ขั้วบวกของแบตเตอรี่ทำด้วยโลหะชนิดใด


1. ส่วนประกอบของแบตเตอรี่

           แบตเตอรี่เป็นแหล่งพลังงานไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจากปฏิกิริยาเคมี ซึ่งมีส่วนประกอบหลัก ดังนี้

ขั้วบวกของแบตเตอรี่ทำด้วยโลหะชนิดใด

           

1) ขั้วแบตเตอรี่ (Pole)

           2) แผ่นธาตุลบ (Negative Plate)

           3) แผ่นกั้น (Separator& Glass mat)

           4) แผ่นธาตุบวก (Positive Plate)

           6) เปลือกหม้อและฝาหม้อ (Container3 & Lid)

2. หน้าที่ของ แบตเตอรี่

         1) แหล่งพลังงานจ่ายไฟให้แก่สตาร์ทเตอร์ และระบบจุดระเบิดให้แก่เครื่องยนต์ เพื่อให้เครื่องยนต์หมุนและติดเครื่องได้

          2) เป็นแหล่งให้พลังงานแก่ระบบไฟฟ้าอื่นๆในรถยนต์เมื่อระบบไฟฟ้าในรถยนต์ต้องการกำลังไฟฟ้า

มากกว่าที่ระบบจ่ายไฟของรถยนต์จะจ่ายได้รักษาระดับกระแสไฟให้คงที่


ขั้วบวกของแบตเตอรี่ทำด้วยโลหะชนิดใด
 

3. ชนิดของแบตเตอรี่

           1) แบตเตอรี่แบบธรรมดา (เติมน้ำกรดแล้วชาร์จไฟในครั้งแรก จากนั้นต้องหมั่นดูแลระดับน้ำอย่างสม่ำเสมอ)

         2) แบตเตอรี่แบบไม่ต้องเติมน้ำกลั่น (Free Maintenance) หรือโดยทั่วไปนิยมเรียกว่า “แบตแห้ง” (แบตเตอรี่ชนิดนี้มีการเติมน้ำกรดและชาร์จไฟมาจากโรงงาน ก่อนการติดตั้งสินค้าในครั้งแรกต้องทำการกระตุ้นแผ่นธาตุโดยการชาร์จไฟฟ้าระยะสั้นประมาณ 5-10 นาที จากนั้นไม่ต้องดูแลระดับน้ำในระยะแรก (เดือนแรก) หลังจากนั้นควรดูแลประมาณ 3 เดือนครั้ง เนื่องจากแบตเตอรี่ชนิดนี้มีระบบป้องกันการระเหยของน้ำทำให้มีการระเหยของน้ำในแบตเตอรี่ต่ำมาก

4. การทำงานแบตเตอรี่

        1) แบตเตอรี่ตะกั่ว-กรด ประกอบด้วยเซลล์หรือหมู่ของเซลล์ต่อเข้าด้วยกัน ในหมู่ของเซลล์ประกอบขึ้นด้วยกลุ่มของแผ่นธาตุทั้งแผ่นบวกและแผ่นลบ ซึ่งแผ่นธาตุทั้งบวกและลบทำจากโลหะต่างชนิดกันกั้นด้วยฉนวน เรียกว่า “แผ่นกั้น” โดยนำมาจุ่มไว้ใน “ELECTROLYTE” หรือที่เรียกว่า “น้ำกรดผสม” (Sulfuric Acid) น้ำกรดผสมจะทำปฏิกิริยากับแผ่นธาตุในเชิงเคมีเพื่อเปลี่ยนพลังงานเคมีเป็นพลังงานไฟฟ้า และแต่ละเซลล์สามารถจ่ายประจุไฟฟ้าได้ประมาณ 2 โวลต์ เซลล์ของแบตเตอรี่ส่วนมากจะถูกนำมาต่อเข้ากับ “แบบอนุกรม” (Series) ซึ่งจะเพิ่มโวลต์หรือแรงดันขึ้นเรื่อยๆ เช่น แบตเตอรี่ 12 โวลต์ จะต้องใช้จำนวนเซลล์ 6 เซลล์

มาต่อกัน แบบอนุกรมแบตเตอรี่ 24 โวลต์ ใช้ 12 เซลล์ เป็นต้น

     2) การเกิดพลังงานไฟฟ้า แผ่นธาตุสองชนิด “แผ่นบวก” คือ LEAD DIOXIDE และ “แผ่นลบ” คือ SPONGE LEAD ถูกนำมาจุ่มลงในกรดผสม “แรงดัน” (Volt) ก็จะเกิดขึ้นที่ขั้วทั้งสอง เมื่อระบบแบตเตอรี่ครบวงจร กระแสก็จะไหลทันทีเพื่อเปลี่ยนพลังงานเคมีออกมาเป็นพลังงานไฟฟ้า ในกรณีนี้เรียกว่า “การคายประจุไฟ

(Discharge) ซึ่งตัวกรดในน้ำกรดผสมจะวิ่งเข้าทาปฏิกิริยาต่อแผ่นธาติทั้งทางบวกและลบโดยจะค่อยๆ เปลี่ยนสภาพของแผ่นธาตุทั้งสองชนิดให้กลายเป็นตะกั่วซัลเฟรต

(Lead Sulfate) เมื่อแผ่นธาตุทั้งบวกและลบเปลี่ยนสภาพไปเป็นโลหะชนิดเดียวกัน คือ “ตะกั่วซัลเฟรต” แบตเตอรี่ก็จะไม่มีสภาพของความแตกต่างทางแรงดันกระแส ก็จะทำให้กระแสหยุดไหลหรือไฟหมด

5. TRACTION BATTERIES

  ส่วนประกอบ (Constraction)

1) แผ่นธาตุบวก (Positive Plate) เป็นโลหะผสมของตะกั่ว ละเลงด้วยเพสต์ของผงตะกั่วผสม กับสารละลายกรดซัลฟูริก (Sulfulic Acid) มี 2 ชนิด “แบบหลอด” (Tubular Type) และ “แบบเรียบ” (Pasted Type)

2) แผ่นธาตุลบ (Negative Plate) เป็นโลหะผสมของตะกั่วเช่นเดียวกัน แต่เติมสารเร่งปฏิกิริยามีเฉพาะ “แบบเรียบ” (Pasted Type)

3) แผ่นกั้น (Seperator) มีหลายชนิด เช่น แผ่นกั้นยางไมโครโฟรัส(Microporous Rubber), พลาสติก (Plastic),กระดาษใยแก้ว

4) เปลือกและฝา (Container & Cover) ทาจากพลาสติก Transparent Plastic ซึ่งมีความยืดหยุ่นทนต่อแรงกระแทก ทนต่อการกัดกร่อนของกรด

6. การประจุไฟ (Charging)

           การประจุไฟครั้งแรก แบตเตอรี่ที่นำมาใช้งานเมื่ออยู่ในสภาพยังไม่ได้เติมน้ำกรดผสม และไม่ได้รับการประจุไฟ หรือบางครั้งอาจเติมน้ำกรดผสมและประจุไฟมาแล้ว

ควรนำมาเติมน้ำกรดผสม และทำการประจุไฟครั้งแรก หรือเพียงแต่ประจุไฟเพิ่มเติม แล้วแต่สภาพของแบตเตอรี่

1) การเติมน้ำกรดผสม (Electrolyte) ให้เติมน้ำกรดผสมเจือจางที่มีความถ่วงจำเพาะ (Specific Gravity) ตามที่กำหนด (1.280 + 0.010) ลงไปในเซลล์จนระดับน้ำ

กรดผสมอยู่เหนือแผ่นธาตุ โดยพยายามไม่ให้น้ำกรดล้นออกจากเซลล์ โดยที่อุณหภูมิของน้ำกรดผสมก่อนเติมจะต้องต่ำกว่า 35 °C

2) การต่อแบตเตอรี่เข้ากับเครื่องประจุไฟ ต้องใช้กระแสไฟตรง (Direct Current) เท่านั้นในการประจุไฟ โดยต่อขั้วบวกของแบตเตอรี่เข้ากับขั้วบวกของเครื่อง

ประจุไฟ ขั้วลบของแบตเตอรี่เข้ากับขั้วลบของเครื่องประจุไฟ ตรวจดูให้แน่ใจเสมอว่า ต่อขั้วแบตเตอรี่ถูก 

3) เริ่มประจุไฟภายหลังเติมน้ำกรดผสมไปแล้ว 3-10 ชั่งโมง โดยอุณหภูมิของน้ำกรดผสมต้องต่ำกว่า 40 °C หากพบว่าระดับนำกรดผสม (Electrolyte) ต่ำลงให้เติมลงไปจนถึงระดับสูงสุด (Maximum Level)

4) ทำการประจุไฟติดต่อกันไปตลอดด้วยกระแสไฟ และระยะเวลาตามที่กำหนดใน Spec

5) ขณะประจุไฟ ถ้าอุณหภูมิของ ELECTROLYTE สูงเกิน 50 °C ให้ลดกระแสไฟลงหรือหยุดประจุไฟ อย่าให้อุณหภูมิของ ELECTROLYTE สูงถึง 60 °C

6)การวัดและจดบันทึกข้อมูลขณะทำการประจุไฟครั้งแรกควรมีการวัดและจดบันทึกค่าของกระแสไฟ (Ampere) แรงดันไฟฟ้า (Voltage) ความถ่วงจำเพาะ

(SP.gr.) และอุณหภูมิ (Temperature)

7) เมื่อสิ้นสุดการประจุไฟ จะได้ค่าความถ่วงจำเพาะ (Specific Gravity) ของน้ำยา (Electrolyte) ประมาณ 1.280 ปล่อยแบตเตอรี่ไว้เฉยๆ ประมาณ 1 ชั่วโมง

ปรับระดับของ ELECTROLTE ให้ถึงระดับสูงสุด ปิดจุกหมุนเกลียวช่องเติมกรดให้แน่น

7. สาเหตุที่ทำให้แบตเตอรี่เสื่อม

ขั้วบวกของแบตเตอรี่ทำด้วยโลหะชนิดใด


           1) การประจุไฟที่น้อยเกินควร Under Charging

               อาการ และลักษณะที่เกิดขึ้น:

                   1.1) เกิดคราบขาวที่แผ่นธาตุของแบตเตอรี่ส่งผลให้ประจุไฟได้ยาก

                   1.2) ทำให้แผ่นธาตุจะเสื่อมสภาพ

           2) การประจุไฟที่มากเกินควร Over Charging

               อาการ และลักษณะที่เกิดขึ้น:

                   2.1) น้ำกลั่นแปรสภาพเป็นแก๊สมากทำให้ระดับน้ำกลั่นลดลง

                   2.2) อุณหภูมิสูงขึ้นมากทำให้แผ่นธาตุเสื่อม

                   2.3) ทำให้ผงตะกั่วเกิดการสึกกร่อนจากแผ่นธาตุ

                   2.5) ลดอายุการใช้งานของแบตเตอรี่

           3) การลัดวงจรในช่องแบตเตอรี่ Short Circuit

               อาการ และลักษณะที่เกิดขึ้น:

                    3.1) เกิดตะกอนที่อยู่ส่วนล่างของหม้อแบตเตอรี่มากเกินไป

                3.2) เกิดจากการแตกหักหรือการเสื่อมสภาพของแผ่นกั้นระหว่างแผ่นธาตุบวก และแผ่นธาตุลบ

           4) ปัญหาระบบไฟในรถยนต์

               อาการ และลักษณะที่เกิดขึ้น:

                   4.1) การติดเครื่องเสียง สัญญาณกันขโมย อุปกรณ์เสริมในรถเพิ่มเติม (ไฟไม่พอ)

                   4.2) การเปลี่ยนแปลงขนาดของแบตเตอรี่

                   4.3) การลัดวงจรของสวิทซ์ไฟต่างๆในรถ

                   4.4) ประสิทธิภาพการทำงานของไดชาร์จไม่เต็มที่

           5) การมีสารอันตรายปะปนในหม้อแบตเตอรี่ Impurity

               อาการ และลักษณะที่เกิดขึ้น:

                   5.2) น้ำกลั่นที่เติมลงไปไม่บริสุทธิ์

                   5.3) เติมน้ำกลั่นสี (สารหล่อเย็น) ลงไป

           6) การเกิดซัลเฟต (Sulfation)

               แผ่นธาตุที่มีผลึกซัลเฟตสีขาวเกาะติดอยู่ที่บริเวณแผ่นธาตุ เกิดจาก

                   6.1) ปล่อยทิ้งแบตเตอรี่ไว้นานๆ โดยไม่นำไปใช้

                   6.2) การประจุไฟที่น้อยเกินไป (Under Charging)

                   6.3) แผ่นธาตุโผล่พ้นระดับน้ำกรด

8. น้ำกรด (Electrolyte)

ขั้วบวกของแบตเตอรี่ทำด้วยโลหะชนิดใด

        น้ำกรดซัลฟูริค (Sulfuric Acid) เป็นตัวนำไฟฟ้าระหว่างแผ่นธาตุบวก และลบ น้ำกรดที่ใช้ในประเทศไทยควรมีค่า ถ.พ. ระหว่าง 1.24-1.25 ที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส

           1) ใช้น้ำกรดที่มีค่าความถ่วงจำเพาะอยู่ระหว่าง 1.240-1.250

           2) ใส่น้ำกรดลงในทุกช่องแบตเตอรี่จนถึงระดับ UPPER

           3) ตั้งแบตเตอรี่ทิ้งไว้ในร่มประมาณ 1 ชม. เพื่อให้ซึมเข้าแผ่นธาตุ

           4) ถ้าน้ำกรดลดลง ให้เติมน้ำกรดอีกครั้งจนถึงระดับ UPPER

9. การชาร์จแบตเตอรี่

ขั้วบวกของแบตเตอรี่ทำด้วยโลหะชนิดใด

   


     1) กดปุ่มสีแดงลงเพื่อตัดกระแสระหว่างแบตเตอรี่กับหน่วยควบคุม จากนั้นเสียบจุด Output ของเครื่องชาร์จกับปลั๊กที่ฐานซึ่งเชื่อมต่อกับแบตเตอรี่

      2) ในการชาร์จแบตเตอรี่จะต้องอยู่ในบริเวณที่ปราศจากไฟ เปลวไฟ และการแผ่รังสีที่ก่อให้เกิดความร้อน และต้องอยู่ในที่ๆ มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก

10. ไฮโดรมิเตอร์ (Hydrometer)

ขั้วบวกของแบตเตอรี่ทำด้วยโลหะชนิดใด


          เครื่องวัดความถ่วงจำเพาะ (ถ.พ.) เป็นเครื่องมือสำหรับวัดความเข้มข้นของน้ำกรด ใช้ตรวจสอบความผิดปกติของแบตเตอรี่แต่ละช่อง หรือใช้ตรวจเช็คการลัดวงจรภายในช่องใด ช่องหนึ่ง ของแบตเตอรี่ เพราะฉะนั้นถ้าความถ่วงจำเพาะไม่ได้ตามเกณฑ์ที่กำหนดจะต้องนำแบตเตอรี่ไปชาร์ตไฟใหม่ (ในกรณีแบตเตอรี่ใหม่) และหากตรวจพบว่ามีช่องใดช่องหนึ่งมีค่า ถ.พ. ต่ำกว่าช่องอื่นสามารถวิเคราะห์ได้ว่าเกิดการลัดวงจรในช่องนั้นๆ (ในกรณีแบตเตอรี่ที่ใช้งานไปแล้ว)

ปริมาณไฟฟ้าในแบตเตอรี่         ความถ่วงจำเพาะ         ความต่างศักย์ไฟฟ้า(V)

11. วิธีสังเกตแบตเตอรี่เสื่อม

ขั้วบวกของแบตเตอรี่ทำด้วยโลหะชนิดใด



           1) เมื่อมีอาการต้องเติมน้ำกลั่นบ่อยๆ (สำหรับแบตเตอรี่ธรรมดา)

           3) ตอนเช้าสตาร์ทรถติดยาก (เสียงเครื่องหมุนช้า)

           4) กระจกไฟฟ้าเริ่มทำงานช้าลง ระบบไฟฟ้าอื่นๆในรถทำงานช้าลง

           5) เมื่อแบตเตอรี่ใช้งานมานานกว่า 1.5 – 2 ปี

           6) ไดสตาร์ทไม่สามารถทำงานได้

           7) แผ่นธาตุภายในเกิดอาการบวม

           8) น้ำกรดภายในลดลง (แห้ง) ต่ำกว่าแผ่นธาตุ

12. การดูแลรักษาแบตเตอรี่

ขั้วบวกของแบตเตอรี่ทำด้วยโลหะชนิดใด

           

 1) ทำความสะอาดสายไฟ ทั้งบวกลบ และแบตเตอรี่ด้วยน้ำอุ่น และเช็ดให้แห้งอยู่เสมอ

           2) ตรวจเช็คทำความสะอาดขั้วแบตเตอรี่ และทาด้วยวาสลิน เพื่อป้องกับคราบขี้เกลือ

           3) ตรวจเช็คน้ำกลั่นสม่ำเสมอ ไม่ปล่อยให้น้ำแห้ง

           4) ไม่เติมน้ำกลั่นให้เกินกว่าขีดสูงสุด และต่ำกว่าขีดต่ำสุด

           5) ตรวจวัดระดับกระแสไฟแบตเตอรี่อย่างสม่ำเสมอ

           6) ตรวจเช็คไดร์ชาร์จ เมื่อระบบไฟอ่อน

           7) ตรวจสอบความมั่นคงของการติดตั้ง

           8) ห้ามเติมน้ำกรด และน้ำกลั่นที่มีสีหรือสารเคมีโดยเด็ดขาด

           9) ห้ามสูบบุหรี่ ขณะตรวจเช็คน้ำในแบตเตอรี่ เพราะอาจจะระเบิดได้

           10) ตาแมวของแบตเตอรี่แห้งใช้ดูกำลังไฟโดย (สีน้ำเงิน=ไฟดีอยู่ / สีส้มแดง=แบตเตอรี่มีปัญหา

           11) จะต้องชาร์ตไฟหรือเติมน้ำกลั่น / สีขาว=แบตเตอรี่เสียหรือเสื่อมคุณภาพ ต้อง

13. การพ่วงสายแบตเตอรี่

ขั้วบวกของแบตเตอรี่ทำด้วยโลหะชนิดใด


           1) สายเส้นแรก เริ่มหนีบขั้ว + ของแบตเตอรี่ลูกที่ไฟหมด โดยถือปลายสายอีกด้านลอยไว้ แล้วจึงหนีบขั้ว + ของแบตเตอรี่ลูกที่มีไฟ สายเส้นที่สอง หนีบขั้ว – ของแบตเตอรี่ลูกที่มีไฟ แล้วหนีบอีกปลายเข้ากับตัวถังหรือโลหะในห้องเครื่องยนต์ของรถยนต์คันที่ไม่มีไฟ (ไม่ควรหนีบเข้ากับขั้ว – ของแบตเตอรี่ที่ไฟหมด เพื่อป้องกันการระเบิดของแบตเตอรี่เมื่อเครื่องยนต์ทำงาน ซึ่งมีโอกาสเกิดขึ้นน้อยมาก)

           2) จากนั้นสตาร์ทเครื่องยนต์ของรถยนต์คันที่มีไฟ แล้วจึงสตาร์ทเครื่องยนต์คันที่ถูกพ่วง

           3) เมื่อเครื่องยนต์ติดแล้วจึงถอดสายพ่วงออกทีละขั้ว โดยเริ่มจากปลายสาย – ด้านที่หนีบอยู่กับตัวถังรถ แล้วจึงถอดปลายอีกด้าน จากนั้นให้ถอดปลายสาย + ที่หนีบอยู่กับแบตเตอรี่ลูกที่มีไฟ แล้วจึงถอดปลายสายอีกด้าน โดยในการถอดก็ต้องระวังไม่ให้ปลายสายสัมผัสกับสิ่งใด