พระราชกรณียกิจ ร.9 ด้านต่างๆ

วิธีการปกครอง และคุณสมบัติของผู้ปกครอง๒. พระราชภาระในการแก้ไขวิกฤติการณ์ทางการเมืองไทยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงเป็น ศูนย์รวมจิตใจทางการเมืองการปกครองของปวงชน ชาวไทย ทรงดำรงฐานะเป็นองค์พระประมุขของประเทศ ทรงดำรงฐานะจอมทัพไทย ทรงเป็นที่เคารพสักการะผู้ใดจะละเมิดมิได้ ผู้ใดจะฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใดๆ มิได้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงอยู่ภายในกรอบแห่งกฎหมายรัฐธรรมนูญ แต่ทรงอยู่เหนือการเมือง และทรงเป็นกลางทางการเมือง พระราชอำนาจของพระองค์ แม้ว่าจะได้รับการกำหนดไว้ตามกฎหมาย รัฐธรรมนูญก็ตาม แต่พระราชอำนาจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในตามความเป็นจริงมีมากกว่าที่กำหนดไว้ในกฎหมาย รัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นที่เคารพสักการะบูชาสูงสุดของประชาชนชาวไทย ทรงเป็นผู้ นำทางการเมืองการปกครองที่เปี่ยมด้วยพระบารมี ดังนั้น พระราชอำนาจของพระองค์จึงเป็นพระราชอำนาจที่เกิดจากพระบารมี โดยแท้ ความข้อนี้จะเห็นได้จากในยามที่บ้านเมืองเกิดวิกฤติการณ์ และไม่มีผู้ใดสามารถเข้าแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นแล้วด้วยอำนาจแห่ง พระบารมี ปัญหาจะคลี่คลายกลับคืนสู่สภาวะปรกติโดยเร็วอย่างน่าอัศจรรย์ใจเสมอพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชหฤทัยที่กว้างขวางไพศาล มีพระเมตตาประดุจแม่น้ำใหญ่ ชโลมดวงใจของ ทวยราษฎร์ให้สดชื่นอยู่เสมอ ในยามที่บ้านเมืองมีวิกฤติการณ์ พลังแห่งพระบารมีของพระองค์เปรียบเสมือนแม่เหล็กใหญ่ที่ดึงดูด ให้ความขัดแย้งหลุดออกจากกันระหว่างฝ่ายที่เป็นคู่ความขัดแย้ง บ้านเมืองกลับสงบเรียบร้อยอีกครั้งหนึ่ง ด้วยพระปรีชาและ พระเมตตาบารมีของพระองค์ ดังจะเห็นได้จากเหตุการณ์วันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ และเหตุการณ์เดือน พฤษภาคม ๒๕๓๕ ซึ่งเป็น ประจักษ์พยานในเรื่องนี้ได้เป็นอย่างดี
พระราชกรณียกิจ ร.9 ด้านต่างๆ
๓. พระราชกรณียกิจและพระราชดำริด้านนโยบายสาธารณะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช มหาราช ทรงห่วงใยพสกนิกรของพระองค์อย่างยิ่ง ทรงเล็งเห็นว่ารากฐาน สำคัญของบ้านเมือง คือประชาชน จึงเสด็จพระราชดำเนินออกไปเพื่อทรงรับรู้ทุกข์ และปัญหาของประชาชนด้วยพระเนตร พระกรรณของพระองค์เอง สิ่งใดที่เป็นการบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้กับราษฎร พระองค์ได้ทรงปฎิบัติพระราชกรณียกิจดังกล่าว หรือพระราชทาน แนวพระราชดำริด้านต่างๆ เกี่ยวกับนโยบายสาธารณะเพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปปฏิบัติ ได้แก่ นโยบาย ด้านการพัฒนา นโยบายด้านเศรษฐกิจ นโยบายด้านการศึกษา นโยบายด้านศิลปะและวัฒนธรรม นโยบายด้านการแพทย์และ สาธารณสุข นโยบายด้านสิ่งแวดล้อม นโยบายด้านการป้องกันน้ำท่วมและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง นโยบายด้านการแก้ไขปัญหาจราจร เป็นต้น พระราชกรณียกิจและพระราชดำริด้านนโยบายสาธารณะดังกล่าว เป็นผลให้เกิดโครงการต่างๆ เป็นจำนวนมาก มีชื่อเรียก ต่างกัน อาทิ โครงการตามพระราชประสงค์ โครงการหลวง โครงการตามพระราชดำริ และโครงการในพระบรมราชานุเคราะห์ เป็นต้น๔. พระราชกรณียกิจด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๐๒-๒๕๑๒ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ได้เสด็จเยือนประเทศต่าง ๆ ทั้งใน แถบยุโรป อเมริกาเหนือ และเอเซีย รวม ๓๑ ประเทศ เพื่อเป็นการเจริญทางพระราชไมตรีระหว่างประเทศกับบรรดามิตรประเทศ ให้มีความสัมพันธ์แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ทรงนำความรัก และความปรารถนาดีของประชาชนชาวไทยไปยังประเทศต่าง ๆ เหล่านั้น ทำให้ ประเทศไทยเป็นที่รู้จักกว้างขวางดียิ่งขึ้น ทรงเผยแพร่ชื่อเสียงของประเทศไทยให้นานาชาติได้รู้จัก นับเป็นการสร้างเกียรติภูมิให้ กับประเทศชาติ ในเวทีการเมืองระหว่างประเทศ
พระราชกรณียกิจ ร.9 ด้านต่างๆ
พระปรีชาสามารถและพระราชจริยาวัตรอันงดงามของพระองค์เป็นที่ประทับใจชาวต่างชาติทั่วไปเมื่อครั้งที่เสด็จพระราช ดำเนินไปเจริญสัมพันธไมตรีกับนานาประเทศนั้น ยังผลให้ประเทศไทยมีชื่อเสียงไปทั่วโลก ยิ่งกว่าครั้งใด ๆ ในประวัติศาสตร์ ดังที่ประธานาธิบดี ริชาร์ด นิกสันแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา ได้เขียนสดุดีพระองค์ไว้ว่า"……พระมหากษัตริย์ของประเทศไทยทรงเป็นที่เคารพสักการะอย่างสูงสุดของปวงชน การปกครองแบบมีพระมหากษัตริย์นี้ เป็นเสมือนสายสัมพันธ์เกี่ยวโยงอดีตเอาไว้นับด้วยหลายศตวรรษ พระมหากษัตริย์พระองค์ปัจจุบันคือ พระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งเป็นราชปนัดดาของพระเจ้ากรุงสยามในหนังสือที่แหม่มแอนนาเขียนไว้ พระองค์ทรงเป็น พระมหากษัตริย์ผู้ทรงพระปรีชาสามารถทรงรอบรู้เหตุการณ์ ทันสมัยยิ่งนัก…"นับตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๑๐ เป็นต้นมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมิได้ทรงเสด็จเยือนต่างประเทศอีก ทั้งนี้เพราะพระองค์ทรง เห็นว่าพระองค์มีพระราชภารกิจที่จะต้องทรงปฏิบัติในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก ได้แก่ งานพัฒนาตามโครงการพระราชดำริ ิต่าง ๆ แต่อย่างไรก็ตาม พระองค์ทรงโปรดเกล้าฯ ให้เอกอัครราชทูต และกงสุลของประเทศต่าง ๆ ที่มาประจำอยู่ในประเทศไทย ได้เข้าเฝ้าฯ อยู่เป็นประจำ และทรงโปรดเกล้าฯ ให้พระราชโอรสและพระราชธิดา ตลอดจนพระบรมวงศานุวงศ์ เสด็จฯ เยือน ต่างประเทศแทนพระองค์ด้วย
พระราชกรณียกิจ ร.9 ด้านต่างๆ
|สรรพศิลปศาสตราธิราช | สาขารัฐศาสตร์|

พระราชกรณียกิจด้านศาสนา

          พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงเป็นพุทธมามกะที่ทรงพระราชศรัทธาเลื่อมใสในพุทธศาสนาอย่างมั่นคง
ทรงพระผนวชตามโบราณราชประเพณี ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อพุทธศักราช ๒๔๙๙ และประทับศึกษาพระธรรมวินัย ณ วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นเวลา ๑๕ วัน ในฐานะองค์พุทธศาสนูปถัมภก ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงบำเพ็ญพระราชกุศลเนื่องในโอกาสวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาตามราชประเพณี เสด็จพระราชดำเนินไปในการพระราชพิธีเปลี่ยนเครื่องทรงพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรประจำฤดูโดยสม่ำเสมอ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้จัดสร้าง พระพุทธนวราชบพิตรขึ้น สำหรับพระราชทานเป็นพระพุทธรูปประจำจังหวัด เพื่อประดิษฐาน ณ ศาลากลางจังหวัดต่าง ๆ ทั่วพระราชอาณาจักร และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้
หล่อพระพิมพ์พระสมเด็จจิตรลดา เพื่อพระราชทานเป็นขวัญกำลังใจให้แก่ทหาร ตำรวจผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่อันตรายมีความเสี่ยงสูง นอกจากนี้ ยังได้พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เพื่อทำนุบำรุงและปฏิสังขรณ์พระอารามต่าง ๆ อีกทั้ง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สังคายนาตรวจชำระพระไตรปิฎกเพิ่มเติม และให้จัดพิมพ์เผยแพร่เป็นฉบับภาษาบาลี ฉบับแปลภาษาไทย ซึ่งแล้วเสร็จเมื่อพุทธศักราช ๒๕๓๐ พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ให้แก่มหาวิทยาลัยมหิดลดำเนินการพัฒนาพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีและอรรถกถาฉบับคอมพิวเตอร์เป็นครั้งแรกของโลกจนสำเร็จ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ราชบัณฑิตยสถานจัดพิมพ์หนังสือสอนพระพุทธศาสนาสำหรับเด็กพระราชทานในวันวิสาขบูชา อีกทั้งยังสนพระราชหฤทัยเรียนรู้พระธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อทรงว่างจากพระราชกรณียกิจจะเสด็จพระราชดำเนินไปทรงสนทนาธรรมกับพระเถระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ทรงพระราชอุตสาหะศึกษาค้นคว้าข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาด้วยพระองค์เอง และเมื่อครั้งที่ได้ทรงสดับพระธรรมเทศนาของสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (วิน ธมมฺสาโร) แห่งวัดราชผาติการาม เรื่อง พระมหาชนก ได้เกิดแรงบันดาลพระราชหฤทัยต่อการ
ทรงพระราชนิพนธ์วรรณกรรมทางพระพุทธศาสนา เรื่อง พระมหาชนก

          พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงเป็นเอกองค์อัครศาสนูปถัมภก ทรงอุปถัมภ์ศาสนาอื่นทุกศาสนาในแผ่นดินไทยทั้งศาสนาอิสลาม ศาสนาคริสต์ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และศาสนาซิกข์ ดังนี้ พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์สนับสนุนการแปลพระมหาคัมภีร์อัลกุรอานเป็นภาษาไทย เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเป็นประธานในงานเมาลิดกลางแห่งประเทศไทยอย่างสม่ำเสมอ ในโอกาสเสด็จพระราชดำเนิน ไปทรงเยี่ยมราษฎรหรือติดตามความก้าวหน้าโครงการพระราชดำริในพื้นที่จังหวัดภาคใต้ ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมมัสยิดกลางจังหวัดปัตตานี มัสยิดประจำชุมชน และพระราชทาน พระราชทรัพย์เพื่อการทำนุบำรุงมัสยิด เสด็จพระราชดำเนินไปทรงกระชับสัมพันธไมตรีกับ ศาสนจักร ณ นครรัฐวาติกัน เมื่อพุทธศักราช ๒๕๐๓ เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมชมกิจการด้านการแพทย์ การศึกษาขององค์กรคริสต์ศาสนาต่าง ๆ ในประเทศไทย พระราชทานพระราชวโรกาสให้คณะพราหมณ์ คณะผู้แทนชาวไทยซิกข์ เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทถวายพระพรชัยมงคลในโอกาสต่าง ๆ รวมทั้ง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้คณะพราหมณ์เป็นผู้นำในการประกอบพระราชพิธีสำคัญตามโบราณราชประเพณี

พระราชกรณียกิจ ร.9 ด้านต่างๆ

พระราชกรณียกิจด้านสิ่งแวดล้อม ร.9 เน้นเรื่องใดมากที่สุด *

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมุ่งเน้นการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าไม้เป็นแนวทางหลักในการจัดการทรัพยากรป่าไม้ ด้วยทรงตระหนักถึงความสำคัญของป่าไม้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาภัยแล้ง น้ำท่วมฉับพลัน และการพังทลายของดินอย่างรุนแรง จึงมีพระราชหฤทัยมุ่งมั่นที่จะแก้ไข ปรับปรุง และพัฒนาป่าให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์ดังเดิม

ร.9 มีความสําคัญอย่างไร

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานโครงการนานัปการมากกว่า 2,000 โครงการ ทั้งการแพทย์สาธารณสุข การเกษตร การชลประทาน การพัฒนาที่ดิน การศึกษา การพระศาสนา การสังคมวัฒนธรรม การคมนาคม ตลอดจนการเศรษฐกิจเพื่อประโยชน์สุขของพสกนิกรในชนบท ทั้งยังทรงขจัดปัญหาทุกข์ยากของประชาชนในชุมชนเมือง เช่น ทรงแก้ปัญหาการจราจรอุทกภัยและ ...

พระราชกรณียกิจด้านการศึกษา ร.9 มีอะไรบ้าง

ทรงก่อตั้งกองทุนนวฤกษ์ ในมูลนิธิช่วยนักเรียนที่ขาดแคลน ในพระบรมราชูปถัมภ์ เพื่อช่วยให้นักเรียนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ ได้มีโอกาสเข้ารับการศึกษาในระดับประถมศึกษา และระดับมัธยมศึกษา ทั้งยังพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ เป็นทุนริเริ่มในการก่อสร้างโรงเรียนตามวัดในชนบท สำหรับที่จะสงเคราะห์เด็กยากจนและกำพร้า ให้ได้มีสถานที่ ...

พระ ราช กรณียกิจ ร 9 มีทั้งหมด กี่ โครงการ มีอะไรบ้าง

26 โครงการหลวง รัชกาลที่ 9.
1. สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง ... .
2. โครงการพระราชดำริปางตอง 2. ... .
3. ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงตีนตก ... .
4. ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงห้วยลึก ... .
5. สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์ ... .
6. ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ (ขุนวาง) ... .
7. ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่โถ ... .
8. ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงวัดจันทร์.