แหล่งเงินทุนภาครัฐ มี อะไร บาง

ภายหลังศาลรัฐธรรมนูญได้มีมติว่าร่างพระราชบัญญัติให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ (พ.ร.บ. 2 ล้านล้านบาท) ตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ และมีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ หมวด 8 ว่าด้วยการเงิน การคลัง และงบประมาณ ในปัจจุบัน สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) และหน่วยงานภายใต้สังกัดกระทรวงการคลัง กำลังพิจารณาหาแหล่งเงินทุนที่จะใช้สำหรับโครงการลงทุนซึ่งถูกปรับให้มีขนาดเล็กลงจนเหลือ 1.18 ล้านล้านบาท (โดยตัดงบลงทุนในส่วนโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงและโครงการโครงสร้างพื้นฐานศุลกากรออกไป) ซึ่งทางเลือกของแหล่งเงินทุนของรัฐมีอยู่ด้วยกัน 4 แนวทาง คือ

หนึ่ง ผ่านการตั้งงบประมาณรายจ่ายในวิธีการงบประมาณแบบปกติ โดยหากรัฐบาลมีความจำเป็นในการจัดทำงบประมาณรายจ่ายสูงกว่ารายรับ กระทรวงการคลังก็สามารถกู้เงินมาใช้ได้ตาม พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 มาตรา 9 ทวิ และตาม พ.ร.บ.การบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 มาตรา21 ที่ได้กำหนดขอบเขตในการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณในปีงบประมาณหนึ่ง ให้กระทรวงการคลังกู้เป็นเงินบาทได้ไม่เกินวงเงิน 1) ร้อยละ 20 ของจำนวนเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีและงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม หรือของจำนวนเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณที่ล่วงแล้วมา กับอีก 2) ร้อยละ 80 ของงบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้สำหรับชำระคืนต้นเงินกู้

สอง ผ่านการกู้เงินนอกเหนือไปจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี ซึ่งตาม พ.ร.บ.การบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 มาตรา22 และ 23 ได้กำหนดให้การกู้เงินเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเมื่อมีความจำเป็นต้องใช้จ่ายเงินนอกเหนือจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี กระทรวงการคลังสามารถกู้เงินได้ไม่เกินร้อยละ 10 ของงบประมาณรายจ่ายประจำปี นอกจากนี้ มาตรา 25 ยังระบุให้กระทรวงการคลังสามารถกู้เงินเป็นเงินตราต่างประเทศ ตามมาตรา 22 เพื่อนำมาให้หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือสถาบันการเงินภาครัฐ กู้ต่อเพื่อเป็นการประหยัดและมีประสิทธิภาพขึ้นได้

สาม ผ่านการกู้ยืมเงินของหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือสถาบันการเงินภาครัฐซึ่งตาม พ.ร.บ.การบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ.2548 มาตรา 27 และ 28 กำหนดให้ในปีงบประมาณหนึ่ง กระทรวงการคลังสามารถค้ำประกันการชำระหนี้ของหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจหรือสถาบันการเงินภาครัฐ โดยจะค้ำประกันเต็มจำนวนหรือบางส่วนก็ได้ แต่ไม่เกินร้อยละ 20 ของงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นและงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม ทั้งนี้ตามหลักการแล้ว รัฐบาลไม่ควรค้ำประกันเต็มจำนวน โดยเงินกู้ส่วนหนึ่งควรเป็นเงินกู้ที่ไม่ได้รับการค้ำประกันจากรัฐบาลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและเพิ่มการตรวจสอบจากเอกชนหรือผู้ให้กู้เงิน และ

สี่ ผ่านการร่วมลงทุนกับภาคเอกชนตามพ.ร.บ.การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 ทั้งนี้ตัวอย่างของโครงการลงทุนเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่น่าจะผ่านช่องทางนี้ ได้แก่ งานระบบรถไฟฟ้า ที่เอกชนลงทุนเป็นผู้ลงทุนในเรื่องเครื่องจักรและการดูแลรักษา เป็นต้น

ทั้งนี้ ตามหลักการแล้ว การมีส่วนร่วมของภาคเอกชนน่าจะช่วยทำให้การติดตามโครงการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นซึ่งจะช่วยลดภาระความเสี่ยงของโครงการลง นอกจากนี้ยังมีส่วนช่วยลดปัญหาของความไม่โปร่งใสของโครงการเนื่องจากภาคเอกชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบมากขึ้น

ทั้งนี้ เป็นที่สังเกตว่า ทางเลือกของแหล่งเงินทุนทั้ง 4 แนวทางข้างต้นนี้ แม้จะมีกระบวนการในการเสนอโครงการที่คล้ายคลึงกัน โดยหน่วยงานเจ้าของโครงการจะต้องนำเสนอผลการศึกษาและวิเคราะห์โครงการผ่านรัฐมนตรีกระทรวงเจ้าสังกัด และผ่านการให้ความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และการอนุมัติของฝ่ายบริหาร (คณะรัฐมนตรี) เหมือนกัน แต่มีเพียงทางเลือกที่ 1 เท่านั้น (ผ่านการตั้งงบประมาณรายจ่ายในวิธีการงบประมาณ) ที่โครงการลงทุนจะต้องถูกนำเสนอต่อรัฐสภา ซึ่งฝ่ายนิติบัญญัติจะทำหน้าที่ในการกลั่นกรองและตรวจสอบตามกลไกของระบบรัฐสภาอีกขั้นตอนหนึ่ง เพื่อทำให้โครงการที่ผ่านการเห็นชอบออกไปนั้นมีความโปร่งใสและมีความคุ้มค่าที่สุด

ดังนั้น การพิจารณาแหล่งเงินทุนที่จะใช้สำหรับโครงการลงทุนเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของรัฐที่กำลังดำเนินอยู่ในปัจจุบันสำหรับโครงการที่ไม่สามารถผ่านการลงทุนร่วมระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชน หรือรัฐวิสาหกิจไม่พร้อมที่จะเป็นผู้ดำเนินการกู้ยืมเพื่อดำเนินโครงการเอง โดยโครงการลงทุนยังจำเป็นต้องใช้แหล่งเงินทุนที่มาจากงบประมาณของรัฐบาลเป็นหลัก ในกรณีนี้รัฐบาลควรให้ความสำคัญกับการใช้งบประมาณประจำปีแบบปกติก่อนเป็นลำดับแรก โดยรัฐบาลอาจจำเป็นต้องเลื่อนเวลาของการจัดทำงบประมาณรายจ่ายแบบสมดุลในปี พ.ศ. 2560 ออกไปบ้าง เพื่อทำให้โครงการลงทุนที่ถูกนำเสนอออกมานั้นมีความโปร่งใสและผ่านกระบวนการตรวจสอบจากระบบรัฐสภา ซึ่งจะช่วยลดปัญหาที่เคยเกิดขึ้นกับ พ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท ที่หลายฝ่ายมองว่าโครงการลงทุนส่วนหนึ่งถูกผลักดันออกมาอย่างรีบเร่ง ขาดความชัดเจนและความโปร่งใส

หลากปัจจัยในหลายสถานการณ์บีบคั้นกดดันให้ผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมหรือ SMEs ไทย ต้องเผชิญกับโจทย์ใหญ่ เรื่อง “การเข้าถึงแหล่งเงินทุนผู้ประกอบการรายใหม่” ซึ่งเป็นปัญหาสุดคลาสสิคในนาทีนี้ เราได้มีโอกาสพบกับ “ดร.นก-ปฎิมา จีระแพทย์” อดีตผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ผู้คร่ำหวอดในทุกมิติ ทั้งธุรกิจในภาคเอกชนและหน่วยงานภาครัฐ

แหล่งเงินทุนภาครัฐ มี อะไร บาง
“ดร.นก-ปฎิมา” ได้ชี้ทางสว่าง ฝากมาถึงผู้ประกอบการ SMEs ว่า “อย่าเพิ่งท้อแท้หมดกำลังใจในการหาแหล่งเงินทุนทำธุรกิจไปเสียก่อน อยากให้คิดบวกเข้าไว้ ตั้งสติ คิดอย่างรอบคอบ แล้วเสาะแสวงหาความรู้จากผู้รู้ด้านต่างๆ เปิดกว้างทางความคิด และคิดอย่างมีกลยุทธ์ในการหาแหล่งเงินทุนทำธุรกิจ และมองหาทางออกจากข้อแนะนำดี ๆ จากผู้รู้และผู้ชำนาญการ และต้องเปิดใจกว้าง มองและคิดอย่างมีกลยุทธ์ เขียนแผนธุรกิจให้เป็น ธุรกิจก็จะอยู่รอดปลอดภัยอย่างยั่งยืน”

ปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ ที่ทำให้กลุ่มผู้ประกอบการไม่ประสบความสำเร็จในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนผู้ประกอบการรายใหม่ ก็คือ “การเขียนแผนธุรกิจ” ซึ่งต้องขอย้ำว่าสิ่งนี้ถือว่าเป็น “หัวใจ” สำคัญมาก ๆ" แล้วจะอยู่รอดได้อย่างไรนั้น? ดร.นก บอกว่าเพื่อช่วยให้การบริหารจัดการด้านการเงินของคุณให้อยู่รอดในช่วงเริ่มต้นธุรกิจ แผนและกลยุทธ์ที่สำคัญก็คงหนีไม่พ้นเรื่อง “การประมาณการณ์ความต้องการในการใช้เงิน”พูดง่าย ๆ ก็คือ การจัดทำงบประมาณค่าใช้จ่ายที่ชัดเจน ทำเป็นรายเดือน เห็นความเคลื่อนไหวตลอดทั้งปี จัดทำทุกรายการต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการดำเนินธุรกิจ เช่น ค่าเช่าสถานที่ ค่าเดินทาง และอื่น ๆ จะทำให้ผู้ประกอบการ SMEs ก้าวสู่เส้นทางธุรกิจอย่างถูกทาง

การเขียนแผนธุรกิจ คือบันไดขั้นแรกที่จะแสดงให้เห็นถึงโอกาสของธุรกิจ แผนธุรกิจจะทำให้ทราบถึงกลุ่มลูกค้าหรือตลาดเป้าหมาย ประมาณการผลกำไร การหมุนเวียนของกระแสเงินสด วางกรอบค่าใช้จ่าย เช่น เงินเดือน ค่าจ้าง ค่าโสหุ้ย และภาษีที่ต้องจ่าย อีกทั้งยังช่วยเพิ่มโอกาสให้นักธุรกิจสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนผู้ประกอบการรายใหม่ได้เป็นอย่างดี

แผนธุรกิจที่ดียังต้องมีการวางกลยุทธ์ทางการเงินที่ดีด้วย นั่นคือ “การจัดเตรียมแผนทางการเงิน” ผู้ประกอบการ SMEs ต้องวางแผนการใช้จ่ายควบคู่ไปกับแผนการออมเงิน ตรงนี้คือหัวใจที่ต้องถือเป็นข้อปฏิบัติอย่างเคร่งครัด พูดง่าย ๆ ก็คือ ต้องมีวินัยทางการเงินอย่างมาก ยังมีรายละเอียดปลีกย่อยอื่น ๆ อีก เช่น การจัดทำงบประมาณ ซึ่งจะเป็นการแสดงให้เห็นถึงตัวเลข ยอดขาย รายได้ และผลกำไรที่คาดว่าจะได้รับ ประมาณการต้นทุนธุรกิจ ซึ่งจะสามารถประมาณการได้จากยอดขายและผลกำไร ซึ่งต้องมีความแม่นยำ

วิธีหาแหล่งเงินทุนผู้ประกอบการยุคใหม่ในยุคนี้ หากมีการจัดทำแผนธุรกิจที่ชัดเจน มีวินัยทางการเงิน และปฎิบัติอย่างเคร่งครัด นอกจากจะหาแหล่งเงินทุนมาเพิ่มพัฒนาธุรกิจได้แล้ว ผู้ประกอบการ SMEs ยังสามารถต่อรองเพื่อให้ได้เงินทุนมาต่อยอดหรือขยายธุรกิจได้ด้วยในวันข้างหน้า หรือสามารถต่อรองเพื่อให้ได้ระยะเวลาในการชำระหนี้ที่ยาวนานขึ้นด้วยเช่นกัน

นี่คือหลักการง่าย ๆ ที่จะเป็นใบเบิกทางให้ผู้ประกอบการ SMEs ประสบความสำเร็จในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนในการประกอบธุรกิจ แต่หลักการง่าย ๆ นี้มีอยู่สิ่งเดียวที่จะก้าวข้ามผ่านไปได้ คือการสร้างวินัยทางการเงิน ถ้าทำได้ความสำเร็จก็อยู่แค่เอื้อมครับ

แหล่งที่มาของเงินทุน มีอะไรบ้าง

หาแหล่งเงินทุนต่อยอดธุรกิจจากที่ไหนได้บ้าง?.
1. ทรัพย์สินส่วนตัวของผู้ประกอบการ ... .
2. ขายทรัพย์สินที่ไม่จำเป็น ... .
3. เงินอุดหนุนจากรัฐบาล ... .
4. หาหุ้นส่วนเพิ่มจากคนใกล้ตัว ... .
5. นักลงทุน Angel Investor หรือ Venture Capital. ... .
6. ระดมทุนสาธารณะ (Crowdfunding) ... .
7. ธนาคารและสถาบันการเงิน.

เงินทุน มีความสําคัญอย่างไร

“เงินทุน” เป็นเงินที่กิจการใช้อยู่ในทุกๆ วัน ทั้งเงินเข้า (ที่มาของเงิน) และเงินออก (ทางใช้ไปของเงิน) หากธุรกิจหรือองค์กร สามารถบริหารเงินทุนได้มีประสิทธิภาพ จะช่วย ประหยัดค่าใช้จ่าย ลดการสูญเปล่า มีความคล่องตัวในการดาเนินงาน และสร้างรายได้

แหล่งเงินทุนภาคเอกชน มีอะไรบ้าง

แหล่งทุนจากภาคเอกชน.
โครงการแปลงเทคโนโลยีเป็นทุนจาก สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.).
ยูนิจิน เวนเจอร์ส ( Unigin Ventures ).
ดิจิทัล เวนเจอร์ส ( Digital Ventures ).
โครงการ Krungsri Uni Startup..
โครงการ True Incube จากบริษัท ทรู คอร์เปอเรชั่น.
กองทุน 500 Tuk Tuks Thailand..

แหล่งเงินทุนหมายถึงอะไร

แหล่งเงินทุน คือ แหล่งที่มาของเงินลงทุนเพื่อใช้ในวัตถุประสงค์ต่างๆ มีตั้งแต่ แหล่งเงินทุนที่จัดหามาได้เองเช่น เงินเดือน รายได้จากการจ้างงาน ในกรณีของบุคคลทั่วไป หรือกำไรสะสมจากการประกอบกิจการสำหรับธุรกิจ รวมถึงการกู้ยืมเงิน การรับเงินบริจาค เงินลงทุนจากการขายหุ้น และเงินสนับสนุนต่างๆ เป็นต้น