ข้อดีของเหตุการณ์ที่มีหลักฐานเกี่ยวข้องมาก

����Ըա�÷ҧ����ѵ���ʵ�� ���¶֧ ��кǹ����֡�� �鹤��� ����ͧ��������˵ء�ó�ҧ ����ѵ���ʵ�� ������ѡ�ҹ�ҧ����ѵ���ʵ�����դ�������ѹ��������§�Ѻ�������͹�������¹�ŧ ��ѧ�� ���֡�Ҩҡ�͡��÷�����͡��ê�鹵���Ъ���ͧ����ѡ��Сͺ����红������Ҥʹ�� �繡�кǹ��������㹡�����Ǻ�������������繡�кǹ��÷��ѡ����ѵ���ʵ��������鷴�ͺ ������ԧ�ͧ�ҹ�����ҡ����Ǻ����ͧ�ؤ����� ���ͤ������§���� �����Ѵਹ �դ�Ҥ�����������٧ �������ö���繻���ª��㹡�����������ѧ����
�� ��鹵͹�ͧ�Ըա�÷ҧ����ѵ���ʵ��
����֡�һ���ѵ���ʵ�� ��͡�кǹ����红����ŷ��١�Ǻ�����ШѴ�����ҧ���к� ��ͧ������Ըա�� �֡�ҷ����Ẻ੾�� �բ�鹵͹��ҧ � ��������Դ�ӴѺ��äԴ���ҧ���к� ���������ѡ�ҹ ��������ҧ � ͸Ժ������ͧ��Ǥ������Ңͧ�˵ء�ó�ҧ����ѵ���ʵ�� �������㨤��������ʹյ ��������§�Ѻ�����繨�ԧ�ҡ����ش ��觻�Сͺ���¢�鹵͹����Ӥѭ 4 ��鹵͹���

����֡�һ���ѵ���ʵ���� 4 ��鹵͹�ѧ���

1. ����Ǻ�����ФѴ���͡��ѡ�ҹ ������դ����Դ���ͧ�����͢�����ص԰ҹ���Ǽ���֡�Ҩ� ��ͧ�׺������ѡ�ҹ����ͧ����ФѴ���͡���ҧ���Ѵ���ѧ
2. �������������л����Թ�س�����ѡ�ҹ �繢�鹵͹������֡�ҵ�ͧ�ӡ�õ�Ǩ�ͺ ����������л����Թ�����ѡ�ҹ������� �� 2 �Ըդ��
������ (1) �������������л����Թ�س�����ѡ�ҹ��¹͡ �繡�� �����Թ
�����觾��٨����ѡ�ҹ����繢ͧ��ԧ���ͻ��� ������¡�� ���º��º�Ѻ
��ѡ�ҹ��蹫�觨��繵�ͧ�ͤ���������ͨҡ�������Ǫҭ ੾�д�ҹ
������ (2) �������������л����Թ�س�����ѡ�ҹ���� ��觵�Ǩ�ͺ
����������Ͷ�ͧ͢��ѡ�ҹ�¾Ԩ�óҤ����١��ͧ��Фس��Ңͧ������
�ҡ�������Դ�Ѻ�˵ء�ó� �ѡ��Ҿ��Фس�����ͧ ����֡��
3. ��õդ������� ��ѡ�ҹ �������ѡ�ҹ��ҹ������������л����Թ�س������� ����֡�ҵ�ͧ �դ�����ѡ�ҹ���ҧ������ºẺἹ���������Ҥ���������Ф����Ӥѭ������ԧ����ҡ� ���ѡ�ҹ�������ѹ��Ѻ����稨�ԧ�������ö��͸Ժ�¾ĵԡ������Ҿ�Ǵ��������ҧ���� ��ҧ ʶҹ��� ��кؤ��
4. ����ѧ����������� ��͡�ùӢ����ŷ����ҡ��õդ�����Т����ػ�����º���§������ͧ��� ��������ͧ �����׹ ������˵ؼ� ����֡�Ҥ鹤��ҷҧ��ҹ����ѵ���ʵ���鹵�ͧ༪ԭ�Ѻ��ѡ�ҹ ����դ����Ѻ��͹��ТѴ��駡ѹ�������� ����ʹ�� �آ�� �ͺ�ͺ ������º�Թ�� ��ʵԻѭ�� ���˵ؼ� ����Ѻ��˵ؼ���Ф�������ö�ͧ������ ��Ф���������ͨҡ�������Ǫҭ��ҹ��ҧ � �з���� ����ѵ���ʵ�� �դس����ҡ�͵�͡���֡�� ���С���֡�һ���ѵ���ʵ������èӡѴ������§����觷����ѹ�֡�ͺ ������¹�����¹��ҷ�����

Ref : http://www2.se-ed.net/nfed/history/index_his.html 14/02/2008

ตัวเลขปีพ.ศ. ชื่อบุคคลสำคัญแสนยาวเหยียด ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร คือ “ข้อเท็จจริง” ทางประวัติศาสตร์ที่น่าเบื่อสำหรับใครหลาย ๆ คน เรื่องอดีตที่จบไปแล้วเกี่ยวข้องอย่างไรกับชีวิตในปัจจุบัน ความเคลื่อนไหวต่าง ๆ ทั้งของโลกและของไทยในย่อหน้าถัดไปจากนี้ อาจทำให้เห็นว่าประวัติศาสตร์ไม่ได้เป็นเพียงเรื่องเก่าแก่ซึ่งถูกแช่แข็งอยู่ในอดีต แต่เปลี่ยนแปลง เคลื่อนที่ ถูกรื้อสร้าง ตีความ นำไปต่อยอด และอยู่ร่วมสมัยกับโลกปัจจุบันได้เสมอ 

ทำไมประวัติศาสตร์จึงเปลี่ยนแปลง : เมื่อความจริงไม่ได้มีเพียงหนึ่ง
เป็นที่เข้าใจกันโดยทั่วไปว่าการศึกษาประวัติศาสตร์นั้นตั้งอยู่บนพื้นฐานของความรู้ที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์และเหตุการณ์ในอดีต การตรวจสอบหา “ความจริง” (Truth) หรือ “ข้อเท็จจริง” (Fact) ของเหตุการณ์ที่ผ่านไปแล้วนั้น เป็นหน้าที่หนึ่งของนักประวัติศาสตร์  แต่ความจริงหรือข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ที่นักประวัติศาสตร์ให้คุณค่านั้นมีคุณลักษณะพิเศษอย่างหนึ่งคือสามารถโต้แย้งได้ (Disputable Fact) ศ.ดร. ธงชัย วินิจจะกูล เคยให้คำอธิบายในประเด็นนี้ไว้ว่า ข้อเท็จจริงที่โต้แย้งไม่ได้ (Indisputable Fact) มักไม่ให้ความหมายอะไรมากนักต่อการศึกษาประวัติศาสตร์ ยกตัวอย่างเช่น แก้วมีหูหนึ่งใบ เป็นข้อเท็จจริงที่โต้แย้งไม่ได้ แต่ถ้าคนเริ่มอธิบายแก้วมีหู โดยคนที่นั่งคนละฝั่งย่อมพูดถึงแก้วใบนี้ต่างกัน คนหนึ่งบอกแก้วมีหูทางขวา อีกคนบอกแก้วมีหูทางซ้าย คำอธิบายเกี่ยวกับแก้วที่เพิ่มมากขึ้นจะทำให้แก้วซึ่งเคยเป็นข้อเท็จจริงที่โต้แย้งไม่ได้ เริ่มโต้แย้งได้และมีความหมาย ดังนั้น ข้อเท็จจริงเดียวกัน เมื่อมองคนละมุม ก็ย่อมตีความได้ต่างกัน และความหมายจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อเราให้คำอธิบายเพิ่มกับข้อเท็จจริงนั้น ๆ จนเกิดเป็นข้อเท็จจริงชุดใหม่อีกมากมายตามแต่มุมมองและบริบทแวดล้อม    

เมื่อเรามองประวัติศาสตร์ภายใต้กรอบความคิดที่ว่าความจริงทางประวัติศาสตร์อาจมีได้หลายชุดเช่นนี้แล้ว เราก็จะเห็นว่าธรรมชาติของประวัติศาสตร์ที่นักประวัติศาสตร์ให้ความสำคัญนั้นคือชุดความจริงที่สามารถตีความ ต่อยอด และปรับเปลี่ยนได้

ข้อดีของเหตุการณ์ที่มีหลักฐานเกี่ยวข้องมาก

©medium.com

วาดประวัติศาสตร์บนใบหน้า : โอกาสจากอดีต 
เดือนเมษายน ปี 2020 พระราชวังต้องห้าม เมืองปักกิ่ง เปิดตัวคอลเล็กชันเครื่องสำอางซึ่งได้รับแรงบันดาลใจมาจากเครื่องมือบอกเวลาในสมัยราชวงศ์ชิง หนึ่งในคอลเล็กชันวัตถุโบราณของพระราชวัง เนื่องในโอกาสที่วังหลวงแห่งสุดท้ายของจักรวรรดิจีนนี้มีอายุครบ 600 ปี 

เครื่องมือบอกเวลาดังกล่าว มีลักษณะเป็นแผ่นจานทองแดง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 13.7 เซนติเมตร ใช้บอกเวลาโดยอาศัยการวัดค่าแสงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดวงดาว บนแผ่นจานเต็มไปด้วยรอยสลักตัวเลขบอกวันที่ เวลา จักรราศีต่าง ๆ รวมไปถึงอักษรละติน “COLON” และอักษรโรมัน “1541” ซึ่งทำให้สันนิษฐานได้ว่า วัตถุโบราณชิ้นนี้ถูกนำเข้ามาจากเมืองโคโลญ ประเทศเยอรมนี โดยมิชชันนารีชาวเยอรมันที่เข้ามาในประเทศจีนปลายราชวงศ์หมิง   

แผนผังวงโคจรของพระอาทิตย์ พระจันทร์ ดวงดาว และการเรียงตัวกันของจักรราศีต่างๆ กลายมาเป็นแนวทางหลักในการออกแบบทั้งตัวบรรจุภัณฑ์และการวางช่องสีของอายแชโดว์ในคอลเล็กชันนี้ ในขณะที่สีอายแชโดว์ทั้ง 12 สี ก็เลือกใช้เนื้อสีที่มีความมันวาวเพื่อสื่อถึงประกายระยิบระยับของดวงดาว ส่วนลวดลายท้องฟ้า ดวงดาว และหน้าปัดนาฬิกาถูกนำไปถายทอดลงบนปลอกลิปสติกทั้ง 10 เฉดสี โดยแต่ละสีคือสีแดงเฉดต่าง ๆ ที่พบได้ภายในพระราชวังต้องห้ามในแต่ละช่วงเวลาในอดีต 

คอลเล็กชันเครื่องสำอางของพระราชวังต้องห้าม คือการหยิบเอาประวัติศาสตร์ที่หยุดนิ่งอยู่ในคอลเล็กชันวัตถุโบราณของวังมาปัดฝุ่น แล้วนำไปต่อยอดให้เกิดเป็นสินค้าและมูลค่าใหม่ที่ร่วมสมัยกับสังคมในปัจจุบัน โดยครั้งนี้ไม่ใช่คอลเล็กชันเครื่องสำอางครั้งแรกที่ทางวังปล่อยออกมา เพราะในเดือนธันวาคม ปี 2018 พระราชวังเคยได้เปิดตัวคอลเล็กชันลิปสติก บลัชออน และอายแชโดว์ ซึ่งล้วนแต่หยิบเอาวัฒนธรรมและความเชื่อจีนโบราณมาเป็นแรงบันดาลใจในการออกแบบ ไม่ว่าจะเป็นเทพนกกระเรียน เครื่องแต่งกายของนางสนม ดอกเบญจมาศ และแจกันเคลือบสีของราชวงศ์ชิง  

คอลเล็กชันเครื่องสำอางเหล่านี้ถือเป็นลิมิเต็ดคอลเล็กชันและได้รับความนิยมอย่างมากในหมู่คนรุ่นใหม่ของจีน โดยมีรายงานว่าขายหมดอย่างรวดเร็วภายในระยะเวลาไม่กี่วัน จนนำไปสู่การออกคอลเล็กชันอื่น ๆ ร่วมกับแบรนด์เครื่องสำอางต่าง ๆ ด้วย แม้แต่พระราชวังฤดูร้อนเองก็มองเห็นถึงความสำเร็จนี้ จึงร่วมกับแบรนด์ Catkin ในการผลิตเครื่องสำอางที่หยิบเอาลายปักนกฟีนิกซ์บนฉากกั้นห้องในพระราชวังมาใช้บนบรรจุภัณฑ์ด้วยการพิมพ์ระบบสามมิติรูปแบบใหม่ เพื่อทำให้ผู้ใช้งานสัมผัสถึงความเป็นรอยปักที่สมจริง 

สาเหตุที่ทำให้เครื่องสำอางที่ได้รับแรงบันดาลใจจากสถานที่ทางประวัติศาสตร์และวัตถุโบราณเหล่านี้ขายดีเป็นอย่างมากในหมู่ชาวมิลเลนเนียลของจีนนั้น บทความจากเว็บไซต์คอสเมติกดีไซน์เอเชียกล่าวว่า  ส่วนหนึ่งมาจากความภูมิใจในชาติที่เพิ่มมากขึ้น โดยสืบเนื่องมาจากการเติบโตของเศรษฐกิจจีน ความสำเร็จของบริษัทสัญชาติจีนอย่างอาลีบาบา (Alibaba) หรือเสี่ยวมี่ (Xiaomi) ที่สามารถเทียบเคียงได้กับยักษ์ใหญ่ในโลกตะวันตกไม่ว่าจะเป็นแอมะซอน (Amazon) หรือแอปเปิล (Apple) ทำให้ความเป็นจีนนั้นข้ามผ่านภาพลักษณ์แบบ “ผลิตในเมืองจีน - Made in China” ไปสู่การ “สร้างสรรค์จากเมืองจีน - Created in China” คนรุ่นใหม่จึงเริ่มหันกลับมาตื่นเต้นกับการค้นหาและให้คุณค่ากับมรดกทางวัฒนธรรมของตนเองอีกครั้ง 

Operation Night Watch: คำอธิบายใหม่จากหลักฐานเดิม 
งานสำคัญอย่างหนึ่งของนักประวัติศาสตร์คือการศึกษาหลักฐานทางประวัติศาสตร์ให้ละเอียดถี่ถ้วน ไม่ว่าหลักฐานนั้นจะอยู่ในรูปของข้อความ ประกาศ หนังสือ แผนที่ เครื่องใช้ หรือวัตถุอื่นใดก็ตาม ทั้งนี้เพื่อค้นหา “ความจริง” หรือคำอธิบายบางอย่างให้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แต่การศึกษาหลักฐานดังกล่าว ใช่ว่าจะศึกษาเมื่อค้นพบหลักฐานใหม่เท่านั้น เพราะแม้เป็นหลักฐานชิ้นเดิมก็สามารถมอบความรู้และคำอธิบายใหม่ ๆ ให้กับผู้ศึกษาได้เสมอตามมุมมองและบริบทของสังคมที่เปลี่ยนแปลง 

ไรค์มิวเซียม (Rijksmuseum) หรือพิพิธภัณฑ์แห่งชาติ เมืองอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ สังเกตเห็นว่าภาพเขียน เดอะ ไนท์ วอท์ช (The Night Watch) อันโด่งดังของเรมบลันดต์ (Rembrandt) เกิดการเปลี่ยนแปลง เช่นว่าภาพสุนัขที่มุมขวาล่างมีสีซีดลง ทางพิพิธภัณฑ์จึงตัดสินใจที่จะซ่อมแซมภาพวาดชิ้นสำคัญด้วยโปรเจ็กต์ที่ชื่อว่า โอเปอร์เรชัน ไนต์ วอท์ช (Operation Night Watch)

ข้อดีของเหตุการณ์ที่มีหลักฐานเกี่ยวข้องมาก

©commons.wikimedia.org

แต่เดอะ ไนต์ วอท์ชนั้น ไม่ต่างจากโมนาลิซ่าแห่งพิพิธภัณฑ์ลูฟวร์ การนำชิ้นงานซึ่งดึงดูดผู้เข้าชมกว่าสองล้านคนต่อปีชิ้นนี้ไปซ่อมหลังพิพิธภัณฑ์เป็นเวลาหลายปีย่อมไม่อาจทำได้ โอเปอร์เรชัน ไนต์ วอท์ช จึงเป็นการตรวจสอบ เก็บข้อมูล และซ่อมแซมชิ้นงานในห้องกระจกกลางพิพิธภัณฑ์ซึ่งถูกออกแบบมาโดยเฉพาะ ทั้งยังเปิดให้ทุกคนร่วมเป็นประจักษ์พยานในปฏิบัติการครั้งนี้ ทั้งในพื้นที่จริงและทางออนไลน์

ทาโก ดิบบิตส์ (Taco Dibbits) ผู้อำนวยการไรค์มิวเซียมกล่าวว่า โอเปอร์เรชัน ไนต์ วอท์ช คือโครงการวิจัยและอนุรักษ์ผลงานมาสเตอร์พีซของเรมบลันดต์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ โดยการจะซ่อมแซมและอนุรักษ์ชิ้นงานในระยะยาวให้ได้อย่างถูกต้องนั้น ทางพิพิธภัณฑ์จำเป็นต้องตรวจสอบภาพวาดอย่างถี่ถ้วนโดยอาศัยเทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น การถ่ายภาพความละเอียดสูงและการสแกนภาพด้วยรังสีเอ็กซ์ (Macro-XRF Scanner) ตลอดจนกระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ โดยหวังว่าจะช่วยให้เข้าใจทั้งสภาพดั้งเดิมของชิ้นงาน การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับภาพวาดตลอดระยะเวลาเกือบสี่ร้อยปี เทคนิคและวัสดุที่ใช้ ขั้นตอนในการวาด ตลอดจนความเสื่อมของชิ้นงานที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต 
ในเดือนพฤศจิกายน 2020 นี้ โอเปอร์เรชัน ไนต์ วอท์ช กำลังก้าวเข้าสู่ช่วงท้ายของกระบวนการการตรวจสอบภาพวาดก่อนจะเริ่มลงมือบูรณะภาพในขั้นตอนต่อไป ทางพิพิธภัณฑ์เริ่มเปิดเผยผลที่ได้จากการตรวจสอบภาพด้วยเครื่องสแกน Macro-XRF โดยประเด็นหนึ่งที่ได้จากการค้นพบ คือสีทองที่เรมบลันดต์ใช้ในการวาดลายปักสีทองบนเสื้อของทหารนั้น มีองค์ประกอบของสารหนูอยู่ ในขณะที่ในยุคนั้น สีที่มีส่วนประกอบของสารหนูจะถูกใช้ในภาพเขียนผลไม้หรือดอกไม้เท่านั้น สำหรับนักประวัติศาสตร์ศิลปะแล้ว ข้อมูลเล็ก ๆ นี้ช่วยขยายความเข้าใจที่เคยมีต่อจิตรกรชาวดัตช์ผู้นี้ให้กว้างไกลออกไป ไม่ว่าจะเป็นการอธิบายวิธีวาดงานที่เขาใช้ หรือแม้แต่ความเป็นคนสร้างสรรค์และแหวกขนบของตัวเรมบลันดต์เองก็ตาม ไม่แน่ว่า เราอาจอธิบายความเป็นไปได้อื่น ๆ ในภาพเขียนของเขาได้ด้วยความเข้าใจเหล่านี้

ครั้งสุดท้ายที่เดอะ ไนต์ วอท์ช ได้รับการบูรณะคือเมื่อปี 1975 นับเป็นเวลากว่า 45 ปีที่ไม่มีใครแตะต้องภาพเขียนชิ้นเอกนี้เลย แต่ด้วยความรู้ มุมมอง และเทคโนโลยีจากศตวรรษที่ 21 นี้เอง ที่เปิดโอกาสให้นักประวัติศาสตร์ได้ย้อนกลับมาทำความเข้าใจกับหลักฐานชิ้นเดิม เพื่อค้นหาคำอธิบายใหม่ ๆ ให้กับเรื่องราวในอดีตต่อไป 
ติดตามความคืบหน้าของโอเปอร์เรชัน ไนท์ วอท์ช ได้ทาง rijksmuseum.nl/en/nightwatch

อดีต - ปัจจุบัน : ประวัติศาสตร์ร่วมสมัย
ไม่ผิดนักหากจะกล่าวว่าประวัติศาสตร์นั้นมีความร่วมสมัยอยู่เสมอ ทุกครั้งที่เราศึกษาประวัติศาสตร์แล้วเกิดการคิดวิเคราะห์ การคิดวิเคราะห์นั้นย่อมเป็นไปภายใต้สายตาหรือมุมมองของบริบทในปัจจุบันโดยอัตโนมัติ เราศึกษาสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีตเพื่อนำมาปรับใช้กับปัจจุบันอย่างที่เรียกว่า “ไม่ให้ประวัติศาสตร์ซ้ำรอย” และบ่อยครั้งที่เราตัดสิน “ความจริง” ในอดีตด้วยค่านิยมหรือบรรทัดฐานแบบในปัจจุบัน ไม่ว่าการกระทำเช่นนี้จะถูกหรือผิด เหมาะสมหรือไม่ แต่ในแง่นี้ เราอาจกล่าวได้ว่าประวัติศาสตร์นั้นถูกทำให้มีความร่วมสมัยอยู่ตลอดเวลา

ศิลปะคือสื่อที่ทั้งสะท้อนความร่วมสมัยของประวัติศาสตร์ และนำเสนอประวัติศาสตร์ให้ร่วมสมัยได้ดีสื่อหนึ่ง เราจะพบศิลปะมากมายที่มีเรื่องราวทางประวัติศาสตร์เป็นแรงบันดาลใจ ผลงานศิลปะมงกุฎ (Mongkut, 2015) ของอริญชย์ รุ่งแจ้ง ศิลปินไทยซึ่งได้รับเชิญให้เข้าร่วมเทศกาลศิลปะร่วมสมัยมากมายทั่วโลกก็เป็นหนึ่งในนั้น

มงกุฎของอริญชย์ จำลองพระมหามงกุฎของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้ายู่หัว รัชกาลที่ 4 จากมงกุฎจำลองที่พระองค์มีรับสั่งให้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นหนึ่งในเครื่องมงคลราชบรรณาการสำหรับส่งไปถวายพระจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 แห่งฝรั่งเศส ณ พระราชวังฟงแตนโบล ในปี 1861

เพื่อที่จะได้มาซึ่งงานศิลปะมงกุฎ อริญชย์และทีมงานขออนุญาตเข้าไปยังพระราชวังฟงแตนโบลเพื่อเก็บข้อมูล ทั้งในรูปแบบของภาพถ่าย วิดีโอ และข้อมูลดิจิทัลจากการสแกนสามมิติ เนื่องจากเขาไม่สามารถเข้าถึงพระมหามงกุฎองค์จริงที่เก็บอยู่ในพระบรมมหาราชวังได้ เมื่อได้ข้อมูลที่ต้องการ อริญชย์เดินทางกลับประเทศไทย เพื่อลงมือสร้างมงกุฎจำลองจากมงกุฎจำลอง โดยที่เพียงสองสัปดาห์ก่อนนิทรรศการมงกุฎจะจัดแสดงที่หอศิลป์ในปารีส เขาก็ได้รับข่าวว่าพระราชวังฟงแตนโบลถูกขโมยขึ้น และหนึ่งในของมีค่าที่หายไปก็คือพระมหามงกุฎจำลองของรัชกาลที่ 4

ในช่วงเวลาใกล้เคียงกันนั้น ไม่ได้มีเพียงพระราชวังฟงแตนโบลที่ถูกบุกรุก เพราะในต้นปี 2016 มีคลิปเหตุการณ์การลอบสแกนรูปปั้นครึ่งตัวราชินีเนเฟอร์ติติแห่งอียิปต์ (Nefertiti Bust) ซึ่งจัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์ที่กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี เผยแพร่ออกไปทางโลกออนไลน์ ทั้ง ๆ ที่โดยปกติแล้ว ทางพิพิธภัณฑ์ไม่อนุญาตให้มีการบันทึกภาพใด ๆ ในห้องจัดแสดง

ข้อดีของเหตุการณ์ที่มีหลักฐานเกี่ยวข้องมาก

ภาพโดย Nora Al-Badri and Jan Nikolai Nelles.

เหตุการณ์ดังกล่าว เกิดขึ้นเมื่อเดือนตุลาคม ปี 2015 จากการที่สองศิลปิน นอรา อัล-บาดรี (Nora Al-Badri) และ ยาน นิโคลัย เนลเลส (Jan Nikolai Nelles) เข้าไปในห้องจัดแสดงโดยแอบซ่อนเครื่องสแกนสามมิติไว้ใต้ผ้าพันคอ พวกเขาเผยแพร่ไฟล์สามมิติที่ได้ลงบนอินเทอร์เน็ต ทั้งยังสร้างรูปปั้นขึ้นมาใหม่ (The Other Nefertiti, 2015) ด้วยเทคนิคการพิมพ์สามมิติ (3D Print) เพื่อนำไปจัดแสดงที่กรุงไคโร ประเทศอียิปต์ บ้านเกิดของรูปปั้นที่ตัวมันไม่เคยได้กลับไปอีกเลยตั้งแต่ถูกค้นพบโดยนักโบราณคดีชาวเยอรมันในปี 1912

งานศิลปะที่เกี่ยวข้องกับอดีตจากทั้งสองอารยธรรมนี้นั้น อาจกล่าวได้ว่าเป็นการทำให้วัตถุทางประวัติศาสตร์กลายเป็นวัตถุร่วมสมัย ทั้งยังกระตุ้นให้เกิดการตั้งคำถามถึงสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลทางประวัติศาสตร์อย่างเสรี ตลอดจนแสดงให้เห็นว่าประวัติศาสตร์นั้นไม่ได้หยุดนิ่งอยู่ ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งในอดีต แต่สามารถถูกรื้อสร้าง ตีความ และโลดแล่นอยู่ร่วมสมัยได้ 

ในกรณีของมงกุฎ ช่างฝีมือที่อริญชย์ทำงานด้วย ได้จำลองมงกุฎขึ้นมาใหม่ด้วยเทคนิคการทำหัวโขนแบบที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน โดยอริญชย์มองว่าไม่จำเป็นต้องใช้วิธีการดั้งเดิมอย่างในสมัยรัชกาลที่ 4 เพราะเทคนิคในการสร้างสามารถพัฒนาไปตามเวลา แต่ความประณีตต่างหากที่ยังคงอยู่ นอกจากนี้ ในวิดีโอซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนิทรรศการ อริญชย์เล่าถึงความหมายและนัยยะของมงกุฎในฐานะเครื่องมงคลราชบรรณาการจากมุมมองที่ต่างกันของทั้งสยามและฝรั่งเศสผ่านการตีความของภัณฑารักษ์ชาวฝรั่งเศส และเล่าประวัติครอบครัวของช่างฝีมือ ซึ่งปรากฏว่าสืบเชื้อสายมาจากรัชกาลที่ 4 ในแง่นี้ แม้มงกุฎของอริญชย์จะถูกสร้างขึ้นมาใหม่ ไม่ได้มีอายุเก่าแก่และคุณค่าในทางประวัติศาสตร์เฉกเช่นวัตถุทางประวัติศาสตร์อื่น ๆ แต่การจำลองวัตถุทางประวัติศาสตร์ที่ไม่สามารถเข้าถึงได้แล้วในปัจจุบันด้วยเทคนิคและมุมมองของวันนี้ ก็ช่วยพัฒนาพื้นที่ทางประวัติศาสตร์ที่เขาพูดถึงให้อยู่ร่วมสมัยกับปัจจุบัน ทั้งยังเป็นการเพิ่มมิติใหม่ ๆ ให้กับเรื่องราวทางประวัติศาสตร์นั้นขึ้นไปอีกชั้นหนึ่ง 

ในกรณีของ The Other Nefertiti ไฟล์สแกนสามมิติของอัล-บาดรีและเนลเลสนั้นถูกกังขาว่า สมบูรณ์แบบเกินกว่าที่ประสิทธิภาพของเครื่องสแกนจะทำได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อการสแกนเกิดขึ้นในสภาวะที่ตัวรูปปั้นถูกวางไว้ในกล่องกระจก และตัวศิลปินเองก็ทำได้เพียงแค่เดินสแกนรอบรูปปั้นแต่ไม่สามารถสแกนส่วนหัวของรูปปั้นจากด้านบนได้ อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่าสาระสำคัญของเรื่องจะไม่ได้อยู่ที่ “ความจริง” ของเหตุการณ์ แต่อยู่ที่เจตนาของศิลปินที่จะตอบโต้การที่ตัวพิพิธภัณฑ์มีไฟล์สามมิติของรูปปั้นมาตั้งแต่ 7 ปีที่แล้ว แต่ไม่เคยเผยแพร่ให้สาธารณชนเข้าถึง และพวกเขายังหวังที่จะขยายไปสู่ประเด็นที่ใหญ่ขึ้นอย่างการกลับมาถกเถียงถึงวิธีการที่ประเทศกลุ่มเหนือ (Global North Country) อย่างเยอรมนี ยังคงใช้แนวคิดแบบจักรวรรดินิยมที่ล้าสมัยไปแล้วในการจัดการกับมรดกทางวัฒนธรรมของประเทศอื่นอยู่ นอกจากนี้ เมื่อนิทรรศการจบลง พวกเขายังนำรูปปั้นจำลองนี้ไปฝังในทะเลทรายนอกกรุงไคโร โดยไม่มีการบันทึกพิกัดใด ๆ ไว้ เพื่อเป็นการโต้กลับการที่รูปปั้นถูกขุดพบในเชิงสัญลักษณ์อีกด้วย 

อดีต - ปัจจุบัน - อนาคต : มองประวัติศาสตร์ไปข้างหน้า
เราเรียนประวัติศาสตร์ไปเพื่ออะไร ประวัติศาสตร์ทำนายอนาคตได้จริงหรือ คำตอบของคำถามเหล่านี้อาจแตกต่างกันไปในแต่ละคน สำหรับอาร์ติโชก (Artichoke) กลุ่มคนทำงานด้านศิลปะขนาดใหญ่ในพื้นที่สาธารณะมองว่า การหยิบอดีตกลับมาพูดในบริบทปัจจุบัน ไม่เพียงแต่ทำให้เราระลึกถึงสิ่งที่จบไปแล้วเท่านั้น แต่ยังกระตุ้นให้เราตระหนักถึงปัจจุบันและตั้งคำถามกับอนาคตได้ด้วย 

ในปี 2016 เป็นปีครบรอบ 350 ปีแห่งเหตุการณ์ไฟไหม้ครั้งใหญ่ของกรุงลอนดอน (Great Fire of London) อาร์ติโชกได้รับมอบหมายให้จัดเทศกาลลอนดอน อีส เบิร์นนิง (London’s Burning) ว่าด้วยมุมมองร่วมสมัยที่มีต่อเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญนี้ พวกเขาจึงเชิญศิลปินและนักวิชาการมาร่วมสร้างสรรค์ผลงานกระจายไปทั่วพื้นที่ที่เคยไฟไหม้ โดยเป็นทั้งการย้อนกลับไปรำลึกถึงเหตุการณ์ในวันนั้น ตลอดจนการฉุกคิดถึงภัยคุกคามใหม่ ๆ ที่เมืองทั้งหลายต้องเผชิญทั้งในวันนี้และอนาคต ตั้งแต่ภาวะโลกร้อนไปจนถึงความขัดแย้งต่าง ๆ ทั่วโลก

ย้อนกลับไปในคืนวันอาทิตย์ที่ 2 กันยายน 1666 ไฟเริ่มลุกไหม้จากร้านเบเกอรี่ในตรอกพุดดิ้ง เลน (Pudding Lane) และขยายเป็นวงกว้างขึ้นเรื่อย ๆ ทั่วเขตเมืองซึ่งรุ่งเรืองมาตั้งแต่สมัยยุคกลางและมีประชากรอาศัยอยู่ประมาณ 80,000 คน ไฟไหม้เป็นเวลา 4 วัน ทำลายบ้านเรือนไป 13,2000 หลัง ส่งผลให้ผู้อยู่อาศัยกว่า 70,000 คนต้องกลายเป็นคนไร้บ้าน สถานที่สำคัญทางราชการและโบสถ์ทั้งหลายพังทลายลง 

ความเสียหายในครั้งนั้น ในแง่หนึ่งคือโศกนาฏกรรมที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น แต่ในอีกแง่หนึ่งมันคือสิ่งที่ทำให้ลอนดอนกลายเป็นลอนดอนในทุกวันนี้ ทั้งผังเมืองและมหาวิหารเซนต์พอล (St. Paul's Cathedral) ที่มีหน้าตาอย่างที่เราเห็นกันในปัจจุบันก็เป็นผลพวงจากเพลิงไหม้ในครั้งนั้น ด้วยเหตุนี้ สำหรับอาร์ติโชกแล้ว เทศกาลลอนดอน อีส เบิร์นนิงจึงเป็นทั้งการรำลึกและเฉลิมฉลองไปพร้อม ๆ กัน 

ข้อดีของเหตุการณ์ที่มีหลักฐานเกี่ยวข้องมาก

©DANIEL LEAL-OLIVAS / AFP

กิจกรรมในเทศกาลลอนดอน อีส เบิร์นนิงนั้น เต็มไปด้วยความหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นงานศิลปะจัดวาง (Installation Art) การแสดงสด (Performance Art) ไปจนถึงกิจกรรมเดินทัวร์และเสวนา อาร์ติโชกเชิญทีมสเตชัน เฮาส์ โอเปรา (Station House Opera) มาบอกเล่าเส้นทางที่เปลวเพลิงลุกไหม้ ด้วยการใช้อิฐมวลเบาตั้งเรียงกันไปเป็นโดมิโน 3 เส้นทาง ตลอดแนว 6 กิโลเมตร แล้วเริ่มล้มอิฐก้อนแรกพร้อม ๆ กัน โดยหากอิฐล้มไปจนถึง 3 จุดสุดท้ายได้สำเร็จ ก็จะเป็นการจุดไฟให้กับประติมากรรมที่ตั้งอยู่พังทลายลงมา ราวกับเป็นภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อ 350 ปีก่อน นอกจากนี้ ยังมีการแสดงที่ชื่อว่า โฮโลซีนส์ (Holoscenes) โดยนักแสดงจากกลุ่มเออร์ลี มอร์นิง โอเปรา (Early Morning Opera) ที่ทั้งเต้นรำและแหวกว่ายอยู่ในแทงก์น้ำขนาดใหญ่ในขณะที่น้ำกำลังไต่ระดับสูงขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อสะท้อนความคิดที่ว่า ภัยที่กำลังคุมคามโลกในปัจจุบันอาจไม่ใช่อัคคีภัยอย่างในอดีต แต่เป็นภัยจากน้ำต่างหาก 

ข้อดีของเหตุการณ์ที่มีหลักฐานเกี่ยวข้องมาก

©Produced by Artichoke. Photo by Oliver Rudkin

เทศกาลลอนดอน อีส เบิร์นนิง ปิดฉากลงด้วยโปรแกรมไฮไลต์อย่างลอนดอน 1666 (London 1666) ที่อาร์ติโชกร่วมมือกับเดวิด เบสต์ (David Best) ในการสร้างประติมากรรมยาว 120 เมตร ซึ่งจำลองเมืองลอนดอนในศตวรรษที่ 17 กลับขึ้นมาใหม่ เพียงเพื่อที่จะถูกไฟเผาให้มอดไหม้กลางแม่น้ำเทมส์

เดวิด เบสต์ เป็นศิลปินชาวแคลิฟอร์เนียซึ่งโด่งดังจากผลงานการสร้างวิหารไม้ในหลายพื้นที่ทั่วโลก เบสต์สร้างให้วิหารไม้ของเขาดำรงอยู่เพียงชั่วคราว เปิดให้ใครก็ตามที่สูญเสีย หวังจะได้รับการให้อภัย หรือต้องการให้อภัยผู้อื่น ได้เข้ามาใช้เวลาอยู่กับตัวเองและปลดปล่อยความรู้สึกเหล่านั้น ก่อนที่ทุกคนจะร่วมยืนมองไฟที่เผาไหม้อาคารทั้งหลังลงไปพร้อมกัน

ข้อดีของเหตุการณ์ที่มีหลักฐานเกี่ยวข้องมาก

©Produced by Artichoke. Photo by Matthew Andrews

สำหรับลอนดอน 1666 เบสต์มองว่า เมื่อ 350 ปีก่อนมีผู้คนที่ถูกขับไล่และต้องย้ายที่อยู่อย่างไร ทุกวันนี้ก็ยังเป็นอยู่อย่างนั้น ต่างกันที่ว่า ชาวลอนดอนชนชั้นล่างในวันนี้ไม่ได้ถูกผลักไสโดยเปลวไฟสีแดงแต่เป็นเปลวไฟทางเศรษฐกิจมากกว่า
ท่ามกลางกลุ่มควันที่พวยพุ่งและเปลวไฟที่ลุกโชนอยู่กลางแม่น้ำเทมส์ในวันนั้น คงจะทำให้ผู้ชมกว่า 50,000 คนที่ยืนมองอยู่จากทั้งสองฝั่งแม่น้ำและรับชมผ่านทางการถ่ายทอดสดออนไลน์ ได้รำลึกถึงเหตุการณ์ที่พลิกโฉมลอนดอนเมื่อหลายร้อยปีก่อนและตระหนักถึงสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตเพื่อเตรียมรับมือได้บ้าง  

ที่มา :
บทความ “Artists Return Nefertiti Bust to Egypt Thanks to Covert 3-D Scanning” จาก news.artnet.com
บทความ “Could the Nefertiti Scan Be a Hoax — and Does that Matter?” จาก hyperallergic.com
บทความ “London's burning. Again...” จาก telegraph.co.uk
บทความ “Operation Night Watch is Revealing Rembrandt’s Secrets (And You Can Watch Live)” จาก frieze.com
บทความ “Paint the color of the Imperial Palace on your face” จาก medium.com
บทความ “Palace Museum launches exquisite original lipsticks” และ “Summer Palace cosmetics become a hit on Alibaba's Tmall” จาก en.people.cn
บทความ “Pride and cosmetics: Success of Imperial China-inspired products soaring in popularity” จาก cosmeticsdesign-asia.com
บทความ “THE NEFERTITI 3D SCAN HEIST IS A HOAX” จาก cosmowenman.com
บทสัมภาษณ์อริญชย์ รุ่งแจ้ง จาก wurkon.com
สูจิบัตรนิทรรศการ “มงกุฎ โดย อริญชย์ รุ่งแจ้ง”
วิดีโอ “Arin Rungjang au Jeu de Paume” โดย Jeu de Paume จาก youtube.com 
วิดีโอ “Artist talk : Mongkut Art Exhibition By Arin Rungjang with Kamol Phaosavasdi” โดย Art Centre Silpakorn University จาก youtube.com
วิดีโอ “CONVERSATION WITH ธงชัย วินิจจะกูล” โดย Way magazine จาก youtube.com
artichoke.uk.com
nora-al-badri.de
rijksmuseum.nl

เรื่อง : นันทกานต์ ทองวานิช