สรุปพัฒนาการทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองของทวีปยุโรปในอดีต

สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

   สภาพทางภูมิศาสตร์ตลอดจนพัฒนาการและความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ของภูมิภาคต่าง ๆ  ที่ต่างกัน เป็นผลทำให้สภาพสังคม เศรษฐกิจ และรูปแบบทางการเมืองการปกครองมีความแตกต่างกัน

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด

  ส 4.1 ม.3/1 อธิบายพัฒนาการทางสังคม เศรษฐกิจและการเมืองของภูมิภาคต่าง ๆ ในโลกโดยสังเขป

จุดประสงค์การเรียนรู้

1.อธิบายพัฒนาการทางเศรษฐกิจของทวีปยุโรป

2.วิเคราะห์เหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ด้านเศรษฐกิจของยุโรป

3.นำเสนอและเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับเหตุการณ์สำคัญทางเศรษฐกิจของยุโรป

การวัดผลและประเมินผล

1.สังเกตพฤติกรรมการร่วมกิจกรรม

2.ตรวจสอบความถูกต้องของใบงาน

๑.ทวีปยุโรป

ทวีปยุโรปเป็นทวีปที่มีขนาดเล็กเป็นอันดับ ๒ ของโลกรองจากทวีปออสเตรเลียและโอเชียเนียมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ ๑๐,๕๒๕,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร และดินแดนทางด้านตะวันออกติดต่อเป็นผืนเดียวกับทิศตะวันตกของทวีปเอเชีย จึงเรียกทวีปทั้งสองรวมกันว่า ยูเรเซีย {Eurasia} โดยมีเทือกเขาคู่รัก {Urals} และเทือกเขาคอเคซัส {Caucasus} เป็นแนวแบ่งเขต

ปัจจุบันทวีปยุโรป ประกอบด้วย ประเทศ รัฐ และนครอิสระกว่า ๔๐ แห่ง มีประชากรประมาณ ๗๓๐ ล้านคน โดยมีสหพันธรัฐรัสเซียเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุด และนครรัฐวาติกัน (Vatican City State) ซึ่งมีสันตะปาปาเป็นองค์ประมุข เป็นนครอิสระที่เล็กที่สุด

.๑ ที่ตั้งและสภาพภูมิศาสตร์ที่มีผลต่อพัฒนาการของทวีป

ทวีปยุโรปตั้งอยู่ในซีกโลกเหนือ ระหว่างละติจูดที่ ๓๕-๗๐ องศาเหนือ และลองจิจูดที่ ๙ องศาตะวันตก-๖๖ องศาตะวันออก ประกอบด้วย ที่ราบลุ่ม ที่ราบสูง เทือกเขา และมีคาบสมุทรจำนวนมากทางตอนใต้ ได้แก่ คาบสมุทรบอลข่าน อิตาลี และไอบีเรีย ซึ่งทอดตัวสู่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ส่วนทางตอนเหนือ ได้แก่ คาบสมุทรจัตแลนด์ ที่แบ่งแยกทะเลเหนือจากทะเลบอลติก เหนือสุด ได้แก่ คาบสมุทรแกนดิเนเวียและคาบสมุทรโคลา ดังนั้น ทวีปยุโรปจึงได้ชื่อว่าเป็น ดินแดนแห่งคาบสมุทรของคาบสมุทร (A peninsula of peninsulas)

ประเทศในทวีปยุโรปส่วนใหญ่มีผืนดินติดต่อทะเล และมีชายฝั่งทะเลยาวมาก อีกทั้งบางประเทศก็ตั้งอยู่บนเกาะ จึงทำให้ทวีปยุโรปเป็นที่ตั้งของอุตสาหกรรมการประมงและการเดินเรือ ส่วนประเทศที่ไม่มีพรมแดนติดทะเลก็อยู่ห่างจากทะเลไม่กี่ร้อยกิโลเมตร ซึ่งทำให้สามารถรับอิทธิพลจากลมทะเลด้วย จึงเป็นเพียงทวีปเดียวที่ไม่มีอากาศแห้งแล้งแบบทะเลทราย นอกจากนี้ ทวีปยุโรปยังเป็นที่ตั้งของผืนดินที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งของโลกที่เหมาะแก่การเพาะปลูก โดยครอบคลุมอาณาเขตตั้งแต่ชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกทางทิศตะวันตกไปจบเทือกเขายูรัลทางทิศตะวันออก เรียกว่า ที่ราบยุโรปเหนือ (North European Plain) ประกอบด้วย กลุ่มประเทศเบเนลักซ์ (Benelux) เดนมาร์ก โปแลนด์ จนถึงสหพันธรัฐรัสเซีย รวมทั้งตอนใต้ของราชอาณาจักร ทั้งนี้ โดยมีแม่น้ำสายต่างๆ ที่มีต้นกำเนิดในเทือกเขาแอลป์ (Alps) เทือกเขาพิเรนีส (Pyrenees) และเทือกเขาคาร์เพเทียน (Carpathians) เป็นทรัพยากรน้ำที่สำคัญทั้งด้านเกษตรกรรมการเดินเรือขนส่งสินค้าและบรรทุกผู้โดยสาร แม่น้ำวอลกาเป็นแม่น้ำที่ยาวที่สุด ส่วนแม่น้ำดานูบที่ยาวเป็นอันดับ ๒ และไหลผ่านจากยุโรปตะวันออกไปยังทะเลดำ (Black Sea) ทางตะวันออกเป็นแม่น้ำสายสำคัญในการสัญจรของหลายๆ ประเทศ

โดยทั่วไป ทวีปยุโรปมีภูมิอากาศอบอุ่นตั้งแต่ทิศตะวันตกแยงเหนือจนถึงตอนใต้แถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เพราะตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของกระแสน้ำอุ่นกัลฟ์สตรีม (Gulf Stream) และแอตแลนติกเหนือ (North Atlantic Drift) เหมาะแก่การเพาะปลูกส้ม องุ่น มะนาว และมะกอก ส่วนดินแดนในคาบสมุทรสแกนดิเนเวียโดยเฉพาะทางตอนเหนือของเส้นอาร์กติกและยุโรปด้านตะวันออกที่ไม่ได้รับอิทธิพลของกระแสน้ำอุ่นจะมีอากาศหนาวเย็นมากกว่า อย่างไรก็ดี โดยทั่วไปอุณหภูมิที่อบอุ่นของยุโรปและความอุดมสมบูรณ์ของผืนดิน ตลอดจนแม่น้ำขนาดใหญ่สายต่างๆ เช่น แม่น้ำไทเบอร์ แม่น้ำไรน์ แม่น้ำแซน แม่น้ำดานูบ และอื่นๆ ก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ดึงดูดให้ผู้คนเข้ามาตั้งหลักแหล่งในทวีปยุโรปตั้งแต่สมัยโบราณ และร่วมกันสร้างความเจริญจนกลายเป็นอารยธรรมตะวันตกที่มีอิทธิพลไปทั่วโลกในปัจจุบัน

.๒ พัฒนาการและการสร้างสรรค์ด้านต่างๆ

ทวีปยุโรปเป็นดินแดนที่มีมนุษย์อาศัยอยู่มาตั้งแต่ยุคหินเก่าเมื่อประมาณ ๑๐๐๐๐ ปีมาแล้ว เป็นดินแดนที่การตั้งชุมชนและสังคมมานานนับพันปี ตลอดระยะเวลาดังกล่าวจนถึงปัจจุบัน จะเห็นได้ว่าชาวยุโรปได้สร้างสรรค์ความเจริญและการเปลี่ยนแปลงมาสู่สังคมโลกมากมาย

พัฒนาการและการสร้างสรรค์ต่างๆ ของทวีปยุโรปสามารถแบ่งออกได้ ดังนี้

๑)พัฒนาการด้านการเมืองการปกครอง โดยทั่วไปกล่าวได้ว่าในอดีตดินแดนส่วนใหญ่ของทวีปยุโรปมีกษัตริย์เป็นประมุขสูงสุด แม้แต่ในสมัยกรีกเรืองอำนาจเมื่อกว่า ๕๐๐ ปีก่อนคริสต์ศักราช ระบอบการปกครองแบบกษัตริย์ก็เป็นที่รู้จักกันแพร่หลายแล้ว ในสมัยจักรวรรดิโรมัน (๒๗ ปีก่อนคริสต์ศักราช-..๔๗๖) พระประมุขสูงสุด เรียกว่า ซีซาร์หรือจักรพรรดิซึ่งทรงปกครองอาณาบริเวณกว้างขวางครอบคลุมพื้นที่ในยุโรปและบางส่วนของเอเชียและแอฟริกา

เมื่อจักรวรรดิโรมันล่มสลายลงใน ค.. ๔๗๖ ยุโรปได้เข้าสู่สมัยกลาง (Milddle Ages .. ๔๗๖-๑๔๙๒)ที่ระยะแรกๆบ้านเมืองแตกแยกจากการเข้ารุกรานของพวกอนารยชนเผ่ากอท (Goth) หรือชนเผ่าเยอรมันที่อพยพลงมาจากตอนเหนือ ระบอบการปกครองแบบรวมศูนย์อำนาจของโรมสลายตัว บ้านเมืองไร้ขื่อแป ประมวลกฎหมายโรมันที่ใช้บังคับทั่วทั้งจักรวรรดิถูกละทิ้งเกิดเป็นระบอบการปกครองแบบฟิวดัล (feudalism) หรือการปกครองแบบกระจายอำนาจการปกครองตกอยู่ในมือของขุนนางเจ้าของที่ดิน และมีการใช้กฎหมายจารีตประเพณี (customarylaw) ของพวกอนารยชนแทนประมวลกฎหมายโรมันอย่างไรก็ดี กษัตริย์ก็ยังคงได้รับการยกย่องว่าเป็นเจ้าของแผ่นดินและได้รับการยกย่องว่าเป็นพระประมุข (แต่ไม่มีอำนาจ) แต่ในปลายสมัยกลางกษัตริย์ต่างสามารถสถาปนาอำนาจปกครองแบบรวมศูนย์อำนาจและสร้างรัฐชาติ (nation state) ที่รวมดินแดนต่างๆ เข้าเป็นชาติเดียวกันได้ ซึ่งพระราชอำนาจในการปกครองของกษัตริย์ในดินแดนต่างๆ มีพัฒนาการที่แตกต่างกัน ดังนี้

ระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ

ในอังกฤษ พระเจ้าจอห์น (ค..๑๑๙๙-๑๒๑๖) ทรงยอมรับแมกนาคาร์ตา (Magna Carta ..๑๒๑๕) หรือมหากฎบัตร (Great Charter) ที่ขุนนาง พระ พ่อค้า และประชาชนรวมตัวกันบีบบังคับให้พระองค์ยอมรับข้อตกลงที่เป็นลายลักษณ์อักษรในการจำกัดพระราชอำนาจไม่ให้ใช้พระราชอำนาจเกินขอบเขตในการเก็บภาษีอากร การลงโทษและอื่นๆ ต่อมาได้เกิดรัฐสภา (parliament) ที่ประกอบด้วย สภาขุนนาง (House of Lords) และ สภาสามัญ (House of Commons) ที่มีส่วนสำคัญในการลดอำนาจสิทธิ์ของกษัตริย์

ต่อมาเมื่อกษัตริย์พยายามจะละเลยอำนาจของรัฐสภา สภาและประชาชนได้ร่วมกันก่อการปฏิวัติอันรุ่งโรจน์ (Glorious Revolution) ขึ้นใน ค..๑๖๘๘ ขับกษัตริย์ออกจากบัลลังโดยไม่มีการนองเลือดและให้กษัตริย์พระองค์ใหม่ยอมรับในอำนาจของรัฐสภา นับเป็นการสิ้นสุดของการพยายามใช้อำนาจปกครองอย่างเด็ดขาดของกษัตริย์ และเป็นจุดเริ่มต้นของการปกครองแบบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญอย่างแท้จริง ทั้งยังยุติปัญหาความแตกแยกทางศาสนาภายในประเทศโดยกำหนดให้กษัตริย์ต้องทรงนับถือและเป็นองค์ศาสนูปถัมภกของนิกายแองกลิคัน (Anglicanism) หรือนิกายอังกฤษ (Church of England)

ระบอบกษัตริย์แบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์

ส่วนฝรั่งเศสและประเทศมหาอำนาจในอดีตอื่นๆ ได้แก่ ปรัสเซีย (รัฐหนึ่งในดินแดนเยอรมัน ต่อมามีบทบาทเป็นผู้นำในการรวมชาติเยอรมนีใน ค..๑๘๗๑) ออสเตรีย และรัฐเซียนั้น กลับมีพัฒนาการระบอบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์(Absolutism)

ฝรั่งเศสใน ค.. ๑๖๑๔ หลังเกิดเหตุความวุ่นวายและสงครามกับสเปน สภาฐานันดร (Estates General) ซึ่งเป็นตัวแทนของชนชั้นต่างๆ ได้ประกาศยุบตัว และประกาศให้ อำนาจอธิปไตรสูงสุดเป็นของกษัตริย์เพราะทรงเป็นผู้ได้รับมงกุฎจากพระเป็นเจ้าจึงทำให้ไม่มีการเรียกประชุมสภาฐานันดรอีกเลยเป็นเวลา ๑๗๕ ปี จนก่อนเกิดการปฏิวัติฝรั่งเศส ค.. ๑๗๘๙ (FrenchRevolutionof 1789) ทำให้กษัตริย์ฝรั่งเศสไม่มีสภาที่จะควบคุมการใช้พระราชอำนาจ พระราชอำนาจของกษัตริย์จึงได้เพิ่มพูนขึ้นอีก

หลังจากสงครามสามสิบปี (Thirty Years’ War .. ๑๖๑๘-๑๖๔๘) ซึ่งเกิดจากความขัดแย้งระหว่างนิกายโรมันคาทอลิกกับนิการโปรเตสแตนต์สิ้นสุดลง มหาอำนาจต่างๆ ดังกล่าวขัดแย้ง (ยกเว้นรัฐเซียที่ไม่ได้เข้าร่วมในสงครามด้วย) ก็จัดการปกครองแบบรวมศูนย์อำนาจให้อยู่ในเมืองของกษัตริย์เพื่อใช้เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการสร้างและขยายอำนาจของรัฐ โดยฝรั่งเศสภายใต้การปกครองของพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ (Louis XIV, ค.. ๑๖๔๓-๑๗๑๕) ผงาดขึ้นเป็นมหาอำนาจประเทศแรก มีกองทัพขนาดใหญ่ที่มีประสิทธิภาพและดำเนินนโยบายขยายอำนาจพรมแดนพวกขุนนางต่างสูญเสียอำนาจทางการเมืองและเปลี่ยนสถานภาพเป็นข้าราชการ

ลักษณะของระบอบการปกครองที่มีกษัตริย์เป็นศูนย์กลางแห่งอำนาจดังกล่าวนี้ก็ได้รับการพัฒนาขึ้นในปรัสเซีย และประสบความสำเร็จในสมัยของพระเจ้าเฟรเดริกมหาราช (Frederick the Great, ค.. ๑๗๔๐-๑๗๘๖) ออสเตรียในสมัยของจักรพรรดินีมาเรีย เทเรซา (Maria Theresa .. ๑๗๔๐-๑๗๘๐) ส่วนรัฐเซียในสมัยของซาร์ปีเตอร์มหาราช (Peterthe Great, ค.. ๑๖๘๒-๑๗๒๕) และซารีนาแคเทอรีนมหาราช (Catherine the Great, ๑๗๖๒-๑๗๙๖) ซึ่งได้มีการเรียกช่วงระยะเวลาดังกล่าวนี้ว่า ยุคแห่งสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (Age of Absolutism)

ในการปฏิวัติฝรั่งเศส ค.ศ. ๑๗๘๙ ได้มีความพยายามที่จะลดอำนาจของกษัตริย์และนำไปสู่การสถาปนาระบอบการปกครองแบบสาธารณรัฐขึ้นใน ค.ศ. ๑๗๙๒ แต่ไม่ประสบความสำเร็จ ฝรั่งเศสหันกลับไปปกครองในระบอบกษัตริย์อีกครั้งในสมัยจักพรรดินโปเลียนที่ ๑ (Napoleon I, ค.ศ.๑๘๐๔-๑๘๑๕) ความพยายามจะขยายอำนาจของฝรั่งเศสไปทั่วยุโรปก่อให้เกิดการรวมตัวของมหาอำนาจอื่นๆ เพื่อหยุดยั้งจักรพรรดินโปเลียนที่ ๑ และสามารถรบชนะกองทัพฝรั่งเศสได้ใน ค.ศ. ๑๘๑๕ หลังจากนั้นมีการฟื้นฟูราชวงศ์ต่างๆ ที่สูญเสียอำนาจไประหว่างสงครามนโปเลียน (Napoleonic Wars, ค.ศ. ๑๘๐๔-๑๘๑๕) รวมทั้งราชวงศ์บูร์บง (Bourbon) ของฝรั่งเศสด้วย

อย่างไรก็ดี ในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ อำนาจของกษัตริย์เริ่มถูกต่อต้าน มีการเรียกร้องสิทธิ เสรีภาพ จากการแพร่ขยายของลัทธิเสรีนิยมและชาตินิยม ทำให้รูปแบบการปกครองประเทศต่างๆ มีการเปลี่ยนแปลงเกิดการปฏิวัติในดินแดนต่างๆ ทั่วยุโรปเป็นละลอกๆ รัฐสภาจึงมีบทบาทสำคัญขั้นและกษัตริย์ต้องตกอยู่ภายใต้อำนาจการควบคุมของรัฐสภาในระดับหนึ่ง ระหว่าง ค.ศ. ๑๘๗๑-๑๙๑๔ ชาวยุโรปจำนวนหนึ่งจึงเห็นว่าเป็น ระยะเวลาอันงดงาม (The Beautiful Times) ที่ประชาชนมีสิทธิและเสรีภาพ ทั้งความเจริญทางวิทยาศาสตร์ก็นำมาซึ่งความสะดวกสบายแก่ชีวิตด้วย ขณะเดียวกันหลักการของรัฐบาลที่เป็นตัวแทนของประชาชนก็เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป พลเมืองเพศชายในประเทศต่างๆ ได้รับสิทธิในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง อย่างไรก็ดี ในทางตรงกันข้าม ลัทธิมากซ์ที่เกิดขึ้นก็มองเห็นการเอารัดเอาเปรียบของนายทุนต่อชนชั้นแรงงานและต้องการเลี่ยนแปลงระบบการเมืองการปกครองเพื่อให้สังคมปราศจากชนชั้นและมีความเสมอภาคกัน โดยที่ชนชั้นแรงงานมีบทบาทเป็นผู้นำในการปกครอง

เมื่อสงครามโลกครั้งที่ ๑ (ค.ศ. ๑๙๑๔-๑๙๑๘) สิ้นสุดลง ระบอบการปกครองแบบกษัตริย์ในรัสเซีย เยอรมนี และออสเตรียก็สิ้นสุดลงพร้อมกับเกิดระบอบการปกครองแบบสังคมนิยมขึ้นในรัสเซีย ฝรั่งเศสได้เปลี่ยนระบอบการปกครองเป็นสาธารณรัฐตั้งแต่ ค.ศ. ๑๘๗๑ ส่วนเยอรมนีและออสเตรียก็มีการสถาปนาระบอบการปกครองแบบสาธารณรัฐ ระหว่าง ทศวรรษ ๑๙๒๐-กลางทศวรรษ ๑๙๓๐ อิตาลีซึ่งมีเบนีโต มุสโสลีนี (Benito Mussolini) และเยอรมนีมีอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ (Adolf Hitler) เป็นผู้นำ ได้ประกาศปกครองประเทศด้วย ระบอบเผด็จการฟาสซิสต์ (Fascism) หรือระบอบเผด็จการทหาร ที่ผู้นำมีอำนาจควบคุมกำลังทหาร ตำรวจ และเป็นพรรคการเมืองเดียว โดยประชาชนต้องจงรักภักดี มีความศรัทธาและความเชื่อมั่นในผู้นำ ลัทธิฟาสซิสต์จึงมีส่วนทำให้เยอรมนีเหิมเกริมและก่อสงครามโลกครั้งที่ ๒ (ค.ศ. ๑๙๓๙-๑๙๔๕)

ระบอบการปกครองในทวีปยุโรปสมัยปัจจุบัน

หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ระบอบการปกครองของยุโรปแยกออกเป็น ๒ ระบอบอย่างเด่นชัด ดังนี้

๑)ระบอบประชาธิปไตย เป็นระบอบที่เน้นความเป็นปัจเจกบุคคลนิยม (individualism) เหตุผลนิยม (rationalism) และเสรีภาพ (freedom) หลักการสำคัญของแนวความคิดประชาธิปไตย คือ สิทธิ เสรีภาพของประชาชน ประชาชนเป็นที่มาของอำนาจอธิปไตย ทุกคนมีสิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคภายใต้กฎหมาย การปกครองระบอบประชาธิปไตยมีต้นกำเนิดมาตั้งแต่สมัยกรีกโบราณ เมื่อกว่า ๕๐๐ ปีก่อนคริสต์ศักราช โดยนครรัฐเอเธนส์เป็นดินแดนแห่งแรกที่ให้สิทธิแก่พลเมืองเพศชายที่เป็นเสรีชนทุกคนมีสิทธิในการเลือกตั้งและเข้านั่งในสภา ทั้งยังดำรงตำแหน่งผู้ปกครองได้ ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยเป็นระบอบการปกครองที่ประชาชนมีอำนาจสูงสุด โดยมีรัฐสภาทำหน้าที่เป็นตัวแทนของประชาชน

๒)ระบอบเผด็จการคอมมิวนิสต์ เป็นระบอบการปกครองที่อ้างอุดมการณ์ของลัทธิมากซ์ในการสร้างสังคมที่ปราศจากชนชั้น และมีความเสมอภาคกันในด้านต่างๆ โดยชนชั้นแรงงานเป็นผู้ปกครองประเทศระอบเผด็จการคอมมิวนิสต์มีพรรคการเมืองเพียงพรรคเดียว ผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์และผู้นำรัฐเป็นคนเดียวกัน สหภาพโซเวียตเป็นประเทศแรกที่มีการปกครองในระบอบเผด็จการคอมมิวนิสต์ภายหลังการปฏิวัติรัสเซียในเดือนตุลาคม ค.ศ. ๑๙๑๗ หลังสงครามโลกครั้งที่๒ ก็มีประเทศอื่นปกครองในระบอบเผด็จการคอมมิวนิสต์อีก ๑๖ ประเทศ แต่เมื่อสหภาพโซเวียตล่มสลายลงใน ค.ศ. ๑๙๙๑ ก็เหลือเพียงไม่กี่ประเทศ เช่น จีน คิวบา เกาหลีเหนือ เป็นต้น ส่วนบรรดาประเทศบริวารของสหภาพโซเวียตเดิม (รวมทั้งรัสเซีย) ก็ต้องปฏิรูปการปกครองตนเองในแนวทางของระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยด้วย

๒) พัฒนาการด้านเศรษฐกิจ ระหว่าง ค.ศ. ๔๗๖-๑๐๕๐ หรือสมัยกลางตอนต้นชาวไร่ชาวนาส่วนใหญ่ต่างสูญเสียอิสรภาพและกลายเป็นทาสติดที่ดิน (serf) ต้องอยู่ในสังกัดของขุนนางเจ้าของที่ดินและดำรงชีวิตอยู่ในเขตแมเนอร์ (manor) ซึ่งเป็นเขตที่ดินในปกครองของขุนนาง และเป็นที่เพาะปลูกและอยู่อาศัยโดยมีเขตที่เป็นที่ตั้งปราสาทของขุนนางเจ้าของที่ดิน และเขตหมู่บ้านซึ่งเป็นเขตที่อยู่อาศัยของพวกทาสติดที่ดินและชาวไร่ชาวนาบางคนที่เป็นเสรีชน เศรษฐกิจในเขตแมเนอร์เป็นเศรษฐกิจพอเลี้ยงตนเอง (self-sufficient economy) ที่ชาวไร่ชาวนาต่างประกอบอาชีพพอกินพอใช้และผลิตสินค้าเพื่อใช้เองหรือแลกเปลี่ยนกันการค้าที่เคยรุ่งเรืองในสมัยจักรวรรดิโรมันต้องหยุดชะงักเป็นเวลากว่า ๕๐๐ ปี ก่อนที่ยุโรปจะฟื้นตัวจนสามารถสร้างความเป็นปึกแผ่นและปลอดภัยจากการรุกรานของพวกอนารยชน จำนวนประชากรได้เพิ่มมากขึ้นและสามารถผลิตสินค้าเพื่อการค้าขายทั้งภายในประเทศและส่งออกได้

การฟื้นตัวของเศรษฐกิจและสังคมของยุโรป ส่วนหนึ่งเป็นผลจากสงครามครูเสด (Crusades, ค.ศ. ๑๐๙๖-๑๒๙๑) ที่ชาวคริสต์รบกับชาวมุสลิมในดินแดนตะวันออกกลาง และมีโอกาสนำเอาความรู้ ความเจริญ และศิลปะวิทยาการของโลกตะวันออกกลับมาเผยแพร่ให้แก่โลกตะวันตกหลังจากที่ความรู้ต่างๆ เหล่านี้หายไปในสมัยกลางตอนต้น ส่วนสินค้าที่โลกตะวันตกต้องการ ได้แก่ เครื่องเทศ น้ำตาล ข้าว ส้ม มะนาว พริกไทย ผ้าไหม และพรม โดยมีพ่อค้าอิตาลีเป็นคนกลางและให้อิตาลีเป็นดินแดนที่มั่งคั่งที่สุดในทวีปยุโรป พ่อค้าอิตาลีซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีได้แก่ มาร์โก โปโล (Marco Polo) ชาวเวนิส ได้เดินทางไปค้าขายจนถึงเมืองจีน และกลับมาเล่าเรื่องราวความเจริญรุ่งเรืองและวัฒนธรรมของโลกตะวันออกจนเป็นที่รู้จักแพร่หลาย

ในช่วงระยะเวลาดังกล่าว เมือง (town, city) กลายเป็นที่ตั้งของศูนย์กลางการค้าและเศรษฐกิจ องค์กรการค้าและองค์กรช่างฝีมือแต่ละประเภท ซึ่งเรียกว่า กิลด์ (guild) กลายเป็นที่ฝึกงานเพื่อพัฒนาฝีมือ เกิดระบบทุนนิยม (capitalism) ต่อมาทำให้พ่อค้าทีร่ำรวยซึ่งเป็นผู้มีอิทธิพลทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และการปกครอง เศรษฐกิจการค้าของชาติตะวันตกมีการขยายตัวมากยิ่งขึ้นเมื่อเกิดการค้าขายในระดับโลก

ในปลายสมัยกลาง ชาวยุโรปได้สร้างนวัตกรรมการคิดค้นสิ่งประดิษฐ์และเทคโนโลยีที่สำคัญ คือ การประดิษฐ์ปืนใหญ่ที่เปลี่ยนแปลงวิธีการรบ และเครื่องพิมพ์ที่ผลิตหนังสือได้มากและมีราคาถูก ซึ่งสามารถกระจายความรู้ได้อย่างกว้างขวาง ทำให้ชาวยุโรปหันมาสนใจในเรื่องต่างๆ รวมทั้งความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ก่อให้เกิดสมัยแห่งการค้นพบและการสำรวจโดยคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส (Christopher Columbus) ค้นพบทวีอเมริกาใน ค.ศ. ๑๔๙๒ และ วาสโก ดา กามา (Vasco da Gama) แล่นเรืออ้อมแหลมกู๊ดโฮป (Good Hope) ในทวีปแอฟริกาสู่อินเดียใน ค.ศ. ๑๔๙๘ ซึ่งนับว่ายุโรปได้เข้าสู่ประวัติศาสตร์สมัยใหม่ ทั้งเป็นก้าวสำคัญที่ทำให้วัฒนธรรมตะวันตกแพร่กระจาย มีการเผยแพร่คริสต์ศาสนาทั้งนิกายโรมันคาทอลิกและนิกายโปรเตสแตนต์อย่างกว้างขวาง เมื่อนานาประเทศในยุโรปสามารถควบคุมและยึดคลองตลาดการค้าในดินแดนโพ้นทะเลใต้ ทำให้เกิดการปฏิวัติทางการค้า (Commercial Revolution) ที่พ่อค้าเร่งผลิตสินค้าจำนวนมาก ก่อให้เกิดการพัฒนาในด้านเศรษฐกิจที่มีรูปแบบต่างๆ มาจนถึงปัจจุบัน ดังนี้

เศรษฐกิจแบบพาณิชยนิยม

เศรษฐกิจแบบพาณิชยนิยม (mercantilism) เป็นระบบเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นและพัฒนาพร้อมๆ กับการก่อตัวของรัฐชาติ เป็นรูปแบบของเศรษฐกิจคริสต์ศตวรรษที่ ๑๖-๑๘ โดยรัฐเข้าควบคุมอุตสาหกรรมและการค้าภายในประเทศ ส่งเสริมการดำเนินธุรกิจของพ่อค้า การส่งสินค้าออก และกีดกันการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศลัทธิพาณิชยนิยมเป็นผลจากความเชื่อว่าการควบคุมและการดำเนินธุรกิจต่างๆ จะทำให้รัฐมั่นคง เข้มแข็ง ดังนั้น จึงถือเป็นหน้าที่และความจำเป็นของรัฐที่จะต้องดำเนินการทุกวิถีทางเพื่อเป็นเจ้าของทรัพยากรและโภคทรัพย์ต่างๆ และเข้าครอบครองดินแดนต่างๆ แล้วจัดตั้งเป็นอาณานิคม เผยแผ่ศาสนา ท้ายที่สุดก็ก่อให้เกิดความขัดแย้งกันเองและเข้าสู่สงคราม กลายเป็นสงครามที่ลุกลามในภูมิภาคอื่นๆ ของโลก เช่น สงครามเจ็ดปี (Seven Year’ War, ค.ศ. ๑๗๕๖-๑๗๖๓) ระหว่างฝรั่งเศสและออสเตรีย กับอังกฤษและปรัสเซีย ก่อให้เกิดการรบกันทั้งในทวีปยุโรป อเมริกา และเอเชีย

เศรษฐกิจแบบทุนนิยม

ปลายคริสต์ศตวรรษที่ ๑๘ ได้เกิดแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์และการเมืองที่สำคัญ คือ แนวคิด ไลส์เซ-แฟร์ (laissez-faireเป็นคำฝรั่งเศส หมายถึง ปล่อยให้เป็นเอง) และแนวคิดการค้าเสรี (free trade) ของแอดัม สมิท (Adam Smith) ชาวสกอต เจ้าของผลงานเรื่อง The Wealth of Nations (ค.ศ. ๑๗๗๖) ที่กำหนดให้อุปสงค์ (demand) และอุปทาน (supply) เป็นตัวกำหนดกลไกของตลาด

ด้านเศรษฐกิจนั้น ไลส์เซ-แฟร์ หมายถึง การดำเนินนโยบายภายในที่รัฐบาลไม่ควรเข้าไปก้าวก่ายกับการค้า เป็นธุรกิจของภาคเอกชนทั้งในด้านอุตสาหกรรมและการเงิน ระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมส่งเสริมให้นายทุนแข่งขันกันอย่างเสรี ผู้บริโภคจะทำให้กลไกของตลาดเคลื่อนไหวและนำความมั่งคั่งมาสู่รัฐได้

อย่างไรก็ดี ทั้งแนวคิดไลส์เซ แฟร์ และการค้าเสรีดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจากชนชั้นนายทุนอีกทั้งสอดคล้องกับลัทธิเสรีนิยม จึงทำให้เกิดการสะสมทุน การลงทุน และขยายทุนอย่างกว้างขวาง เกิดระบบตลาดการค้าเสรีแบบทุนนิยม (free market capitalism) ไปทั่วโลก โดยรัฐให้การสนับสนุนและออกกฎหมายต่างๆ เพื่อคุ้มครองสิทธิเสรีภาพในการทำธุรกิจและการค้า การครอบครองทรัพย์สิน และการทำสัญญาต่างๆ

ในโลกปัจจุบันระบบทุนนิยมและแนวคิดไลส์เซ แฟร์ และการค้าเสรีก็ยังคงเป็นนโยบายเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศประชาธิปไตย โดยรัฐเข้ามามีบทบาทในด้านการวางนโยบาย การควบคุมคุณภาพและวิธีการผลิต ตลอดจนการดูแลในเรื่องสวัสดิการของผู้ใช้แรงงานด้วย

เศรษฐกิจแบบสังคมนิยม

เศรษฐกิจแบบสังคมนิยม (socialism) เป็นระบบเศรษฐกิจที่พัฒนามาจากแนวความคิดทางการเมืองของคาร์ล มากซ์ (Karl Marx) นักสังคมนิยมที่มีชื่อเสียงของยุโรป เกิดขึ้นกลางคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ เพื่อตอบโต้การขยายตัวของลัทธิทุนนิยมและการเอารัดเอาเปรียบชนชั้นแรงงาน เขาต้องการสร้างระบบเศรษฐกิจที่เสมอภาค คือ การยกเลิกกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินส่วนบุคคล และให้มีการจัดการทางการผลิตโดยชนชั้นแรงงาน ซึ่งชนชั้นแรงงานจะใช้อำนาจเผด็จการในการปกครองเพื่อผลักดันนโยบายสังคมนิยมให้บรรลุผลสำเร็จ

๓) พัฒนาการด้านสังคมและศิลปวัฒนธรรม มีดังนี้

กำเนิดของชนชั้นกลาง

ในสมัยกลางตอนต้น สังคมของตะวันตกประกอบด้วย ชนชั้น ๓ ฐานันดร ได้แก่ กษัตริย์-ขุนนาง นักบวช และชาวไร่-ชาวนา (ทาสติดที่ดิน) แต่เมื่อมีการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและเมืองขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๑ สังคมยุโรปก็เกิดชนชั้นใหม่ คือ ชนชั้นกลางหรือชนชั้นกระฎุมพี ที่ประกอบอาชีพต่างๆ เช่น ช่างฝีมือ ลูกจ้าง พ่อค้า อาจารย์ นักศึกษา โดยอาศัยอยู่ในเขตเมือง ถือว่าเป็น ชนชั้นใหม่ ของสังคมตะวันตก ชนชั้นกลางเหล่านี้ได้ร่วมกันวางรากฐานความเจริญให้แก่สังคมยุโรปและปลูกฝังอุดมการณ์และวิธีการปฏิบัติในการอยู่ร่วมกัน เช่น สิทธิและหน้าที่ของชาวเมือง การจัดเก็บภาษีและค่าปรับ เป็นต้น เพื่อนำรายได้มาบริหาร การทำนุบำรุงแลการป้องกันเมือง ส่งเสริมและขยายการศึกษาการจัดตั้งมหาวิทยาลัย และเกิดการฟื้นฟูศิลปวิทยาการและความเจริญอื่นๆ ตลอดจนส่งเสริมคุณธรรมและให้ความสำคัญแก่สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคปัจเจกบุคคล ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญที่ทำให้สังคมยุโรปสามารถพัฒนาระบอบการปกครองแบบระบอบประชาธิปไตย

การขยายตัวของเมืองในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม

การขยายตัวของเมืองในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมเด่นชัดขึ้นในกลางคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ กล่าวคือใน ค.ศ. ๑๘๕๑ การสำรวจสำมะโนครัวในอังกฤษบ่งชี้ให้เห็นเป็นครั้งแรกว่ามีประชากรอาศัยอยู่ในเขตเมืองมากกว่าอยู่ในเขตชนบท ขณะที่ประเทศอื่นๆ ก็มีแนวโน้มของสังคมเมืองในลักษณะเดียวกันนี้ด้วย แต่เมื่อสิ้นคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ มีเมืองกว่า ๕๐ แห่งที่มีประชากรมากกว่า ๑ ล้านคน ปัจจุบันประชากรส่วนใหญ่ในทวีปยุโรปมากกว่าร้อยละ ๕๐-๖๐ อาศัยอยู่ในเขตเมืองซึ่งมีขนาดใหญ่

การสร้างสรรค์ทางศิลปวัฒนธรรม

แม้ว่าศิลปวัฒนธรรมของกรีก-โรมัน คือ รากเหง้าของอารยธรรมตะวันตก แต่คริสต์ศาสนาซึ่งเป็นที่ยอมรับในจักรวรรดิมันตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ ๔ และมีอิทธิพลอย่างมากในโลกตะวันตกจนสมัยกลางได้ชื่อว่า ยุคแห่งศรัทธา (Age of Faith) ก็คือ พลังที่แต่งเติมให้ศิลปวัฒนธรรมของยุโรปบรรลุความงามและความสมบูรณ์แบบ ทั้งมีการสร้างมหาวิหาร (cathedral) ด้วยศิลปะแบบกอทิกไปทั่วยุโรปในระหว่าง ค.ศ. ๑๑๐๐-๑๓๐๐ มีจำนวนมากกว่า ๕๐๐ แห่ง ต่อมาในยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ (Renaissance) ที่เริ่มต้นในอิตาลีในกลางคริสต์ศตวรรษที่ ๑๔ ยุโรปสามารถฟื้นฟูการศึกษาและผลงานสร้างสรรค์ทางด้านวิจิตรศิลป์ของกรีก-โรมันขึ้นมาใหม่ ศิลปินต่างหวนกลับไปสู่โลกของธรรมชาติ จนเกิดเป็นรูปแบบของศิลปะซึ่งเป็นความงามของธรรมชาติและการวิภาคของมนุษย์ที่จัดว่าเป็นผลงานอันยิ่งใหญ่ของพระเป็นเจ้ามาซักซีโอ (Masaccio, ค.ศ. ๑๔๐๑-๑๔๒๘) เป็นจิตรกรอิตาลีคนแรกที่นำเทคนิคการวาดภาพ ๓ มิติมาใช้ จนเกิดเป็นแนวคิดใหม่ที่ว่าลักษณะที่ สมจริง (realism) นั้นเป็นอย่างไร

ในช่วงระยะเวลานี้ งานจิตรกรรมและงานประติมากรรมก็เริ่มมีความโดดเด่น มีการสร้างงานประติมากรรมเป็นรูปนักบุญประดับประดาตามจัตุรัสต่างๆ รวมทั้งภาพจิตรกรรมฝาผนังปูนเปียก (fresco) ตามผนังของโบสถ์วิหารและบ้านเรือนต่างๆ ศิลปินชาวเฟลมิชหรือดัตช์เป็นพวกแรกที่พัฒนาเทคนิคการวาดภาพสีน้ำมันที่ผสมไข่ขาวและน้ำแทนสีฝุ่น ซึ่งสามารถสร้างสีอ่อนแก่ ดูโปร่งแสง มีรายละเอียดเหมือนภาพถ่ายในปัจจุบัน ในเวลาต่อมาศิลปินอิตาลีก็นำไปพัฒนาเป็นภาพเขียนใส่กรอบประดับฝาภายในอาคารที่พักอาศัย โดนาเตลโล (Donatello, ค.ศ. ๑๓๖๘-๑๔๖๖) เป็นประติมากรคนแรกที่สร้างผลงาน เดวิด (David) เด็กหนุ่มในคัมภีร์ไบเบิล เป็นรูปชายหนุ่มเปลือยในท่ายืนโดดเด่นอย่างอิสระจากข้อบังคับที่เคร่งครัดของสมัยกลาง แต่ก็สะท้อนความเป็นธรรมชาติของมนุษย์

ในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๕-๑๖ ศิลปกรรมของอิตาลีได้พัฒนาถึงขีดสูงสุดและเป็นแม่แบบให้แก่ศิลปินชาติอื่นๆ ในยุโรป ศิลปินที่มีชื่อเสียงที่สุดของยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ คือ เลโอนาร์โด ดา วินชี (Leonado da Vinci, ค.ศ. ๑๔๕๒-๑๕๑๙ ) ซึ่งถือเป็น มหาศิลปินแห่งศิลปินทั้งปวง ต่อมาในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๗ รูปแบบของศิลปกรรมในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการก็มีการพัฒนาจนมีรูปแบบอลังการ หรูหรา ฟุ้งเฟ้อ และแวววับด้วยสีทอง เกิดเป็น ศิลปะบาโรก (Baroque) ในอิตาลี ศิลปะบาโรกถูกนำมาใช้เพื่อความยิ่งใหญ่ของคริสต์ศาสนานิการโรมันคาทอลิก ส่วนในฝรั่งเศส ศิลปะบาโรกก็ถูกนำไปใช้เพื่อสร้างความสุขและความหรูหราแก่ชนชั้นสูง เช่น การสร้างพระราชวังแวร์ซายของพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ต่อมาศิลปะบาโรกจากราชสำนักก็ขยายเข้าสู่คฤหาสน์ของชนชั้นขุนนาง และในต้นคริสต์ศตวรรษที่ ๑๘ เมืองหลวงของประเทศต่างๆ โดยเฉพาะเยอรมนีก็เกิดการพัฒนารูปแบบงานศิลปะที่ให้อิสระแก่จินตนาการและการใช้แสง โดยเน้นความสว่างมากขึ้นจึงมีผู้เรียกศิลปะบาโรกในระยะเวลาต่อมาว่า ศิลปะโลโกโก (Rococo)

ใน ค.ศ. ๑๘๓๙ ได้มีการประดิษฐ์กล้องถ่ายรูปขึ้น ทำให้การวาดภาพเหมือนคน (portrait) เสื่อมลงจิตรกรหันไปสนใจวาดภาพจากสภาพความเป็นจริงตามธรรมชาติและสังคมมากขึ้น ซึ่งส่งผลให้ ศิลปะเรียลลิสต์หรือสัจนิยม (Realism) มีบทบาทสำคัญในช่วงกลางคริสต์วรรษที่ ๑๙ ภาพวาดแนวสัจนิยมมักถ่ายทอดความเป็นจริงของชีวิตในสังคมอุตสาหกรรม ทั้งความมั่งคั่งของนายทุนและชีวิตของคนยากจนในเมืองใหญ่ ตลอดจนการใช้ชีวิตในชนบท ขณะเดียวกันศิลปินก็นำหลักวิทยาศาสตร์มาประยุกต์กับแนวทางศิลปะ ทำให้ภาพวาดมีลักษณะใหม่ที่สว่างและสดใสมากขึ้น จึงได้ชื่อว่า อิมเพรสชันนิสต์ (Impressionism)จิตรกรที่โดดเด่น เช่น โกลด โมเน (Claude Monet) ปีแยร์ โอกูสต์ เรอนัวร์ (Pierre Auguste Renoir) เป็นต้น

ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ ๑ และสงครามโลกครั้งที่ ๒ รูปแบบงานศิลปะพัฒนาก้าวหน้ามากขึ้นในด้านเทคนิคและการแสดงออกโดยศิลปินได้พยายามประยุกต์ใช้เทคนิคใหม่ๆ สร้างงานศิลปะที่สอดคล้องกับความต้องการของสังคมและยุคสมัย มีการถ่ายทอดอารมณ์และความคิดที่อิสระในรูปแบบต่างๆ ศิลปะแนวใหม่ เช่น ลัทธิสำแดงพลังอารมณ์แนวนามธรรม (Abstract Expressionism) ศิลปะประชานิคม (Pop Art) จลนศิลป์ (Kinetic Art) เป็นต้น ทำให้การสร้างสรรค์งานศิลปะก้าวหน้ามากขึ้น

นอกจากพัฒนาการในด้านต่างๆ ที่ทำให้ชาติตะวันตกมีบทบาทในโลกแล้ว ในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๗-๑๘ ได้เกิดเหตุการณ์การปฏิวัติครั้งใหญ่ขึ้นในทวีปยุโรป ๓ เหตุการณ์ ได้แก่ การปฏิวัติวิทยาศาสตร์ (Scientific Revolution) ในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๗ การปฏิวัติอุตสาหกรรม (Industrial Revolution) และการปฏิวัติทางภูมิปัญญา (Intellectual Revolution) หรือยุคภูมิธรรม (Age of Enlightenment) ในกลางคริสต์ศตวรรษที่ ๑๘ และการปฏิวัติฝรั่งเศส (French Revolution) ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ ๑๘ ซึ่งถือว่ามีความสำคัญและมีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา เศรษฐกิจ การเมือง ตลอดจนโลกทัศน์ สังคมและวัฒนธรรมของดินแดนต่างๆ ในทวีปยุโรปมากที่สุด

การปฏิวัติวิทยาศาสตร์ ซึ่งได้แก่ การตั้งข้อสังเกต การตรวจสอบอย่างมีเหตุผลและผ่านการพิสูจน์ทดลอง แลมีข้อสรุปโดยไม่เชื่ออะไรอย่างงมงาย ทำให้ชาติตะวันตกเชื่อมั่นในการเรียนรู้ แสวงหาความเป็นจริงมากขึ้น จนทำให้ชาติตะวันตกนำความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ไปพัฒนาเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ ยารักษาโรคตลอดจนอาวุธยุทโธปกรณ์ ขณะเดียวกันการปฏิวัติวิทยาศาสตร์ก็ก่อให้เกิดการปฏิวัติทางภูมิปัญญาหรือยุคภูมิธรรม ที่ทำให้เกิดนักปรัชญาเมธีสำคัญ ได้แก่ จอห์น ลอก (John Locke) มงเตสกีเยอ (Montesquieu) วอลแตร์ (Voltaire) และรูโซ (Rousseau) เจ้าของผลงาน สัญญาประชาคม (Social Contract) ที่คำนึงถึงสิทธิ เสรีภาพของประชาชน และ เจตจำนงร่วมของประชาชน (General Will)กลายเป็นแรงจูงใจให้ชาวฝรั่งเศสก่อการปฏิวัติฝรั่งเศสใน ค.ศ. ๑๗๘๙ เรียกร้องเสรีภาพ ความเสมอภาค และภราดรภาพ (Liberty, Equality and Fraternity) เพื่อสร้างความเสมอภาคในทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ทำให้ในเวลาต่อมามีการล้มระบอบกษัตริย์ในฝรั่งเศสและจัดตั้งระบอบการปกครองแบบสาธารณรัฐขึ้น

ส่วนการปฏิวัติอุตสาหกรรมที่เกิดขึ้นในอังกฤษเป็นแห่งแรกในกลางคริสต์ศตวรรษที่ ๑๘ โดยการเปลี่ยนแปลงวิธีการผลิตและระบบการผลิตจากการใช้แรงงานคน สัตว์ และพลังธรรมชาติ มาเป็นการใช้เครื่องจักรกลที่สามารถผลิตสินค้าได้จำนวนมากก็ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ อย่างมาก อีกทั้งยังเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

ในคริสต์ศตวรรษที่ ๒๐ ประเทศมหาอำนาจยุโรปได้เกิดความขัดแย้งกันและเผชิญกับปัญหาต่างๆ เช่น การเรียกร้องอำนาจปกครองตนเองของชนใต้ปกครอง ปัญหาเชื้อชาติ ลัทธิการเมืองตลอดจนการแข่งขันกันเองเพื่อมีอำนาจควบคุมเศรษฐกิจและดินแดนต่างๆ ทั่วโลกที่เป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ และจุดยุทธศาสตร์สำคัญจนต้องเข้าสู้รบกันในสงครามโลกครั้งที่ ๑ ( ค.ศ. ๑๙๑๔-๑๙๑๘ ) และสงครามโลกครั้งที่๒ ( ค.ศ. ๑๙๓๙-๑๙๔๕) ซึ่งเกิดความหายนะไปทั่วทำให้ประเทศมหาอำนาจยุโรปเก่า ได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศส ออสเตรีย และเยอรมนีต่างสูญเสียบทบาทผู้นำและเปิดโอกาสให้สหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตก้าวขึ้นมาเป็นประเทศผู้นำของโลกแทน

หลังจากที่สงครามโลกครั้งที่๒ ยุติลง ยุโรปต้องเผชิญกับวิกฤตการณ์ต่างๆ ทั้งภายในและภายนอก ตลอดจนการเร่งบูรณะฟื้นฟูประเทศ ประเทศมหาอำนาจยุโรปตะวันตกต่างสูญเสียบทบาทและอาณานิคมที่เคยเป็นฐานอำนาจทางเศรษฐกิจและการเมืองมาเป็นระยะเวลายาวนาน ดังนั้น เพื่อดำรงบทบาทของประเทศผู้นำและสามารถแข่งขันกับสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตทั้งด้านเศรษฐกิจ การเมืองการปกครอง และการทหาร กลุ่มประเทศยุโรปตะวันตกจึงได้พยายามรวมตัวกันเพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้กับประเทศของตนอีกครั้ง โดยร่วมประชุมกันและดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม เกิดการจัดตั้ง สหภาพยุโรป (European Union:EU) ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นานาประเทศในยุโรป (ตะวันตก) มีเอกภาพในการดำเนินนโยบายด้านการเมืองเศรษฐกิจ การเงิน กาป้องกันและการต่างประเทศ ตลอดจนด้านสังคมและวัฒนธรรม

มาตรการสำคัญของการสร้างยุโรปในเชิงบูรณาการ ได้แก่ การสร้างยุโรปของชาวยุโรป (People’s Europe) คือ รวมประเทศต่างๆ ทั้งหมดตั้งแต่ชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกจนถึงเทือกเขายูรัลเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ทั้งนี้ ได้มีการดำเนินการมาตั้งแต่ ค.ศ. ๑๙๘๕ เพื่อให้ประชากรในประเทศที่มีความแตกต่างกันทั้งในภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ความเชื่อและค่านิยมให้ซึมซับความเป็นพวกเดียวกัน

.๓ อิทธิพลของทวีปยุโรปต่อสังคมโลก

ในด้านการเมืองการปกครอง อุดมการณ์ประชาธิปไตยซึ่งเริ่มจากสมัยกรีกที่ส่งเสริมให้ประชาชนตระหนักถึงสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบต่อรัฐนับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งถือเป็นแม่แบบของระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย ทั้งยังก่อให้เกิดระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญอีกด้วย ที่ยกย่องกษัตริย์เป็นพระประมุขของประเทศแต่ให้อำนาจการปกครองและบริหารประเทศแก่ประชาชน ส่วนโรมันก็มีชื่อเสียงในเรื่องการรักสิทธิ เสรีภาพส่วนบุคคล และการมีระเบียบวินัยของสังคมกฎหมายสิบสองโต๊ะของโรมันได้ให้ความยุติธรรมแก่พลเมืองทุกชนชั้นอย่างทัดเทียมกันและเป็นแม่แบบของการออกประมวลกฎหมายในนานาประเทศทั่วโลก ส่วนงานศิลปะแขนงต่างๆ ของกรีก-โรมัน ก็ถือเป็นต้นแบบในงานสร้างสรรค์ทั่วโลก รวมทั้งอาคารสถานที่คฤหาสน์ พระราชวัง โบสถ์วิหารที่มีให้เห็นกันทั่วไปที่ยังคงนิยมรูปแบบสถาปัตยกรรมกรีก-โรมันอยู่จนถึงปัจจุบัน

ในสมัยกลาง แม้ว่าช่วงเวลาระหว่างการล่มสลายของจักรวรรดิโรมันใน ค.ศ. ๔๗๖ จนถึงการฟื้นตัวของเมืองในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๑ แสงของอารยธรรมตะวันตกจะริบหรี่ลงเพราะเกิดจากการรุกรานของพวกอนารยชนจนแทบมืดสนิทนั้น แต่เมื่อยุโรปฟื้นตัวขึ้นอีกครั้ง การสร้างสรรค์ความเจริญและอารยธรรมของยุโรปก็รุดหน้าอย่างรวดเร็ว เมืองในสมัยกลางของยุโรปได้กลายเป็นแม่แบบของเมืองในปัจจุบัน ทั้งได้รูปแบบและการจัดระบบการปกครองแบบเทศาภิบาล มีการเก็บภาษีจากชาวเมือง การจัดการป้องกันตนเอง มีการจัดตั้งธนาคาร การจัดตลาดนัด การกำหนดวันที่ ๑ มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ และอื่นๆ รวมทั้งการเกิดชนชั้นกลางและการสร้างค่านิยมของชนชั้นกลางที่เน้นบทบาทและหน้าที่ที่มีต่อสังคม เช่น การเสียภาษีอากรเพื่อนำรายได้ไปบริหารและป้องกันเมือง ตลอดจนการใฝ่การศึกษาจนก่อให้เกิดมหาวิทยาลัยขึ้น อีกทั้งยังมีการสร้างมหาวิหารกอทิกที่มีลักษณะโดดเด่นเฉพาะและพัฒนามาจากรูปแบบสถาปนาโรมัน และ ถ่ายทอดสู่นานาประเทศทั่วโลกพร้อมกับการเผยแผ่คริสต์ศาสนาซึ่งเป็นที่ยอมรับกันตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ ๔ ในสมัยจักรวรรดิโรมัน

อิทธิพลของอารยธรรมตะวันตกเป็นที่ประจักษ์มากขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๖ เมื่อยุโรปก้าวเข้าสู่ยุคแห่งการค้นพบและการสำรวจ และการปฏิรูปศาสนา ทำให้ชาวคริสต์มีทางเลือกที่จะปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของนิกายโรมันคาทอลิกที่เน้นพิธีกรรมและยกย่องให้สันตะปาปาเป็นผู้นำสูงสุดในคริสจักร หรือนิการโปรเตสแตนต์ที่มุ่งการมีศรัทธาหรือความเชื่อ และยึดถือพระคัมภีร์ไบเบิลเป็นหลักปฏิบัติสูงสุด มีการจัดตั้งอาณานิคมและสถาบันการค้าขึ้นทั้งในทวีปเอเชียและทวีปอเมริกา เกิดการแข่งขันกันในการขยายอำนาจของชาติตะวันตกและการเกิดลัทธิพาณิชยนิยมและการปฏิวัติทาวการค้าซึ่งทำให้ช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนขยายตัวมากขึ้น ส่วนอารยธรรมและภาษาตะวันตก ได้แก่ ภาษาสเปน โปรตุเกส อังกฤษ และฝรั่งเศส ก็ได้รับการเผยแพร่อย่างกว้างขวางรวมทั้งสัตว์ เช่น ม้า วัว ลา และพืช เช่น ส้ม ข้าวโอ๊ต และผลเบอร์รี่ เป็นต้น อีกทั้งการเผยแผ่คริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิกและโปรเตสแตนต์ก็ใช้มิชันนารีและวิธีการรุนแรง ขณะเดียวกันก็มีการละเมิดวิถีชีวิตของคนท้องถิ่นจนถึงขั้นเช้าทำลายอารยธรรมดังที่เกิดขึ้นกับชนพื้นเมืองในทวีปอเมริกา นอกจากนี้ ชาวยุโรปยังได้นำเชื้อโรคต่างๆ เช่น โรคไข้ทรพิษ โรคมาลาเรีย และโรคหัด ไปติดชาวพื้นเมืองจนเกิดการล้มตายจำนวนมากอีกด้วย

นับตั้งแต่คริสต์วรรษที่ ๑๗ เป็นต้นมา ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงในยุโรปหลายด้าน ได้แก่ การปฏิวัติวิทยาศาสตร์ การปฏิวัติอุตสาหกรรม การปฏิวัติทางภูมิปัญญาในยุคภูมิธรรม และการปฏิวัติฝรั่งเศส ซึ่งล้วนแต่ปูทางให้ยุโปก้าวสู่การเป็นผู้นำของโลกการปฏิวัติวิทยาศาสตร์ทำให้สังคมตะวันตกก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีและวิทยาการต่างๆ มากกว่าดินแดนอื่นๆ ของโลก

ส่วนการปฏิวัติอุตสาหกรรมก็ทำให้ยุโรปเปลี่ยนแปลงจากสังคมเกษตรกรรมเป็นสังคมอุตสาหกรรมที่ทันสมัย ประชาชนมีการกินดีอยู่ดีทำให้เศรษฐกิจแบบทุนนิยมขยายตัวอย่างมากและคนจนถูกอัดเอาเปรียบมากยิ่งขึ้น ขณะเดียวกันก็เกิดลัทธิสังคมนิยมที่พยายามสร้างความทัดเทียมทางด้านเศรษฐกิจ ต่อมาในปลายคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ เกิดลัทธิจักรวรรดินิยมใหม่และการล่าอาณานิคมโพ้นทะเล ซึ่งมีผลต่อการขยายตัวของตลาดการค้าและการย่ำยีอำนาจอธิปไตยของประเทศที่อ่อนแอกว่า การเผยแพร่วัฒนธรรมและภาษาตะวันตกและความเชื่อในคริสต์ศาสนาทั้งนิกายโรมันคาทอลิกและนิกายโปรเตสแตนต์ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น

ในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๘ ยังเป็นยุคของการเรียกร้องสิทธิ เสรีภาพ และความเป็นธรรมของนักปรัชญาเมธี (philosophe) ในยุคภูมิธรรมที่นำไปสู่การปฏิวัติอเมริกัน ค.ศ. ๑๗๗๖ และการปฏิวัติฝรั่งเศส ค.ศ. ๑๗๘๙ ของชนชั้นกลางเพื่อความเป็นประชาธิปไตยตามแนวทางของเสรีภาพ ความเสมอภาค และภราดรภาพต่อมายังนำไปสู่การเกิดลัทธิชาตินิยมที่ชนชาติเดียวกันต้องการรวมดินแดนของตนให้เป็นชาติขึ้นหรือกำจัดอิทธิพลของต่างชาติออกไป

ในคริสต์ศตวรรษที่ ๒๐ มหาอำนาจยุโรปได้เกิดความขัดแย้งกันในด้านผลประโยชน์และการพยายามจัดระเบียบโลกตามความต้องการของแต่ละประเทศจนเกิดสงครามโลกครั้งที่ ๑ (ค.ศ. ๑๙๑๔-๑๙๑๘) และสงครามโลกครั้งที่ ๒ (ค.ศ. ๑๙๓๙-๑๙๔๕) หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ สิ้นสุดลง ได้มีความพยายามจัดตั้งองค์การระหว่างประเทศขึ้นเพื่อเสริมสร้างสันติภาพและความร่วมมือของโลก โดยเฉพาะองค์การสหประชาชาติ (United Nations) ซึ่งยังคงมีบทบาทต่อประชาชาติในปัจจุบัน นอกจากนี้ ผลของลัทธิสังคมนิยมที่ต้องการสร้างสังคมแห่งความเสมอภาคที่ปราศจากชนชั้นก็ก่อให้เกิดการปฏิวัติรัสเซีย ค.ศ. ๑๙๑๗ ทำให้รัสเซียเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบคอมมิวนิสต์เป็นประเทศแรกของโลก และได้ขยายตัวจากยุโรปไปสู่ดินแดนต่างๆ ของโลกในเวลาต่อมา ขณะเดียวกันสหรัฐอเมริกาก็เริ่มมีบทบาทในการเมืองโลกมากขึ้น

ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ยุโรปต้องสูญเสียสถานภาพการเป็นมหาอำนาจอันดับหนึ่งของโลก และถูกแบ่งแยกออกเป็นยุโรปตะวันตกที่มีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย และยุโรปตะวันออกปกครองในระบอบคอมมิวนิสต์ อย่างไรก็ดี ประเทศยุโรปตะวันตกได้วางแผนพัฒนาตัวเองไปสู่ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเพื่อรักษาความเป็นประเทศผู้นำโลกไว้โดยจัดตั้งสหภาพยุโรปหรืออียู (European Union : EU ) ขึ้นใน ค.ศ.๑๙๙๓ ในปัจจุบันก็เป็นแม่แบบให้แก่สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียน (ASEAN ก่อตั้งใน ค.ศ. ๑๙๗๖) ในการรวมตัวเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันด้วยการสร้างความเข้มแข็งในด้านเศรษฐกิจของภูมิภาคของตนโดยมีการจัดตั้งเขตการค้าเสรีแห่งอาเซียนหรืออาฟตา (AFTA) และมีการประกาศกฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter) ขึ้นใน ค.ศ. ๒๐๐๙ ที่จังหวัดเพชรบุรี ประเทศไทย