ข้อเสียของการปลูกผักปลอดสารพิษ

วันที่ 22 พฤษภาคม 2562 - 15:00 น.

ข้อเสียของการปลูกผักปลอดสารพิษ

 ผักปลอดสารพิษเป็พืชผลที่ได้จากการเพาะปลูก โดยจะไม่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ยาฆ่าแมลง สารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อรา หรือสารเคมีอื่นๆ ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพผู้บริโภค แม้ว่าสารเหล่านั้นอาจช่วยกระตุ้นผลิตผลให้อุดมสมบูรณ์มากขึ้นก็ตาม

ประโยชน์ของผักปลอดสารพิษ มีอะไรบ้าง?

1.ทำให้ได้พืชผักที่มีคุณภาพ ไม่มีสารพิษตกค้าง เกิดความปลอดภัยแก่ผู้บริโภค

2.ช่วยให้เกษตรกรผู้ปลูกผักมีสุขภาพอนามัยดีขึ้น เนื่องจากไม่มีการฉีดพ่นสารเคมีป้องกันและกาจัดศัตรูพืช ทำให้เกษตรกรปลอดภัยจากสารพิษเหล่านี้ด้วย

3.ลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกร ลดค่าใช้จ่ายในการซื้อสารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืช

4.ลดปริมาณสารป้องกันและกำจัดศัตรูพืช ที่ปนเปื้อนในอากาศและน้ำ ซึ่งเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและลดมลพิษของสิ่งแวดล้อมได้ทางหนึ่ง

ทั้งนี้ผักปลอดสารพิษ ให้ประโยชน์ตั้งแต่ผู้ปลูกเองไปจนถึงผู้บริโภค ช่วยให้สุขภาพดี ไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม นับเป็นอีกทางเลือกที่ดีสำหรับคนชอบทานผักและต้องการความปลอดภัย

อย่างไรก็ตามก่อนนำมาบริโภคก็นำผักมาล้างให้สะอาดอย่างถูกวิธีเสียก่อน นอกจากนี้ผู้บริโภคควรจะเลือกทานผักให้เหมาะสมกับฤดูกาลก็จะช่วยเรื่องสารตกค้างได้ หรือ ใครจะปลูกผักไว้ทานเองที่บ้านง่ายๆ โดยใช้จุลินทรีย์ ดีๆ ทดแทนการใช้ปุ๋ยเคมี ก็ช่วยให้คุณมั่นใจได้ว่า ผักสด สะอาด ไม่มีสารตกค้างที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพแน่นอน

ผักปลอดสารพิษคือผักที่ได้จากการเพาะปลูก จากผู้ปลูกไม่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ยาฆ่าแมลงหรือสารเคมีอื่นๆ ที่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค สารเคมีนี้จะช่วยในการป้องกันพืชผักจากสัตรูพื้ช เพื่อให้ผักที่ปลูกนั้นงอกงาม ได้ผลผลิตตามที่เกษตรกรต้องการเพราะแมลงนั้นไม่สามารถมารบกวนได้ ซึ่งผักที่ปลอดสารพิษนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อร่างกายและก็ไม่มีโทษให้กับผู้บริโภค ซึ่งจะไม่มีสารตกค้างใดๆ ที่มีผลต่อร่างกายมนุษย์นั้นเอง

ข้อเสียของการปลูกผักปลอดสารพิษ
ข้อเสียของการปลูกผักปลอดสารพิษ

แต่ผักปลอดสารพิษนั้นเป็นผักที่ยังไม่ได้พิสูจน์จากหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ยืนยันได้ ว่าพืชผักเหล่านี้จะปลอดสารพิษหรือสิ่งเจือใดๆ 100 % เนื่อจากกระบวนการปลูกของผู้ผลิตนั้นยังไม่ได้ผ่านกระบวนการทดสอบหรือผ่านห้องแลบ ด้วยวิธีการปลูกด้วยธรรมชาตินี้ผู้ปลูกจะหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี แต่ด้วยความเชื่อใจของผู้บริโภชผู้ผลิตจึงต้องเป็นแปลงผักที่น่าเชื่อถือ โดยมีกระบวนการผลิตที่ชัดเจนสามารถตรวจสอบได้ 
ในส่วนของผักออร์แกนิคนั้น ผักออร์แกนิคเป็นผักที่ผู้ผลิตทำการปลูกให้เจริญเติบโตภายในบริเวณที่ถูกจำกัดตามเกณฑ์ของมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ โดยปราศจากการใช้สารเคมีทุกชนิด ที่เป็นอันตรายต่อ สุขภาพของผู้บริโภครวมถึงไม่ใช้ยาฮอร์โมนใดๆในการเร่งการเจริญเติบโต รวมถึงเมล็ดพันธุ์จากการเพราะปลูกจะต้องสะอาดและปลอดภัย โดยพื้นที่ในการปลูกผักออร์แกนิกนั้นจะต้องถูกตรวจสอบผ่านกระบวนการการคัดสรรและว่าพื้นที่ที่ปลูกนั้นปราศจากสิ่งเจือปนหรือสารเคมี ด้วยกระบวนการผลิตทั้งหมดนั้นจะได้รับการดูแลควบคุมตรวจสอบระดับของสารเคมีเจือปนจากหน่วยงานเพื่อตรวจสอบคุณภาพอยู่เสมอ

Post Views: 775

  • Facebook iconFacebook
  • Twitter iconTwitter
  • LINE iconLine

Agritech Founder

เดี๋ยวนี้ไม่ว่าจะกินอะไรก็ดูจะเสี่ยงไปเสียหมด ทั้งการปนเปื้อนอาหาร ทั้งสัตว์ติดโรค หรือถ้าจะหนีไปทานผัก ก็เสี่ยงว่าผักจะมีสารเคมีตกค้างหรือเปล่า นั่นทำให้หลายคนจึงเลือกที่จะหันไปทานผักปลอดสารพิษแทน ซึ่งคนทั่วไปรู้แค่เพียงว่า ผักปลอดพิษก็คือผักที่ไม่ฉีดยา มันเป็นเช่นนั้นจริงหรือ เราจะมาทำความรู้จักพร้อมหาคำตอบเกี่ยวกับ ผักปลอดสารพิษ ว่าจริง ๆ แล้ว ดีกว่าผักทั่วไปอย่างไร

ข้อเสียของการปลูกผักปลอดสารพิษ

ผักปลอดสารพิษ คืออะไร

ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 163 พ.ศ. 2538 ให้คำนิยามว่า ผักปลอดสารพิษ คือผักที่มีระบบการผลิตที่ใช้สารเคมีในการป้องกันและปราบศัตรูพืช รวมทั้งปุ๋ยเคมีเพื่อการเจริญเติบโตของพืช แต่ให้เว้นช่วงการใช้สารเคมีก่อนการเก็บเกี่ยว ซึ่งผลผลิตที่ได้ยังมีสารเคมีตกค้าง แต่ไม่เกินในปริมาณที่กำหนดเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค โดยให้มีการขอใบรับรองจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ได้ใบรับรองผักปลอดสารพิษ

ประเภทของผักปลอดสารพิษ

โดยทั่วไปแล้วผักปลอดสารพิษจะแบ่งเป็น 4 ประเภทหลัก ๆ ดังนี้

1. ผักปลอดสารเคมี (Pesticide Free)

การปลูกผักปลอดสารเคมีประเภทแรกนี้จะเน้นการควบคุม การใช้สารเคมีในการปลูก แต่จะไม่ใช้สารเคมีใน การกำจัดแมลง (จะยังคงใช้ปุ๋ยเคมีและฮอร์โมน เร่งผลผลิต) หากแต่เป็นสารเคมีที่ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย ผลผลิตที่เก็บเกี่ยวจะต้องมีสารเคมี ตกค้างไม่เกินปริมาณที่กำหนดไว้ เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค โดยมีหน่วยงานรับรองมาตรฐานจากกรมวิชาการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ว่าไม่มี สารตกค้างเกินระดับมาตรฐานที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดไว้ จึงแน่ใจว่าเป็นผักปลอดสารเคมี

2. ผักอนามัย (Pesticide Safe)

ผักอนามัยหรือที่เรารู้จักกันในชื่อของ “ผักกางมุ้ง” เป็นผักที่ยังคงใช้สารเคมีเพื่อการเจริญเติบโตและใช้สารกำจัดแมลง แต่จะเป็นสารเคมีที่มีพิษตกค้างในระยะสั้น และหยุดฉีดพ่นสารเคมีก่อนการเก็บเกี่ยว ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ การปลูกผักประเภทนี้มีอยู่ 2 แบบ คือ การปลูกโดยใช้มุ้งตาข่ายหรือการกางมุ้ง และอีกแบบคือการปลูก แบบไม่ใช้มุ้งตาข่าย แต่เน้นการป้องกันกำจัดศัตรูพืชแบบผสมผสาน คือเน้นปลูกผักตามฤดูร่วมกับผักประเภทกะหล่ำปลี ตั้งโอ๋ ซึ่งช่วยลดการระบาดของแมลง และยังเป็นผลดีต่อการตลาด เพราะมีผักหลายชนิดจำหน่าย ส่วนการรับรองมาตรฐานจะใช้หลักเกณฑ์เดียวกับผักปลอดสารพิษ

3. ผักเกษตรอินทรีย์ (Organic Farming)

เรารู้จักผักชนิดนี้ในชื่อเรียกว่า “ผักออร์แกนิค” เป็นผักที่ปลูกด้วยวิธีธรรมชาติ ไม่ใช้เมล็ดพันธุ์ที่ ผ่านการตัดต่อพันธุกรรม (จีเอ็มโอ : GMO) ไม่ใช้สารเคมีใด ๆ ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นปุ๋ยเคมี ยาปราบศัตรูพืช ยาฆ่าแมลง หรือฮอร์โมนต่าง ๆ การผลิตผักประเภทนี้จะเน้นใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยชีวภาพ ส่วนการกำจัดศัตรูพืชจะใช้สารเคมีที่ผลิตจากธรรมชาติ เช่น สะเดา โล่ติ๊น จึงปลอดภัยต่อสุขภาพและไม่ทำลายสภาพแวดล้อม

4.ผักไฮโดรโปนิกส์ (Hydroponics)

การปลูกผักประเภทนี้เป็นการปลูกโดยใช้น้ำแทนดิน โดยผสมอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตลงในน้ำ รากพืชที่สัมผัสน้ำจะดูดซึมสาร อาหารที่สะสมไว้ที่ใบ ส่วนรากที่ไม่สัมผัสน้ำจะทำหน้าที่รับออกซิเจน ผักที่นิยมปลูกประเภทนี้ ะเป็นผักสลัดพันธุ์ต่าง ๆ ซึ่งต้องนำเข้าเมล็ดพันธุ์จากต่างประเทศ

ผักปลอดสารพิษดีกว่าผักทั่วไปอย่างไร

อย่างที่บอกไปในตอนต้นว่าผักปลอดสารพิษมีหลายแบบ ตั้งแต่มีสารเคมีในระดับต่ำไปจนถึงไม่มีสารเคมีเลย ซึ่งแน่นอนว่าย่อมดีกว่าผักทั่วไปในเรื่องของความปลอดภัยนั่นเอง โอกาสที่จะเสี่ยงต่อการปนเปื้อนของสารเคมีในปริมาณสูงเป็นไปได้น้อย อีกทั้งยังช่วยปกป้องดูแลร่างกายของเราให้ห่างไกลจากการสะสมสารเคมีตกค้างที่อยู่ในผักเป็นระยะเวลายาวนาน ซึ่งอาจจะส่งผลเสียต่อร่างกายในระยะยาวได้

การทำความสะอาดผักก่อนนำไปปรุงอาหาร

แม้ว่าผักที่ปลูกนั้นจะเป็นผักที่มีระดับสารเคมีที่ต่ำก็ตาม แต่ก่อนที่เราจะนำไปปรุงอาหาร เราก็ยังควรต้องล้างทำความสะอาดเสียก่อน ซึ่งสามารถทำตามวิธีดังนี้

1. การล้างผักด้วยน้ำเปล่า

เราสามารถเปิดให้น้ำไหลผ่านผักที่ต้องการล้าง เด็ดผักเป็นใบ ๆ ใส่ตะแกรงโปร่งแล้วเปิดน้ำให้แรงพอประมาณ ใช้มือช่วยคลี่ใบผักและถูไปมาบนผิวใบของผัก หรือผลไม้นั้นนานประมาณ 2 นาที

2. การใช้ด่างทับทิม

ด่างทับทิม (Potassium Permanganate) มีลักษณะเป็นเกล็ดแข็ง สีม่วง สามารถละลายในน้ำได้ ทำให้เกิดสีชมพูหรือม่วงเข้ม เป็นสารประกอบประเภทเกลือ โดยใช้ปริมาณ 20-30 เกล็ด ผสมน้ำ 4 ลิตร แช่ผักไว้ประมาณ 10 นาที แล้วล้างด้วยน้ำสะอาด ซึ่งมีข้อจำกัดที่ไม่ควรแช่นานเกินไป อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อระบบทางเดินอาหารได้

ทีนี้เราก็ได้รู้จักแล้วว่าผักปลอดสารพิษเป็นอย่างไร เราสามารถเลือกผักปลอดสารได้ตามกำลังและความต้องการได้เลยค่ะ เพราะแต่ละชนิดล้วนให้คุณค่าทางอาหารเหมือนกัน

นึกถึง ผักออร์แกนิค ปลอดสารพิษ คุณภาพดี ต้องผัก WE ARE FRESH

We are Fresh เราคัดสรรคุณภาพเพื่อความสดอร่อย ทั้งสดสะอาดเเละปลอดภัย ได้มาตรฐาน ส่งตรงจากเกษตร ร่วมมือกับเกษตรกร ชุมชนท้องถิ่น สามารถตรวจสอบย้อนหลังถึงแหล่งที่มาในการเพาะปลูกได้ มั่นใจปลอดภัยไร้สารตกค้างเเน่นอน

ข้อเสียของการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์มีอะไรบ้าง

ข้อเสีย เป็นเทคโนโลยีจากต่างประเทศ ซึ่งมีราคาสูง ทั้งในการทำโรงเรือน และวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ส่วนใหญ่ปลูกได้ดีกับพืชต่างประเทศ แต่ในปัจจุบันสามารถพัฒนาจนสามารถปลุกได้กับพืชทุกชนิด (ยกเว้นไม้ยืนต้น) ผู้ปลูกต้องมีความรู้ ความเข้าใจในการปลูกอย่างแท้จริง เพื่อให้การปลูกเป็นอย่างสมบูรณ์ที่สุด

การปลูกผักปลอดสารพิษมีผลดีอย่างไร

1.ทำให้ได้พืชผักที่มีคุณภาพ ไม่มีสารพิษตกค้าง เกิดความปลอดภัยแก่ผู้บริโภค 2.ช่วยให้เกษตรกรผู้ปลูกผักมีสุขภาพอนามัยดีขึ้น เนื่องจากไม่มีการฉีดพ่นสารเคมีป้องกันและกาจัดศัตรูพืช ทำให้เกษตรกรปลอดภัยจากสารพิษเหล่านี้ด้วย 3.ลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกร ลดค่าใช้จ่ายในการซื้อสารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืช

ข้อดีและข้อเสียของการปลูกพืชระบบไฮโดรโพนิกส์มีอะไรบ้าง

ประโยชน์ของระบบไฮโดรโปนิกส์ ข้อดีที่เป็นจุดแข็งของผักชนิดนี้ก็การได้ผลผลิตที่สะอาดกว่าการปลูกในดิน ปลอดภัยจากสารพิษตกค้าง ผักที่ได้มีความสวยงามน่ารับประทาน ผักมีรสชาติดี มีคุณค่าทางโภชนาการสูง และผักสดที่ได้จะมีความนุ่มและกรอบกว่าผักที่ปลูกในดิน

การปลูกผักไร้ดินมีข้อดีข้อเสียอย่างไร

ข้อดีของการปลูกพืชไร้ดิน.
พืชเจริญเติบโตเร็ว ผลผลิตสูง สามารถผลิตนอกฤดูกาลได้.
ปลูกพืชได้ในเขตที่ดินมีปัญหา เช่น ดินเค็ม ดินลูกรัง ดินกรวด.
ลดการสูญเสียธาตุอาหาร.
ใช้แรงงานในการดูแลรักษาน้อย.
ประหยัดค่าใช้จ่ายในการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดวัชพืช.
ประหยัดค่าใช้จ่ายในการใช้สารเคมีป้องกัน โรคและแมลงศัตรูพืช.
ได้ผลผลิตสะอาด.