การ กระทำ ผิด ใน การ เล่น วอลเลย์บอล

เมื่อเข้าร่วมการแข่งขัน ฯลฯ และสำหรับมารยาทที่ดีของผู้ดูกีฬาวอลลเลย์บอล เช่น การนั่งชมกีฬาด้วยความเป็นระเบียบเรียบร้อย ไม่ยืนกีดขวาง หรือเกะกะผู้อื่น เราจะมาอธิบายกันดังนี้

มารยาทที่ดีของผู้เล่นกีฬาวอลเลย์บอล

การเล่นกีฬาทุกชนิดมีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาร่างกาย จิตใจ และคุณภาพชีวิตให้เจริญเติบโตได้อย่างมีประสิทธิภาพ การเล่นกีฬาจะช่วยให้ได้รับความสนุกสนานเพลิดเพลิน ลดความตึงเครียด เป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ กีฬาวอลเลย์บอลก็มีจุดประสงค์เช่นเดียวกัน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นผู้เล่นจะพบความสำเร็จตามจุดมุ่งหมายได้ ก็ควรจะต้องมีมารยาทในการเล่นกีฬาวอลเลย์บอลที่ดี ดังต่อไปนี้

1. แต่งกายให้เหมาะสม และใส่เครื่องแบบชุดกีฬาของทีมตนให้ถูกต้อง เมื่อเข้าร่วมการแข่งขัน
2. เล่นและปฏิบัติตนตามกติกาอย่างเคร่งครัด
3. เล่นอย่างมีมารยาทต่อผู้เล่นทุกคนและทุกฝ่าย
4. ให้เกียรติต่อผู้เล่นฝ่ายตรงกันข้าม
5. ให้เกียรติต่อผู้ชมตลอดจนเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย
6. ไม่แสดงกิริยาที่ไม่สุภาพ และพูดจาโต้เถียง ก้าวร้าวต่อผู้อื่น
7. ใจคอหนักแน่น อดทนอดกลั้น รู้จักควบคุมอารมณ์เมื่อเกิดโทสะได้
8. ผู้เล่นต้องยอมรับ และเคารพคำตัดสินของผู้ตัดสิน
9. ผู้เล่นต้องเชื่อฟัง เคารพคำสั่งของหัวหน้าทีม และผู้ฝึกสอน
10. ปฏิบัติหน้าที่อย่างดีที่สุดเต็มความสามารถของตน
11. เมื่อชนะก็ไม่ควรดีใจจนเกินไป และไม่ทับถม เยาะเย้ยฝ่ายที่แพ้
12. เมื่อแพ้ก็ไม่เสียใจจนเกินไป ค้นหาจุดด้อยของตนเอง และปรับปรุงพัฒนาตนเองให้ดียิ่งขึ้น
13. รู้จักให้อภัย ไม่ติเตียนกล่าวโทษเพื่อนร่วมทีม และถึงแม้เพื่อนร่วมทีมจะทำผิดพลาดก็ไม่ควรแสดงอาการไม่พอใจ
14. ไม่สร้างความเดือดร้อน รำคาญใจให้กับผู้อื่น

มารยาทที่ดีของผู้ดูกีฬาวอลเลย์บอล

ผู้ดูกีฬาถือว่าเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของกีฬาทุกประเภท ผู้ดูกีฬาช่วยให้ผู้เล่นมีกำลังใจ ช่วยให้เกมกีฬาต่าง ๆ มีความสนุกสนานมากขึ้น และมีความจำเป็นต่อการพัฒนาการกีฬาให้ก้าวหน้า ไม่ว่าจะเป็นการไปเชียร์เพื่อให้กำลังใจทีมของตน หรือไปดูเพื่อความเพลิดเพลินของตนและหมู่คณะ ผู้ดูที่ดีก็ควรจะต้องปฏิบัติตนอย่างเหมาะสม เพราะพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมนอกจากจะส่งผลเสียต่อตนเอง สร้างความเดือดร้อนให้กับผู้ดูกีฬาคนอื่น ยังทำให้เสียอรรถรสในการชมกีฬาของทั้งตนเองและผู้อื่นอีกด้วย โดยมารยาทที่ดีที่ผู้ดูกีฬาวอลเลย์บอลควรมี ได้แก่

กติกาข้อที่ 22 การผิดมารยาทและการลงโทษ(MISCONDUCT AND ITS SANCTIONS)

22.1 การผิดมารยาทที่ไม่รุนแรง (MINOR MISCONDUCT)
การผิดมารยาทที่ไม่รุนแรง ไม่ต้องมีการทำโทษ ผู้ตัดสินที่ 1 ต้องทำหน้าที่ป้องกันทีมไม่ให้ผิดมารยาทจนใกล้ระดับของการถูกทำโทษ โดยการเตือนด้วยวาจาหรือสัญญาณมือต่อผู้ที่ทำผิดมารยาทหรือต่อทีมผ่านทางหัวหน้าทีมขณะแข่งขัน (GAME CAPTAIN)  การเตือนนี้ไม่ใช่การทำโทษ ไม่นับต่อเนื่องและไม่มีการบันทึกลงในใบบันทึกการแข่งขัน

22.2 การผิดมารยาทที่นำไปสู่การทำโทษ (MISCONDUCT LEADING TO SANCTION)
การทำผิดมารยาทของผู้เล่นต่อเจ้าหน้าที่ ทีมตรงข้าม เพื่อนรวมทีมหรือผู้ชม แบ่งได้เป็น 3 ระดับ ตามความหนักเบาของความรุนแรง
22.2.1 ความหยาบคาย ได้แก่ การกระทำใด ๆ ที่ไม่สุภาพไร้คุณธรรมและแสดงการดูหมิ่น
22.2.2 การก้าวร้าว ได้แก่ การสบประมาท ใช้คำพูดหรือท่าทางเป็นการดูถูกเหยียดหยาม
22.2.3 การใช้ความรุนแรง ได้แก่ การทำร้ายร่างกายหรือตั้งใจใช้ความรุนแรง

22.3 ระดับการลงโทษ (SANCTION SCALE)
การลงโทษที่นำมาใช้ ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของผู้ตัดสินและความรุนแรงของการกระทำและต้องบันทึกลงในใบบันทึกการแข่งขันมีดังนี้
22.3.1 การลงโทษ (PENALTY) การกระทำที่หยาบคายครั้งแรกในการแข่งขันโดยผู้เล่นคนใดคนหนึ่งของทีม จะถูกลงทาโดยเป็นฝ่ายแพ้ในการเล่นลูกครั้งนั้น
22.3.2 การให้ออกจากการแข่งขันในเซตนั้น (EXPULSION)
22.3.2.1 ผู้เล่นซึ่งถูกลงโทษให้ออกจาการแข่งขันในเซตนั้นจะลงแข่งขันในเซตนั้นต่อไปอีกไม่ได้ แต่ต้อง
นั่งอยู่ในพื้นที่ลงโทษ (PENALTY AREA) โดยไม่มีผลอื่นใดตามมา ผู้ฝึกสอนที่ถูกให้ออกจากการแข่งขัน
ไม่มีสิทธิ์ทำหน้าที่ในเซตนั้น และต้องอยู่ในพื้นที่ลงโทษ
22.3.2.2 การแสดงความก้าวร้าว (OFFENSIVE CONDUCT) ครั้งแรก โดยผู้ร่วมทีมคนใดคนหนึ่ง จะถูกลงโทษให้ออกจากการแข่งขันในเซตนั้น โดยไม่มีผลอื่นใดตามมา
22.3.2.3 การแสดงมารยาทหยาบคายครั้งที่ 2 ในการแข่งขันนัดนั้นโดยผู้เล่นคนเดียวกัน จะถูกลงโทษให้ออกจากการแข่งขันในนัดนั้นโดยไม่มีเหตุผลอื่นใด ตามมา
22.3.3 การให้ออกจาการแข่งขันตลอกทั้งนัดนั้น (DISQUALIFICATION)
22.3.3.1 ผู้เล่นที่ถูกลงโทษให้ออกจากการแข่งขันตลอดทั้งนัดนั้นต้องออกจากพื้นที่ควบคุมการแข่งขัน (CONPETITION CONTROL AREA) ในส่วนที่เหลืออยู่ของนัดนั้นโดยไม่มีเหตุผลอื่นใดตามมา
22.3.3.2 การใช้ความรุนแรงครั้งแรกจะถูกลงโทษให้ออกจากการแข่งขันตลอดทั้งนัดนั้นโดยไม่มีเหตุผลอื่นใดตามมา
22.3.3.3 การแสดงความก้าวร้าวครั้งที่ 2 ในการแข่งขันนัดเดียวกัน โดยผู้ร่วมทีมคนเดียวกันจะถูกลงโทษให้ออกจากการแข่งขันตลอดนัดนั้นโดยไม่มีเหตุผลใดตามมา
22.3.3.4 การแสดงความหยาบคายครั้งที่ 3 โดยผู้ร่วมทีมคนเดียวกัน จะถูกลงโทษให้ออกจากการแข่งขันที่เหลืออยู่ตลอดการแข่งขันนัดนั้นโดยไม่มีเหตุผลอื่นใดตามมา

22.4 การนำการทำโทษไปใช้ (APPLICATION OF MISCONDUCT SANCION)
22.4.1 การนำโทษผิดมารยาทเป็นการลงโทษรายบุคคลและมีผลตลอดการแข่งขันนัดนั้น แลละจะถูกบันทึกลงในใบบันทึกรายการแข่งขัน
22.4.2 การกระทำผิดมารยาทโดยผู้ร่วมทีมคนเดียวกันในการแข่งขันนัดเดียวกัน จะถูกลงโทษรุนแรงขึ้นเป็นลำดับ (ผู้กระทำผิดจะถูกทำโทษสูงขึ้นทุกครั้งที่มีการกระทำผิดมารยาทเกิดขึ้นในแต่ละครั้ง)(ตารางระดับการลงโทษผิดมารยาท)
22.4.3 การให้ออกจากการแข่งขันเซตนั้น (EXPULSION) ออกจาการแข่งขันนัดนั้น (DISQUALIFICATION) ทำได้ทันทีโดยไม่จำเป็นต้องมีการทำโทษใด ๆ มาก่อน แต่ขึ้นอยู่กับการแสดงความก้าวร้าวหรือการใช้ความรุนแรง

22.5 การผิดมารยาทก่อนเริ่มต้นเซตและระหว่างเซต (MINCONDUCT BEFORE AND BETWEEN SET)
การผิดมารยาทที่เกิดขึ้นก่อนเริ่มต้นเซตหรือระหว่างเซตจะถูกลงโทษตามกติกาข้อ 22.3 และมีผลในเซตถัดไป

22.6 บัตรแสดงการทำโทษ (SANCTION CARDS)
22.6.1 เตือน ด้วยปากหรือสัญญาณมือ ไม่ใช้บัตร
22.6.2 ทำโทษ บัตรเหลือง
22.6.3 ออกจากการแข่งขันเซตนั้น บัตรแดง
22.6.4 ออกจาการแข่งขันนัดนั้น บัตรเหลืองแดง

Share this:

  • Twitter
  • Facebook

Like this:

ถูกใจ กำลังโหลด...