รัฐสวัสดิการมี ประเทศ อะไรบาง

สังคมผู้สูงอายุอาจจะดูไกลตัวในตอนนี้สำหรับหลายๆ คน แต่ก็หลีกเลี่ยงไม่ได้กับจำนวนประชากรผู้สูงอายุที่สูงขึ้นเรื่อยๆ ทุกปี และปัญหาที่ตามมาของการเพิ่มขึ้นของสังคมผู้สูงอายุคือการขาดแคลนแรงงาน ซึ่งส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจและค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นในอนาคต

ในภูมิภาคเอเชียประเทศไทยอยู่ในอันดับต้นๆ ที่มีผู้สูงอายุมากที่สุด และในขณะเดียวกันก็มีอัตราการเกิดน้อยลงด้วย แต่เมื่อแก่ตัวไปสวัสดิการที่เรารอคอยที่จะพึ่งพาอาศัยในบั้นปลายชีวิตมันดีพอหรือยัง

Young Matter พาไปสำรวจรัฐสวัสดิการผู้สูงอายุของแต่ละประเทศว่าเป็นอย่างไรบ้างและมีประสิทธิภาพเพียงพอหรือเหมาะสมกับผู้สูงอายุหรือไม่

ประเทศสวีเดน

รัฐสวัสดิการมี ประเทศ อะไรบาง

สวีเดนเป็นประเทศที่ได้รับการยกย่องว่ารัฐสวัสดิการดีที่สุด ในด้านของการจัดเก็บภาษี ประกันสังคมและการบริการที่เน้นการดูแลให้ถึงที่พักอาศัย

ในปี 2019 ประชากรผู้สูงอายุในสวีเดน อายุ 65 ปี มีจำนวนร้อยละ 20 ของประชากรทั้งประเทศ และร้อยละ 5.2 ของผู้สูงอายุที่มีอายุ 80 ปี และอีกร้อยละ 1 ตกเป็นของผู้สูงอายุที่มีอายุ 90ขึ้นไป ในขณะที่อัตราการเกิดของประชากรลดลงปีละ 2-3 เปอร์เซ็น ถือเป็นการลดลงอย่างช้าๆ แต่ 13 ปีที่ผ่านมาอัตราการเกิดได้ลดลงไปแล้วร้อยละ11.1ของประชากร ข้อมูลล่าสุดจา statista

นอกจากนี้ประชนในประเทศเชื่อมั่นในการให้บริการของรัฐเป็นอย่างมาก เพราะการให้บริการนั้นเป็นไปอย่างยุติธรรม สะดวกสบาย รวดเร็ว มีหลากหลายรูปแบบให้ใช้งาน รวมไปถึงความปลอดภัย การบริการที่ดีและมีคุณภาพแบบนี้จึงต้องแลกมาด้วยการเก็บภาษีที่สูง สิ่งที่ได้รับจากรัฐหลังการจ่ายภาษีอย่างต่อเนื่อง ผู้สูงอายุจะได้รับอะไรบ้าง

1. สวัสดิการด้านที่อยู่อาศัย ผู้สูงอายุจะได้รับความช่วยเหลือในการจัดหาที่พักอาศัย รวมไปถึงผู้พิการและครอบครัวรายได้ต่ำที่มีเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปีอาศัยอยู่ด้วย

2. เงินจากกองทุนผู้สูงอายุ (Old age pension) สำหรับผู้ที่จ่ายเงินสมทบ หรือก็คือผู้เสียภาษี

3. แต่สำหรับผู้ที่ไม่ได้เสียภาษีหรือไม่ได้เงินจากกองทุนผู้สูงอายุ จะได้รับเงินจาก Guarantee pension สำหรับผู้ที่อาศัยอยู่ในสวีเดนเกิน 40 ปี

4. เงินช่วยเหลือยังชีพ (Maintenance support) สำหรับผู้ที่ไม่ได้อยู่ในระบบกองทุนผู้สูงอายุ

5. การรักษาพยาบาล การบริการสุขภาพระยะยาว ทุกคนสามารถเลือกโรงพยาบาลรักษาได้อย่างอิสระ แต่ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่สภาเขตกำหนดไว้

6. ระบบบริการ ณ ที่พักอาศัย เพราะสวีเดนมีหลักในการดูแลผู้สูงอายุโดยต้องอาศัยอยู่ในบ้านของตนเองให้นานที่สุด และมีบริการดูแลและบริการให้ถึงบ้าน เช่นมีพนักงานทำความสะอาดให้ ซื้อของให้ ซักผ้า บริการอาหารการกิน ดูแลความปลอดภัยและบริการดูแลเรื่องในชีวิตประจำวันอื่นๆ

7. สำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัว ป่วยหนัก ผู้ป่วยติดเตียงหรือไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ก็จะอยู่แต่เพียงที่พักอาศัยของตนเท่านั้น แต่จะมีการบริการด้านสุขภาพให้ ณ ที่พักอาศัย

8. ระบบขนส่งสาธารณสุข ผู้สูงอายุสามารถเรียกใช้ แท็กซี่หรือบริการพิเศษได้เพาะในกรณีที่ไม่สามารถใช้บริการได้ด้วยตนเอง

9. ในบางครอบครัวจะได้เงินสนับสนุนจากรัฐเป็นค่าตอบแทนในการดูแลผู้สูงอายุในบ้านของตนเอง

10. ระบบบำนาญ อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่าผู้เสียภาษี จะได้รับเงินประกันสังคมและเงินบำนาญเมื่อถึงวัยเกษียณ จะได้รับเงินบำนาญเฉลี่ย 13,000 โครนาสวีเดน หรือ 46,306.57 บาทไทย จำนวนที่ได้รับนี้จะแตกต่างออกไปตามจำนวนเงินเดือนที่ได้รับและการสะสมเงินในกองทุน

การจัดเก็บภาษีก้าวหน้าของรัฐเป็นการนำเงินจากภาษีรายได้บุคคลและนิติบุคคลไปหมุนเวียนในการปรับปรุง สนับสนุนโครงการสาธารณต่างๆเพื่อตอบสนองความต้องการและความสะดวกสบายให้แก่ประชาชน งบประมาณที่ถูกเอาไปใช้ส่วนใหญ่มักจะเอาไปลงกับชุมชนหรือท้องถิ่นก่อนเป็นหลัก ในด้านการจัดการการศึกษา สาธารณสุข และคมนาคมอย่างทั่วถึง

ประเทศเยอรมนี

รัฐสวัสดิการมี ประเทศ อะไรบาง

ประเทศเยอรมนี หรือสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีมีจำนวนประชากรผู้สูงอายุปี ค.ศ.2020 ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไปร้อยละ 21.7 จากประชากรทั้งประเทศกว่า 83 ล้านคน พอๆ กับอิตาลี โดยอยู่ 1 ใน 5 ประเทศทั่วโลกที่เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มที่หรือ Super-aged Society ในขณะที่จำนวนอัตราการเพิ่มขึ้นของประชากรหรืออัตราการเกิดมีเพียง 9.5 ต่อ 1000 คน

รูปแบบของสวัสดิการของประเทศเยอรมนีจะเรียกว่าเป็นการบังคับออมทางอ้อมก็ได้ เพราะสวัสดิการที่ใช้มาบริการสังคมนั้นมาจากภาษี ภาษีจะนำไปส่งต่อให้กองทุนเพื่อเข้าระบบสวัสดิการ สำหรับผู้ที่เสียภาษีเยอะก็ได้รับสวัสดิการที่ดีหรือผลตอบแทนมากตามที่เสียไป สวัสดิการในเยอรมนีมี 4 แบบด้วยกัน คือ 1.ระบบประกันสังคม 2. ระบบประกันสุขภาพของรัฐ 3.ประกันบำนาญของรัฐ 4. การช่วยเหลือทางสังคมของรัฐบาล ผู้ที่เสียภาษีจะได้บริการทั้ง 4 ประการนี้ตามการจ่ายภาษีที่สะสมไว้ในกองทุน

ระบบภาษีของเยอรมนีมี 2 แบบคือ การเสียภาษีรายได้บุคคล (Einkommensteuer) และการเสียภาษีรายได้นิติบุคคล และภาษีนี้ไม่มีข้อยกเว้นกับชาวต่างชาติที่เข้ามาทำในงานในเยอรมนีและได้รับเงินขณะพำนักหรือทำงานในเยอรมนีทุกประการ

การเก็บภาษีจะเก็บโดยรัฐบาลกลาง (Bundesregierung) สหพันธรัฐ (Bundesländer) และเทศบาล (Gemeinden) แม้เยอรมนีจะมีอัตราการเก็บภาษีอยู่ในระดับสูงถึงร้อยละ 45 ในหลายอาชีพแต่สวัสดิการที่ได้รับนั้นถือว่าคุ้มค่า ไม่ว่าจะเป็นค่าเรียนฟรี การบริการสาธารณะต่างๆ และค่ารักษาพยาบาลที่ประชาชนสามารถนำภาษีไปลดหย่อนได้ในการจ่ายประกันสังคม และการบังคับจัดเก็บภาษีนี้เองทำให้ประชาชนทุกคนมีหลักประกันสังคมกันถ้วนหน้า เพื่อจะได้ไม่มีปัญหาในภายหลังหากได้รับอุบัติเหตุหรือเกิดโรคภัยไข้เจ็บ

ชาวเยอรมันจะได้รับการคุ้มครองภายใต้ระบบประกันสังคมเกือบร้อยละ 90 รัฐบาลใช้จ่ายงบประมาณด้านสวัสดิการสูงมากถึงร้อยละ 27.6 ของ GDP จึงสามารถเรียกได้ว่าเป็น ‘รัฐสวสัดิการ (Welfare State)’ สิทธิประโยชน์หลักๆ จะได้แก่ การประกันสุขภาพ รวมถึงค่าใช่จ่ายในการคลอดบุตร การประกันบำนาญ เมื่อายุ 67 ปี กรณีจ่ายค่าเบี้ยประกันครบ 45 ปี ในจำนวนร้อยละ 70 ของรายได้เฉลี่ยตลอดช่วงที่ยังทำงาน การประกันการว่างงาน การประกันอุบัติเหตุจากการทำงานและการประกันสุขภาพระยะยาว ซึ่งก็แลกกับการบริการและการดูแลจากรัฐบาลที่ดีตามไปด้วย

หลายคนอาจสงสัยแล้วสวัสดิการนี้มันก็สำหรับคนทำงานราชการไม่ใช่เหรอ สำหรับผู้ที่มีอาชีพอิสระหรือกลุ่มแม่บ้านก็จะมีระบบประกันสังคมแบบสมัครใจ (Private) รัฐบาลจะไม่ได้บังคับ แต่หากอยากได้สวัสดิการสังคมที่ดีคนส่วนใหญ่จึงยอมจ่าย เพราะได้รับสิทธิประโยชน์ที่ดี นอกจากนี้ตัวเลือกนี้จะไม่ได้มีแค่นำเงินเข้ากองทุนของรัฐอ่างเดียว ประชาชนสามารถเลือกนำเงินไปจ่ายให้กับภาคเอกชนได้ในการบริหารกองทุนเพื่อได้รับริการที่ดีขึ้น เช่น สามารถเลือกรักษากับแพทย์เฉพาะทาง (Specialist) หรือเข้าพักรักษาในห้องพักเดี่ยวได้ เป็นต้น

เว็บไซต์ I AM EXPAT ของเยอรมนี ได้อธิบายการจ่ายเงินบำนาญให้แก่ผู้สูงอายุปี 2020 ว่าเงินบำนาญที่จะได้รับสำหรับผู้ที่สูงอายที่แต่งงานและยังอยู่อาศัยกับคู่ครองโดยจำแนกเป็นฝั่งตะวันตกจะได้รับเงินเดือนเดือนละ 2,959 ยูโร หรือ 107,922.56 บาทต่อเดือน เทียบกับฝั่งตะวันออกจะได้รับ 2,577 ยูโรหรือ 93,046.65 บาทต่อเดือน ในขณะถ้าจำแนกเพศและสถานะที่โสด ชายโสดสูงอายุอาศัยอยู่บ้านคนเดียวฝั่งตะวันตกจะได้รับ 1,875 ยูโรหรือ 67,700.63 บาทต่อเดือน และหญิงสูงอายุสถานะโสดและอาศัยอยู่ตัวคนเดียวฝั่งตะวันตกจะได้รับ 1,617 ยูโรหรือ 58,392.59 บาทไทยต่อเดือน

สำหรับการดูแลสุขภาพหรือ Elderly care จากภาครัฐ ผู้สูงอายุสามารถเลือกได้ว่าจะไปพักอาศัยอยู่ที่ไหนเพื่อสะดวกในการดูแลอย่างใกล้ชิดกับพยาบาลผู้ดูแล เช่น ย้ายไปบ้านหลังใหม่ หรืออยู่อาศัยกับครอบครัวต่อแล้วมีพยาบาลดูแลให้ที่บ้าน หรือย้ายไปอยู่บ้านพักคนชรา เป็นต้น ปัจจุบันเยอรมนีเพิ่มอายุเกษียณเป็น 67 ปีขึ้นไป เพราะห่วงเรื่องของความไม่สมดุลของจำนวนประชากรกับการให้สวัสดิการในอนาคต

ผู้สูงอายุที่ได้สมทบเงินเข้าประกันสังคมจะได้เงินบำนาญเมื่อเกษียณอายุ และการได้รับเงินบำนาญไม่ได้มีแค่ผู้สูงอายุที่ทำงานราชการ ผู้สูงอายุอาชีพอื่นๆก็มีตัวเลือกในการสบทบเงินประกันสังคมเพื่อสวัสดิการในอนาคตได้ โดยเข้าระบบการประกันบำนาญแบบสมัครใจและประกันบำนาญกับบริษัทเอกชน

ประเทศออสเตรเลีย

รัฐสวัสดิการมี ประเทศ อะไรบาง

ออสเตรเลียประเทศอันดับ 3 ของโลกที่มีสวัสดิการดีที่สุด ได้รับค่าดัชนีระบบจัดการสวัสดิการและเงินบำนาญไปถึง 75.3 ในปี ค.ศ.2019 รองจากเนเธอร์แลนด์และเดนมาร์ก สถิติจำนวนผู้สูงอายุในออสเตรเลียปี 2019 มีจำนวนประชากรผู้สูงอายุร้อยละ 15.9 ของประชากรทั้งประเทศ

ระบบเงินบำนาญมี ทั้งหมด 3 ส่วน คือเงินบำนาญจากการจ่ายภาษีตลอดการทำงานที่ผ่านมา เงินบำนาญจากบริษัทนายจ้างเก่าและเงินบำนาญจากบัญชีเงินออมเพื่อการเกษียณ โดยผู้สูงอายุจะได้รับเงินทุกๆ 2 สัปดาห์ เดือนละ 2 ครั้ง ค่าเงินที่ได้รับจะแตกต่างออกไปตามปัจจัยหลายๆอย่างเช่น สถานะ(โสด/สมรส) รายได้ที่ได้รับขณะทำงาน และมูลค่าทรัพย์สินส่วนบุคคล

ค่าเฉลี่ยเงินบำนาญประมาณ 700 ดอลลาร์ออสเตรเลียหรือประมาณ 16,000 บาทต่อครั้ง ตกเดือนละ 30,000 บาท ผู้ที่จะได้รับเงินนี้ต้องถือสัญชาติออสเตรเลียกับเป็นผู้ที่อาศัยอยู่ในออสเตรเลียไม่น้อยกว่า 10 ปี

การวางแผนของภาครัฐมีจุดมุ่งหมายในการบังคับจ่ายเงินบำนาญจากการหักในระบบเพราะต้องการเพิ่มการออมในครัวเรือน ลดภาระหนี้สินครัวเรือน มีแผนในปีต่อไปคาดว่าจะเพิ่มเปอร์เซ็นต์เงินได้จากการทำงานหรือจะเพิ่มเงินเดือนให้แต่ยังคงหักภาษีสำรองออกไปในปริมาณเท่าเดิมแต่จะไปเพิ่มในเงินบำนาญให้ทีหลัง

นอกจากนี้ยังมีบริการ Age care หรือการบริการให้โดยเจ้าหน้าที่ ณ ที่พักอาศัยของผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุจะได้รับบริการที่หลากหลายเช่น

– ช่วยเหลือเรื่องในชีวิตประจำวันเช่น งานบ้าน ชอปปิง ทำอาหาร พาออกไปข้างนอก

– ให้บริการอุปกรณ์ช่วยพยุง

– ต่อเติมส่วนพื้นที่สำคัญในบ้านเพื่อป้องกันอุบัติเหตุและเพื่อความสะดวกสบายเช่น ราวจับ หรือทางลาด

– การดูแลเรื่องส่วนตัว เช่น การแต่งตัว ทานอาหาร อาบน้ำ หรือพาไปห้องน้ำ

– การดูแลสุขภาพ โดย พยาบาล นักจิตวิทยา และการดูแลทางการแพทย์ทั่วไป

ประเทศเนเธอร์แลนด์

รัฐสวัสดิการมี ประเทศ อะไรบาง

เนเธอร์แลนด์ประเทศอันดับ 1 ของโลกในการจัดการดูแลผู้สูงอายุได้ดีที่สุด ปี ค.ศ.2020 ประชากรผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไปมีอัตราประชากรร้อยละ 20 ของประชากรทั้งประเทศ ปัจจุบันอายุเกษียณของชาวดัชต์อยู่ที่ 66 ปีกับอีก 4 เดือน ถึงจะได้รับเงินบำนาญ

เงินบำนาญของเนเธอร์แลนด์มี 3 รูปแบบ คือระบบบำนาญแห่งรัฐ ระบบบำนาญแบบส่วนร่วมหรือบำนาญจากอาชีพหรือบริษัทและระบบบำนาญส่วนบุคคล

ระบบเงินบำนาญสะสมผ่านนายจ้างหรือบริษัท/องค์กร (Occupational/company pension/Collective pension funds) เป็นระบบที่คนส่วนใหญ่เลือกจ่ายโดยวิธีการจะหักออกจากเงินเดือนอัตโนมัติ เงินที่ได้รับจากระบบนี้เมื่อเกษียณจะคำนวณจากเงินเดือนที่ได้ระหว่างทำงาน นายจ้างกว่า 90%จะมีสวัสดิการตรงนี้ให้โดยเฉพาะเพื่อให้พนักงานได้เงินบำนาญเพิ่มเติม (นอกเหนือจากเงินบำนาญที่ได้รับจากในส่วนของ AOW)

และบำนาญแบบที่ 3 กรมธรรม์ประกันหรือการออมส่วนบุคคล (Individual pension products) เป็นระบบที่มักใช้ในคนที่ทำอาชีพอิสระ คนที่มีธุรกิจเป็นของตัวเองหรือกำลังเริ่มทำธุรกิจส่วนตัวและพนักงานในระบบอุตสาหกรรมที่ไม่ได้เข้าร่วมกับ Collective pension funds โดยสามารถนำเงินที่สะสมในกองทุนรูปแบบนี้ไปลงทุนกับประกันสุขภาพ ซื้อหุ้นหรือเพิ่มมูลค่าทรัพย์สินและสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้

อัตราเงินบำนาญที่จะได้รับสูงสุดมักใช้เกณฑ์ของคนที่อาศัยอยู่นเนเธอร์แลนด์ตั้งแต่อายุ 15 จนถึง 65 ปีจะได้เงินบำนาญรูปแบบเต็ม คนที่สมรสแล้วและอาศัยอยู่ด้วยกันจะได้ประมาณ 700 ยูโร หรือ 25,000 บาทต่อเดือน ส่วนคนโสดหรือพักอาศัยอยู่คนเดียวจะได้รับ 1000 ยูโรหรือ 36,000 บาทต่อเดือน

ระบบบำนาญแบบส่วนร่วมหรือจากอาชีพหรือองค์กรบริษัทที่ทำงาน (Occupational/company pension) เป็นระบบที่คนส่วนใหญ่เลือกจ่ายโดยวิธีการจะหักออกจากเงินเดือนอัตโนมัติ เงินที่ได้รับจากระบบนี้เมื่อเกษียณจะคำนวณจากเงินเดือนที่ได้ระหว่างทำงานและระบบบำนาญส่วนบุคคล มักนิยมกันในหมู่ของเจ้าขององค์กรและอาชีพอิสระ ที่จ่ายเงินกับองค์กรเอกชนเพื่อสะสมเงินทุน

ส่วนรูปแบบของสวัสดิการนอกจากเงินบำนาญที่ผู้สูงอายุจะได้รับเมื่อเกษียณต่อมาคือ Home care service ประกอบไปด้วย

– Nursing services บริการหมอประจำบ้าน พยาบาลดูแลประจำตัวตามบ้าน

– Care service ดูแลรับผิดชอบเรื่องสุขอนามัยส่วนบุคคล

– House cleaning ช่วยเหลือดูแลงานบ้าน ชอปปิง ทำอาหาร ที่ผู้สูงอายุไม่สามารถทำเองได้

– Social counseling การช่วยเหลือพิเศษจากคำร้องขอของผู้สูงอายุ เช่น ช่วยดูแลเงินส่วนบุคคล เตรียมพาไปโรงพยาบาล  หรือวางแผนการใช้เวลาพบปะเพื่อนฝูงของผู้สูงอายุ

– Psychological support department ช่วยเหลือในแผนกจิตวิทยา ให้คำปรึกษาดูและและช่วยรักษาอาการทางจิตให้กับผู้สูงอายุ

ประเทศสิงคโปร์

รัฐสวัสดิการมี ประเทศ อะไรบาง

ปี ค.ศ.2020 ประเทศสิงคโปร์มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 5.7 ล้านคน มีจำนวนประชากรผู้สูงอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไปร้อยละ 16.8 ของจำนวนประชากรทั้งหมด ซึ่งหมายความว่าประเทศสิงคโปร์กำลังเข้าสู่ Aged Society ตามการแบ่งเกณฑ์ข้างบน แล้วเขามีวิธีจัดการหรือให้บริการอะไรบ้างแก่ประชากรผู้สูงอายุเหล่านี้

ในด้านของรัฐสวัสดิการผู้สูงอายุ จะมีการตั้งระบบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพกลางเพื่อให้ออมเงินไว้ใช้หลังเกษียณ สิงคโปร์ให้ความสำคัญกับการพึ่งพาตนเอง โดยกองทุนนี้มีชื่อว่า Central Provident Fund (CPF) เป็นกองทุนที่อยู่ในภาคบังคับใช้ สร้างขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1955 โดย the British colonial administration นายจ้างจะหักจากเงินเดือนเข้าสมทบกับกองทุน นายจ้างจ่ายร้อยละ 20 ส่วนลูกจ้างจ่ายร้อยละ 10 แต่ปัจจุบันได้มีการเปลี่ยนระบบเป็นประกันสังคมแทน โดยจะมีการบริการรูปแบบอื่นให้กับสมาชิกในกองทุน เช่น

การรักษาพยาบาลสมาชิกของกองทุนประกันสังคมสามารถนำเงินสะสมในกองทุนมาจ่ายค่ารักษาพยาลได้หรือนำมาลดหย่อนได้ ในกรณีเป็นโรคร้ายแรงหรือโรคที่ต้องใช้เวลารักษาในระยะยาว

สนับสนุนนโยบายการมีบ้านหรือที่พักอาศัยเป็นของตัวเองจะได้มีเกิดปัญหา Homeless และปัญหาความยากจนในอนาคต กับนโยบายที่ชื่อว่า Housing Policy รัฐสนับสนุนให้ประชาชนซื้อบ้านเคหะของรัฐบาลในราคาถูกหรือบางกรณีก็ฟรีไปเลย บ้านที่ซื้อนี้อาจจะมีราคาสูงในวันข้างหน้าผู้พักอาศัยสามารถเอาไปลงทุนได้ตามสะดวกเพราะจะกลายเป็นทรัพย์สินส่วนบุคคล

รัฐบาลได้มีการจัดตั้ง Ministerial on Aging ระบบสวัสดิการของผู้สูงอายุที่จะได้รับจากรัฐบาล

1.ส่งเสริมการจ้างงานและสร้างความมั่นคงทางการเงิน โดยผู้สูงอายุยังสามารถหางานทำได้อยู่แม้จะอายุมากแล้ว เพราะหลักของสิงคโปร์คือการพึ่งพาตนเอง คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในสิงคโปร์ส่วนใหญ่จึงเป็นแบบ “รวยก่อนแก่”

2.การให้บริการดูแลสุขภาพในราคาย่อมเยา และเข้าถึงได้อย่างถ้วนหน้า เพราะรัฐเชื่อว่าถ้าการดูแลรักษาสุขภาพมีราคาถูก จะทำให้ประชาชนมาใช้บริการมากขึ้นอย่างสม่ำเสมอ ไม่ค่อยกังวลเรื่องทางการเงินและก็จะมีสุขภาพที่ดี

3.ให้ความสะดวกด้านอาคารและสถานที่สาธารณะและระบบขนส่งมวลชน เพื่อให้เกิดความสะดวกสบายในการให้ผู้สูงอายุเข้าไปมีส่วนร่วมกับสังคมโดยไม่มีอุปสรรคด้านการเดินทาง

ประเทศญี่ปุ่น

รัฐสวัสดิการมี ประเทศ อะไรบาง

ในโซนเอเชียประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ขึ้นชื่อเรื่องของสังคมผู้สูงอายุเพราะเป็นประเทศที่มีประชากรผู้สูงอายุมากที่สุดในโลกและยังเป็นประเทศที่มีผู้สูงอายุที่อายุยืนเป็นจำนวนมากอีกด้วย สถานการณ์ตอนนี้ของประเทศญี่ปุ่นมีผู้สูงอายุถึงร้อยละ 30 ของประชากรทั้งหมด ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไปและมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น คาดว่าในปี 2030 1 ใน 3 ของประชากรจะมีผู้สูงอายุที่อายุ 65 ปีหรือมากกว่า และ 1 ใน 5 ของประชากรจะมีกลุ่มคนที่อายุ 75 ปีขึ้นไป และแน่นอนว่าประเทศญี่ปุ่นเข้าสู่สังคมสูงวัยไปนานแล้วก่อนหน้าใครเพื่อน

การเปลี่ยนแปลงทางสังคมเช่นนี้นำมาซึ่งสวัสดิการและการบริการที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิต โดยเฉพาะการดูแลพยาบาลและการมีส่วนร่วมทางสังคมของผู้สูงอายุ รัฐบาลมองว่าผู้สูงอายุเป็นกลุ่มคนที่มีคุณค่าและยังสามารถมีศักยภาพในการขับเคลื่อนทางสังคม

เว็บไซต์ Zenbird ได้รายงานถึงสถานการณ์และการบริการของรัฐต่อผู้สูงอายุว่า มาตรการที่รัฐมอบให้แก่ผู้สูงอายุนั้นจะเน้นไปในด้านของผู้สูงอายุที่ยังคงทำงานได้อยู่และต้องการรายได้เพิ่ม เพื่อลดอัตราความยากจนในผู้สูงอายุและการสร้างเสริมกิจกรรมให้กับผู้สูงอายุได้มีส่วนร่วมทางสังคม โดยเฉพาะในชนบท

มีการให้บริการในการจัดหารงานให้กับกลุ่มผู้สูงอายุโดยเฉพาะสำหรับผู้สูงอายุที่ยังมีไฟในการทำงานและต้องการรายได้ โดยงานให้เลือกหลากหลายไม่ใช่แค่งานบริการลูกค้าและการนั่งทำงานในออฟฟิศ แต่จะได้ค่าตอบแทนไม่สูงมากเท่าพนักงานประจำ รายได้ราวๆ 60,000 ¥ต่อเดือน หรือประมาณ 17,371.24 บาทไทย เพื่อเป็นการลดภาระทางการเงินและสร้างความ Active ในการทำงานเพื่อสุขภาพที่แข็งแรง

ในปี 2000 มีการก่อตั้ง (LTCJ) หรือประกันดูแลสุขภาพระยะยาว The Long-term Care Insurance Program เพื่อคอยจัดการดูแลประชากรผู้สูงอายุโดยเฉพาะและร่วมมือกับกระทรวงแรงงานในการจัดหางานที่ยืดหยุ่นของผู้สูงอายุแต่ละบุคคล

นอกจากนี้ Yoro Shisetsu ได้มีแนวคิดรวมศูนย์ดูแลผู้สูงอายุกับเด็กเข้าด้วยกัน ยกตัวอย่างศูนย์ Aoi Care ในเมือง ฟูจิ ซาวา จังหวัดคานางาวะ นำกิจกรรมมาสร้างปฏิสัมพันธ์กันอย่างอิสระระหว่างผู้สูงอายุกับเด็ก ผู้สูงอายุสามารถเข้าไปเป็น Staff ช่วยเหลือดูแลเด็กๆ เช่นการเสิร์ฟอาหารและการเปลี่ยนผ้าอ้อม (แพมเพิร์ส)และด้านของเด็กๆเองก็สามารถเข้าไปเยี่ยมผู้สูงอายุได้เช่นกัน พวกเขาสามารถใช้ช่วงเวลาดีๆร่วมกัน เพื่อไม่ให้เกิดสภาวะทางจิตใจที่ว่า “ผู้สูงอายุเป็นภาระของใครคนใดคนหนึ่ง”

ในญี่ปุ่นจะเรียกระบบบำนาญว่า Nenkin เนงคิน ดูแลจัดการโดย Japanese pension service และควบคุมโดย Ministry of Health, Labour and Welfare รูปแบบของระบบบำนาญญราปุ่นจะแบ่งออกเป็น 2 แบบคือเงินบำนาญแห่งชาตและเงินบำนาญลูกจ้าง เงินบำนาญแห่งชาติบุคคลที่อายุตั้งแต่ 20-60 ปี ใครๆ ก็เข้าร่วมได้ไม่จำเป็นต้องถือสัญชาติญี่ปุ่น ชำระสะสมเงินในกองทุนนี้เดือนละ 16,340 เยน หรือ 4,675.46บาท หรือจะเลือกจ่ายเป็นก้อนทีเดียวก็ได้ ระบบเงินบำนาญลูกจ้าง สำหรับบุคคลที่ทำงานเป็นพนักงานบริษัทหรือทำงานภายใต้องค์กร จะถูกหักเงินเดือนเข้าระบบบำนาญนี้อัตโนมัติโดยผู้ว่าจ้าง

เงินบำนาญกับสวัสดิการที่จะได้รับจากการสะสมตลอดการทำงาน 1 จะได้เงินบำนาญชราภาพ (Rourei Nenkin) เงื่อนไขการรับหลังเกษียณเริ่มรับได้ตั้งแต่อายุ 60-65ปี แต่ต้องชำระเงินในระบบบำนาญข้างต้นเกิน 10 ปี

– เงินบำนาญจากระบบบำนาญแห่งชาติจะได้รับ 55,464 เยนหรือ 15,866.96 บาท ต่อเดือน

– เงินบำนาญจากระบบบำนาญลูกจ้างจะได้รับ 147,927 เยน หรือ 42,321.37 บาทต่อเดือน

ขึ้นอยู่กับว่าลงทุนไปกับระบบไหน ถ้าลงทั้งสองระบบก็จะได้รับเงินบำนาญจากทั้งสองระบบ จากเหตุนี้เองผู้คนในญี่ปุ่นถึงเคร่งเครียดเรื่องชั่วโมงการทำงานและโบนัสเพราะจะได้มีเงินไปจ่ายเข้าระบบสวสัดิการเยอะๆเพื่อเอาไว้ดูแลตนเองยามเกษียณนั่นเอง นอกจากนี้ระบบบำนาญทั้งสองระบบจะมีเงินบำนาญอื่นๆให้อีกในการดูแลช่วยเหลือ คือเงินบำนาญผู้พิการและเงินบำนาญมรดก

ประเทศไทย

รัฐสวัสดิการมี ประเทศ อะไรบาง

สำหรับประเทศไทยเอง เราก็มีสวัสดิการผู้สูงอายุให้ได้ใช้บริการ ที่เห็นหลักๆ คือ เบี้ยผู้สูงอายุ แต่ยังคงอยู่ในสถานการณ์เช่นเดียวกับเกาหลีตรงที่ยังมีอัตราคนยากจนเพิ่มขึ้นเพราะรัฐสวสัดิการไม่ครอบคลุม โดยเฉพาะผู้สูงอายุในกรุงเทพฯ เพราะเงินเบี้ยผู้สูงอายุไม่เพียงพอต่อการใช้ชีวิตในแต่ละเดือนและการเข้าถึงเทคโนโลยีที่เป็นเรื่องยากเกินไปสำหรับคนวัยนี้

รายงานล่าสุดจากกรมกิจการผู้สูงอายุเผยตัวเลข ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ.2563 ผู้สูงอายุในประเทศไทยทั้งชายและหญิงรวมเป็น 11,627,130 คนหรือคิดเป็นร้อยละ 17.57 ของจำนวนประชากรทั้งประเทศ เท่ากับว่าไทยกำลังเข้าสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ในเร็ววันนี้และคาดการณ์ว่าจำนวนประชากรผู้สูงอายุในไทยจะเพิ่มขึ้นจนสามารถเข้าสู่สังคมสูงวัยโดยสมบูรณ์ภายในปี 2564 หรือ 2565นี้  ไทยเป็นประเทศที่มีประชากรผู้สูงอายุมากที่สุดเป็นอันดับ 3 ในภูมิภาคเอเชีย รองจากญี่ปุ่นและเกาหลีใต้

ในด้านของสวัสดิการรัฐได้มีการจัดโครงการตามข้อตกลงการร่วมมือของ United Nation ESCAP (Economic Social Commission for Asia and the Pacific) หลักสำคัญที่ต้องเหมือนกันเกือบทุกประเทศสมาชิกคือ การมีการจัดสรรการจ้างงานผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปและการสนับสนุนด้านสุขภาพและสวัสดิการสาธารณูปโภค ไทยมีสวัสดิการ 16 ด้านด้วยกันและอาจจะดูเหมือนว่าเยอะมากแต่ประสิทธิภาพในการครอบคลุมและสิทธิในการเข้าถึงนั้นจะถ้วนหน้าหรือเปล่าเป็นคำถามที่ยังต้องหาคำตอบต่อไป

โดยสวัสดิการจากกรมกิจการผู้สูงอายุที่กำหนดไว้ 16 ด้านด้วยกันในการคุ้มครองและส่งเสริมคุณภาพความเป็นอยู่ ขอยกตัวอย่างคร่าวๆ เช่น

– ด้านการแพทย์และสาธารณสุข จัดช่องทางพิเศษเฉพาะในการเข้ารับบริการอย่างสะดวกและรวดเร็ว

– การศึกษา ศาสนา และข้อมูลข่าวสาร จัดศูนย์การเรียนรู้ในชุมชนมีหลักสูตรการเรียนการสอนในผู้สูงอายุที่มีตั้งแต่การศึกษาขั้นพื้นฐาน ทั้งในระบบและนอกระบบ การจัดรายการโทรทัศน์เพื่อผู้สูงอายุ

– ด้านตลาดแรงงาน มีการจัดหางานให้ มีศูนย์ให้คำปรึกษาและข้อมูลข่าวสารด้านอาชีพที่สำนักงานจัดหางานทุกแห่ง

– เงินเบี้ยยังชีพให้กับผู้สูงอายุที่ผ่านเกณฑ์ โดยต้องเป็นผู้ที่มีสัญชาติไทย ไม่เป็นผู้ได้รับสวัสดิการหรือสิทธิประโยชน์อื่นใดจากหน่วยงานของรัฐ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รายได้เบี้ยยังชีพจะแบ่งไปตามช่วงอายุ

อายุ 60-69 ปี เดือนละ 600 บาท

อายุ 70-79 ปี เดือนละ 700 บาท

อายุ 80-89 ปีเดือนละ 800 บาท

อายุ 90 ปีขึ้นไป เดือนละ 1000 บาท

– ระบบเงินบำเหน็จบำนาญของราชการตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป

– กองทุนประกันสังคม

– ด้านการให้ความช่วยเหลือของเจ้าหน้าตามอาคาร สถานที่ ยานพาหนะหรือบริการสาธารณะอื่นๆ

การดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุในไทยสามารถนิยามได้ว่า “แก่แล้วยังจน” เพราะในด้านการให้บริการอาจดูเหมือนยังไม่ครอบคลุมมากพอหรือทั่วถึงไหร่นัก เพราะคนจนในประเทศยังอยู่มาก และผู้สูงอายุหลายคนยังต้องทำงานหาเลี้ยงชีพของตนเอง หวังพึ่งรัฐอย่างเดียวคงไม่ได้ ต้องคอยจับตามองต่อไปว่าเมื่อไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์แล้ว รัฐจะมีมาตรการช่วยเหลือเพิ่มเติมอย่างไรในสภาวะที่คนจนก็มีอัตราเพิ่มมากขึ้น คนว่างงานมากขึ้นโดยเฉพาะเด็กจบใหม่ วิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 เศรษฐกิจถดถอย คนไร้บ้าน และอัตราการเกิดน้อยลงเสี่ยงต่อการขาดแคลนแรงงานในอนาคตอันใกล้นี้อย่างไร

อ้างอิงข้อมูลจาก

www.investopedia.com

www.dop.go.th

www.pensionfundsonline.co.uk

www.gov.sg

www.cpf.gov.sg

allabout-japan.com

www.lostinsakura.com

www.lostinsakura.com

sweden.se

www.statista.com

www.expatica.com

thaiwise.se

www2.fpo.go.th

knoema.com

expatica.com

www.iamexpat.nl

www.health.gov.au

www.abs.gov.au

www.oatext.com

content by Sutheemon KumkoomIllustration by Waragorn Keeranan

You might also like

Share this article