายไปคือข้อใด ความคิดสร้างสรรค์ หมายถึงความคิดนอกกรอบทำให้เกิดสิ่งใหม่ = เป็นสิ่งประดิษฐ์

2.ข้อใดเป็นตัวอย่างประโยชน์ของความคิดสร้างสรรค์ต่อสังคมด้านเศรษฐกิจ = การค้นคิดระบบการขายตรง

3.ข้อใดกล่าวถึงองค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์ด้านการคิดริเริ่ม = บอกความคิดที่จะทำอาหารจากวัตถุดิบเหมือนกันได้แปลกแตกต่างจากคนอื่น

4.ข้อใดกล่าวถึงองค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์ด้านคิดยืดหยุ่น = บอกวิธีการดัดแปลงเอากระดาษหนังสือพิมพ์มาใช้ประโยชน์ให้ได้จำนวนแบบมากที่สุด

5.การทำงานข้อใดอยู่ในความควบคุมของสมองซีกซ้ายทั้งหมด = ภาษาการฟัง การวิเคราะห์ รายละเอียด

6.ในขั้นตอนของการคิดสร้างสรรค์ขั้นตอนใดต้องอาศัยการจินตนาการ = การมองเห็นภาพพจน์ในผลงาน

7.อุปนิสัยข้อใดส่งเสริมคุณสมบัติไม่ยอมแพ้ต่ออุปสรรคของคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ = ไม่กลัวความลำบาก

8.ข้อใดเป็นการจัดบรรยากาศที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ที่ตรงกันข้ามกับอุปสรรคด้านความเคยชิน = การให้คิดอย่างอิสระ

9.การสร้างทางรถไฟใต้ดินเป็นผลงานความคิดสร้างสรรค์เพื่อแก้ปัญหาข้อใด = การจราจรติดขัด

10.คนที่มีคุณภาพชีวิตดีกับคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ มีคุณสมบัติข้อใดเหมือนกัน = การเป็นคนอดทนไม่ยอมแพ้อุปสรรค.

แบบประเมินผลตนเองหลังเรียน หน่วยที่ 13

1.ข้อใดกล่าวถึงความหมายของความคิดสร้างสรรค์ได้ถูกต้องครบถ้วนที่สุด = การคิดนอกกรอบทำให้เกิดสิ่งใหม่ที่มีประโยชน์

2.ขอใดเป็นตัวอย่างประโยชน์ของความคิดสร้างสรรค์ต่อสังคมด้านการแพทย์ = การค้นคิดยาปฏิชีวนะ

3.ข้อใดกล่าวถึงองค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์ด้านความคิดคล่องแคล่ว = บอกคำศัพท์ที่ให้ความหมายของดอกไม้มากที่สุดในเวลาจำกัด

4.ข้อใดกล่าวถึงองค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์ด้านคิดละเอียดละออ = บอกวิธีการประดิษฐ์สิ่งของจากวัตถุดิบในท้องถิ่นได้ครบทุกขั้นตอน

5.การทำงานข้อใดอยู่ความควบคุมของสมองซีกขวาทั้งหมด = การจินตนาการ อารมณ์ความรู้สึก ความคิดสร้างสรรค์

6.ในขั้นตอนของการคิดสร้างสรรค์ขั้นตอนใดต้องอาศัยการคิดริเริ่มนอกกรอบ = การขยายปัญหา

7.การเป็นคนที่ไม่กลัวต่อความลำบากเป็นอุปนิสัยที่ช่วยส่งเสริมคุณสมบัติข้อใดของคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ = ไม่ยอมแพ้ต่ออุปสรรค

8.ข้อใดเป็นการจัดบรรยากาศที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ที่ตรงกันข้ามกับอุปสรรคด้านนิสัยใจแคบ = ความเป็นประชาธิปไตย

9.การใช้ระบบสารสนเทศช่วยในการทำงานในโรงงานประกอบรถยนต์เป็นผลงานความคิดสร้างสรรค์เพื่อแก้ปัญหาข้อใด = การทำงานล่าช้า

10.คุณสมบัติข้อใดของคนที่มีความคิดสร้างสรรค์เป็นปัจจัยสำคัญของการพัฒนาคุณภาพชีวิต = ความอดทน ไม่ยอมแพ้ต่ออุปสรรค์

หน่วยที่ 14 (ชีวิตครอบครัว)

ชีวิตครอบครัวเป็นช่วงระยะสำคัญของการดำเนินชีวิตร่วมกันระหว่างบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปที่ผูกพันกันทางกฎหมาย สายโลหิต หรือทางสังคม โดยมีความผูกพันและเกื้อกูลกันตามสถานภาพที่กำหนดขึ้นในแต่ละระยะของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นภายในครอบครัว การให้ความสำคัญกับชีวิตครอบครัวย่อมส่งผลต่อการพัฒนาปัจเจกบุคคล ครอบครัว ชุมชน และสังคม ตลอดจนประเทศชาติ ไปในทิศทางที่เหมาะสม

คำจำกัดความของคำว่า ครอบครัว แตกกันไปตามทัศนะในแง่มุมต่างๆ ทั้งในแง่ชีววิทยา ที่กล่าวถึงกลุ่มบุคคลที่ผูกพันกันทางสายโลหิต ในแง่กฎหมาย ที่กล่าวถึงกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวพันกันตามกฎหมายของการจดทะเบียนสมรสหรือจดทะเบียนเป็นบุตรบุญธรรม ในแง่สังคมของกลุ่มที่กล่าวถึงบุคคลที่อยู่บ้านหลังเดียวกันและมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันด้วยความรักความเอาใจใส่ และการอบรมขัดเกลาทางสังคม ในแง่เศรษฐกิจที่กล่าวถึงกลุ่มบุคคลที่มีการพึ่งพิงกันในการใช้จ่ายร่วมกันและมีส่วนร่วมในการตัดสินใจใช้ทรัพยากรครอบครัวเพื่อการดำรงชีวิตร่วมกัน.

ครอบครัวจะเกิดขึ้นได้อย่างน้อยที่สุดจะต้องมีสมาชิกตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป และมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันในสถานภาพใดสถานภาพหนึ่ง ส่วนครัวเรือนนั้นอาจมีคนโสดเพียงคนเดียวอาศัยอยู่ในบ้าน หรืออาจอยู่ร่วมกันหลายคนโดยไม่จำเป็นต้องเกี่ยวข้องกันเลยก็ได้ สรุปได้ว่า ทุกครอบครัวเป็นครัวเรือน แต่ไม่ทุกครัวเรือนที่เป็นครอบครัว.

ชีวิตครอบครัวเป็นช่วงระยะสำคัญของการดำเนินชีวิตร่วมกันระหว่างบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป ที่ผูกพันกันทางกฎหมาย สายโลหิต หรือทางสังคม บนพื้นฐานของความรักความเข้าใจกัน โดยที่ครอบครัวมีบทบาทหน้าที่หลักต่อสังคมในการผลิตสมาชิกใหม่ให้กับสังคม และบ่มเพาะจนพัฒนาเติบโตเป็นคนที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม สติปัญญา และจิตวิญญาณ เพื่อเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่จะเป็นกำลังสำคัญต่อการพัฒนาตนเอง ครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติในอนาคต.

วงจรชีวิตครอบครัวและพัฒนกิจของครอบครัว

                ความหมายของวงจรชีวิตครอบครัว หรือบางครั้งเรียกว่า วัฏจักรของครอบครัว หมายถึง ลำดับขั้นของการเปลี่ยนแปลงชีวิตครอบครัวเป็นระยะต่างๆ ตามพัฒนาการของครอบครัว โดยแต่ละขั้นจะมีงานพัฒนาการ ของครอบครัวที่คาดหวังไว้ด้วย

                สรุปได้ว่า วงจรชีวิตครอบครัวในที่นี้จะหมายถึงลำดับขั้นของการเปลี่ยนแปลงชีวิตครอบครัวจากการอยู่ร่วมกันของหญิงชาย เริ่มตั้งแต่แต่งงาน สร้างครอบครัวตนเอง จนกระทั่งสิ้นสุดการเป็นครอบครัว เมื่อทั้งคู่สิ้นอายุหรือมีปัญหาการแยกจากหรือหย่าร้าง จึงจะถือว่าเป็นการสิ้นสุดรอบของวงจรชีวิตครอบครัว (end of family life cycle).

ระยะของวงจรชีวิตครอบครัว

                1.ระยะครอบครัวเริ่มต้น (Beginning Stage) เป็นช่วงของการสร้างรากฐานชีวิตครอบครัวของคู่

    สามี-ภรรยา

                2.ระยะครอบครัวขยายตัว (Expanding Stage) เป็นช่วงของการมีบุตรและเลี้ยงดูบุตรจนสำเร็จ

     การศึกษา

                3.ระยะครอบครัวหดตัว (Contracting Stage) เป็นช่วงของการใช้ชีวิตคู่ของสามี-ภรรยาเมื่อ

     บุตรออกจากบ้าน จนกระทั่งสามีภรรยาเข้าสู่เกษียณอายุ.

การแบ่งระยะของวงจรชีวิตครอบครัวตามพัฒนาการของครอบครัวดูวัล (Duvall)

                1.ระยะครอบครัวเริ่มต้น (1.ระยะบุตรแรกเกิด 0-2 ปีครึ่ง, 2.ระยะบุตรเข้าสู่วันก่อนเรียน 2 ปีครึ่ง 6ปี, 4.ระยะบุตรเข้าสู่วัยเรียน 6-13 ปี, 5.ระยะบุตรเข้าสู่วัยรุ่น 13-20 ปี)

                2.ระยะครอบครัวหดตัว (6.ระยะบุตรเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ตอนต้น/แยกครอบครัว 20 ปีขึ้นไป, 7.ระยะคู่สมรสเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ตอนกลาง, 8.ระยะคู่สมรสเข้าสู่วัยอายุและสันอายุขัย).

                การแบ่งระยะของวงจรชีวิตครอบครัวของดูวัลเป็น 8 ระยะข้างต้นได้รับความนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายสำหรับวงจรชีวิตครอบครัวที่มีบุตร สะท้อนถึงพัฒนาการของครอบครัวตามบรรทัดฐานทางสังคมของครอบครัวตะวันตก ซึ่งแตกต่างไปจากครอบครัวตะวันและครอบครัวไทย โดยเฉพาะในระยะที่บุตรแยกตัวออกจากครอบครัวไปใช้ชีวิตของตนเองและพึ่งพาตนเอง ถึงแม้จะยังไม่ได้แต่งงานในช่วงวัยผู้ใหญ่ตอนต้น สำหรับครอบครัวไทยยังไม่ปรากฏการณ์นี้ชัดเจนนัก เนื่องจากบุตรมักแยกครอบครัวออกไปเมื่อแต่งงานมีครอบครัวตนเอง หรือบางครอบครัวอาจไม่แยกไปเลยก็ได้.

พัฒนกิจของครอบครัว หรือภารกิจของครอบครัว = วงจรชีวิตครอบครัวเป็นลำดับขั้นของการเปลี่ยนแปลงครอบครัวเป็นระยะต่างๆ ตามพัฒนาการของครอบครัว เริ่มตั้งแต่ระยะครอบครัวเริ่มต้น ครอบครับขยาย และครอบครัวหดตัว โดยแต่ละระยะมีพัฒนกิจของครอบครัวที่จำเป็นต้องปฏิบัติให้สอดคล้องกับความต้องการของสมาชิกในครอบครัวในระยะนั้น เพื่อให้การดำเนินชีวิตครอบครัวเป็นไปอย่างราบรื่น มีความสุข เช่น ครอบครัวมีบุตรวัยรุ่นจะอยู่ในระยะครอบครัวขาย ซึ่งพัฒนกิจของครอบครัวได้แก่ การตอบสนองความต้องการและส่งเสริมพัฒนาการของบุตรวัยรุ่น การปรับตัวต่อพฤติกรรมของบุตรวัยรุ่น การจัดการหน้าที่การงานเป็นต้น.

บทบาทหน้าที่และสัมพันธภาพในครอบครัว

                1.การสร้างสมาชิกใหม่ของครอบครัว 2.การคุ้มครองเด็กที่เกิดมาให้เติบโตขึ้นในสังคม 3.การกำหนดฐานะของบุตรที่เกิดมา 4.การอบรมสั่งสอนให้บุตรได้เรียนรู้การอยู่ร่วมในสังคม.

หน้าที่ของครอบครัวต่อสมาชิกในครอบครัวและต่อสังคม

                1.หน้าที่ทางชีววิทยาสร้างสมาชิกให้กับสังคม ตอบสนองความต้องการทางเพศของคู่สมรส

                2.หน้าที่ทางจิตวิทยาหล่อหลอมสมาชิกให้มีบุคลิกภาพที่พึงประสงค์ในสังคม ให้ความรัก ความอบอุ่น และความผูกพันทางใจกับสมาชิกในครอบครัว

                3.หน้าที่ทางสังคมอบรมขัดเกลาเด็กให้รู้จักกฎเกณฑ์และระเบียบวินัยในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม ให้การเลี้ยงดูและอบรมสั่งสอนบุตรให้เจริญเติบโตและมีพัฒนาการของสมาชิกในครอบครัว

                4.หน้าที่ทางเศรษฐกิจสร้างฐานะทางเศรษฐกิจโดยการประกอบอาชีพสุจริต และมีรายได้เพียงพอกับการบริโภค จัดหาปัจจัยในการดำรงชีวิตและตอบสนองความต้องการของสมาชิกในครอบครัว

                5.หน้าที่ทางวัฒนธรรมรักษาและสืบทอดขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรมที่ดีงาม -อบรมสั่งสอนและถ่ายทอดความเป็นเอกลักษณ์ของวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณีในสังคมให้กับสมาชิกในครอบครัวตั้งแต่วัยเยาว์

                6.หน้าที่ทางศาสนารักษาและสืบทอดคำสอน/หลักการ/กิจกรรมทางศาสนาในชีวิตประจำวัน -อบรมสั่งสอนและปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมคำสอน/หลักศาสนาให้กับสมาชิกในครอบครัวตั้งแต่วัยเยาว์

                7.หน้าที่ทางการศึกษาตื่นตัวต่อการเรียนรู้และการพัฒนาตนเองและสมาชิกในครอบครัว -ให้สามารถปรับตัวเท่าทันการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ในสังคมได้ อบรมสั่งสอนและสนับสนุนให้บุตรได้รับการศึกษาสูงสุดตามศักยภาพของเด็ก

                8.หน้าที่ทางนันทนาการเสริมสร้างสุขภาพจิตที่ดีของสมาชิกในครอบครัวที่นำไปสู่ความสงบสุขในสังคม สร้างความสัมพันธ์ที่เป็นสุขระหว่างสมาชิกในครอบครัวในการทำกิจกรรมร่วมกัน.

โฟร์ม (Fromm) กล่าวถึงอิทธิพลของครอบครัวที่มีผลต่อการกระทำ/พฤติกรรมทั้งด้านบวกและลบที่จะหล่อหลอมเป็นบุคลิกภาพของบุคคล แบ่งเป็น 5 ประเภท ได้แก่

1.บุคลิกภาพประเภทเปิดใจกว้าง ได้แก่ ยอมรับฟังความคิดเห็นของบุคคลอื่น

2.บุคลิกภาพประเภทเห็นแก่ได้ คือ ชอบเอาเปรียบผู้อื่น แสวงหาผลประโยชน์จากผู้อื่น

3.บุคลิกภาพประเภทตระหนี่ คือ จู้จี้ จุกจิก หยุมหยิม ละเอียดถี่ถ้วนจนเกินไป

4.บุคลิกภาพประเภทเป็นคนส่วนรวมทำตนเป็นคนของสังคม วางตนให้มีคุณค่า สูงส่ง

 5.บุคลิกภาพประเภทชอบคิดค้น อยู่นิ่งไม่ได้ ชอบทำนั่นทำนี่ตลอดเวลานิยมชมชื่นผู้อื่นเช่นเดียวกับตน

สรุปได้ว่า สัมพันธภาพในครอบครัวเป็นองค์ประกอบสำคัญในการสร้างความสงบสุขและความมั่นคงของครอบครัว ครอบครัวที่สมาชิกในครอบครัวต่างปฏิบัติตนตามบทบาทหน้าที่เหมาะสมและมีการสื่อสารที่ดีบนพื้นฐานของความรัก ความเข้าใจ และการใช้เหตุผล ย่อมเป็นครอบครัวที่มีสัมพันธภาพที่ดี อันส่งผลต่อลักษณะพฤติกรรมและบุคลิกภาพของสมาชิกในครอบครัวไปในทางสร้างสรรค์.

การเปลี่ยนแปลงชีวิตครอบครัวและปัจจัยที่มีอิทธิพล

                ลักษณะครอบครัวไทยมีเอกลักษณ์ของความสัมพันธ์ที่อบอุ่น ใกล้ชิด และเอื้ออาทรระหว่างสมาชิกในครอบครัว โดยเฉพาะครอบครัวไทยในอดีตจะมีชีวิตครบครัวแบบเรียบง่ายและยึดขนมธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมเป็นหลัก ในขณะที่ครอบครัวไทยสมัยใหม่ดำเนินชีวิตครอบครัวแบบอิสระและพึ่งพาตนเองตามแบบวัฒนธรรมตะวันตก

          ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงชีวิตครอบครัวประกอบด้วย ภาวะทางเศรษฐกิจ ค่านิยมของสังคมไทย โอกาสทางการศึกษา ค่านิยมทางสังคม ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี อันเป็นผลให้ครอบครัวต้องปรับเปลี่ยนโครงสร้างและรูปแบบการดำเนินชีวิตให้สอดคล้องกัน.

สภาพการเปลี่ยนแปลงของครอบครัวไทย

                1.ลักษณะของครอบครัวไทยในอดีต สังคมไทยในอดีตนับตั้งแต่สมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลงนั้นเป็นสังคมอนุรักษ์นิยม คือ ยึดมั่น ถือมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณีที่เคยปฏิบัติต่อกันมาค่อนข้างจะเคร่งครัด อันได้แก่ บิดามารดา ปู่ย่าตายาย หรือผู้ปกครอง ซึ่งส่งผลกระทบต่อการเลือกคู่ครองและการก่อรูปครอบครัว.

                รูปแบบและโครงสร้างของครอบครัว ครอบครัวไทยในอดีตมีลักษณะความเป็นครอบครัวขยาย (extended family) ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกในครอบครัว 3 รุ่นอายุอยู่ร่วมกันในครัวเรือนเดียวกัน ได้แก่ พ่อแม่และลูก รวมทั้งปู่ย่าตายายและญาติพี่น้อง ที่มีความสัมพันธ์กันอย่างแน่นแฟ้น ขนาดของครอบครัวค่อนข้างใหญ่ โดยมีจำนวนบุตรตั้งแต่ 5-6 คนขึ้นไป และบางครอบครัวมีบุตรจำนวน 9-10 คน เนื่องจากครอบครัวส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 80 ประกอบอาชีพเกษตรกรรมซึ่งมีการใช้แรงงานคนและสัตว์ในกระบวนการผลิต จึงต้องการแรงงานครอบครัวช่วยในการทำไร่นา รวมทั้งงานบ้านด้วย ทั้งนี้ การมีลูกมากไม่ได้มีผลกระทบต่อฐานะทางเศรษฐกิจของครอบครัว เพราะครอบครัวไทยในอดีตมีลักษณะเป็นทั้งหน่วยผลิตและหน่วยบริโภค ไม่จำเป็นต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซื้อหาสินค้านัก.

กิจกรรม

                จากประสบการณ์ของท่าน ครอบครัวไทยในช่วงที่ผ่านมามีการเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะใด

 = ครอบครัวไทยในอดีตมีลักษณะเป็นครอบครัวขยายที่มีสมาชิกหลายคนอยู่ร่วมกันหลายช่วงอายุ และมีความสัมพันธ์ที่อบอุ่น ใกล้ชิด ยึดมั่นในความเชื่อ ขนมธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรมที่ดีงามของสังคมไทย ขณะที่ครอบครัวไทยสมัยใหม่มีลักษณะเป็นครอบครัวเดี่ยวที่มีขนาดของครอบครัวเล็กลง อยู่กันเฉพาะพ่อแม่ลูก และใช้ชีวิตอิสระที่พึ่งพาตนเองมากขึ้น.

                ในความคิดเห็นของท่าน ปัจจัยใดบ้างที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของครอบครัวไทย = การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ การศึกษา สังคม และเทคโนโลยี ที่เป็นไปตามกระแสโลกและภาวะแวดล้อมต่างๆ ล้วนส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของครอบครัวและความสัมพันธ์ในครอบครัวที่มีผลต่อรูปแบบการดำเนินชีวิตของครอบครัว.

การวางแผนชีวิตครอบครัว

                1.การเตรียมความพร้อมก่อนมีชีวิตคู่ -ความพร้อมดานเศรษฐกิจ สุขภาพ อารมณ์

                2.การปรับตัวสู่ชีวิตครอบครัวการปรับตัวในบทบาทของสามีภรรยา เพื่อการอยู่ร่วมกัน ด้านการเงิน ทางสังคม

                3.การกำหนดเป้าหมายชีวิตครอบครัวแสดงขอบเขตของเป้าหมายที่ชัดเจน กำหนดระยะเวลาที่จะบรรลุเป้าหมาย เกิดจากความต้องการของสมาชิกในครอบครัว มองเห็นแนวทางที่จะบรรลุเป้าหมาย

                4.การจัดการทรัพยากรของครอบครัวการจัดการกาเงินของครอบครัว เวลาของครอบครัว -แรงงานของครอบครัว

กิจกรรม

                ท่านคิดว่าการวางแผนชีวิตครอบครัวจะช่วยให้ชีวิตคู่ประสบความสำเร็จได้อย่างไร = คู่แต่งงานที่มีการเตรียมความพร้อมก่อนใช้ชีวิตคู่ เข้าใจวิธีการปรับตัวสู่ชีวิตครอบครัว รู้จักกำหนดเป้าหมายชีวิตครอบครัว และรู้หลักการจัดการทรัพยากรของครอบครัวในการนำมาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด จะเข้าใจการดำเนินชีวิตครอบครัวที่มีความละเอียดลึกซึ้งและจำเป็นต้องอาศัยทักษะการจัดการชีวิตครอบครัวทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม.

การสร้างความอยู่ดีมีสุขในครอบครัว

1.องค์ประกอบของการสร้างความอยู่ดีมีสุขในครอบครัว

F = Faith (ความซื่อสัตย์) ยึดถือสัจจะเป็นพื้นฐานในการอยู่ร่วมกัน

A = Acceptance (การยอมรับ) เคารพความแตกต่างระหว่างบุคคลของสมาชิกในครอบครัว

M = Magnanimity (ความไม่เห็นแก่ตัว) เข้าใจในความรู้สึกและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของ

สมาชิกในครัว

I = Interest (ความเอาใจใส่) สนใจดูแลทุกข์สุขและตอบสนองความต้องการของทุกคนในครอบครัวด้วย

ความเอื้ออาทร

L = Love (ความรัก) ให้ความรักและฝึกฝนให้เรียนรู้การแสดงความรักต่อสมาชิกในครอบครัวและผู้อื่น

Y = Yearning(ความปรารถนา) ให้ความปรารถนาที่ดีต่อทุกคนในครอบครัว

สมาชิกในครอบครัวจำเป็นต้องร่วมกันปรับใจเข้าหา ประกอบด้วย

                1.ความรัก ความผูกพัน ห่วงใยซึ่งกันและกัน

                2.ความเป็นอิสระ เป็นตัวของตัวเอง

                3.ความมีน้ำใจ เอื้ออาทร และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

                4.การพักผ่อนหย่อนใจและสนุกร่วมกัน

                5.ความเป็นประชาธิปไตยในครอบครัว

แนวทางการสร้างครอบครัวอยู่ดีมีสุข

                1.การสร้างความรัก ความอบอุ่นในครอบครัว

                2.การไว้วางใจซึ่งกันและกัน

                3.การให้กำลังใจและสนับสนุนซึ่งกันและกัน

                3.การให้อภัยซึ่งกันและกัน

                4.การสื่อสารระหว่างกัน

บทบาทหน้าที่ของพ่อต่อครอบครัว

                1.ให้ความคุ้มครองปกป้องครอบครัว

                2.ให้การค้ำจุนเกื้อหนุนเศรษฐกิจ

                3.เป็นที่พึ่งที่ปรึกษาในยามต้องการ

                4.ให้ความรัก ความอบอุ่นแก่ครอบครัว

                5.เป็นแบบอย่างที่ดีแก่ลูก

                6.ให้เกียรติและเคารพในสิทธิของคนในครอบครัว

บทบาทหน้าที่ของแม่ต่อครอบครัว

                1.สร้างการมีส่วนร่วมในกิจกรรมของครอบครัว

                2.เสริมสร้างบรรยากาศที่ดีในครอบครัว

                3.สร้างสานความผูกพันของครอบครัว.

การเผชิญปัญหาชีวิตครอบครัว

                1.สภาพปัญหาชีวิตครอบครัว (ปัญหาภายในครอบครัว สามีภรรยา พ่อแม่ เด็กและเยาวชน ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ปัญหาภายนอกครอบครัว ปัญหาด้านเศรษฐกิจ สังคม)

2.แนวทางการจัดการกับปัญหาชีวิตครอบครัว

                1.ฝึกการควบคุมอารมณ์ 2.เลือกเวลาที่เหมาะสม 3.เลือกใช้คำพูดในทางสร้างสรรค์ 4.ตั้งใจรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น.

แบบประเมินผลตนเองก่อนเรียน หน่วยที่ 14

1.ข้อใดระบุความหมายของชีวิตครอบครัวได้ถูกต้อง = หมายถึง สภาพการใช้ชีวิตของกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวพันกันทางสายโลหิตหรือกฎหมาย

2.ชีวิตครอบครัวมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของบุคคลอย่างไร = พัฒนาความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง

3.ข้อใดกล่าวถึงวงจรชีวิตครอบครัวได้ถูกต้อง = เป็นลำดับขั้นของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในครอบครัว

4.ข้อใดคือพัฒนกิจของครอบครัว = สมศรีเลี้ยงลูกวัยแรกเกิดด้วยนมแม่

5.สัมพันธภาพในครอบครัวเกี่ยวข้องกับบทบาทหน้าที่ของสมาชิกในครอบครัวอย่างไร = บทบาทหน้าที่ของสมาชิกในครอบครัวบ่งบอกลักษณะสัมพันธภาพในครอบครัว -สมาชิกในครอบครัวต่างมีบทบาทหน้าที่และสัมพันธภาพตามสถานภาพในครอบครัว -บทบาทหน้าที่และสัมพันธภาพในครอบครัวเป็นพฤติกรรมปฏิสัมพันธ์ของสมาชิกในครอบครัว สัมพันธภาพที่ดีเกิดจากความรับผิดชอบต่อบทบาทหน้าที่ของสมาชิกในครอบครัว

6.ข้อใดกล่าวถึงสภาพครอบครัวไทยในอดีตได้อย่างถูกต้อง = ยึดถือขนบธรรมเนียมประเพณี

7.ข้อใดกล่าวถึงสภาพครอบครัวไทยในปัจจุบันได้อย่างถูกต้อง = ดำเนินชีวิตตามสมัยนิยม

8.ต่อไปนี้เป็นกลไกที่นำไปสู่ความสำเร็จของการวางแผนครัว ยกเว้น ข้อใด = การเปลี่ยนแปลงค่านิยมของครอบครัว

9.องค์ประกอบใดเสริมสร้างความอยู่ดีมีสุขของครอบครัว = การอบรมขัดเกลาทางสังคม

10.ข้อใดระบุแนวการเผชิญปัญหาชีวิตครอบครัวอย่างสร้างสรรค์ = การใช้เหตุผล

แบบประเมินผลตนเองหลังเรียน หน่วยที่ 14

1.ข้อใดไม่ใช่ความหมายของชีวิตครอบครัว = สภาพการอยู่ร่วมกันของกลุ่มบุคคลที่มีพันธะผูกพันและบทบาทที่ดีต่อกัน

2.ชีวิตครอบครัวมีความสำคัญต่อประเทศอย่างไร = พัฒนาคุณภาพประชากร

3.วงจรชีวิตครอบครัวหมายถึงอะไร = ลำดับขั้นของการเปลี่ยนแปลงการใช้ชีวิตในครอบครัวเป็นระยะๆ

4.ข้อใดไม่ใช่พัฒนกิจของครอบครัว = ครอบครัวเดินขบวนเรียกร้องค่าเลี้ยงดูบุตร

5.ข้อใดระบุบทบาทหน้าที่ของครอบครัวต่อสังคม = การอบรมขัดเกลาทางสังคม

6.ข้อใดไม่ใช่สภาพครอบครัวไทยในอดีต = ดำเนินชีวิตตามสมัยนิยม

7.ข้อใดไม่ใช่สภาพครอบครัวไทยในปัจจุบัน = ดำเนินชีวิตแบบเรียบง่าย

8.ข้อใดกล่าวถึงการวางแผนครอบครัวที่เหมาะสม = การตรวจสุขภาพก่อนแต่งงาน

9.การเสริมสร้างความอยู่ดีมีสุขของครอบครัวสามารถทำได้อย่างไร = พ่อแม่อยู่ใกล้ชิดรับฟังความคิดเห็นลูก

10.ข้อใดไม่ใช่แนวทางการเผชิญปัญหาชีวิตครอบครัวที่สร้างสรรค์ = การยอมรับสภาพ

หน่วยที่ 15 (คุณธรรมและจริยธรรมในการดำเนินชีวิต)

คุณธรรม หมายถึง มาตรฐานความรู้สึกนึกคิดที่เกี่ยวกับคุณความดีอันเป็นหลักยึดเหนี่ยวการประพฤติการปฏิบัติที่มีอยู่ภายในใจของคน เมื่อใดมีการประพฤติปฏิบัติหรือแสดงให้เห็นออกมาภายในนอก หรือแม้แต่จะเป็นพฤติกรรมที่ปรากฏอยู่ภายใน ไม่สามารถแสดงออกมาให้เห็นได้ เช่น ความเมตตา ความชื่นชมยินดี สภาพคุณความดีดังกล่าวถือเป็นจริยธรรมของคน บางแนวคิดมองคุณธรรมและจริยธรรมจะต้องเป็นสิ่งที่แปรตามลักษณะของสังคมแต่ละสังคม สิ่งที่ดีงามในสังคมอาจไม่เป็นที่ยอมรับในอีกสังคมหนึ่งก็ได้.

ความหมายของคำว่า คุณธรรม และ จริยธรรม

                1.ความหมายตามการตีความในพจนานุกรม ราชบัณฑิตฯ คุณธรรม หมายถึง สภาคุณงามความดี ส่วนคำว่า จริยธรรม หมายถึง ธรรมที่เป็นข้อประพฤติ ปฏิบัติ ศีลธรรม กฎศีลธรรม แต่หากแยกคำซึ่งเป็นคำสมาสที่มาจากคำว่า จริย+ธรรม ก็จะมีความหมายย่อยลงไปอีกว่า จริยะ หมายถึง ความประพฤติ กริยาที่ควรประพฤติ ธรรม หมายถึง คุณความดี

                2.ความหมายตามความเห็นของบุคคลฝ่ายต่างๆ สาโรช บัวศรี ได้อธิบายไว้สั้นๆ ว่า คุณธรรมเป็นส่วนหนึ่งของจริยธรรม ซึ่งประกอบด้วยศีลธรรมประการหนึ่ง และคุณธรรมอีกประการหนึ่ง และอธิบายเพิ่มเติมว่า จริยธรรม คือ แนวทางในการปฏิบัติตนเพื่อจะอยู่กันได้อย่างร่มเย็นในสังคม จริยธรรมองค์ประกอบสำคัญอย่างน้อย 2 ประการ คือ ศีลธรรมและคุณธรรม ซึ่งทั้งสองประการนี้รวมเรียกว่า จริยธรรม.

ความสำคัญของ คุณธรรม และ จริยธรรม

                1.ทำให้คนเป็นคนดี เป็นที่ยอมรับของสังคม 2.ช่วยยกระดับมาตรฐานสังคมให้สูงขึ้น 3.เป็นเครื่องช่วยยกมาตรฐานคุณภาพการดำรงชีวิตที่ดี 4.เป็นแบบอย่างทีดีด้านคุณธรรมและจริยธรรม.

ที่มาของคุณธรรมและจริยธรรมสังคม

                1.เกิดจากอิทธิพลของสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ ในระยะแรกๆ ในระยะที่สังคมนุษย์ยังไม่เจริญ คุณธรรมและจริยธรรมน่าจะมีต้นกำเนิดมาจากอิทธิพลของสภาพแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติ

                2.เกิดจากอิทธิพลของข้อมูลข่าวสารและการเรียนรู้ เมื่อสังคมเจริญมากขึ้น คนมีโอกาสที่จะแสวงหาความรู้ด้วยตนเองได้กว้างขวางขึ้น การรับรู้ ความเชื่อ และศรัทธาของคนแต่ละคนมีผลโดยตรงต่อคุณธรรมและจริยธรรมมากขึ้น ซึ่งความรู้ ความเชื่อ และศรัทธานั้น อาจเกิดจากความเห็นคล้อยตามกัน เกิดจากอารมณ์ร่วม

                3.เกิดจากอิทธิพลของการจัดระเบียบทางสังคม เมื่อสังคมขยายตัวและเจริญมากขึ้น คนมีอิสระในการเคลื่อนไหวและเลือกถิ่นที่อยู่ด้วยตนเองได้มากขึ้น ความแตกต่างด้านความเชื่อ พฤติกรรม และวิถีการดำรงชีวิตในสังคมต่างกันมากขึ้น ทำให้คนเกิดความจำเป็นที่จะต้องจัดระเบียบสังคมเพื่อควบคุมพฤติกรรมของคนมากขึ้น สังคมจำเป็นต้องกำหนดระบบการปกครองและกำหนดกฎหมายหรือกฎเกณฑ์ที่แน่ชัดบังคับให้คนต้องประพฤติหรือปฏิบัติตาม ซึ่งส่วนใหญ่จะสอดคล้องกับความเชื่อทางคุณธรรมและจริยธรรมที่มีมาแต่เดิม

                อย่างไรก็ตาม ระเบียบสังคมที่กำหนดจะมีอิทธิพลต่อจริยธรรมของคน เพราะคนไม่อาจฝ่าฝืนระเบียบสังคมที่กำหนดได้ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือมีจริยธรรมที่ผิดไปจากสิ่งที่สังคมยอมรับจะอยู่ในสังคมได้ยาก พัฒนาการของคุณธรรมและจริยธรรมจึงขึ้นอยู่กับพัฒนาการด้านการจัดระเบียบสังคมด้วย.

ที่มาของคุณธรรมและจริยธรรมบุคคล

                1.เกิดจากการยอมรับค่านิยมหรือลักษณะที่ปรากฏอยู่ในสังคม ที่เห็นว่าดี ถูกต้อง และเหมาะสมกับตน

                2.เกิดจากการไตร่ตรองด้วยเหตุผลของตนเองว่าควรจะประพฤติหรือปฏิบัติอย่างไร

                3.เกิดจากกฎหมายและกฎเกณฑ์ที่แต่ละสังคมวางไว้

                4.เกิดจากการเรียนรู้หรือเลียนแบบ

จากแนวคิดและความเห็นต่างๆ ที่สรุปนำมาเสนอนี้ เราอาจจะเมินได้ว่าคุณธรรมและจริยธรรมของคน น่าจะเกิดจากอิทธิพลของสภาวะแวดล้อมที่ปรากฏอยู่ในสังคมมากกว่ามีผลมาจากพันธุกรรม -พฤติกรรมเกี่ยวกับคุณธรรมและจริยธรรมของคนสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาตามเงื่อนไขและสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ไม่จำกัดเวลา และแม้ว่าขั้นตอนพัฒนาการด้วยจริยธรรมของคนจะคล้ายกัน แต่อัตราพัฒนาการจะแตกต่างกันตามระดับสติปัญญาและสภาพแวดล้อมที่ต่างกัน.

แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับคุณธรรมและจริยธรรม

                แนวคิดของนักคิดในประเทศไทย พระเทพเวที ประยุทธ ปยุตโต ได้พิจารณาตามหลักการของพุทธศาสนา โดยเน้นว่า จริยธรรม เป็นคำที่ตรงกับคำว่า พรหมจรรย์ ซึ่งในทางศาสนาพุทธหมายถึง มัชฌิมาปฏิปทา อันเป็นแนวทางปฏิบัติตนในสายกลางซึ่งมีองค์ประกอบ 8 ประการคือ

                1.รู้และเข้าใจในสิ่งที่ดีและชั่ว มองเห็นเหตุผลที่ถูกต้องด้วยตนเอง สัมมาทิฏฐิ

                2.ดำริและนึกคิดในทางที่ถูกต้อง สัมมาสังกัปปะ

                3.ใช้วาจาและภาษาที่เกิดผลในทางสร้างสรรค์ สัมมาวาจา

                4.ดำรงตนอย่างถูกต้องเหมาะสมไม่เป็นโทษไม่ว่าในทางใด -สัมมากัมมันตะ

5..มีอาชีพที่ชอบธรรมและเป็นคุณ สัมมาอาชีวะ

                6.มีความบากบั่นหมั่นเพียรในทางที่ถูกที่ชอบ สัมมาวายามะ

                7.มีความตื่นตัว ระลึกถึงสิ่งที่ถูก ที่ควร ที่ชอบได้ตลอดเวลา สัมมาสติ

                8.มีความแน่วแน่มั่นคงที่จะคิดและประพฤติแต่ในสิ่งที่ดีงาม สัมมาสติ

สาโรช บัวศรี มีความเชื่อด้านคุณธรรมและจริยธรรมโดยนำหลักศาสนาพุทธมาเป็นแนวทาง สรุปได้ว่า จริยธรรม ประกอบด้วยคุณค่าที่สำคัญสองประการ คือ ศีลธรรม (Moral Value) ซึ่งหมายถึงสิ่งที่ควรงดเว้นไม่พึงปฏิบัติ และคุณธรรม (Ethical Value) ซึ่งหมายถึงสิ่งที่ควรประพฤติปฏิบัติ และได้แบ่งจริยธรรมเป็นระดับใหญ่ๆ สองระดับ คือ ระดับโลกียธรรม เป็นธรรมของผู้ครองเรือนที่ยังเกี่ยวข้องอยู่กับโลกีย์ ระดับโลกุตตรธรรม เป็นจริยธรรมของผู้สละบ้านเรือนแล้ว อยู่เหนือความเป็นไปของโลกีย์ เป็นไปเพื่อความหลุดพ้น เพื่อ มรรค ผล และนิพพาน จริยธรรมระดับนี้จึงเป็นจริยธรรมซึ่งหลุดพ้นจากโลก

แนวคิดของนักคิดต่างประเทศ

แนวคิดของ อิมมานูเอล ค้านท์ เขายังมีความคิดคัดค้านความเห็นที่ว่า จริยธรรมพิจารณาได้จากผลที่เกิดจากการปฏิบัติ เพราะการที่อ้างว่าทำดีย่อมได้ดีและทำชั่วย่อมได้ชั่วนั้น ดีและชั่วที่ได้จะมีผลมาจากความชอบใจและไม่ชอบใจของผู้ที่เกี่ยวข้องอยู่ด้วยเสมอ จริยธรรมของค้นจึงมีค่าอยู่ในตัวของมันเอง ไม่ใช่ผลของพฤติกรรมที่ทำให้คนในสังคมชอบใจหรือไม่ชอบใจ

แนวคิดด้านจริยธรรมของ ลอร์เรนซ์ โคลเบิร์ก ซึ่งเป็นแนวคิดที่มีผู้สนใจกล่าวถึงไว้มากอธิบายว่า

          1.ความรู้ทางจริยธรรม หมายถึง การรับรู้ในแต่ละสังคมว่าอะไรควรและอะไรไม่ควร ซึ่งประมาณความรู้ทางจริยธรรมจะขึ้นอยู่กับอายุ การศึกษา และระดับพัฒนาการทางสติปัญญาของคน เด็กเกิดใหม่จึงไม่มีพฤติกรรมใดๆ เกี่ยวกับจริยธรรม สิ่งที่แสดงออกเป็นความต้องการทางร่างกายและอารมณ์เป็นส่วนใหญ่

2.ทัศนคติที่มีต่อจริยธรรม 3.เหตุผลเชิงจริยธรรม 4.พฤติกรรมทางจริยธรรม

แนวคิดของ อัลเบิร์ต บันดูรา ทฤษฎีนี้เชื่อว่าจริยธรรมเป็นเพียงส่วนหนึ่งของพฤติกรรมสังคม การเรียนรู้ การแสดงพฤติกรรม และการตัดสินความถูกผิดของพฤติกรรมจึงเกิดขึ้นโดยอาศัยกระบวนการที่มนุษย์ใช้ในการเรียนรู้พฤติกรรมสังคมอื่นๆ

                1.สิ่งที่มนุษย์เรียนรู้คือความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์กับเหตุการณ์ และความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมกับผลที่เกิดจากพฤติกรรม ซึ่งจะกลายเป็นความเชื่อที่มีผลในการควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์

                2.การเรียนรู้ของมนุษย์เกิดได้ทั้งจากประสบการณ์ตรงของตนเองและสังเกตจากพฤติกรรมและผลกรรมของผู้อื่น

                3.ผลของการเรียนรู้อยู่ในรูปของความเชื่อว่าอะไรสัมพันธ์กับอะไร และสัมพันธ์อย่างไร ซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับความเป็นจริง

                4.ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมเน้นการเรียนรู้ความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำและผลกรรม (การควบคุมพฤติกรรมด้วยปัญญามีตัวแปรหลักที่เกี่ยวข้อง 3 ตัวคือ ความเชื่อ ความคาดหวัง แรงจูงใจ)

กิจกรรม

                ให้นักศึกษาระบุพฤติกรรมสองพฤติกรรม ซึ่งน่าจะเป็นจริยธรรมสากลตามแนวคิดของค้านท์ได้ =ความซื่อสัตย์สุจริต ความขยันหมั่นเพียร.

จริยธรรมและคุณธรรมสำหรับบุคคล

                การสร้างเสริมคุณธรรมและจริยธรรม คุณธรรมและจริยธรรมที่มีอยู่ในตัวคนเป็นสิ่งไม่คงตัว เพราะคนมักจะปรับตัวเปลี่ยนแปลงไปตามเงื่อนไข และสภาพแวดล้อมซึ่งเป็นเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา หากเงื่อนไขและสภาพแวดล้อมที่รองรับดี การสร้างเสริมคุณธรรมและจริยธรรมก็จะสะดวกและง่ายขึ้น คุณธรรมและจริยธรรมที่มีประสิทธิภาพจึงมุ่งเน้นให้คนเกิดความสำนึกขึ้นได้ด้วยตนเอง เกิดจากความคิดภายในจิตใจที่สามารถตัดสินใจได้อย่างถูกต้องด้วยตนเอง เป็นจิตสำนึกของตนเอง คุณลักษณะดังกล่าวมักจะเรียกว่า มโนธรรม

                อย่างไรก็ตาม การสร้างเสริมจริยธรรมและคุณธรรมนั้น ข้อสังเกตต่อไปนี้น่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้บ้างไม่มากก็น้อย คือ

                1.จริยธรรมและคุณธรรมนั่นเป็นสิ่งไม่คงตัว มีลักษณะอ่อนไหว ปรับตัว เปลี่ยนแปลงตามสภาพแวดล้อมและพื้นฐานที่รองรับ

                2.มาตรฐานของจริยธรรมและคุณธรรมของแต่ละสังคม กลุ่มคน หรือแต่ละอาชีพ ย่อมมีมาตรฐานต่างกัน

                3.จริยธรรมและคุณธรรมเกิดขึ้นได้ทั้งด้วยการใช้อำนาจบังคับและการใช้แรงจูงใจสร้างให้เกิดขึ้นได้ด้วยตัวเอง

                4.ภาวะผู้นำมีอิทธิพลต่อการสร้างเสริมจริยธรรมและคุณธรรม

กิจกรรม

                ให้นักศึกษายกตัวอย่างพฤติกรรมทางคุณธรรมและจริยธรรมที่น่าจะถือว่าเป็นผลเนื่องจากการขัดเกลาทางสังคมมา 3 ตัวอย่าง = การใช้ภาษาพูด การแต่งกาย และมารยาททางสังคม

ให้นักศึกษากำหนดรายการคุณธรรมและจริยธรรมที่เห็นว่าจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของนักศึกษาเองโดยเรียบลำดับความสำคัญ 5 รายการ = ความขยันหมั่นเพียร ความซื่อสัตย์ ความยุติธรรม ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ -ความอดทนอดกลั้น

คุณธรรมและจริยธรรมองบัณฑิตในการดำรงตนอยู่ในสังคม ดังนี้

                1บัณฑิตควรมีความรู้ความเข้าใจในสิ่งที่ดีและชั่วอย่างชัดเจน

                2.บัณฑิตมีหลักคุณธรรมและจริยธรรมที่มั่นคงในการดำรงตน

                3.บัณฑิตย่อมฝึกฝนตนให้มีคุณสมบัติที่พึงประสงค์ 4 ประการต่อไปนี้ได้ คือ ฝึกตนให้เก่ง, ฝึกตนให้เป็นผู้ที่เพียบพร้อมด้วยความรู้ ปัญญา ความสามารถ และคุณธรรม, ฝึกตนเองให้สามารถเสริมสร้างคุณลักษณะที่เหมาะสมให้กับตนเองได้ทั้งภายนอกและภายใน, ฝึกตนให้เป็นคนมีคุณค่า.

คุณธรรมและจริยธรรมในการครองเรือน

                1.การยอมรับนับถือซึ่งกันและกัน (คารวธรรม)

                2.การรู้จักแบ่งปัน เปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมและร่วมมือกัน (สามัคคีธรรม)

                3.การรู้จักใช้วิธีการแห่งปัญญา (ปัญญาธรรม)

จริยธรรมที่พึงประสงค์ในการทำงานไม่ว่าจะประกอบอาชีพอะไรมี 8 ประการ

                1.การรู้จักคิดอย่างมีเหตุผล 2.การรู้จักใช้ปัญญาในการแก้ปัญหา 3.ความมีเมตตาและกรุณา 4.ความมีสติ-สัมปชัญญะ 5.ความไม่ประมาท 6.ความซื่อสัตย์สุจริต 7.ความขยันหมั่นเพียร 8.หิริ-โอตัปปะ (คือความเกรงกลัวต่อการทำชั่วและละอายใจถ้าทำชั่ว คุณธรรมและจริยธรรมในข้อนี้เน้นการควบคุมกาย วาจา และใจให้ถูกต้องทำนองคลองธรรมด้วยตนเอง เป็นคุณธรรมและจริยธรรมขั้นสูงที่จะส่งผลถึงคนและสังคมอย่างกว้างขวาง)

The Seven Social Sins(มหาตมะคานธี เสนอข้อเตือนใจสำหรับนักการเมือง)

                1.Politics without principle เล่นการเมืองโดยไม่มีหลักการ

                2.Pleasure without conscience หาความสุขสำราญโดยไม่ยั้งคิด

                3.Wealth without work ร่ำรวยเป็นอกนิษฐ์โดยไม่ทำงาน

                4.Knowledge without character มีความรู้มหาศาลแต่ความประพฤติไม่ดี

                5.Commerce without morality ค้าขายโดยไม่มีหลักศีลธรรม

                6.Science without humanity วิทยาศาสตร์เลิศล้ำแต่ไม่มีธรรมแห่งมนุษย์             

                7.Worship without sacrifice บูชาสูงสุดแต่ไม่มีความเสียสละ.

พัฒนาการของคุณธรรมและจริยธรรมในสังคมไทย

                หากสังคมใดยังยอมรับนับถือผู้มีหลักฐานบ่งชี้ได้ชัดว่าทุจริตคดโกง สังคมนั้นควรจะมีมาตรฐานคุณธรรมและจริยธรรมด้านความซื้อสัตย์สุจริตอยู่ในระดับต่ำ สังคมใดยังปล่อยปละละเลยให้คนในสังคมมีมาตรฐานการดำรงชีวิตในฐานะมนุษย์ด้วยกันเหลื่อมล้ำจนเป็นที่น่าสมเพชรเวทนา สังคมนั่นน่าจะมีมาตรฐานคุณธรรมและจริยธรรมด้านความเมตตาและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่อยู่ในระดับต่ำ.

องค์ประกอบที่พอจะชี้วัดคุณธรรมและจริยธรรมต่อไปนี้คือ

                1.ค่านิยมทางสังคม 2.วิธีการแก้ปัญหาสังคมและการหาเหตุผลของคนในสังคม 3.มาตรฐานความสัมพันธ์ในการดำรงชีวิตของคนในสังคม

แนวทางพัฒนาการของคุณธรรมและจริยธรรมในสังคมไทย

                1.ขั้นที่ต้องใช้การลงโทษหรือกำหนดเงื่อนไขให้มีการเชื่อฟังและทำตามกรอบหรือแนวทางที่กำหนด

                2.ขั้นการเริ่มใช้เหตุผลมาพิสูจน์สนับสนุนการกระทำของตน

                3.ขั้นการใช้ความสอดคล้องต้องกันของคนในสังคมเป็นเครื่องตัดสินคุณธรรมและจริยธรรม

                4.ขั้นการใช้ระเบียบ กฎหมาย และมาตรการของสังคมเป็นแนวทางพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรม

                5.ขั้นการยึดประโยชน์ที่จะเกิดกับบุคคลและสังคมเป็นหลัก

                6.ขั้นการใช้หลักจริยธรรมสากลหรือมโนธรรม

                7.ขั้นการใช้เหตุผลร่วมกันจากการสนทนาหรือการสื่อสาร.

พระธรรมปิฏก ประยุทธ์ ปยุตโต ให้ความเห็นว่า สภาพของคนไทยในเวลานี้ 3 อย่างคือ

                1.มองแคบ คือมัวแต่มองกันไปมองกันมาอยู่ข้างใน ในหมู่ของพวกเราเอง เหมือนไก่อยู่ในแข่งที่เขาจะเอาไปฆ่าทำเครื่องเซ่นไหว้ตอนตรุษจีน

                2.คิดใกล้ คือรอคอย คอยตามรับจากเขา จึงคิดใกล้หรือคิดสั้น ไปหยุดไปตันแต่ที่เขาทำเท่าน้นเอง

                3.ใฝ่ต่ำ คือ หวังแต่ลาภยศ มุ่งจะหาวัตถุบำรุงบำเรอความสุข และลุ่มหลงเพลิดเพลินอยู่กับการเสพอามิส

แนวทางในการรักษาและพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรม

                แนวทางในการรักษาและพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมในสังคมไทยถูกกำหนดไว้แล้วในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 พ.ศ. 2540-2544

                1.พัฒนาให้เป็นคนเก่งที่มีปัญญา ใฝ่รู้ รู้จักคิด มีเหตุผล ขยันขันแข็ง รู้จักพึ่งตนเอง มีจิตสำนึกรับผิดชอบต่อส่วนรวม สังคม และประเทศชาติ

                2.พัฒนาให้เป็นคนที่มีเมตตา กรุณา กตัญญูรู้คุณ สามัคคี ซื่อสัตย์สุจริต ละเว้นอบายมุข มีระเบียบวินัย ประพฤติปฏิบัติตามจรรยาบรรณ และมีความเป็นประชาธิปไตย

                3.พัฒนาให้เป็นคนที่มีความสุข มีสมาธิ สงบ เยือกเย็น แจ่มใส ร่าเริง พอใจในสิ่งที่มีและยินดีในสิ่งที่ทำ.

แบบประเมินผลตนเองก่อนเรียน หน่วยที่ 15

1.ข้อใดส่งผลกระทบถึงสังคมมากที่สุด = พฤติกรรมด้านคุณธรรมและจริยธรรมของคนในสังคม

2.คุณธรรมและจริยธรรมของคนในสังคมเกิดจากข้อใดมากที่สุด = วีธีการอบรมสั่งสอนคนของแต่ละสังคม

3.ข้อใดน่าจะถือว่าเป็นคุณธรรมและจริยธรรมสากลได้ = ความซื่อสัตย์สุจริต

4.ข้อใดไม่ปรากฏในค่านิยมพื้นฐาน 5 ประการตามประกาศของสำนักวัฒนธรรมแห่งชาติ = การสร้างตนเองให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้

5.สมาชิกของแต่ละครอบครัวมีแนวทางที่จะประพฤติปฏิบัติต่อกันต่างกันเพราะเหตุใด = ลักษณะนิสัยของคนแต่ละคนต่างกัน ครอบครัวแต่ละครอบครัวมีวัฒนธรรมต่างกัน ความเชื่อและความคิดของคนไม่เหมือนกัน -ลักษณะความสัมพันธ์ของคนในครอบครัวของแต่ละสังคมต่างกัน

6.คนหลายคนไม่นิยมใช้ผลผลิตที่ทำจากงาช้างโดยมีเหตุผลต่างกัน ข้อใดน่าจะมีเหตุผลทางคุณธรรมและจริยธรรมขั้นสูงสุด = จะเป็นการส่งเสริมการทำลายชีวิตสัตว์มากขึ้น

7.จริยธรรมวิชาชีพส่งผลต่อข้อใดมากที่สุด = ทำให้อาชีพนั้นเป็นที่เชื่อถือศรัทธา

8.ข้อใดสามารถใช้เป็นเครื่องชี้วัดมาตรฐานทางคุณธรรมและจริยธรรมของสังคมได้ดีที่สุด = ค่านิยมของคนในสังคม

9.ข้อใดมีผลต่อมาตรฐานคุณธรรมและจริยธรรมในองค์กรได้มากที่สุด = ลักษณะนิสัยของคนในองค์กร

10.ผู้ใดเป็นนักคิดทฤษฎีเกี่ยวกับคุณธรรมและจริยธรรม = โคลเบิร์ก (Laerence Kolhberg)ค้านท์ (Immanuel Kant) บันดูรา (Albert Bandura) พีอาเจต์ (Jean Piaget)

แบบประเมินผลตนเองหลังเรียน หน่วยที่ 15

1.ข้อใดส่งผลกระทบถึงสังคมมากที่สุด = พฤติกรรมด้านคุณธรรมและจริยธรรมของคนในสังคม

2.คุณธรรมและจริยธรรมของคนในสังคมเกิดจากข้อใดมากที่สุด = วิธีการอบรมสั่งสอนคนของแต่ละสังคม

3.ข้อใดน่าจะถือว่าเป็นคุณธรรมและจริยธรรมสากลได้ = ความซื่อสัตย์สุจริต

4.ข้อใดเป็นในค่านิยมพื้นฐาน 5 ประการตามประกาศของสำนักวัฒนธรรมแห่งชาติ = การประหยัดและอดออม การปฏิบัติตามคุณธรรมทางศาสนา การมีระเบียบวินัยและเคารพกฎหมาย -การพึ่งตนเองและขยันหมั่นเพียร

5.สมาชิกของแต่ละครอบครัวมีแนวทางที่จะประพฤติปฏิบัติต่อกันต่างกันเพราะเหตุใด = ความเชื่อและความคิดของคนไม่เหมือนกัน ลักษณะความสัมพันธ์ของคนในครอบครัวของแต่ละสังคมต่างกัน = ลักษณะความสัมพันธ์ของคนในครอบครัวของแต่ละสังคมต่างกัน ลักษณะนิสัยของแต่ละคนต่างกัน ครอบครัวแต่ละครอบครัวมีวัฒนธรรมต่างกัน

6.คนหลายคนไม่นิยมใช้ผลผลิตที่ทำจากงาช้างโดยมีเหตุผลต่างกัน ข้อใดน่าจะมีเหตุผลทางคุณธรรมและจริยธรรมขั้นสูงสุด = จะเป็นการส่งเสริมการทำลายชีวิตสัตว์มากขึ้น

7.จริยธรรมวิชาชีพส่งผลต่อข้อใดมากที่สุด = ทำให้อาชีพนั้นเป็นที่เชื่อถือศรัทธา

8.ข้อใดสามารถใช้เป็นเครื่องชี้วัดมาตรฐานทางคุณธรรมและจริยธรรมของสังคมได้ดีที่สุด = ค่านิยมของคนในสังคม

9.ข้อใดมีผลต่อมาตรฐานคุณธรรมและจริยธรรมในองค์กรได้มากที่สุด = ลักษณะนิสัยของคนในองค์กร

10.ผู้ใดเป็นนักคิดทฤษฎีเกี่ยวกับคุณธรรมและจริยธรรม = โคลเบิร์ก (Laerence Kolhberg)ค้านท์ (Immanuel Kant) บันดูรา (Albert Bandura) พีอาเจต์ (Jean Piaget).

---จบ---