ค่าเสื่อมราคาทางภาษี เช่าซื้อ

1.การคิดค่าเสื่อมราคาเป็นการปันส่วนต้นทุนสินทรัพย์อย่างมีระบบจนครบอายุการใช้งาน ค่าเสื่อมราคาที่เกิดในรอบบัญชีต้องรับรู้เป็นค่าใช้จ่าย

2.เป็นการยึด หลักความสม่ำเสมอ ในการสะท้อนภาพประโยชน์เชิงเศรษฐกิจที่ได้รับสินทรัพย์ทุกรอบระยะเวลาบัญชี

3.กรณีแยกส่วนประกอบตามมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 16 (ปรับปรุง 2552) (Component accounting) ให้คิดค่าเสื่อมราคาส่วนประกอบที่ถูกแยก ซึ่งส่วนประกอบที่จะแยกนั้นจะต้องเป็นส่วนที่มีนัยสำคัญแยกต่างหากจากกันด้วย

4.จะคิดค่าเสื่อมเมื่อสินทรัพย์นั้นพร้อมใช้งาน

ผมขอแนะนำให้ใช้หลัก 3 ข้อในการพิจารณา

4.1 Location (อยู่ในสถานที่ที่ต้องการใช้งาน)

4.2 Condition (อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งาน)

4.3 Intention USE

5. สิ้นสุด/หยุดคิด/เลิกคิดค่าเสื่อมราคา

เมื่อเข้าเงื่อนไข

5.1 เมื่อมีการจำหน่าย ขายทิ้งไป

5.2 กิจการจะไม่ได้รับประโยชน์จากสินทรัพย์นั้นอีกต่อไป เช่น เมื่อสินทรัพย์นั้นสูญหาย, เมื่อมีการตัดออกจากบัญชี

5.3 เมื่อจัดมีการจัดประเภทเป็นถือไว้เพื่อขาย ซึ่งมีวัตถุประสงค์จะขายให้เสร็จภายในอนาคตอันใกล้

หลักการภาษี
1. ตามนัยมาตรา 65 ทวิ (2) การหักค่าสึกหรอ หรือค่าเสื่อมราคาต้องเป็นไปตามเงื่อนไขใน พรฎ.#145 และ ป.3/2527
2. คิดค่าเสื่อมราคาไม่เกิดอัตราที่กำหนด และพรฎ.#145 ไม่ได้กำหนดให้หักจนหมดมูลค่า
3. อายุการใช้งานต้องไม่น้อยกว่าที่กำหนด
4. กฎหมายกำหนดให้คำนวณตามระยะเวลาที่ได้มาเป็นรายวัน

จะเห็นว่าจากที่จำแนกความแตกต่างของประเด็นค่าเสื่อมราคาระหว่างหลักการบัญชี กับหลักการภาษีไปแล้วนั้นเป็นการกล่าวถึงค่าเสื่อมราคาที่เกี่ยวกับสินทรัพย์กรณีทั่วไป แต่ยังมิได้กล่าวถึงสินทรัพย์ที่มีประเด็นทางภาษีอีกประเภทหนึ่ง ก็คือ ‘รถยนต์’ ซึ่งเรื่องนี้ ถ้าพูดในภาพของหลักการบัญชี ขอยกตัวอย่างประกอบจะได้เห็นภาพมากขึ้นนะครับ สมมติว่ากิจการซื้อรถยนต์นั่ง (ไม่เกิน 10 ที่นั่ง) ราคา 1,399,000 บาท หลักการบัญชี ต้นทุนของสินทรัพย์ (รถยนต์) ที่บันทึกบัญชีจะเท่ากับ 1,399,000 บาท ซึ่งเวลาคิดค่าเสื่อมราคา (ตามหลักการบัญชี) ก็คิดจากยอดดังกล่าว แต่สำหรับหลักการภาษีรถยนต์นั่ง (ไม่เกิน 10 ที่นั่ง) ต้นทุนของสินทรัพย์ที่จะนำไปคิดค่าเสื่อมราคาจะใช้เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 1,000,000 บาท ทั้งนี้ ผู้ทำบัญชีจะต้องพิจารณาดูประเด็นของรถยนต์คันดังกล่าวด้วยเช่นกัน เพราะกฎหมายก็ได้มีการยกเว้นให้กับธุรกิจรถเช่า โดยรถยนต์ที่ซื้อมานั้นก็จะสามารถคิดค่าเสื่อมราคาได้จากต้นทุนของสินทรัพย์ (ตามหลักการบัญชี) ซึ่งก็เป็นไปตามนัย พรฎ.#505

อย่างไรก็ตาม หลักการบัญชียังมีแนวปฏิบัติเกี่ยวกับกรณีหากมีการจำหน่าย (ขายรถยนต์) ต้นทุนที่เหลือจากการคิดค่าเสื่อมเมื่อเทียบกับราคาขาย ผลต่างสามารถถือเป็นกำไร หรือค่าใช้จ่ายได้ทั้งจำนวน แต่หลักการภาษีนั้นมีแนวปฏิบัติที่แตกต่างไปคือ เมื่อขายไป ต้นทุนส่วนที่เกิน 1 ล้านบาท สำหรับบริษัททั่วไป (ที่ไม่ใช่ธุรกิจรถเช่า) ห้ามนำมาเป็นค่าใช้จ่าย ในทางกลับกันถ้าเป็นธุรกิจให้เช่าซื้อ/ให้เช่า สามารถถือเป็นค่าใช้จ่ายได้ ซึ่งก็เป็นไปตามนัย พรฎ.#315, มาตรา 65 ตรี (20) และ พรฎ.#145

พาดพิงมาถึงธุรกิจให้เช่าซื้อ ก็อดพูดถึงประเด็นของค่าเสื่อมราคา กรณีของสินทรัพย์ที่มีการเช่าซื้อไม่ได้ครับ ประเด็นนี้ก็มีความแตกต่างที่เห็นชัดเจนในเรื่องของต้นทุนสินทรัพย์ที่จะใช้คิดค่าเสื่อมราคา เพราะหลักการบัญชีนั้นต้นทุนของสินทรัพย์จะไม่รวมดอกผลจากการเช่าซื้อ ไว้เป็นต้นทุน ซึ่งเมื่อมีการเช่าซื้อมา จะทำบันทึกบัญชีโดย

วันที่ได้มาบันทึกรับรู้ทรัพย์สินชำระค่างวด & บันทึกดอกเบี้ยจ่ายเมื่อบันทึกค่าเสื่อมราคาเดบิต  สินทรัพย์ / ทรัพย์สินเดบิต  เจ้าหนี้เช่าซื้อเดบิต ค่าเสื่อมราคาเดบิต ดอกเบี้ยจ่ายรอตัดบัญชีเดบิต  ดอกเบี้ยจ่ายเครดิต ค่าเสื่อมราคาสะสมเครดิต  เงินสด/เงินฝากธนาคารเครดิต เงินสด/เงินฝากธนาคารเครดิต  เจ้าหนี้เช่าซื้อเครดิต ดอกเบี้ยจ่ายรอตัดบัญชี

แต่หลักการภาษีนั้น ได้แจกแจงไว้ตามนัย พรฎ.#145 มาตรา 7 และคำสั่งกรมสรรพากร ป.3/2527 สรุปได้ว่า สินทรัพย์/ทรัพย์สินที่มีการเช่าซื้อมานั้น คิดค่าเสื่อมราคาตามต้นทุนทั้งหมดที่ต้องชำระตามสัญญาเช่าซื้อ แต่ค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาที่จะนำมาหักในรอบระยะเวลาบัญชีจะต้องไม่เกินค่าเช่าซื้อหรือราคาที่ต้องผ่อนชำระในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น

     ซึ่งคำนวณตามราคาซื้อเงินสด และจำนวนดอกผลจากการให้เช่าซื้อ ส่วนที่เกินกว่าค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาทางภาษีอากรให้บริษัทฯ บวกกลับในการปรับปรุงกำไรสุทธิทางภาษีอากร ตามแบบ ภ.ง.ด.50 ดังนั้น หากราคารถยนต์นั่ง 1.9 ล้านบาท เป็นราคาเงินสด นอกจากจะบวกกลับค่าเสื่อมราคา ส่วนที่เกิน 1 ล้านบาท ในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล ตอนสิ้นปี แล้วบริษัทฯ ยังต้องบวกกลับดอกเบี้ยจ่ายที่เกิดจากการเช่าซื้ออีกด้วย

เกี่ยวกับการคำนวณค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคารถยนต์ทางภาษีอากร กรณีได้รถยนต์มาโดยการเช่าซื้อ ทั้งนี้ รถยนต์ดังกล่าว ต้องไม่ใช่รถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต

กรณีรถยนต์ราคาเงินสด....2,835,000 บาท

ดอกเบี้ยเช่าซื้อ.......................289,740 บาท

รวม........................................3,124,740 บาท

1. ตามมาตรา 7 แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 145) พ.ศ. 2527 ประกอบกับข้อ 7 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 3/2527 เรื่อง การหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน กำหนดให้ถือมูลค่าต้นทุนของทรัพย์สินนั้นตามราคาที่พึงต้องชำระทั้งหมดตามสัญญาเช่าซื้อ เป็นต้นทุนในการคำนวณหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน ซึ่งในที่นี้ได้แก่ จำนวน 3,124,740 บาท

แต่ในทางบัญชีกำหนดให้คำนวณหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาจากมูลค่าต้นทุนตามราคาเงินสดของทรัพย์สิน คือ 2,835,000 บาท และรับรู้ดอกผลเช่าซื้อจำนวน 289,740 บาท ตามงวดที่ถึงกำหนดชำระราคาแต่ละงวด

ดังนั้น ในช่วงเวลาที่มีการผ่อนชำระค่าเช่าซื้อ บริษัทฯ จึงต้องบวกกลับจำนวนดอกผลเช่าซื้อ และหักเพิ่มด้วยส่วนต่างของค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาทางภาษีที่มากกว่าค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาทางบัญชี ไปจนตลอดอายุการใช้ทรัพย์สินนั้น

แต่ทั้งนี้ หลักเกณฑ์ดังกล่าวให้ใช้กับกรณีระยะเวลาในการผ่อนชำระค่างวดเช่าซื้อน้อยกว่าระยะเวลาในการคำนวณหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคา

2. ในการคำนวณค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาทรัพย์สินรถยนต์ในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2562 ซึ่งคงเหลือระยะเวลาในการผ่อนชำระค่างวดเพียง 8 งวด ให้บริษัทฯ คำนวณหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคารถยนต์ตามวิธีในข้อ 1 ไปจนตลอดอายุการใช้งานของรถยนต์ดังกล่าว โดยไม่ต้องคำนึงถึงข้อความตามมาตรา 7 แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 145) พ.ศ. 2527 เนื่องเพราะกรมสรรพากรได้วางแนวทางปฏิบัติตามข้อ 7 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 3/2527 ว่า “ในกรณีที่ได้ชำระเงินค่าเช่าซื้อหรือราคาตามสัญญาครบถ้วนแล้ว โดยทรัพย์สินดังกล่าวยังคงมีมูลค่าต้นทุนหลังจากหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาตามวิธีการดังกล่าวข้างต้นเหลืออยู่ก็ให้หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาจากมูลค่าต้นทุนที่เหลืออยู่นั้นได้ต่อไป”

3. ในการคำนวณค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาทรัพย์สินรถยนต์ที่มีปัญหาผ่อนชำระค่างวดไม่ครบตามที่กำหนดตกลงกัน ให้หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินตามมูลค่าต้นทุนของทรัพย์สินนั้นตามราคาที่พึงต้องชำระทั้งหมดตามสัญญาเช่าซื้อ ได้แก่ จำนวน 3,124,740 บาท แต่จำนวนค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาสะสมของแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีรวมกันแล้วจะต้องไม่เกินค่าเช่าซื้อที่ต้องผ่อนชำระในรอบระยะเวลาบัญชีก่อน ๆ จนถึงรอบระยะเวลาบัญชีปัจจุบันเท่านั้น