ตัวอย่างหนังสือรับสภาพหนี้ ยักยอก

 ตอนนี้นายจ้างนายไปลงบันทึกประจำวันว่าหนูได้เอาเงินของลูกค้าไป 13000บาท ซึ่งก็เปนความจิรงและหนูก็ยอมรับเอาไปจริง และเขาก็ทำสัญญาเงินกู้กับหนังสือยอมรับสภาพความเปนหนี้ให้หนูเซ็น  พร้อมกับเอาไปลงบันทึกประจำวัน ภายในสองเดือนหนูต้องหาเงินจำนวนี้ไปคืนเขา แต่หนูอยากรู้ว่าถ้าไม่มีเงินไปให้เขาก็จะแจ้งความเอาเรื่อง มันเปนคดีเพ่งหรืออาญาคะ แล้วมันหนักขนาดใหน หนูกลัวไม่มีเงินให้คะ 

โดยคุณ จนตรอก (183.89.xxx.xxx) 8 พ.ค. 2556, 10:33

ความคิดเห็นที่ 8

มีคนรู้จักยืมเงินไป 40,000 บาท ทำสัญญารับสภาพหนี้ไว้ให้จะจ่ายให้ครบภายใน10 เดือน โดยจะเริ่มจ่ายทุกเดือน พอหลังจาก3เดือน เขาไม่จ่ายเราจะเอาหนังสือรับสภาพหนี้ไปแจ้งความแล้วเชิญตัวไปโรงพักได้มั๊ย และคดีนี้จะเป็นอาญาได้หรือไม่ เพราะเขาเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจ จริงๆเขามีเงินพอที่จะจ่ายได้แต่เขาไปเที่ยวพูดว่า อย่างไงๆตำรวจและกฎหมายทำอะไรเขาไม่ได้ องค์กรเขามีนิติกร ขอความกรุณาด้วยค่ะ

โดยคุณ พัทธนันท์ 13 พ.ค. 2558, 12:08

ตอบความคิดเห็นที่ 8

ตามพฤติการณ์เป็นเรื่องความรับผิดชำระหนี้ในทางกฎหมายแพ่งที่ท่านชอบที่จะนำหลักฐานแห่งการกู้ยืมดังกล่าวมาฟ้องร้องให้บังคับคดีได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 653

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 10 มิ.ย. 2558, 10:25

ความคิดเห็นที่ 7

หนังสือรับสภาพหนี้ในคดีอาญา หากไม่ระบุข้อความสละสิทธิไว้ คดีอาญายังไม่ระงับครับ 

โดยคุณ นวพรรธน์ 29 ต.ค. 2557, 15:35

ตอบความคิดเห็นที่ 7

กรณีต้องพิจารณาว่าเป็นคดีอาญาความผิดต่อส่วนตัวหรืออาญาแผ่นดิน เพราะมีผลทางกฎหมายต่างกัน เมื่อมีการตกลงยอมความกัน

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 2 ธ.ค. 2557, 16:41

ความคิดเห็นที่ 6

 ยักยอกเป็นจำนวนเงิน 500,000 บาท ขอความคิดเห็นห้วยค่ะ ว่าสามารถทำอย่างไรได้บ้าง

โดยคุณ ความผิดครั้งยิ่งใหญ่ 3 ก.ค. 2557, 13:36

ตอบความคิดเห็นที่ 6

หากมีการกระความผิดจริงตามข้อกล่าวหา ผู้กระทำผิดควรเจรจาไกล่เกลี่ยกับผู้เสียหายด้วยการชดใช้เงินตามจำนวนที่ยักยอกไปคืนให้แก่ผู้เสียหายเพื่อมีการถอนคำร้องทุกข์ ถอนฟ้องหรือยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมายเพราะความผิดฐานยักยอกเป็นคดีความผิดต่อส่วนตัวอันสามารถยอมความกันได้และมีผลทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39 (2)

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 31 ก.ค. 2557, 16:50

ความคิดเห็นที่ 5

ความผิดฐานยักยอก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 )
 

โดยคุณ วิชย ไทรวิจิตร (สมาชิก) 10 พ.ค. 2556, 12:53

ความคิดเห็นที่ 4

ในเมื่อเจ้าของกระทู้กระทำความผิดอาญายักยอกทรัพย์สินของนายจ้างเขาไปจริง ก็ควรจะนำเงินไปชดใช้เขาให้ครบโดยเร็วครับ

สำหรับความผิดฐานยักยอก กฎหมายยังปรานีว่า ให้โอกาสผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์หรือยอมความได้ ซึ่งจะทำให้คดีจะถูกจำหน่ายออกจากสารบบความโดยผู้กระทำความผิดไม่ต้องรับโทษ

การตีความว่าการรับสภาพหนี้ เป็นการยอมความหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอยู่

และ ในข้อเท็จจริงแล้วตรงตามเจตนารมย์ที่แท้จริงของผู้เสียหายหรือไม่

ในบันทึกประจำวันตำรวจลงบันทึกไว้ว่าอย่างไร ในหนังสือรับสภาพหนี้มีข้อความว่าอย่างไร ผู้ที่ตกลงให้ยอมความมีอำนาจยอมความแทนผู้เสียหายหรือไม่

เมื่อเป็นหนี้ค่าเสียหายและทำหนังสือรับสภาพหนี้เป็นเรื่องทางแพ่ง ยิ่งกำหนดภายใน 2 เดือน แสดงถึงเจตนาว่าตอนนี้ยังไม่ร้องทุกข์ ถ้าไม่ชำระหนี้ก็จะมาแจ้งความร้องทุกข์ใหม่ภายในอายุความ 3 เดือน

ถ้าผู้เสียหายประสงค์จะยอมความอย่างแท้จริง ก็ควรจะไม่แจ้งความร้องทุกข์เลยจนขาดอายุความ 3 เดือน ไปเลย หรือ ถ้าแจ้งความแล้ว ก็ถอนคำร้องทุกข์ให้ถูกต้องตามระเบียบ ครับ
 

โดยคุณ วิชย ไทรวิจิตร (สมาชิก) 10 พ.ค. 2556, 12:47

ความคิดเห็นที่ 3

ในเมื่อเจ้าของกระทู้กระทำความผิดอาญายักยอกทรัพย์สินของนายจ้างเขาไปจริง ก็ควรจะนำเงินไปชดใช้เขาให้ครบโดยเร็วครับ  

สำหรับความผิดฐานยักยอก กฎหมายยังปรานีว่า ให้โอกาสผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์หรือยอมความได้ ซึ่งจะทำให้คดีจะถูกจำหน่ายออกจากสารบบความโดยผู้กระทำความผิดไม่ต้องรับโทษ

การตีความว่าการรับสภาพหนี้ เป็นการยอมความหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอยู่

และ ในข้อเท็จจริงแล้วตรงตามเจตนารมย์ที่แท้จริงของผู้เสียหายหรือไม่ 

ในบันทึกประจำวันตำรวจลงบันทึกไว้ว่าอย่างไร  ในหนังสือรับสภาพหนี้มีข้อความว่าอย่างไร ผู้ที่ตกลงให้ยอมความมีอำนาจยอมความแทนผู้เสียหายหรือไม่

เมื่อเป็นหนี้ค่าเสียหายและทำหนังสือรับสภาพหนี้เป็นเรื่องทางแพ่ง ยิ่งกำหนดภายใน 2 เดือน แสดงถึงเจตนาว่าตอนนี้ยังไม่ร้องทุกข์ ถ้าไม่ชำระหนี้ก็จะมาแจ้งความร้องทุกข์ใหม่ภายในอายุความ 3 เดือน 

ถ้าผู้เสียหายประสงค์จะยอมความอย่างแท้จริง ก็ควรจะไม่แจ้งความร้องทุกข์เลยจนขาดอายุความ 3 เดือน ไปเลย หรือ ถ้าแจ้งความแล้ว ก็ถอนคำร้องทุกข์ให้ถูกต้องตามระเบียบ ครับ

โดยคุณ 10 พ.ค. 2556, 12:45

ความคิดเห็นที่ 2

การที่ท่านทำสัญญาเงินกู้กับหนังสือรับสภาพหนี้ให้แก่นายจ้างผู้เสียหายโดยมีข้อตกลงให้ท่านนำเงินมาคืนนายจ้างภายในกำหนด อันเป็นข้อตกลงที่มีเงื่อนไขให้ท่านจะต้องปฏิบัติตามข้อตกลงก่อน จึงไม่ใช่การยอมความโดยสิ้นเชิง หากแต่เป็นการยอมความโดยมีเงื่อนไข การยอมความในลักษณะเช่นนี้จะมีผลให้สิทธิการนำคดีอาญามาฟ้องระงับไปต่อเมื่อท่านชดใช้เงินคืนแก่นายจ้างแล้ว กรณีจึงเป็นเรื่องความรับผิดทางอาญา

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 10 พ.ค. 2556, 10:55

ความคิดเห็นที่ 1

 ถ้าเป็นคดียักยอกทรัพย์  เมื่อนายจ้างยินยอมให้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ไว้   ถือว่าเป็นการยอมความตามกฎหมาย   สิทธิการฟ้องคดีอาญา ฐานยักยอกทรัพย์ ย่อมหมดไป    นายจ้างคงฟ้องทางแพ่งได้เพียงตามสัญญารับสภาพหนี้ ครับ

โดยคุณ มโนธรรม เจษฎาสาธุชน (สมาชิก) 8 พ.ค. 2556, 20:32