Ltf กรุง ศรี ตัว ไหน ดี

ชื่อISINน้ำหนักการลงทุน %ล่าสุดเปลี่ยน %ซีพี ออลล์TH0737010Y088.3466.50-1.12%SCB X PCLTHA7900100055.91105.50-1.40%สยามโกลบอลเฮ้าส์TH09910100085.6118.600.00%ท่าอากาศยานไทยTH0765010Z085.1873.75+0.34%Total Access Communication PCLTH0554010Z064.53--

เป็นการจัดกลุ่มของหลักทรัพย์ โดยเปิดให้ทุกคน สามารถเพิ่ม hashtags เองได้ ใช้แบ่งกลุ่มหรือใส่เป็น short note ไว้ดูภายหลังก็ได้ ช่วยให้เราค้นหาข้อมูลตาม hashtags ได้สะดวกมากขึ้น ทั้งนี้ hashtags ที่เพิ่มไป จะเห็นเฉพาะบุคคล ไม่ต้องกังวลว่าคนอื่นจะเห็นข้อมูลที่เราเพิ่มไป หากมีการเพิ่ม hashtags ชื่อซ้ำกันจากหลายคน เป็นจำนวนมาก ระบบอาจปรับ hashtags นั้น ให้กลายเป็น Standard hashtags ซึ่งจะเป็น hashtags ที่ทุกคนเห็นเหมือนกัน

หมายเหตุ: จัดอันดับกองทุนที่เสนอขายผ่านธนาคารกรุงศรีอยุธยา โดยใช้อัตราผลตอบแทนคิดเป็น % ตามช่วงเวลา (Cumulative Return)

ที่มา: ข้อมูลผลตอบแทนย้อนหลัง 1 เดือนจาก Krungsri Investment Intelligent Office ณ วันที่ 31 ส.ค. 65

ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และขอคำแนะนำเพิ่มเติม ก่อนทำการลงทุน ทั้งนี้ ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวม มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต

สิ่งแรกที่ทั้ง 2 กองทุนแตกต่างกันก็คือประเภทของการลงทุน LTF ต้องลงทุนในหุ้นไทยอย่างน้อย 65% ที่เหลือจะเป็นตราสารหนี้หรือหุ้นก็ได้ แต่ SEF จะเป็นการลงทุนในกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ บวกกับหุ้นที่มีความยั่งยืน ที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และมีธรรมาภิบาล (ESG), รวมถึงหุ้น SME และหุ้นในตลาด MAI ไม่น้อยกว่า 65% และอีกสิ่งหนึ่งที่ต่างกันอย่างเห็นได้ชัดก็คือความสามารถในการซื้อ ซึ่งเดิมที LTF จะสามารถซื้อได้ไม่เกิน 15% ของเงินได้ แต่ต้องไม่เกิน 500,000 บาท ส่วน SEF สามารถซื้อได้สูงสุด 30% ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 250,000 บาท เห็นได้ชัดว่าเค้าโครงของกองทุน SEF ที่เพิ่มเปอร์เซ็นต์แต่ลดเพดานมูลค่าของการลดหย่อนภาษี เพื่อตอบโจทย์ชนชั้นกลางมากยิ่งขึ้น ช่วยลดความเหลื่อมล้ำ เพราะผู้ที่มีรายได้ไม่สูงนั้นจะสามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้มากขึ้น แต่ผู้ที่รายได้สูงจะลดหย่อนภาษีได้น้อยลง นโยบายของภาครัฐจึงต้องการออก SEF เพื่อให้กระตุ้นการลงทุนของคนในวงกว้าง ให้วางแผนการลงทุนมากขึ้น และไม่ได้ใช้ประโยชน์ในการลดหย่อนภาษีอย่างเดียว ส่วนระยะเวลาการถือครองยังเหมือนเดิมคือ 7 ปีปฏิทินครับ

ในช่วงที่ยังขาดความแน่นอน ว่า SEF จะได้รับการอนุมัติหรือไม่ ยังมีกองทุนอีกตัวที่น่าสนใจไม่แพ้กัน นั่นก็คือ กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ หรือ Retirement Mutual Fund ที่เราเรียกกันย่อ ๆ ว่า RMF ที่เราสามารถนำมาใช้ลดหย่อนภาษีได้เช่นกัน สามารถศึกษาไว้เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกได้นะครับ

Ltf กรุง ศรี ตัว ไหน ดี

RMF เหมาะกับใคร?

กองทุนชนิดนี้ เหมาะสำหรับคนทุกกลุ่มที่ต้องการออมเงินเพื่อวัยเกษียณ ถือเป็นการลงทุนที่จะช่วยสร้างวินัยการออมเงินระยะยาวเพื่อให้คุณมีเงินเก็บมากพอในช่วงบั้นปลายชีวิต จึงมีเงื่อนไขว่าคุณจะต้องลงทุนอย่างต่อเนื่อง และจะขายหน่วยลงทุนได้ก็ต่อเมื่อคุณอายุครบ 55 ปี เท่านั้นครับ ลองมาดูข้อมูลโดยย่อของกองทุน RMF กันครับ

  • เริ่มลงทุนแล้วต้องลงทุนอย่างต่อเนื่อง โดยซื้อ RMF ไม่น้อยกว่าปีละ 1 ครั้ง
  • ลงทุนขั้นต่ำ 3% ของเงินได้ในแต่ละปี หรือ 5,000 บาท แล้วแต่ว่าจำนวนใดจะต่ำกว่า
  • ต้องไม่ระงับการซื้อหน่วยลงทุนเกินกว่า 1 ปีติดต่อกัน (ยกเว้นปีที่ไม่มีเงินได้)
  • ถือหน่วยลงทุนไว้อย่างน้อย 5 ปี และไม่ขายจนกว่าตัวเองจะอายุครบ 55 ปี หรือเสียชีวิต หรือทุพพลภาพก่อน

สิทธิประโยชน์ทางภาษีของ RMF

  • สามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 15% ของเงินได้ในปีภาษีนั้น และเมื่อรวมเข้ากับเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ที่ผู้ลงทุนมีอยู่ จะต้องไม่เกิน 500,000 บาท ซึ่งการได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีนี้ ให้นับตามเวลาแบบวันชนวัน ตั้งแต่วันแรกที่ได้เริ่มลงทุน
  • กำไรที่ได้จากการขายคืนหน่วยลงทุน (Capital Gain) ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ ทั้งนี้ หากมีการลงทุนเกิน 15% ของเงินได้ หรือเกิน 500,000 บาท เมื่อขายคืนหน่วยลงทุนแล้วมีกำไร ผู้ลงทุนจะต้องนำกำไรที่ได้จากการขายคืนหน่วยลงทุน เฉพาะส่วนที่เกิน ไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาด้วย

กองทุน SEF ยังเป็นแค่ไอเดียที่อยู่ในขั้นตอนการหารือและพิจารณาของกระทรวงการคลัง ซึ่งตอนนี้ก็ยังไม่มีกฎหมายออกมารองรับอย่างแน่ชัดว่า จะเกิดขึ้นภายในปีหน้าจริงหรือไม่ เราก็ยังต้องคอยดูกันต่อไปว่าในอนาคตกองทุนนี้จะสามารถตอบโจทย์การออม การลงทุน และการลดหย่อนภาษีของเราได้จริงหรือไม่ และจะอีกนานเท่าไหร่ต้องรอติดตามกันนะครับ

มีหลายวิธีที่มนุษย์เงินเดือนจะสามารถเก็บออมได้ หนึ่งในนั้นคือ การลงทุนในกองทุนที่ให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่า แต่ต้องรู้จักคัดสรรและเลือกกองทุนอย่างเหมาะสมด้วย

เผลอแป๊บเดียวก็ใกล้สิ้นปีแล้วถึงเวลาหากองทุนที่ถูกใจเอาไปลดหย่อนภาษีและเพิ่มเงินออมกันดีกว่า ผมในฐานะที่เป็นมนุษย์เงินเดือนโดยแท้ทำมาตั้งแต่เรียนจบจนถึงทุกวันนี้ จึงรู้ดีว่าไม่ค่อยมีเวลาว่างติดตามการลงทุน อยากได้กองทุนที่มีผลตอบแทนดีและไม่เสี่ยงจนเกินไป ผมใช้เวลาปีละ 2 ครั้งโดยประมาณเพื่อเรียนรู้กองทุนใหม่และปรับพอร์ตกองทุนตามสถานการณ์

น่าเสียดายที่คนไทยส่วนใหญ่ยังไม่รู้จักกองทุนรวมดีพอ เงินออมเกือบทั้งหมดยังอยู่ในบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ที่ให้ดอกเบี้ยน้อยมาก เพราะไม่คุ้นเคยกับกองทุนมีหลายชนิดจนงงและศัพท์บางคำอ่านแล้วไม่เข้าใจ ผมอยากบอกว่าจริง ๆ แล้วไม่ได้ยากอย่างที่คิดอย่าปล่อยโอกาสทองหลุดมือไป กองทุนรวมเปิดโอกาสลงทุนในทรัพย์สินหลากหลายประเภททั่วโลก มีมืออาชีพมาคอยบริหารตามนโยบายการลงทุน และค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บก็ไม่แพง โดยครั้งนี้ผมขอแนะนำประเภทกองทุนที่น่าสนใจพร้อมด้วยชื่อกองทุนของบลจ.กรุงศรีเพื่อให้เห็นภาพชัดเจนตามตารางด้านล่าง

กองทุนที่ควรมีติดพอร์ตอันดับแรกคือ “กองทุนรวมตราสารหนี้”


ปัจจุบันดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ประมาณ 0.5% ต่อปี หากฝากเงิน 1 ล้านบาทจนครบปีได้ดอกเบี้ยแค่ 5,000 บาท เราจึงควรนำเงินบางส่วนย้ายมาออมไว้ในกองทุนรวมตราสารหนี้เพื่อรับผลตอบแทนที่สูงขึ้น โดยสภาพคล่องลดลงไปบ้างไม่มีบัตรเอทีเอ็มให้เบิกถอนได้ทันที แต่จะโอนคืนเข้าบัญชีออมทรัพย์ในวันทำการถัดไป (T+1) และความเสี่ยงเพิ่มขึ้นแต่ยังอยู่ในระดับต่ำ ซึ่งตราสารหนี้ก็ยังแบ่งเป็นประเภทย่อย ๆ ตามผู้ออกว่าเป็นรัฐหรือเอกชน แบ่งตามระยะเวลาไถ่ถอนว่าเป็นระยะสั้น กลาง หรือ ยาว และแบ่งตามอันดับความน่าเชื่อถือว่าเป็นเกรด AAA AA A B เป็นต้น เป็นไปตามกฎ High Risk High Return เสี่ยงสูงผลตอบแทนสูง

กองทุนของบลจ.กรุงศรี ได้แก่กรุงศรีตราสารหนี้ระยะกลาง (KFMTFI)เป็นกองทุนที่ได้รับความนิยม เพราะเน้นลงทุนในทรัพย์สินที่มีอันดับความน่าเชื่อถือสูงและระยะเวลาไถ่ถอนปานกลาง ผลตอบแทน 1 ปีที่ผ่านมาอยู่ที่ 1.4% ต่อปี และ กรุงศรีแอคทีฟตราสารหนี้ (KFAFIX)เป็นกองทุนที่เพิ่งจัดตั้งขึ้นมาใหม่ลงทุนในทรัพย์สินคล้าย KFMTFI แต่ยอมรับความเสี่ยงเพิ่มขึ้น ผลตอบแทนก็ขยับเพิ่มขึ้นด้วยโดย 6 เดือนที่ผ่านมาอยู่ที่ 1.53% ต่อปี

กองทุนที่ควรมีติดพอร์ตอันดับสองคือ “กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF)”


มนุษย์เงินเดือนที่มีเงินได้สุทธิอยู่ในเกณฑ์ต้องเสียภาษีควรซื้อ LTF มาช่วยลดหย่อนภาษี โดย LTF คือ กองทุนที่นำเงินไปลงทุนในหุ้นไม่น้อยกว่า 65% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ ภายในระยะเวลา 7 ปีปฏิทิน ไม่บังคับซื้อทุกปี ซื้อปีไหนก็นำไปลดหย่อนภาษีปีนั้น โดยซื้อได้สูงสุดไม่เกิน 15% ของเงินได้ หรือไม่เกิน 500,000 บาท

กองทุนของบลจ.กรุงศรี ได้แก่กรุงศรีหุ้นระยะยาวปันผล (KFLTFDIV) เป็นกองทุนที่ได้รับความนิยม เพราะเน้นลงทุนในหุ้นปันผลและผลตอบแทนระยะยาวทำได้ดี โดยผลตอบแทน 1 ปีที่ผ่านมาอยู่ที่ 11.37% ต่อปี และ กรุงศรีหุ้นระยะยาว SET50 (KFLTF50) เป็นกองทุนที่เน้นสร้างผลตอบแทนใกล้เคียงกับดัชนี SET 50 โดยผลตอบแทน 1 ปีที่ผ่านมาอยู่ที่ 11.97% ต่อปี

กองทุนที่ควรมีติดพอร์ตอันดับสามคือ “กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)”


มนุษย์เงินเดือนที่มีเงินได้สุทธิอยู่ในฐานภาษีสูงควรซื้อRMF มาเป็นตัวช่วยเพิ่มเติมในการลดหย่อนภาษี โดย RMF คือ กองทุนที่นำเงินไปลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ ตามนโยบายกองทุนนั้น เช่น ตราสารหนี้ หุ้น น้ำมัน หรือ ทองคำ เป็นต้น โดยมีเงื่อนไขว่าต้องลงทุนอย่างน้อยปีเว้นปีต่อเนื่องจนถึงอายุครบ 55 ปี และปีที่ลงทุนต้องลงทุนไม่น้อยกว่า 5,000 บาท ซื้อปีไหนก็นำไปลดหย่อนภาษีปีนั้น โดยซื้อได้สูงสุดไม่เกิน 15% ของเงินได้ และเมื่อรวมกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพกับประกันชีวิตแบบบำนาญต้องไม่เกิน 500,000 บาท

กองทุนของบลจ.กรุงศรี ได้แก่กรุงศรีเฟล็กซิเบิ้ล 2 เพื่อการเลี้ยงชีพ (KFFLEX2RMF) และ กรุงศรีทวีทรัพย์เพื่อการเลี้ยงชีพ (KFTSRMF) เป็นกองทุนแบบผสมสามารถปรับเปลี่ยนสัดส่วนการลงทุนระหว่างหุ้นกับตราสารหนี้ให้เหมาะสมโดยผู้จัดการกองทุนเป็นผู้ตัดสินใจ ผลตอบแทน 1 ปีที่ผ่านมาอยู่ที่ 9.92% และ 10.01% ต่อปีตามลำดับ

กองทุนที่ควรมีติดพอร์ตอันดับสี่คือ “กองทุนรวมต่างประเทศ”


บนโลกนี้ยังมีอีกหลายแห่งให้ลงทุนไม่ว่าจะ อเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น จีน อินเดีย ฯลฯ ถือเป็นการแสวงหาโอกาสในการลงทุนพร้อมกระจายความเสี่ยง โดยมีความเสี่ยงเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนเพิ่มเข้ามา ซึ่งก็แล้วแต่กองทุนว่ามีนโยบายป้องกันความเสี่ยงหรือไม่ ถ้ามีก็ช่วยลดความเสี่ยงเรื่องนี้ไปได้แต่ก็มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นมาเล็กน้อย และโดยปกติระยะเวลาขายคืนจะนานกว่าอยู่ที่ประมาณ 4 วันทำการ (T+4) ผมแนะนำให้มีติดพอร์ตไว้บ้างดีกว่าลงทุนในประเทศเพียงอย่างเดียว

กองทุนของบลจ.กรุงศรี ได้แก่กรุงศรีโกลบอลคอลเล็คทีฟสมาร์ทอินคัม (KF-CSINCOM) เป็นกองทุนที่เพิ่งจัดตั้งขึ้นมาใหม่ลงทุนในตราสารหนี้ทั่วโลกผ่านกองทุนหลักที่มีชื่อว่า PIMCO GIS Income Fund ผลตอบแทน 6 เดือนที่ผ่านมาอยู่ที่ 3.74% ต่อปี และ กรุงศรีโกลบอลเทคโนโลยีอิควิตี้ (KF-GTECH) กองทุนที่เพิ่งจัดตั้งขึ้นมาใหม่ลงทุนในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีที่มีปัจจัยพื้นฐานแข็งแกร่งผ่านกองทุนหลักที่มีชื่อว่า Rowe Price Funds SICAV - Global Technology Equity Fund ผลตอบแทน 3 เดือนที่ผ่านมาอยู่ที่ 7.41% ต่อปี

สุดท้ายนี้ขอแนะนำเทคนิคการลงทุนในกองทุนรวมอีก 2 ข้อ

ข้อแรก คือ การลงทุนแบบถัวเฉลี่ยต้นทุน (DCA) โดยตัดเงินจากบัญชีออมทรัพย์หรือบัตรเครดิตเพื่อลงทุนในกองทุนเป็นประจำทุกเดือน ๆ ละเท่ากัน เพราะการขึ้นลงราคาเป็นสิ่งที่คาดการณ์ได้ยาก การลงทุนแบบนี้จะช่วยให้ได้ต้นทุนไม่สูงจนเกินไปนัก

ข้อสอง คือ การสับเปลี่ยนกองทุน (Switching) โดยย้ายจากกองทุนต้นทางไปกองทุนปลายทางเพื่อปรับพอร์ตกองทุน อันที่จริงแล้วเราไม่ควรเปลี่ยนบ่อยมากนักเพราะมีค่าธรรมเนียม แต่ควรกำหนดเปลี่ยนได้ปีละไม่เกิน 2 ครั้งตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง