ประโยชน์ของการวางแผนดูแลสุขภาพของบุคคลในครอบครัวมีอะไรบ้าง

ความหมายของการวางแผนดูแลสุขภาพ

          การวางแผนดูแลสุขภาพ หมายถึง กระบวนการของการกำหนดวิถีทางการตัดสินใจหรือรูปแบบ ในการดูแลสุขภาพตามที่ต้องการ รวมถึงการกำหนดแนงทางในการปฎิบัติเพื่อการมีสุขภาพที่ดี

         การวางแผนดูแลสุขภาพทั้งของตนเองและบุคคลในครอบครัวจึงเป็นเรื่องที่ดี เพราะนอกจากจะช่วยกระตุ้นให้เกิดความกระตือรือร้นในการดูแลสุขภาพแล้ว ยังช่วยให้เกิดสัมพันธภาพอันดีระหว่างสมาชิกในครอบครัวอันจะนำไปสุ่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีในอนาคต

หลักการวางแผนดูแลสุขภาพ

การวางแผนดูแลสุขภาพ มีหลักการ ดังนี้

1. สำรวจรูปแบบวิถีการดำเนินชีวิตของตนเอง และ บุคคลในครอบครัวว่ามีกิจกรรมหรือพฤติกรรมใดที่ส่งผลดีหรือส่งผลเสียต่อสุขภาพ

2. นำข้อมูลที่ได้จากการสำรวจมาวางแผนดูแลสุขภาพโดยกำหนดเป็นแผนการแบบรายวัน หรือ รายสัปดาห์ และอาจทำแยกเป็นรายบุคคลหรือเป็นภาพรวมของครอบครัว ต้องประกอบกิจกรรมอะไรบ้างที่เป็นการเสริมสุขภาพ

3. เมื่อกำหนดแผนการดูแลสุขภาพแล้ว ก็ปฏิบัติตามแผนการที่วางไว้ และ ประเมินผลเป็นระยะ ๆ ว่าปฏิบัติได้ตามแผนหรือไม่

4. หากพบว่าไม่สามารถปฏิบัติได้ตามแผนที่วางไว้ ต้องทบทวนและวิเคราะห์ว่าเกิดจากสาเหตุใด และปรับแผนการดูแลสุขภาพใหม่ให้เหมาะสมทั้งกับตนเอง และ สามาชิกในครองครัว

วิธีการวางแผนดูแลสุขภาพของตนเองและบุคคลในครอบครัว

การวางแผนสุขภาพมีดังนี้

1. โภชนาการ การรับประทานอาหารต้อง ทานให้ครบทั้ง 5 หมู่ และ รับประทานให้สมกับวัย

2. ออกกำลังกาย การออกกำลังกายนั้นจะทำให้เรามีสุขภาพที่แข็งแรง ระบบต่างๆ ของร่างกายทำงานอย่างมีประสิทธิ์ภาพ โดยที่ออกกำลังกาย ไม่เกินขีดของตัวเอง หรือ เกินความสามารถของตนเอง
และ ออกกำลังกาให้เหมาะ กับเพศ และ อายุ วัย

3. การพักผ่อน การพักผ่อน นั้น จะไม่มากไปหรือน้อยเกินไป การพักผ่อน ไปเที่ยว ดูหนัง หลับ เป็นต้น

4. การตรวจสอบสุขภาพ การตรวจนั้นจะทำให้เราทราบถึงโรคเมื่อเราเป็นโรค จะได้สามารถรักษา ได้
อย่างน้อยตรวจสุขภาพ ปีละ 2 ครั้ง

ประโยชน์ของการวางแผนดูแลสุขภาพของตนเองและบุคคลในครอบครัว

1. ทำให้มองเห็นวิธีการดำเนินการที่จะปฏิบัติหรือเลือกปฏิบัติ

2. ทำให้มีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี ซึ่งสงผลดีต่อสุขภาพกายและจิต

3. ลดภาวะความเจ็บป่วย ความพิการ หรือ เสียชีวิตก่อนวัยอันควร

4. ประหยัดค่าใช้จ่ายในการรักษาค่าพยาบาล

5. เป็นการสร้างความเข้มแข็งแก่สังคม ลดปัยหาด้านสาธารณสุข เพราะผู้วางแผนดูแลสุขภาพมีสุขภาพดีขึ้น

การที่คนเราจะมีสุขภาพที่ยั่งยืนได้นั้น นอกจากต้องรู้จักการวางแผนดูแลสุขภาพของตนเองแล้ว การรู้จักวางแผนดูแล สุขภาพของบุคคลในครอบครัว ก็นับว่าเป็นสิ่งที่จำเป็น เพราะสุขภาพของตนเองและบุคคลในครอบครัว ล้วนแล้วแต่มีผลเกี่ยวเนื่องกันทั้งสิ้น ดังนั้น นักเรียนจึงควรเรียนรู้และสร้างความเข้าใจถึงแนวทางในการวางแผนดูแลสุขภาพของตนเองและบุคคลที่อยู่ในครอบครัว เพื่อที่จะได้นำไปใช้ในการดูแลสุขภาพ เพื่อให้เกิดสุขภาพที่ดีและยั่งยืนต่อไป
                 การดูแลสุขภาพของตนเองนับว่าเป็นปัจจัยพื้นฐานที่ทุกคนควรที่จะปฏิบัติ แต่นอกเหนือจากการดูแลสุขภาพของตนเองแล้ว การดูแลสุขภาพของบุคคลในครอบครัว ก็นับว่าเป็นสิ่งสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน เพราะภาวะสุขภาพที่เกิดขึ้นในครอบครัว ล้วนแล้วแต่มีผลต่อสุขภาพของคนเรา ดังนั้น ความรู้เกี่ยวกับการวางแผนการดูแลสุขภาพของตนเองและบุคคลใน จึงเป็นความรู้ที่สำคัญอีกประการหนึ่งที่นักเรียนควนได้ศึกษาและทำความเข้าใจ เพื่อที่จะได้นำความรู้ความเข้าใจดังกล่าวไปปรับใช้ในการสร้างเสริมสุขภาพในชีวิตประจำวันและในอนาคตต่อไป


การวางแผนดูแลสุขภาพของตนเอง และครอบครัว หมายถึง การกำหนดแนวทางในการเลือกรูปแบบของการปฏิบัติ เพื่อการดูแลสุขภาพของตนเองและบุคคลในครอบครัว ส่งผลให้ตนเอง และบุคคลในครอบครัว เช่น พ่อ แม่ หรือสมาชิกในครอบครัวทุกคนมีสุขภาวะที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจอารมณ์และสังคม

บุคคลในครอบครัวรวมถึงตัวเราเอง มักจะประกอบไปด้วยบุคคลที่มีความแตกต่างทั้งบทบาท หน้าที่ และช่วงวัย ดังนั้น การวางแผนดูแลสุขภาพของตนเอง และบุคคลในครอบครัวจึงต้องมีความแตกต่างกันออกไป เช่น ในวัยเด็กเป็นวัยที่ยังไม่สามารถดูแลสุขภาพตนเองได้ พ่อแม่จึงมีส่วนสำคัญในการวางแผนดูแลสุขภาพให้กับเด็ก ในขณะที่ วัยผู้ใหญ่ สามารถที่จะวางแผนดูแลสุขภาพด้วยตนเองได้ อย่างไรก็ตามหากการวางแผนดังกล่าวขาดความสมบูรณ์และถูกต้องเหมาะสม อาจจะส่งผลให้ภาวะทางสุขภาพไม่บรรลุประสิทธิผลที่ตั้งไว้ ดังนั้น ผู้ที่จะวางแผนดูแลสุขภาพของตนเอง และบุคคลในครอบครัวควรให้ความสำคัญต่อเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนปฏิบัติดังกล่าว

การวางแผนดูแลสุขภาพโดยทั่วไป ควรให้ความสำคัญกับเรื่องที่เกี่ยวข้องต่อไปนี้

3.1โภชนาการ
      
ตามหลักโภชนาการ อาหารถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิต หากเรารับประทานอาหารที่มีคุณค่าและมีปริมาณที่เหมาะสมกับความต้องการของร่างกาย ก็จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตแต่หากเรารับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ หรือรับประทานในปริมาณที่เหมาะสมกับความต้องการของร่างกายไม่ว่าจะมากหรือน้อยเกินไป อาจก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ ได้มากมาย เช่น การเกิดโรคขาดสารอาหารเนื่องจากร่างกายได้รับสารอาหารไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย หรือการเกิดโรคอ้วนจากการ รับประทานอาหารมากเกิดความต้องการของร่างกาย ดังนั้น การรู้จักที่จะวางแผนดูแลในเรื่องของการรับประทานเพื่อให้ร่างกายเกิดความสมบูรณ์แข็งแรง จึงเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่ควรนำมาปฏิบัติในการเสริมสร้างดูแลสุขภาพของบุคคลให้มีภาวะที่เป็นปกติและมีสุขภาพดี
   การวางแผนการรับประทานอาหารให้ถูกต้องตามหลักโภชนาการมีหลักการและแนวทางปฏิบัติที่สำคัญ ดังนี้

        1. ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับอาหารที่เหมาะสมกับบุคคลวัยต่าง ๆ ในครอบครัว เช่น อาหารที่เหมาะกับวัยเด็ก ควรจะเป็นอาหารในกลุ่มที่ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตและครบทั้งอาหาร 5หมู่เพราะวัยเด็กเป็นวัยที่กำลังเจริญเติบโต ส่วนในวัยผู้ใหญ่จะเน้นการรับประทานอาหารที่ให้พลังงานและครบทั้ง 5 หมู่ และในวัยนี้แต่ละคนจะมีความต้องการอาหารแตกต่างกัน แล้วแต่ลักษณะการทำงานหรือกิจกรรมที่ต้องทำในแต่ละวัน ซึ่งจะส่งผลต่อปริมาณของอาหารที่ควรได้รับในแต่ละวันด้วย สำหรับในวัยผู้สูงอายุนอกจากการคำนึงในเรื่องการรับประทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่แล้ว ควรตะมีการปรับเปลี่ยนวิธีการปรุงอาหารให้เหมาะสมต่อการรับประทานอาหาร เช่น อาหารประเภทเนื้อสัตว์ควรเป็นเนื้อสัตว์แบบย่อยง่าย โดยเฉพาะเนื้อปลา นอกจากนี้ ควรลดอาหารประเภทแป้งและไขมันลง เพราะอาจเป็นสาเหตุให้เกิดโรคอ้วนในผู้สูงอายุได้
          2. ควรส่งเสริมสุขนิสัยในการรับประทานอาหารให้เกิดขึ้นกับบุคคลในครอบครัว เช่น รับประทานอาหารให้เป็นเวลา เลือกรับประทานอาหารที่ใหม่ สะอาด ไม่รับประทานอาหารที่สุก ๆ ดิบ ๆ รับประทานแต่พออิ่ม ไม่ควรรับประทานมากเกิดไปเพราะอาจก่อให้เกิดโรคอ้วน เป็นต้น

3. หากบุคคลในครอบครัวมีโรคประจำตัว ผู้ที่มีหน้าที่ในการจักเตรียมอาหารควรต้องมีความระมัดระวังในการจัดเตรียม และตัวผู้ที่เป็นโรคเองก็ควรจะต้องระมัดระวังในการบริโภคอาหารที่มีผลกระทบต่อโรคด้วย เช่น ผู้ที่เป็นโรคไต ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสเค็ม หรือผู้ที่เป็นโรคไขมันในเลือดสูง ควรลดอาหารหรือหลีกเลี่ยงอาหารที่ไขมันสูง เป็นต้น

3.2การออกกำลังกาย

การออกกำลังกาย หากปฏิบัติอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอจะส่งผลให้อวัยวะทุกส่วนของ
ร่างกายแข็งแรงและทำงานได้ดีขึ้น ซึ่งถือว่าส่งผลดีต่อสุขภาพ นอกจากนี้ การออกกำลังกายยังช่วยให้เกิดความสนุกสนาน เพลิดเพลิน รู้สึกผ่อนคลาย ทำให้มีสุขภาพจิตดีขึ้น ดังนั้น บุคลทุกกลุ่มอายุที่อยู่ในครอบครัวจึงควรออกกำลังกาย โดยอาจปฏิบัติร่วมกันหรือตามความเหมาะสมของแต่ละบุคคลก็ได้
      หลักการวางแผนการออกกำลังกายโดยทั่วไปที่ผู้วางแผน ตลอดจนสมาชิกในครอบครัว ควรนำมาใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติ มีดังนี้
      
1. ศึกษารูปแบบของกิจกรรมการออกกำลังกายให้เหมาะสมกับวัย และเพศ รวมทั้งสภาพร่างกายของแต่ละคน เช่น การออกกำลังกายในวัยเด็กส่วนใหญ่จะเป็นรูปแบบของการเล่น ซึ่งจะช่วยในเรื่องของการฝึกทักษะทางกาย พัฒนาการทางอารมณ์ สังคม และสติปัญญาให้แก่เด็ก ส่วนผู้ใหญ่เป็นวัยที่ร่างกายมีการพัฒนาเต็มที่แล้ว การออกกำลังกายมีหลากหลายรูปแบบ ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างสมรรถภาพของร่างกาย และประสิทธิภาพในการทำงานของระบบอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย กิจกรรมในออกกำลังกายอาจเลือกได้ตามความสนใจ แต่ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงความเหมาะสมในเรื่องเพศ วัย และสภาพร่างกายของตนเองด้วย ส่วนผู้ใหญ่สูงอายุควรเลือกรูปแบบการออกกำลังกายที่ไม่หนักจนเกินไป ไม่เคลื่อนไหวร่างกายที่รวดเร็วมากนัก ซึ่งกิจกรรมการออกกำลังกายที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุ ได้แก่ การรำมวยจีน การเดินเร็ว การวิ่งเหยาะ การทำท่ากายบริหารง่าย ๆ เป็นต้น
        2. เตรียมอุปกรณ์และเครื่องใช้ในการออกกำลังกายให้เหมาะสมกับชนิดของการออกกำลังกาย
        3. กำหนดโปรแกรมในการออกกำลังกายให้เหมาะสม ซึ่งโดยทั่วไปแล้วไม่ว่าจะอยู่ในวัยใดควรออกกำลังกายครั้งละไม่ต่ำกว่า 30 นาที และสัปดาห์ละไม่ต่ำกว่า 3 วัน
        4. ในกรณีที่มีโรคประจำตัว หรือมีปัญหาทางด้านสุขภาพอื่น ๆ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนการออกกำลังกาย

2.3 การพักผ่อน

การพักผ่อน นับเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อมนุษย์และมีความสำคัญต่อสุขภาพทั้งทางร่างกายและ ทางจิตใจ การพักผ่อนเป็นการช่วยให้ร่างกายได้ผ่อนคลายจากความเหน็ดเหนื่อย เมื่อยล้า และช่วยเสริมเสร้างให้ร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงขึ้น และช่วยเสริมสร้างให้ร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงขึ้น นอกจากนี้ ยังทำให้รู้สึกสดชื่นขึ้น นอกจากนี้ ยังทำให้รู้สึกสดชื่นอีกด้วย ลักษณะที่จัดว่าเป็นการพักผ่อน ได้แก่ 
      1.การหลับนอน เป็นการพักผ่อนที่ดีที่สุด เนื่องจากในขณะที่คนเรานอนหลับอวัยวะทุกระบบในร่างกายได้พักผ่อน ขณะเดียวกันร่างกายของคนเราก็จะทำการซ่อมแซมปรับปรุงเซลล์ต่าง ๆ ให้พร้อมที่จะปฏิบัติงานต่อไป หากนอนหลับอย่างเพียงพอเมื่อตื่นขึ้นมาจะรู้สึกสดชื่น กระปรี้กระเปร่า พร้อมที่จะปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ คนในแต่ละวัยมีความต้องการใช้เวลาในการนอนหลับแตกต่างกัน เช่น ทารกแรกเกิดต้องการเวลานอนวันละประมาณ 18-20 ชั่วโมง เด็กอายุ 1-4 ปี วันละประมาณ 11-12 ชั่วโมง เด็กอายุ 5-12 ปี วันละประมาณ 8-9 ชั่วโมง และผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป วันละประมาณ 9-10 ชั่วโมง นอกจากนี้ในช่วงวัยเด็กเริ่มเรียน 3-5 ปี ควรนอนหลับในเวลากลางวันเพิ่ม 2-3 ชั่วโมงด้วย
       2.กิจกรรมนันทนาการ   เป็นกิจกรรมที่ทำในยามว่างนอกเหนือจากงานประจำ และเป็นกิจกรรมที่ทำด้วยความสมัครใจ เพื่อผ่อนคลายความตึงงเครียด สร้างความสนุกสนาน กิจกรรมนันทนาการมีมากมายหลายลักษณะ ซึ่งในการวางแผนเลือกกิจกรรมนันทนาการ ควรยึดหลักที่ว่า กิจกรรมเหล่านั้นต้องมีความเหมาะสมกับสุขภาพร่างกาย เพศ วัย ความสนใจ ความถนัด และความสามารถของตนเอง ไม่ขัดต่อศีลธรรมประเพณี วัฒนธรรมของสังคม และกฎหมาย นอกจากนี้ ควรเป็นกิจกรรมที่ไม่สร้างความรบกวนหรือก่อความรำคาญให้แก่บุคคลอื่น กิจกรรมที่จัดเป็นกิจกรรมนันทนาการ ได้แก่ กิจกรรมที่เกี่ยวกับงานฝีมือ งานประดิษฐ์ งานศิลปะต่างๆ การเล่นดนตรี ร้องเพลง หรือการเต้นรำในสถานที่มีความเหมาะสม เป็นต้น