ระบบปฏิบัติการเครือข่าย คือ

2.2) ระบบปฏิบัติการแบบเครือข่าย 

เป็นระบบปฏิบัติการที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อจัดการงานด้านการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ และช่วยให้คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่ออยู่ในเครือข่าย สามารถใช้อุปกรณ์ต่างๆ ร่วมกันได้ เช่น ฮาร์ดดิสก์ เครื่องพิมพ์ เครื่องสแกนเนอร์ เป็นต้น สามารถรองรับผู้ใช้งานได้หลายคน รวมทั้งมีระบบป้องกันการสูญหายของข้อมูลด้วย ใช้หลักการประมวลผลแบบไคลเอนท์เซิร์ฟเวอร์ (Client Servere- System) กล่าวคือ เครื่องแม่ข่าย (Server) สามารถให้บริการแก่เครื่องลูกข่าย (Client) ได้หลายเครื่องในเวลาเดียวกัน หากเครื่องลูกข่ายเรียกใช้ข้อมูลจากเครื่องแม่ข่าย ส่วนประกอบของระบบปฏิบัติการเครือข่ายสำหรับการเรียกใช้ข้อมูลและจัดการโปรแกรมจะทำงานอยู่บนเครื่องแม่ข่าย ในขณะที่ส่วนประกอบอื่นๆ ของระบบปฏิบัติการเครือข่ายจะทำงานอยู่บนเครื่องลูกข่าย ได้แก่ การประมวลผลและการติดต่อกับผู้ใช้ ตัวอย่างระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์แบบเครือข่าย มีดังนี้

ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ เซิร์ฟเวอร์ (Windows Server)

เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาโดยบริษัทไมโครซอฟต์ ออกแบบมาเพื่อใช้งานกับระบบเครือข่ายขององค์กรขนาดเล็กและขนาดกลาง นิยมติดตั้งกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นเครื่องแม่ข่ายาที่ให้บริการข้อมูลและโปรแกรมกับเครื่องลูกข่าย ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ เซิร์ฟเวอร์มีการพัฒนาต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ได้แก่ Windows NT , Windows 2000 , Windows Server 2008 ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ เซิร์ฟเวอร์ ถูกออกแบบมาให้มีหน้าที่บริหารควบคุมคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย ซึ่งเป็นที่นิยมของหลายองค์กร

ระบบปฏิบัติการโอเอสทู วาร์ป (OS/2 Warp Server)

เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาโดยบริษัทไอบีเอ็ม ออกแบบมาเพื่อใช้เป็นระบบควบคุมเครื่องแม่ข่าย ติดต่อกับผู้ใช้โดยรูปแบบกราฟฟิก แต่ไม่ค่อยได้รับความนิยม เมื่อ พ.ศ.2549 ทางไอบีเอ็มจึงเลิกพัฒนา ใน พ.ศ.2548 บริษัท เซเรนิตี ซิสเต็ม (Serenity System) ได้พัฒนาระบบปฏิบัติการดังกล่าว โดยใช้ชื่อว่า e-ComStation โดยรุ่นแรกคือ 1.2R และรุ่นล่าสุดคือรุ่น 2.2 RC7 Silver วางจำหน่ายเดือนสิงหาคม พ.ศ.2552 ระบบปฏิบัติการโอเอสทู วาร์ป ออกแบบมาให้ใช้งานง่ายไม่ซับซ้อน

ระบบปฏิบัติการโซลาริส (Solaris)

เป็นระบบปฏิบัติการเครือข่ายที่อยู่ในตระกูลเดียวกับระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ พัฒนาขึ้นโดยบริษัทซัน ไมโคร ซิสเต็ม ออกแบบมาเพื่อใช้งานด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือการขายสินค้าบนอินเตอร์เน็ต ในอนาคตระบบปฏิบัติการโซลาริสมีโครงการจะพัฒนาเป็นระบบปฏิบัติการที่เปิดเผยโค้ด (Open Source) ด้วย
ระบบปฏิบัติการโซลาริส มีรูปแบบของหน้าต่างและการทำงานคล้ายกับระบบปฏิบัติการลินุกซ์ แต่เพิ่มระบบการเชื่อมต่อและการใช้งานแบบเครือข่าย

1.ระบบปฎิบัติเครือข่าย (Network Operating System)
จากพัฒนาการของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เริ่มต้นด้วยการเชื่อมต่ออุปกรณ์ที่เรียกว่าดัมพ์เทอร์มินอล (Dunp Terminail) เข้ากับเครื่องเมนเฟรม จนปัจจุบันอุปกรณ์ระบบเครือข่ายข่ายคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล เครื่องเวิร์คสเตชัน เครื่องเซิร์ฟเวอร์อุปกรณ์เราเตอร์ สวิตซ์ และอุปกรณ์ต่อพ่วงอื่นๆ ผ็ใช้งานคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันจำเป็นต้องแชร์ข้อมูล ซึ่งกันและกัน ข้อมูลที่แชร์นั้นต้องการระบบรักษาความปลอดภัย
และการบริหารจัดการที่ดีจึงได้มีการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่แรกว่า ระบบปฎิบัติการเครือข่าย หรือ NOS (Network Operating System) เพื่อทำหนาที่บริหารจัดการเครือข่ายซึ่งประกอบด้วยอุปกรณ์ต่างๆ มากมาย

ระบบปฎิบัติการในเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล หรือ Operating System จะทำหน้าที่จัดการเกี่ยวกับการเข้าใช้ทรัพยากรต่างๆ ของโปรแกรมบนเครื่องคอมพิวเตอร์ ระบบปฎิบัติการเครือข่ายจะทำหน้าที่จัดการเกี่ยวกับการสื่อสารข้อมูลและการเข้าใจทรัพยากรผ่าน
ระบบเครือข่ายเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้ากับระบบเครือข่ายจำเป็นต้องมีระบบปฎิบัติการ เพื่อที่จะทำหน้าที่ทั้งจัดการทรัพยากรภายในคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่ายโดยปกติแล้วคอมพิวเตอร์
แม่ข่ายหรือเครื่องเซิร์ฟเวอร์ในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์จะติดตั้งระบบปฎิบัติการเครือข่ายที่จะสามารถ บริหารจัดการบริการหลักของระบบเครือข่ายได้ดังนี้ คือ

1.1 บริการไฟล์ข้อมูลและการพิมพ์ (File and Print Services)
การทำงานระดับพื้นฐานของระบบปฎิบัติการเครือข่าย คือการให้บริการในการแชร์เครื่องพิมพ์ ซึ่งมีความจำเป็นสำหรับหน่วยงานหรือองค์กรทั้งท่อยู่ในรูปแบบของเครือข่ายแบบมีสายหรือเครือข่ายแบบไร้สาย รวมถึงความสามารถในการให้บริการพื้นที่ในการจัดเก็บไฟล์ข้อมูล และบริหารจัดการในการเข้าใช้โดยการระบุสิทธิในการเข้าถึงไฟล์ข้อมูลเข้าถึงเครื่องพิมพ์ตามความสำคัญ
หรืออำนาจหน้าที่ของผู้ใช้t

                1.2 บริการดูแลจัดการระบบ (Mangement Services)
ทำหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์เครือข่าย และสมาชิกหรือผู้ใช้ หรือการเชื่อมต่อกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อเป็นการตรวจสอบข้อผิดพลาดและการเฝ้าระวัง บริการดูแลจัดการระบบของระบบปฎิบัติการเครื่อข่าย จะใช้ลดการซ้ำซ้อนและการทำให้การบริการดูแลจัดการระบบยิ่งง่ายขึ้น

                1.3 บริการรักษาความปลอดภัย (Security Services)
ปัจจุบันระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะระบบที่มีการเชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตด้วยแล้ว จะมีความเสี่ยงรักษาความปลอดภัยของข้อมูลและระบบ ที่อาจจะถูกรบกวนจากบุคคลภายนอก หรือแม้กระทั้งการจัดการกำหนด สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลให้กำผู้ใช้งานในองค์กรเอง ระบบปฎิบัติการเครือข่ายที่ดีจึงควรมีฟังชั่นรักษาความปลอดภัยข้อมูลในเครือข่าย รวมถึงฟังก์ชั่นในการกำหนดสิทธิของผู้ใช้และกลุ่มผู้ใช้งานเข้าถึงข้อมูลด้วย

                1.4 บริการอินเทอร์เน็ตและอินทราเน็ต (Internet and Intranet Services)
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ในหน่วยงานหรือองค์กรปัจจุบัน ส่วนมากต้องมีการเชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หรืออย่างน้อยก็จะทำให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ให้บริการอินทราเน็ตรวมอยู่ด้วย ดังนี้นระบบปฎิบัติการเครือข่าย จะต้องมีบริการด้านอินเทอร์เน็ต เพื่อรับรองบริการฟังก์ชั่นดังกล่าว เช่น DNS Server, Web Server, Mail Server และ Ftp Server เป็นต้น

         1.5 บริการมัลติโพรเซสซิงและคลัสเตอริง (Multiprocessing and Clustering Services)
มัลติโพรเซสซิ่ง : Multiprocessing ถือได้ว่าเป็นระบบมัลติโปรเซสเซอร์ คือ ระบบที่มี CPU มากกว่าหนึ่งตัวในเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายหรือเครื่องเซิร์ฟเวอร์ การที่เซิร์ฟเวอร์มี CPU หลายตัวจะช่วยนการทำงานของ Application ที่ทำงานบนระบบทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นหากระบบปฎิบัติการเครือข่ายและ Application ดังกล่าวรับรองบริการมัลติโปรเซสซิ่ง
คลัสเตอริง : Clustering ในการให้บริการเครือข่ายหากต้องการเพื่องประสิทธิภาพในการทำงาน
ของระบบโดยรวมแล้ว บริการคลัสเตอริ่ง เป็นรูปแบบที่เครื่องแม่ข่ายหรือเซิร์ฟเวอร์มีจำนวนหลายๆเครื่อง มาช่วยกันทำงานงานใดงานหนึ่ง หรือหลายๆงาน จะช่วยให้ประสิทธิภาพของระบบดีขึ้น ทั้งในด้านทำงานในรูปแบบการให้บริการแทนกันได้ หากมีเครื่องใดเครื่องหนึ่งมีปัญหา หรือการแบ่งงานจากเครื่องอื่นท่รับรองงานมากเกินไป

2.ระบบปฎิบัติการเน็ตแวร์ (Netware)

เป็นระบบปฏิบัติการที่มีผู้นิยมใช้งานในระบบเครือข่ายมากสำหรับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ในยุคแรกๆ พัฒนาโดยบริษัท Novell จัดเป็นระบบปฏิบัติการเครือข่ายที่ทำงานภายใต้ MS-DOS ระบบปฏิบัติการเครือข่าย Netware ในขณะนี้ สรุปได้ดังนี้
– 1. Personal Netware (Netware Lite)
เป็นระบบเครือข่ายขนาดเล็ก เชื่อมต่อในลักษณะ Peer-to-Peer โดยคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายนั้น จะติดต่อกันในกลุ่มเครือข่าย โดยไม่มีเครื่องใด
เครื่องหนึ่งเป็นเครื่องเซอร์เวอร์โดยเฉพาะ ไม่เหมาะกับระบบเครือข่ายขนาดใหญ่ เพราะมีการจัดการเกี่ยวกับระบบความปลอดภัยค่อนข้างน้อย
– 2. Netware 3.1x
เป็นระบบเครือข่ายแบบไคลเอ็นต์เซอร์เวอร์ มีเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งหรือมากกว่าที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการบริการข้อมูล โดยเฉพาะ Netware 3.12 นั้นยังเป็นที่นิยมใช้กันมากจนถึงปัจจุบัน สามารถต่อเครือข่ายได้สูงสุด 250 ยูสเซอร์ ต่อ 1 เซอร์เวอร์ ปัจจุบันพัฒนา Netware 3.2 แล้ว
– 3. Netwware 4.xx
เป็นเวอร์ชันที่มีลักษณะคล้ายกับ Netware 3.12 แต่มีรายละเอียดซับซ้อนมากกว่าในเรื่องของการจัดการและการออกแบบโครงสร้าง NDS ในเวอร์ชันนี้สามารถต่อเครือข่ายได้สูงสุด 1000 ยูสเซอร์ และสามารถรองรับซีพียูในการประมวลผลได้มากกว่าหนึ่งตัว
– 4. Netware 5
เป็นเวอร์ชันที่ใช้สำหรับเครือข่ายขนาดใหญ่ เชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเตอร์เน็ต สนับสนุนโปรโตคอลหลายชนิดด้วยกัน เช่น TCP/IP รวมทั้งการติดตั้งระบบเครือข่ายอินทราเน็ต และความสามารถในการจัดการระบบต่าง ๆ เช่น Web-based Management , File System, Javaเป็นต้น

ระบบปฏิบัติการเครือข่าย คือ

3.ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ (UNIX)
ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ (UNIX) มีต้นกำเนิดจากห้องปฏิบัติการวิจัย Bell ประเทศสหรัสอเมริกาโดย Ken Thompson และ Dennis Ritchie เมื่อปี พ.ศ. 2512 สถาบัน MIT (General Electric) ร่วมพัฒนาโครงการ Multics ในปี 1960 เพื่อพัฒนาระบบปฏิบัติการสำหรับ Mainframe Computer รุ่น GE 635 โดยให้ระบบปฏิบัติการนี้มีความสามารถทำงานแบบโต้ตอบ (Interactive) มีระบบอำนวนความสะดวกต่อการใช้แฟ้มและข้อมูลร่วมกันได้ แต่เกิดปัญหาหลายประการ ต่อมา Ken & Dennis ได้ร่วมพัฒนาระบบปฏิบัติการใหม่ เพื่อทำงานบนเครื่อง PDP – 7 และใช้ชื่อว่าระบบปฏิบัติการ UNIX เพื่อให้ออกเสียงใกล้เคียงกับระบบ Multics ดังนี้นต้นกำเนิดของ  UNIX ก็คือ Multics นั่นเองหลังจากนั่นได้พัฒนามาเป็น Version 2 เพื่อทำงานบนเครื่องรุ่น PDP – 11/20 โดยใช้ภาษา Assembly และพัฒนาปรับปรุงด้วยภาษา C (ภาษาC ก็พัฒนาที่ห้องวิจัย Bell Labs เช่นกัน เพื่อระบบการทำงานบนระบบ UNLX) และเผยแพร่ไปสู่มหาวิทยาลัยต่างๆ ด้วย Version 6 ในปี ค.ศ. 1976
ในปี ค.ศ. 1978 Version 7 ก็ถูกพัฒนาออกมา ซึ่งเป็นต้นแบบของระบบ UNLX รุ่นใหม่ๆ หลังจากนั้น AT&T ซึ่งเป็นองค์กรแม่ของ Bell Labs ได้เป็นผู้รับผิดชอบ และควบคุมการออกตัวระบบปฏิบัติการ UNLX ดังนั้น UNLX จึงกลายเป็นผลิตภัณฑ์ แทนที่จะเป็นเครื่องมือวิจัย AT&T ได้พัฒนา UNLX ออกมาภายนอก ภายใต้ชื่อ System III ในปี 1982 และปี 1983 ก็ออก System V และพัฒนามาเรื่องๆ จนได้รับความนิยมในปัจจุบัน
ปัจจุบัน UNLX เป็นเครื่องหมายการค้าจดทะเบียน (Registered Tredemark) ของหน่วยงานที่ชื่อ The Open Group ซึ่งจะทำการกำหนด และรับรองมาตรฐานของระบบปฏิบัติการ UNLX 2 ลักษณะคือ

– ระบบปฏิบัติการที่ได้มาตรฐาน UNLX เป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้มาตรฐานของ The Open Group ในการพัฒนาขึ้นมา เช่น Digital UNIX, SCO UNIX,IBM’s OpenEdition MVS

– ระบบปฏิบัติการคล้าย UNLX (UNLX Compatible) เป็นระบบปฏิบัติการที่มีลักษณะคล้ายระบบ UNLX แต่ยังไม่ได้จดทะเบียน รับรองเป็นทางการ เช่น Sun Solaris, IBM AIX, Linux

ระบบปฏิบัติการเครือข่าย คือ

4.ระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ (Linux)
ระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ เป็นระบบปฏิบัตการแบบ UNLX Compatible ตัวหนึ่งที่ทำงานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ พัฒนาขึ้นเป็นครั้งแรก ในปี ค.ศ 1991 โดยนักศึกษาชื่อ Linus B. Torvalds ณ University of Helsinki ประเทศฟินแลนด์ โดยมีแรงบันดาลใจมาจากระบบ Minix ซึ่งเป็นระบบปฏิบิติการคล้ายๆ UNLX  ตัวหนึ่งที่พัฒนาโดย Andy Tanenbaum เพื่อประกอบการเรียนรู้ในหนังสือเกี่ยวกับการออกแบบระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์
Linux Version 0.01 ถูกแจกจ่ายให้ทดลองใช้ประมาณปลายเดือน ส.ค. 1991 โดยมีเฉพาะ  Harddisk Driver และระบบไฟล์ขนาดเล็ก ผู้ใช้ต้องมีระบบ Minix อยู่แล้ว จึงสามารถทำการคอมไพล์ และทดลองใช้งายได้ เนื่องจากยังไม่มีโหลดเดอร์ และคอมไพเลอร์ ต้องอาศัยการคอมไพล์ข้ามระบบ และบูตระบบผ่าน Minix ต่อมา Linux อย่างเป็นทางการในวันที่ 5 ตุลาคม 1991 ด้วย Version 0.02 ซึ่งยังคงเป็นระบบปฏิบัติการ สำหรับผู้พัฒนาโปรแกรมระบบอยู่ จนกระทั่งได้เปิดตัว Version 1.0 ในเดือนมีนาคม 1994 และเริ่มมีผู้ใช้กันอย่างแพร่หลายเนื่องจากเป็นระบบปฏิบัติการคล้าย UNIX ที่สมบูรณ์แบบ อีกทั้งยังมีความสามารถสนับสสนุนกราฟิก X Window สนับสนุนระบบเครือข่าย TCP/IP สามารถรับ – ส่งอีเมล์ ทำหน้าที่เป็น Web Server, FTP Server ได้
การทำงานของระบบปฏิบิการลีนุกซ์ เป็นระบบปฏิบัติการโอเพ่นซอร์ส (Open Source) ถือเป็นระบบเปิด (Open System) จึงมาหลายบริษัทนำเอาระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ไปพัฒนา เช่น Red Hat ,Caldera ,Mandrake เป็นต้น โดย Red Hat Linux จะได้รับความนิยมจากการใช้งานค่อยข้างมาก ซึ่ง Red Hat ยังแบ่งออกเป็นหลายเวอร์ชั่น เช่น Red Hat Linux 9 ,Red Hat Linux 9 Professional และ Red Hat Enterprise Linux เป็นต้น

ระบบปฏิบัติการเครือข่าย คือ

5.ระบบปฏิบัติการโซลาริส (Solaris)

โซลาริส หรือ The Solaris Operating Enciornment (Solaris) เป็นระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ แบบยูนิกซ์ ที่พัฒนาโดยบริษัท
วัน ไมโครซิสเต็มส์ (Sun Microsytems) ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ เซมิคอนดักเตอร์ และซอฟต์แวร์ ติดตั้งอยู่ในซิลิคอนวัลเลย์ สหรัฐอเมริกาผลิตภัณฐ์เด่นที่เป็นรู้จัก โดยทั่วไปของบริษัท ซัน ไมโครซิสเต็มส์ ได้แก่ เครื่องเซิร์ฟเวอร์และเวิร์กสสเตชัน ที่ใช้หน่วยประมวลผลสปาร์ค (SPARC) และระบบปฏิบัติการโซลาริส (Solaris) ระบบไฟล์บนเครือข่าย NFS และ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาษาจาวาและจาวาแพลตฟอร์ม (Java) นอกจากนี้ ซันยังเป็นผู้สนับสนุนหลักของ โครงการโอเพ่นออฟฟิศดอทอ็อก (OpenOffice.org) ซึ่ง เป็นชุดซอฟต์แวร์สำนักงานแบบโอเพ่นซอร์ส อีกด้วย
ระบบปฏิบัติการโซลาริสใช้ได้กับสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ 2 แบบ คือ แบบ สปาร์ค และแบบ x86 (แบบเดียวกับในเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลทั่วไป) รุ่นแรกๆ ของโซลาริส ใช้ชื่อว่า ซันโอเอส (SunOS) โดยมีพื้นฐานมาจากยูนิกซ์ตระกูลบีเอสดี และต่อมาได้เปลี่ยนมาใ
ช้โค้ดของ ซิสเต็มส์ไฟว์ (System V) แทน และเปลี่ยนชื่อมาเป็น โซลาลิส ดังเช่นในปัจจุบัน โดยรุ่นปัจจุบัน (ก.ค. 2548) ของโซลาริสคือ โซลาริส 10

ระบบปฏิบัติการเครือข่าย คือ

6.ระบบปฏิบัติการไมโครซอฟท์วินโดวส์ เซิร์ฟเวอร์ 2003 (Microsoft Windows Server 2003)

ไมโครซอฟท์วินโดวส์ (Microsoft Windows) เป็นระบบปฏิบัติการ ซึ่งพีฒนาโดยบริษัทไมโครซอฟท์ เปิดตัวเมื่อปี พ.ศ. 2528 (ค.ศ.1985) และครองนิยมในตลาดคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ในส่วนของระบบปฏิบัติการ 32 บิต ที่ออกแบบมาสำหรับธุรกิจที่ต้องการประสิทธิภาพ และใช้งานเป็นระบบปฎิบัติการเครือข่าย รุ่นแรกที่ออกคือ วินโดวส์เอ็นที 3.1 คำว่าเอ็นทีย่อมาจากคำว่า New Technology ตามด้วย วินโดวส์เอ็นที 3.5 (ค.ศ. 1994) วินโดวส์เอ็นที 3.51 (ค.ศ. 1995)  และ วินโดวส์เอ็นที 4.0 (ค.ศ. 1996) หลังจากวินโดวส์ 95 วางตลาด ไมโครซอฟท์พยายามนำเอาเทคโนโลยี 32 บิตมาใช้ในวินโดวส์สำหรับผู้ใช้ตามบ้าน วินโดวส์ 2000 เป็นรุ่นถัดมาของ 2003 นอกจากนี้ยังมี ระบบปฏิบัติการ 64 บิต สำหรับซีพียู 64 บิต ของบริษัทเอเอ็มดี ในชื่อ AMD64 และอินเทลในชื่อ EM64T คือ วินโดวส์เอ็กซ์พี x64 Edition และระบบปฏิบัติการไมโครซอฟท์วินโดวส์ เซิร์ฟเวอร์ 2003 x64 Edition
ระบบปฏิบัติการไมโครซอฟท์วินโดวส์ เซิร์ฟเวอร์ 2003 ประกอบด้วย Edition ต่างๆ ดังนี้

– Small Business Server    สำหรับเซิร์ฟเวอร์ขนาดเล็ก
– Web Edition                        สำหรับเซิร์ฟเวอร์ทั่วไป
– Standard Edition                เหมาะสำหรับองค์กรขนาดเล็กที่ไม่ได้ทำคลัสเตอร์
– Enterprise Edition             สำหรับเซิร์ฟเวอร์ขนาดใหญ่ หรือคลัสเตอร์
– Datacenter Edition            สำหรับเซิร์ฟเวอร์ที่ต้อิงการประสิทธิภาพสูง
– Storage Server                   สำหรับเก็บข้อมูลแบบเครือข่าย

ระบบปฏิบัติการเครือข่าย คือ

Windows NT

Windows NT เป็นระบบปฏิบัติการแบบ Microsoft Windows บนเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ที่ได้รับการออกแบบสำหรับผู้ใช้และธุรกิจของระบบ ที่มีความสามารถระดับสูง Windows NT แบ่งได้ 2 ระดับ คือ Windows NT Workstation และ Windows NT Server Workstation ได้รับการออกแบบให้ใช้กับผู้ใช้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหน่วยธุรกิจ ซึ่งต้องการมีความเร็วและระบบที่เสียหายน้อย และ Windows 98 Server มีความสามารถในการประยุกต์กับ Internet Server เช่น Microsoft Internet information Server (IIS) สำหรับระบบ Windows ที่วางแผนที่จะใช้ เว็บเพจ

Windows NT Workstation เป็นระบบปฏิบัติการ 32 บิต ที่มีความเร็วมากกว่า Windows95 20% ตั้งแต่ระบบ 16 บิต การจัดพื้นที่การทำงานจะให้โปรแกรมใช้พื้นที่ที่แยกจากกัน เมื่อมีโปรแกรมหนึ่งเสียหาย จะไม่มีผลต่อโปรแกรมอื่นหรือระบบปฏิบัติการ ในส่วนระบบความปลอดภัยและการบริหารการอินเตอร์เฟซ ของ Work Station เหมือนกับ Windows 95

Windows NT Server เป็นระบบที่ได้รับความนิยมมากในระบบเครือข่าย Microsoft กล่าวว่า NT Server เริ่มที่จะเข้าไปแทนที่ Netware และระบบ Unix ต่าง ๆ เช่น Sun Microsystems และ Hewlet-Packard สำหรับ NT server 5.0 จะใช้ชื่อใหม่ว่า Windows2000 ส่วนสำคัญของ Windows 2000 คือ

– การเจาะจงการบริหารอย่างเดิม ตามประเภทงาน นอกเหนือจากไฟล์ โปรแกรม และ Users
– วิธีการใหม่ของ file directory เรียกว่า Active Directory ที่ให้ผู้บริหารระบบและผู้ใช้งาน สามารถดูไฟล์และโปรแกรมในระบบเครือข่าย ผ่านการดูที่จุดเดียว
– Dynamic Domain Name Server (DNS) จะทำการ replicate การเปลี่ยนแปลงในระบบเครือข่าย โดยใช้ Active Directory Service, Dynamic Host Configuration Protocol (DHCP) และ Windows Internet Naming Service (DVINS) ถ้าลูกข่ายต้องการการคอนฟิกใหม่
– สามารถสร้าง ขยาย และ Mirror ขนาดของดิสก์ โดยไม่ต้องปิดระบบและทำการสำรองข้อมูล ด้วยอุปกรณ์การเก็บได้หลายประเภท เช่น Magnetic หรือ Optical Storage media
– Distributed File System (DFS) ให้ผู้ใช้มองเห็นกลุ่มการกระจายของไฟล์ในโครงสร้างไฟล์เดียว ข้ามแผนก ฝ่าย และหน่วยธุรกิจ
– สนับสนุนและร่วมกับ Microsoft’s Message Queue Server, Transaction Server, และ Internet information Server (IIS)

ระบบปฏิบัติการแบบเครือข่าย มีอะไรบ้าง

ระบบปฏิบัติการเครือข่ายเน็ตแวร์ (Netware) ระบบปฏิบัติการเครือข่ายวินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ (Microsoft Windows Server ) ระบบปฏิบัติการเครือข่ายยูนิกซ์ (Unix) ระบบปฏิบัติการเครือข่ายลินุกซ์ ( Linux)

อะไรคือความหมายของระบบปฏิบัติการแบบเครือข่าย

ระบบปฏิบัติการแบบเครือข่าย (Network OS) เป็นระบบปฏิบัติการที่มุ่งเน้นและให้บริการสำหรับผู้ใช้หลาย ๆ คน ( multi – user ) มักพบเห็นได้กับการนำไปใช้ในองค์กรธุรกิจทั่วไป เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งระบบปฏิบัติการเหล่านี้เรียกว่า เครื่อง server ซึ่งเป็นเสมือนเครื่องแม่ข่ายที่ให้บริการข้อมูลต่าง ๆ ที่จำเป็นสำหรับผู้ใช้ ...

ระบบปฏิบัติการใดเป็น NOS

ระบบปฏิบัติการเครือข่าย (Network operating System หรือ NOS) จะเป็นระบบปฏิบัติการที่ถูก ออกแบบมาสาหรับจัดการงานด้านการติดต่อสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ และช่วยให้คอมพิวเตอร์ที่ต่ออยู่กับ เครือข่ายสามารถใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น ฮาร์ดดิสก์หรือเครื่องพิมพ์ร่วมกันได้ระบบปฏิบัติการเครือข่ายมี คุณสมบัติต่างๆ คล้ายระบบปฏิบัติการเอ็ ...

ระบบปฏิบัติการเครือข่ายปัจจุบันนิยมใช้กลักการใด

ระบบปฏิบัติการเครือข่ายที่นิยมใช้ปัจจุบัน จะใช้หลักการประมวลผลแบบไคลเอนต์เซิร์ฟเวอร์ (Client / Server) โดยส่วนประกอบสำหรับการ เรียกใช้แฟ้มข้อมูลและการจัดการโปรแกรมจะทำงานอยู่บนเครื่องเซิร์ฟเวอร์ ในขณะที่ส่วนประกอบอื่น ๆ ของระบบปฏิบัติการเครือข่ายจะอยู่บนเครื่อง