การตั้งครรภ์ ไตรมาสที่ 2 กี่สัปดาห์

ยินดีต้อนรับเข้าสู่ไตรมาสที่สองค่ะ สัปดาห์ที่ 14 นี้จะเกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้นอย่างมากมาย คุณแม่อาจรู้สึกคลื่นไส้น้อยลง หิวบ่อยขึ้นและมีกำลังมากขึ้น เป็นเพราะคุณแม่กำลังเข้าสู่ช่วง “ฮันนีมูน” ของการตั้งครรภ์ค่ะ ไตรมาสที่สองเริ่มต้นขึ้นที่สัปดาห์ที่ 14 นี่คือเวลาของการออกกำลัง ทำสิ่งที่ต้องทำ และหาอะไรสนุก ๆ เล่น ขอให้สนุกนะคะ!

ทารกในครรภ์อายุ 14 สัปดาห์มีขนาดตัวเท่าใด

เมื่อมีอายุครรภ์ได้ 14 สัปดาห์ ทารกมีขนาดเท่าลูกพีช มีความยาวประมาณ 3.4 นิ้ว และมีน้ำหนัก 1.5 ออนซ์ ลูกน้ำหนักเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่แล้วถึงหนึ่งเท่าตัวหรือราว ๆ นั้น และยังโตขึ้นอย่างรวดเร็วต่อไปเรื่อย ๆ ในสัปดาห์ที่ 14

 

ตั้งครรภ์ 14 สัปดาห์เท่ากับกี่เดือน

หลายคนคิดว่าการตั้งท้องนั้นมีระยะเวลา 9 เดือน แต่ที่จริงแล้วคือ 40 สัปดาห์ต่างหากค่ะ นี่คือเหตุผลที่คุณหมอส่วนมากติดตามการตั้งครรภ์เป็นรายสัปดาห์มากกว่ารายเดือน เมื่ออายุครรภ์ได้ 14 สัปดาห์ หมายความว่าคุณแม่ท้องได้ครบสามเดือนแล้ว และกำลังเริ่มต้นไตรมาสที่สอง

อาการเมื่อตั้งครรภ์ได้ 14 สัปดาห์

คุณแม่ที่มีอายุครรภ์ 14 สัปดาห์นั้น จะมีอาการต่าง ๆ ที่เคยมีในไตรมาสแรกลดลง แต่ไม่ต้องแปลกใจนะคะถ้ามันไม่ได้หายไปทั้งหมดในทันที ขอให้อดทนและทำใจให้สบายค่ะ! ส่วนอาการใหม่ดังต่อไปนี้คือสิ่งที่คุณแม่อาจต้องเจอเมื่ออายุครรภ์ครบ 14 สัปดาห์

  • ปวดหน่วง โอ๊ย! คุณแม่อาจรู้สึกถึงอาการปวดและเจ็บได้เมื่อกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นยืดขยายออกเพื่อรองรับทารกที่กำลังโต และเมื่ออายุครรภ์ครบ 14 สัปดาห์ คุณแม่จะมีอาการปวดจากสาเหตุดังกล่าวบ่อยขึ้น ถ้ามีความกังวล สามารถปรึกษาคุณหมอได้นะคะ
  • มีแรงมากขึ้น เมื่อรอดพ้นจากไตรมาสแรกที่แสนสาหัสแล้ว ตอนนี้พลังของคุณแม่กลับมาแล้วค่ะ #ขอบคุณสิ่งศักดิ์สิทธิ์
  • อยากอาหารมากขึ้น ท้องร้องหรือเปล่าคะ เมื่อการแพ้ท้องหมดไป คุณแม่อาจมีความอยากอาหารมากเป็นพิเศษ อย่าลืมว่าสิ่งที่รับประทานเข้าไปนั้นจะส่งผลต่อการเจริญเติบโตอันรวดเร็วของลูก คุณแม่ควรรับประทานอาหารเพิ่มประมาณ 300 แคลอรี่ต่อวัน ถ้าท้องลูกแฝดได้ 14 สัปดาห์ คุณแม่อาจต้องรับประทานเพิ่มถึง 680 แคลอรี่ต่อวัน เมื่ออยู่ในไตรมาสสอง หาของว่างที่มีประโยชน์เอาไว้ใกล้มือด้วยนะคะ เผื่อว่าคุณแม่หิวขึ้นมา อีกเรื่องสำคัญสำหรับคุณแม่และลูกน้อยคือการที่คุณแม่ต้องไม่รับประทานอาหารมัน ๆ หรืออาหารที่ทำให้อ้วนมากเกินไป เพื่อที่ทั้งคุณแม่และลูกในท้องจะได้สารอาหารที่เพียงพอ แต่หากจะรับประทานไอศกรีมสักถ้วยนาน ๆ ครั้งไม่สร้างปัญหาให้คุณแม่อย่างแน่นอนค่ะ
  • ผมหนาขึ้นและเงางามขึ้น คุณแม่อาจสังเกตว่าผมของตัวเองหนาและเงางามขึ้น นี่เป็นหนึ่งในด้านที่ดี (หลาย ๆ ด้าน) ของการตั้งครรภ์นะคะ!

ท้องของคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ 14 สัปดาห์

เมื่อท้องได้ 14 สัปดาห์ คุณแม่อาจรู้สึกปวดหรือเจ็บในท้องได้ นั่นเป็นเพราะมดลูกกำลังขยายตัวเพื่อรองรับการเติบโตอันรวดเร็วของลูก

อย่าแปลกใจนะคะ ถ้าน้ำหนักในช่วงนี้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ถ้าคุณแม่มีดัชนีมวลกายปกติ คุณหมอจะแนะนำให้คุณแม่เพิ่มน้ำหนักประมาณอาทิตย์ละหนึ่งปอนด์โดยเริ่มตั้งแต่สัปดาห์ที่ 14 นี้เอง ส่วนถ้าคุณแม่ท้องลูกแฝด เป้าหมายน้ำหนักที่คุณแม่จะต้องทำจะเหมือนกับคุณแม่ที่ท้องลูกคนเดียวจนกว่าจะถึงสัปดาห์ที่ 20 ค่ะ ตอนนั้นเองที่คุณแม่ต้องเพิ่มน้ำหนักมากขึ้นเป็นพิเศษ แน่นอนว่าถ้าคุณแม่มีดัชนีมวลกายต่ำหรือสูงกว่าเกณฑ์ หรือในไตรมาสแรกคุณแม่น้ำหนักลดหรือเพิ่มเกินกว่าที่ควร คุณหมอก็จะแนะนำเกณฑ์น้ำหนักที่ต่างออกไปเล็กน้อยค่ะ

ถ้าคุณแม่พบว่าในไตรมาสแรกตัวเองไม่ได้ออกกำลังกายเลย ตอนนี้ถึงเวลาที่จะกลับมาออกกำลังแล้วนะคะ เพราะพลังของคุณแม่กลับมาแล้ว ลองศึกษาคลาสโยคะสำหรับคนท้อง หรืออย่างน้อยก็อุ้มท้องอายุ 14 สัปดาห์ออกไปเดินเล่นก็ยังดีค่ะ!

การอัลตราซาวนด์เมื่อตั้งครรภ์ได้ 14 สัปดาห์

ส่วนใหญ่แล้ว เมื่ออายุครรภ์ 14 สัปดาห์ จะไม่มีการอัลตราซาวนด์ เพราะคุณแม่มักจะได้รับการอัลตราซาวนด์ไปแล้วในไตรมาสแรก และอีกครั้งจะเกิดขึ้นเมื่อถึงครึ่งทางของการตั้งครรภ์ซึ่งก็มักจะอยู่ในช่วง 18 ถึง 22 สัปดาห์ แต่คุณหมอก็จะมีการใช้อัลตราซาวนด์ในกรณีที่คุณแม่วางแผนว่าจะตรวจโดยการเจาะน้ำคร่ำ (ระหว่างสัปดาห์ที่ 15 ละ 20)

แต่หากคุณแม่ได้มีโอกาสมองเห็นภายในท้องที่มีอายุครรภ์ 14 สัปดาห์ คุณแม่จะเห็นว่าลูกกำลังกระดิกนิ้วเท้าอยู่ในนั้น หรือบางทีอาจจะดูดนิ้วหัวแม่มือเล่นด้วยซ้ำค่ะ!

ไตของตัวอ่อนอายุ 14 สัปดาห์สร้างปัสสาวะได้แล้วในตอนนี้ ส่วนตับและม้ามก็ทำหน้าที่ของตัวเองแล้วเช่นกัน คุณแม่อาจจะประหลาดใจหากได้ยินว่าทารกในครรภ์วัย 14 สัปดาห์นั้นสร้างขนอ่อนขึ้นแล้ว มันคือเส้นขนบาง ๆ เหมือนขนลูกพีชที่ขึ้นอยู่ทั่วร่างกาย เจ้าขนนี้เองที่จะช่วยให้ร่างกายของลูกอบอุ่นอยู่เสมอค่ะ!

ในการอัลตราซาวนด์เมื่อมีอายุครรภ์ 14 สัปดาห์ เพศของลูกอาจจะยังยากที่จะชี้ชัดได้ อดทนอีกนิดนะคะ ถ้าคุณแม่อยากรู้ว่าตัวเองได้ลูกชายหรือลูกสาว คุณแม่จะทราบแน่นอนในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้าระหว่างการอัลตราซาวนด์อย่างละเอียดในไตรมาสที่สอง

ยินดีด้วย! ในช่วงไตรมาสแรกคุณจะคุ้นเคยกับความเชื่อว่าจะตั้งครรภ์แล้ว อาการที่บ่งบอกว่าตั้งครรภ์ในแต่ละสัปดาห์อาจแตกต่างกันไปมาก มาเรียนรู้วิธีจัดการกับอาการแพ้ท้องและความอ่อนเพลียต่างๆของช่วงตั้งครรภ์ระยะแรกนี้

ทางการแพทย์แบ่งการตั้งครรภ์ออกเป็น 3 ไตรมาส รวมระยะเวลาการตั้งครรภ์ทั้งหมด 9 เดือนหรือ 40 สัปดาห์ หรือ 280 วัน แต่คุณแม่บางคนอาจตั้งครรภ์อาจยาวนานถึง 42 สัปดาห์หรือ 294 วัน ซึ่งในแต่ละไตรมาสนั้นมีความเสี่ยงของการตั้งครรภ์แตกต่างกันออกไป

การตั้งครรภ์ ไตรมาสที่ 2 กี่สัปดาห์


การแบ่งไตรมาสของการตั้งครรภ์

  • ไตรมาสที่ 1 เริ่มนับตั้งแต่สัปดาห์ที่ 1 ถึงสัปดาห์ที่ 13
  • ไตรมาสที่ 2 นับจากสัปดาห์ที่ 14 ถึงสัปดาห์ที่ 28
  • ไตรมาสที่ 3 นับจากสัปดาห์ที่ 29 ถึงสัปดาห์ที่ 42

ความเสี่ยงที่คุณแม่ต้องเฝ้าระวังในไตรมาสที่1

  1. แพ้ท้องหนักอาเจียนบ่อย รับประทานอาหารไม่ได้ หากคุณแม่ตั้งครรภ์อาเจียนจนรับประทานไม่ได้เลย เสี่ยงต่อทารกในครรภ์ไม่ได้รับสารอาหารที่จำเป็นในการบำรุงสมอง และคุณแม่อาจมีภาวะไม่สมดุลย์ของสารน้ำและเกลือแร่ภายในร่างกาย จำเป็นอย่างมากที่ต้องไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาล เพื่อเข้าน้ำเกลือปรับสมดุลย์ของเกลือแร่ในร่างกาย
  2. มีเลือดออกทางช่องคลอด หากคุณแม่มีเลือดออกทางช่องคลอดต้องรีบพบแพทย์ทันที ไม่ต้องรอให้ถึงวันนัด เพราะเลือดออกทุกช่วงอายุครรภ์เสี่ยงต่อชีวิตของลูกน้อยในครรภ์อย่างมาก ต้องเข้ารับการตรวจให้เร็วที่สุด
  3. ปวดท้องน้อยรุนแรง อาการปวดท้องน้อยนับเป้นอาการปกติที่เกิดขึ้นและพบได้ในแม่ท้องทุกคน เกิดจากการยืดขยายตัวของกล้ามเนื้อมดลูก เพื่อรองรับตัวอ่อนในครรภ์และยืดขยายตามอายุครรภ์ แต่ถ้าปวดเรื้อรัง ปวดถี่ ควรรีบพบแพทย์ เพื่อตรวจวินิจฉัย เพราะคุณแม่อาจมีภาวะอื่นแทรกซ้อนได้

ความเสี่ยงที่คุณแม่ต้องเฝ้าระวังในไตรมาสที่ 2

ไตรมาสแรกผ่านพ้นไปแล้ว แต่ความเสี่ยงต่างๆกลับไม่ลดลงค่ะ คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ในไตรมาสที่2 ตรวจพบว่ามีความเสี่ยงต่อโรคต่างๆได้แก่

  • มีภาวะแท้งคุกคาม (Threatened abortion) ภาวะนี้มีโอกาสแท้งบุตรได้สูงเช่น มีเลือดออกทางช่องคลอด
  • มีภาวะที่ปากมดลูกไม่แข็งแรงที่เป็นสาเหตุการแท้งบุตรได้
  • เป็นโรคเบาหวานที่ควบคุมได้ไม่ดี 
  • มีความดันโลหิตสูง
  • มีโรคหัวใจ
  • มีรกเกาะต่ำ
  • มีอาการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด

ความเสี่ยงมีมากกว่าไตรมาสอื่นๆ คุณแม่ในไตรมาสสองนี้ ควรออกกำลังกายให้พอเหมาะพอดีไม่ควรหักโหมมากจนเกินไป สำหรับคุณแม่ที่ไม่เคยออกกำลังกายมาก่อน ควรปรึกษาแพทย์ ยาบำรุงที่คุณแม่จะได้รับจากโรงพยาบาลได้แก่แคลเซียมวันละ 1,000 มิลลิกรัม ไอโอดีนวันละ 150 ไมโครกรัม และธาตุเหล็ก 60 มิลลิกรัม

ไตรมาสที่ 3 ของการ ตั้ง ครรภ์ กี่สัปดาห์

ช่วงเริ่มต้นไตรมาสที่ 3 คุณแม่ตั้งครรภ์จะรู้สึกว่าเป็นช่วงเวลาสำคัญ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการนับถอยหลังไปถึงกำหนดคลอด เท่ากับอายุครรภ์ระยะสัปดาห์ที่ 28-40 ทุกอวัยวะและระบบในร่างกายของทารกพัฒนาเต็มที่ เตรียมพร้อมทำหน้าที่อย่างสมบูรณ์หลังคลอดออกมาแล้ว

ไตรมาส 1 คือกี่สัปดาห์

ไตรมาสแรก จะเริ่มนับตั้งแต่เดือนที่ 1 จนถึงเดือนที่ 3 หรืออยู่ระหว่างช่วงอายุครรภ์ 1-13 สัปดาห์

ไตรมาส1

โดยการตั้งครรภ์แบ่งออกเป็น สามไตรมาส ซึ่งแต่ละไตรมาสจะมีความยาวประมาณ 14 สัปดาห์ ซึ่งไตรมาสแรกจะมี 14 สัปดาห์ ไตรมาสสองจะถึง 28 สัปดาห์ และ ไตรมาสสาม จะถึง 42 สัปดาห์

ไตรมาส 3 คือกี่เดือน

เข้าสู่ไตรมาสที่ 3 หรือช่วงอายุครรภ์ 7-9 เดือน เรียกได้ว่านี่คือโค้งสุดท้ายของการตั้งครรภ์ คุณแม่ในช่วงท้องแก่ใกล้คลอดนั้น เรื่องโภชนาการยังคงเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะในระยะนี้ลูกน้อยในครรภ์จะมีพัฒนาการของสมองที่รวดเร็วมาก ดังนั้นการรับประทานอาหารของคุณแม่ตั้งครรภ์ในช่วงนี้ ล้วนส่งผลต่อการเจริญเติบโตของเซลล์ประสาท และ ...