อัตราค่าธรรมเนียม ใบจดแจ้ง ฉบับละ กี่บาท

ลำดับชนิดของใบอนุญาตขับรถอัตราค่าธรรมเนียม (บาท)/ฉบับ1.ใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลฉบับละ 500 บาท2.ใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่างประเทศ (ประเภทใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล)ฉบับละ 2,500 บาท3.ใบแทนใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางฉบับละ 100 บาท4.การโอนทะเบียนรถฉบับละ 200 บาท5.แผ่นป้ายเลขทะเบียนรถและเครื่องหมายแผ่นละ 100 บาท6.คำขอแก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถฉบับละ 20 บาท7.คำขอรับใบแทนหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถหรือเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีฉบับละ 20 บาท8.ใบอนุญาตขับรถส่วนบุคคลชนิดที่ 1-4ฉบับละ 200 บาท9.ใบอนุญาตขับรถทุกประเภทชนิดที่ 1-4ฉบับละ 200 บาท10.ใบอนุญาตเป็นนายตรวจฉบับละ 200 บาท11.ใบอนุญาตเป็นผู้เก็บค่าโดยสารฉบับละ 100 บาท12.ใบอนุญาตเป็นผู้บริการฉบับละ 100 บาท13.ใบแทนใบอนุญาต(คัดหาย,ชำรุด)ฉบับละ 30 บาท14.การต่ออายุใบอนุญาต ครั้งละเท่ากับค่าธรรมเนียมสำหรับใบอนุญาตแต่ละฉบับ 

ค่าธรรมเนียมการขออนุญาตในหมวดเครื่องมือแพทย์
กฎกระทรวงกําหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับเครื่องมือแพทย์พ.ศ. ๒๕๕๒ ให้กําหนดค่าธรรมเนียม ดังต่อไปนี้
(๑) ใบจดทะเบียนสถานประกอบการ ฉบับละ ๑,๐๐๐ บาท
(๒) ใบอนุญาตผลิตเครื่องมือแพทย์ ฉบับละ ๑๐,๐๐๐ บาท
(๓) ใบอนุญาตนําเข้าเครื่องมือแพทย์ ฉบับละ ๒๐,๐๐๐ บาท
(๔) ใบอนุญาตขายเครื่องมือแพทย์ ฉบับละ ๑,๐๐๐ บาท
(๕) ใบอนุญาตโฆษณาเครื่องมือแพทย์
(ก) การโฆษณาบนสิ่งของที่แจก (Gimmick) ฉบับละ ๒๐๐ บาท
(ข) การโฆษณาอื่น ๆ ฉบับละ ๑,๐๐๐ บาท
(๖) ใบรับแจ้งรายการละเอียดผลิตเครื่องมือแพทย์ ฉบับละ ๕,๐๐๐ บาท
(๗) ใบรับแจ้งรายการละเอียดนําเข้าเครื่องมือแพทย์ ฉบับละ ๑๐,๐๐๐ บาท
(๘) หนังสือรับรอง

(ก) หนังสือรับรองประกอบการนําเข้าเครื่องมือแพทย์
(๑) ไม่เกินสิบรายการ ฉบับละ ๑,๐๐๐ บาท
(๒) เกินสิบรายการ ฉบับละ ๒,๐๐๐ บาท
(ข) หนังสือรับรองระบบคุณภาพการผลิตการนําเข้าและ ฉบับละ ๑,๐๐๐ บาท
(ค) หนังสือรับรองการส่งออก หนังสือรับรองผู้ผลิต ฉบับละ ๕๐๐ บาท
(ง) หนังสือรับรองฉลากหรือเอกสารกํากับเครื่องมือแพทย์ ฉบับละ ๑,๐๐๐ บาท
(จ) หนังสือรับรองการผลิตเครื่องมือแพทย์เพื่อการส่งออก ฉบับละ ๑,๐๐๐ บาท
(๙) ใบรับรองการประเมินเครื่องมือแพทย์ตามมาตรา ๒๒ ฉบับละ๑,๐๐๐ บาท
(๑๐) ใบแทนใบจดทะเบียนสถานประกอบการใบแทนใบอนุญาต ฉบับละ ๒๐๐ บาท
(๑๑) คําขอจดทะเบียนสถานประกอบการ ฉบับละ ๑๐๐ บาท
(๑๒) คําขออนุญาต ฉบับละ ๑๐๐ บาท
(๑๓) คําขอแจ้งรายการละเอียด ฉบับละ ๑๐๐ บาท
(๑๔) คําขอย้ายหรือเปลี่ยนแปลงสถานที่ผลิตนําเข้า ขายหรือ ฉบับละ ๑๐๐ บาท
(๑๕) คําขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการใบจดทะเบียนสถานประกอบการ ฉบับละ ๑๐๐ บาท
(๑๖) คําขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการในใบอนุญาต หรือรายการอื่น ๆ ฉบับละ ๑๐๐ บาท
(๑๗) คําขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการในใบรับแจ้งรายการละเอียดหรือ ฉบับละ ๑๐๐ บาท
(๑๘) การต่ออายุใบจดทะเบียนสถานประกอบการเท่ากับค่าธรรมเนียมใบจดทะเบียนสถานประกอบการประเภทนั้น ๆ แต่ละฉบับ
(๑๙) การต่ออายุใบอนุญาตเท่ากับค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประเภทนั้น ๆ แต่ละฉบับ
(๒๐) การต่ออายุใบรับแจ้งรายการละเอียดเท่ากับค่าธรรมเนียมใบรับแจ้งรายการละเอียดประเภทนั้น ๆ แต่ละฉบับ
(๒๑) คําขออื่น ๆ ฉบับละ ๑๐๐ บาท

บทกำหนดโทษตามพระราชบัญญัติ
พระราชบัญญัติเครื่องสำอาง
พระราชบัญญัติยา
พระราชบัญญัติอาหาร
พระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์
พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย

ในปัจจุบัน ใบอนุญาตในการดำเนินการทางธุรกิจต่างๆนั้นมีหลายประเภท ขึ้นอยู่กับประเภทของธุรกิจนั้นๆว่าอยู่ในรูปแบบใด ดังนั้น การดำเนินการขอใบอนุญาตจะต้องขอตามประเภทที่ทางองค์การอาหารและยาเป็นผู้กำหนดให้ โดยมีค่าธรรมเนียมที่แตกต่างกันตามแต่ละหมวด โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1.ค่าธรรมเนียมการขออนุญาตในหมวดยา
2.ค่าธรรมเนียมการขออนุญาตในหมวดอาหาร
3.ค่าธรรมเนียมการขออนุญาตในหมวดเครื่องสำอาง
4.ค่าธรรมเนียมการขออนุญาตในหมวดเครื่องมือแพทย์
5.ค่าธรรมเนียมการขออนุญาตในหมวดวัตถุอันตราย

อัตราค่าธรรมเนียม ใบจดแจ้ง ฉบับละ กี่บาท

คือหนังสือสำคัญซึ่งบริษัทออกให้แก่ผู้ถือหุ้นเพื่อเป็นหลักฐานแสดงการถือหุ้น ใบหุ้นแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

  1. ใบหุ้นชนิดระบุชื่อ คือใบหุ้นชนิดที่ระบุชื่อผู้ถือหุ้น
  2. ใบหุ้นชนิดออกให้แก่ผู้ถือ คือใบหุ้นชนิดที่ไม่ระบุชื่อผู้ถือหุ้น แต่จะระบุในใบหุ้นนั้นว่าเป็นหุ้นชนิดออกให้แก่ผู้ถือ ซึ่งหุ้นชนิดนี้จะออกได้ก็ต่อเมื่อ
    • 2.1 มีข้อบังคับของบริษัทอนุญาตไว้
    • 2.2 หุ้นได้ใช้ราคาเต็มมูลค่าแล้ว

การโอนหุ้นชนิดระบุชื่อ ต้องทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้โอนและผู้รับโอน และมีพยานอย่างน้อย 1 คนลงลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อของผู้โอนและผู้รับโอน และจะใช้บริษัทหรือบุคคลภายนอกได้ ต่อเมื่อมีการจดทะเบียนการโอนลงในสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นของบริษัทแล้ว ส่วนการโอนหุ้นชนิดออกให้แก่ผู้ถือจะสมบูรณ์เพียงส่งมอบใบหุ้นให้แก่กันเท่านั้น

ถ้าไม่ทำใบหุ้น หรือเรียกค่าธรรมเนียมเกิน หรือ มีรายละเอียดในใบหุ้นไม่ครบถ้วนมีความผิด ปรับ

  • บริษัท ไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
  • กรรมการที่กระทำหรือละเว้น ไม่เกินห้าหมื่นบาท

การออกใบหุ้น

บริษัทจำกัด มีหน้าที่ทำใบหุ้นให้แก่ผู้ถือหุ้นทุกคน **ผู้ถือหุ้นมีสิทธิเรียกร้องให้บริษัทจำกัด ออกใบหุ้นให้แก่ผู้ถือ ในทางปฏิบัติบริษัทจำกัดส่วนใหญ่ไม่ได้ออกใบหุ้นให้แก่ผู้ถือ เมื่อมีปัญหาโต้แย้งสิทธิในหุ้นที่ถือ ผู้ถือหุ้นที่แท้จริงจึงมีภาระหรือปัญหาในนำสืบหรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงด้วยความยากลำบาก และมีปัญหาฟ้องร้องกันในโรงในศาลมากมาย

ตัวอย่าง เช่น บริษัท ก. มี นาย a. เป็นผู้ถือหุ้น โดย บริษัท ก. ไม่ได้ออกใบหุ้นให้แก่ นาย a. วันดีคืนดี บริษัท ก. ได้ส่งสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น ไปให้แก่ นายทะเบียน โดยไม่มีชื่อ นาย a. เป็นผู้ถือหุ้นอยู่ด้วย ซึ่งตามหลักกฎหมาย สำเนาบัญชีรายชื่อผุ้ถือหุ้นที่บริษัทจำกัดส่งไว้กับนายทะเบียนให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นสิ่งที่ถุกต้อง ถ้า นาย a. มีใบหุ้นที่บริษัทจำกัดออกให้ไว้ นาย a. ก็จะง่ายในการพิสูจน์กับองค์กรทางยุติธรรม หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องในสิทธิที่ตนมีกรรมสิทธิ์ในหุ้นที่ตนถืออยู่ได้ง่ายเป็นต้น ข้อ 2. ใบหุ้น เลขที่ใบหุ้น บริษัทเป็นผู้กำหนดขึ้นเอง ใบหุ้นใบหนึ่งๆ ต้องมีข้อความที่กฎหมายกำหนดไว้ดังนี้ (1) ชื่อบริษัท (2) เลขหมายหุ้นที่กล่าวถึงใบหุ้นนั้น (3) มูลค่าหุ้นหนึ่งเป็นเงินเท่าใด (4) ถ้าและเป็นหุ้นที่ยังไม่ได้ใช้เงินเสร็จ ให้จดลงว่าได้ใช้เงินค่าหุ้นแล้วหุ้นละเท่าใด (5) ชื่อผุ้ถือหุ้น หรือคำแถลงว่าได้ออกใบหุ้นให้แก่ผุ้ถือ และใบหุ้นนั้นๆ ให้กรรมการของบริษัทอย่าง 1 คน ลงลายมือชื่อรับรอง พร้อมประทับตราของบริษัท ข้อ 3. เมื่อผู้ถือหุ้นชำระเงินค่าหุ้นให้แก่บริษัทแล้ว จะชำระเต็มมูลค่า 100 % หรือไม่เต็ม 100 % บริษัทจำกัดนั้นมีหน้าที่ออกใบหุ้นให้แก่ผู้ถือ

ออกใบหุ้น จากการเพิ่มทุน

มื่อบริษัทเพิ่มทุนโดยการออกหุ้นใหม่ กรรมการต้องออกใบหุ้นใหม่โดยเลขหมายหุ้นที่ออกใหม่จะต้องต่อจากเลขหมายสุดท้ายของหุ้นเดิมของบริษัทในการนำส่งบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นฉบับใหม่กรณีที่บริษัทจดทะเบียนเพิ่มทุนเลขหมายหุ้นเดิมและหุ้นที่ออกใหม่ต้องระบุแยกออกจากกันเพื่อให้ทราบว่าบริษัทออกหุ้นใหม่ การเวนคืนใบหุ้น คือ การที่บริษัทเรียกคืนใบหุ้นเดิมทั้งหมดจากผู้ถือหุ้นแล้วทำการออกใบหุ้นใหม่ให้กับผู้ถือหุ้น

การเรียงเลขหุ้นใหม่

บริษัทสามารถออกใบหุ้นตามการเรียงเลขหุ้นใหม่ได้ โดยใน บอจ. 5 เลขหมายของหุ้น ระบุหมายเลขหุ้นที่เรียงใหม่ ลงวันที่ ระบุวัน/เดือน/ปี ที่ออกใบหุ้นให้แก่ผู้ถือหุ้นจริง ส่วนวันลงทะเบียนผู้ถือหุ้น ระบุวัน/เดือน/ปี ที่ผู้ถือหุ้นนั้นได้รับจดแจ้งในสมุดทะเบียนหุ้นของบริษัท
ทั้งนี้ การเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นเป็นเรื่องภายในบริษัท เมื่อกรรมการบริษัทดำเนินการแก้ไขรายการในสมุดทะเบียนหุ้นของบริษัทแล้วประสงค์จะยื่นแบบสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (บอจ.5) ฉบับใหม่ทันที ให้ทำหนังสือนำส่งลงชื่อโดยกรรมการผู้มีอำนาจ หรือจะนำส่งคราวเดียวเมื่อสิ้นปีพร้อมงบการเงินตามปกติที่จะต้องยื่นต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้าอยู่แล้วก็ได้ (บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น ณ วันประชุมสามัญประจำปี)

คดีหุ้นในอดีต

  • ใบหุ้นปลอม ปูนซิเมนต์ไทย โผล่ 34 ใบ แฉหลักฐานปันผลมัดไอ้โม่งนายกานต์ ตระกูลฮุน กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) หรือ SCC กล่าวถึงกรณีกระแสข่าวพบใบหุ้นปลอม โดยระบุว่า บริษัทได้เร่งตรวจสอบต้นตอที่มา และความเสียหายที่เกิดขึ้น พบว่า มีมูลความจริง โดยมีใบหุ้นสามัญเลขที่ 0025001-0025034 ได้หายไปจำนวน 34 ใบ มูลค่านับหมื่นล้านบาท ซึ่งบริษัทได้แจ้งความและยกเลิกใบหุ้นดังกล่าวแล้ว


ทั้งนี้ ผลประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) ตรวจสอบ วานนี้ ได้มีมติให้แจ้ง ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) กรณีมีผู้ปลอมแปลงใบหุ้นสามัญของบริษัท โดยเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2552 บริษัทได้รับแจ้งจากบริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด โดยระบุว่า มีการปลอมแปลงใบหุ้นสามัญของบริษัท จำนวน 2 ใบ รวมจำนวนหุ้นทั้งสิ้น 672,000 หุ้น เป็นมูลค่าหุ้น ในขณะนี้ประมาณ 67 ล้านบาท และจากการตรวจสอบพบว่าแบบฟอร์มใบหุ้นสามัญได้สูญหายจริง และมีจำนวนที่ตรวจพบดังกล่าว 

กรณีที่เกิดขึ้น บริษัทได้ตั้งข้อสงสัยว่า พนักงานคนหนึ่งของบริษัทเป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในกรณีดังกล่าว และผู้ต้องสงสัยได้หลบหนีไปในวันเดียวกัน เนื่อจากมีพิรุธกรณีจ่ายเงินปันผลที่เป็นหลักฐานมัดตัว บริษัทจึงได้แจ้งความเพื่อดำเนินคดีกับผู้ต้องสงสัย และศาลอาญาได้ออกหมายจับแล้วเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2552 ที่ผ่านมา 

นอกจากนี้ บริษัทยังได้ตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติม และพบว่า ผู้ต้องสงสัยได้จัดทำใบหุ้นสามัญปลอมขึ้น และนำไปมอบ ให้แก่เจ้าของหุ้นแทนใบหุ้นฉบับจริง ส่วนใบหุ้นฉบับจริงผู้ต้องสงสัยได้นำไปขาย

บริษัทถือว่าเหตุการณ์นี้เป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง ผู้บริหารระดับสูงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายได้เร่ง สืบหาข้อเท็จจริงนับตั้งแต่วันที่ทราบเหตุ และสามารถรวบรวมข้อมูลได้ในเบื้องต้น จึงได้แจ้งไปยัง ตลท. พร้อมยืนยันว่า บริษัทจะดำเนินการทางกฎหมายกับผู้กระทำผิดและผู้เกี่ยวข้องทุกคน ทั้งทางอาญาและทางแพ่ง จนถึงที่สุดโดยไม่มีข้อยกเว้น

เป็นคดีตัวอย่างที่ทุกฝ่ายให้ความสนใจ หลังจาก บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) หรือเอสซีจี เข้าแจ้งความเพื่อดำเนินคดีกับ นายประพันธ์ ชูเมือง เจ้าหน้าที่ฝ่ายทะเบียนหุ้นส่วนของบริษัทเครือซิเมนต์ไทย หลังจากมีพฤติกรรมฉ้อฉลปลอมเอกสารซื้อหุ้นสามัญของบริษัท จำนวน 2 ใบ รวมจำนวนหุ้น 6.72 แสนหุ้น มูลค่าประมาณ 67 ล้านบาท ก่อนนำหุ้นดังกล่าวไปทยอยเทขายในตลาดหุ้น โดยเรื่องดังกล่าวเกิดความแตกขึ้นมาเมื่อทายาทของนายวรรโณทัย อมาตยกุล นักธุรกิจตระกูลดัง เจ้าของหุ้นที่แท้จริง ได้นำใบรับรองหุ้นไปตรวจสอบกับศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ของตลาดหลักทรัพย์ แต่ปรากฏว่าหุ้นดังกล่าวถูกเปลี่ยนมือ โดยขายทอดตลาดไปแล้วตั้งแต่ปี 2547

ล่าสุดเวลา 10.00 น. วันที่ 21 กุมภาพันธ์ พล.ต.ต.สาโรจน์ พรหมเจริญ ผบก.น.2 เปิดเผยว่า คดีดังกล่าวเกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงปี 2547-2548 โดยรายละเอียดเท่าที่ทราบคือ ผู้เสียหายคือนายวรรโณทัย อมาตยกุล นักธุรกิจตระกูลดัง ชอบเก็งกำไรด้วยการซื้อหุ้นบริษัทใหญ่ๆ ที่มีความน่าเชื่อถือมาเก็บไว้ โดยในช่วงที่เกิดเหตุหุ้นของเครือซิเมนต์ไทยอยู่ในช่วงสูงสุด หุ้นแต่ละหุ้นมีราคาในท้องตลาดถึงหุ้นละ 100 บาท ผู้เสียหายจึงเปิดเครดิตกับโบรกเกอร์ เพื่อซื้อหุ้นจำนวนตามที่เป็นข่าวไว้แล้ว จากนั้นนำเอกสารซื้อหุ้นไปฝากไว้กับนายประพันธ์ ชูเมือง เจ้าหน้าที่ฝ่ายทะเบียนหุ้นส่วนของบริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)

พล.ต.ต.สาโรจน์ กล่าวต่อว่า เมื่อนายวรรโณทัยนำเอกสารซื้อหุ้นไปฝากไว้ ทำให้นายประพันธ์สบช่องทำใบทะเบียนผู้ถือหุ้นปลอมขึ้นมา ก่อนจะนำไปคืนให้นายวรรโณทัย จากนั้นนายประพันธ์ได้นำใบหุ้นไปขายต่อ กระทั่งนายวรรโณทัยเสียชีวิตด้วยโรคชราเมื่อปีที่แล้ว ทายาทจึงตั้งนายวรรณพงษ์ รุ่งโรจน์วุฒิกุล เป็นผู้จัดการมรดก เพื่อดำเนินการแบ่งมรดกให้ทายาททุกคน โดยส่วนของหุ้นของเครือซิเมนต์ไทยตกเป็นของบุตรชายคือ นายเกียรติพงษ์ อมาตยกุล อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงาน ภาค 6 ทั้งนี้ นายวรรณพงษ์ในฐานะผู้จัดการมรดกได้ติดต่อไปยังนายประพันธ์ ผู้ต้องหา เพื่อปรึกษา เนื่องจากเห็นว่ามีความสนิทสนมกับผู้ตาย และดูแลผลประโยชน์ด้านหุ้นให้แก่ผู้ตายมาโดยตลอด

ระหว่างนั้น นายประพันธ์ยังรับปากว่าจะดำเนินการเปลี่ยนชื่อผู้ถือหุ้นจากนายวรรโณทัย เป็นชื่อของนายเกียรติพงษ์ ทั้งๆ ที่รู้อยู่ว่าตนเองนำหุ้นออกขายไปหมดแล้ว จึงมีผลเท่ากับนายประพันธ์ปลอมเอกสารขึ้นถึง 2 ครั้ง เมื่อได้ใบหุ้นปลอมไป ต่อมานายวรรณพงษ์จึงนำหุ้นดังกล่าวไปตรวจสอบกับศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ของตลาดหลักทรัพย์ แต่กลับปรากฏว่าหุ้นดังกล่าวเป็นหุ้นที่ถูกเปลี่ยนมือ คือมีการขายทอดตลาดไปแล้วตั้งแต่ปี 2547 นายวรรณพงษ์และทายาทจึงนำเรื่องไปปรึกษากับบริษัท ทางบริษัทจึงตั้งตัวแทนเข้าแจ้งความต่อพนักงานสอบสวน สน.เตาปูน ตั้งแต่เดือนมกราคม ที่ผ่านมา กระทั่งศาลอาญาได้พิจารณาออกหมายจับผู้ต้องหาตั้งแต่วันที่ 2 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ผบก.น.2 กล่าว

พ.ต.ท.พิสิฐชัย สุนทรธนปรีดา พนักงานสอบสวน (สบ 3) สน.เตาปูน เจ้าของคดีเปิดเผยว่า คดีนี้บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) ได้มอบอำนาจให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายนิติการเข้าแจ้งความตั้งแต่วันที่ 30 มกราคม ที่ผ่านมา หลังจากรับแจ้งความได้ทำรายงานเสนอผู้บังคับบัญชาทราบข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น โดย พ.ต.อ.วีระ จิรวีระ ผกก.สน.เตาปูน ได้ตั้งคณะทำงานชุดเฉพาะกิจขึ้น โดยมีพนักงานสอบสวน 3 นาย เพื่อประสานขอข้อมูลด้านธุรกรรมระหว่างผู้เสียหายกับบริษัทขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ และขอข้อมูลเกี่ยวกับตัวผู้ต้องหาคือนายประพันธ์ ชูเมือง อายุ 37 ปี ภูมิลำเนาเดิม บ้านเลขที่ 66/2 หมู่ 9 ต.นิคมพัฒนา อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก

อย่างไรก็ตาม ข้อเท็จจริงปรากฏว่า เมื่อปี 2546 นายวรรโณทัย ผู้เสียหายได้ติดต่อของซื้อหุ้นของบริษัทเป็นจำนวนหลายแสนหุ้นเพื่อมาเก็บไว้ แต่เนื่องจากผู้เสียหายไม่ต้องการขายทำกำไร เพราะต้องการเก็บไว้เป็นทรัพย์สินให้แก่ลูกหลาน จึงไปแจ้งต่อศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ของตลาดหลักทรัพย์ เพื่อขอปิดหุ้นจำนวนดังกล่าวไว้ โดยทางศูนย์ออกใบรับรองมอบให้นายวรรโณทัยถือไว้ 1 ฉบับ จากนั้นนายวรรโณทัยจึงนำใบรับรองไปฝากไว้กับนายประพันธ์ด้วยความไว้วางใจ กระทั่งปี 2547 ผู้ต้องหาออกอุบายว่า ทำใบรับรองหายแล้วไปแจ้งความ เพื่อขอใบรับรองใหม่ให้ผู้เสียหาย แต่กลับปลอมใบรับรองแล้วมอบคืนให้ผู้เสียหาย ส่วนใบรับรองตัวจริงนำไปทยอยเทขายในตลาดหุ้น กระทั่งเรื่องแดงขึ้น ภายหลังทายาทนำใบรับรองไปตรวจสอบ

พ.ต.ท.พิสิฐชัย กล่าวอีกว่า จากการตรวจสอบ เจ้าหน้าที่ยังพบพิรุธมากมายเกี่ยวกับธุรกรรมด้านการเงินของผู้ต้องหา เนื่องจากที่ผ่านมาได้โอนเงินเข้าออกบัญชีธนาคารหลายแห่ง ทั้งกรุงไทย กรุงเทพ ไทยพานิชย์ และกรุงศรีอยุธยา ครั้งละเป็นจำนวนมาก ซึ่งตำรวจได้ประสานกับธนาคารเหล่านี้ เพื่อตรวจสอบข้อมูลด้านการเงินของผู้ต้องหาแล้ว นอกจากนั้นผู้ต้องหายังซื้อขายหุ้นดังๆ อีกหลายตัวในตลาดหลักทรัพย์ ล่าสุดเมื่อประมาณสัปดาห์ที่แล้ว มีการเทขายหุ้นตัวหนึ่งเป็นมูลค่า 15 ล้านบาท โดยโอนเงินผ่านธนาคารแห่งหนึ่ง แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจเช็กเจอ จึงอายัดไว้ได้ก่อน

นอกจากนี้ ขณะที่พนักงานสอบสวนได้ตรวจสอบข้อมูลกับบริษัทก็ได้รับแจ้งจากทางบริษัทว่า ผู้ต้องหาได้ทุจริตด้วยการเพิ่มจำนวนหุ้นในเครือบริษัทฟินิคซ พัลพ แอนด์ เพเพอร์ ให้มีจำนวนมากกว่าที่ระบุไว้ในใบซื้อขายแล้วนำเงินส่วนต่างที่ได้ไปโอนเข้าบัญชีเงินฝากของนางมยุรี สมบูรณ์ อายุ 36 ปี ภรรยาของนายประพันธ์

ทางพนักงานสอบสวนคาดว่า นางมยุรีน่าจะมีส่วนรู้เห็นในคดีนี้ จึงได้รวบรวมพยานหลักฐานเพื่อเสนอศาลอาญาพิจารณาอนุมัติออกหมายจับในข้อหาร่วมกันปลอมและใช้ใบหุ้นปลอมแก่นายประพันธ์และนางมยุรี ซึ่งศาลอนุมัติออกหมายจับที่ 370-371 /52 ลงวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2552 ที่ผ่านมา และเจ้าหน้าที่ฝ่ายสืบสวนได้ติดตามจับกุมนางมยุรีได้เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ ซึ่งนางมยุรีได้ให้การปฏิเสธ ไม่รู้เห็น เพราะได้เลิกรากันไปนานแล้ว และใช้เงินสดจำนวน 2 แสนบาท ประกันตัวออกไปในชั้นศาล แต่เจ้าหน้าที่ยังไม่ปักใจเชื่อตามที่ผู้ต้องหาให้การ พ.ต.ท.พิสิฐชัย กล่าว

 

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายประพันธ์ ผู้ต้องหาที่ยังอยู่ระหว่างหลบหนีนั้น เจ้าหน้าที่ตำรวจฝ่ายสืบสวนปราบปรามและฝ่ายสืบสวน สน.เตาปูน ได้เบาะแสแล้วว่าหลบหนีไปกบดานอยู่ในจังหวัดแห่งหนึ่งในภาคเหนือ และกำลังติดตามจับกุมอย่างกระชั้นชิด คาดว่าจะได้ตัวในเร็วๆ นี้ ขณะเดียวกันเจ้าหน้าที่ตำรวจฝ่ายสืบสวน สน.เตาปูน ได้ประสานงานกับ กก.สส.บก.น.2 และศูนย์สืบสวนกองบัญชาการตำรวจนครบาล พร้อมกับประสานไปยังด่านตรวจคนเข้าเมืองทุกจุดทั่วประเทศ เพื่อสกัดไม่ให้ผู้ต้องหาหนีออกนอกประเทศได้

เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว อดีตผู้ต้องโทษคดีปลอมแปลงเอกสาร ซึ่งเคยอยู่ในขบวนการปลอมแปลงเอกสารมา กระทั่งถูกจับกุมและพ้นโทษออกมา ให้ข้อมูลว่า ในวงการปลอมแปลงเอกสารส่วนใหญ่จะไม่รับทำใบหุ้นปลอม เพราะได้ไม่คุ้มเสีย คนที่นำใบหุ้นมาให้ปลอมจะได้ผลประโยชน์มหาศาลหลายสิบล้านบาท ขณะที่คนทำได้รับเงินค่าจ้างเพียง 1-2 หมื่นบาทเท่านั้น ดังนั้นจึงไปรับงานสุจริตทำจะดีกว่า เพราะไม่เสี่ยงถูกตำรวจจับกุม อีกทั้งยังได้ราคาค่าจ้างพอๆ กัน และเป็นงานถูกกฎหมายด้วย ครั้นจะนำใบหุ้นมาปลอมเองก็เข้าไม่ถึงวงใน

กรณีอย่างนี้ต้องเป็นคนในของบริษัทเป็นคนทำเอง วิธีทำนั้นง่ายมาก ไม่ได้สลับซับซ้อนอะไรเลย แค่พิมพ์ขึ้นมาให้เหมือนใบจริงมากที่สุดเท่านั้น แต่คนส่วนใหญ่เขาไม่ทำกัน เพราะคนทำได้แค่ไม่กี่หมื่น แต่คนเอามาให้ทำกลับได้เป็นสิบยี่สิบล้าน

ขณะที่ตำรวจชุดสืบสวนที่คลุกคลีกับคดีปลอมแปลงเอกสาร มองว่า คดีเช่นนี้เป็นลักษณะเฉพาะออกไป คือคนทำต้องมีความรู้เรื่องกฎหมายตลาดหลักทรัพย์และคลุกคลีอยู่ในวงการเงินมานาน เท่าที่ผ่านมาไม่เคยพบคดีแก๊งปลอมแปลงเอกสารทั่วๆ ไปปลอมใบหุ้นลักษณะนี้มาก่อน หรือถ้าพบก็น้อยมาก อาจเป็นเพราะว่ารายได้น้อยเลยไม่อยากเสี่ยง สู้ปลอมแปลงบัตรเครดิต บัตรเอทีเอ็ม หรือปลอมหนังสือเดินทางไม่ได้ เพราะเป็นสากลคนจึงต้องการมากกว่า

นายกานต์ ตระกูลฮุน กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย กล่าวว่า บริษัทได้เร่งตรวจสอบต้นตอที่มา และความเสียหายที่เกิดขึ้น พบว่ามีมูลความจริง โดยมีใบหุ้นสามัญเลขที่ 0025001-0025034 หายไปจำนวน 34 ใบ มูลค่านับหมื่นล้านบาท ซึ่งบริษัทได้แจ้งความและยกเลิกใบหุ้นดังกล่าวแล้ว

น.ส.โสภาวดี เลิศมนัสชัย รองผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ เตือนว่า หากผู้ถือหุ้นปูนซิเมนต์ไทยคนใดที่ถือครองเป็นใบหุ้นอยู่ และไม่แน่ใจก็สามารถนำใบหุ้นมาให้ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ตรวจสอบได้ และอยากแนะนำให้ผู้ถือหุ้นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ทุกคน ควรนำหุ้นที่ถืออยู่มาเข้าระบบสคริปเลส (Scrip less) หรือระบบไร้ใบหุ้น เพราะระบบของศูนย์รับฝากจะเก็บข้อมูลไว้ในระบบอย่างดีปลอดภัยไม่ต้องกลัวสูญหายและเป็นไปตามมาตรฐานสากล

ทั้งนี้ การเปิดโปงคดีดังกล่าวสืบเนื่องจาก ผลประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) ตรวจสอบเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา มีมติให้แจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) กรณีมีผู้ปลอมแปลงใบหุ้นสามัญของบริษัท โดยเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2552 บริษัทได้รับแจ้งจากบริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด ระบุว่า มีการปลอมแปลงใบหุ้นสามัญของบริษัท 2 ใบ รวมจำนวนหุ้นทั้งสิ้น 6.72 แสนหุ้น เป็นมูลค่าหุ้นประมาณ 67 ล้านบาท และจากการตรวจสอบพบว่า แบบฟอร์มใบหุ้นสามัญได้สูญหายจริง และมีจำนวนที่ตรวจพบดังกล่าว

ส่วนเรื่องที่เกิดขึ้น บริษัทได้ตั้งข้อสงสัยว่า นายประพันธ์ พนักงานคนหนึ่งของบริษัทเป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในกรณีดังกล่าว โดยผู้ต้องสงสัยได้หลบหนีไปในวันเดียวกัน เนื่องจากมีพิรุธกรณีจ่ายเงินปันผลที่เป็นหลักฐานมัดตัว บริษัทจึงแจ้งความเพื่อดำเนินคดีกับผู้ต้องสงสัย และศาลอาญาได้ออกหมายจับแล้วเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2552 ที่ผ่านมา