พระพุทธศาสนากับการพัฒนาที่ยั่งยืน สรุป

พระพุทธศาสนากับการพัฒนาที่ยั่งยืน สรุป

วันที่วางขาย

21 เมษายน 2563

ราคาปก

250 บาท (ประหยัด 20%)

พระพุทธศาสนากับการพัฒนาที่ยั่งยืน (Buddhism and Sustainable Development)

พระพุทธศาสนากับการพัฒนาที่ยั่งยืน สรุป

พระพุทธศาสนากับการพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นหนังสือที่กล่าวถึงแนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืนตามแนวพุทธเพื่อแก้ไขปัญหาสังคมในยุคปัจจุบัน โดยเนื้อหากล่าวถึงแนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ ,การพัฒนาที่ยั่งยืนตามแนวพุทธ ,หลักพุทธธรรมที่สำคัญในการพัฒนาที่ยั่งยืน ,ปัญหาอุปสรรคและแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืนตามแนวพุทธ และการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนตามแนวพุทธ ดังนั้นการพัฒนาที่ยั่งยืนตามแนวพุทธ จึงเป็นแนวคิดสำคัญที่จะช่วยเยียวยาและแก้ปัญหาวิกฤตการณ์ของโลกในสังคมยุคปัจจุบันได้อย่างยั่งยืน

วันที่วางขาย

21 เมษายน 2563

ราคาปก

250 บาท (ประหยัด 20%)

พระพุทธศาสนากับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและการพัฒนาที่ยั่งยืน 

            คำว่า "เศรษฐกิจพอเพียง"  หมายถึง เศรษฐกิจที่พึ่งตนเองได้ เน้นการผลิตและการบริโภคแบบพออยู่พอกินเป็นหลัก ซึ่งไม่ได้เน้นกำไรสุทธิหรือความร่ำรวยเป็นเป้าหมายสูงสุด เป็นระบบเศรษฐกิจที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันของเราทรงดำริขึ้นมา เพื่อแสวงหาทางออกจากวิกฤษตเศรษกิจให้กับสัมคมไทย ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงก็คือ " การที่พึ่งตนเองได้"  

            เศรษฐกิจพอเพียงนี้ เน้นให้คนในชุมชนพัฒนาขีดความสามารถในการผลิตและบริโภคอย่างพอเพียง ไปจนถึงขั้นการแปรรูปอุตสาหกรรมครัวเรือน สร้างอาชีพและเสริมทักษะทางวิชาการที่หลากหลาย ใช้ชุมชนดำรงอยู่ได้ด้วยการยึดหลักแห่งความถูกต้องดีงาม มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เป็นต้น

         วัตถุประสงค์หรือเป้าหมายหลักของเศรษฐกิจพอเพียงก็คือ  ความสงบสุขของผู้คนในสังคม ประชาชนมีกินมีใช้อย่างเพียงพอแก่ความต้องการ ที่สำคัญต้องไม่ทำตนและผู้อื่นเดือนร้อน ซึ่งสอดคร้องกับหลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนาหลายประการ ดังนี้

1 หลักธรรมการพึ่งพาตนเอง ( อตฺตา หิ อตฺต โน นาโถ)

2 หลักธรรมความรู้จักพอประมาณ (อตฺตญฺญุตา)  

3 หลักธรรมเรื่องราวความสันโดษ ( สนฺตุฏฺฐิ ปรมํ ธนํ)

4 หลักธรรมความเป็นผู้รู้จักใช้เหตุผลในการดำเนินชีวิต (ธมฺมญฺญุตา อตฺถญฺญุตา) 

5 หลักธรรมเรื่องทางสายกลาง หรือ ความพอดี (มชฺฌิมปฏิปทา)

6 หลักธรรมเรื่องความไม่โลภมาก (อโลภ) 

            การอาศัยหลักธรรมทางพุทธศาสนาบูรณาการทางเศรษฐกิจ คือหลักเศรษฐกิจสายกลาง หรือเศรษฐกิจมัชฌิมา หรือเป็นหลักคำสอนที่เป็นหัวใจที่สำคัญ หรือคุณค่าทางจริยธรรมอยู่ตรงที่การดำรงชีวิต ด้านการหาเลี้ยงชีพอย่างถูกต้องเรียกว่า สัมมาอาชีวะ หรือสัมมาเศรษฐกิจ คำว่า “เศรษฐกิจ” มาจากคำสองคำรวมกันคือคำว่า เศรษฐ แปลว่า ดีเลิศ และว่า กิจ แปลว่า การประกอบการ เมื่อนำคำสองคำมารวมกันจึงได้ความว่า การประกอบกิจการงานเกี่ยวกับการผลิต การจำหน่าย จ่าย แจก การบริโภค และการใช้สอยสิ่งต่าง ๆ ให้ได้ผลดี ส่วนคำว่าพอเพียงหมายาถึง พออยู่พอกิจ ความเหมาะสม หรือ ความพอดี และเมื่อร่วมกันจึงได้ความว่า การผลิตจำหน่าย และบริโภคอย่างพอเหมาะพอดี อย่างประเสริฐ 

            แนวคิดหลักของเศรษฐกิจพอเพียง คือ การนำคำสอนทางพระพุทธศาสนามาเป็นแนวทางในการประสานกลมกลืนกับวิธีชีวิตของชาวบ้านที่เป็นเกษตรกรอย่างชาญฉลาด และเป็นรูปธรรม หลักจริยธรรมดังกล่าวคือ หลักการเดินสายกลาง หรือ มัชฌิมาปฏิปทา ระดับโลกิยธรรม คือธรรมที่เหมาะแก่ชาวบ้านทั่วไปได้แก่ ความเป็นรู้จักพอในการบริโภคใช้สอยทรัพยากรธรรมชาติ และการใช้ชีวิตแบบไม่ฟุ่มเฟือย ฟุ้งเฟ้อ ซึ่งมีลักษณะเป็นการเน้นการลด ละ เลิก อบายมุข ด้วยการประพฤติตามหลักเบญจศีล และ เบญจธรรม ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญของการเป็นวิถีพุทธ

            เศรษฐศาสตร์แนวพุทธมีหลักที่เรียกว่า “ความรู้จักประมาณในการบริโภค (โภชาเนมัตตัญณุตา ) และหลักการไม่เบียดเบียนกัน ความไม่เบียนในพระพุทธศาสนา หมายถึง การไม่ทำร้ายชีวิตสัตว์ทั้งปวง ( อหิงสา สัพพ ปาณานัง ) ซึ่งรวมอยู่ในระบบนิเวศด้วย นับว่าเศรษฐศาสตร์แนวพุทธ เป็นเศรษฐศาสตร์ที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิตอย่างแท้จริง 

            สัมมาอาชีวะ เป็นหัวใจของเศรษฐศาสตร์แนวพุทธ สัมมาอาชีวะมักมาคู่กับสัมมาวาจาและสัมมากัมมันตะ สัมมากัมมันตะคือการประกอบอาชีพที่สุจริต ไม่มีโทษ ไม่ผิดศีลธรรม เป็นงานที่หามาด้วยหยาดเหงื่อแรงงานของตนเองตามหลักการหาทรัพย์ที่ดีในพระพุทธศาสนา คือ การขยันทำงาน ( อุฏฐานะสัมปทา ) ประหยัดอดอม ( อารักขสัมปทา ) รู้จักคบเพื่อนที่ดี ( กัลยาณมิตตตา ) และเลี้ยงชีวิตอย่างเหมาะสม ( สมชีวีตา ) การเลี้ยงชีวิตอย่างเหมาะสมตรงกับ คำว่า สัมมาอาชีวะในมรรคแปด 

        สัมมอาชีวะ คือ การเลี้ยงชีวิตที่เหมาะสม ถูกต้อง แปลอีกอย่างหนึ่งว่า เศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งขยายความได้ว่า การเลี้ยงชีวิตก็คือการดำเนินชีวิตด้วยการผลิต การจำหน่าย และการใช้สอย คำว่า พอเพียง ก็คือ อย่างเหมาะสม ถูกต้อง สัมมาอาชีวะเป็นชีวิตที่ประสบความสำเร็จ

        อาชีวสมบัติ หมายถึง การเลี้ยงชีวิตหรือมีอาชีพที่ดี ซึ่งตรงกันข้ามกับการเลี้ยงชีวิตที่ไม่ดีเรียกว่า อาชีววิบัติ เป็นการประกอบอาชีพที่ไม่ดี อันจะนำชีวิตและจิตใจของเราใกล้เข้าไปสูหายนะ ฟฟอาชีพวิบัติแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

 1 อาชีพวิบัติโดยงานคือ งานชนิดนั้นไม่ดีอยู่ในตัวของมันเอง เช่น การปล้นฆ่า การลักทรัพย์ การค้าของเถื่อน ค้าอาวุธ ค้าสารเสพติด ค้ามนุษย์ เป็นต้น

        2 อาชีพวิบัติโดยการกระทำ คือ งานดีแต่คนทำชั่ว เช่น งานราชการเป็นงานดี แต่ช้าราชการทุจริตคอรัปชั่น งานไม่เสียแต่เสียที่คนทำ

        วิธีแก้ไข คือ เราจะต้องเลือกงานที่สุจริตและทำด้วยความตั้งใจไม่คดโกง ดังนั้น จะเก็บได้ว่าเศรษฐกิจพอเพียงประกอบด้วยสัมมาอาชีวะ หรือเศรษฐศาสตร์แนวพุทธอย่างชัดเจน

ความสอดคล้องระหว่างเศรษฐศาสตร์แนวพุทธและเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ

        1 ทั้งสองทฤษฏีมุ่งเน้นคุณภาพชีวิต และ คุณค่าของมนุษย์เป็นเบื้องต้น เพื่อปูทางไปสู่เป้าหมายที่สูงขึ้นไปกล่าวคือ สวรรค์และพระนิพพานในที่สุด

        2 ทฤษฎีทั้งสองเน้นสัมมาเศรษฐกรรม คือ เป็นเศรษฐกิจเชิงจริยธรรมที่มีเป้าหมายในการผลิต การบริโภค การสร้างงาน เป็นต้น เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตมนุษย์ทั้งร่างกายและจิตใจ รวมถึงสังคม ชุมชน ระบบนิเวศน ์และ ชาวโลกโดยทั่วไปด้วย

        3 ทฤษฎี ทั้งสองนั้นเน้นความเป็นเศรษฐกิจแบบองค์รวม กล่าวคือ ทั้งสองเป็นระบบการพัฒนาชีวิตของปัจเจกบุคลควบคู่กันไปกับการพัฒนาสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม โดยมีจริยธรรมคือความเมตตา ความเกื้อกูลสงเคราะห์ ความสามัคคี ความไม่เห็นแก่ตัว ดังคำกล่าวว่า มนุษย์อยู่ดี ชุมชนอยู่ได้ ธรรมชาติยั่งยืน

        4 ทฤษฎีทั้งสองเน้นคุณภาพชีวิตของสรรพสัตว์ ซึ่งหมายถึงมนุษย์และสัตว์ทั้งหมดซึ่งต่างก็รักชีวิตของตนเอง

        5 ทฤษฏีทั้งสองเป็นระบบเศรษฐกิจแบบมัชฌิมาที่มีสัมมาอาชีวะเป็นหัวใจสำคัญ ซึ่งสามารถโยงไปสู่การที่พระพุทธศาสนามีท่าทีปฏิเสธความสุดโต่ง 2 ด้าน คือ การหมกมุ่นในกามสุขอย่างเดียว และ การทรมานตนเองในรูปแบบต่าง ๆ เหมือนกับศาสนาเชนของศานดามหาวีระที่นิยมการเปลือยกาย เป็นต้น

        6 ทฤษฎีทั้งสองไม่ได้เป็นเศรษฐกิจแบบระบบปิด ที่รัฐบาลของ เผด็จการนิยมทำกันด้วยการปิดประเทศของตนเอง เพื่อต้องการตัดการติดต่อสื่อสารกับต่างประเทศ ด้วยเหตุผลทางการเมือง เป็นต้น และในขณะเดียวกันก็ไม่ใช่เศรษฐกิจแบบทุนนิยมและบริโภคนิยม ที่ก่อให้เกิดวัฒนธรรมการบริโภคที่ไร้ขอบเขตจนเกิดการทำลายธรรมชาติ ซึ่งส่งผลให้เกิดก่อให้เกิดพิบัติทางธรรมชาติต่างๆ 

การพัฒนาแบบยั่งยืนเชิงพุทธมีหลักการสรุปได้อย่างไร

การพัฒนา แบบยั่งยืน การพัฒนาแบบยั่งยืนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คนสัมพันธ์กับคนอย่างมีความสุข โดยปราศจากการเห็นแก่ตัว คนสัมพันธ์กับธรรมที่แท้จริง ไม่เชื่องมงายจนคลั่งลัทธิศาสนา คนสัมพันธ์กับสังคมอย่างมีความสุข โดยมีหลักธรรมปฏิบัติในชีวิตประจ าวัน ชีวิตประจ าวัน

การพัฒนาแบบยั่งยืนหมายความว่าอย่างไร และการพัฒนาแบบยั่งยืนเชิงพุทธควรมีลักษณะอย่างไร

หมาย ถึง “รูปแบบของการพัฒนาที่สนองความต้องการของคนในรุ่นปัจจุบันโดยไม่ทำให้คนรุ่น ต่อไปในอนาคต ต้องประนีประนอมยอมลดทอนความสามารถในการที่จะตอบสนองความต้องการของตนเอง”

หลักธรรมใดในพระพุทธศาสนามาใช้เพื่อให้เกิดการพัฒนาแบบยั่งยืนในสังคมไทย

นอกจากนี้หลักธรรมะในพุทธศาสนา ที่สามารถน ามาประยุกต์เพื่อช่วยในการให้เกิด การพัฒนาที่ยั่งยืน ได้แก่ มรรคมีองค์แปดใน อริยสัจสี่ที่เป็นหลักปฏิบัติให้ถึงซึ่งความดับทุกข์ หากน้อมน ามาปฏิบัตินั้นจะน ามาซึ่งความสุข สงบทั้งทางร่างกายและจิตใจได้ เช่น หลักปฏิบัติ ของมรรคมีองค์๘๖ บางข้อที่ครอบคลุมและ เกี่ยวข้องกับลักษณะแนวทางการ ...

หลักธรรมใดสอดคล้องกับการพัฒนายั่งยืน

หลักธรรมที่สามารถนำมาเสริมและประยุกต์การพัฒนาอย่างยั่งยืนคือ หลักของศีล 5 หลักอริยสัจ 4 มรรค 8 สังคหวัตถุ 4 อิทธิบาท 4 พรหมวิหาร 4 ซึ่งสอดคล้องกับความเห็นของผู้ทรงวุฒิ