สินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตน มีอะไรบ้าง

เขียนโดย M027เผยแพร่เมื่อ: 09 พฤศจิกายน 2558สร้างเมื่อ: 09 พฤศจิกายน 2558อัปเดตล่าสุดเมื่อ: 01 พฤศจิกายน 2559

สินทรัพย์ไม่มีตัวตน (Intangible Assets)

     สินทรัพย์ไม่มีตัวตน หมายถึง สินทรัพย์ที่ไม่ใช่ตัวเงิน แต่ สามารถวัดมูลค่าได้อย่างน่าเชื่อถือ ไม่สามารถจับต้องได้ อยู่ภายใต้การควบคุมของกิจการ และ จะให้ผลประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคต

ประเภทของสินทรัพย์ไม่มีตัวตน

     1. สิทธิบัตร ( Patent ) หมายถึง หนังสือสำคัญที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์คิดค้นหรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ ที่เกี่ยวกับการประดิษฐ์คิดค้นหรือการออกแบบ เพื่อให้ได้สิ่งของ,เครื่องใช้หรือสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆที่เราใช้กันอยู่ในชีวิตประจำวัน เช่น การประดิษฐ์รถยนต์, โทรทัศน์, หรือการออกแบบขวดบรรจุน้ำดื่ม, ขวดบรรจุน้ำอัดลม หรือการออกแบบลวดลายบนจานข้าว, ถ้วยกาแฟ ไม่ให้เหมือนของคนอื่น เป็นต้น

     2. ลิขสิทธิ์ ( Copyrights ) หมายถึง สิทธิแต่ผู้เดียวที่กฎหมายรับรองให้ผู้สร้างสรรค์กระทำการใด ๆ เกี่ยวกับงานที่ตนได้ทำขึ้น อันได้แก่ สิทธิที่จะทำซ้ำ ดัดแปลง หรือนำออกโฆษณา

     3. สิทธิการเช่า ( Leasehold ) หมายถึง สิทธิที่ได้รับเหนืออสังหาริมทรัพย์ที่เช่าจากเจ้าของสินทรัพย์โดยตรงตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญา ซึ่งปกติจะมีระยะเวลานาน โดยผู้ให้เช่าจะได้รับค่าตอบแทนเป็นการแลกเปลี่ยน.

     4. สัมปทานและการอนุญาตให้ใช้สิทธิ ( Franchises and Licening ) หมายถึง สิทธิที่รัฐบาลหรือบุคคลให้บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลเพื่อประกอบกิจการเฉพาะอย่างหรือเป็นตัวแทนขายผลิตภัณฑ์ในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง

     5. เครื่องหมายการค้าและยี่ห้อการค้า ( Trademark and Tradename ) หมายถึง เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์หรือตราที่ใช้กับสินค้าหรือบริการ เครื่องหมายการค้ามี 4 ประเภท ดังต่อไปนี้
          - เครื่องหมายการค้า (Trade Mark) คือ เครื่องหมายที่ใช้เป็นที่หมายเกี่ยวข้องกับสินค้าเพื่อแสดงว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายนั้นแตกต่างกับสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่น เช่น บรีส มาม่า กระทิงแดงเป็นต้น
          - เครื่องหมายบริการ (Service Mark) คือ เครื่องหมายที่ใช้เป็นที่หมายหรือเกี่ยวข้องกับบริการ เพื่อแสดงว่าบริการที่ใช้เครื่องหมายนั้นแตกต่างกับบริการที่ใช้เครื่องหมายบริการของบุคคลอื่น เช่น เครื่องหมายของสายการบิน ธนาคาร โรงแรม เป็นต้น
           - เครื่องหมายรับรอง (Certification Mark) คือ เครื่องหมายที่เจ้าของเครื่องหมายรับรองใช้เป็นที่หมายหรือเกี่ยวข้องกับสินค้าและบริการของบุคคลอื่น เพื่อเป็นการรับรองคุณภาพของสินค้า หรือบริการนั้น เช่นเชลล์ชวนชิม แม่ช้อยนางรำ ฮาลาล (Halal) เป็นต้น
           - เครื่องหมายร่วม (Collective Mark) คือ เครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการที่ใช้โดยบริษัทหรือวิสาหกิจในกลุ่มเดียวกัน หรือโดยสมาชิกของสมาคม กลุ่มบุคคล หรือองค์กรอื่นใดของรัฐหรือเอกชน เช่น ตราช้างของบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด เป็นต้น

      6. ค่าความนิยม ( Goodwill ) หมายถึง หมายถึง คุณค่าที่เกิดขึ้นภายในกิจการนั้นเอง คุณค่าที่เกิดขึ้นจนเป็นค่าความนิยมคือ ความสามารถในการหารายได้ มากกว่ากิจการที่อยู่ในอุตสาหกรรมประเภทเดียวกัน เกิดจากการมีความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้า สถานที่ตั้งกิจการอยู่ในทำเลที่ดี การบริหารงานดีเป็นที่เชื่อถือ ประสิทธิภาพในการผลิตดี ผลประกอบการดี ทำกิจการค้ามานานจนเป็นที่รู้จักของบุคคลทั่วไป ทำให้เกิดความเชื่อถือและเกิดจากการผูกขาดทำกิจการนั้นแต่เพียงผู้เดียว เป็นต้น เช่น ชาเขียวโออิชิ , เป็ปซี่ ฯลฯ กิจการที่ได้รับความนิยมจะตีราคาค่าความนิยมของตนเองขึ้นมาเป็นตัวเลขเพื่อบันทึกไว้ในบัญชีของกิจการไม่ได้

สามารถอ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมได้ ที่ งบการเงิน ( Financial Statement ) , เงินสดย่อย (Petty Cash)

         การจำหน่ายค่าความนิยมออกจากบัญชี เมื่อซื้อกิจการผู้อื่นมาดำเนินงานต่อโดยมีค่าความนิยมและได้บันทึกค่าความนิยมในบัญชีเรียบร้อยแล้ว กิจการจะคงค่าความนิยมไว้ในบัญชีต่อไป โดยถือว่าค่าความนิยมเป็นสินทรัพย์ที่มีอายุไม่จำกัด ตราบใดค่าความนิยมยังคงอยู่และดีขึ้นเรื่อยๆ ให้คงจำนวนค่าความนิยมไว้ในบัญชีตลอดไป แต่เมื่อไหร่เจ้าของกิจการคิดค่าความนิยมเริ่มลดลงอาจเป็นเพราะการบริหารงานเริ่มไม่ดี มีคู่แข่งที่ดีกว่า ฯลฯ เจ้าของกิจการอาจจะประมาณว่าค่าความนิยมจะคงอยู่ได้เพียง 5 ปี ก็ให้จำหน่ายค่าความนิยมออกจากบัญชีภายในระยะเวลา 5 ปี

👉สินทรัพย์ที่เข้าเกณฑ์ตามนิยามของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนตามนิยามของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 51 มีดังนี้ค่ะ

สินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตน มีอะไรบ้าง

1.สามารถแยกเป็นเอกเทศได้ กล่าวคือ สามารถแยกหรือแบ่งจากกิจการ และสามารถ ขาย โอน ให้สิทธิ ให้เช่า หรือแลกเปลี่ยนได้อย่างอิสระ

2.ได้มาจากการทำสัญญาหรือสิทธิทางกฎหมายอื่นๆ หรือภาระผูกพันอื่นๆ

▪️ โดยกิจการมักใช้ทรัพยากรหรือการก่อให้เกิดหนี้สินเพื่อให้ได้มาซึ่งสินทรัพย์ไม่มีตัวตน เพื่อนำมาพัฒนา รักษา หรือยกระดับองค์กรเช่น ความรู้หรือเทคนิคด้านต่างๆ การออกแบบ การนำระบบหรือกระบวนการใหม่มาปฏิบัติ สิทธิตามใบอนุญาต สินทรัพย์ทางปัญญา เครื่องหมายการค้า รวมถึงชื่อผลิตภัณฑ์หรือสิ่งพิมพ์ ตัวอย่างเช่น โปรแกรมคอมพิวเตอร์ สิทธิบัตร ลิขสิทธิ์ ฟิล์มภาพยนตร์ รายชื่อลูกค้า สิทธิในการให้บริการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ใบอนุญาตทำการประมง โควตานำเข้าสินค้า รวมไปถึงส่วนแบ่งทางการตลาดและสิทธิทางการตลาด เป็นต้น

👉กิจการจะรับรู้สินทรัพย์ไม่มีตัวตนก็ต่อเมื่อเข้าเกณฑ์ดังต่อไปนี้

1.มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่กิจการจะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตจากสินทรัพย์นั้น

2.ราคาทุนของสินทรัพย์สามารถวัดมูลค่าได้อย่างน่าเชื่อถือ

👉และกิจการต้องตัดสินทรัพย์ไม่มีตัวตนออกจากบัญชีเมื่อ

1.กิจการจำหน่ายสินทรัพย์ไม่มีตัวตนออก

2.กิจการคาดว่าจะไม่ได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตจากสินทรัพย์นั้นทั้งจากการมาใช้ประโยชน์หรือจากการขาย

.

.

➡️หากคุณกำลังมองหาสำนักงานบัญชีออนไลน์ หรือตัวช่วยในการบริหารจัดการธุรกิจออนไลน์ AccRevo สามารถช่วยคุณได้

สินทรัพย์ไม่มีตัวตนเช่นอะไรบ้าง

สินทรัพย์ไม่มีตัวตน Intangible Asset หมายถึง สินทรัพย์ที่ไม่เป็นตัวเงินที่สามารถระบุได้และไม่มีรูปธรรมซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่หน่วยงานถือไว้เพื่อใช้ในการผลิตหรือจำหน่ายสินค้าหรือให้บริการ เพื่อให้ผู้อื่นเช่า หรือเพื่อวัตถุประสงค์ในการบริหารงาน ตัวอย่างสินทรัพย์ไม่มีตัวตน เช่น โปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Computer Software) รวมถึง ...

ข้อใดจัดเป็นสินทรัพย์ไม่มีตัวตน (Intangible Assets)

สินทรัพย์ไม่มีตัวตน (Intangible Asset) คือ สินทรัพย์ที่ไม่เป็นตัวเงินที่สามารถระบุได้และไม่มีกายภาพตามที่กำหนดในมาตรฐานการรายงานทางการเงิน เช่น ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร สัมปทาน เป็นต้น

สินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้ มีอะไรบ้าง

Intellectual Design Group.
สิทธิบัตร ( Patent ).
ลิขสิทธิ์ ( Copyrights ).
สิทธิการเช่า ( Leasehold ).
สัมปทานและการอนุญาตให้ใช้สิทธิ ( Franchises and Licening ).
เครื่องหมายการค้าและยี่ห้อการค้า ( Trademark and Tradename ).
ค่าความนิยม ( Goodwill ).

ไม่มีตัวตนคืออะไร

(adj) ไม่มีตัวตน, ไม่เป็นแก่นสาร, ไม่สำคัญ, ไม่ใช่วัตถุ impalpable. (adj) สัมผัสไม่ได้, ไม่มีตัวตน, ยากจะเข้าใจ