ประวัติความเป็นมาของสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนคืออะไร

แผนดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนตาม

โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี 

ชื่อโครงงาน               งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน โรงเรียนเสนานิคม

แผนงาน                   แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา พ.ศ.2561 – 2564  ยุทธศาสตร์ที่ 9  

ลักษณะโครงการ      ต่อเนื่อง

ระยะเวลาเริ่มต้น       1  พฤษภาคม  2555   

ผู้รับผิดชอบโครงงาน

                   1.  นายอนันต์  เฮงสุวรรณ  รองผู้อำนวยการสถานศึกษา

                 >>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>   

หลักการและเหตุผล

ตามที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระราชดำริบางประการเกี่ยวกับการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช "การสอนและอบรมให้เด็กมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์พืชพรรณนั้นควรใช้วิธีการปลูกฝังให้เด็กเห็นความงดงาม ความน่าสนใจ และเกิดความปิติที่จะทำการศึกษาและอนุรักษ์พืชพรรณต่อไป การใช้วิธีการสอนการอบรมที่ให้เกิดความรู้สึกกลัวว่า  หากไม่อนุรักษ์แล้วจะเกิดผลเสีย เกิดอันตรายแก่ตนเอง จะทำให้เด็กเกิดความเครียดซึ่งจะเป็นผลเสียแก่ประเทศในระยะยาว "

          โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ    ได้ดำเนินงานสนองพระราชดำริจัดตั้งงาน "สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน" เพื่อเป็นสื่อในการสร้างจิตสำนึกด้านอนุรักษ์พันธุกรรมพืช โดยให้เยาวชนนั้นได้ใกล้ชิดกับพืชพรรณไม้เห็นคุณค่าประโยชน์ ความสวยงาม อันจะก่อให้เกิดความคิดที่จะอนุรักษ์พรรณพืชต่อไป

          สวนพฤกษศาสตร์ คือแหล่งที่รวบรวมพันธุ์พืชชนิดต่างๆที่มีชีวิต จัดปลูกตามความเหมาะสมกับสภาพถิ่นอาศัยเดิมมีห้องสมุด สถานที่เก็บรวบรวมตัวอย่างพรรณไม้รักษาสภาพอาจเป็นตัวอย่างแห้ง ตัวอย่างดอง และเก็บรักษาโดยวิธีอื่นๆ  พันธุ์พืชที่ทำการรวบรวมไว้นั้นจะเป็นแหล่งข้อมูลและการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับพันธุ์ไม้ นอกจากนี้สามารถใช้เป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจซึ่งสามารถดำเนินการสวนพฤกษศาสตร์ ในพื้นที่ของโรงเรียนโดยมีองค์ประกอบดังกล่าวเป็นสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนใช้ในวัตถุประสงค์ดังกล่าว   อีกทั้งใช้ในการศึกษาและเป็นประโยชน์ต่อเนื่องในการเรียนการสอนวิชาต่างๆ

          สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน  จึงเป็นการดำเนินงานที่อิงรูปแบบของ  สวนพฤกษศาสตร์  โดยมีการรวบรวมพันธุ์ไม้ที่มีชีวิต  มีแหล่งข้อมูลความรู้เกี่ยวกับพันธุ์ไม้  มีการศึกษาต่อเนื่อง  มีการเก็บตัวอย่างพันธุ์ไม้แห้งพันธุ์ไม้ดอง  มีการรวบรวมพันธุ์ไม้ท้องถิ่นเข้ามาปลูกรวบรวมไว้ในโรงเรียน  และภูมิปัญญาท้องถิ่น  มีการบันทึกรายงานและข้อมูล  รวมทั้งภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับพันธุ์ไม้  มีมุมสำหรับศึกษาค้นคว้า  และมีการนำไปใช้ประโยชน์เป็นสื่อการเรียนการสอนในวิชาต่างๆ เป็นการดำเนินงานให้สอดคล้องกับสภาพท้องถิ่น  ไม่ฝืนธรรมชาติ  และเป็นไปตามความสนใจและความพร้อมของโรงเรียน  ดำเนินการโดยความสมัครใจ  ไม่ให้เกิดความเครียด

           งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน คือ งานการเรียนรู้พืชพรรณและสรรพสิ่งโดยรอบ ตามแนวปรัชญาการสร้างนักอนุรักษ์เรียนรู้ตามแนวทางเกิดบรรยากาศจากผลการดำเนินงานงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน

           สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ก็คือทุกสิ่งทุกอย่างที่มีอยู่ในโรงเรียนที่ใช้เพื่อการเรียนรู้โดยมี  พืช เป็นปัจจัยหลัก ชีวภาพต่าง ๆ เป็นปัจจัยรอง ทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นกายภาพเป็นปัจจัยเสริม ทรัพยากรอื่น ๆ  เป็นปัจจัยประกอบ                                               

พระราชดำริ พระราชกระแส  ที่เกี่ยวข้องกับงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน

          วันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ.2544 ในการเปิดงาน ทรัพยากรไทย : อนุรักษ์และพัฒนาด้วยจิตสำนึกแห่งนักวิจัยไทย  ณ ศาลาพระเกี้ยว  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย     

          โครงการแบบนี้ไม่ใช่ว่าจะทำสำเร็จในเวลาสั้นๆ ต้องมีโครงการระยะที่หนึ่ง ระยะที่สอง และระยะต่อๆไป  การจัดการประชุมนี้ก็เป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเพิ่มพูนความรู้ในระดับวิชาการ   และการจัดนิทรรศการนี้ก็จะมีโอกาสให้คนอื่นที่สนใจได้มาดู  ได้มาศึกษาเมื่อบุคคลต่าง ๆ  ได้มาศึกษาแล้วก็ทราบว่าพืชต่างๆ และก็ต่อไปก็ต้องศึกษาเรื่องสัตว์สิ่งมีชีวิตและสิ่งธรรมชาติต่างๆ ของพวกนี้ก็เป็นสิ่งที่น่าสนใจ เมื่อสนใจแล้ว ก็จะมีความรู้สึกอยากจะปกปักรักษา ไม่ทำลายให้เสียหายสูญสิ้นไป  ก็เป็นการช่วยอนุรักษ์เป็นอย่างดีขอให้ทุกๆ ท่านประสบความสำเร็จในการทำงานและให้การประชุมในครั้งนี้ดำเนินไปด้วยดี

วันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ.2546 ในงานประชุมวิชาการและนิทรรศการ ทรัพยากรไทย :

ธรรมชาติแห่งชีวิต  ณ ห้องประชุมสำนักพระราชวัง พระราชวังดุสิต

          ขอแสดงความยินดีกับโรงเรียนที่ได้รับพระราชทานเกียรติบัตร และป้ายสนองพระราชดำริสวนพฤกษศาสตร์ โรงเรียน ทั้งที่ได้รับในครั้งนี้และที่ผ่านมาแล้วขอให้พยายามรักษามาตรฐานต่อไป  แม้ไม่ใช่เรื่องง่าย หวังว่าการปฏิบัติที่ผ่านมาก็จะปฏิบัติต่อไปในอนาคตมีประโยชน์ในการเพิ่มพูนความรู้วิชาการที่นักเรียนต้องศึกษาต่อไปในระดับสูงอีกทั้งเป็นการสร้างจิตสำนึก ในการอนุรักษ์พืชพรรณและทรัพยากรต่างๆ นำไปสู่การใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน

          จากพระราชดำริและพระราโชวาทของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในเรื่องของสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ซึ่งการปฏิรูปการศึกษา  เน้นให้นักเรียนเป็นศูนย์กลางและมีความสอดคล้องกับการเรียนการสอน  โรงเรียนเสนานิคม ได้ตระหนักถึงความสำคัญ คุณค่าและประโยชน์ของการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช เพื่อเป็นการปลูกจิตสำนึกให้นักเรียนได้ตระหนักและเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์พันธุ์ไม้ของไทยไว้  จึงได้ประชุมหารือและเห็นพ้องต้องกันที่จะร่วมสนองพระราชดำริ  ดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน  และได้สมัครเป็นสมาชิกสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ของโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ  สมาชิกหมายเลข  7-10900-008 

วัตถุประสงค์

                   1. เพื่อสร้างจิตสำนึกให้นักเรียนมีความรัก  และเห็นคุณค่าของพืชพรรณและทรัพยากร

                   2. เพื่อให้โรงเรียนเป็นแหล่งรวบรวมตัวอย่างพรรณไม้   ข้อมูลพรรณไม้   และการเก็บรักษา

เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา  และเผยแพร่สู่ภายนอก

3. เพื่อให้มีระบบข้อมูลพันธุกรรมพืชที่มีอยู่ในโรงเรียนและในระบบอินเตอร์เน็ต

4. เพื่อประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้าและการเรียนการสอนวิชาต่าง ๆ โดยมุ่งให้นักเรียนสร้าง

องค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง และ เก่ง  ดี  มีความสุข

ประโยชน์ที่ได้รับ

                   1. เกิดความร่วมมือร่วมใจภายในโรงเรียนและโรงเรียนกับชุมชน

                   2. เป็นแหล่งข้อมูลพืชพรรณ  และภูมิปัญญาท้องถิ่น เชื่อมต่อกันด้วยระบบข้อมูล

                   3. ศึกษาค้นคว้า  เกิดผู้เชี่ยวชาญ  เกิดผลงานทางวิชาการ

                   4. ผู้ปฏิบัติจะรู้จักใช้สื่อกับธรรมชาติที่มีอยู่รอบตัว ในการเรียนรู้ รู้จักตั้งคำถาม หาคำตอบ  ช่างสังเกต และค้นคว้า

                   5. มีจิตใจอ่อนโยน เห็นคุณค่า  ทำให้เกิดความรักในพืชพรรณไม้ มีแนวคิดที่จะอนุรักษ์สืบไป

                   6.  ได้เพิ่มพื้นที่สีเขียวในโรงเรียนมากขึ้น

แผนดำเนินงาน

ขั้นตอน/กิจกรรม

ระยะเวลาดำเนินการ

งบประมาณ

ขั้นเตรียมการ

{C}1.      ขออนุมัติโครงการ

{C}2.      ชี้แจงและเชิญชวนให้บุคลากรต่าง ๆ ในโรงเรียน เห็นความสำคัญของการจัดทำสวน    พฤกษศาสตร์ในโรงเรียน

{C}3.      วางแผนการปฏิบัติงานในรอบปี

{C}4.      ออกคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการและจัดประชุม

เมษายน  62

เมษายน  62

พฤษภาคม 62

พฤษภาคม 62

ขั้นดำเนินการ

{C}1.      แบ่งกลุ่มนักเรียนศึกษาและสำรวจพันธุกรรมพืชในโรงเรียน

{C}2.      จัดทำแผนผังพันธุกรรมพืช

{C}3.      จัดหาและปลูกพืชท้องถิ่นและพืชหายาก

{C}4.      จัดทำตัวอย่างพืช

{C}5.      จัดทำทะเบียนพืช และ ป้ายชื่อ

{C}6.      จัดทำสมุดบันทึกข้อมูลพรรณไม้

{C}7.      จัดทำเอกสารเกี่ยวกับสวนพฤกษศาสตร์ในโรงเรียน    เดือนละ 1 เล่ม

{C}8.      การเรียนการสอนบูรณาการเกิดขึ้นทุกกลุ่มสาระวิชา

ตลอดปีการศึกษา

ขั้นติดตามประเมินผล

{C}1.      ประเมินความก้าวหน้าของการทำงานโดยคณะกรรมการ เดือนละ 1 ครั้ง

ตลอดปีการศึกษา