วิธีป้องกัน แก้ปัญหาน้ำท่วม

ไม่เพียงเท่านั้น มวลน้ำที่ไหลลงมาสู่พื้นที่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาอย่างต่อเนื่อง ทำให้กรุงเทพฯ เขตปริมณฑล และจังหวัดใกล้เคียง ต้องติดตามสถานการณ์น้ำท่วม และหาทางป้องกันอุทกภัยอย่างเร่งด่วน

ไทยรัฐออนไลน์ ขอแนะนำ 10 วิธีเตรียมรับมือน้ำท่วมอย่างปลอดภัยด้วยตัวเอง พร้อมเบอร์โทรฉุกเฉินสำหรับขอความช่วยเหลือจากเหตุการณ์น้ำท่วม

10 วิธีรับมือน้ำท่วมอย่างปลอดภัย ควรเตรียมพร้อมอย่างไรบ้าง?

การเตรียมรับมือน้ำท่วม 2564 สามารถเริ่มทำได้ทันที หากพบว่าบ้านเรือนของเรา ตั้งอยู่ในบริเวณพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย หรือเป็นเส้นทางที่มวลน้ำกำลังจะไหลผ่าน การเตรียมความพร้อมรับมือน้ำท่วมด้วยตัวเอง จึงเป็นวิธีที่จะช่วยป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้ ทั้งต่อชีวิตและทรัพย์สิน 

1. ขนย้ายสิ่งของต่างๆ ขึ้นที่สูง รวมถึงย้ายทรัพย์สินมีค่าไปยังที่ปลอดภัย เพื่อให้พ้นจากระดับน้ำท่วม

2. กักตุนอาหารแห้งที่สามารถกินได้ง่ายๆ กักตุนน้ำสะอาดให้มากที่สุด สำหรับใช้ดื่มและอาบ

วิธีป้องกัน แก้ปัญหาน้ำท่วม

3. ชาร์จแบตเตอรี่สำรองไว้ให้เต็ม เผื่อเก็บไว้ใช้สื่อสารยามฉุกเฉิน หากโทรศัพท์แบตเตอรี่หมด

4. นำเอกสารสำคัญต่างๆ เช่น บัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน สูติบัตร ใบโฉนดที่ดิน สมุดบัญชีธนาคาร เอกสารใบประกันชีวิต เอกสารใบประกันสุขภาพ บัตรกดเงิน ฯลฯ ใส่ไว้ในซองพลาสติกปิดซีลกันน้ำ

5. รวบรวมสิ่งของเครื่องใช้ที่จำเป็นในสถานการณ์น้ำท่วม หากกระแสไฟฟ้าถูกตัด หรือต้องหนีน้ำก็จะสามารถใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ เช่น ไฟฉาย เทียน ไม้ขีดไฟ ไฟแช็ก เชือก เสื้อชูชีพ นกหวีด รวมถึงยาสามัญประจำบ้าน 

6. เตรียมรองเท้าบูต หรือรองเท้ายาง มาใช้สวมใส่เดินในบ้าน ป้องกันการเหยียบเศษสิ่งของต่างๆ ที่ถูกพัดพามากับมวลน้ำ

วิธีป้องกัน แก้ปัญหาน้ำท่วม

7. สวมใส่เสื้อผ้าบางเบา กระชับ และระบายอากาศได้ดี เคลื่อนไหวได้คล่องตัว พยายามหลีกเลี่ยงการสวมเสื้อตัวหนาๆ หรือกางเกงยีนส์ที่ดูดซับน้ำ เผื่อไว้ในกรณีฉุกเฉินที่ต้องเดินลุยน้ำท่วม

8. บันทึกเบอร์โทรศัพท์ฉุกเฉิน เบอร์กู้ภัย เบอร์สายด่วน เบอร์เจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่ และเบอร์โรงพยาบาล สำหรับโทรขอความช่วยเหลือในเหตุการณ์ฉุกเฉิน

9. นำเทปกาวมาแปะปิดช่องปลั๊กไฟในบ้าน เพื่อป้องกันปัญหากระแสไฟฟ้ารั่ว ไฟฟ้าดูด และป้องกันไม่ให้โคลน เศษดิน แมลงตัวเล็กๆ เข้าไปยังช่องเสียบปลั๊กไฟเมื่อเกิดน้ำท่วม

10. หากมีกระแสมวลน้ำไหลเข้ามาในบ้าน อย่าลืมตัดระบบไฟฟ้าทั้งหมดในบ้าน ปิดการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิด รวมถึงปิดอุปกรณ์แก๊สและเตาหุงต้มต่างๆ ให้เรียบร้อย

วิธีป้องกัน แก้ปัญหาน้ำท่วม

รวมเบอร์โทรฉุกเฉิน สายด่วนกู้ภัย ขอความช่วยเหลือภัยน้ำท่วม 

  • ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) พื้นที่กรุงเทพฯ โทร. 1111 กด 5
  • ศูนย์ความปลอดภัย กรมทางหลวงชนบท สอบถามเส้นทางน้ำท่วม โทร. 1146
  • สายด่วนแจ้งเตือนสาธารณภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) โทร. 1784
  • สายด่วนข้อมูลภัยพิบัติ ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ (ICT) โทร. 192
  • เครือข่ายอาสาสมัครวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน โทร. 1677
  • กรมชลประทาน สอบถามข้อมูลน้ำในเขื่อน โทร. 1460
  • สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ โทร. 1669

นอกเหนือการเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือน้ำท่วมแล้ว ก็ควรติดตามข่าวสารจากแหล่งที่น่าเชื่อถืออย่างใกล้ชิด ดูแลบุตรหลานไม่ให้ลงเล่นน้ำ หากมีคำสั่งจากทางการให้อพยพไปยังที่ปลอดภัย ควรนำของจำเป็นติดตัวไปเท่านั้น และรีบเดินทางออกจากพื้นที่ให้เร็วที่สุด

          บริเวณกำแพงโปร่งที่มีช่องแสงเล็ก ๆ ให้นำฟิวเจอร์บอร์ดมาปิดช่องว่างบนผนังจากนอกบ้าน แล้วตอกตะปู ยิงซิลิโคน หรือปิดด้วยเทปกาวให้แน่น นำแผ่นพลาสติกหรือถุงดำมาคลุมแล้วปิดชายด้านบนด้วยเทปกาวให้แน่น โดยติดเหนือขอบแผ่นฟิวเจอร์บอร์ดเล็กน้อย แล้วปล่อยชายแผ่นพลาสติกลาดไปกับพื้นประมาณ 20 เซนติเมตร ก่อนนำอิฐหรือกระถางต้นไม้มาวางทับ เมื่อน้ำไหลมาก็จะเกิดแรงกดให้ถุงดำแนบไปกับพื้นและผนัง ช่วยป้องกันน้ำเข้าบ้านได้อีกทาง 

          น้ำท่วม เป็นภัยจากธรรมชาติที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ แต่สามารถลดความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นกับตัวเองและทรัพย์ของเราได้ ด้วยการรับมือเตรียมความพร้อม โดยการติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิด จัดเก็บข้าวของให้พร้อม และอพยพไปยังที่ปลอดภัย

         ในช่วงเดือนสิงหาคม – ตุลาคมของทุกปี เป็นช่วงที่ต้องระวังภัยจากน้ำท่วมเป็นพิเศษ จึงจำเป็นต้องหมั่นติดตามข่าวสารภัยพิบัติอยู่เสมอ เพราะเมื่อเกิดน้ำท่วมขึ้น จะสามารถเตรียมตัวได้ทัน และลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นให้น้อยที่สุด ฉะนั้น การมีเกร็ดความรู้ในการรับมือน้ำท่วมไว้ ก็เป็นเรื่องที่ดีนะคะ

ทฤษฏีการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมอันเนื่องมาจากพระราชดำริตามแนวทางการบริหารจัดการด้านน้ำท่วมล้น (Flood Management)

โดยที่ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตมรสุม มีฝนตก และปริมาณน้ำฝนสูง จึงเกิดปัญหาน้ำท่วมอยู่ในหลายพื้นที่เกือบทุกภูมิภาค พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระปริวิตกห่วงใยในปัญหาที่เกิดขึ้นอยู่เสมอมา และทรงวิเคราะห์ลักษณะทางกายภาพของพื้นที่ที่ประสบปัญหาน้ำท่วมและทรงคำนึงถึงการเลือกใช้วิธีการต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับสภาพท้องที่ และสมรรถนะของกำลังเจ้าหน้าที่ที่มีอยู่ตลอดจนงบประมาณค่าใช้จ่ายในส่วนที่เกี่ยวข้องด้วย

วิธีการต่าง ๆ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระราชดำริในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมคือ

1. การก่อสร้างคันกั้นน้ำ เพื่อป้องกันน้ำท่วมซึ่งเป็นวิธีการดั้งเดิมแต่ครั้งโบราณโดยการก่อสร้างคัน ดินกั้นน้ำขนาดที่เหมาะสมขนานไปตามลำน้ำห่างจากขอบตลิ่งพอสมควร เพื่อป้องกันมิให้น้ำล้นตลิ่งไปท่วมในพื้นที่ต่างๆ ด้านใน เช่น คันกั้นน้ำโครงการมูโนะ และโครงการปิเหล็งอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดนราธิวาส เป็นต้น

2. การก่อสร้างทางผันน้ำ เพื่อผันน้ำทั้งหมดหรือบางส่วนที่ล้นตลิ่งท่วมท้นให้ออกไป โดยการก่อสร้างทางผันน้ำหรือขุดคลองสายใหม่เชื่อมต่อกับลำน้ำที่มีปัญหาน้ำ ท่วมโดยให้น้ำไหลไปตามทางผันน้ำที่ขุดขึ้นใหม่ไปลงลำน้ำสายอื่น หรือระบายออกสู่ทะเลตามความเหมาะสม ซึ่งการดำเนินการสนองพระราชดำริวิธีนี้ ดำเนินการโดยกรมชลประทาน ในการแก้ไขปัญหาจากแม่น้ำโก-ลก เข้ามาท่วมไร่นาของราษฎรเสียหายหลายหมื่นไร่ทุกปี การขุดคลองมูโนะได้ช่วยบรรเทาลงได้เป็นอย่างดี

3. การปรับปรุงและตกแต่งสภาพลำน้ำ เพื่อให้น้ำที่ท่วมทะลักสามารถไหลไปตามลำน้ำได้สะดวกหรือช่วยให้กระแสน้ำไหล เร็วยิ่งขึ้น อันเป็นการบรรเทาความเสียหายจากน้ำท่วมขังได้ โดยใช้วิธีการดังนี้

  • ขุดลอกลำน้ำตื้นเขินให้น้ำไหลสะดวกขึ้น
  • ตกแต่งดินตามลาดตลิ่งให้เรียบมิให้เป็นอุปสรรคต่อทางเดินของน้ำ
  • กำจัดวัชพืช ผักตบชวา และรื้อทำลายสิ่งกีดขวางทางน้ำไหลให้ออกไปจนหมดสิ้น
  • หากลำน้ำคดโค้งมาก ให้หาแนวทางขุดคลองใหม่เป็นลำน้ำสายตรงให้น้ำไหลสะดวก

การก่อสร้างเขื่อนเก็บกักน้ำ เป็นมาตรการป้องกันน้ำท่วมที่สำคัญประการหนึ่ง ในการกักเก็บน้ำที่ไหลท่วมล้นในฤดูน้ำหลาก โดย เก็บไว้ทางด้านเหนือเขื่อนในลักษณะอ่างเก็บน้ำซึ่งปัจจุบันดำเนินการตามพระราชดำริมากมายหลายแห่งในประเทศไทย และการป้องกันน้ำท่วมใหญ่ในระดับประเทศนั้น ขณะนี้ได้อยู่ในระหว่างดำเนินการหลายจุด คือ

  • โครงการพัฒนาลุ่มน้ำป่าสักอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
  • โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
  • โครงการพัฒนาลุ่มน้ำนครนายกตอนบนจังหวัดนครนายก

การแก้ไขปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลตามพระราชดำริ แก้มลิง

จากสภาพธรรมชาติดั้งเดิมของกรุงเทพมหานครมีลักษณะลุ่มต่ำทำให้มีการระบายน้ำยาม เกิดภาวะน้ำท่วมให้ออกจากพื้นที่เป็นไปอย่างล่าช้า คูคลองจำนวนมากมีความลาดเทน้อยอีกทั้งมีจำนวนหลายคลองที่ลำน้ำตื้นเขิน มีวัชพืชปกคลุมกีดขวางทางน้ำไหล ทำให้เกิดเป็นสาเหตุในหลายปัจจัยของการเกิดน้ำท่วมขังในกรุงเทพมหานครและเขตปริมณฑลเป็นระยะเวลายาวนาน

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานแนวพระราชดำริให้มีระบบการบริหารจัดการด้านน้ำท่วมในวิธีการที่ตรัสว่า แก้มลิง ซึ่งได้พระราชทานพระราชอรรถาธิบายว่า

...ลิง โดยทั่วไปถ้าเราส่งกล้วยให้ ลิงจะรีบปอกแล้วเอาเข้าปากเคี้ยวแล้วเอาไปเก็บไว้ที่แก้มลิงจะเอากล้วยเข้า ไปไว้ที่กระพุ้งแก้มได้เกือบทั้งหวี โดยเอาไปไว้ที่แก้มก่อนแล้วจึงนำมาเคี้ยวบริโภคและกลืนกินเข้าไปภายหลัง...

เปรียบเทียบได้กับเมื่อเกิดน้ำท่วมก็ขุดคลองต่าง ๆ เพื่อชักน้ำให้มรวมกันแล้วนำมาเก็บไว้เป็นบ่อพักน้ำอันเปรียบได้กับแก้มลิง แล้วจึงระบายน้ำลงทะเลเมื่อปริมาณน้ำทะเลลดลง

ลักษณะและวิธีการของโครงการแก้มลิง

  1. ดำเนินการระบายน้ำออกจากพื้นที่ตอนบนให้ไหลไปตามคลองในแนวเหนือ-ใต้ลงคลอง พักน้ำขนาดใหญ่ที่บริเวณชายทะเล เช่น คลองชายทะเลของฝั่งตะวันออก ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นบ่อเก็บน้ำขนาดใหญ่ คือ แก้มลิง ต่อไป
  2. เมื่อระดับน้ำทะเลลดต่ำลงกว่าระดับน้ำในคลอง ก็ทำการระบายน้ำจากคลองดังกล่าวออกทางประตูระบายน้ำ โดยใช้หลักการทฤษฎีแรงโน้มถ่วงของโลก (Gravity Flow) ตามธรรมชาติ
  3. สูบน้ำออกจากคลองที่ทำหน้าที่ แก้มลิง นี้ ให้ระบายออกในระดับต่ำที่สุดออกสู่ทะเล เพื่อจะได้ทำให้น้ำตอนบนค่อยๆ ไหลมาเองตลอดเวลาส่งผลให้ปริมาณน้ำท่วมพื้นที่ลดน้อยลง
  4. เมื่อระดับน้ำทะเลสูงกว่าระดับน้ำในลำคลองให้ทำการปิดประตูระบายน้ำ เพื่อป้องกันมิให้น้ำย้อนกลับ โดยยึดหลักน้ำไหลทางเดียว (One Way Flow)

หลักการ 3 ประเด็น ที่โครงการแก้มลิงจะสามารถมีประสิทธิภาพบรรลุผลสำเร็จตามแนวพระราชดำริ คือ

  1. การพิจารณาสถานที่ที่จะทำหน้าที่เป็นบ่อพักและวิธีการชักน้ำท่วมไหลเข้าสู่บ่อพักน้ำ
  2. เส้นทางน้ำไหลที่สะดวกต่อการระบายน้ำเข้าสู่แหล่งที่ทำหน้าที่บ่อพักน้ำ
  3. การระบายน้ำออกจากบ่อพักน้ำอย่างต่อเนื่อง

จากหลักการข้างต้น การสนองพระราชดำริจึงดำเนินการพิจารณาจากการใช้ลำคลองหนองบึงธรรมชาติ หรือพื้นที่ว่างเปล่านำมาใช้เป็นบ่อพักน้ำแหล่งน้ำที่จะนำน้ำเข้าบ่อพักและระบายน้ำออกจากบ่อพักน้ำตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ ซึ่งผลการดำเนินการศึกษาและพิจารณากำหนดรูปแบบของโครงการแล้วสามารถแบ่งออก ได้เป็น 2 ส่วน คือ

โครงการแก้มลิงฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ทำการรับน้ำในพื้นที่ฝั่งตะวัน ออกของแม่น้ำเจ้าพระยา นับตั้งแต่จังหวัดสระบุรี พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี และกรุงเทพมหานคร มาตามคลองสายต่างๆ โดยใช้คลองชายทะเลที่ตั้งอยู่ริมทะเลด้านจังหวัดสสมุทรปราการ ทำหน้าที่เป็นบ่อพักน้ำหรือรับน้ำ และพิจารณาหนองบึงหรือพื้นที่ว่างเปล่าตามความเหมาะสม เป็นบ่อพักน้ำเพิ่มเติมโดยใช้คลองธรรมชาติในแนวเหนือ-ใต้ เช่น คลองพระองค์ไชยนุชิต  คลองบางปลา คลองด่าน คลองบางปิ้ง คลองตำหรุ คลองชายทะเล เป็นแหล่งระบายน้ำเข้าและออกจากบ่อพักน้ำ

โครงการแก้มลิงในพื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ทำหน้าที่รับน้ำในพื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่เจ้าพระยา ตั้งแต่จังหวัดอ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นครปฐม กรุงเทพมหานคร และสมุทรสาคร ไปคลองมหาชัย-สนามชัยและแม่น้ำท่าจีน เพื่อระบายออกสู่ทะเลด้านจังหวัดสมุทรสาคร

นอกจากสภาพพื้นที่ทั่วไปแถบนั้นยังไม่มีคันกั้นน้ำริมฝั่งเจ้าพระยาและคันกั้นน้ำขนานกับชายทะเลแล้ว คลองต่าง ๆ ที่มีทางน้ำไหลเชื่อมต่อกับชายทะเลแล้ว คลองต่าง ๆ ที่มีทางน้ำไหลเชื่อมต่อกับชายทะเลก็ยังไม่มีการควบคุมเพียงพอ ดังนั้นเมื่อน้ำทะเลมีระดับสูงขึ้นจึงหมุนไม่ให้น้ำจืดไหลออกจากทะเลหรือไหล ออกทะเลได้ช้ามากก่อให้เกิดภาวะน้ำท่วมรุนแรงหรือท่วมขังนานวัน

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริเพื่อให้การระบายน้ำท่วมออกทะเลเร็วขึ้นด้วยวิธีต่าง ๆ คือ

โครงการแก้มลิง แม่น้ำท่าจีนตอนล่าง ซึ่งใช้หลักในการควบคุมน้ำในแม่น้ำท่าจีน คือ เปิดระบายน้ำจำนวนมากลงสู่อ่าวไทยเมื่อระดับน้ำทะเลต่ำ ปิดกั้นไม่ให้น้ำจากด้านท้ายน้ำไหลรุกล้ำเข้าไปในแม่น้ำเมื่อน้ำทะเลมีระดับ สูง ถือเป็นโครงการอเนกประสงค์ที่สำคัญยิ่งในอนาคตด้วย  นอก จากช่วยบรรเทาอุทกภัยให้กับพื้นที่บางส่วนทางตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่ตอนใต้ทางรถไฟสายใต้มาแล้ว ยังจะช่วยป้องกันการรุกล้ำของน้ำเค็มเข้าไปในแม่น้ำท่าจีนช่วงฤดูแล้ง ระหว่างเดือนมกราคม-พฤษภาคม โดยสามารถนำน้ำไปใช้ประโยชน์ในด้านการเกษตร อุตสาหกรรม และอุปโคบริโภคได้อีกด้วย

โครงการแก้มลิง แม่น้ำท่าจีนตอนล่าง จะมีประสิทธิภาพสมบูรณ์ต้องดำเนินการครบระบบ 3 โครงการ ด้วยกัน คือ
โครงการแก้มลิง แม่น้ำท่าจีนตอนล่าง ประกอบด้วย

  • ประตูระบายน้ำ ค.ส.ล. ปิดกั้นน้ำแม่น้ำท่าจีน
  • ประตูเรือสัญจร
  • ทำนบดินปิดลำน้ำเดิม
  • บันไดปลา
  • สถานีสูบน้ำขนาดใหญ่

โครงการแก้มลิง คลองมหาชัย-คลองสนามชัย
ดำเนินการก่อสร้างทำนบปิดกั้นในคลองมหาชัย-คลองสนามชัย พร้อมก่อสร้าง

  • ประตูระบายน้ำ รวมทั้งคลองสาขาต่างๆ คือ
  • ประตูระบายน้ำคลองสหกรณ์สาย 3
  • ประตูระบายน้ำคลองเจ็ก
  • ประตูระบายน้ำคลองโคกขาม
  • ประตูระบายน้ำคลองแสมดำ
  • ประตูระบายน้ำคลองแสมดำใต้

พื้นที่ทั้งหมดนี้จะทำหน้าที่รับน้ำและน้ำท่วมขังจากพื้นที่ตอนบนมาเก็บไว้พร้อมกับระบายลงสู่อ่าวไทยตามจังหวะการขึ้น-ลงของระดับน้ำทะเลโดยอาศัยแรงโน้ม ถ่วงของโลกและการสูบน้ำที่เหมาะสมและสอดคล้องกัน โดยจะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในระบายน้ำตามคูคลองธรรมชาติต่าง ๆ ในช่วงฤดูฝน และช่วยป้องกันการรุกล้ำของน้ำเค็มมิให้ไหลเข้าไปในแม่น้ำลำคลองและพื้นที่ การเกษตร รวมทั้งสามารถเก็บกักน้ำจืดไว้ด้านเหนือประตูระบายน้ำ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ได้อีกด้วย

โครงการแก้มลิง คลองสุนัขหอน ประกอบด้วย

  • ประตูปิดกั้นคลองสุนัขหอน พร้อมอาคาร ประกอบด้วย
  • สถานีสูบน้ำออกจากคลองสุนัขหอน

โครงการแก้มลิงนับเป็นนิมิตรหมายอันเป็นสิ่งที่ชาวไทยทั้งหลายได้รอดพ้นจากทุกข์ ภัย ที่นำความเดือดร้อนแสนลำเค็ญมาสู่ชีวิตที่อบอุ่นปลอดภัยซึ่งแนวพระราชดำริ อันเป็นทฤษฎีเกี่ยวกับการบริหารจัดการด้านน้ำท่วมนี้มีพระราชดำริเพิ่มเติม ว่า ...ได้ ดำเนินการในแนวทางที่ถูกต้องแล้ว ขอให้รีบเร่งหาวิธีปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพต่อไปเพราะโครงการแก้มลิงใน อนาคตจะสามารถช่วยพื้นที่ได้หลายพื้นที่....