ความสําคัญของงานประดิษฐ์ คือ

1. ความหมายของงานประดิษฐ์ งานประดิษฐ์ หมายถึง สิ่งที่จัดทำขึ้น โดยใช้ความคิด สร้างสรรค์ให้เกิความประณีต สวยงาม น่าสนใจ เพื่อประโยชน์ที่พึงประสงค์ เช่น งานประดิษฐ์ดอกไม้ ผ้ารองจาน กระเป๋า ตุ๊กตา ที่คั่นหนังสือ กระทงใบตอง บายศรี พานดอกไม้ มาลัยแบบอื่นๆ

ความสําคัญของงานประดิษฐ์ คือ

2. ความสำคัญและประโยชน์ของงานประดิษฐ์

2.1 ประหยัดค่าใช้จ่าย
2.2 ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
2.3 ความเพลิดเพลิน
2.4 เพิ่มคุณค่าของวัสดุ
2.5 สร้างความแปลกใหม่ที่มีอยู่เดิม
2.6 ชิ้นตรงตามความต้องการ
2.7 เป็นของกำนัลแก่ผู้อื่น
2.8 อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทย
2.8 เพิ่มรายได้ให้แก่ตนเองและครอบครัว
2.9 เกิดความภูมิใจในตนเอง

3. หลักการสร้างสรรค์งานประดิษฐ์

หลักการสร้างสรรค์งานประดิษฐ์ การสร้างสรรค์งานประดิษฐ์ให้ประดิษฐ์ให้ประสบผลสำเร็จนั้น ผู้เรียนต้องมีความพึงพอใจ ในการทำงาน โดยยึดหลักการดังนี้
3.1 หมั่นศึกษาหาความรู้ในงานที่ตนเองสนใจ โดยศึกษาจากผู้เชี่ยวชาญการในชุมชนการโรงเรียน จากตัวอย่างสิ่งประดิษฐ์ที่สนใจ
3.2 ศึกษาหลักการ วิธีการ หรือขั้นตอนการปฏิบัติงาน ในการประดิษฐ์ชิ้นงานโดยการวิเคราะห์ ด้วยตนเองหรือศึกษาจากผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญ หรือจากสื่อต่าง ๆ เช่น วารสาร หนังสือ เป็นต้น
3.3 ทดลองการปฏิบัติการประดิษฐ์ ผู้เรียนต้องศึกษาค้นคว้าและทดลองปฏิบัติตามแนวคิดที่ได้สร้างสรรค์ไว้ และมีการปรับปรุงแก้ไข ข้อบกพร่องจนสำเร็จเป็นชิ้นงานประดิษฐ์ที่พึงพอใจ

 

ความสําคัญของงานประดิษฐ์ คือ
ความสําคัญของงานประดิษฐ์ คือ
ความสําคัญของงานประดิษฐ์ คือ

Share this:

  • Twitter
  • Facebook

Like this:

ถูกใจ กำลังโหลด...

ความสําคัญของงานประดิษฐ์ คือ

ความหมายของงานประดิษฐ์
1. ความหมายของงานประดิษฐ์ งานประดิษฐ์ หมายถึง สิ่งที่จัดทำขึ้น โดยใช้ความคิด สร้างสรรค์ให้เกิดความประณีต สวยงาม น่าสนใจ เพื่อประโยชน์ที่พึงประสงค์ เช่น งานประดิษฐ์ดอกไม้ ผ้ารองจาน กระเป๋า ตุ๊กตา ที่คั่นหนังสือ กระทงใบตอง บายศรี พานดอกไม้ มาลัยแบบอื่นๆ
2. ความสำคัญและประโยชน์ของงานประดิษฐ์
2.1 ประหยัดค่าใช้จ่าย
2.2 ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
2.3 ความเพลิดเพลิน
2.4 เพิ่มคุณค่าของวัสดุ
2.5 สร้างความแปลกใหม่ที่มีอยู่เดิม
2.6 ชิ้นตรงตามความต้องการ
2.7 เป็นของกำนัลแก่ผู้อื่น
2.8 อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทย
2.9 เพิ่มรายได้ให้แก่ตนเองและครอบครัว
2.10 เกิดความภูมิใจในตนเอง
ประโยชน์ของ งานประดิษฐ์
1. เป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
2. มีความภูมิใจในผลงานของตน
3. มีรายได้จากผลงาน
4. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ผลงานใหม่ๆ
5. เป็นการฝึกให้รู้จักสังเกตสิ่งรอบๆ ตัว และนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์
ลักษณะของงานประดิษฐ์
1. งานประดิษฐ์ทั่วไป เป็นงานที่บุคคลสร้างขึ้นมาจากความคิดของตนเองโดยอาศัยการเรียนรู้จากสิ่งรอบๆ ตัว นำมาดัดแปลง หรือเรียนรู้จากตำรา เช่น การประดิษฐ์ของใช้จากเศษวัสดุ การประดิษฐ์ดอกไม้
2. งานประดิษฐ์ที่เป็นเอกลักษณ์ไทย เป็นงานที่ได้รับการสืบทอดมาจากบรรพบุรุษในครอบครัวหรือในท้องถิ่น หรือทำขึ้นเพื่อใช้งานหรือเทศกาลเฉพาะอย่าง เช่น มาลัย บายศรี งานแกะสลัก
ประเภทของงานประดิษฐ์
งานประดิษฐ์ต่างๆ สามารถเลือกทำได้ตามความต้องการและประโยชน์ใช้สอย ซึ่งอาจแบ่งประเภทของงานประดิษฐ์ตามโอกาสใช้สอยดังนี้
1. ประเภทใช้เป็นของเล่น เป็นของเล่นที่ผู้ใหญ่ในครอบครัวทำให้ลูกหลานเล่นเพื่อความเพลิดเพลิน เช่น งานปั้นดินเป็นสัตว์ สิ่งของ งานจักสานใบลานเป็นโมบาย งานพับกระดาษ
2. ประเภทของใช้ ทำขึ้นเพื่อเป็นของใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น การสานกระบุง ตะกร้า การทำเครื่องใช้จากดินเผา จากผ้าและเศษวัสดุ
3. ประเภทงานตกแต่ง ใช้ตกแต่งสถานที่ บ้านเรือนให้สวยงาม เช่น งานแกะสลักไม้ การทำกรอบรูป ดอกไม้ประดิษฐ์
4. ประเภทเครื่องใช้ในงานพิธี ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อใช้ในงานเทศกาลหรือประเพณีต่างๆ เช่น การทำกระทงลอย ทำพานพุ่ม มาลัย บายศรี
วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในงานประดิษฐ์
การเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ในการประดิษฐ์ชิ้นงานต้องเลือกให้เหมาะสมจึงจะได้งานออกมามีคุณภาพ สวยงาม รวมทั้งต้องดูแลรักษาอุปกรณ์เครื่องใช้เหล่านี้ให้อยู่ในสภาพใช้งานได้ตลอดเวลา และสามารถแบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ ได้ดังนี้
1. ประเภทของเล่น
- วัสดุที่ใช้ เช่น กระดาษ ใบลาน ผ้า เชือก พลาสติก กระป๋อง
- อุปกรณ์ที่ใช้ เช่น กรรไกร เข็ม ด้าย กาว มีด ตะปู ค้อน แปรงทาสี
2. ประเภทของใช้
- วัสดุที่ใช้ เช่น กระดาษ ไม้ โลหะ ดิน ผ้า
- อุปกรณ์ที่ใช้ เช่น เลื่อย สี จักรเย็บผ้า กรรไกร เครื่องขัด เจาะ
3. ประเภทของตกแต่ง
- วัสดุที่ใช้ เช่น เปลือกหอย ผ้า กระจก กระดาษ ดินเผา
- อุปกรณ์ เช่น เลื่อย ค้อน มีด กรรไกร สี แปรงทาสี เครื่องตอก
4. ประเภทเครื่องใช้ในงานพิธี
- วัสดุที่ใช้ เช่น ใบตอง ดอกไม้สด ใบเตย ผ้า ริบบิ้น
- อุปกรณ์ที่ใช้ เช่น เข็มเย็บผ้า เข็มร้อยมาลัย คีม ค้น เข็มหมุด
การเลือกใช้และบำรุงรักษาอุปกรณ์ มีหลักการดังนี้
1. ควรเลือกใช้ให้ถูกประเภทของวัสดุและอุปกรณ์
2. ควรศึกษาวิธีการใช้ก่อนลงมือใช้
3. เมื่อใช้แล้วเก็บไว้ให้เป็นระเบียบเรียบร้อย
4. ซ่อมแซมเครื่องมือที่ชำรุดให้พร้อมใช้เสมอ

ความสําคัญของงานประดิษฐ์ คือ

       http://demhot088.blogspot.com/2010/09/blog-post.html

ความสําคัญของงานประดิษฐ์ คือ