พัฒนาการทาง การเมือง สังคมและ เศรษฐกิจของทวีปอเมริกาใต้

พัฒนาการทางทวีปอเมริกาใต้

5. พัฒนาการของทวีปอเมริกาใต้
     มีเป็นดินแดนที่มีภูมิอากาศแบบเขตร้อนและเขตอบอุ่น มีที่ราบลุ่มแม่น้ำแอมะซอนซึ่งเป็นเขตป่าฝนที่กว้างใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นดินแดนอารยธรรมเก่าแก่ของโลก
     5.1 ที่ตั้งและสภาพภูมิศาสตร์ที่มีผลต่อพัฒนาการของทวีป
     ทวีปอเมริกาใต้ทิศเหนือติดต่อกับทวีปอเมริกาเหนือ ทิศใต้ติดต่อกับช่องแคบเดรก (Drake Passage) ซึ่งเป็นน่านน้ำที่คั่นทวีปอเมริกาใต้กับทวีปแอนตาร์กติกา ทิศตะวันออกจดมหาสมุทรแอตแลนติก และทิศตะวันตกจดคลองปานามาและมหาสมุทรแปซิฟิก

     5.2 ความเป็นมาทางประวัติศาสตร์
       ทวีปอเมริกาใต้เป็นแหล่งอารยธรรมดั้งเดิมของพวกอินคาซึ่งเป็นชาวอินเดียนเผ่าหนึ่ง อารยธรรมของพวกอินคา ได้แก่ การนำหินมาปูถนน การเลี้ยงสัตว์เพื่อนำขนมาทำเครื่องนุ่งห่ม อยู่อย่างอุดมสมบูรณ์ จึงเป็นแรงจูงใจให้ชาวสเปนและโปรตุเกสพากันเดินทางเข้ามาแสวงหาโชคในทวีปนี้มากขึ้น

     5.3 พัฒนาการด้านการเมืองการปกครอง
     ชาวอาณานิคมในทวีปอเมริกาใต้พยายามเรียกร้องอิสรภาพในช่วงที่เป็นอาณานิคมของสเปนและโปรตุเกส โดยมีผู้นำคนสำคัญซึ่งเป็นที่รู้จักกันทั่วโลก คือ ซีมอน โบลิวาร์ (Simon Bolivar) ชาวเวเนซุเอลา เป็นผู้เรียกร้องอิสรภาพให้กับเวเนซุเอลาจากสเปน

     5.4 พัฒนาการด้านสังคมและวัฒนธรรม
     ทวีปอเมริกาใต้มีประชากรมากเป็นอันดับ 5 ของโลก ประมาณร้อยละ 6 ของโลก ประชากรอาศัยอยู่หนาแน่น 2 แห่ง ได้แก่ ด้านฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก เพราะมีอุณหภูมิไม่สูงหรือต่ำเกินไป มีปริมาณฝนปานกลาง มีเส้นทางคมนาคมสะดวก และด้านฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลแคริบเบียนเพราะมีปริมาณฝนสูงและมีปลาชุกชุมเหมาะแก่การทำอุตสาหกรรมประมง

     5.5 พัฒนาการด้านเศรษฐกิจ
     ช่วงที่เป็นอาณานิคมของสเปนและโปรตุเกส ชาวยุโรปได้ยึดครองที่ดินทั้งหมดเพื่อทำไร่เกษตรกรรมขนาดใหญ่ ปลูกอ้อยเพื่อผลิตน้ำตาล หรือทำเหมืองแร่ ทำให้ชนพื้นเมืองไม่มีที่ดินเป็นของตนเอง ต้องรับจ้างคนทำงานในไร่และในเหมืองแร่ ผลผลิตทางเกษตรและอุตสาหกรรมส่งไปขายในตลาดยุโรปและทั่วโลก
     หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ผู้นำรัฐบาลในประเทศอเมริกาใต้หลายประเทศเปลี่ยนนโยบายเศรษฐกิจจากการเกษตรแบบดั้งเดิมมาส่งเสริมอุตสาหกรรมการส่งออก โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อผลิตสินค้าไว้ใช้ภายในประเทศ

๓. ทวีปอเมริกาใต้

ทวีปอเมริกาใต้เป็นดินแดนส่วนใหญ่ของดินแดนที่เรียกว่า ลาตินอเมริกาประกอบด้วย ๑๙ ประเทศ มีอาณาเขตตั้งแต่ตอนเหนือของประเทศเม็กซิโกจนถึงตอนใต้สุดของทวีปอเมริกาใต้ ประเทศส่วนใหญ่เคยเป็นอาณานิคมของสเปน จากสภาพภูมิประเทศที่เป็นแนวภูเขายาวเหยียด ที่ราบสูงทะเลทรายและป่าดงดิบ ทำให้ใช้ประโยชน์จากที่ดินไม่สะดวก การขาดแคลนเงินทุนทำให้ต้องอาศัยความช่วยเหลือจากภายนอก จึงเปิดโอกาสให้มหาอำนาจเข้าไปมีอิทธิพลและแสวงหาผลประโยชน์ขณะเดียวกันการเมืองที่เปลี่ยนแปลงอยู่เนืองๆ ก็ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจด้วยเช่นกัน

๓.๑ ที่ตั้งและสภาพภูมิศาสตร์ที่มีผลต่อพัฒนาการของทวีป

ทวีปอเมริกาใต้เป็นทวีปที่ใหญ่เป็นอันดับ ๔ ของโลก พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในเขตซีกโลกใต้โดยพื้นที่ทั้งหมดประมาณ ๑๗.๘ ล้านตารางกิโลเมตร สำหรับสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศได้รับอิทธิพลจาก ๒ องค์ประกอบหลัก ดังนี้

๑)เทือกเขาแอนดีส ทอดตัวยาวจากเหนือจรดใต้ขนานไปกับชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกราวกับกระดูกสันหลังของทวีป มีระยะทางประมาณ ๗,๖๕๐กิโลเมตร ประกอบด้วยภูเขาไฟหลายลูก จึงทำให้มีการทำเกษตรกรรมในที่สูงสุดซึ่งใช้ประโยชน์จากดินภูเขาไฟ บรรดาอาณาจักรของชาวพื้นเมืองก่อนถูกชาติตะวันตกรุกรานจึงก่อตั้งในเขตเทือกเขานี่รวมทั้งจักรวรรดิอินคา (Incas) หลังสเปนเข้ายึดครองแล้วก็พบอีกว่าเป็นเขตที่อุดมสมบูรณ์ด้วยแร่ธาตุ จึงสร้างความมั่งคั่งอย่างมหาศาล

๒)แม่น้ำแอมะซอน เป็นแม่น้ำสายยาวอันดับของโลกรองจากแม่น้ำไนล์อยู่ใต้เส้นศูนย์สูตรเล็กน้อย มีต้นน้ำเริ่มจากเขตหิมะละลายในเทือกเขาแอนดีสบริเวณประเทศเปรู จากนั้นสาขาต่างๆไหลมาบรรจบกัน โดยไหลจากเขตที่สูงฝั่งตะวันตกสู่ที่ราบฝั่งตะวันออกระยะทางประมาณ ๖,๒๗๕ กิโลเมตร ผ่านบริเวณป่าดงดิบเป็นส่วนใหญ่ เขตป่าฝนของแม่น้ำแอมะซอนนี่นับเป็นเขตป่าฝนที่กว้างใหญ่ที่สุดของโลกด้วย จึงเรียกว่าเป็นเขตปอดของโลก

๓.๒ พัฒนาการและการสร้างสรรค์ด้านต่างๆ

สำหรับพัฒนาการและการสร้างสรรค์ด้านต่างๆ ของทวีปอเมริกาใต้สามารถสรุปได ดังนี้

๑)พัฒนาการด้านการเมืองการปกครอง ประเทศในอเมริกาใต้ส่วนใหญ่ได้เอกราชในต้นคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ แต่สาธารณรัฐใหม่ต่างๆ ไม่มีประสบการณ์การบริหารระดับประเทศ ทำให้นายทหารที่เรียกว่า พวกกอดิลโย(caudillos)สามารถยึดอำนาจการปกครองหรืออยู่เบื้องหลังคอยชี้นำรัฐบาลระบบเผด็จการหรืออำนาจนิยมเข้าครอบคลุมในหลายประเทศ รวมทั้งบราซิลและอาร์เจนตินา

ประเทศต่างๆ ถึงแม้มีการปกครองแบบประชาธิปไตย แต่ประธานาธิบดีที่ขึ้นสู่ตำแหน่งด้วยการเลือกตั้ง ค่อยๆ กลายเป็นผู้ใช้อำนาจเด็ดขาดในการบริหาร สามารถยับยั้งการประชุมของรัฐบาล ขัดขวางการบังคับใช้กฎหมาย หรือประกาศภาวะฉุกเฉินซึ่งเป็นการเปิดทางให้ใช้อำนาจได้อย่างถูกต้อง บางแห่งสถาบันกองทัพมีอำนาจและมีคณะผู้นำทหารหรือฮุนตา (junta) ปกครอง แต่ยางแห่งคณะทหารเลือกที่จะเชิดบุคคลขึ้นเป็นประธานาธิบดีหุ่น ดังนั้น หลังได้รับเอกราชแล้วมีเพียงชิลีและอุรุกวัยที่สามารถหันไปสู่ระบอบประชาธิปไตยโดยหลังกลุ่มทหารหมดอำนาจ อย่างไรก็ดี ปัญหาเศรษฐกิจของชิลีทำให้ทหารอาศัยเป็นข้ออ้างก่อรัฐประหารอีกใน ค.ศ. ๑๙๗๓ โดยนายพลออกุสโต ปิโนเซต์ (Augusto Pinochet)

จากปัญหาเศรษฐกิจและช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนทำให้ลัทธิสังคมนิยมและลีทธิคอมมิวนิสต์แพร่หลายในหมู่พลเมืองด้วย ยิ่งนายพลฟิเดล คัสโตร (Fidel Castro)แห่งคิวบาหันไปรับความช่วยเหลือจากสหภาพโซเวียต จึงเกิด การแข่งขันอิทธิพลระหว่างสหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตดินแดนอเมริกาใต้ การเรียกร้องให้มีการกระจายรายได้ การตั้งกลุ่มผู้ก่อการร้ายในเขตเมือง และการรวมตัวเป็นกองโจรในเขตชนบทได้ก่อความรุนแรงหลายแห่งจนกองทัพต้องเข้ายึดอำนาจ

ประมาณ ค.ศ. ๑๙๘๐ ประเทศในทวีปอเมริกาใต้ส่วนใหญ่ปกครองโดยนายทหารระดับสูง ซึ่งประกาศตนเป็นศัตรูของผู้ก่อการร้ายทั้งในเขตเมืองและชนบท แต่ในปลายศตวรรษ ๑๙๘๐ พลเมืองเรียกร้องให้กลับสู่ระบอบประชาธิปไตยมากขึ้น นายทหารระดับสูงถูกบังคับให้ลาออกจากตำแหน่ง ดังเช่น นายพลปิโนเชต์แห่งชิลีใน ค.ศ. ๑๙๘๙ เพื่อให้ประเทศบริหารโดยรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง แต่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งซึ่งในทศวรรษแรกของคริสต์ศตวรรษที่ ๑ มักจะเป็นรัฐบาลที่มีแนวนโยบายไปทางซ้ายก็ยังคงเผชิญกับปัญหาผู้ก่อการร้ายและปัญหาเศรษฐกิจที่เกิดจากภาวะเงินเฟ้อและหนี้ต่างประเทศรุมเร้าต่อไป

๒)พัฒนาการด้านเศรษฐกิจ ดินแดนอเมริกาใต้จัดว่าเป็นดินแดนที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยแร่ธาตุและทรัพยากรธรรมชาติ พลเมืองร้อยละ ๒๐ ของทวีปทำงานในอุตสาหกรรมเหมืองแร่ บางประเทศผลิตแร่เพื่อการส่งออกอย่างจริงจัง เช่น โบลิเวียมีรายได้เข้าประเทศร้อยละ ๙๐ จากการส่งออกดีบุก ซูรินาเมมีรายได้ร้อยละ ๘๐ จากการขุดแร่อะลูมิเนียม ชิลีมีรายได้ครึ่งหนึ่งมาจากการส่งออกทองแดง เวเนซุเอลามีน้ำมัน เป็นต้น ปัจจุบันต่างมีความพยายามที่จะไม่ผูกติดเศรษฐกิจกับทรัพยากรประเภทใดประเภทหนึ่ง

โดยภาพรวม เศรษฐกิจของทวีปยังคงมาจากผลิตผลทางการเกษตรเป็นหลัก เช่น เอกวาดอร์ผลิตกล้วยหอม โคลอมเบียและบราซิลผลิตกาแฟ บางแห่งก็มีการแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร เช่น การผลิตน้ำผลไม้ เนยแข็ง เป็นต้น นอกจากนี้ ทวีปอเมริกาใต้ยังส่งออกเนื้อสัตว์และขนสัตว์ โดยที่อาร์เจนตินาเป็นประเทศสำคัญที่ส่งออกเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากหนังสัตว์

การพัฒนาและการขยายตัวทางเศรษฐกิจของอเมริกาใต้เริ่มขึ้นในเวลาใกล้เคียงกับการได้รับเอกราช กล่าวคือ ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ เป็นช่วงของการปฏิวัติอุตสาหกรรมในยุโรปและสหรัฐอเมริกา ความต้องการวัตถุดิบจากอเมริกาใต้จึงอยู่ในระดับสูงแต่สาธารณรัฐแต่ละแห่งมักจะมุ่งผลิตสินค้าหลักเพียง ๑-๒ ประเภทเท่านั้น เช่น ชิลีผลิตทองแดง โปลิเวียผลิตดีบุก อาร์เจนตินาและอุรุกวัยส่งออกเนื้อสัตว์และข้าวสารีบราซิลและโคลอมเบียผลิตกาแฟ เป็นต้น

การขยายตัวทางการค้าก่อให้เกิดชนชั้นกลางกลุ่มใหม่ซึ่งมีบทบาทในสังคมอย่างรวดเร็ว ประเทศต่างๆ ประสบปัญหาช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจน เมื่อช่องว่างกว้างมากขึ้นจึงเกิดการสนใจแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจด้วยการรับลัทธิสังคมนิยม เช่น ในชิลี โดยประธานาธิบดีซัลวาดอร์ อัลเยนเด (Salvador Allende) ใน ค.ศ. ๑๙๗๐ มีการโอนกิจการกว่า ๒๐ แห่ง เป็นของรัฐ จนทำให้ผู้เสียผลประโยชน์ไม่พอใจในที่สุดกองทัพจึงได้ก่อรัฐประหารยึดอำนาจเป็นต้น ปัญหาเศรษฐกิจสามารถส่งผลกระทบต่อเสถียราพทางการเมืองอย่างรุนแรงและเป็นสิ่งที่ผู้นำรัฐบาลประเทศลาตินอเมริกาต่างตระหนักอยู่เสมอ

๓. พัฒนาการด้านสังคมและศิลปวัฒนธรรม ประชากรในอเมริกาใต้ประกอบด้วยกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ดังนี้

๓.๑) พวกอินเดียนเป็นชนพื้นเมืองของอเมริกา ปัจจุบันยังมีจำนวนมาก โดยอาศัยอยู่ในเปรูและโบลิเวีย

๓.) พวกที่สืบเชื้อสายจากชาวยุโรป เขตที่อยู่สำคัญ คือ อาร์เจนตินาและอุรุกวัยซึ่งมีพลเมืองเชื้อสายอิตาลี สเปน ฝรั่งเศส อังกฤษ และเยอรมันอาศัยอยู่

๓.๓) พวกที่สืบเชื้อสายจากพวกทาสที่นำเข้ามาจากทวีปแอฟริกา ได้แก่ พวกเชื้อชาติผสมระหว่างชาวอินเดียนกับชาวยุโรป ที่เรียกว่า เมสติโซ (mestizo) จำนวนมากอยู่ในปารากวัย เวเนซุเอลา ชิลี และเอกวาดอร์ พวกเชื้อชาติผสมระหว่างเผ่าพันธุ์แอฟริกันกับยุโรปเรียกว่า มูลาตโต (mulatto) และยังมีพวกผสมระหว่างแอฟริกันกับอินเดียนอีกด้วย

สังคมของอเมริกาใต้จึงเป็นการผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ข้างต้น ด้านการนับถือศาสนา พลเมืองส่วนใหญ่นับถือคริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิกตามสเปนและโปรตุเกส ในประเทศกายอานาซึ่งเป็นอาณานิคมของอังกฤษจนกระทั่ง ค.ศ. ๑๙๖๖ มีผู้นับถือนิกายโปรเตสแตนต์จำนวนไม่น้อย สำหรับประเทศซูรินาเมซึ่งเป็นอาณานิคมของเนเธอร์แลนด์จนกระทั่ง ค.ศ. ๑๙๗๕ ประชากรประมาณครึ่งหนึ่งของประเทศสืบเชื้อสายมาจากชาวอินเดีย ทำให้มีคนจำนวนมากนับถือศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และยังมีพวกที่มีความเชื่อแบบชาวแอฟริกันดั้งเดิมอีกด้วย

๓.๓ อิทธิพลของทวีปอเมริกาใต้ต่อสังคมโลก

ทวีปอเมริกาใต้เป็นดินแดนแห่งอารยธรรมเก่าแก่ที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วทุกมุมโลกจนเป็นแหล่งรายได้สำคัญของหลายประเทศ บางประเทศอย่างเวเนซุเอลาก็เป็นประเทศผลิตน้ำมันรายใหญ่และเป็นสมาชิกกลุ่มโอเปก (Organization of Petroleum Exporting Countries : OPEC) ซึ่งมีอิทธิพลต่อการกำหนดราคาน้ำมันในตลาดโลก ประเทศบราซิลนอกจากจะมีเมืองรีอูดีจาเนรู (Rio de Janeiro) ที่มีสีสันทางวัฒนธรรมผสมแล้ว ยังมีป่าแอมะซอนอันกว้างใหญ่ไพศาล

อย่างไรก็ดี ตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ ๒๐ ประเทศในอเมริกาใต้ประสบกับปัญหาการขาดดุลงบประมาณอันเนื่องมาจากการบริหารการคลังที่ไม่รัดกุม การเป็นหนี้เงินกู้ต่างประเทศจำนวนมหาศาล ขณะที่แหล่งรายได้ต่างๆ ก็ต้องได้รับการจัดการดูแลมากขึ้น รวมทั้งป่าแอมะซอนที่ให้ความชุ่มชื้นก็ถูกแผ้วถางทำลายลงเรื่อยๆ ทุกปีเพราะการเร่งพัฒนาเศรษฐกิจจนอาจกระทบต่อระบบนิเวศของโลกในไม่ช้า

รัฐบาลของประเทศต่างๆ ในทวีปอเมริกาใต้ ได้แสดงความพยายามที่จะร่วมมือกันในการสร้างความมั่นคงทั้งทางด้านเศรษฐกิจและการเมืองมาตั้งแต่ ค.ศ. ๒๐๐๔ และได้เริ่มกระบวนการรวมสหภาพศุลกากร แห่ง คือ ประชาคมแอนเดียน (Andean Community) และเมอร์โคซูร์ (Mercosur) จนมีการก่อตั้งสหภาพแห่งประชาชาติอเมริกาใต้ (Union of South American Nations : UNASUR) เมื่อเดือนมีนาคม ค.ศ. ๒๐๑๑ โดยมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เอกวาดอร์ (Ecuador) การรวมตัวนี้ได้ใช้แนวทางของสหภาพยุโรปเป็นแม่แบบ คาดว่าจะสมบูรณ์ใน ค.ศ. ๒๐๑๙ ซึ่งจะทำให้อเมริกาใต้เป็นกลุ่มการค้าเสรีใหญ่อันดับ ๓ ของโลก