การพัฒนาระบบสารสนเทศในองค์กร

วิธีการพัฒนาระบบสารสนเทศ

Show

1)  การพัฒนาระบบงานแบบดั้งเดิม (Traditional SDLC Methodology) เป็นการพัฒนาระบบสารสนเทศตามวงจรการพัฒนาระบบที่มีขั้นตอนที่แน่นอน วิธีนี้เป็นวิธีเก่าแก่ที่สุดและนิยมเรียกย่อๆ ว่า SDLC

2)  การสร้างต้นแบบ (Prototyping) เป็นการสร้างระบบต้นแบบขึ้นมาเพื่อให้ผู้ใช้ทดลองใช้งานซึ่งนอกจากผู้ใช้จะได้แนวคิดเกี่ยวกับสารสนเทศที่ต้องการแล้วยังช่วยให้มองเห็นภาพของระบบที่จะพัฒนาได้ชัดเจนขึ้น

การพัฒนาระบบโดยใช้ตนแบบแบงออกเป็น 4 ขั้นตอน

ขั้นที่ 1 :  ระบุความต้องการเบื้องต้นของผู้ใช้

ขั้นที่ 2 :  พัฒนาต้นแบบเริ่มแรก

ขั้นที่ 3 :  นำต้นแบบมาใช้

ขั้นที่ 4 :  ปรับปรุงแก้ไขต้นแบบ

3)  การพัฒนาระบบโดยผู้ใช้ (End-user Development)

4)  การใช้บริการจากแหล่งภายนอก (Outsourcing) เนื่องจากองค์การไม่มีบุคลากรที่มีทักษะความชำนาญ การจ้างหน่วยงานหรือบริษัทภายนอกที่มีความชำนาญด้านนี้มาทำการพัฒนาระบบให้ ซึ่งการทำสัญญาจ้างให้หน่วยงานภายนอกมาทำงานเกี่ยวกับการดำเนินงานของฝ่ายคอมพิวเตอร์นี้เรียกว่า IT Outsourcing ในที่นี้จะเรียกสั้นๆ ว่า Outsourcing

5)  การใช้ซอฟแวร์สำเร็จรูปประยุกต์ (Application Software Package) เป็นทางเลือกหนึ่งในการพัฒนา เช่น ระบบงานเงินเดือน ระบบบัญชีลูกหนี้ หรือระบบควบคุมสินค้าคลคลัง หากซอฟต์แวร์สำเร็จรูปสามารถสนองต่อความต้องการระบบงานขององค์การได้ องค์การก้ไม่จำเป็นต้องพัฒนาขึ้นเอง เนื่องจากโปรแกรมสำเร็จรูปได้รับการออกแบบและผ่านการทดสอบแล้ว จึงช่วยลดค่าใช่จ่ายและเวลาในการพัฒนาระบบใหม่และยังช่วยให้การทดสอบ การติดตั้ง และการบำรุงรักษาระบบเป็นไปได้ง่ายขึ้น

 

การพัฒนาระบบแบบออบเจ็กต์ (Object-Oriented Methodology)

ประกอบด้วยกลุ่มของวัตถุ (Class of Objects) ซึ่งทำงานร่วมกัน มีการจัดกลุ่มของข้อมูลและพฤติกรรมหรือฟังก์ชันที่กระทำกับข้อมูลนั้นเป็นกลุ่มๆ ในรูปของออบเจ็กต์ เนื่องจากออบเจ็กต์มีคุณสมบัติในการนำกลับมาใช้ใหม่ได้ (Reusability) การพัฒนาโปรแกรมแบบออบเจ็กต์จึงใช้เวลาในการพัฒนาน้อยกว่าวิธีอื่น

 

การพัฒนาระบบงานประยุกต์แบบรวดเร็ว (Rapid Application Development) เป็นขั้นตอนในการพัฒนาระบบที่ใช้ระยะเวลาในการพัฒนารวดเร็วกว่าและคุณภาพดีกว่าวิธีพัฒนาระบบงานแบบดั้งเดิม  โดยมีการนำเครื่องมือซอฟต์แวร์มาช่วยในการพัฒนาระบบซึ่งมีขั้นตอนในการพัฒนาระบบอยู่ 4 ขั้นตอนคือ

ระบบสารสนเทศเพื่อการพัฒนาองค์กร เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญต่อประสิทธิภาพขององค์กรหรือธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัจจุบันโลกมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา มีการแข่งขันทางธุรกิจสูง องค์กรที่มีการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพ สามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว ย่อมทำให้องค์กรสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ ดังนั้นการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในองค์กร เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ องค์กรสร้างความแข็งแกร่ง เพิ่มประสิทธิในการผลิตสินค้าและบริการนำสู่ธุรกิจยุคใหม่ต่อไป

ระบบสารสนเทศ (Information System) คือ การรวบรวมประมวลผลกลั่นกรองข้อมูลต่าง ๆ ให้น่าเชื่อถือและสามารถนำข้อมูลที่ประมวลผลแล้วไปใช้ประกอบกับการตัดสินใจ เพื่อช่วยในการสรุปผลในเชิงบริหารขององค์กรได้ ระบบสารสนเทศประกอบด้วย

  • ข้อมูล คือ ข้อมูลดิบที่ยังไม่ได้ผ่านการประมวลผล
  • บุคลากร คือ ผู้ที่จะนำข้อมูลดิบที่ได้ไปประมวลผลให้เป็นสารสนเทศ
  • ขั้นตอนการปฏิบัติงาน คือ ขั้นตอนการนำข้อมูลไปประมวลผลให้เกิดเป็นสารสนเทศที่ถูกต้องและน่าเชื่อถือ
  • ฮาร์ดแวร์ คือ อุปกรณ์ที่ช่วยในการจัดการสารสนเทศ
  • ซอฟต์แวร์ คือ ชุดคำสั่งที่ช่วยในการประมวลผลสารสนเทศให้ได้ตามความต้องการ

เทคโนโลยีสารสนเทศกับระบบสารสนเทศ[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology: IT) คือ เทคโนโลยีในการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการรวบรวม การจัดเก็บ การประมวลผล และการเผยแพร่ข้อมูลสารสนเทศอย่างมีระบบ และเทคโนโลยีสารสนเทศมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญมากต่อองค์กร

ส่วนระบบสารสนเทศ (Information System: IS) คือ ระบบงานที่นำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาทำหน้าที่ในการรวบรวม ประมวลผล จัดเก็บ และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารจากสภาพแวดล้อมและการปฏิบัติงานขององค์กร เพื่อให้ข้อมูลเหล่านั้นเป็นข้อมูลสารสนเทศที่เป็นประโยชน์สูงสุดในการสนับสนุนในการบริหารและการตัดสินใจขององค์กร

เศรษฐกิจเชิงดิจิทัล(Digital Economy)[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

เศรษฐกิจเชิงดิจิทัล (Digital economy) หมายถึง การใช้ระบบเว็บเบสบน อินเตอร์เน็ต และเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์

เศรษฐกิจเชิงดิจิทัล ยังอาจเรียกว่า Internet economy, New economy หรือ Web economy (content providers)


คุณสมบัติและลักษณะเด่นของเศรษฐกิจเชิงดิจิทัลประกอบด้วย

  • การติดต่อสื่อสารสามารถทำงานร่วมกันได้จากทุกๆ ที่ในโลก
  • ปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นทีวีไปจนถึงโทรศัพท์ และอุปกรณ์ที่เป็นระบบอนาลอกต่างๆ ถูกรวมเข้าในรูปแบบดิจิทัล
  • ทำให้กระบวนการทางธุรกิจมีความรวดเร็วขึ้น
  • ตลาดในสถานที่จริงได้ถูกแทนที่ด้วยตลาดบนอินเตอร์เน็ต
  • องค์กรจำนวนมากกำลังพยายามเปลี่ยนสถานะตัวเองให้เป็นดิจิตัลเต็มรูปแบบ

===ดิจิทัลออแกนไนเซชัน เป็นรูปแบบการจัดการองค์การสมัยใหม่โดยใช้ระบบดิจิตอลในการเพิ่มผลผลิตและเพิ่มประสิทธิภาพให้กับองค์การ และช่วยให้องค์การสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น การนำระบบคอมพิวเตอร์มาในงานโรงพยาบาลอย่างเต็มรูปแบบ ยกตัวอย่างเช่น โรงพยาบาลบำรุงราษฏร ที่ได้นำระบบ และระบบคอมพิวเตอร์ มาใช้ในการยืนยันตัวตนผู้ป่วยที่พักรักษาตัวอยู่ภายในโรงพยาบาล เพื่อป้องกันการผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นในการระบุตัวของผู้ป่วย ทำให้ระบุผลการตรวจได้อย่างถูกต้อง และรวดเร็ว ทั้งยังเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจรักษา ทางโรงพยาบาลได้นำระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการวิเคราะห์โรคของแพทย์และ แพทย์สามารถค้นหาประวัติผู้ป่วยได้อย่างรวดเร็วและสามารถดูประวัติการรักษาผู้ป่วยในอดีตได้

รูปแบบทางธุรกิจ (Business Model) หมายถึง กระบวนการในการดำเนินธุรกิจที่ทำให้บริษัทมีรายได้และผลกำไรเพื่อทำให้บริษัทยังคงดำเนินธุรกิจต่อไปได้ ซึ่งรูปแบบทางธุรกิจ (Business Model) นี้ช่วยเพิ่มมูลค่าของสินค้าและบริการของบริษัท ตัวอย่างเช่น สถานีโทรทัศน์ฟรีทีวี เช่น ช่อง 3 7 9 5 และ 11 มีปัจจัยของความอยู่รอดของธุรกิจขึ้นอยู่กับรูปแบบทางธุรกิจที่ซับซ้อน เช่น การโฆษณา ผู้จัดหาเนื้อหา (content providers)

การปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ในองค์กร(Adaptive Enterprise)[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

เป็นการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ที่นำมาใช้งานในองค์กร เพื่อพัฒนาศักยภาพขององค์กรให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงของธุรกิจที่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา

โมบายคอมพิวติง(Mobile Computing) และเอ็มคอมเมิรซ์(M-Commerce)[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

โมบายคอมพิวติง (Mobile Computing) เป็นลักษณะการใช้งานอุปกรณ์สื่อสารไร้สายที่สามารถเคลื่อนย้ายได้ เช่น notebook โทรศัพท์มือถือ PDA เป็นต้น

เอ็มคอมเมิรซ์ (M-Commerce) เป็นลักษณะการทำธุรกรรมไม่ว่าจะเป็นการซื้อหรือขายสินค้าผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยอาศัยอุปกรณ์ไร้สายต่าง ๆ เช่น โทรศัพท์มือถือ, pocket pc เป็นต้น

ความจำเป็นของการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในองค์กร[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

สภาพแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อองค์กร[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

สภาพแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อองค์กร (Business Environment Impact) ในบางครั้งประสิทธิภาพการทำงานขององค์กรมิได้เกิดจากภายในขององค์กรเอง

แต่ยังขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมภายนอกซึ่งส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพขององค์กรอย่างมากมายและไม่สามารถควบคุมได้ ดังนั้นองค์กรมีความจำเป็นต้องทราบถึงปัญหา (problems)

และโอกาส (opportunity) ที่เป็นองค์ประกอบหลักของสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อประสิทธิภาพในองค์กร (business environment impact)

ปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งที่ช่วยให้องค์กรมีตอบสนองในการแก้ไขปัญหา และมีโอกาสในพัฒนาองค์กรให้มีประสิทธิภาพตามกระบวนการขององค์กร (business process)

โดยองค์กรต้องมีเป้าหมาย (goals) กลยุทธ์ (strategy) และการวางแผนนโยบาย (plan) ที่ชัดเจน

ความกดดันของสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อประสิทธิภาพในองค์กร เมื่อมีการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ประกอบด้วย

  1. ภาพรวมทางด้านเศรษฐกิจมีการแข่งขันสูง
  2. คำนึงถึงความรวดเร็วในการทำงาน ไม่ทำงานล่าช้าสามารถแข่งขันกับคู่ค้าได้
  3. การให้พนักงานฝึกคิดการเปลี่ยนแปลงสิ่งใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อองค์กร
  4. ความน่าเชื่อถือขององค์กรในติดต่อกับลูกค้า เพื่อรักษาลูกค้า
  5. เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ต้องมีการปรับปรุงให้ทันสมัยตลอดเวลา
  6. การที่มีสารสนเทศจำนวนมาก ทำให้องค์กรพัฒนาการทำงานได้ยาก
  7. คำนึงถึงความรับผิดชอบทางด้านสังคม
  8. การควบคุมให้ปฏิบัติตามกฏหมายและกฎระเบียบของสังคม
  9. คำนึงถึงจรรยาบรรณ ความถูกผิดของการเทคโนโลยีสารสนเทศ
  10. การป้องกันการถูกโจมตีจากผู้ไม่หวังดี โดยเฉพาะการทำธุรกรรมผ่านทางอินเตอร์เน็ต

การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมมีอยู่ตลอดเวลา เพื่อทำให้องค์กรประสิทธิภาพหรือประสบความสำเร็จได้ องค์กรต้องมีการปรับตัวหรือมีความคล่องตัว (Agile) กระบวนการปรับองค์กรมีดังนี้

  1. ทำความเข้าใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงภายในองค์กรให้เร็วที่สุดเมื่อมันเกิดขึ้น หรือก่อนเกิดขึ้น เช่น การใช้ software เข้ามาช่วยในการทำนายและวิเคราะห์เกี่ยวกับธุรกิจในด้านต่างๆ และตรวจสอบหาข้อผิดพลาดก่อนจะเกิดวิกฤติขึ้นกับองค์กร
  2. เผชิญกับการเปลี่ยนแปลงที่ถูกต้องและเหมาะสม เช่น การเพิ่มประสิทธิภาพของ software ให้สามารถวิเคราะห์ความเป็นไปได้ที่จะเกิดความเสียงกับองค์กรทั้งหมดได้อย่างรวดเร็ว เพื่อให้องค์กรขับเคลื่อนไปในทิศทางที่ถูกต้อง และวิเคราะห์ความต้องการของผู้บริโภคเพื่อให้บริษัทมีความสามารถกำหนดราคาของสินค้า และบริการ ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
  3. เปลี่ยนองค์กรให้เป็น Digital และมีความคล่องตัว เนื่องจากในปัจจุบันเป็นยุคที่การติดต่อสื่อสารและข้อมูลมีความสำคัญมากจึงจะเป็นต้องปรับเปลี่ยนองค์กรให้มีความคล่องตัว วิเคราะห์ข้อมูล และมีการติดต่อสื่อสารที่รวดเร็ว เพื่อให้สามารถวิเคระห์ให้ผู้บริหารตัดสินใจได้อย่างรวดเร็วเพื่อเชิงความได้เปรียบทางธุรกิจ
  4. อย่ารอให้คู่แข่งทางการค้าเริ่มทำการเปลี่ยนแปลงก่อน
  5. ปรับเปลี่ยนระบบสารสนเทศขององค์กรให้มีความรวดเร็ว เพื่อให้การวิเคราะห์ แลกเปลี่ยนข้อมูล และจัดเก็บข้อมูลทำได้ด้วยความรวดเร็ว ดังนั้นบริษัทต้องมีการจัดการเกี่ยวกับระบบสารสนเทศที่ดีใช้เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ

ประโยชน์ของความคล่องตัวขององค์กร[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

เมื่อองค์กรมีการปรับตัวเพื่อรองรับกับสถานการณ์หรือความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น แล้วย่อมก่อให้เกิดความคล่องตัวภายในองค์กร ดังนั้นประโยชน์ของความคล่องตัวขององค์กร คือ ช่วยให้องค์กรสามารถแข่งขันกันทางการตลาดได้ และสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

กิจกรรมช่วยตอบสนองความวิกฤตที่เกิดขึ้นในขององค์กร[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

แรงกดดันจากสภาพแวดล้อมต่างๆ ที่เกิดขึ้นทำให้บริษัทต้องรับมือกับอุปสรรคที่เกิดขึ้น วิธีที่ช่วยสามารถตอบสนองต่อแรงกัดดัน หรือความวิกฤตที่ เกิดขึ้นในขององค์กรสามารถทำได้ดังนี้

  1. การพัฒนาระบบโดยใช้กลยุทธ์ (Develop strategic systems) เป็นระบบการนำกลยุทธ์ที่จัดเตรียมไว้มาทำให้เกิดประโยชน์ เช่น การพัฒนารูปแบบทางธุรกิจแบบใหม่ การลดต้นทุน การเพิ่มความสามารถด้านการบริการให้ดีขึ้น
  2. การสร้างพึงพอใจให้แก่ลูกค้าเป็นอันดับแรก
  3. การวิเคราะห์เพื่อทำให้สามารถดำเนินงานเป็นอย่างเหมาะสม ลดต้นทุน กระตุ้นการตัดสินใจในการผลิต สนับสนุนการทำงานรวมกัน เป็นตัวช่วยตัดสินใจสิ่งที่ทำเป็นประจำ
  4. การเปลี่ยนโครงสร้างใหม่ของการดำเนินธุรกิจ เพื่อทำให้มีประสิทธิภาพ และได้ผลการดำเนินงานให้ดีขึ้น โดยใช้วิธีการจัดการและการจัดระบบใหม่ในการดำเนินงานทาง
  5. การใช้ self-service ในการจัดการข้อมูลของลูกค้า พนักงาน และอื่นๆ เช่น การติดตามลูกค้า การเปลี่ยนที่อยู่ หรือเกี่ยวกับการจัดสินค้าที่มีอยู่
  6. การสนับสนุนการแข่งขัน โดยใช้หลักการดำเนินงานที่ดี การจัดการที่มีประสิทธิภาพและคุณภาพจะทำให้บรรลุผลสำเร็จ
  7. คำสั่งซื้อของลูกค้าหรือ By Order ต้องใช้ขั้นตอนและกระบวนการในการทำงานที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้การแข่งขันด้านราคาของสินค้าที่มีมาตรฐาน
  8. การหาความต้องการที่เหมาะสมของลูกค้า เพื่อกำหนดมาตรฐานหรือตามที่ลูกค้าสั่ง เพื่อให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
  9. การสร้างสมาชิกทางธุรกิจ ทำให้การแข่งขันทางธุรกิจมีโอกาสเท่าๆ กัน เพื่อลดความเสี่ยงและลดต้นทุน การร่วมมือกันเป็นการสร้างประสิทธิภาพ และหาผลประโยชน์อื่นๆ
  10. การกระตุ้นให้มีการปรับปรุงใหม่ และสร้างสรรค์นั้นต้องใช้วิธีการให้ของรางวัล และการร่วมมือกัน
  11. เป็นตัวช่วยการดำเนินธุรกิจ คือ ขบวนการทำงาน ,ขั้นตอนการทำงาน และ การดำเนินงานที่ทำเป็นประจำ โดยใช้หลักการจำลองการทำทางธุรกิจแบบใหม่
  12. การใช้ข้อมูลข่าวสาร และความรู้เพื่อนำมาซึ่งการสร้าง การเก็บรักษา และการนำกลับมาใช้ใหม่ขององค์กร
  13. การซื้อและขาย โดยทั่วไปต้องหาข้อมูลอื่นๆจากภายนอกธุรกิจมาทำการวิเคราะห์ความเสี่ยงในการทำธุรกิจ
  14. การควบคุมการพัฒนาเทคโนโลยีในองค์กรต้องอาศัยวิธีการวิเคราะห์การแข่งขัน การวางแผนที่เหมาะสม รวมทั้งวิเคราะห์การจัดการด้านต้นทุน ,ประโยชน์ทางธุรกิจและความเสี่ยง
  15. การรวมระบบโดยการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภายในองค์กร ร่วมระบบอื่นๆที่ทำงานรวมกันเพื่อความสะดวก ลดต้นทุนและวิเคราะห์หาความผิดพลาด และการแข่งขันที่ได้เปรียบ

การนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในองค์กร[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

เหตุผลที่ต้องการเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ IT มีบทบาทหลักในการช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและช่วยให้การดำเนินกิจกรรม กระบวนการ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กรสะดวกยิ่งขึ้น หรืออาจกล่าวได้ว่า การเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นปัจจัยสนับสนุนให้องค์กรก้าวสู่ความเป็นผู้นำ ดังนั้นผู้บริหารและสมาชิกขององค์กรจึงควรเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศทั้งที่เกี่ยวข้องกับงาน และที่เกี่ยวข้องกับองค์กร สำหรับบุคคลทั่วไป การเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศจะเป็นประโยชน์ในการเพิ่มโอกาสในการเลือกอาชีพ ได้รับเงินเดือนสูง มีโอกาสก้าวหน้าในการทำงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าหากมีความเข้าใจเกี่ยวกับการสร้าง การใช้และการบริหารระบบสารสนเทศให้ประสบความสำเร็จ รู้จักเรียนรู้และหลีกเลี่ยงความล้มเหลว ในอดีตผู้บริหารองค์กรมักจะเป็นผู้ที่อยู่ในสายงานด้านการเงินหรือการตลาด แต่ในอนาคตผู้บริหารองค์กรจะต้องมีความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและมีประสบการณ์การทำงานจากสายงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

การพัฒนาองค์กรโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

องค์กรต่างๆ มีวัตถุประสงค์ที่จะบรรลุผลสำเร็จและก่อให้เกิดความได้เปรียบที่เหนือกว่าคู่แข่งขัน โดยการนำเอาเทคโนโลยีของเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้เป็นจำนวนเพิ่มมากขึ้น เช่น การควบคุมสิทธิของการใช้งานให้ผู้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนตัวสามารถทำงานร่วมกันได้ การที่มีข่าวสารหรือสารสนเทศเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ต้องมีคลังในการจัดเก็บข้อมูลข่าวสารเหล่านั้นที่เป็นระบบ จึงมีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการจัดการกับเอกสาร ระบบการจัดการที่ช่วยในการตัดสินใจสำหรับผู้บริหาร การใช้โปรแกรมเชิงวัตถุ (object - oriented programming) ในการสร้างเว็บไซด์เพื่อการทำธุรกรรมทางการค้า เนื่องจากมีการผลิตเทคโนโลยีที่สามารถพกพาไปไหนได้อย่างสะดวก เช่น PDA , LAPTOP เป็นต้น ทำให้ง่ายสำหรับการทำงาน

ประสิทธิภาพของการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในองค์กร[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถสนับสนุนการทำงานด้านต่าง ๆ ขององค์กรในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งในแต่ละระดับขององค์กรจะมีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่เอื้อประโยชน์ที่แตกต่างกัน เช่น ฝ่ายตลาดจะมีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยในการกำหนดกลุ่มลูกค้า ช่วยพัฒนาสินค้าและบริการเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า สนับสนุนการขายสินค้าและบริการ และการให้บริการแก่ลูกค้า ส่วนฝ่ายผลิตมีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อช่วยในการวางแผน การพัฒนา และการผลิตสินค้าและบริการ และควบคุมการไหลเวียนของกระบวนการผลิต สำหรับฝ่ายบัญชีและการเงิน มีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อติดตามการเก็บรักษาและใช้งานทรัพย์สินขององค์กร และกระบวนการไหลเวียนของระบบเงินทุน ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศช่วยสนับสนุนประสิทธิภาพในภาพรวมขององค์กรได้ดังนี้

  1. จัดการด้านการคำนวณเชิงตัวเลขที่มีขนาดใหญ่และความเร็วสูง
  2. จัดให้มีการสื่อสารที่มีราคาไม่แพง แม่นยำ และรวดเร็วให้มีใช้ภายในองค์กรและระหว่างองค์กร
  3. ทำการเก็บสารสนเทศขนาดใหญ่ที่สามารถเข้าถึงได้ง่ายและใช้เนื้อที่น้อย
  4. สามารถเข้าถึงสารสนเทศจำนวนมากจากทั่วโลกอย่างรวดเร็วและราคาไม่แพง
  5. สามารถสื่อสารและทำงานร่วมกันจากทุก ๆ ที่ทุกเวลา
  6. เพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงานเป็นทีม โดยไม่จำเป็นต้องอยู่ในสถานที่เดียวกัน
  7. ทำให้เป็นอัตโนมัติทั้งกระบวนการทางธุรกิจที่เป็นแบบกึ่งอัตโนมัติและงานที่ยังใช้มือทำ (Manual)
  8. ช่วยแปลความหมาย (Interpretation) จากข้อมูลจำนวนมหาศาล
  9. ช่วยด้านกิจการการค้าทั่วโลก (Global Trade)
  10. สามารถดำเนินงานแบบไร้สาย (Wireless) เพื่อสนับสนุนการประยุกต์ใช้งานในรูปแบบเฉพาะ
  11. การดำเนินงานดังกล่าวข้างต้น ต้องมีราคาถูกกว่าการทำด้วยมือ (Manual)
  12. สามารถสนับสนุนวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ คือ ปรับปรุงผลิตผล (Improving Productivity) ลดต้นทุน (Reducing Cost) สนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Making) เพิ่มความสัมพันธ์กับลูกค้า (Enhancing Customer Relationship) และพัฒนาการประยุกต์ใช้กลยุทธ์ใหม่ ๆ

networked computing คือการเอาระบบสารสนเทศไปติดตั้งหรือโฮสต์บนอินเทอร์เน็ต โดยมีองค์กรที่สาม เป็นผู้จัดเตรียมทรัพยากรคอมพิวเตอร์และดูแลระบบสารสนเทศของลูกค้าที่ได้นำ มาติดตั้งซึ่งจะเชื่อมแต่ละเครื่องเข้าด้วยกันเหมือนสร้างคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่เสมือน ทำให้ทำงานเร็วขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งจะมีการแบ่งงานกันทำงาน จะมี network เป็นตัวกลางของแต่ละเครื่องช่วยในการประมวลผล วิธีการประมวลผลที่อิงกับความต้องการของผู้ใช้ โดยผู้ใช้สามารถระบุความต้องการไปยังซอฟต์แวร์ของระบบ ซึ่งจะประกอบไปด้วย

  1. ความต้องการ (Requirement) คือ ความต้องการของผู้ใช้ระบบ
  2. ทรัพยากร (Resource) คือ อุปกรณ์ที่ใช้ประมวลผลข้อมูล เช่น RAM , Harddisk , CPU เป็นต้น
  3. บริการ (Service)

The real-time enterprise and list of characteristic  : ระบบ real-time และลักษณะของระบบ

Rail time enterprise เป็นระบบระบบหนึ่งที่นำเทคโนโลยีมาลดเวลาในระหว่าง เมื่อมีข้อมูลที่จะบันทึกเข้าไปในระบบและเมื่อข้อมูลจะเข้าสู่การประมวลผล เพื่อให้ได้สารสนเทศที่ตรงกับความต้องการและนำไปช่วยในการตัดสินใจได้ และนี่ก็เป็นสี่งที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับระบบที่มีความซับซ้อน ยุ่งยากในเรื่องของความแตกต่างทางด้านธุรกิจ

ลักษณะของระบบ

  1. ความรู้จากการดำเนินการของคุณ

ลักษณะพิเศษของระบบ real-time คือ มีการทำงานร่วมกันภายในระบบโดยใช้เวลาไม่มากเพื่อให้รู้โครงสร้างในการตัดสินใจทางธุรกิจ

การส่งของมูลของระบบ real-time จะส่งอย่างรวดเร็วและบ่อยครั้งมีการโต้ตอบหากเกิด Event บางอย่างเช่น หากมีการส่งสินค้าช้า ควรจะต้องทำอย่างไรบ้าง

ระบบ real-time มีจุดมุ่งหมายที่จะรองรับผลประโยชน์ทั้งหมดอย่างรวดเร็วเหมือนเป็นหุ้นส่วนในธุรกิจของคุณ

แมสคัสโตไมเซชั่น (Mass Customization) เป็นการปรับกระบวนการผลิตและโครงสร้างขององค์กรไม่ให้มีข้อจำกัดมากเกินไป แต่ให้มีความสามารถในการทำงานได้หลายอย่าง โดยสามารถผลิตสินค้าหรือบริการเพื่อตอบสนองลูกค้าที่แตกต่างกันได้เป็นรายคน มีระดับราคาที่ไม่ห่างจากการผลิตสินค้าหรือบริการจำนวนมากที่มีมาตรฐานการ (Standardization) ถ้าสินค้าของเรามีความแตกต่างจากคู่แข่งอย่างชัดเจน จะทำให้องค์กรหรือธุรกิจมีความได้เปรียบนาน แมสคัสโตไมเซชั่น (Mass Customization) เป็นโมเดลใหม่ที่มาแทนที่ Mass Production ซึ่งเป็นการผลิตสินค้าออกมาจำนวนมากๆ ขึ้นอยู่กับต้นทุน เพื่อให้ได้ผลกำไรให้ได้มากที่สุด ยกตัวอย่างของแมสคัสโตไมเซชั่น (Mass Customization) เช่น บริษัทพีซีคอมพิวเตอร์เปิดเว็บไซด์ (Website) ขึ้นมาสำหรับลูกค้าที่ต้องการซื้อคอมพิวเตอร์พีซี ลูกค้าสามารถกำหนดความต้องการ หรือกำหนดสเปกของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ต้องการ เลือก Main Board ที่ชอบ หรือ CPU ที่พอใจ พอใส่ข้อมูลเสร็จทาง เว็บไซด์ (Website) ก็จะคำนวณราคาให้ตามที่ลูกค้าต้องการ การพัฒนาระบบสารสนเทศมีความสำคัญอย่างไรกับองค์กร

1. เพิ่มประสิทธิภาพในการทํางาน ในกรณีที่องค์กรมีงานที่ต้องทําเป็นประจํา จะนํา คอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการทํางานให้สะดวกรวดเร็วและมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น 2. สร้างโอกาสทางธุรกิจ หากองค์กรใดมีสารสนเทศที่ถูกต้อง ทันเหตุการณ์จะส่งผลให้ ผู้บริหารมีโอกาสในการลงทุนเพิ่มมากขึ้น 3. เพิ่มผลผลิต ช่วยในกระบวนการผลิตในโรงงาน ...

แนวทางในการพัฒนาระบบสารสนเทศในองค์กรมีกี่วิธี

ในการพัฒนาระบบสารสนเทศให้เกิดขึ้นภายในองค์กร จัดทำได้ 4 วิธีด้วยกัน 1. จัดทำขึ้นเองโดยอาศัยเจ้าหน้าที่ระบบงานคอมพิวเตอร์ - หากบุคลากรขาดความรู้ความสามารถอย่างแท้จริง ก็เกิดการเปลืองเวลาและทรัพยากรมาก มีความเสี่ยงสูง 2. ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาจัดทำระบบให้ หน้าที่ คือ

เพราะเหตุใดจึงต้องมีการพัฒนาระบบสารสนเทศในองค์กร

องค์กรและสร้างความเข้าใจ เพื่อที่จะได้มีการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน ดังนี้ - ระบบที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบันมีขั้นตอนการทำงานที่ยุ่งยากซับซ้อน ขนาดเอกสารอ้างองหรือเอกสารที่มีอยู่ไม่ได้มาตรฐาน ทำให้การปรับปรุง หรือแก้ไขทำได้ยาก - ความต้องการปรับองค์กรให้เหมาะสมเพื่อสามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ

พัฒนาระบบสารสนเทศ คืออะไร

การพัฒนาระบบสารสนเทศ คือ การดำเนินการตามขั้นตอนต่างๆ ที่กำหนดไว้ในแผนการพัฒนาระบบสารสนเทศ เพื่อสร้างระบบงานคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่รวบรวม เรียบเรียง จัดเก็บ แบ่งกลุ่ม ประมวล วิเคราะห์ กลั่นกรองและสื่อสารข้อมูลรายการต่างๆ ให้อยู่ในรูปของสารสนเทศที่ง่ายและมีประโยชน์ต่อผู้บริหารในการนำไปประกอบการบริหารงาน การจัดการ การ ...