สหกรณ์ออมทรัพย์มีประโยชน์อย่างไร

สหกรณ์ออมทรัพย์กรมป่าไม้ จำกัด คำนึงถึงหลักการ อดออม และ เอื้ออาทรซึ่งกันและกัน เพื่อให้สมาชิกทุกๆท่าน ไม่ว่าจะเป็นข้าราชการ พนักงานราชการ หรือลูกจ้างชั่วคราว ในสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อม ได้มีความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น

ใครบ้างเป็นสมาชิกสมทบกับสหกรณ์ได้ ?

1 . เป็นพนักงานราชการ หรือลูกจ้างชั่วคราวรายเดือน หรือลูกจ้างชั่วคราวรายวันหรือพนักงานจ้างเหมาบริการ หรือตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่ปฏิบัติงานในทำนองเดียวกันของกรมป่าไม้ หรือกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่า และพันธุ์พืช หรือกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง หรือสำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

2. เป็นบุตร (อายุ 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป) หรือคู่สมรส หรือบิดา มารดา ของสมาชิก หรือบิดา มารดา ของคู่สมรสสมาชิก 

(คลิ๊ก วิธีการสมัครสมาชิกสมทบ)

สิทธิประโยชน์ของสมาชิกสมทบ

สหกรณ์ออมทรัพย์มีประโยชน์อย่างไร

 

1 . สิทธิ์รับฝากเงิน พร้อมดอกเบี้ยสูง
เพราะการออมเป็น หลักแห่งการสร้างความสุข สมาชิกสมทบสามารถนำเงินมาฝาก กับ สหกรณ์  ในประเภทบัญชีเงินฝากต่างๆ ที่ครอบคลุมและเหมาะสมกับทุกการออม เช่นบัญชีออมทรัพย์พิเศษ ที่เปิดได้สูงสุด 3 บัญชี , หรือบัญชีออมทรัพย์ชีวิตพอเพียง ที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงถึง 3.80% ต่อปี  (คลิ๊กอ่าน รายละเอียดประเภทบัญชีต่างๆ)


สหกรณ์ออมทรัพย์มีประโยชน์อย่างไร

 

2 . สิทธิ์การกู้หุ้น หรือ เงินฝาก ของสมาชิก

ในยามจำเป็นที่สมาชิกต้องการจะใช้เงิน สมาชิกสมทบก็ยังสามารถกู้เงิน มาใช้จ่ายในชีวิตประจำวันได้อีกด้วย

โดยสมาชิกสมทบสามารถ กู้ฉุกเฉิน กู้หุ้น หรือ กู้เงินฝาก กู้ได้ไม่เกิน 90% ของหุ้น และเงินฝาก

สหกรณ์ออมทรัพย์มีประโยชน์อย่างไร

3. สิทธิ์การซื้อหุ้น และ รับเงินปันผล

สมาชิกสมทบสามารถ ซื้อหุ้นและรับผลตอบแทน เป็นเงินปันผลได้ สามารถถือหุ้นสูงสุดถึง 1 ล้านบาท และ ซื้อหุ้นขั้นตำ่ ครั้งละ 100 บาท  (10 หุ้น)

สหกรณ์ออมทรัพย์มีประโยชน์อย่างไร

4. สิทธิ์ร่วมกิจกรรมของสหกรณ์

ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรม การเข้าค่ายครอบครัว การฝึกอบรมวิชาชีพ  โครงการวันออม โครงการอบรมสัมนาให้ความรู้ หรือ กิจกรรมร่วมชิงโชคต่างๆ สมาชิกสมทบก็มีสิทธิ์เข้าร่วมได้เช่นกัน


สหกรณ์ออมทรัพย์มีประโยชน์อย่างไร

5. รับ 7 สวัสดิการ ครบทุกความต้องการ

สหกรณ์มอบสวัสดิการต่างๆ ที่ครอบคลุมทุกช่วงชีวิต เพื่อช่วยเหลือเอื้ออำนวยแก่สมาชิกสมทบ ให้มีคุณภาพชีวิต ที่ดียิ่งขึ้น (คลิ๊กอ่าน รายละเอียดสวัสดิการ ทั้งหมด)

เกร็ดน่ารู้


*** จากที่สมาชิกสมทบ ที่เป็นพนักงานราชการ แล้วได้ต่อสัญญาจ้างใหม่นั้น ได้สอบถามเรื่องการกู้สามัญ กับทางสหกรณ์ ว่า "ต่อสัญญาใหม่แล้วจะทำการกู้สามัญแบบมีวงเงินได้ไหมนั้น" ซึ่งคำตอบก็คือ สิทธิ์การกู้ของสมาชิกสมทบ จะกู้ได้ไม่เกิน 90% ของหุ้นและเงินฝาก เช่นเดิม ตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ ฉบับที่ 3 ปี 2562 

สหกรณ์ออมทรัพย์มีประโยชน์อย่างไร

สหกรณ์ออมทรัพย์มีประโยชน์อย่างไร

     สถาบันการเงินแห่งหนึ่งที่มีสมาชิกเป็นบุคคลทีมีอาชีพอย่างเดียวกันหรืออาศัยในที่ชุมชนเดียวกัน  มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้สมาชิกรู้จักการออมทรัพย์ และให้กู้ยืมเงินเมื่อเกิดความจำเป็น หรือเพื่อก่อให้เกิดผลประโยชน์งอกเงย และได้รับการจดทะเบียนตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542

สหกรณ์ออมทรัพย์มีประโยชน์อย่างไร

     ในภาวะปัจจุบัน ประชาชนประสบปัญหาเกี่ยวกับค่าครองชีพที่สูงขึ้น ผู้ที่มีรายได้น้อยได้รับความเดือดร้อนเพราะไม่สามารถจะหารายได้เพิ่มให้เพียงพอกับรายจ่ายที่เพิ่มขึ้น และมักจะแก้ไขปัญหาด้วยการกู้ยืมเงินจากนายทุนโดยยอมเสีย ดอกเบี้ยในอัตราสูง จึงก่อให้เกิดหนี้สินผูกพัน และก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ตนเองและครอบครัวภายหลังบุคคลที่ประสบปัญหาความเดือดร้อนดังกล่าว จึงร่วมกันแก้ไขปัญหาด้วยการรวมกลุ่มกัน จัดตั้งสหกรณ์ออมทรัพย์ขึ้นเพื่อบรรเทาปัญหาความเดือดร้อน โดยยึดหลักการช่วยเหลือตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
     สหกรณ์ออมทรัพย์แห่งแรกในประเทศไทย คือ สหกรณ์ออมทรัพย์ที่จัดตั้งขึ้นในหมู่ข้าราชการสหกรณ์และพนักงานธนาคารเพื่อการพัฒนาสหกรณ์ (ธนาคารเพื่อการสหกรณ์ ปัจจุบันได้เปลี่ยนเป็น "ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร") จดทะเบียนเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2429 โดยใช้ชื่อว่า สหกรณ์ข้าราชการสหกรณ์ จำกัดสินใช้ปัจจุบันชื่อว่า "สหกรณ์ข้าราชการสหกรณ์ จำกัด"

  วัตถุประสงค์ของสหกรณ์ออมทรัพย์

     สหกรณ์ออมทรัพย์เป็นสถาบันการเงินที่ส่งเสริมให้บุคคลที่เป็นสมาชิกรู้จักการประหยัด รู้จักการออมทรัพย์และสามารถบริการเงินกู้ ให้แก่สมาชิกเพื่อนำไปใช้จ่ายเมื่อเกิดความจำเป็น โดยยึดหลักการช่วยเหลือตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน จึงเป็นการร่วมกันแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคมอีกทางหนึ่ง ดังนี้
     (1)  การส่งเสริมการออมทรัพย์ เป็นวัตถุประสงค์หลักของสหกรณ์ออมทรัพย์ แบ่งออกเป็น 2 วิธี คือ
           1.1  การส่งเสริมสหกรณ์ออมทรัพย์โดยการถือหุ้น สหกรณ์กำหนดให้สมาชิกส่งชำระค่าหุ้นเป็นประจำทุกเดือน โดนการหักเงินค่าหุ้น ณ ที่จ่ายเงินเดือนและจ่ายเงินปันผลค่าหุ้นให้แก่สมาชิกตามอัตราที่พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 กำหนดไว้ เงินปันผลที่ได้รับนี้ไม่ต้องเสียภาษีให้แก่รัฐ และเมื่อสมาชิกลาออกจากสหกรณ์ก็สามารถถอนค่าหุ้นคืนได้
           1.2  การส่งเสริมสหกรณ์ออมทรัพย์โดยการรับฝากเงิน สหกรณ์มีบริการด้านเงินฝากทั้งประเภทเงินฝากประจำและเงินฝากออมทรัพย์ และให้ผลตอบแทนในรูปดอกเบี้ยในอัตราเดียวกับธนาคารพาณิชย์ หรือสูงกว่าตามฐานะของแต่ละสหกรณ์
     (2)  การให้เงินกู้แก่สมาชิก สหกรณ์จะนำเงินค่าหุ้นและเงินฝากของสมาชิกมาหมุนเวียนให้สมาชิกที่มีความจำเป็นหรือเดือดร้อนกู้ยืม โดยคิดดอกเบี้ยต่ำกว่าเอกชน

  ลักษณะการให้เงินกู้
          เงินกู้ที่สหกรณ์จ่ายให้กับสมาชิกมี 3 ประเภท คือ
     (1)  เงินกู้เพื่อเหตุฉุกเฉิน ในกรณีที่สมาชิกมีความจำเป็นเร่งด่วนหรือมีรายจ่ายที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหัน สมาชิกสามารถกู้เงินประเภทนี้จากสหกรณ์ได้ไม่เกินครึ่งหนึ่งของเงินได้รายเดือน แต่จำกัดขั้นสูงไว้ตามฐานะของแต่ละสหกรณ์และกำหนดส่งชำระคืนไม่เกิน 2 งวดรายเดือน เงินกู้ประเภทนี้ไม่ต้องมีหลักประกัน
     (2)  เงินกู้สามัญ สมาชิกสามารถกู้เงินประเภทนี้ได้ประมาณ 4-15 เท่าของเงินได้รายเดือน แต่จะจำกัดขั้นสูงไว้ตามฐานะของแต่ละสหกรณ์ และกำหนดส่งชำระคืนระหว่าง 24-72 งวดรายเดือน และต้องมีสมาชิกด้วยกันค้ำประกัน อย่างน้อย 1 คน การกำหนดวงเงินกู้ฉุกเฉินและสามัญ จะใช้เงินเดือนเฉลี่ยของสมาชิกแต่ละสหกรณ์เป็นฐานในการกำหนด ตัวอย่าง เช่น สหกรณ์แห่งหนึ่ง สมาชิกมีเงินเฉลี่ย 10,000 บาท/เดือน ขั้นสูงของวงเงินกู้ฉุกเฉินควรเป็น 5,000 บาท ขั้นสูงของวงเงินกู้สามัญ ควรเป็น 40,000-150,000 บาท แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับฐานะทางการเงินและดุลยพินิจของคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ในการกำหนดระเบียบ
     (3) เงินกู้พิเศษ ถ้าสหกรณ์มีฐานะมั่นคงแล้ว สหกรณ์จะเปิดบริการให้เงินกู้พิเศษเพื่อให้สมาชิกกู้ไปลงทุนในการประกอบอาชีพ หรือกู้ไปเพื่อการเคหะสงเคราะห์ เงินกู้ประเภทนี้สามารถกู้ตามจำนวนเงินที่จะนำไปลงทุนประกอบอาชีพ หรือขึ้นอยู่กับราคาของบ้านและที่ดินที่จะซื้อ หรือจำกัดขั้นสูงไว้ไม่เกิน 400,000-1,000,000 บาท และกำหนดชำระคืน ตั้งแต่ 10-15 ปี โดยมีอสังหาริมทรัพย์เป็นหลักจำนองค้ำประกัน

   การดำเนินงาน
      สหกรณ์ออมทรัพย์ดำเนินการโดยสมาชิก กล่าวคือ เมื่อได้มีการจัดตั้งสหกรณ์ออมทรัพย์ขึ้นแล้ว สมาชิกจะเลือกตั้งตัวแทนจากที่ประชุมใหญ่ให้เข้ามาบริหารงานในสหกรณ์ ตัวแทนสมาชิกเหล่านี้เรียกว่า คณะกรรมการดำเนินการมีประมาณ 7-15 คน ตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับของสหกรณ์ออมทรัพย์นั้นๆคณะกรรมการดำเนินการ จะทำหน้าบริหารกิจการสหกรณ์โดยจะมีการประชุม อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง เพื่อกำหนดนโยบายในการทำงาน แล้วจึงมอบให้ ฝ่ายจัดการรับไปปฏิบัติงานต่อไป ฝ่ายจัดการนั้น ประกอบด้วย ผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ สมุห์บัญชี เจ้าหน้าที่การเงิน ฯลฯ ซึ่งทำหน้าที่บริการแก่สมาชิกที่มาติดต่อทำธุรกิจกับสหกรณ์

  สิทธิและหน้าที่ของสมาชิก
      สหกรณ์เป็นของสมาชิกและสมาชิกทุกคนมีบทบาทที่จะควบคุมการบริหารงานของสหกรณ์ โดยใช้สิทธิและปฏิบัติหน้าที่ของสมาชิก ให้ถูกต้องและสม่ำเสมอการร่วมประชุมใหญ่ เป็นทั้งสิทธิและหน้าที่อ้นสำคัญยิ่งของสมาชิกทุกคนควรจะต้องเข้าร่วมประชุมใหญ่ของสหกรณ์ ซึ่งเป็นโอกาสที่สมาชิกจะแสดงบทบาทรักษาสิทธิและปกป้องคุ้มครองผลประโยชน์ของตน ตลอดจนการติดตามผลการดำเนินงาน การจัดสรรผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจอย่างยุติธรรม กำหนดนโยบายการดำเนินงานรวมทั้งคัดเลือกรรมการดำเนินการที่มีความสามารถ และมอบภารกิจในการดำเนินการต่อไปในแนวทางอันเป็นประโยชน์ต่อมวลสมาชิก เสริมสร้างความเจริญมั่นคงให้กับสหกรณ์ โดยสมาชิกที่เข้าร่วมประชุมทุกคนจะต้องร่วมกันอภิปราบปัญหา แสดงความคิดเห็น ออกเสียง และยอมรับมติของที่ประชุม ซึ่งไม่ขัดต่อกฎหมายข้อบังคับและระเบียบ เพื่อให้สหกรณ์ดำเนินงานเป็นไปตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่กำหนดไว้ทุกประการ โดยร่วมกันพิจารณาในเรื่องต่างๆ เหล่านี้

   ข้อควรปฏิบัติในการดำเนินธุรกิจกับสหกรณ์

      ด้านการเงิน 

       (1)  เมื่อชำระเงินแก่สหกรณ์ ต้องชำระต่อเจ้าหน้าที่การเงินที่สหกรณ์แต่งตั้งไว้เท่านั้น และต้องเรียกใบเสร็จรับเงินทุกครั้ง เช่น การชำระหนี้ก่อนกำหนด การถือหุ้นเพิ่ม
       (2)  ควรเก็บใบเสร็จรับเงินทุกฉบับไว้ จนกว่าจะได้สอบทานหนี้สินและเงินค่าหุ้นให้ถูกต้องตรงกันเป็นประจำทุกปี
       (3)  ควรมารับเงินที่สหกรณ์ด้วยตนเอง ถ้าจำเป็นควรมอบฉันทะแก่ผู้ที่ไว้ใจเท่านั้น
       (4)  เมื่อรับเงินจากสหกรณ์ทุกครั้ง ควรตรวจนับจำนวนเงินให้ถูกต้องก่อนออกจากสหกรณ์ไป
       (5)  การนำเงินมาฝากกับสหกรณ์ สมาชิกต้องยื่นใบฝากเงินพร้อมกับสมุดคู่ฝาก เมื่อรับสมุดคืนให้ตรวจสอบรายมือชื่อผู้มีอำนาจกำกับในสมุดคู่ฝากทุกครั้ง และไม่ควรฝากสมุดคู่ฝากไว้กับพนักงานสหกรณ์

       ด้านสินเชื่อ

        (1)  ควรกู้เงินจากสหกรณ์ในกรณีที่มีความจำเป็นจริงๆ และกู้ในจำนวนที่ต้องการใช้เท่านั้น
        (2)  จะค้ำประกันใครต้องตัดสินใจให้ดี เพราะถ้าผู้กู้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ ผู้ครับประกันจะต้องชำระหนี้แทนโดยไม่มีทางหลีกเลี่ยง
        (3)  ในกรณีที่สมาชิกสหกรณ์ต้องการรับเงินกู้ เงินปันผลและเงินเฉลี่ยคืนให้สมาชิกรับเงินดังกล่าวที่สหกรณ์ด้วยตนเอง ถ้าหากจำเป็นให้ทำหนังสือมอบฉันทะโดยมีผู้บังคับบัญชาลงลายมือชื่อแสดงต่อเจ้าหน้าที่สหกรณ์ด้วย

สหกรณ์ออมทรัพย์มีประโยชน์อย่างไร

ตัวอย่างสหกรณ์ออมทรัพย์