แบบฟอร์มสัญญาซื้อขายสินค้า

สัญญาซื้อขายนั้นทั่วไปเป็นสัญญาที่จัดทำขึ้นระหว่างสองฝ่าย คือ ผู้ขายกับผู้ซื้อโดยผู้ขายตกลงโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ซื้อขายกันนั้นให้แก่ผู้ซื้อ และผู้ซื้อต้องชำระราคาของทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้ขาย สัญญาซื้อขาย ก็จะเกิดขึ้นและกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินดังกล่าวก็จะตกเป็นของผู้ซื้อทันทีถึงแม้ว่าผู้ซื้อยังไม่ชําระราคาของทรัพย์สินก็ตาม ยกเว้นแต่ในกรณีของการซื้อด้วยเงินผ่อน ผู้ซื้อและผู้ขายอาจจะตกลงกันว่าเมื่อผ่อนชำระเงินกันเสร็จแล้วจะโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตามไป

ภายในสัญญาซื้อขาย จะประกอบด้วยรายละเอียดต่างๆ ดังนี้

  • ทำสัญญาซื้อขายที่ใด
  • วัน เดือน ปี ที่ทำสัญญา
  • รายละเอียดของผู้ซื้อ
  • รายละเอียดของผู้ขาย
  • รายละเอียดของทรัพย์สินที่ซื้อขายกัน
  • ราคาของทรัพย์สิน
  • ข้อตกลงของสัญญาซื้อขายระหว่างสองฝ่าย
  • ลงชื่อผู้ซื้อ ผู้ขายและพยาน

ซื้อขาย หมายถึง สัญญาซึ่งบุคคลฝ่ายหนึ่ง เรียกว่า ผู้ขาย โอนกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินให้แก่บุคคลอีกฝ่ายคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้ซื้อ และผู้ซื้อตกลงว่าจะใช้ราคาทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้ขาย

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์, มาตรา 453.

ประเภทของสัญญาซื้อขาย

  1. สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด
  2. สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข
  3. สัญญาซื้อขายมีเงื่อนเวลา
  4. สัญญาจะซื้อจะขาย
แบบฟอร์มสัญญาซื้อขายสินค้า
ภาพตัวอย่าง แบบฟอร์มสัญญาซื้อขาย

ประเภทของทรัพย์สินที่ต้องทำตามแบบสัญญาซื้อขายที่กฎหมายกำหนดเอาไว้

  1. อสังหาริมทรัพย์ ได้แก่ ที่ดิน, ทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดิน, ทรัพย์อันประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดิน, ทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับที่ดิน
  2. สังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ ได้แก่ เรือกำปั่น, เรือที่มีระวางตั้งแต่ 6 ตันขึ้นไป, เรือกลไฟ, เรือยนต์มีระวางตั้งแต่ 5 ตันขึ้นไป, เรือนแพที่เป็นที่อยู่อาศัยของคน , สัตว์พาหนะ

ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม สัญญาซื้อขาย WORD

ก็จบไปแล้วนะครับสำหรับข้อมูลและตัวอย่างของแบบฟอร์มสัญญาซื้อขาย ยังไงก็ลองดาวน์โหลดตัวอย่าง สัญญาซื้อขาย นำไปปรับปรุงแก้ไขได้เลยนะครับ แล้วพบกันใหม่ได้ในแบบฟอร์มหน้ากันนะครับ สำหรับวันนี้ขอลาไปก่อนแล้วเจอกันใหม่ครับ บายๆ

สัญญาซื้อขายสินค้าหรือข้อตกลงการซื้อขายสินค้า เป็นสัญญาซื้อขายลักษณะหนึ่ง กล่าวคือ มีคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ซื้อ และอีกฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ขาย โดยที่ผู้ซื้อตกลงซื้อสินค้ามาเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเอง และมีการชำระราคาค่าสินค้าให้แก่ผู้ขาย โดยในการซื้อสินค้าดังกล่าวอาจมีวัตถุประสงค์ในการนำสินค้ามาใช้ส่วนบุคคลหรือในครัวเรือน (Private Use) เช่น ซื้อโทรทัศน์มาใช้ในบ้าน หรือการนำสินค้ามาใช้ในทางการค้า (Commercial Use) ก็ได้ เช่น ซื้อสินค้ามาเพื่อจำหน่ายปลีกต่อ (Retail) ซื้อสินค้าซึ่งเป็นวัสดุมาประกอบหรือซึ่งเป็นวัตถุดิบมาผลิตเป็นสินค้าชนิดใหม่และขายสินค้าใหม่นั้น (Manufacturing) เป็นต้น

แม้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กำหนดให้การซื้อขายที่มีมูลค่าซื้อขายกันเกินกว่า 20,000 บาท หากไม่ได้มีการวางมัดจำหรือชำระเงินไปบางส่วนแล้ว จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือและลงชื่อคู่สัญญาฝ่ายที่มีหน้าที่ จึงจะสามารถฟ้องร้องบังคับกันได้ อย่างไรก็ดีเพื่อความชัดเจนในเงื่อนไขสำคัญต่างๆ อันเกี่ยวกับการซื้อขายสินค้าแก่คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายให้รู้และทราบถึงบทบาท สิทธิ และหน้าที่ของตนเป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็น คุณสมบัติของสินค้าที่ซื้อขาย จำนวนปริมาณ ราคาค่าสินค้า และเงื่อนไขการชำระราคาค่าสินค้า การขนส่งและส่งมอบสินค้า การรับประกันสินค้า การโอนกรรมสิทธิ์และความเสี่ยงภัยในสินค้า และเงื่อนไขอื่นๆ คู่สัญญาควรจัดทำสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรในทุกๆ กรณี ซึ่งจะช่วยลดข้อพิพาทและ/หรือความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการซื้อขายระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายได้เป็นอย่างมาก

ในกรณีที่สินค้าที่ซื้อขายกันเป็นยานพาหนะ เช่น รถยนต์ รถจักรยานยนต์ หรือเรือ ผู้จัดทำควรเลือกใช้ สัญญาซื้อขายยานพาหนะ ซึ่งถูกร่างและมีข้อสัญญาที่เกี่ยวกับการซื้อขายยานพาหนะโดยเฉพาะ

การนำไปใช้

สัญญาซื้อขายสินค้าหรือข้อตกลงการซื้อขายสินค้า ผู้จัดทำควรพิจารณา ดังต่อไปนี้

  • ระบุ รายละเอียดเกี่ยวกับสินค้า เช่น จำนวน ปริมาณ รายละเอียดคุณสมบัติ คุณลักษณะเฉพาะ คุณภาพ มาตรฐาน แหล่งผลิต รูปภาพ สินค้าตัวอย่าง โดยหากรายละเอียดดังกล่าวมีเอกสารอ้างอิง เช่น แค็ตตาล็อก แบบรูปสินค้า คู่สัญญาก็ควรจะนำมาแนบเป็นเอกสารแนบท้ายสัญญา ด้วย
  • ระบุ รายละเอียดเกี่ยวกับราคาสินค้าและเงื่อนไขการชำระราคา เช่น วิธีการชำระเงิน การคำนวณค่าสินค้า ค่าภาษีต่างๆ ระยะเวลาการชำระเงิน โดยหากรายละเอียดดังกล่าวมีเอกสารอ้างอิง เช่น ใบเสนอราคา ใบสั่งซื้อ คู่สัญญาก็ควรจะนำมาแนบเป็นเอกสารแนบท้ายสัญญาด้วย
  • กำหนด รายละเอียดเกี่ยวกับการส่งมอบและขนส่งสินค้า เช่น สถานที่ส่งมอบ ระยะเวลาหรือกำหนดการส่งมอบ ผู้รับผิดชอบดำเนินการขนส่งและค่าขนส่งต่างๆ ค่าประกันภัยสินค้าในการขนส่ง วิธีและมาตรฐานการขนส่งโดยเฉพาะของสินค้า และขั้นตอน วิธีการตรวจรับ และการรับมอบสินค้าที่ซื้อขายนั้นๆ (ถ้ามี)
  • กำหนด เงื่อนไขและ/หรือเงื่อนเวลาการโอนกรรมสิทธิ์และความเสี่ยงภัยในสินค้าที่ซื้อขายนั้น
  • คู่สัญญาอาจตกลงกันให้คู่สัญญา ไม่ว่าผู้ซื้อ ผู้ขาย หรือทั้งสองฝ่าย วางหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญาหรือมัดจำด้วยก็ได้ เพื่อเป็นหลักประกันว่าผู้ซื้อและ/หรือผู้ขายจะปฏิบัติตามข้อตกลงในสัญญาซื้อขายที่เป็นหน้าที่ของตน เช่น การชำระราคาสินค้าส่วนที่เหลือ ยอมรับมอบสินค้า ในกรณีที่ผู้ซื้อวางหลักประกัน หรือ การส่งมอบสินค้าตามคุณสมบัติที่กำหนด ส่งมอบสินค้าตามกำหนดระยะเวลา ในกรณีที่ผู้ขายวางหลักประกัน โดยหลักประกันดังกล่าวไม่ว่ากรณีใด คู่สัญญาต้องวางไว้ให้ต่อกัน ณ วันทำสัญญาเท่านั้น จึงจะถือว่าเป็นมัดจำตามกฎหมาย มิฉะนั้น ในกรณี คู่สัญญาที่วางหลักประกันผิดสัญญา คู่สัญญาฝ่ายที่รับหลักประกันไว้จะยังไม่สามารถริบหลักประกันดังกล่าวได้ทันที
  • กำหนด เงื่อนไขอื่นๆ เกี่ยวกับการซื้อขายสินค้า (ถ้ามี) เช่น เงื่อนไขการรับประกันความชำรุดบกพร่องของสินค้า (Warranty) นโยบายการคืนเงิน (Refund) การทดลองใช้ (Trial) การซื้อคืน (Repurchase) การเปลี่ยนคืนสินค้า (Replacement) ปริมาณการซื้อขั้นต่ำ (Minimum Order Quantity) ค่าปรับในกรณีต่างๆ (Penalty) เช่น ค่าปรับการชำระราคาล่าช้า ค่าปรับการส่งมอบไม่ถูกต้องและ/หรือล่าช้า การจำกัดการขายสินค้าและการบังคับขายสินค้าของผู้ขาย การสนับสนุนและให้ความช่วยเหลือในการใช้งาน (Product Support) การอบรมการใช้งานสินค้า (Training) และการรับรองการนำสินค้าไปใช้ตามวัตถุประสงค์
  • คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายควรลงนามในสัญญา ซึ่งคู่สัญญาอาจจัดทำสัญญาเป็นสองฉบับหรือมากกว่า เพื่อให้คู่สัญญาแต่ละฝ่ายยึดถือไว้อ้างอิงได้อย่างน้อยฝ่ายละหนึ่งฉบับ และใช้เพื่อเป็นหลักฐานแห่งการนั้นด้วย ซึ่งในกรณีคู่สัญญาเป็นนิติบุคคลผู้ที่ลงนามจะต้องเป็นผู้ที่มีอำนาจลงนาม และการลงนามต้องลงนามตามเงื่อนไขที่จดทะเบียนนิติบุคคลเอาไว้จึงจะผูกพันนิติบุคคลนั้นๆ โดยสามารถตรวจสอบผู้มีอำนาจลงนามและเงื่อนไขการลงนามของนิติบุคคลได้จากหนังสือรับรองที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ออกให้ เช่น กรรมการบริษัทสองคนลงนามร่วมกันและประทับตรา
  • คู่สัญญาแต่ละฝ่ายควรจะขอเอกสารแสดงตัวตนของอีกฝ่ายหนึ่งที่เจ้าของเอกสารลงนามรับรองสำเนาถูกต้องมาเก็บไว้ประกอบสัญญาฉบับที่ตนเองถือไว้ด้วย เพื่อสามารถอ้างอิงลายมือชื่อที่ลงไว้ในสัญญาว่าเป็นของบุคคลนั้นจริง เช่น สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือสำเนาหนังสือเดินทางที่รับรองสำเนาถูกต้องของคู่สัญญาผู้นั้น สำหรับคู่สัญญาที่เป็นบุคคลธรรมดา และสำเนาหนังสือรับรองและสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลที่ลงชื่อในสัญญานี้ บุคคล เช่น กรรมการ หุ้นส่วนผู้จัดการ ผู้รับมอบอำนาจ ในกรณีที่คู่สัญญานั้นเป็นนิติบุคคลโดยเอกสารที่เป็นสำเนาและเป็นเอกสารของบุคคล ต้องให้บุคคลผู้เป็นเจ้าของเอกสารนั้นลงนามรับรองสำเนาด้วย ในกรณีที่เจ้าของเอกสารนั้นเป็นนิติบุคคล เช่น หนังสือรับรอง หรือสำเนาเอกสารอื่นใดที่เป็นของนิติบุคคล ผู้ลงนามและเงื่อนไขการลงนามรับรองสำเนาถูกต้องจะต้องเป็นไปตามผู้ลงนามและเงื่อนไขการลงนามที่ระบุไว้ในหนังสือรับรองด้วยเช่นกัน กล่าวคือ ผู้ลงนามและเงื่อนไขเหมือนกับการลงนามในสัญญา

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

ความช่วยเหลือจากทนายความ

คุณสามารถเลือกที่จะปรึกษาทนายความได้ในกรณีที่คุณต้องการความช่วยเหลือ

ทนายความสามารถช่วยคุณได้โดยทำการตอบคำถามของคุณหรือให้ความช่วยเหลือในกระบวนการต่าง ๆ จะมีการเสนอตัวเลือกดังกล่าวไว้ให้คุณในตอนท้ายของเอกสาร

แก้ไขแบบฟอร์มได้อย่างไร

คุณกรอกแบบสอบถามสำหรับป้อนข้อมูลแล้วจะเห็นได้ว่าระบบของเราจะค่อย ๆ สร้างเอกสารขึ้นเองโดยอัตโนมัติตามคำตอบที่คุณกรอกเข้าไป