การขออนุญาตติดตั้ง solar rooftop

การขออนุญาตติดตั้ง solar rooftop

การขออนุญาตติดตั้ง solar rooftop

จากข้อมูล เว็บของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน Energy Regulatory Commission ระบุว่า ผู้ประกอบกิจการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา เพื่อจำหน่ายไฟฟ้าเข้าสู่ระบบโครงข่ายไฟฟ้าซึ่งมีสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าแล้ว หรือเพื่อใช้ภายในอาคารหรือกิจการซึ่งไม่ได้จำหน่ายเข้าสู่ระบบโครงข่ายไฟฟ้าสามารถยื่นเอกสารหลักฐานประกอบการแจ้งการประกอบกิจการพลังงานที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องขอรับได้ Online บน Website ของสำนักงาน กกพ. ส่วนกลางหรือสำนักงาน กกพ. ประจำเขตในแต่ละพื้นที่อาคารตั้งอยู่

สรุปว่าการติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ ออนกริด เพื่อประหยัดค่าไฟฟ้าซึ่งไม่ได้จำหน่ายเข้าสู่ระบบโครงข่ายไฟฟ้า มีขั้นตอนที่ต้องดำเนินการดังนี้

1.จัดทำแบบการติดตั้งโดยให้วิศวกรโยธาตรวจสอบและลงนาม แล้วแจ้งให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (เทศบาล,อบต. เป็นต้น) รับทราบการติดตั้งแผงโซลล่าเซลล์ บนหลังคาที่พักอาศัย

2.ผู้ขออนุญาตติดตั้งได้รับหลักฐานจากหน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

3.ดำเนินการติดตั้งจนเสร็จสิ้น

4.ลงทะเบียนแจ้งประกอบกิจการพลังงานที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องขอรับใบอนุญาต (สำนักงาน กกพ./Online )

5.แจ้ง กฟน. หรือ กฟภ. ให้เข้าตรวจสอบระบบแล้วชำระค่าใช้จ่ายต่างๆน

6.สำนักงาน กกพ. ออกหนังสือแจ้งยกเว้นการขออนุญาตฯ

7.ยื่นสำเนาหนังสือรับแจ้งยกเว้นการขออนุญาตฯ ต่อ กฟน. หรือ กฟภ.

8.เมื่อผ่านการตรวจสอบระบบผลิต/เชื่อมโยงไฟฟ้า ตามข้อกำหนด

9.เริ่มผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าหรือใช้งานระบบฯ

Credit: http://www.erc.or.th/ERCWeb2/Front/StaticPage/StaticPage.aspx?p=200&Tag=SolarRooftop และ www.solarone.asia

การขออนุญาตติดตั้งโซล่าเซลล์ ถ้าตอบเร็วๆก็คือ “ยุ่งยากมาก” ครับ ถ้าสำหรับเจ้าของบ้านท่านใดที่อยากติดตั้งโซลาเซลล์แล้วผมแนะนำให้ท่านทำเอกสารมอบอำนาจให้คนขายระบบโซลาเซลล์เป็นคนยื่นขออนุญาตให้จะดีกว่าครับ

จริงๆการขออนุญาตติดตั้งโซลาเซลล์จะมีรายละเอียดที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับชนิด และ ขนาดการติดตั้งของโซลาเซลล์ แต่ในบทความนี้จะกล่าวถึงการขออนุญาตติดตั้งโซลาเซลล์ในกรณีของโซลาเซลล์ภาคประชาชนขนาดไม่เกิน 10 kW ที่กำลังเป็นประเด็นที่มีคนให้ความสนใจกันมากอยู่ตอนนี้นะครับ โดยโซล่าภาคประชาชนปี 62 นั้นสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก

การไฟฟ้านครหลวง (MEA) : https://spv.mea.or.th/

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค PEA : https://ppim.pea.co.th/

โดยขั้นตอนการขออนุญาตติดตั้งโซลาเซลล์และขออนุญาตขายไฟฟ้ามีดังนี้

การขออนุญาตติดตั้งโซล่าเซลล์ จะมีขั้นตอนเริ่มจากการยื่นแบบคำขอขายไฟฟ้า online โดยผู้สมัคร หรือ คนขายระบบโซลาเซลล์ที่ได้รับมอบอำนาจ upload เอกสาร หลังจากนั้นจะต้องรอ MEA/PEA พิจารณาแบบคำขอขายไฟฟ้า ประมาณ 7-10 วัน และจะ ตรวจสอบ capacity ของหม้อแปลงว่าสามารถรับระบบ โซลาเซลล์ได้หรือไม่ หลังจากนั้นจะดำเนินการแจ้งผล ซึ่งตั้งแต่เริ่มการยืนแบบ คำขอขายไฟฟ้า จนถึง ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือก จะใช้เวลาประมาณ 1 เดือนครับ เมื่อแล้วเสร็จจะดำเนินการชำระค่าเชื่อมต่อระบบโครงข่ายไฟฟ้า และ ลงนามซื้อขายไฟฟ้า ซึ่งจะต้องไปชำระค่าบริการที่สำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค หรือ การไฟฟ้านครหลวงประจำท้องที่ที่ติดตั้งครับ

เมื่อชำระค่ามิเตอร์ และ ลงนามแล้ว จะต้องมีการแจ้งทางโยธาส่วนท้องถิ่น (เทศบาล/เขต) โดยมีแบบสำรวจสถานที่ตั้ง และ การคำนวนความปลอดภัยด้านโครงสร้างซึ่งมีวิศวกรโยธารับรอง โดยทางวิศวกรโยธาจะพิจารณาว่ามีจำเป็นจะต้องเสริมโครงสร้างหรือไม่ และหลังจากนั้นจะต้องนำเลขสัญญา เอกสารแจ้งกับทางส่วนท้องถิ่น เพื่อมายื่นขอ การประกอบกิจการที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องขอรับใบอนุญาต กับทาง คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ซึ่งเมื่อได้เอกสารชุดนีแล้วทางการไฟฟ้าจะส่ง วิศวกรมาตรวจระบบโซล่าเซลลว่าเป็นไปตามมาตราฐานการติดตั้งหรือไม่ ซึ่งเมื่อพิจารณาแล้วทางการไฟฟ้าจะมาเปลี่ยนมิเตอร์เป็นแบบ digital เพื่อที่จะ ดำเนินการขายไฟฟ้าคืนให้กับทางการไฟฟ้าต่อไป

โดยเบื้องต้นเอกสารประกอบการยื่นขออนุญาตการไฟฟ้า มีดังนี้

รายการ หมายเหตุ
1 หมายเลขผู้ใช้ไฟฟ้า (CA) ตามใบแจ้งหนี้การไฟฟ้าฯ มิเตอร์ 1 เฟส ขอติดตั้งได้สูงสุด 5kW มิเตอร์ 3 เฟส ขอติดตั้งได้สูงสุด 10kW
2 ชนิด รุ่น ยี่ห้อ แผง solar cell
3 ชนิด รุ่น ยี่ห้อ ต้องเป็นรุ่นที่ขึ้นทะเบียนกับการไฟฟ้าแล้วเท่านั้น
4 แผนภูมิระบบไฟฟ้า (single line diagram) มีการเซ็นรับรองแบบโดยวิศวกร และแนบสำเนาใบประกอบวิชาชีพ
5 เอกสารมอบอำนาจ (กรณีทำมอบอำนาจ)
6 ข้อมูลอื่นๆ เช่น แผนที่บ้าน รูปถ่ายบ้าน

ระยะเวลาการพิจารณา                         ประมาณ 30 วัน

ค่าใช้จ่ายในการยื่นขออนุญาต             9,095 บาท (8,500 บาท + VAT 595 บาท) เป็นค่าเปลี่ยน Smart Meter

Post Views: 36,803

ขั้นตอนการขออนุญาตติดตั้งโซล่าเซลล์ ระบบออนกริด

แบบเข้าใจง่าย สไตล์ ECON SOLAR

โครงการ โซล่าร์ ภาคประชาชน

          สมัครเข้าร่วมโครงการออนไลน์ได้ที่ กฟน. และ กฟภ.
     ตั้งแต่วันที่ 4 ก.พ. 64

การขออนุญาตติดตั้ง solar rooftop

การขออนุญาตติดตั้ง solar rooftop

การขออนุญาตติดตั้ง solar rooftop

        อันดับแรก ท่านต้อง เลือกบริษัทรับออกแบบติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ที่มีมาตรฐานการติดตั้ง เลือกใช้เครื่อง Inverter ที่ได้รับการรับรองจากทาง กฟน. และ กฟภ. รวมถึงอุปกรณ์เชื่อมต่อต่างๆที่ได้รับมาตรฐาน นอกจากจะได้มาตรฐานตามที่การไฟฟ้าฯ กำหนดแล้ว ด้านความปลอดภัยก็มีความสำคัญมากไม่แพ้กัน

       หากเลือกบริษัทหรือผู้รับเหมาที่มีความรู้ไม่เพียงพอ อาจจะไม่ได้ติดตั้งสายกราวด์ DC หรือ AC บางราย ติดตั้งแต่สายกราวด์ AC เพียงอย่างเดียวก็มี หากเกิดฟ้าผ่าขึ้นมาเครื่อง Inverter ที่หลายๆเจ้าว่าแพงนักแพงหนาก็จะสิ้นชีพได้ รวมถึงเรื่องขนาดของสายไฟก็เหมือนกัน ระบบโซล่าเซลล์ต้องใช้สายไฟที่ผลิตมาสำหรับใช้งานกับระบบโซล่าร์เซลล์เท่านั้น รวมถึงต้องดูเรื่องขนาดของสายไฟอีกด้วย ไม่งั้นสายไฟอาจจะระเบิดออกจากขั้วก็มีตัวอย่างมาแล้วหลายต่อหลายราย และยังมีเรื่องของเอกสารที่ต้องกรอกรายละเอียดทางเทคนิคอีกมากมาย ในการยื่นขออนุญาติกับหน่วยงานภาครัฐ ทั้งแบบเอย สเปคเอย เยอะแยะไปหมด แนะนำว่าท่านควรหาบริษัทฯ ดีๆจะได้ไม่มีปัญหาให้ปวดหัวทีหลัง

  อ่านมาขนาดนี้แล้วก็เลือกเราสิทีมงาน ECON SOLAR ยินดีอย่างยิ่งที่จะดูแลท่านจนจบโครงการ  

       อันดับที่สอง บริษัทที่ท่านเลือกควรจะมีการออกแบบขนาดพิกัดติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ให้เหมาะสมกับการใช้งานไฟฟ้าในช่วงเวลากลางวัน มีการตรวจสอบความมั่นคงความแข็งแรงของอาคารและจัดทำแบบการติดตั้งโดยให้วิศวกรโยธาเป็นผู้ตรวจสอบและลงนามจากนั้นติดต่อแจ้งให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เขต เทศบาล หรือ อบต. ในท้องที่ที่บ้านตั้งอยู่รับทราบการติดตั้งแผงโซลล่าเซลล์ บนหลังคาที่พักอาศัย โดยการยื่นเอกสาร อ.1 (ใบอนุญาติก่อสร้างอาคาร ดัดแปลงอาคาร หรือรื้อถอนอาคาร)
       
       สิ่งที่ต้องเตรียม คือ

  •  แบบคำขอ ข.1
  •  แบบแปลนแสดงแผนผังและโครงสร้างหลังคา โครงสร้างรองรับแผงโซล่าเซลล์ รายละเอียดการติดตั้ง
  •  รายการคำนวณโครงสร้าง แบบฟอร์มการสำรวจอาคาร เอกสารรองรับของวิศวกรผู้ออกแบบและควบคุมงาน (โยธา)

       เริ่มดำเนินการตามขั้นตอนต่อได้เลย

  1.  ติดต่อการไฟฟ้านครหลวง(กฟน.) หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค(กฟภ.) เพื่อกรอกคำขอขายไฟฟ้าผ่านระบบ Online                               และ Upload เอกสารตามกำหนด

      เข้าเว็บไซต์การไฟฟ้านครหลวง (โครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา)
      https://spv.mea.or.th/
      คลิกดูคู่มือโครงการ Solar ประชาชน ของ กฟน.
      https://www.mea.or.th/minisite/vspp/about/843
      เข้าเว็บไซต์การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
      https://ppim.pea.co.th/
      คลิกดูโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา สำหรับภาคประชาชนประเภทบ้านอยู่อาศัย ของ กฟภ.
      https://ppim.pea.co.th/project/solar/detail/5ce68a82de1e5f00634179ae

  1.  การไฟฟ้าฯ ตรวจสอบข้อมูล พร้อมแจ้งผลการพิจารณาทาง E-mail และทางเว็บไซต์
  2.  ผู้เข้าร่วมโครงการฯ ติดต่อยื่นเอกสาร พร้อมชำระค่าใช้จ่าย พร้อมทั้งทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับ การไฟฟ้าฯ
  3.  การไฟฟ้าฯ เข้าตรวจสอบระบบผลิตไฟฟ้า และดำเนินการเปลี่ยนเครื่องวัดแบบอ่านหน่วยไฟฟ้าได้ 2 ทิศทาง
  4.  บริษัทฯ ดำเนินการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Cell) แล้วเสร็จ
  5.  ติดต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เพื่อยื่นขอจดแจ้งยกเว้นไม่ต้องขอรับใบอนุญาตการผลิตไฟฟ้า                   ผ่านระบบ Online กรณี Inverter < 1,000 kVA

       ขั้นตอนการลงทะเบียนออนไลน์
     ลงทะเบียนออนไลน์เพื่อขอ Account (ลิงค์ช่องทางเข้าเว็บไซต์ http://app04.erc.or.th/elicense/login.aspx )
       *** คลิกที่ลงทะเบียนผู้ประกอบกิจการพลังงาน   
     รอทาง กกพ. ส่ง E-mail มาแจ้ง Username และ Password สำหรับเข้าเว็บเพื่อแจ้ง ยกเว้นฯ
       *** หากไม่ได้รับ E-mail สามารถติดต่อโทร. 1204 หรือ 02-2073599 ต่อ 719 หรือส่งเมล์ ***
     เมื่อได้รับ Username และ Password แล้วให้อัพโหลดเอกสารที่ทาง กกพ. ต้องการลงเว็บให้ครบถ้วน
     รอ E-mail แจ้งผลจากทาง กกพ.เพื่อให้นำเอกสารตัวจริงไปยื่นที่ กกพ. เขตพื้นที่ฯ
     กกพ. เขตพื้นที่ฯ แจ้งผลการพิจารณา ให้เข้ารับเอกสาร “ใบรับแจ้งประกอบกิจการพลังงานที่ได้รับการยกเว้นฯ
       ไม่ต้องขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการผลิตไฟฟ้า”   

        สิ่งที่ต้องเตรียม
      ภาพถ่ายแสดงการติดตั้งอุปกรณ์แผงโซล่าเซลล์และอินเวอร์เตอร์
      สำเนาหลักฐานการยื่นแจ้งจากหน่วยงานราชการส่วนท้องถิ่น
      แบบ Single Line Diagram ทางการไฟฟ้า พร้อมวิศวกรไฟฟ้ากำลังลงนามรับรอง
      แบบแปลนโครงสร้างการติดตั้งและรายการคำนวณโครงสร้าง พร้อมวิศวกรโยธาลงนามรับรอง
      Mini CoP Checklist และ Specification Sheets ของอุปกรณ์

  1.  ติดต่อ การไฟฟ้าฯ เพื่อตรวจสอบและทดสอบการเชื่อมต่อ
 

       ข้อควรทราบ
     ข้อมูลนี้ทำขึ้นเพื่อเป็นแนวทางให้เห็นภาพรวมขั้นตอนการขออนุญาต หากท่านต้องการจะดำเนินการขออนุญาตเอง
       แนะนำการดำเนินการเองนั้นจะเสียเวลาค่อนข้างมาก เนื่องจากต้องติดต่อหน่วยงานภาครัฐทั้ง 3 หน่วยงาน
       นอกจากนั้นยังมีเรื่องรายละเอียดการกรอกเอกสาร เตรียมเอกสารทางราชการต่างๆนานา
       ทำแบบเขียนแบบและต้องมีวิศวกรทั้งไฟฟ้าและโยธาเซ็นต์รับรองอีกด้วย แต่หากท่านมีเวลาจะลองดูก็ไม่เสียหลาย
     การกรอกแบบฟอร์มต่างๆ ท่านต้องศึกษาเพิ่มเติมจากเว็บ กกพ. กฟน. และ กฟภ. อย่างละเอียดอีกครั้ง
     กฟน. >>> การไฟฟ้านครหลวง >>> mea.or.th >>>แบ่งเป็น 18 เขตพื้นที่ ต้องประสานงานตามพื้นที่ท่านอยู่
       สามารถดูรายละเอียดสถานที่ตั้ง กฟน. แต่ละเขตได้ที่ลิงค์ด้านล่างนี้
        https://www.mea.or.th/map/district_office
     กฟภ. >>> การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค >>> แบ่งเป็น 12 เขตพื้นที่ ทั่วประเทศ ซึ่งก็ต้องประสานงานตามพื้นที่ที่ท่านอยู่
       สามารถดูรายละเอียดสถานที่ตั้ง กฟภ.แต่ละเขตได้ที่ลิงค์ด้านล่างนี้
       https://www.pea.co.th
     กกพ. >>> คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน >>> แบ่งเป็นโซนออกทั้งหมด 13 เขต ทั่วประเทศ
       โดย กกพ.เขต 13 ดูแล กทม., นนทบุรี และสมุทรปราการ สามารถดูรายละเอียดสถานที่ตั้ง กกพ. แต่ละเขตได้ที่นี่
       http://www.erc.or.th/OERCWeb/Front/StaticPage/StaticPageContactUs