สัญญาเช่ารถ bmw บันทึกบัญชี

-  สัญญาเช่าทางการเงิน (Finance lease)

-  บันทึกเป็นลูกหนี้

-  ค่าเช่ารับแบ่งเป็น 2 ส่วน
ดอกเบี้ยจ่าย

-  ส่วนที่ไปลดเงินต้น

-  กรณีเป็นผู้ผลิตหรือผู้ขาย บันทึกกำไรขาดทุนจากการขายเช่นเดียวกับการขายปกติ

-  บันทึกค่าเช่ารับ (ดอกเบี้ยและเงินต้น) เป็นรายได้

-  ไม่มีกำไรขาดทุนจากการขายทรัพย์สินขณะเริ่มสัญญา

-  บันทึกค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์เป็นค่าใช้จ่าย

-  อาจมีกำไรขาดทุนจากการขายทรัพย์สินเมื่อมีการซื้อขายทรัพย์สิน

1. สิ่งแรกที่ต้องพิจารณาคือ ทรัพย์สินเป็นยานพาหนะ > รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7  ที่นั่ง หมดสิทธิ์นำภาษีซื้อมาหักออกจากภาษีขายทุกกรณีทั้งค่าเช่า, ค่าเช่าซื้อ, ค่าน้ำมัน, ค่าซ่อมบำรุง, ค่าใช้จ่ายอื่นที่เกี่ยวข้อง ดู Link อ้างอิง ประกาศอธิบดี VAT#42 ข้อ 2 (1) http://www.rd.go.th/publish/3398.0.html แต่สามารถนำภาษีซื้อมาถือเป็นค่าใช้จ่ายในทางภาษีได้ หรือรวมเป็นต้นทุนสินทรัพย์ได้หากเป็นรายจ่ายที่มีลักษณะเป็นการลงทุน ดูพระราชกฤษฏีกาว่าด้วย "ภาษีซื้อที่ใช้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ (ฉบับที่ 243)" http://www.rd.go.th/publish/2380.0.html   กรณีของคุณหากเลือกบันทึกสินทรัพย์ต้องรวมภาษีซื้อเป็นต้นทุนด้วยครับ  เสร็จแล้วพักไว้ก่อน

2. พิจารณาหรือสอบถามผู้บริหารว่า รถยนต์ที่ทำลีสซิ่งอยู่นั้น ประสงค์จะซื้อในตอนสิ้นสุดสัญญาหรือไม่

   โดยต้องดูมาตรฐานการบัญชี ฉบับ 29 (ปรับปรุง 2550) เรื่องสัญญาเช่าประกอบด้วยครับ

       2.1 ต้องการซื้อแน่นอน >>> บันทึกเป็นสินทรัพย์ในทางบัญชี (รวมภาษีซื้อ) และต้องรวมเงินประกันเข้าไปด้วย เพราะถือเป็นส่วนหนึ่งของราคาต้นทุน ถ้าหากบันทึกเงินประกันแยกไว้ เมื่อครบสัญญาบัญชีนี้จะค้างอยู่ ทั้งๆ ที่มันไม่มีแล้ว แต่คุณจะโอนไปยังบัญชีสินทรัพย์ยานพาหนะก็ไม่ได้เพราะคุณได้บันทึกมูลค่าต้นทุนไว้เพื่อคิดค่าเสื่อมราคาเรียบร้อยแล้ว ส่วนเรื่อง ดอกเบี้ยรอตัดจ่าย คำนวณง่ายๆ (เพราะยากๆ ตามมาตรฐานการบัญชีทำไปก็ไม่คุ้มกับเวลาและผลลัพธ์ที่ได้ครับ) = ราคาที่ต้องชำระทั้งสัญญา – ราคาเงินสด

   รายจ่ายตลอดทั้งสัญญา  35,417 x 60 =  2,125,020 + เงินประกัน 600,000.-  = 2,725,020.-

   ราคาเงินสด (รวม VAT) 2,399,000.-

   ดอกเบี้ยรอตัดจ่าย (2,725,020 – 2,399,000) = 326,020.-

   การบันทึกบัญชีเป็นดังนี้

   Dr. ยานพาหนะ          2,399,000.-

          ดอกเบี้ยรอตัดจ่าย                              326,020.-

      Cr. เจ้าหนี้-ลีสซิ่ง            2,125,020.-  (35,417 x 60)

            เงินสด/เงินฝากฯ            600,000.-

แต่ทางภาษีถือตามรูปแบบของสัญญา คือ ยังคงเป็นค่าเช่าวันยังค่ำ

       2.2 ไม่ต้องการซื้อ >>> บันทึกเป็นค่าเช่า ทั้งบัญชี และภาษี ขยายความ: ค่าเช่าทางบัญชีบันทึกตามปกติ แต่ทางภาษีพิจารณา....หากเป็นกรณีรถยนต์นั่งไม่เกิน 10 ที่นั่ง หักเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้ไม่เกิน 36,000.-/เดือน (รวม VAT) หากเช่าเป็นวันคิดตามสัดส่วนวัน ดูพระราชกฤษฏีกาว่าด้วย รายจ่ายที่ไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ (ฉบับที่ 315)  http://www.rd.go.th/publish/2796.0.html กรณีของคุณหักเป็น คชจ.ทางภาษีได้เต็มจำนวน

3. อย่าลืมตรวจดูเงื่อนไขการยกเว้น การหักภาษี ณ ที่จ่าย จากค่าเช่าประเภทลีสซิ่ง  ในคำสั่ง ทป.4/2528 ข้อ 6 วรรคสอง 3 ข้อ ดู Link อ้างอิง  http://www.rd.go.th/publish/3479.0.html (ในชีวิตจริงการตรวจดูทุนชำระแล้ว จะต้องตรวจดู บอจ.5 ซึ่งผู้ให้เช่าไม่เคยจะให้ดู แต่ถ้าหากบริษัทฯ ใหญ่ๆ ทุนจดทะเบียนชำระแล้ว (เน้น ต้องเป็นทุนที่ชำระแล้ว) น่าจะถึง 60 ล้านนะ ถ้าจะให้ชัวร์ควรไปขอคัดสำเนา บอจ.5 ที่สำนักบริการของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า โดยค้นหาเลขทะเบียนนิติบุคคลจากเว็บไซต์ www.dbd.go.th>e-service> ตรวจค้นข้อมูลทะเบียนธุรกิจ (ซึ่งต้องสมัครสมาชิกก่อน) แล้วจึงนำเลขทะเบียนไปกรอกในแบบฟอร์มตอนที่ไปขอคัด บอจ.5 ที่กรมพัฒฯ

4. ควรมีบันทึกเกี่ยวกับการคำนวณลีสซิ่งไว้ต่างหาก (หากเลือกบันทึกเป็นสินทรัพย์ทางบัญชี) เนื่องจาก

   4.1 เมื่อปิดงบการเงินประจำปี  ค่าเสื่อมราคาของสินทรัพย์ที่ทำลีสซิ่ง จะต้องบวกกลับ และหักออกด้วยค่าเช่า (เพราะทางภาษีถือเป็นค่าเช่าสถานเดียว) อันนี้ Search ข้อมูลเกี่ยวกับข้อหารือกรมสรรพากรได้เพราะมีตอบไว้ค่อนข้างเยอะ และอย่าลืมโดยเด็ดขาด (อันนี้ผมเองเคยลืมไปครั้งหนึ่ง)

   ถ้าหากบันทึกค่าเช่าในทางบัญชีและทางภาษีเหมือนกัน ค่อยมาพิจารณาจำนวนเงินที่หักได้ในทางภาษี หากทางบัญชีลงไว้มากกว่าหลักเกณฑ์ที่ประมวลรัษฎากรกำหนดให้บวกกลับในการคำนวณภาษีเงินได้ด้วยครับ

   4.2  เมื่อสิ้นสุดสัญญา ทางบัญชีไม่ต้องทำอะไรครับลงบัญชีคิดค่าเสื่อมราคาปกติ แต่ทางภาษีจะต้องบันทึกเป็นสินทรัพย์ในวันที่สิ้นสุดสัญญาและโอนกรรมสิทธิ์หรือขายสินทรัพย์ให้แก่ผู้เช่า (โดยมากผู้ขายจะเปิดใบลดหนี้เงินประกันมาให้ และเปิดใบกำกับภาษี/ใบเสร็จรับเงินค่าขายสินทรัพย์มาให้) คือ เอาเงินประกันมาเป็นราคาซื้อสินทรัพย์รายการนั้นๆ  หลังจากนั้นก็คิดค่าเสื่อมราคาจากราคาทุนตามที่ระบุในใบกำกับภาษีค่าขายสินทรัพย์นั่นแหละครับ

   ดังนั้น ตอนคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล ค่าเสื่อมราคาทางบัญชีบวกกลับโลด แล้วใช้ค่าเสื่อมราคาทางภาษีแทน ซึ่งก็ต้องดูอีกว่าราคาซื้อทรัพย์สินที่เช่า (เฉพาะรถยนต์นั่งไม่เกิน 10 ที่นั่ง) เมื่อครบสัญญาเกิน 1 ล้านบาทหรือไม่ หากเกินจะคิดค่าเสื่อมจากต้นทุนที่ 1 ล้านบาทเท่านั้น

ตอนเขียนอยู่นี้ ได้นึกถึงตอนที่ตัวเองทำงานจริงๆ ก็รู้สึกว่า มันช่างวุ่นวายตั้งแต่ต้นจนครบสัญญาเสียนี่กระไร...เพราะตอนนั้นผมเจอกับสัญญาเช่าลีสซิ่งเกือบ 10 สัญญาเห็นจะได้ ดีนะที่ทำทะเบียนคุมไว้ในไฟล์ Excel ด้วย ไม่อย่างนั้นตอนปิดงบผมคงกลายเป็นซูปเปอร์หมาแพนดี้แหงๆ

ค่าเบี้ยประกันรถ BMW ขอคืนภาษีซื้อไม่ได้ตามเหตุผลข้อแรกครับ

สรุปหากไม่แน่ใจจริงๆ หรือยังงงๆ อยู่ ก็ลองสอบถามผู้สอบบัญชีของบริษัทฯ คุณก็ได้ว่าจะต้องทำอย่างไรบ้าง

ไปนอนก่อนนะครับ เดี๋ยวพรุ่งนี้ต้องลุยงานวันสุดท้ายก่อนปิดงานปีใหม่ครับ

[email protected]

Taddy:
**ขยายความเพิ่มเติม 2.1 ครับ

คือ โดยความหมายราคาเงินประกันจะเป็นส่วนหนึ่งของราคาเงินสดอยู่แล้วน่ะครับ (เทียบเคียงเงินมัดจำในสัญญาเช่าซื้อ) ถ้าดูตามรูปบัญชีก็จะดูง่ายหน่อยครับ

เช่าซื้อบันทึกบัญชีอย่างไร

การบันทึกบัญชีเช่าซื้อทรัพย์สิน.
การบันทึกบัญชีเช่าซื้อทรัพย์สินมี่ขั้นตอนดังนี้ครับ.
1.บันทึกภาระผูกพันที่ได้รับมา.
2.บันทึกบัญชีมนกรณีที่มีเงินดาวน์ที่ต้องจ่ายก่อนตอนทำสัญญา.
3.บันทึกบัญชีเมื่อมีการจ่ายเงินค่างวดในแต่ละงวด.
และ 4.บันทึกค่าเสื่อมราคาสำหรับสินทรัพย์ที่เช่าซื้อมาในทุกๆสิ้นรอบ ครับ.

การเช่าซื้อ กับ ลิซซิ่ง มีความแตกต่างกันอย่างไร

SME รายเล็ก ที่ต้องการเป็นเจ้าของเครื่องจักร และยังมีภาระหนี้กับภาระภาษีไม่มากนัก ธุรกิจซึ่งใช้เครื่องจักรที่มีอายุการใช้งานนาน ไม่ต้องเปลี่ยนบ่อย ... ธุรกิจ SME ขนาด​เล็ก.

สัญญาเช่าซื้อ ต้องหัก ณ ที่จ่ายไหม

2. สัญญาเช่าซื้อดังกล่าวไม่อยู่ในบังคับตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 259/2559 ที่ให้ใช้บังคับสำหรับการจ่ายเงินได้พึงประเมินตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป ต้องถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 5 ของเงินได้ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 4/2528 เข้าใจถูกต้องหรือไม่ ขอคำแนะนำ

ดอกเบี้ยเช่าซื้อรอตัดบัญชี อยู่หมวดไหน

ดอกเบี้ยเช่าซื้อรอตัดบัญชี (หมวด 1 ) 80,000.- ภาษีซื้อที่ยังไม่ครบกำหนดชำร ะ 33,600.-