สินค้าที่มี vat มีอะไรบ้าง

สินค้า หรือธุรกิจที่ได้รับการยกเว้นภาษี

สินค้าที่มี vat มีอะไรบ้าง

ผู้ประกอบกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย แต่มีสิทธิแจ้งขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้แก่

  1. ผู้ประกอบกิจการขายสินค้าพืชผลทางการเกษตร สัตว์ไม่ว่ามีชีวิตหรือไม่มีชีวิต ปุ๋ย ปลาป่นอาหารสัตว์ ยาหรือเคมีภัณฑ์ที่ใช้สำหรับพืชหรือสัตว์ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือตำราเรียน
  2. ผู้ประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการ ซึ่งไม่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมายและมีรายรับไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี
  3. การให้บริการขนส่งในราชอาณาจักรโดยท่าอากาศยาน
  4. การส่งออกของผู้ประกอบการในเขตอุตสาหกรรมส่งออกตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
  5. การให้บริการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงทางท่อในราชอาณาจักร

ที่มาของข้อมูล :  https://www.rd.go.th/publish/7059.0.html


กิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม

การได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มแบ่งได้เป็น 3 กรณี ดังนี

1.การขายสินค้า (มิใช่การส่งออก) หรือการให้บริการ ดังต่อไปนี้

     (ก) ขายพืชผลทางการเกษตร ไม่ว่าจะเป็นลำต้น กิ่ง ใบ เปลือก หน่อ ราก เหง้า ดอก หัว ฝัก เมล็ดรวมถึงส่วนอื่น ๆ ของพืช และวัตถุพลอยได้จากพืช แต่จะต้องอยู่ในสภาพสด หรือรักษาสภาพไว้เพื่อมิให้เสียเป็นการชั่วคราวในระหว่างการขนส่งด้วยการแช่เย็น 

     (ข) การขายสัตว์ ไม่ว่าจะมีชีวิตหรือไม่มีชีวิต ไม่ว่าจะเป็นเนื้อ ส่วนต่าง ๆ ของสัตว์ ไข่ น้ำนม (ต้องไม่ผ่านการปรุงแต่ง รส กลิ่น สี) และวัตถุพลอยได้จากสัตว์ แต่จะต้องอยู่ในสภาพสด หรือรักษาสภาพไว้เพื่อมิให้เสียเป็นการชั่วคราวในระหว่างการขนส่งด้วยการแช่เย็น 

     ในกรณีที่ (ก) (ข) ถูกทำเป็นอุตสาหกรรม คือ บรรจุกระป๋อง ภาชนะหรือหีบห่อ ที่ผนึกในลักษณะมั่นคง แต่ไม่รวมถึงนมสด ที่มิได้มีการปรุงแต่ง รส กลิ่น และ สี จะถือว่าไม่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม

     (ค) การขายปุ๋ย

     (ง) การขายปลาป่น อาหารสัตว์

     (จ) การขายยา หรือเคมีภัณฑ์ที่ใช้สำหรับพืชหรือสัตว์ เพื่อบำรุงรักษาป้องกัน ทำลาย หรือกำจัดศัตรู หรือโรคของพืช และสัตว์  

     (ฉ) การขายหนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือตำราเรียน (กรณีขายเทปประกอบตำราเรียน ได้รับยกเว้น)

     (ช) การให้บริการการศึกษาของสถานศึกษาของทางราชการ เอกชน

     (ซ) การให้บริการที่เป็นงานทางศิลปะและวัฒนธรรมในสาขา

     (ฌ) การให้บริการประกอบโรคศิลป การสอบบัญชี การว่าความ หรือการประกอบวิชาชีพอิสระอื่น

     (ญ) การให้บริการรักษาพยาบาลของสถานพยาบาล

     (ฎ) การให้บริการวิจัย หรือการให้บริการทางวิชาการ (บางสาขาที่กำหนดไว้)

     (ฏ) การให้บริการห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ สวนสัตว์

     (ฐ) การให้บริการตามสัญญาจ้างแรงงาน

     (ฑ) การให้บริการจัดแข่งขันกีฬาสมัครเล่น

     (ฒ) การให้บริการของนักแสดงสาธารณะ ตามประกาศอธิบดีฯ (ฉบับที่ 13)

     (ณ) การให้บริการขนส่งในราชอาณาจักร

     (ด) การให้บริการขนส่งระหว่างประเทศ ซึ่งมิใช่เป็นการขนส่งโดยอากาศยานหรือเรือเดินทะเล

     (ต) การให้บริการเช่าอสังหาริมทรัพย์

     (ถ) การให้บริการของราชการส่วนท้องถิ่น

     (ท) การขายสินค้าหรือการให้บริการของกระทรวง ทบวง กรม ซึ่งส่งรายรับทั้งสิ้นให้แก่รัฐโดยไม่หักรายจ่าย

     (ธ) การขายสินค้าหรือการให้บริการเพื่อประโยชน์แก่การศาสนา หรือการสาธารณกุศลภายในประเทศ ซึ่งไม่นำผลกำไรไปจ่ายในทางอื่น

     (น) การขายสินค้าหรือการให้บริการตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎี

2.การนำเข้าสินค้า ดังต่อไปนี้

     (ก) สินค้าตามข้อ 1 (ก) – (ฉ)

     (ข) สินค้าจากต่างประเทศที่นำเข้าไปในเขตปลอดอากร ทั้งนี้เฉพาะสินค้าที่ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น

     (ค) สินค้าที่จำแนกประเภทไว้ในภาคว่าด้วยของที่ได้รับยกเว้นอากรตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร

     (ง) สินค้าซึ่งนำเข้าและอยู่ในอารักขาของศุลกากร แล้วได้ส่งกลับออกไปต่างประเทศ โดยได้คืนอากรขาเข้าตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร

     (จ) การนำเข้าสินค้าของสถานศึกษาของรัฐ สถานศึกษาของเอกชนที่จัดการศึกษาในระบบตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ หน่วยงานที่กฎหมายกำหนดให้มีหน้าที่และวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษา และการวิจัยอันเป็นประโยชน์ต่อการศึกษา

3. ผู้ประกอบการซึ่งประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และกิจการดังกล่าวมีมูลค่าของฐานภาษีไม่เกินมูลค่าของฐานภาษีของกิจการขนาดย่อม คือมูลค่าไม่เกิน 1,800,000 บาทต่อปี


ข้อควรจำ

     (1) ผู้ประกอบการต่อไปนี้มีสิทธิขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและเสียภาษีมูลค่าเพิ่มได้

          1.1 ผู้ประกอบการที่ได้รับยกเว้นประกอบธุรกิจตามข้อ 1 กรณี (ก) – (ฉ)

          1.2 กิจการขนาดย่อมตามข้อ 3

          1.3 กิจการอื่นตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 241) ได้แก่

               1.3.1 กิจการขนส่งในราชอาณาจักรโดยอากาศยาน

               1.3.2 การส่งออกของผู้ประกอบการในเขตอุตสาหกรรมส่งออก

               1.3.3 การให้บริการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงทางท่อในราชอาณาจักรและการให้บริการขนส่งในราชอาณาจักรสำหรับขนส่งทางทะเลโดยเรือเดินทะเล

(2) การใช้สิทธิขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามข้อ (1) ส่งผลให้ผู้ประกอบการจดมีสิทธิและหน้าที่ความรับผิดชอบต่างๆ เสมือนผู้ประกอบการจดทะเบียนทั่วไป  

จากการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม 3 กรณีข้างต้น สามารถสรุปเป็นประเภทของการยกเว้นได้ 5 ประเภท

1. การขายสินค้า
23 รายการ
2. การให้บริการ
28 รายการ
3. การนำเข้า
5 รายการ
4. การส่งออก
1 รายการ
5. อื่นๆ

แหล่งที่มาของข้อมูล : กลุ่มนักวิชาการภาษีอากร. ภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร 2557. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์เรือนแก้วการพิมพ์, 2557. ไพจิตร โรจนวานิช. คำอธิบายประมวลรัษฎากร ภาษีสรรพากร เล่ม 2. กรุงเทพฯ : เอ็น วาย ซี แมนเนจเมนท์, 2557. สมคิด บางโม. ภาษีอากรธุรกิจ. กรุงเทพฯ : วิทยพัฒน์, 2557. 

Website ที่เกี่ยวข้อง :   https://www.rd.go.th/publish/5206.0.html  (กรมสรรพากร) 


ขอบคุณลูกค้าที่เลือกใช้บริการ CESSTANT CLOUD ระบบบริหารจัดการสต็อกสินค้า และการขาย

สนใจใช้งานระบบ ติดต่อสอบถาม หรือนัดหมายนำเสนอ กรุณาติดต่อ

👉 066-159-5593 คุณตั้ม, 064-969-6698 คุณบีม หรือ LINE : @THEVIRUS ได้เลยครับ

#ระบบสต็อก #ระบบการขาย #ฝากขายสินค้า #สินค้าแบรนด์ #มัลติแบรนด์ #มัลติสโตร์ #ระบบฝากขายสินค้า #ระบบรับฝากขายสินค้า #POS #ERP #CRM #MULTISTORE #MULTIBRAND #CESSTANT