ประชากรไทย 2565 แยกตามอายุ

ประชากรไทย 2565 แยกตามอายุ

ประเทศไทยเข้าสู่ “สังคมผู้สูงวัย” ขณะที่ประชากรวัยชราและประชากรวัยเด็กซึ่งเป็น“วัยพึ่งพิง”ต้องการการเลี้ยงดูและดูแลจาก“วัยแรงงาน” ภายใต้สภาวะประชากร“วัยเด็ก”ลดลง "วัยชรา"เพิ่มขึ้น "วัยแรงงาน" พร้อมจะเลี้ยงดูและดูแลกันอย่างไร 


มีโอกาสได้อ่านร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 พ.ศ. 2566-2570 เห็นแผนกลยุทธ์รายหมุดหมายที่พอเข้าใจแบบเป็นรูปธรรมได้ เช่น

- ไทยเป็นประเทศชั้นนำด้านสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูปมูลค่าสูง

- ไทยเป็นจุดหมายของการท่องเที่ยวที่เน้นคุณภาพและความยั่งยืน

- ไทยเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าที่สำคัญของโลก

- ไทยเป็นศูนย์กลางการแพทย์และสุขภาพมูลค่าสูง

- ฯลฯ

เมื่อพิจารณาข้างต้นจะพบว่าเราต้องเตรียมแรงงานจำนวนมากและต้องเป็นแรงงานที่มีคุณภาพเพื่อรองรับหมุดหมายที่กำหนดไว้ (จะใช้ Robot เข้ามาแทนแรงงานมนุษย์คงไม่ได้ทั้งหมด)

จากข้อมูลของสำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ซึ่งเป็นข้อมูลประชากรกลางปี พ.ศ. 2565 เมื่อนำมาแสดงเป็นโครงสร้างประชากร (รูปที่ 1) พบว่า

ประชากรไทย 2565 แยกตามอายุ

(รูปที่ 1)

ประชากรทั้งชายและหญิงในวัยเด็ก (อายุต่ำกว่า 15 ปี ประมาณ 10 ล้านคน) กับกลุ่มที่เป็นวัยชราหรือสูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป ประมาณ 12 ล้านคน) ซึ่งถือว่าเป็นวัยพึ่งพิงจะมีจำนวนน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับวัยแรงงาน โดยเฉพาะถ้าว่าวัยแรงงานเป็นประชากรที่มีช่วงอายุ 15-59 ปี ซึ่งมีจำนวนประมาณ 42 ล้านคน ยังนับว่าเป็นประชากรกลุ่มใหญ่ แต่หากพิจารณาว่าปัจจุบันกลุ่มเยาวชน ซึ่งอายุ 15-24 ปีส่วนใหญ่มุ่งที่จะศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาแล้ว ประชากรวัยแรงงานจริง ๆ กลายเป็นกลุ่มประชากรที่มีอายุระหว่าง 25-60 ปี ซึ่งจำนวนจะลดน้อยลง โดยจะหายไปประมาณ 8 ล้านคนเหลือวัยแรงงานเพียง 34 ล้านคน ในขณะที่ประชากรวัยพึงพิงจะมีประมาณ 30 ล้านคน ซึ่งใกล้เคียงกับประชากรวัยแรงงานอย่างมาก

หากนำข้อมูลประชากรในปี พ.ศ. 2556  พ.ศ. 2560 และ เดือนมิถุนายน ปี 2565 มาทำโครงสร้างอายุเปรียบเทียบกันแล้ว (รูปที่ 2) พบว่า

ประชากรไทย 2565 แยกตามอายุ
(รูปที่ 2)

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 2560 และ 2565 ประชากรวัยเด็กและเยาวชน (อายุ 0-14 ปีลงมา) และประชากรวัยแรงงาน (อายุ 15-59 ปี) ทั้งชายและหญิงจะค่อย ๆ ลดลง ในขณะที่ประชากรวัยชรา (อายุ 60 ปีขึ้นไป) จะ ขยับเพิ่มขึ้นชัดเจน และหากพิจารณาอย่างละเอียดจะพบว่า กลุ่มประชากรวัยแรงงานที่อยู่ในช่วงอายุ 30-44 ปี จะมีจำนวนค่อย ๆ ลดลง และจำนวนประชากรวัยแรงงานที่อยู่ในช่วงอายุ 45-49 ปี จะค่อนข้างคงที่ และจำนวนจะค่อย ๆ เพิ่มขึ้นในช่วงอายุ 50 ปีขึ้นไป

อธิบายให้เห็นภาพรวมชัด ๆ คือ แผนภูมิที่มีพื้นสีฟ้าและสีชมพูแสดงข้อมูลประชากร ปี 2565 แผนภูมิที่เป็นเส้นสีเขียวแสดงข้อมูลประชากร ปี 2560 และแผนภูมิที่เป็นเส้นสีแดงแสดงข้อมูลประชากร ปี 2556

- ช่วงวัยเด็กแผนภูมิที่มีพื้นสีฟ้าและสีชมพูสั้นกว่าเส้นสีเขียวและเส้นสีแดง แสดงว่าประชากรวัยเด็กลดลงจากปี 2556, 2560 และ 2565 ตามลำดับ

- ช่วงวัยวัยแรงงานช่วงอายุ 30-45 ปี แผนภูมิที่มีพื้นสีฟ้าและสีชมพูสั้นกว่าเส้นสีเขียวและเส้นสีแดง แสดงว่าประชากรวัยแรงงานลดลงจากปี 2556, 2560 และ 2565 ตามลำดับเช่นกัน

- ในขณะที่วัยแรงงานบางส่วน(อายุ 50-59 ปี) และวัยชรา(อายุ 60 ปีขึ้นไป) แผนภูมิที่มีพื้นสีฟ้าและสีชมพูยาวกว่าเส้นสีเขียวและเส้นสีแดง แสดงว่าประชากรวัยแรงงานบางส่วนและประชากรวัยชราเพิ่มขึ้นจากปี 2556, 2560 และ 2565 ตามลำดับ

ทั้งนี้เห็นได้ค่อนข้างชัดเจนว่าประเทศไทยกำลังเข้าสู่ยุคของ “สังคมผู้สูงวัย” และหากจะต้องเตรียมพร้อมเพื่อให้บรรลุกลยุทธ์รายหมุดหมายตามร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 แล้ว การพัฒนาแรงงานที่มีคุณภาพสูงอย่างเร่งด่วนมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ขณะที่ประชากรวัยชราและประชากรวัยเด็กซึ่งเป็นประชากร“วัยพึ่งพิง”ต้องการการเลี้ยงดูและดูแลจาก“วัยแรงงาน” ในสภาวะที่ประชากร“วัยเด็ก”ลดลง "วัยชรา"เพิ่มขึ้น ดังนั้นสิ่งที่ต้องพิจารณาคือ ขณะนี้ประเทศไทยมีประชากร “วัยแรงงาน” และ“วัยพึ่งพิง”อยู่เท่าไร ที่ไหนบ้าง ต้องดูแลและพัฒนากันอย่างไร   

กรมกิจการผู้สูงอายุ ให้ความสำคัญต่อข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน เพื่อการพัฒนาและปรับปรุงเว็บไซต์ หากท่านใช้บริการเว็บไซต์นี้โดยไม่มีการปรับตั้งค่าใดๆ แสดงว่าท่านยินยอมที่จะรับคุกกี้บนเว็บไซต์ และนโยบายสิทธิส่วนบุคคลของเรา

เปิดรายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทยปี 2565  ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ หลังจากเมื่อสามปีก่อนนับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่ประเทศไทยมีจำนวนผู้สูงวัยอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่าเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี  โดยประชากรผู้สูงอายุในปี 2565 นั้นมีมากถึง 12,116,199 คน คิดเป็น 18.3% ของประชากรทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 0.5% แบ่งเป็น

“ผู้สูงอายุวัยต้น” ช่วงอายุ 60-69 ปี จำนวน 6,843,300 คน คิดเป็น 56.5% ของผู้สูงอายุทั้งหมด

“ผู้สูงอายุวัยกลาง” ช่วงอายุ 70-79 ปี มีจำนวน 3,522,778 คน คิดเป็น 29.1% และ

“ผู้สูงอายุวัยปลาย” อายุ 80 ปีขึ้นไป จำนวน 1,750,121 คน คิดเป็น 14.4%

ขณะที่ผู้สูงอายุในไทยมีจำนวนเพิ่มขึ้น แต่อัตราการเกิดกลับลดลงและมีอัตราที่ช้ามาก สถานการณ์เด็กเกิดใหม่ของประเทศไทยขณะนี้ต่ำกว่า 600,000 รายต่อปี และในปีนี้ก็มีอัตราการเกิดไม่ถึง 0.5% ด้วยซ้ำ อยู่ที่ 0.18% ถือเป็นจำนวนที่ค่อนข้างน้อย

ทั้งนี้เป็นเพราะปัจจัยหลัก ๆ จากสภาพเศรษฐกิจที่ทำให้คนไม่มั่นใจว่าจะมีทรัพย์รองรับค่าใช้จ่ายของบุตรได้เพียงพอ รวมถึงค่านิยมที่เปลี่ยนไป ผู้หญิงออกทำงานนอกบ้านเหมือนฝ่ายชายทำให้ไม่มีเวลา และคนส่วนใหญ่มีค่านิยมรักอิสระมากขึ้น ไม่อยากรับผิดชอบมากมาย และสภาพสังคมด้านต่าง ๆ ที่คนจะเป็นพ่อแม่รู้สึกไม่มั่นใจ