ความปลอดภัยในการเคลื่อนย้ายวัสดุ ppt

ขั้นตอนการย้ายวัสดุที่ปลอดภัย

1.  เลือกใช้เครื่องมือทุ่นแรงหรือเครื่องจักรช่วยในการเคลื่อนย้ายวัสดุเป็นอันดับแรก

2.  ยกวัสดุขึ้นมาแล้วรู้สึกหนักงานหรือไม่ถนัดควรเรียกผู้อื่นมาช่วย

3.  พยายาม ยก ถือ หรือแบกหามวัสดุไว้ใกล้ตัวมากที่สุด

4.  ขณะยกของขึ้นสูง หลังต้องตรงงมากที่สุดใช้กล้ามเนื้อขาและแขน หลีกเลี่ยงที่ใช้้กล้ามเนื้อหลัง

5.  วัสดุที่ยกขึ้นมาต้องไม่บดบังทิศทางหรือการเดิน

6.  วัสดุที่ยาว การถือหรือแบกหามควรใช้ 2 คนเสมอ แม้ว่าจะมีน้ำหนักเบา

7.  สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลให้เหมาะสมกับอันตรายที่อาจไ้ดรับจากวัสดุที่เคลื่อนย้าย

อันตรายจากการยกย้ายวัสดุ

1. การเคลื่อนย้ายด้วยมือ ซึ่งเราจะต้องพิจารณาจากสิ่งของวัสดุที่จะต้องทำการเคลื่อนย้ายโดยใช้มือยก และจะต้องพิจารณาถึงการใช้เครื่องป้องกันอันตรายส่วนบุคคล (PersonalProtective Device = PPD) ตลอดจนความเหมาะสมของผู้ที่จะปฏิบัติงานไปด้วยพร้อม ๆ กัน อย่างในกรณีที่มีการใช้อุปกรณ์ช่วยขนย้าย เช่น พวกล้อเลื่อน, รถเข็นต่าง ๆ นั้น เราก็ควรที่จะมีข้อระวัง ดังต่อไปนี้ คือการวางของ ห้ามวางเอียง และไม่ควรบรรทุกของเกินน้ำหนักรถ หรือตั้งของสูงเกินไป จนในขณะที่เข็ญรถอยู่นั้นไม่สามารถมองเห็นทางข้างหน้าอย่างถนัดและชัดเจนกรณีถ้าเป็นทางลาดลง เราควรจะเข็นรถ โดยให้ตัวรถเข็นอยู่ทางด้านหน้าของผู้เข็น ถ้ากรณีเข็นรถขึ้นทางลาด เราควรให้ผู้เข็นลากรถ โดยให้ตัวรถอยู่ทางด้านหลังของผู้เข็น

2. การเคลื่อนย้ายวัสดุด้วยเครื่องจักร ซึ่งเราสามารถพิจารณาได้จากหลักการ ดังต่อไปนี้ คือเครื่องจักร หรือรถต้องมีหลังคา และต้องมีอุปกรณ์ควบคุม เพื่อจำกัดขีดความสูงสุดหรือต่ำสุดของรถการใช้รถให้ถูกลักษณะของงาน และถ้าเป็นรถที่ต้องใช้น้ำมันเชื้อเพลิง กรณีที่มีการใช้รถในที่ ๆ อับอากาศ สถานที่ ๆ นั้น ควรจะมีออกซิเจนเพียงพอแก่การหายใจผู้ขับขี่จะต้องมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง รวมถึงผู้ขับขี่จะต้องได้รับการฝึกหัดให้มีการใช้รถสำหรับงานอุตสาหกรรมอย่างถูกต้อง และปลอดภัย อีกทั้งจะต้องเป็นผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ขับขี่รถสำหรับงานอุตสาหกรรมเพียงเท่านั้น และควรมีเครื่องหมายเป็นหลักฐานที่สามารถมองเห็นอย่างชัดเจนได้ว่า บุคคล ๆ นั้นได้รับมอบหมายในงานดังกล่าวโดยตรงอุบัติเหตุในสำนักงานมีหลายประเภท หากพิจารณาจากสภาพที่เป็นอันตรายจะมีทั้งที่บาดเจ็บเล็กน้อยหรือไม่รุนแรง แต่บางชนิดก็มีความรุนแรงทำให้ผู้ประสบอุบัติเหตุได้รับอันตรายรุนแรงพิการเสียชีวิต หรืออย่างน้อยต้องหยุดลางานเป็นเวลานาน อุบัติเหตุในสำนักงานที่นับว่ารุนแรงที่สุด คืออัคคีภัย สาเหตุส่วนใหญ่ของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในสำนักงานมักเกี่ยวกับการ

ลื่น และการพลัดตกหกล้มการขัดยอกจากการใช้กำลังมากเกินไป ชนกับสิ่งของหรือกับผู้ปฏิบัติงานด้วยกัน สิ่งของกระแทก หรือบีบอัดอยู่ระหว่างของแข็ง

บริเวณที่วัสดุเคลื่อนย้ายผ่าน

1.  พื้นลื่น มีช่องเปิดหรือเป็นหลุมหรือมีน้ำขัง

2.  ทางเดินไม่มีสิ่งของวางเกะกะ

3.  แหล่งความร้อนและประกายไฟ

4.  เส้นผ่านที่รถยนต์วิ่งผ่าน ควรมีป้ายบอกรถยนต์ที่วิ่งผ่าน

5.  บันไดหรือทางลาด ต้องมีวัสดุกันลื่นที่ขั้นบันไดหรือทางลาด

กฎกระทรวง

กำหนดอัตราน้ำหนักที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานได้

พ.ศ. ๒๕๔๗

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ และมาตรา ๓๗ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๑ มาตรา ๓๕ มาตรา ๔๘ และมาตรา ๕๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ ๑  ให้นายจ้างใช้ลูกจ้างทำงานยก แบก หาม หาบ ทูน ลาก หรือเข็นของหนักไม่เกินอัตราน้ำหนักโดยเฉลี่ยต่อลูกจ้างหนึ่งคน ดังต่อไปนี้

(๑) ยี่สิบกิโลกรัมสำหรับลูกจ้างซึ่งเป็นเด็กหญิงอายุตั้งแต่สิบห้าปีแต่ยังไม่ถึงสิบแปดปี

(๒) ยี่สิบห้ากิโลกรัมสำหรับลูกจ้างซึ่งเป็นเด็กชายอายุตั้งแต่สิบห้าปีแต่ยังไม่ถึงสิบแปดปี

(๓) ยี่สิบห้ากิโลกรัมสำหรับลูกจ้างซึ่งเป็นหญิง

(๔) ห้าสิบห้ากิโลกรัมสำหรับลูกจ้างซึ่งเป็นชาย

ในกรณีของหนักเกินอัตราน้ำหนักที่กำหนดตามวรรคหนึ่ง ให้นายจ้างจัดให้มีและให้ลูกจ้างใช้เครื่องทุนแรงที่เหมาะสม และไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัยของลูกจ้าง

ข้อ ๒[๑]  กฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๓ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๗

อุไรวรรณ  เทียนทอง

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๓๗ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ ได้บัญญัติห้ามมิให้นายจ้างให้ลูกจ้างทำงาน ยก แบก หาม หาบ ทูน ลาก หรือเข็นของหนักเกินอัตราน้ำหนักตามที่กำหนดในกฎกระทรวง จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้