วัตถุประสงค์สําคัญของการเสด็จประพาสยุโรปในพศ.


วัตถุประสงค์สําคัญของการเสด็จประพาสยุโรปในพศ.

ชื่อเรื่อง การเสด็จประพาสยุโรปของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ. 2476-2477
โดย ศาสตราจารย์ ดร. พรสรรค์ วัฒนางกูร
            การเสด็จประพาสยุโรปของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ค.ศ. 1934/พ.ศ. 2476-2477 (นับตามปฏิทินจันทรคติของสยาม) แห่งสยามเป็นไปท่ามกลางช่วงเวลาระยะหัวเลี้ยวหัวต่อของสถานการณ์ที่ผันผวนทางการเมือง สังคม วัฒนธรรม และเศรษฐกิจในโลก ในเอเชีย ตลอดจนในประเทศสยามเองหลังการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 การเสด็จประพาสยุโรปของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ค.ศ. 1934 ได้รับผลกระทบและได้รับอิทธิพลจากปรากฏการณ์ร่วมกันของยุโรปและเอเชีย ได้แก่ การค่อยๆ ล่มสลายของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช อิทธิพลของความเจริญทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและการเผยแผ่อิทธิพลของอุดมการณ์การเมืองใหม่ในโลกยุโรปและเอเชีย ได้แก่ ลัทธิสังคมนิยมมาริกซิสม์และสังคมนิยมคอมมูนิสต์ และอิทธิพลจากลัทธิเผด็จการชาตินิยมฟาสซิสม์ ปัจจัยทั้งหมดนี้ควรพิจารณาไปพร้อมกันกับสถานการณ์ในยุโรป เอเชีย โดยเฉพาะเหตุการณ์การเมืองของสยามระหว่างที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประทับในยุโรป ภาพรวมจะช่วยให้เข้าใจเรื่องการเสด็จประพาสยุโรปที่จบลงด้วยการสละราชสมบัติของพระมหากษัตริย์แห่งสยามได้ดีขึ้น

การเสด็จประพาสยุโรปของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ. 2476-2477 (24 ครั้ง) ดาวน์โหลด


Share :

วัตถุประสงค์สําคัญของการเสด็จประพาสยุโรปในพศ.
วัตถุประสงค์สําคัญของการเสด็จประพาสยุโรปในพศ.


กลับไปหน้าหลัก


วัตถุประสงค์สําคัญของการเสด็จประพาสยุโรปในพศ.

บทความวิจัยเรื่อง  “การเสด็จประพาสยุโรปของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ค.ศ. 1934  (พ.ศ. 2476-2477) 
โดย พรสรรค์ วัฒนางกูร 
ราชบัณฑิต สำนักศิลปกรรม 

           การเสด็จประพาสยุโรปของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว แห่งราชอาณาจักรสยาม ค.ศ. 1934/พ.ศ. 2476-2477 (นับตามปฏิทินจันทรคติของสยาม) เป็นการเดินทางครั้งสำคัญหลังการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ ท่ามกลางช่วงเวลาระยะหัวเลี้ยวหัวต่อของสถานการณ์ที่ผันผวนทางการเมือง สังคม วัฒนธรรม และเศรษฐกิจในโลก ในเอเชีย ตลอดจนในประเทศสยามเองหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศสยามในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ค.ศ. 1934 ได้รับผลกระทบและได้รับอิทธิพลจากปรากฏการณ์ร่วมกันของยุโรปและเอเชีย ได้แก่ การค่อยๆ ล่มสลายของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชในยุโรป อิทธิพลของความเจริญทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและการเผยแผ่อิทธิพลของอุดมการณ์การเมืองใหม่ในโลกยุโรปและเอเชีย ได้แก่ ลัทธิสังคมนิยมมาร์กซิสม์และสังคมนิยมคอมมูนิสต์ และอิทธิพลจากลัทธิเผด็จการชาตินิยมฟาสซิสม์ ปัจจัยทั้งหมดนี้ควรพิจารณาไปพร้อมกันกับสถานการณ์ในยุโรป เอเชีย โดยเฉพาะเหตุการณ์การเมืองของสยามทั้งก่อน การเสด็จประพาสยุโรป และระหว่างที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประทับในยุโรป ภาพรวมนี้จะช่วยให้เข้าใจเรื่องการเสด็จประพาสยุโรปที่จบลงด้วยการสละราชสมบัติของพระมหากษัตริย์องค์ที่ 7 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ได้ดียิ่งขึ้น  

การเสด็จประพาสยุโรปของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ค.ศ. 1934 (16 ครั้ง) ดาวน์โหลด


Share :

วัตถุประสงค์สําคัญของการเสด็จประพาสยุโรปในพศ.
วัตถุประสงค์สําคัญของการเสด็จประพาสยุโรปในพศ.


กลับไปหน้าหลัก

บทที่ 5: การเสด็จพระราชดำเนินเยือนเดนมาร์กของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) เมื่อปี พ.ศ. 2440 และ พ.ศ. 2450

วันที่นำเข้าข้อมูล 4 มิ.ย. 2564

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 26 พ.ย. 2565

| 32,924 view

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ได้เสด็จประพาสยุโรป 2 ครั้งในปี พ.ศ. 2440 และ พ.ศ. 2450 ซึ่งทำให้ทรงสามารถสร้างพันธมิตรทางการทูตกับมหาอำนาจตะวันตกและเสริมสร้างความสัมพันธ์กับพระราชวงศ์ในยุโรป นอกจากนี้ ทรงได้รับความสนใจเป็นอย่างมากในประเทศตะวันตกเนื่องจากทรงเป็นพระมหากษัตริย์จากเอเชียพระองค์แรกที่สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษกับกษัตริย์ยุโรปได้อย่างคล่องแคล่วโดยไม่ต้องใช้ล่าม

การเสด็จประพาสยุโรปครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2440

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) เสด็จประพาสยุโรปด้วยเรือหลวง ”มหาจักรี” ในปี พ.ศ. 2440 โดยเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2440 เรือหลวงได้เข้าเทียบท่ากรุงโคเปนเฮเกนพร้อมกับเรือรบ Helgoland และ Tordenskjold ของเดนมาร์ก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงฉลองพระองค์ด้วยเครื่องแบบจอมพลและประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูล Order of the Elephant ของเดนมาร์ก ทั้งนี้ ในขบวนเสด็จประกอบด้วย สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดช รวมทั้งสมาชิกในพระราชวงศ์และข้าราชบริพารอีกจำนวนมาก โดยในการเสด็จประพาสเดนมาร์กครั้งนี้ทรงได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดีจากสมเด็จพระราชาธิบดีคริสเตียนที่ 9 ซึ่งทรงจัดให้ประทับที่พระราชวัง Amalienborg ด้วย

ระหว่างการประทับที่เดนมาร์ก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ เยือนสถานที่ต่างๆ ในกรุงโคเปนเฮเกนและเกาะซีแลนด์ เช่น โรงงาน Royal Danish Porcelain หรือ Royal Copenhagen ในปัจจุบัน โดยทรงซื้อเครื่องปั้นดินเผาจำนวนมากกลับไปยังสยาม นอกจากนี้ ทรงได้เยี่ยมชมพระราชวัง Frederiksborg พระราชวัง Fredenborg สวน Tivoli พิพิธภัณฑ์รูปปั้นและประติมากรรมสลักหินอ่อน Thorvaldsen และโรงเบียร์ Carlsberg ซึ่งได้ทอดพระเนตรกระบวนการหมักดอกฮ็อปส์และมอลท์ รวมทั้งการหมักและการเก็บรักษาเบียร์ นอกจากนี้ ทรงได้ประทับล่องเรือ “Dannebrog” ร่วมกับพระราชวงศ์เดนมาร์กไปยังเมือง Helsingør ด้วย

การเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่สองเมื่อปี พ.ศ. 2450

ในการเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 27 มีนาคม - 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2450 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จฯ เยือนเดนมาร์กเป็นครั้งที่ 2 ด้วยในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2450 ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างสยามและเดนมาร์กแนบแน่นยิ่งขึ้น โดยทรงได้รับการต้อนรับจากสมเด็จพระราชาธิบดีเฟรเดอริกที่ 8 ให้ประทับที่พระราชวัง Bernstorff

ในระหว่างการเสด็จฯ เยือนเดนมาร์กครั้งนี้ ได้เสด็จฯ ไปยังเมือง Roskilde และเยี่ยมชมวิหาร Roskilde Cathedral ซึ่งเป็นสถานที่ฝังพระศพเก่าแก่ของกษัตริย์และราชินีแห่งเดนมาร์ก โดยทรงวัดส่วนสูงบน “เสาวิหารหลวง” ร่วมกับพระมหากษัตริย์เดนมาร์กในอดีต นอกจากนี้ ได้เสด็จฯ ไปเยือนที่พำนักของ Andreas du Plessis de Richelieu และ H.N. Andersen โดยมีสมาชิกในครอบครัวของบุคคลทั้งสองเฝ้าฯ รับเสด็จ

ในวันสุดท้ายของการเสด็จฯ เยือนเดนมาร์ก ได้ทรงล่องเรือไปยังคาบสมุทร Jutland และทรงหยุดประทับที่เมือง Aarhus ก่อนจะทรงล่องเรือต่อไปยังท่าเรือเมือง Frederikshavn และประทับรถไฟไปยังเมือง Skagen ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือสุดของคาบสมุทร Jutland โดยเสด็จฯ ถึงเมือง Skagen ในวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2450 และเสด็จฯ เยือนแหลมเกรเนนซึ่งตั้งอยู่ทางตอนเหนือสุดของเดนมาร์กและทรงปักธงช้างเผือกไว้ที่แหลมดังกล่าว ต่อมาได้พระราชทานธงช้างเผือกดังกล่าวให้แก่เมือง Skagen เป็นของขวัญ

ในโอกาสรำลึกวันครบรอบ 100 ปี ของการเสด็จประพาสเมือง Skagen ในปี พ.ศ. 2550  สโมสรไลออนส์เดนมาร์กและประเทศไทยร่วมกับ พญ. คุณหญิงอัมพร สุคนธมาน ที่ปรึกษากิตติศักดิ์สโมสรไลออนส์กรุงเทพ ได้จัดสร้างองค์หล่อพระบรมรูปทรงม้าสัมฤทธิ์เพื่อจัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์เมือง Skagen โดยเป็นองค์หล่อจำลองของพระบรมรูปทรงม้าที่ตั้งอยู่หน้าพระที่นั่งอนันตสมาคม หลังจากนั้น พระบรมรูปทรงม้าสัมฤทธิ์จำลองดังกล่าวได้ถูกย้ายไปประดิษฐานที่อาคาร Asia House ณ กรุงโคเปนเฮเกนจนถึงทุกวันนี้ โดยชุมชนไทยในเดนมาร์กและนักท่องเที่ยวชาวไทยจะเดินทางไปสักการะพระบรมรูปทรงม้าดังกล่าวเนื่องในโอกาสสำคัญ เช่น วันปิยมหาราช เป็นประจำทุกปี

 แหล่งข้อมูลและภาพ: 1) หนังสือ “A Tale of Two Kingdoms” จัดพิมพ์โดยบริษัท อีสเอเชียติก (ประเทศไทย) จำกัด เมื่อปี พ.ศ. 2539

2) หนังสือ Admiralen, Kongen & Kaptajnen, Danskere i Elefanternes Rige จัดพิมพ์โดยบริษัท Høst & Søn ในเดนมาร์กเมื่อปี พ.ศ. 2541

3) https://aarhuswiki.dk/wiki/Kong_Chulalongkorns_bes%C3%B8g_i_Aarhus_i_1907

4) https://scandasia.com/2547-the-exhibition-celebrating-100-years-of-king-rama-v-visit-denmark/

5) http://thai-dansk.dk/indvielse%20Kong%20Chulalongkorns%20rytterstatue.htm

6) www.kanalfrederikshavn.dk

7) www.siraphisut.com

วัตถุประสงค์สําคัญของการเสด็จประพาสยุโรปในพศ.

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ ถึงท่าเรือด่านศุลกากรกรุงโคเปนเฮเกนเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2440

วัตถุประสงค์สําคัญของการเสด็จประพาสยุโรปในพศ.

สมเด็จพระราชาธิบดีคริสเตียนที่ 9 ทรงให้การต้อนรับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในการเสด็จประพาสเดนมาร์กเมื่อปี พ.ศ. 2440

วัตถุประสงค์สําคัญของการเสด็จประพาสยุโรปในพศ.

สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ รัชการที่ 5 และรัชการที่ 9 ทรงวัดส่วนสูงบน “เสาวิหารหลวง” ในวิหาร Roskilde Cathedral ร่วมกับพระมหากษัตริย์เดนมาร์กในอดีต

วัตถุประสงค์สําคัญของการเสด็จประพาสยุโรปในพศ.

ในการเสด็จประพาสเดนมาร์กครั้งที่ 2 เมื่อปี พ.ศ. 2450 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงได้รับการต้อนรับจากสมเด็จพระราชาธิบดีเฟรเดอริกที่ 8 และพระราชวงศ์เดนมาร์กเมื่อเสด็จฯ ถึงสถานีรถไฟใจกลางกรุงโคเปนเฮเกน ก่อนที่จะเสด็จฯ ไปยังพระราชวัง Amalienborg โดยรถม้า

วัตถุประสงค์สําคัญของการเสด็จประพาสยุโรปในพศ.

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปักธงช้างเผือกที่แหลมเกรเนนซึ่งตั้งอยู่ทางตอนเหนือสุดของเดนมาร์กเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2450

วัตถุประสงค์สําคัญของการเสด็จประพาสยุโรปในพศ.

ธงช้างเผือกเมื่อครั้งที่ได้จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์เมือง Skagen เมื่อปี พ.ศ. 2550

วัตถุประสงค์สําคัญของการเสด็จประพาสยุโรปในพศ.

สถานเอกอัครราชทูตฯ และชุมชนไทยในเดนมาร์กร่วมสักการะพระบรมรูปทรงม้าที่อาคาร Asia House เนื่องในโอกาสวันปิยมหาราช ปี 2562