OSI Model 7 Layers อุปกรณ์

     สำหรับท่านที่กำลังศึกษาเรื่องของระบบ Network มีความจำเป็นต้องทราบเรื่องของ OSI 7 Layer เพื่อเรียนรู้การทำงานของระบบการสื่อสารได้ เมื่อเข้าใจแล้วก็จะทำงานต่อการปฏิบัติงานและแก้ปัญหาได้อย่างรวดเร็วและตรงจุด

          Layer 2: Data link Layer เป็น Layer ที่ทำการเชื่อมต่อข้อมูลแบบ node to node เช่น PC-Switch, Swith-Switch หรือ Switch-Router เป็นต้น โดยจะใช้ MAC Address ส่วนมากจะใช้สาย UTP เป็นตัวเชื่อมต่ออุปกรณ์เหล่านี้เข้าด้วยกัน โดย Layer นี้จะรับ Packet จาก Network Layer มาทำการ Add L2 Header และ L2 Trailer (ประกอบด้วย Source MAC, Destination MAC, Tag VLAN, etc) และเรียกชื่อใหม่ว่า “Frame” โดยอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่บน Layer2 ได้แก่ Switch, Bridge

ชั้น Network Interface จะทำหน้าที่แปลง IP Address เป็นหมายเลขประจำตัวทางฮาร์ดแวร์ของอุปกรณ์เครือข่าย เพื่อใช้ในการรับ-ส่งข้อมูลในระดับกายภาพ รวมทั้งการสร้างสัญญาณไฟฟ้าสำหรับการรับ-ส่งข้อมูลตามมาตรฐานทางฮาร์ดแวร์ที่ใช้ เช่น ระบบ อีเธอร์เน็ต หรือ โทเค็นริง ซึ่งจะคล้ายกับการรวม ชั้น Data Link และ ชั้น Physical ของ OSI Model เข้าด้วยกัน

OSI MODEL 7 Layers หรือ Network layers ทำหน้าที่อะไรบ้าง และแต่ละ Layers มีหน้าที่อย่างไร?

OSI Model 7 Layers (โอเอสไอ โมเดล เซเว่น เลเยอร์)

คือ รูปแบบความคิดที่พรรณาถึงคุณสมบัติพิเศษและมาตรฐานการทำงานภายในของระบบการสื่อสาร ซึ่งได้มีการแบ่งการทำงานของระบบอินเทอร์เน็ตเป็นชั้นต่างๆ เพื่อให้การทำงานของระบบการสื่อสารนั้นเป็นไปอย่างประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เนื่องจากได้มีการแบ่งส่วนการทำงานต่างๆ ทำให้เข้าไปจัดการในส่วนของ Layers ชั้นต่างๆ ได้ถูกต้อง ซึ่ง Layers นั้นได้แบ่งทั้งหมด 7 Layers ซึ่งแต่ละ Layers ก็มีหน้าที่การทำงานที่แตกต่างกันไป

OSI Model จะแบ่งเป็น2 กลุ่มใหญ่ ดังนี้

1.Network-dependent Layer  จะแบ่งเป้น 3 กลุ่มดังนี้

  1. Physical
  2. Data Link
  3. Network

 2.Application Layers  จะแบ่งเป็น 4กลุ่ม

  1. Transport 
  2. Session
  3. Presentation
  4. Application

โดย OSI Model แต่ละLayer มีความหมาย ดังนี้

  • Layer ชั้นที่ 1

                Physical Layer (ฟิสซิเคิล เลเยอร์) เป็น Layer ชั้นที่ 1 หรือเป็น Layer ชั้นล่างสุด ซึ่งทำหน้าที่รับส่งข้อมูลจากช่องทางการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ชั้นนี้จะกำหนดว่าแต่ละคอนเนคเตอร์ เช่น RS-232-C มีกี่พิน แต่ละพินทำหน้าที่อะไรบ้าง ใช้สัญญาณไฟกี่โวลด์ เทคนิคการมัลติเพล็กซ์แบบต่างๆ ก็จะถูกกำหนดอยู่ในเลเยอร์ชั้นนี้ ซึ่งจะเป็นทั้งแบบที่ใช้สายหรือไม่ใช้สาย 

  • Layer ชั้นที่ 2

                Data Link Layer (ดาต้า ลิงค์ เลเยอร์) เป็น Layer ชั้นที่ 2 เป็นชั้นที่ทำหน้าที่เปรียบเสมือนผู้ตรวจสอบ หรือควบคุมความผิดพลาดในข้อมูล โดยจะแบ่งการส่งข้อมูลที่ออกเป็นแพ็กเกจหรือเฟรม ถ้าผู้ได้รับข้อมูลถูกต้องก็จะส่งสัญญาณยืนยันกลับมาว่า ได้รับข้อมูลแล้ว เรียกว่า สัญญาณ ACK ให้กับผู้ส่ง แต่ถ้าผู้ส่งไม่ได้รับสัญญาณ ACK หรือได้รับสัญญาณ NAK กลับมา ผู้ส่งก็อาจจะทำการส่งข้อมูลไปให้ใหม่ 

  • Layer ชั้นที่ 3

                Network Layer (เน็ตเวิรค เลเยอร์) เป็น Layer ชั้นที่ 3 เป็นชั้นที่ทำหน้าที่ออกแบบหรือกำหนดเส้นทางการเดินทางของข้อมูลที่จะรับ – ส่ง ข้อมูลไปยังเส้นทางที่สะดวก มีระยะสั้น และรวดเร็วที่สุด เพื่อให้ผู้รับข้อมูลสามารถรับข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว 

  • Layer ชั้นที่ 4

                Transport Layer (แทรนซพอร์ท’) เป็น Layer ชั้นที่ 4 เป็นชั้นที่ทำหน้าที่ดูแลการจัดการเรื่องของความผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากการสื่อสาร ซึ่งการตรวจสอบความผิดพลาดนั้นจะพิจารณาจากข้อมูลที่เรียกว่า checksum และอาจจะมีการแก้ไขข้อผิดพลาดต่างๆ โดยพิจารณาจากฝั่งต้นทางกับปลายทาง

  • Layer ชั้นที่ 5 

                Session Layer (เซสชัน เลเยอร์) เป็น Layer ชั้นที่ 5 เป็นชั้นที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการจัดการเซสชั่นของโปรแกรม ซึ่งเซสชั่นจะช่วยทำให้การติดต่อสื่อสารของเว็บไซต์นั้นสามารถสื่อสารกันได้หลายหน้าต่าง จึงเป็นตัวที่คอยรับส่งข้อมูลไปยังเว็บไซต์ในหลายๆ หน้าต่าง

  • Layer ชั้นที่ 6

                Presentation Layer (พรีเซนเท’เชิน) เป็น Layer ชั้นที่ 6 เป็นชั้นที่รับผิดชอบเรื่องรูปแบบของการแสดงผลเพื่อให้โปรแกรมทราบว่าข้อมูลที่ส่งมาผ่านเครือข่ายนั้น เป็นข้อมูลประเภทใด ซึ่งชั้นนี้ได้มีการเข้ารหัสเพื่อป้องกันการดักจับข้อมูลของผู้อื่น และให้ตัวเครื่องนั้นรับรู้ได้ว่ามีการส่งข้อมูลไปหา 

  • Layer ชั้นที่ 7

                Application Layer (แอพพลิเคชัน เลเยอร์) เป็น Layer ชั้นที่ 7 ซึ่งเป็นชั้นที่อยู่ใกล้ผู้ใช้งานมากที่สุด โดยเป็นแอพพลิเคชันของ OSI มีปฏิสัมพันธ์โดยตรงกับผู้ใช้ซอฟต์แวร์แอพพลิเคชัน คอยรับส่งข้อมูลโดยตรงกับผู้ใช้และกำหนดกติกาอัลกอลิทึมว่าเป็นอย่างไร ให้ทำงานเรื่องอะไร

                ดังนั้นจะเห็นได้ว่า 7 Layers ของระบบอินเทอร์เน็ตก็ได้มีหน้าที่ที่แตกต่างกันไป ซึ่งทั้งหมดนี้จะช่วยให้การติดต่อสื่อสารหรือการรับส่งข้อมูลต่างๆ บนอินเทอร์เน็ตเป็นไปได้อย่างถูกต้อง ลดความผิดพลาดในการรับส่งต่างๆ และหากมีปัญหาตรงจุดใด ก็สามารถเข้าไปแก้ไขได้ง่ายและทำให้เราทราบปัญหาได้ง่ายขึ้นด้วยว่ามีปัญหามาจากจุดใด เนื่องจากได้มีการแบ่งการทำงานของอินเทอร์เน็ตออกเป็นชั้นต่างๆ แล้ว

 

ที่มา : http://www.mindphp.com

 

หากเปรียบการทำงานของ OSI MODEL 7 Layers หรือ Network layers แล้ว จะพบว่า คล้ายการขนส่ง ตามรูปแบบด้านล่างนี้

 

OSI Model 7 Layers อุปกรณ์

ตอนนี้เพื่อนๆก็เข้าใจความสามารถของ Network และรูปแบบการทำงานของ OSI Model แล้ว ซึ่งสามารถนำไปปรับการใช้งานหรือ  แก้ไขในส่วนของ Network  ให้ใช้งานได้

 

 

Quiz Network เรามีทั้งพนักงานขาย และ ช่างทางเทคนิค คอยให้บริการและดูแลลูกค้าอย่างเต็มที่ พร้อมบริการครบวงจร ทั้งเรื่องสินค้า, ข้อมูลทางเทคนิค, บริการติดตั้ง, Config, บริการหลังการขาย, MA และอื่นๆ อีกมายมาย ให้เราได้เป็นส่วนนึงที่คอยดุแลคุณ ให้ธุรกิจของคุณได้ขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ คิดถึงบริการด้วยใจ ให้คิดถึงเรา Quiz Network