ไทยเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่1 เพราะ

22 กรกฎาคม, ได้ยินคำนี้ คนส่วนใหญ่น่าจะนึกถึงชื่อวงเวียน มากกว่าจดจำว่ามันเป็นวันสำคัญทางประวัติศาสตร์

Show

22 กรกฎาคม 2460 เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงประกาศเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 กับฝ่ายสัมพันธมิตร ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมากมายในประเทศไทย

22 กรกฎาคม 2560 เป็นวันครบ 100 ปี ที่สยามเข้าร่วมสงครามโลก ในวาระนี้มีนักวิชาการหลายกลุ่ม หยิบยกประวัติศาสตร์ครั้งนั้นมานำเสนอในหลายประเด็น

ย้อนกลับไปเมื่อ 3 ปีก่อน เป็นปีครบรอบ 100 ปี การเริ่มต้นสงครามโลกครั้งที่ 1 มีการจัดงานที่พูดถึงเหตุการณ์นี้ทั่วโลก รวมทั้งในประเทศไทย ครั้งนั้นมีการค้นคว้าข้อมูลต่างๆ ที่เราบันทึกไว้ มาเล่าถึงเหตุการณ์นี้ไปแล้ว เวลาผ่านไป 3 ปี เมื่อต้องจัดงานนี้อีกครั้ง นักวิชาการแต่ละกลุ่มก็เลยพยายามค้นคว้าหาประเด็นใหม่ๆ มาเล่า

เราสนใจมุมมองของ มูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์ ร.6 ที่พยายามนำเสนอข้อมูลชุดใหม่ที่ยังไม่มีใครเคยพูด นั่นก็คือ เล่าเรื่องการเข้าร่วมสงครามโลกของสยาม (ชื่อประเทศไทยในขณะนั้น) ในสายตาชาวโลกว่าประเทศต่างๆ มองเราอย่างไร ให้ความสำคัญกับเราแค่ไหน โดยศึกษาผ่านสิ่งที่หนังสือพิมพ์และนิตยสารของแต่ละประเทศบันทึกไว้ รวมถึงดูจากตำแหน่งที่นั่งของทูตไทยในการประชุม และตำแหน่งของกองทัพไทยในขบวนฉลองชัยชนะสงครามโลกครั้งที่ 1

เนื้อหาทั้งหมดนี้กลายมาเป็นนิทรรศการชื่อ ‘100 ปี สยามกับสงครามโลกครั้งที่ 1’ จัดระหว่างวันที่ 22 กรกฎาคม – 30 สิงหาคม 2560 ที่หอวชิราวุธานุสรณ์ ในหอสมุดแห่งชาติ

วันก่อนเปิดงาน ทีมงานหลายฝ่ายกำลังวุ่นวายกับหน้าที่ของตัวเอง บางส่วนกำลังจัดหนังสือพิมพ์อายุ 1 ศตวรรษลงในตู้โชว์ บางส่วนกำลังสวมถุงมือเพื่อหยิบเหรียญตราที่อายุพอๆ กับหนังสือพิมพ์ออกจากกล่องมาตรวจสอบข้อมูล บางส่วนกำลังง่วนกับการทดสอบระบบฉายหนังซึ่งเป็นเรื่องของทหารในฝรั่งเศส

โจ-จิตติ เกษมกิจวัฒนา คิวเรเตอร์รุ่นใหญ่ ผู้รับหน้าที่ดูแลภาพรวมของนิทรรศการนี้ โบกมือทักทายเมื่อเห็นผมเดินมาถึง เขาถอดถุงมือออก วางมือจากงานอันรีบเร่งชั่วคราว แล้วพาเดินชมนิทรรศการแบบสุดพิเศษ เขายินดีเล่าวิธีคิดและวิธีทำงานในทุกขั้นตอน

แต่นั่นยังไม่พิเศษเท่าหลายเรื่องที่เขาเล่า ไม่ได้อธิบายอยู่ในนิทรรศการ

ไทยเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่1 เพราะ
ไทยเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่1 เพราะ

มาทำความเข้าใจสถานการณ์ในบ้านเมืองเรากันก่อน

คนไทยจำนวนไม่น้อยมองว่าเราไม่จำเป็นต้องเข้าร่วมสงครามโลก เพราะเราอยู่ไกลจากที่เกิดเหตุ ไม่ควรสิ้นเปลืองงบประมาณส่งคนไปร่วมรบ การประกาศตัวเป็นกลางเหมือนในตอนแรกน่าจะเป็นสิ่งที่ดีอยู่แล้ว บริบทของประเทศเราในขณะนั้นคือ เราอยู่ตรงกลางระหว่างประเทศที่เป็นอาณานิคมของอังกฤษและฝรั่งเศสซึ่งเป็นฝ่ายสัมพันธมิตร และเรามีสัมพันธ์อันดีกับชาวเยอรมันซึ่งเป็นกลุ่มมหาอำนาจกลาง เราก็มีข้าราชการชาวเยอรมันทั้งในฝั่งทหารและรัฐบาล

เมื่อเราประกาศตัวเป็นกลางในขณะที่ประเทศรอบข้างเป็นฝ่ายสัมพันธมิตร ทำให้ชาวเยอรมันเดินทางเข้ามาอยู่ในไทยมากขึ้น จนฝ่ายสัมพันธมิตรมองว่า สยามเป็นแหล่งพักพิงและกระจายข่าวของชาวเยอรมันในภูมิภาคนี้ ในขณะที่ฝั่งเยอรมันเองก็ไม่ได้เชื่อในความเป็นกลางของเราเท่าไหร่นัก

สยามวางตัวเป็นกลางมาได้ 3 ปี ก็เกิดเหตุการณ์กองทัพเยอรมันยิงเรือโดยสารของพลเรือน ซึ่งผิดข้อตกลงระหว่างประเทศ รวมไปถึงมีการฆ่าผู้บริสุทธิ์มากมาย ประเทศที่เป็นกลางทั้งหลายจึงเริ่มเคลื่อนไหว ประเทศกลุ่มหนึ่งจึงตัดสินใจเข้าร่วมสงครามโลกเป็นกลุ่มที่ 3 หรือ Third Wave นำโดยอเมริกา

รัชกาลที่ 6 สื่อสารกับทูตสยามในประเทศต่างๆ ตลอดว่าเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นบ้าง ท่านจึงส่งจดหมายไปประท้วงเยอรมนี และติดต่อกับสถานทูตอเมริกา อังกฤษ และฝรั่งเศส ถึงเงื่อนไขต่างๆ ในการเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตร ในที่สุดรัชกาลที่ 6 ก็ทรงประกาศเข้าร่วมสงครามในวันที่ 22 กรกฎาคม 2460

ไทยเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่1 เพราะ
ไทยเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่1 เพราะ

ไทยเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่1 เพราะ
ไทยเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่1 เพราะ

เครื่องทรงมหาพิชัยยุทธ

นิทรรศการนี้มีเครื่องทรงมหาพิชัยยุทธจำลอง ซึ่งเป็นเครื่องทรงของกษัตริย์ในยามออกสงครามให้ชมด้วย

เครื่องทรงมหาพิชัยยุทธประกอบด้วยพระภูษาไหม โจงกระเบนสีแดงเลือดนก ด้านในเป็นฉลองพระองค์ชั้นในแบบนักรบไทยโบราณไม่มีแขน สีแดง มีอักขระเลขยันต์ทั่วทั้งองค์ เป็นฉลองพระองค์ที่รัชกาลที่ 1 เคยทรงออกศึกสงครามมาแล้ว ชั้นนอกทรงสวมฉลองพระองค์แพร (Spun Silk) สีแดง ลงอักขระเลขยันต์ทั้งองค์ ทรงคาดพระภูษาสมรดพื้นแดงตาดไหมทองแล่ง ถุงพระบาทและฉลองพระบาทสีแดง พระหัตถ์ซ้ายถือพระแสงดาบคาบค่ายซึ่งเป็นพระแสงดาบองค์จริงที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงใช้ปราบศึกพม่า พระหัตถ์ขวาถือยอดชัยพฤกษ์ ทรงทัดใบมะตูมที่พระกรรณซ้าย

ถ้าสงสัยว่าทำไมต้องเป็นชุดนี้ เหตุผลก็คือ วันที่ 22 กรฎาคม 2460 เป็นวันอาทิตย์ จึงสวมเครื่องทรงที่ถูกต้องตามตำรามหาพิชัยยุทธนาการโบราณราชประเพณี และตามหลักสวัสดิรักษา ซึ่งสีแดงเป็นสีมงคลประจำวันอาทิตย์

ฉลองพระองค์ที่จัดแสดงในนิทรรศการนี้ทำขึ้นมาใหม่โดย คุณเถ่า-มีชัย แต้สุจริยา แห่งบ้านคำปุน ใช้วิธีทอผ้าทั้งหมดด้วยขั้นตอนแบบโบราณ และย้อมสีด้วยครั่งแบบโบราณ เนื่องจากภาพเก่าที่มีเป็นภาพขาวดำ จึงใช้วิธีหาค่าสีแดงที่ถูกต้องจากการอ่านบันทึก ลองทำผ้าสีแดงเฉดต่างๆ แล้วเอาถ่ายภาพให้เป็นขาวดำเพื่อเทียบกับภาพถ่ายต้นฉบับ ส่วนผ้าคาดเอว เรียกว่า ผ้าหนามขนุน เป็นการทอแบบญี่ปุ่นซึ่งเป็นวิธีการแบบดั้งเดิมเช่นเดียวกัน

 

การสื่อสารกับประชาชนผ่านงานเขียน

คนไทยในยามนั้นมองว่าชาวเยอรมันคือเพื่อนที่ดี ส่วนชาวอังกฤษและฝรั่งเศสเหมือนเป็นศัตรู เพราะมีเรื่องพิพาทเกี่ยวกับพื้นที่ชายแดนกันอยู่ การเข้าร่วมสงครามกับอังกฤษและฝรั่งเศสเพื่อรบกับชาวเยอรมันจำเป็นต้องสื่อสารเหตุผลสู่ประชาชน รัชกาลที่ 6 จึงทรงแปลข่าวจากหนังสือพิมพ์ต่างชาติทั้งในไทยและต่างประเทศเพื่อเผยแพร่เป็นภาษาไทยอย่างต่อเนื่อง ช่วงนั้นท่านมีพระราชนิพนธ์ที่เป็นแนวหนังสือพิมพ์ค่อนข้างมาก ทางมูลนิธิฯ จึงจัดพิมพ์พระราชนิพนธ์ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ขึ้นมาเป็นชุดพิเศษ (6 เล่ม) สำหรับงานนี้ด้วย

ไทยเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่1 เพราะ
ไทยเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่1 เพราะ

ไทยเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่1 เพราะ
ไทยเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่1 เพราะ

ทหารอาสา

สยามส่งทหารไปร่วมรบในสงครามโลกครั้งที่ 1 ด้วยพันกว่านาย คนที่สมัครไปร่วมรบมีทั้งทหารและพลเรือน ทหารอาสาที่เราส่งไปมีทั้ง ทหารบกรถยนต์ช่วยขนส่งกำลังพลและเสบียง และทหารอากาศ ทหารของเรานั่งเรือไปขึ้นฝั่งที่เมืองมาร์เซย์ ประเทศฝรั่งเศส พอไปถึงทหารอาสาทั้งหมดต้องเข้ารับการฝึก ทหารรถยนต์ใช้เวลาฝึกสั้นกว่า จึงได้ปฏิบัติหน้าที่ก่อน

นิทรรศการนี้มีการฉายภาพยนตร์ที่มีเรื่องทหารอาสาของสยาม ขอลิขสิทธิ์มาจากกระทรวงกลาโหม ประเทศฝรั่งเศส ถึงแม้ว่าในหนังไม่มีข้อมูลว่าฉากต่างๆ คืออะไร แต่เราก็เอามาเทียบกับข้อมูลที่มี ทำให้รู้ว่าสถานที่ต่างๆ ในภาพคืออะไร เป็นการหาบริบทให้ภาพเหล่านั้น

มีบันทึกของฝรั่งเศสบอกว่า ทหารบกรถยนต์ของเราทำงานดีมาก จนกองทัพฝรั่งเศสมอบเหรียญตราครัวซ์ เดอ แกร์ (Croix de Guerre) ให้ และมีการพูดถึงทหารอาสาว่า มีระเบียบ ปฏิบัติหน้าที่ได้ดีเยี่ยม ส่วนทหารอากาศ พอฝึกเสร็จ กำลังเดินทางไปรบ สงครามก็สิ้นสุดพอดี

ไทยเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่1 เพราะ
ไทยเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่1 เพราะ

ทางฝั่งไทยมีการมอบเหรียญพระราชทาน ‘เหรียญชัย’ ให้ทหารอาสา ในที่ประชุมสัมพันธมิตรเห็นพ้องต้องกันว่าให้สร้างเหรียญที่ระลึกขึ้น โดยใช้สีแพรแถบห้อยเหรียญเหมือนกันทุกประเทศ ส่วนตัวเหรียญนั้นแล้วจะเลือกทำ เหรียญชัยของไทยออกแบบโดย มจ.อิทธิเทพสรรค์ กฤดากร ด้านหน้าเป็นรูปนารายณ์บันฦาชัย ด้านหลังมีอักษรว่า ‘มหาสงครามเพื่ออารยธรรม’ แล้วก็ยังมีเหรียญตราอีกหลายประเภทมอบให้ด้วย รวมไปถึงการสร้าง ‘อนุสาวรีย์ทหารอาสา’ หน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ

ไทยเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่1 เพราะ
ไทยเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่1 เพราะ

ไทยเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่1 เพราะ
ไทยเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่1 เพราะ

ก่อนออกเดินทาง

ก่อนทหารอาสาออกเดินทางไปร่วมสงคราม รัชกาลที่ 6 พระราชทานเลี้ยงที่พระบรมมหาราชวัง หลังจากมื้ออาหารมีการฉายภาพยนตร์เรื่อง Britain Prepared เป็นหนังที่กองทัพอังกฤษทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ศักยภาพทางทหารของอังกฤษ ท้ายภาพยนตร์ชุดนั้นมีโคลงภาษาอังกฤษของ Rudyard Kipling อยู่ 2 บรรทัดว่า

Who dies if England lives?

Who lives if England dies?

เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ เสนาธิการทหารบก โปรดมาก จึงขอให้รัชกาลที่ 6 พระราชทานคำเตือนใจแด่ทหารและพลเรือนเช่นนั้นบ้าง ในวันรุ่งขึ้นพระองค์ก็พระราชทานโคลง 4 บท ที่มีชื่อว่า ‘สยามานุสสติ’

โดยท่อนที่เราคุ้นกันดีที่สุดก็คือ ท่อนที่แปลจากโคลงท้ายภาพยนตร์นั่นเอง

หากสยามยังอยู่ยั้ง ยืนยง

เราก็เหมือนอยู่คง ชีพด้วย

หากสยามพินาศลง ไทยอยู่ ได้ฤๅ

เราก็เหมือนมอดม้วย หมดสิ้นสกุลไทยฯ

ไทยเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่1 เพราะ
ไทยเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่1 เพราะ

ต่างชาติมองทหารไทยยังไง

จากการค้นข่าวในหนังสือพิมพ์ของอังกฤษ อเมริกา และฝรั่งเศส สื่อมวลชนเขียนถึงทหารไทยในแง่ดี และให้เกียรติ มีการเขียนสกู๊ปเรื่องว่า ถึงแม้ทหารอาสาของไทยบางส่วนจะไม่ใช่ทหารอาชีพ แต่ก็ไม่ได้แปลว่าไม่เก่ง เพราะผ่านการฝึกเสือป่ามาแล้ว

ไทยเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่1 เพราะ
ไทยเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่1 เพราะ

ไทยเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่1 เพราะ
ไทยเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่1 เพราะ

พระราชทานเลี้ยงหลังกลับจากสงคราม

เมื่อทหารอาสากลับมา รัชกาลที่ 6 พระราชทานเลี้ยงที่พระบรมมหาราชวัง เนื่องจากมีการกลับมาหลายรอบ จึงมีหลายมื้อ เสือป่าก็ได้มอบกลักบุหรี่พร้อมลงชื่อให้ทหารอาสาแต่ละคนเป็นที่ระลึก ความพิเศษอย่างของงานเลี้ยงนี้คือ มีบันทึกว่า ก่อนเข้าสู่พระราชวัง ทหารทุกคนถือโคมรูปดอกบัวสีเขียว ขาว แดง และน้ำเงิน สลับสีกันเป็นสีธงชาติ เดินขบวนมาตั้งแถวที่ถนนสนามไชย (หน้ากระทรวงกลาโหม) เมื่อตั้งแถวพร้อม ทหารในกองทหารบกรถยนต์ซึ่งกลับมาจากราชการสงครามได้ร้องเพลงตำนานย่อของกองทหารนั้น และเพลงถวายพระพรชัยมงคล ร้องทั้งหมด 5 เพลง นี่คือตัวอย่างเพลง ฝรั่งรำเท้า เป็นเพลงที่ 3

 

นำธงชาติ, ออกประกาศ, สมความคิด

ในท่ามกลาง, สัมพันธมิตร์, อยู่ครบถ้วน

ทหารไทย, ได้ไป, เข้าขบวน

นการสวน, สนาม, สามนคร

คือที่กรุง, ปารีส, แรกเริ่มต้น

ทวยราษฎร์, หลากล้น, สลับสลอน

ถัดมา, ข้ามทเล, ไปลอนดอน

พระนคร, หลวงอังกฤษ, มิตร์สำคัญ

ต่อจากนี้, ไปบรัสเซล, กรุงเบ็ลเยี่ยม

แล้วก็เตรียม, ตัวกลับ, ยังเขตร์ขัณฑ์

นับว่าหมด, ราชกิจ, ที่สำคัญ

ต่างปรีเปรม, เกษมสันต์, ด้วยพอใจ

พระเดชา, นุภาพ, ปกเกล้าฯ

คุ้มครอง, ข้าเจ้า, ไม่ตักษัย

นำเกียรติ, กลับมา, สู่ชาติไทย

น้อมเกล้าฯ, ถวายไชย, ในวันนี้.

 

 

ไทยเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่1 เพราะ
ไทยเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่1 เพราะ

ไทยเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่1 เพราะ
ไทยเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่1 เพราะ

ที่นั่งของทูตไทยในเวทีโลก

หนึ่งในพระราชปณิธานของรัชกาลที่ 6 ตั้งแต่พิธีบรมราชาภิเษกคือ พระองค์ทรงอยากมีชีวิตอยู่นานพอที่จะเห็นประเทศไทยมีสิทธิและเท่าเทียมกับนานาประเทศ หลังการเข้าร่วมสงครามโลกกับฝ่ายสัมพันธมิตร ทำให้ประเทศเรามีสิทธิและเสียงเท่ากับประเทศใหญ่ หลังจากสิ้นสุดสงครามมีการประชุม Peace Conference ที่แวร์ซาย ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งเป็นจุดเร่ิมต้นของการก่อตั้ง League of Nation องค์กรกลางให้นานาประเทศมาแก้ปัญหาด้วยการเจรจาแทนการทำสงคราม สยามของเรามีสถานะเป็นหนึ่งในประเทศสมาชิกก่อตั้ง

จากหนังสือเก่าที่ทีมงานหามาได้จากร้านขายหนังสือเก่าในฝรั่งเศส ระบุตำแหน่งที่นั่งของทูตไทยว่าอยู่ในตำแหน่งใกล้กับฝรั่งเศส และอยู่ใกล้ประธานในที่ประชุม ถือว่าเป็นตำแหน่งที่ดี ในการประชุมครั้งที่สอง ตำแหน่งของสยามก็ยังดีเช่นเดิม

ไทยเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่1 เพราะ
ไทยเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่1 เพราะ

ไทยเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่1 เพราะ
ไทยเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่1 เพราะ

ตำแหน่งของกองทัพในขบวนฉลองชัยชนะ

หลังจากฝ่ายสัมพันธมิตรชนะสงคราม ฝรั่งเศสได้เชิญประเทศสัมพันธมิตรมาเดินขบวนฉลองชัยชนะในวันชาติฝรั่งเศสร่วมกัน วันที่ 14 กรกฎาคม 2462 จากภาพเคลื่อนไหวที่เคยเห็น มีเพียงภาพทหารสยามเดินผ่านไป ไม่มีใครรู้ว่าทหารของเราอยู่ตรงไหนในขบวน แต่จากหนังสือเก่าที่ได้มาจากฝรั่งเศส ทำให้เห็นว่าตำแหน่งของเราอยู่ในประเทศกลุ่มแรกๆ ของขบวน

 

ได้แก้ไขสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรม

พอจบสงครามโลกครั้งที่ 1 จบลง อเมริกาได้เร่ิมแก้ไขสนธิสัญญาต่างๆ ที่ไม่เป็นธรรมกับเรา ส่วนอังกฤษใช้เวลาค่อนข้างนาน เพราะมีความซับซ้อน ทางฝั่งฝรั่งเศสใช้เวลานานที่สุด เพราะช่วงนั้นเรายังมีคดีความเรื่องดินแดนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำโขง

ไทยเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่1 เพราะ
ไทยเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่1 เพราะ

กำเนิดธงไตรรงค์

ก่อนหน้านี้ธงชาติไทยเป็นธงรูปช้างเผือกบนพื้นแดง ธงในการค้าขายเป็นแถบขาวสลับแดง แต่รัชกาลที่ 6 ทรงเพิ่มแถบสีน้ำเงินขาบลงไป เพื่อแสดงความเป็นหนึ่งเดียวกับฝ่ายสัมพันธมิตร เพราะธงชาติของอังกฤษ ฝรั่งเศส และสหรัฐอเมริกา ล้วนมีสีแดง ขาว และน้ำเงิน โดยใช้ครั้งแรกเป็นธงไชยเฉลิมพลประจำกองทหารหน่วยที่ไปร่วมรบในสงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งด้านหนึ่งมีรูปช้างเผือกอยู่ตรงกลาง และอีกด้านเป็นตราพระปรมาภิไธยรัชกาลที่ 6 จากนั้นก็ได้ปรับมาเป็นธงแบบปัจจุบัน ซึ่งรัชกาลที่ 6 พระราชทานนามว่า ธงไตรรงค์ มีข้อมูลจากบันทึกระบุว่า รัชกาลที่ 6 ตรัสว่า ธงไตรรงค์คือสัญลักษณ์ของการเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 ของไทย

ไทยเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่1 เพราะ
ไทยเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่1 เพราะ

เครื่องแบบทหาร

ก่อนหน้านี้เครื่องแบบของทหารไทยไม่ได้มีสีเขียวอย่างในปัจจุบัน เราเร่ิมใช้สีนี้เมื่อตอนส่งทหารอาสาเข้าร่วมรบ ซึ่งเป็นสีเดียวกับเครื่องแบบหน้าร้อนของทหารยุโรป

ไทยเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่1 เพราะ
ไทยเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่1 เพราะ

วงเวียน 22 กรกฎาคม

เพื่อระลึกถึงการเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 รัชกาลที่ 6 จึงโปรดให้ตัดถนน 3 สาย และสร้างวงเวียนแห่งแรกของประเทศ เร่ิมต้นสร้างเมื่อวันที่ 27 มกราคม 2461 พระราชทานนามว่า ’22 กรกฎาคม’ และพระราชทานชื่อถนนทั้ง 3 สายว่า ไมตรีจิตต์ มิตรพันธ์ สันติภาพ แสดงว่าไมตรีจิตที่มีต่อฝ่ายสัมพันธมิตรทำให้เกิดสันติภาพ แต่พอเวลาผ่านไป เรื่องราวเหล่านี้อาจไม่ถูกพูดถึง จนคนส่วนใหญ่ไม่รู้ที่ไปที่มาของวงเวียน 22 กรกฎาคม นิทรรศการชิ้นนี้พยายามทำเชื่อมโยงให้เห็นว่าเรื่องราวของสงครามโลกครั้งที่ 1 กับคนไทยนั้นใกล้ตัวกว่าที่คิด

นิทรรศการ 100 ปี สยามกับสงครามโลกครั้งที่ 1 จัดแสดงระหว่างวันที่ 22 กรกฎาคม – 30 กันยายน 2560 เวลา 09.00 – 16.30 น. (จันทร์-เสาร์) ที่หอวชิราวุธานุสรณ์ ในเขตหอสมุดแห่งชาติ

แต่ถ้าใครอยากร่วมเดินชมแบบพิเศษกับ The Cloud โดยมีคิวเรเตอร์ โจ-จิตติ เกษมกิจวัฒนา เป็นผู้นำชมและเล่าเรื่องเบื้องหลังให้ฟังอย่างละเอียด ในวันเสาร์ที่ 5 สิงหาคม 2560 เวลา 13.30 – 16.00 น. โดยไม่ค่าใช้จ่ายใดๆ งานนี้รับจำนวนจำกัดเพียง 30 คนเท่านั้น ปัจจุบันมีคนสมัครเต็มจำนวนแล้วเรียบร้อย

นิทรรศการ 100 ปี สยามกับสงครามโลกครั้งที่ 1

22 กรกฎาคม – 30 กันยายน 2560  เวลา 09.00 – 16.30 น. (จันทร์-เสาร์)
หอวชิราวุธานุสรณ์ หอสมุดแห่งชาติ

พิพิธภัณฑ์ สงครามโลก

Home /Art & Culture/Scoop

10 มกราคม 2566

Share on

  • Facebook iconFacebook
  • Twitter iconTwitter
  • LINE iconLine

503

ลูกหลานไม่รับสืบทอด 

ช่องว่างระหว่างวัยทำให้ความคิดเห็นไม่ตรงกัน 

การจัดการเรื่องระบบและความรู้สึกภายในครอบครัวเริ่มมีความซับซ้อน 

การปรับตัวไปพร้อมเทคโนโลยีในยุคที่การแข่งขันสูงคือความท้าทาย

ทั้งหมดเป็นเพียงส่วนหนึ่งของปัญหาล้านแปดที่ธุรกิจครอบครัวต้องเผชิญในศตวรรษที่ 21 

แต่ในมุมมองของ ประพันธ์ เจริญประวัติ ผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ mai และตลาดหลักทรัพย์ LiVEx ปัญหาคือจุดเริ่มต้นให้คนมองหาลู่ทางไปต่อ รวมถึงสร้างโอกาสในการผลักดันให้บริษัทของตนเติบโตอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะการใช้ประโยชน์จากตลาดทุน

งานวิจัยทั่วโลกเป็นไปในทิศทางเดียวกันว่า ธุรกิจครอบครัวทั้งในไทยและต่างประเทศอยู่ได้เพียง 3 รุ่นก็จะหายไป การหลงเหลือถึงรุ่นที่ 4 มีโอกาสเพียง 4 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น 

ดังนั้น ความท้าทายในตอนนี้คือทำอย่างไรให้ธุรกิจครอบครัวซึ่งเป็นธุรกิจส่วนใหญ่ในประเทศได้รับการสืบทอดและอยู่อย่างมีคุณภาพต่อไปได้

ไทยเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่1 เพราะ
ไทยเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่1 เพราะ

ความท้าทาย ‘ภายใน’

ทำอย่างไรไม่ให้จบที่ความขัดแย้ง

หากจะเล่าให้เห็นภาพ สมัยก่อนปู่ย่าเริ่มกิจการ มีลูก 4 คน ลูกเขยและลูกสะใภ้อีก 4 คน มีหลานอีกบ้านละ 3 คน รวมทั้งหมด 22 คนใน 3 รุ่น จะเห็นได้ว่าความซับซ้อนภายในเพิ่มขึ้นทั้งช่วงวัยและความคิดที่ต่างกัน 

ปู่และย่าเริ่มต้นจากความยากจน หากมาจากจีนก็อาจมาพร้อมเสื่อผืนหมอนใบ สิ่งที่คิดถึงจึงเป็นความประหยัดและการทำงานหาเงินอย่างหนัก

ต่อมารุ่นพ่อแม่เริ่มมีเงิน มีเครือข่ายคนรู้จักทำให้กิจการเติบโต แต่ยังได้นิสัยประหยัดมา

มาถึงรุ่นลูกจะเห็นความแตกต่างคือ พ่อแม่รวยระดับหนึ่ง ชีวิตลูกสบาย บางคนได้ไปเรียนต่างประเทศ

ไม่มีวิธีคิดที่ถูกหรือผิด หากแต่เป็นความแตกต่างของมุมมองและตัวเลือกที่แต่ละรุ่นได้รับ

ความซับซ้อนของธุรกิจครอบครัวจึงเพิ่มขึ้นจากจำนวนคนที่เข้ามาเกี่ยวข้อง ความยากในกรณีที่ต้องการให้คนในเข้ามาบริหารจึงเป็นการคัดเลือกผู้สืบทอด เนื่องจากครอบครัวมักมีความรู้สึกส่วนตัวผสมอยู่ทั้งความชอบและไม่ชอบ

ในทางตรงกันข้าม การปฏิเสธการรับสืบทอดของหลานก็มีความเป็นไปได้ พวกเขาอาจไม่ชอบธุรกิจนี้จากที่เห็นปู่ย่าต้องลำบาก พ่อแม่ไม่มีเวลาให้ หรือพวกเขาอาจมีความฝันของตนเอง แต่การคัดเลือกคนนอกเข้ามาก็ไม่ง่ายเช่นกัน เมื่อปราการที่แข็งแกร่งที่สุดคือความผูกพัน คนนอกหรือจะเถียงคนในชนะ

“ประเด็นตรงนี้เป็นเรื่องของระบบการกำกับ (Governance) ทำอย่างไรที่จะแยกบทบาทระหว่างเจ้าของ กรรมการ และผู้บริหารออกจากกัน เรามีสิ่งที่เรียกว่าธรรมนูญครอบครัว (Family Charter) คือข้อตกลงร่วมกันระหว่างสมาชิกเพื่อสร้างความสามัคคี”

แต่ระบบที่ดีอย่างเดียวยังไม่เพียงพอ คุณประพันธ์บอกว่า ระบบควรมีควบคู่ไปกับการเลี้ยงดูที่ดี เพราะหากเจอคนไม่ดีในครอบครัว หรือต้องการหาผลประโยชน์ส่วนตัว ผลลัพธ์ที่ไม่มีใครอยากให้เกิดคงหนีไม่พ้นการทะเลาะ หรือหนักกว่านั้นอาจนำไปสู่การแย่งมรดกหรือการใช้ความรุนแรงที่ทำให้เกิดความสูญเสีย

“สำหรับการหาผู้สานต่อ ควรให้ลูกเข้ามามีส่วนร่วม แต่พ่อแม่ต้องทำธุรกิจให้มีคุณค่าและมีโอกาสเติบโต วางแผนอนาคตไว้ล่วงหน้า ทำระบบบัญชีให้มีประสิทธิภาพและถูกต้อง มีระบบควบคุมภายใน มีระบบข้อมูลให้ดู ต้องวางแผนสืบทอดกิจการให้ลูกรู้ เข้าใจ และเห็นว่ามันมีลู่ทางในอนาคต

“เรื่องเหล่านี้จัดการได้ระดับหนึ่งด้วยการมีระบบที่ดี กติกาที่ดี และการหาคนที่ดี ถึงแม้ลูกหลานจะไม่รับก็ยังสามารถขายกิจการต่อได้”

ไทยเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่1 เพราะ
ไทยเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่1 เพราะ

ความท้าทาย ‘ภายนอก’

ปรับให้ได้ ไปให้ถึง

การแข่งขันและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลง คือสิ่งที่ทุกธุรกิจต้องเผชิญหน้า คุณประพันธ์ตั้งคำถามว่า ครอบครัวในปัจจุบันรับมือและปรับตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพมากแค่ไหน ยิ่งถ้าระบบกำกับที่กล่าวไปข้างต้นไม่ดี โอกาสที่ธุรกิจไปต่อไม่ได้ยิ่งสูง 

ขณะที่เทคโนโลยีเป็นเรื่องที่คนรุ่นใหม่ถนัด ระบบที่บริหารกันเองภายในจำเป็นต้องแบ่งใช้ความสามารถของแต่ละบุคคลให้ชัดเจนและตรงจุด ส่วนระบบการบริหารงานอย่างมืออาชีพมีช่องทางให้สรรหาคนเก่งเข้ามาอยู่แล้ว

“ในบรรดาธุรกิจครอบครัวขนาดใหญ่ กลาง และเล็ก ขนาดใหญ่ไม่ต้องห่วงอะไรมาก เพราะมีความสามารถในการเข้าถึงทุกอย่าง สิ่งที่น่าดูคือการจัดการภายในครอบครัวว่าเกิดปัญหาหรือไม่ ขนาดกลางอาจมีปัญหาเยอะ เพราะไม่ได้มีทรัพยากรมากเท่าแบบแรก แต่ที่ยากที่สุดคือขนาดเล็ก เพราะอยู่ในจุดที่ต้องคิดว่าทำแล้วคุ้มหรือไม่ บางคนจะทำก็ไม่ไหว จะขายก็เสียดาย แล้วที่สำคัญคือธุรกิจขนาดเล็กมีค่อนข้างเยอะในประเทศ”

ประพันธ์เล่าภาพรวมในมุมที่ตลาดหลักทรัพย์มองเห็น อย่างไรก็ตาม เขาเชื่อว่าประวัติศาสตร์ ความสัมพันธ์ และความรู้สึกในธุรกิจครอบครัว ไม่ใช่เรื่องที่ต้องกำจัดทิ้ง เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นข้อดีที่ทำให้ลูกหลานผู้รับสืบทอดรัก เข้าใจ และอินไปกับงานของพวกเขา หรือแม้กระทั่งความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนร่วมงานก็ยังให้ผลลัพธ์ไม่เหมือนความสัมพันธ์ที่สายเลือดเดียวกันมีให้กัน

สิ่งสำคัญที่ผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ย้ำอีกครั้งคือ การหาจุดสมดุลระหว่างระบบและความสัมพันธ์ รวมถึงเตรียม 5 สิ่งให้พร้อมเพื่อให้กิจการดำเนินต่อได้ คือ การกำหนดกติกาในครอบครัวให้ชัดเจน เตรียมระบบภายในให้โปร่งใส สร้างเสริมความรู้ความสามารถให้เพียงพอ ศึกษากลยุทธ์ที่ทำให้เติบโตอย่างมีประสิทธิภาพ และการเข้าถึงแหล่งเงินทุน

ไทยเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่1 เพราะ
ไทยเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่1 เพราะ

Family Business Cases Archives

เปิดเคสธุรกิจครอบครัวไทยไปไกลระดับโลก

01 บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) – TU

หากพูดถึงบริษัทผลิตและส่งออกอาหารทะเล คงไม่พูดถึง Thai Union ไม่ได้ เพราะธุรกิจครอบครัวไทยไปไกลระดับโลกนับตั้งแต่ก่อตั้งใน พ.ศ. 2520 ภายใต้ชื่อ บริษัท ไทยรวมสินพัฒนาอุตสาหกรรม จำกัด ด้วยทุนจดทะเบียน 25 ล้านบาท ก่อนเปลี่ยนมาเป็นชื่อปัจจุบัน

ไกรสร จันศิริ เริ่มจากการทำโรงงานทูน่ากระป๋องที่สมุทรสาครเป็น OEM ไม่มีแบรนด์เป็นของตัวเอง จนในที่สุดได้เข้าตลาดหลักทรัพย์ SET เมื่อ พ.ศ. 2537 ระดมทุนได้ 440 ล้านบาท และปัจจุบันกลายเป็นผู้ผลิตทูน่ากระป๋องอันดับหนึ่งของโลก

“บริษัทใช้เครื่องมือในตลาดทุน โดยเทกโอเวอร์บริษัทเพื่อเพิ่มแบรนด์ในอเมริกาชื่อว่า Chicken of the Sea ซึ่งเป็นผู้ผลิตทูน่าอันดับ 3 ของอเมริกาในปี 2540 จากนั้นจึงซื้อแบรนด์เพิ่มในยุโรปอย่าง King Oscar Rogen Fisch John West และลงทุนเพิ่มอีกในเอเชีย

“แต่สิ่งสำคัญคือเขาไม่ใช่แค่บริษัทใหญ่ เขาไปไกลกว่านั้นคือเรื่องของนวัตกรรม มีศูนย์วิจัย มีนักวิทยาศาสตร์นับร้อย นอกจากนี้ยังทำเรื่อง ESG และความยั่งยืน เพราะเวลาเข้าไปอยู่ตลาดระดับโลก กติกาก็เป็นระดับโลกเช่นกัน ตาข่ายที่จับปลาทำจากอะไร ขนาดความถี่ต้องเท่าไหร่ การดูแลแรงงานประมงต้องเป็นอย่างไร ทุกอย่างต้องตรงตามมาตรฐานสากลทั้งหมด”

คุณประพันธ์เล่าเพิ่มว่า Market Capitalization หรือ Market Cap ในวันที่เข้าตลาดของไทยยูเนี่ยนอยู่ที่ 2,200 ล้านบาท เวลาผ่านไป 28 ปี มูลค่าอยู่ที่ 82,075 ล้านบาท และเคยพุ่งสูงกว่าแสนล้านบาทมาแล้ว ในปัจจุบัน การบริหารเปลี่ยนมือผู้บริหารมาสู่ลูกชายอย่าง ธีรพงศ์ จันศิริ ซึ่งทั้งหมดคือพลังของตลาดทุนและการรู้จักต่อยอด 

02 บริษัท ยูบิลลี่ เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน) – JUBILE

ธุรกิจครอบครัว 4 รุ่น ประวัติศาสตร์ 93 ปี เริ่มจากร้านขายเพชรย่านสะพานเหล็ก สู่ตลาดหลักทรัพย์ วิโรจน์ พรประกฤต ทายาทรุ่น 3 ปรับธุรกิจสู่การก่อตั้งบริษัทใน พ.ศ. 2536 ด้วยทุนจดทะเบียน 10 ล้านบาท ต่อมาจึงเข้าตลาดหลักทรัพย์ mai ระดมทุนได้ 98 ล้านบาทใน พ.ศ. 2552

จากรายได้ 550 ล้านบาท พุ่งทะยานสู่ 1,820 ล้านบาทใน พ.ศ. 2562 กำไรพุ่งสูงขึ้นทุกปีจาก 60 ล้านบาท สู่ 267 ล้านบาทใน พ.ศ. 2563 ขณะที่ Market Cap พุ่งจาก 476 ล้านบาท สู่ 5,097 ล้านบาทในปัจจุบัน

“บริษัทโตขึ้น 3 เท่า แต่มูลค่าโตขึ้น 10 เท่า ข้อดีคือส่งต่อให้ลูกหลานได้ เพราะเป็นธุรกิจครอบครัวที่เปลี่ยนสู่สถาบัน การมีผู้ถือหุ้น มีการตั้งคณะกรรมการจากครอบครัวและบุคคลภายนอกช่วยเรื่องระบบการกำกับ โดยครอบครัวยังมีบทบาทได้เหมือนเดิม

“การเข้าตลาด มีระบบที่ดีทำให้คนอยากเข้ามาทำงาน และที่น่าสนใจคือ นี่เป็นโอกาสของยูบิลลี่ในการสร้างการยอมรับในวงกว้าง คุณวิโรจน์ พรประกฤต ได้รางวัลผู้บริหารสูงสุดยอดเยี่ยมของบริษัทจดทะเบียนใน MAI นั่นคือความภูมิใจ และรุ่นที่ 4 อัญรัตน์ พรประกฤต ก็ได้รางวัลผู้บริหารสูงสุดรุ่นใหม่ด้วย”

03 บริษัท อินเตอร์ลิ้งค์ คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) – ILINK

ธุรกิจครอบครัวจำหน่ายและนำเข้าอุปกรณ์ระบบข่ายสัญญาณคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ดำเนินการโดยพ่อและลูก ก่อตั้งโดย สมบัติ อนันตรัมพร ใน พ.ศ. 2538 ทุนจดทะเบียน 10 ล้านบาท หลังเข้าตลาดหลักทรัพย์ mai พ.ศ. 2547 ได้เงินระดมทุน 85 ล้านบาท และย้ายไปตลาดหลักทรัพย์ SET ใน พ.ศ. 2558

“พอเข้ามาภาพลักษณ์ดีขึ้น ได้โปรเจกต์สำคัญคือวางระบบโครงข่ายสื่อสารในสนามบินสุวรรณภูมิ หลังจากนั้นยังทำโครงการเคเบิลใต้น้ำหลายโครงการ รายได้เติบโตจาก 488 ล้านบาท ขึ้นไปถึงหลัก 6 พันล้านบาท Market Cap เติบโต 10 เท่า จาก 340 ล้านบาทสู่ 3,969 ล้านบาทในปัจจุบัน ที่น่าสนใจคือ พ.ศ. 2559 เขามี Spin-off เข้าตลาดอีกคือ บริษัท อินเตอร์ลิ้งค์ เทเลคอม จำกัด (มหาชน) – ITEL

“คุณสมบัติและคุณ ชลิดา อนันตรัมพร มีลูกคือ คุณลิลรฎา อนันตรัมพร คุณณัฐนัย อนันตรัมพร และ คุณวริษา อนันตรัมพร ลูกชายคือคุณณัฐนัยเข้ามาบริหาร ITEL และนำเข้าตลาดทุน ตอนรุ่นพ่อเข้าตลาดระดมทุนได้ 85 ล้านบาท รุ่นลูกเข้าตลาดได้ 1,040 ล้านบาท แสดงให้เห็นการเติบโต ตอนนี้ทั้งสองบริษัทได้ย้ายเข้า SET แล้วเรียบร้อย”

ประพันธ์เสริมต่อว่า การมีข้อมูลโปร่งใส ระบบบัญชีถูกต้อง ระบบควบคุมภายในที่ไม่รั่วไหล ระบบบริหารงานที่มีประสิทธิภาพ คือการทำให้ผู้ถือหุ้นเชื่อมั่นและสะท้อนถึงความแข็งแรงของบริษัท อีกอย่างคือการมี Business Model ที่ดีเพื่อเติบโต

ทั้ง 3 เคสพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า ความสำเร็จไม่ได้อยู่ไกลเกินเอื้อมถึง แต่ก็ไม่ใช่ทุกคนที่เข้ามาใช้ตลาดทุนแล้วประสบความสำเร็จเช่นกัน เพียงแต่การจะไปถึงจุดหมายได้ พวกเขาต้องผ่านอุปสรรคหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการเตรียมระบบ เตรียมคน และการทุ่มเทเวลา ส่วนสิ่งสำคัญที่ต้องเตรียมอย่างจริงจังและขาดไม่ได้ คือ องค์ความรู้พื้นฐาน

ไทยเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่1 เพราะ
ไทยเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่1 เพราะ

LiVE Platform

ทางเลือกในการสร้างโอกาสให้ธุรกิจครอบครัวไปต่อ

ตลาดหลักทรัพย์ SET อายุ 47 ปี มีบริษัทขนาดใหญ่เข้าร่วมกว่า 600 บริษัท นับตั้งแต่เปิดทำการซื้อขายอย่างเป็นทางการครั้งแรกใน พ.ศ. 2518 ส่วนตลาดหลักทรัพย์ mai ที่เกิดขึ้นหลังวิกฤตต้มยำกุ้ง ปัจจุบันอายุ 23 ปี มีบริษัทเข้าร่วม 197 บริษัท และมีบริษัทที่เติบโตย้ายไป SET อีก 51 บริษัท

To Make the Capital Market Work for Everyone คือวิสัยทัศน์ที่ตลาดหลักทรัพย์ต้องการทำให้ตลาดทุนเป็นประโยชน์ต่อทุกคนไม่ว่าจะทางตรงหรือทางอ้อม 

เมื่อมีเป้าหมายเช่นนั้น ตลาดหลักทรัพย์จึงขยายบทบาทมาที่ SMEs (Small and Medium-sized Enterprises) และ Startups สร้างกระดานที่ 3 คือ LiVE Exchange (LiVEx) เพื่อเปิดโอกาสให้ SMEs และ Startups เข้ามาระดมทุนในเกณฑ์ที่ง่ายขึ้นในระยะเวลาอันรวดเร็ว พร้อมค่าใช้จ่ายที่ถูกลง ด้วยความเชื่อมั่นว่าวันหนึ่งพวกเขาจะเข้าจดทะเบียนใน mai และ SET ต่อไป

แต่ในการช่วยวงกว้าง ตลาดหลักทรัพย์สร้างอีกอย่างคือ LiVE Platform (ลงทะเบียนเรียนฟรีได้ที่ www.live-platforms.com/) เพราะอยากให้ทุกคนมี Entrepreneurial Skills ซึ่งเป็น Life Skills ที่ควรมีไม่ต่างจากการว่ายน้ำ แบ่งได้เป็น 2 ระดับ คือ

‘Education Platform’ สำหรับผู้ประกอบการเริ่มต้นและคนทั่วไปที่สนใจ ปูพื้นฐานครอบคลุม 5 หมวด ได้แก่ ผู้ประกอบการอย่างยั่งยืนและนวัตกรรม การบริหารจัดการ การตลาด การบัญชี การเงินและการระดมทุน รวมกว่า 50 หลักสูตร ผ่านระบบ e-Learning โดยในปีหน้าจะมีหมวดธุรกิจครอบครัวเพิ่มเติม

ไทยเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่1 เพราะ
ไทยเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่1 เพราะ

‘Scaling Up Platform’ สำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการไปต่อเพื่อเข้าถึงแหล่งเงินทุน ในส่วนนี้จะมีหลักสูตรเชิงลึกครอบคลุมทั้งเรื่องบัญชี กฎหมาย การประเมินมูลค่าธุรกิจ การจัดการทรัพยากรมนุษย์ รวมให้กว่า 49 หลักสูตร 

นอกจากนี้ยังมีอีกหลากหลายส่วนที่เป็นประโยชน์ต่อผู้สนใจ ไม่ว่าจะเป็นองค์ความรู้เรื่องระบบงานในการบริหาร การพาธุรกิจรายใหญ่และรายเล็กมาเจอกัน การให้คำปรึกษา ตอบคำถามโดยผู้รู้ รวมไปถึงบริการเอกสารสัญญามาตรฐานฟรี ร่างโดยบริษัท Baker Mckenzie ที่ปรึกษากฎหมายข้ามชาติอันดับหนึ่งของสหรัฐอเมริกา

ไทยเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่1 เพราะ
ไทยเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่1 เพราะ

ลงทะเบียนเพียง 3 นาที ก็มีองค์ความรู้มากมายให้คนไทยได้หยิบใช้ ทั้งยังเรียนได้ทุกที่ ทุกเวลา ไม่มีวันหมดอายุ คุณประพันธ์กล่าวว่า ธุรกิจครอบครัวกระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาค การเรียนออนไลน์จึงเป็นข้อดีที่ทำให้ผู้สนใจเข้าถึงแหล่งความรู้พื้นฐานเพื่อการเติบโตได้เป็นอย่างดี

“การเข้าตลาดทุนคือเครื่องมือและทางเลือก ไม่จำเป็นที่ทุกธุรกิจครอบครัวต้องเข้าตลาดหลักทรัพย์ เพราะเราไม่มีทางรับได้ทั้งหมด และไม่ทางที่นักลุงทุนจะซื้อทุกบริษัท แต่พวกเขาควรมีความรู้ว่าบริษัทที่เติบโต เขาทำอย่างไร จากนั้นจึงนำข้อดีมาปรับใช้ เราจะมีทางเลือกมากขึ้น ให้ลูกหลานสืบต่อหรือให้คนเก่งมาบริหาร โดยลูกหลานก็ถือหุ้น รับเงินปันผล

“ผมยังยืนยันว่าธุรกิจครอบครัวมีเสน่ห์ตรงที่มีความเชื่อใจและเป็นเรื่องของความสัมพันธ์ สิ่งสำคัญคือทำอย่างไรให้อยู่ต่อไปอย่างมีความสุขและเติบโต 

“ผมคิดว่า 3 สิ่งนี้คือ การมีกติกาที่ชัดเจน มีความโปร่งใสในเรื่องเงินทอง และคัดสรรคนมีความสามารถเข้ามาร่วมงาน โดยเริ่มต้นจากการมีความรู้เป็นอันดับแรก”

ผลที่ไทยได้รับจากการเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 มีอะไรบ้าง

ผลที่ประเทศไทยได้รับจากสงคราม นอกจากจะเป็นการเผยแพร่ชื่อเสียง และเกียรติคุณของประเทศแล้ว ยังมีการแก้ไขสนธิสัญญาต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศไทย รวมทั้งประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกริเริ่มในองค์การสันนิบาตชาติ ตลอดจนได้นำประสบการณ์จากสงครามในครั้งนี้มาปรับปรุงวิชาการทหารให้เจริญก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น

ประเทศไทยเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 ในสมัยใด

ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวยังได้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ขึ้น ซึ่งพระบรมราโชบายของพระองค์ที่เกี่ยวข้องกับสงครามครั้งนี้นับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่ออนาคตของประเทศ เพราะหากทรงตัดสินพระทัยผิดพลาดเพียงเล็กน้อยก็อาจจะส่งผลกระทบต่ออธิปไตยของชาติ ด้วยเหตุนี้พระบรมราโชบายทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับสงคราม ...

ประเทศไทยมีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่ 1 อย่างไร

สยามส่งทหารไปร่วมรบในสงครามโลกครั้งที่ 1 ด้วยพันกว่านาย คนที่สมัครไปร่วมรบมีทั้งทหารและพลเรือน ทหารอาสาที่เราส่งไปมีทั้ง ทหารบกรถยนต์ช่วยขนส่งกำลังพลและเสบียง และทหารอากาศ ทหารของเรานั่งเรือไปขึ้นฝั่งที่เมืองมาร์เซย์ ประเทศฝรั่งเศส พอไปถึงทหารอาสาทั้งหมดต้องเข้ารับการฝึก ทหารรถยนต์ใช้เวลาฝึกสั้นกว่า จึงได้ปฏิบัติ ...

สงครามโลกครั้งที่ 1 เกิดขึ้นเพราะเหตุใด

1.สาเหตุของสงคราม ชนวนระเบิดของสงครามโลกครั้งที่ 1เกิดขึ้นเมื่ออาร์ชดุ๊ก ฟรานซิส เฟอร์ดินานด์ (Archduke Francis Ferdinand) มกุฎราชกุมารแห่งจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีและพระชายาถูกลอบปลงพระชนม์ขณะเสด็จเยือนกรุงซาราเจโวในโดยชาวเซอร์เบีย

ผลที่ไทยได้รับจากการเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 มีอะไรบ้าง ประเทศไทยเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 ในสมัยใด ประเทศไทยมีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่ 1 อย่างไร สงครามโลกครั้งที่ 1 เกิดขึ้นเพราะเหตุใด ไทยกับการเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่1 สรุป สาเหตุที่ไทยเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 2 การเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่๒ รัฐบาลไทยเข้าร่วมกับฝ่ายใด ประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 ไทยกับการเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่2 ไทยเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่ 1 สงครามโลกครั้งที่ 1 เกิดขึ้นได้อย่างไร สาเหตุของสงครามโลกครั้งที่ 1