หลักการใช้ present simple tense เติม s es

    หากพูดถึงไวยากรณ์ในภาษาอังกฤษที่สำคัญๆ ก็คงต้องพูดถึงเรื่อง Tense หรือการผันกริยาในรูปแบบต่างๆเพื่อบ่งบอกว่าประโยคนั้นกำลังพูดถึงเรื่องในอดีต ปัจจุบัน หรืออนาคต ซึ่ง Tense ในภาษาอังกฤษก็มีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 12 Tense และในวันนี้เราก็ได้เลือกมาหนึ่ง Tense เพื่อที่จะได้นำมาอธิบายให้เพื่อนๆเข้าใจกันอย่างละเอียดพร้อมกับตัวอย่างประโยคที่จะช่วยเสริมความเข้าใจให้มากขึ้น Tense นั้นก็คือ Present simple tense นั้นเองค่ะ โดยเราจะเริ่มจาก Present simple tense คืออะไร Present simple tense มีโครงสร้างคืออะไร  และ Present simple tense มีหลักการใช้อย่างไร

Present simple tense คือ

    Present simple tense คือ tense ที่กล่าวถึงปัจจุบันที่เรียบง่าย

โครงสร้างประโยคของ Present simple tense คือ

    โครงสร้างประโยคของ Present simple tense คือ S + V.1
    

หลักการใช้ present simple tense เติม s es

  • หมายเหตุ** : ถ้าประธานเป็นเอกพจน์ อันได้แก่ He, She, It กริยาจะต้องเติม s หรือ es แต่ถ้าในประโยคมีกริยาช่วยอยู่แล้ว กริยาแท้ไม่ต้องเติม s,es แล้วนะจ๊ะ (do และ does ในที่นี้เป็นกริยาช่วย ฉะนั้นกริยาแท้ในประโยค จึงไม่ต้องเติม s,es แล้วนะคะ)
  • ตัวอย่างประโยคบอกเล่า : He eats fish. = เขากินปลา (ประธานคือ He เป็นเอกพจน์ กริยา eat จึงต้องเติม s)
  • ตัวอย่างประโยคปฏิเสธ : He does not eat fish. = เขาไม่กินปลา ( does เป็นกริยาช่วย กริยา eat จึงไม่ต้องเติม s )
  • ตัวอย่างประโยคคำถาม : Does he eat fish? = เขากินปลาไหม (does เป็นกริยาช่วย กริยา eat จึงไม่ต้องเติม s )
  • อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ หลักการเติม s es ที่คำกริยา ในภาษาอังกฤษ

หลักการใช้ Present simple tense

1. ใช้พูดถึงความจริงหรือข้อเท็จจริงทั่วๆไป และความจริงตามธรรมชาติ

  • ข้อเท็จจริงในชีวิตประจำวัน รวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับตัวเรา
    ตัวอย่าง 
     
    - I am 17 years old. = ฉันอายุ 17 ปี
      
    - I come from Thailand. = ฉันมาจากประเทศไทย
      
    - Daniel is Emma's boyfriend. = แดเนียลเป็นแฟนของเอ็มม่า
      
    - She is a writer. = เธอเป็นนักเขียน
      
    - We work as volunteers. = พวกเราเป็นอาสาสมัคร
  • การพูดถึงความจริงตามธรรมชาติ
    ตัวอย่าง
      
    - The sun rises in the east. = พระอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออก
      
    - The earth circles the sun. = โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์
      
    - Trees give oxygen. = ต้นไม้ให้ออกซิเจน
      
    - Water freezes at zero degrees. = น้ำกลายเป็นน้ำแข็งที่ 0 องศา
     

2. ใช้พูดถึงเรื่องที่ทำเป็นประจำหรือเป็นกิจวัตรประจำ รวมถึงนิสัย

  • ตัวอย่าง
      
    - He always goes to school by bus. = เขาไปโรงเรียนโดยรถเมล์เสมอ
      
    - They watch a movie every Month. = พวกเขาดูหนังกันทุกเดือน
      
    - He often drops me at home.  = เขาไปส่งฉันที่บ้านบ่อยๆ
      
    - She often reads books. = เธออ่านหนังสือบ่อยๆ

3. ใช้พูดถึงความชอบ ความคิดเห็น

  • ตัวอย่าง
      
    - I like playing badminton. = ฉันชอบเล่นแบดมินตัน
      
    - She doesn’t like Mathematics. = เธอไม่ชอบวิชาคณิตศาสตร์
      
    - I like Japanese food. = ฉันชอบอาหารญี่ปุ่น
      
    - Do you like him. = คุณชอบเขาไหม

4. ใช้พูดถึงตารางเวลา

  • ตัวอย่าง
      
    - The bus arrives at the bus stop every 30 minutes. = รถเมล์จะมาถึงป้ายรถเมล์ทุกๆ 30 นาที
      
    - The coffee shop opens at 9 a.m. and closes at 5 p.m. = ร้านกาแฟเปิดตอน 9 โมงเช้า และปิดตอน 5 โมงเย็น

​เป็นยังไงบ้างคะเพื่อนๆ เข้าใจง๊ายง่ายใช่ไหมคะ

Comment and Shared

หลักการเติม s es คืออะไร

กฎการเติม S ที่คำกริยา 1. เติมเข้าไปที่ท้ายคำกริยานั้นๆ เช่น Walks,run,speak,moves,gets,spends ,helps, ect. 2.เติม es เมื่อคำกริยาลงท้ายด้วย s,ss,sh,ch,x,o เช่น goes, kisses, ect.

เติม s es ตอนไหน

ในประโยค Present simple tense ประธานเอกพจน์บุรุษที่ 3 กริยาที่ลงท้ายด้วย s, sh, ch, x, z, o เติม es เช่น I/ You/ We/ They finish working.

กฎการเติม s ES มีกี่ข้อ

หลักการเติม s es มีดังนี้.
1. เติม s หลังคำกริยาปกติทั่วๆ ไป เช่น คำเดิม คำอ่าน เติม s. คำอ่าน คำแปล ... .
2. เติม es หลังคำกริยาที่ลงท้ายด้วย s, sh, ch, x, z และ o เช่น คำเดิม คำอ่าน เติม s. คำอ่าน คำแปล ... .
3. คำกริยาที่ลงท้ายด้วย y มี 2 ประการดังนี้ หน้า y เป็นสระ ( a , e , i , o , u ) ให้เติม s ได้เลย เช่น คำเดิม คำอ่าน เติม s..

เติม s กับ ES ต่างกันอย่างไร

2. คำนามที่ลงท้ายด้วย s, ss, sh, ch, x หรือ z ให้เติม es ต่อท้าย คำนามที่ลงท้ายด้วย s, ss, sh, ch, x หรือ z เราจะต้องเติม es ต่อท้ายแทน s ตัวอย่างเช่น เอกพจน์ พหูพจน์