พระ บร ท ราโชวาท ร ร 9 ความสามัคคี

"ความสามัคคีและความถือตัวว่าเป็นไทยเป็นสมบัติมีค่าสูงสุดเพราะเป็นมรดกที่เราได้ศึกษาจากบรรพบุรุษและเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เราดำรงประเทศชาติและเอกราชสืบมาได้ทุกคนจะต้องรักษาความเป็นไทยและความสามัคคีนี้ไว้ให้มั่นคง" 

พระ บร ท ราโชวาท ร ร 9 ความสามัคคี

ส่วนหนึ่งของพระบรมราโชวาทพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช รัชกาลที่ 9 เมื่อสิงหาคม 2512 ได้ทรงพระราชทานแด่สามัคคีสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์ ที่ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย องคมนตรีอัญเชิญในการกล่าวปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ “การสร้างความยั่งยืนให้กับความเป็นไทย” ในการประชุม "การขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่ตามแนวพระราชดำริ ของกระทรวงมหาดไทย"  

พระ บร ท ราโชวาท ร ร 9 ความสามัคคี

องคมนตรียังได้ย้ำว่า “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” คือหลักคิดนำทางสร้างความยั่งยืนความเป็นไทย 

ในการปาฐกถาพิเศษเรื่อง“การสร้างความยั่งยืนให้กับความเป็นไทย” ศาสตราจารย์เกียรติคุณนายแพทย์เกษมกล่าวว่า ปัจจัยหลักที่สร้างลักษณะเฉพาะให้แก่ชนชาติหรือประเทศชาติ ว่ามีอยู่ 3 ปัจจัย คือ ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม วิถีชีวิตของผู้คน ซึ่งหากเปรียบเทียบกับการทำงานร่วมกับชุมชนนั้น แต่ละชุมชนก็จะมีลักษณะเฉพาะซึ่งแตกต่างกัน 

ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงใช้คำว่า "ภูมิสังคม" ในการทำงานพัฒนาพื้นที่ หากได้นำหลักนี้ไปเป็นแนวทาง ก็จะเข้าใจประชาชนได้อย่างลึกซึ้ง ด้วยคำว่า "เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา" หมายความว่า  การ "เข้าใจ" ต้องเข้าใจกันทั้ง 2 ทาง ทั้งข้าราชการและผู้เข้าไปสนับสนุนส่งเสริมการพัฒนา และชุมชน การ "เข้าถึง" ก็คือสามารถเข้าถึงกันได้ทั้งสองทาง ไม่ว่าจะเป็นราชการเข้าหาชุมชน หรือชุมชนเข้ามาหาทางการ หากทำได้ครบทั้ง 2 ทางแล้วถึงจะร่วมกัน "พัฒนา" ได้

ตัวอย่างประวัติกลุ่มชนไท จากการอ้างอิงถึงผลการวิจัยเชิงวัฒนธรรมกลุ่มคนไทนอกประเทศไทย โดยศาสตราจารย์ ดร. ฉัตรทิพย์ นาถสุภา กลุ่มคนที่พูดภาษาไท 100 กว่าล้านคน มีกลุ่มหลักอยู่ในประเทศไทย 63 ล้านคน ที่เหลือแบ่งเป็นกลุ่มคนที่อยู่ใน ประเทศเวียดนาม ประเทศลาว ประเทศจีน ประเทศพม่า และประเทศอินเดีย 

พระ บร ท ราโชวาท ร ร 9 ความสามัคคี

คนไทเป็นกลุ่มคนที่ปลูกข้าวกิน โดยเฉพาะนาดำ อ้างอิงจากงานวิจัยของ รศ. สุรพล นาถะพินธุ ว่า ชาวไทปลูกข้าวกว่า 8,000 ปีมาแล้วทางตอนใต้ของจีน และไม่ว่าจะอพยพไปที่ไหน ก็จะต้องไปอาศัยบริเวณที่มี น้ำ เพื่อจุดประสงค์ในการปลูกข้าว เป็น “วัฒนธรรมน้ำ” และเลี้ยงปลา เกิดเป็น "วัฒนธรรมข้าว-ปลา" 

นอกจากนี้ยังมี ความเชื่อด้าน พิธีกรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี ผี ขวัญ ผู้เถ้าผู้แก่ และเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน ต่อมาคือ จิตวิญญาณของความเป็นไทยที่สำคัญ คือ ระดับครอบครัว ต้องมีความกตัญญูรู้คุณ และรู้จักการตอบแทนคุณ ระดับชุมชนเข้มแข็ง คือการมีความมีน้ำใจต่อการมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน และระดับเมือง มีความจงรักภักดี มีความสามัคคีของชนเผ่าไท 

พระ บร ท ราโชวาท ร ร 9 ความสามัคคี

“สรุปลักษณะร่วมของคนไท คือ ระบบครอบครัวและเครือญาติใกล้ชิด ชุมชนเข้มแข็ง จิตใจอันดีงามของผู้คน และระบบเศรษฐกิจแบบพอเพียงพึ่งตนเองในครอบครัวและชุมชน”

หลักคิดและแนวปฏิบัติเพื่อความยั่งยืนทั้งของไทยและสากล 3 ประการ โดยหลักแรกคือ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ในหลวง รัชกาลที่ 9 พระราชทานให้คนไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2540 และชาวต่างชาติได้ยอมรับแล้วว่าเป็นทฤษฎีเพื่อความยั่งยืน และเป็นแนวคิดเพื่อรับมือหรือแก้วิกฤตได้อย่างสัมฤทธิ์ผล (Resilience) จากพระปฐมบรมราชโองการ "เราจะครองแผ่นดินโดยธรรมเพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม" เมื่อวันที่ 5 พ.ค. 2493

พระบรมราโชวาท "ความสามัคคีและความถือตัวว่าเป็นไทยเป็นสมบัติมีค่าสูงสุดเพราะเป็นมรดกที่เราได้ศึกษาจากบรรพบุรุษและเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เราดำรงประเทศชาติและเอกราชสืบมาได้ทุกคนจะต้องรักษา

ความเป็นไทยและความสามัคคีนี้ไว้ให้มั่นคง" อันหมายถึงว่าให้คนไทยรักษาไว้ซึ่ง "ความเป็นไทย" และมี "ความสามัคคี"

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์เกษม ยกได้ยกพระราชดำรัส ในโอกาสที่รัชกาลที่ 9 ทรงเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมโครงการที่โรงเรียนร่มเกล้า บ้านคลองทราย อำเภอวัฒนานคร จังหวัดปราจีนบุรี เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2524 ความว่า

"...การพัฒนานี้ก็ต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจทั้งสองอย่างคือจิตใจที่หวงแหนที่ดินทำกินของเรา หวงแหนพื้นแผ่นดินของเรา และจิตใจที่จะต้องช่วยเหลือกันทุกคนเป็นสมาชิกของประเทศคือชาวไทยทุกคน..." และ การ "ช่วยกันสร้างคนดีให้แก่บ้านเมือง" ที่ได้เคยมีพระราชดำรัสไว้ว่า "การสร้างคนดีนั้นเป็นเรื่องที่ยากและยาวแต่ก็ต้องทำ ขอให้ถือเป็นหน้าที่"

คนดี คือ คนที่พึ่งตนเองได้ ใน 3 ด้าน ได้แก่ การพึ่งตนเองด้านจิตใจ มีจิตใจเข้มแข็งมีจิตสำนึกที่ดีสร้างสรรค์ให้ตนเองและส่วนรวม การพึ่งตนเองด้านสังคม คือมีน้ำใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน และการพึ่งตนเองด้านเศรษฐกิจ เน้นมุ่งลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ยึดหลักพออยู่พอกินพอใช้อยู่ได้ด้วยตนเองในระดับพื้นฐาน โดยในหัวข้อคนดีนี้  ให้ช่วยกันดูแลและแนะนำเยาวชนในการใช้ Social Media อย่างถูกต้อง ไม่ให้ถูกชักนำไปในทางที่ไม่ดี  

พระ บร ท ราโชวาท ร ร 9 ความสามัคคี

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงว่าเป็น  แนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัวและระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ  เป็นทางสายกลาง และมีหลักสำคัญคือ ความพอประมาณ มีเหตุผล

และไม่กระทบต่อภูมิคุ้มกันด้านต่างๆ เงื่อนไขก่อนนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ ประกอบด้วย 1.การฝึกฝนจิตใจให้มีคุณธรรมซื่อสัตย์สุจริต (training of moral code - honesty) 2.การรู้จริง ใช้ความรู้ทั้งขั้นวางแผนและขั้นปฏิบัติ (knowledgeable in planning and execution) 3.มีความขยันอดทนรอบคอบ (diligence - patience - thoughtfulness)

หลักคิดและแนวปฏิบัติเพื่อความยั่งยืนของสากล คือ  SDG 17 ข้อ ที่สหประชาชาติกำหนดเป็นแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนเป็นเวลา 15 ปี ในช่วง ค.ศ. 2016 ถึง 2031  และหลัก ESG (Environment, Social, Governance) 3 ปัจจัยหลักที่จำแนกมาจาก SDGs เพื่อความยั่งยืน คือ ปัจจัยสิ่งแวดล้อม (Environmental factors) ปัจจัยด้านคนและสังคม (Social factors) และปัจจัยด้านธรรมาภิบาล (Governance factors) 

“หากนำหลักคิดเหล่านี้ไปถ่ายทอดสู่คนรุ่นหลังได้อย่างถูกต้อง เชื่อได้ว่าเยาวชนที่เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาชาติจะมีแนวทาง “สร้างความยั่งยืนให้กับความเป็นไทย” ได้ในอนาคต”