ผู้แนะนําการลงทุน เงินเดือน

จำนวนที่รับสมัคร (อัตรา) 1

ระดับเงินเดือน (บาท) 15000-16000

ลักษณะงาน 1.โทรและรับOrderซื้อขายหุ้นทางโทรศัพท์กับลูกค้าที่ได้รับมอบหมาย
2.ฝึกหัดการให้คำแนะนำการลงทุนแก่ลูกค้า(ทางโทรศัพท์)
3.บริการจัดการเปิดบัญชีและดูแลค้าตามที่ได้รับมอบหมาย

คุณสมบัติผู้สมัคร  1. มีหรือกำลังจะมี Single license(ใบอนุญาติผู้แนะนำการลงทุนด้านหลักทรัพย์ ic)
 2. ไม่จำเป็นต้องมีประสบการณ์ ไม่จำเป็นต้องมีฐานลูกค้า
 3. ปริญญาตรี สาขา การเงิน การธนาคาร/เศรษฐศาสตร์/บัญชี/ฯลฯ
 4. GPA ไม่ต่ำกว่า 2.50
 5. ทำงานใจกลางเมือง กรุงเทพมหานคร
 6. บุคคลิก ตรงไปตรงมา ซื่อสัตย์ รอบคอบ ว่องไว ตรงต่อเวลา ไม่จำเป็นต้องฉลาด
 7. ถ้ามีคุณสมบัติ Introvert จะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ

เขตพื้นที่ปฏิบัติงาน ปทุมวัน

จังหวัดที่ปฏิบัติงาน กรุงเทพมหานคร

สวัสดิการ / ข้อมูลเพิ่มเติม สวัสดิการประกันสังคม มีโดยทั่วไปตามมาตรฐานของสถาบันการเงินบริษัทมหาชน

วิธีรับสมัคร สมัคร Online ผ่าน ระบบของเว็บไซต์หางาน Jobthaiweb.com เท่านั้น

วิธีรับสมัครเพิ่มเติม

ผู้แนะนําการลงทุน เงินเดือน
vengkee3
โทรสอบถาม นัดสัมภาษณ์ [099-1062525]

ติดต่อ - สอบถาม บล.พาย
เลขที่ 132 อาคารสินธร ทาวเวอร์ 3 ชั้น 18 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
โทรศัพท์ 099-1062525

ปัจจุบันหลายๆ คนโดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ต่างก็ต้องการทำงานที่มีอิสระในชีวิต และมีความเป็นมนุษย์เงินเดือนน้อยลง ทำให้ฟรีแลนซ์มีความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อจะได้ทำสิ่งที่ตัวเองฝัน และจัดการเวลาชีวิตอย่างที่ตัวเองต้องการ ซึ่งนอกจากเวลาแล้ว อีกสิ่งที่สำคัญคือการหารายได้ที่สามารถทดแทนกับค่าใช้จ่ายในการดำรงชีวิตในแต่ละเดือนได้ ในวันนี้จะขอพาไปรู้จักอาชีพอิสระในสายงานการเงินที่เรามักจะเรียกกันหลากหลาย โดยจะขอพูดถึง นักวางแผนการลงทุนอิสระ (Independent Investment Planner: IIP) ซึ่งนอกจากกลุ่มฟรีแลนซ์ กลุ่มบุคคลที่เกษียณแล้วหรือใกล้เกษียณก็ต่างให้ความสนใจในอาชีพนี้ไม่น้อยเลยทีเดียว

อย่างไรก็ตาม บุคคลที่จะเป็น IIP ได้นั้น มักจะกำหนดให้เป็นกลุ่มบุคคลทั่วไปที่ปัจจุบันไม่ได้สังกัดเป็นพนักงานประจำสถาบันการเงินใดๆ ยกเว้นบริษัทประกัน เพียงมีใบอนุญาตผู้แนะนำการลงทุน Investment Consultant (IC) License หรือใบอนุญาตผู้วางแผนการลงทุน Investment Planner (IP) License ซึ่ง IIP จะมีหน้าที่ให้คำแนะนำผลิตภัณฑ์การลงทุน เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของนักลงทุนที่ต้องการผู้แนะนำการวางแผนการลงทุนที่มีความรู้ความสามารถ สร้างความมั่นใจและเป็นที่ปรึกษาทางการเงินได้ทั้งระยะสั้นและระยะยาว รวมถึงแนะนำกลยุทธ์การลงทุนให้แก่นักลงทุนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางการเงิน 

โดยหลักๆ แล้ว IIP จะต้องมีความคิดสร้างสรรค์ มีความกระตือรือร้น และมีไอเดียกลยุทธ์ทางการตลาดเป็นคุณสมบัติหลัก รวมถึงต้องมีการวางแผนงานอย่างมีระเบียบแบบแผนที่ดี เพราะจะต้องจัดการงานต่างๆ ด้วยตัวเองเป็นหลัก นอกจากค่าตอบแทนที่ IIP สามารถสร้างรายได้เป็นอาชีพหลักหรือรายได้เสริมแล้ว แต่ถ้ามีความขยันรายได้อาจจะดีกว่าอาชีพประจำ เพราะมีเวลาในการจัดสรรเวลา และพัฒนาตัวเองอย่างเต็มที่ นอกจากนี้ บางบริษัทยังมีสิทธิประโยชน์อื่นๆ เพิ่มให้อีกเมื่อทำได้ตามเป้าหมายที่กำหนด เช่น โปรแกรมศึกษางานทั้งในและต่างประเทศ, การฝึกอบรมทักษะต่างๆ,  สิทธิพิเศษในการเข้าร่วมสัมมนา และโอกาสในการเข้าร่วมชมกิจกรรมพิเศษอื่นๆ เป็นต้น

นอกจากการคำนึงถึงรายได้แล้ว การที่จะเป็นนักวางแผนการเงินที่ดีนั้น มีอีกจุดหนึ่งที่ต้องคำนึงถึงก็คือ ‘ความไว้วางใจ’ ที่จะต้องสร้างให้ลูกค้าเกิดความเชื่อใจ และใช้บริการ เมื่อลูกค้าเกิดความพึงพอใจแล้ว อาจทำให้เกิดการบอกต่อไปยังลูกค้าคนอื่นๆ อีกด้วย

สำหรับ บลจ.ไทยพาณิชย์ ก็มีทีม IIP เป็นผู้แนะนำการวางแผนการลงทุนให้กับนักลงทุนด้วยเช่นกัน โดยปัจจุบันได้เปิดกว้างมากขึ้นสำหรับผู้ที่สนใจ เพื่อโอกาสในการสร้างรายได้เทียบเท่าอาชีพประจำ ไม่ว่าจะทำแบบเป็นรายได้หลักหรือรายได้เสริม ด้วยส่วนแบ่งค่าธรรมเนียมการขายในระดับบุคคล และยังสามารถเพิ่มรายได้อีกขั้นด้วยการสร้างระบบทีม เพื่อช่วยเหลือและผลักดันกันภายในทีม เพื่อที่จะได้รับค่าธรรมเนียมส่วนเพิ่มอีกด้วย ผู้ที่สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 0 2777 7777 กด 0 กด 6 หรือสนใจเข้าร่วมเป็นนักวางแผนการลงทุนอิสระได้ที่ https://scbam.info/2NQcihn

เรามาสู่ยุคที่หลาย ๆ คนโดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ต้องการทำงานที่มีอิสระในชีวิต และมีความเป็นมนุษย์เงินเดือนน้อยลง

ทำให้อาชีพ “ฟรีแลนซ์ (Freelance)” มีความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ ในปัจจุบัน หรือหลาย ๆ คนก็ตัดสินใจตั้งบริษัทสตาร์ทอัป (Startup) ของตัวเอง เพื่อจะได้ทำสิ่งที่ตัวเองฝัน และจัดการเวลาชีวิตอย่างที่ตัวเองต้องการ แต่ชีวิตจริงมันไม่ได้สวยหรูเหมือนที่แต่ละคนจินตนาการไว้ ว่างานอิสระจะทำให้เราไปเที่ยวได้ จัดเวลาของตัวเองได้ เล่นเกมระหว่างวันได้ สำคัญที่สุดคือการหารายได้ให้พอกับค่าใช้จ่ายในการดำรงชีวิตในแต่ละเดือนที่เหล่าฟรีแลนซ์มักจะมีรายได้ไม่สม่ำเสมอ บางเดือนที่งานไม่เข้าถึงกับไม่มีเงินจ่ายค่าข้าวกินเลยก็มี ในวันนี้ผมจะขอนำท่านผู้อ่านไปรู้จักอาชีพอิสระในสายงานการเงินที่เรียกกันว่า Independent Financial Advisor (IFA) ซึ่งเป็นงานที่บอกเลยว่าไม่หมู แต่ก็ไม่หินจนเกินไป ที่สำคัญคือสามารถสร้างรายได้ประจำคล้ายกับการเป็นมนุษย์เงินเดือนได้อีกด้วย

Financial Advisor (FA) คืออะไร ?

Financial Advisor (ที่ปรึกษาทางการเงิน) คือคำที่มีความหมายโดยกว้างสำหรับมืออาชีพที่ให้คำปรึกษาในการบริหารเงิน ซึ่งรวมถึงหุ้น กองทุน ประกัน อสังหาฯ การวางแผนการศึกษา วางแผนเกษียณ ฯลฯ

ขณะที่ Financial Planner (นักวางแผนการเงิน) จัดเป็นชนิดหนึ่งของอาชีพ Financial Advisor ที่เน้นเรื่องการวางแผนการเงินให้กับลูกค้าเพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางการเงิน (ที่มา Investopedia)

นอกจากนี้ยังมีอาชีพ Investment Advisor (ที่ปรึกษาการลงทุน) ซึ่งก็จัดเป็นอีกชนิดหนึ่งของ Financial Advisor เช่นกัน ซึ่งในบ้านเรามีคำเรียกหลายคำมาก ได้แก่ Investment Advisor (ที่ปรึกษาการลงทุน), Investment Consultant (ผู้แนะนำการลงทุน), Investment Planner (ผู้วางแผนการลงทุน) ตามแต่ละหน่วยงานจะเรียก โดยที่ปรึกษาการลงทุนนั้น หมายถึงมืออาชีพที่ให้คำแนะนำผลิตภัณฑ์การลงทุน รวมถึงแนะนำกลยุทธ์การลงทุนให้แก่นักลงทุน

อาชีพ FA ทำอะไร ?

FA คืออาชีพที่ให้บริการวางแผนทางการเงิน และแนะนำการลงทุนให้กับลูกค้า ถ้าเป็น FA ที่เน้นเรื่องการให้คำแนะนำการลงทุนบ้านเรามักจะใช้คำเรียกว่า Investment Advisor (IA) หรือ Investment Planner (IP) ซึ่งจะเน้นไปที่การวางแผน และจัดพอร์ตการลงทุนในหลักทรัพย์ โดยเฉพาะ “กองทุน” ทั้งกองทุนรวมและกองทุนส่วนบุคคล

ขณะที่ FA ที่เน้นเรื่องการวางแผนการเงินบ้านเรามักจะเรียกว่า Financial Planner (นักวางแผนการเงิน) ซึ่งจะเน้นเรื่องการวางแผนเกษียณ วางแผนการศึกษา โดยใช้ประกันชีวิต/ประกันภัย เข้ามาเป็นส่วนประกอบในแผนการเงินร่วมกับกองทุนรวมและสินทรัพย์ลงทุนอื่น ๆ เพื่อให้ลูกค้าแต่ละท่านบรรลุเป้าหมายทางการเงินในระยะยาว

Independent Financial Advisor (IFA – ที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ)

IFA นั้นหมายถึงที่ปรึกษาทางการเงินที่ไม่ได้สังกัดกับสถาบันการเงิน ทั้งธนาคาร บริษัทหลักทรัพย์ และบริษัทประกัน แต่อยู่ภายใต้สัญญาตัวแทนอิสระที่แนะนำผลิตภัณฑ์การลงทุนต่าง ๆ และรับรายได้จากสถาบันการเงินในรูปของส่วนแบ่งค่าธรรมเนียม (Fees)

รายได้คล้ายมนุษย์เงินเดือนอย่างไร ?

เนื่องจากส่วนแบ่งค่าธรรมเนียมที่ IFA ได้รับจากสถาบันการเงินนั้นมีส่วนที่จ่ายต่อเนื่องเป็นประจำรายเดือน/รายปีด้วย (Trail Fees) ยกตัวอย่างเช่น กรณีกองทุนรวมนอกจากส่วนแบ่งที่ได้จากค่าธรรมเนียมการขายหน่วยลงทุน (Front End Fee) แล้ว ยังมีส่วนแบ่งค่าธรรมเนียมที่ได้รับจากค่าธรรมเนียมการจัดการ (Management Fee) ของแต่ละกองทุนด้วย หรืออย่างกรณีของผลิตภัณฑ์ประกันชีวิต ซึ่งมีการแบ่งค่าธรรมเนียมให้กับ FA อย่างต่อเนื่องเป็นรายปีตลอดอายุสัญญากรมธรรม์ ยกตัวอย่างเช่น

กรณีที่ IFA แนะนำการลงทุนในกองทุนรวมหุ้น สมมติว่าได้รับส่วนแบ่งค่าธรรมเนียมการการจัดการในอัตราร้อยละ 0.5% ต่อปี

สมมติ IFA ดูแลนักลงทุน 100 คน ลงทุนในกองทุนหุ้นรวมคนละ 1,000,000 บาท จะเท่ากับมีสินทรัพย์ภายใต้คำแนะนำการลงทุน 100 x 1,000,000 = 100,000,000 ล้านบาท

IFA จะได้รับส่วนแบ่งค่าธรรมเนียมการจัดการต่อปี = 0.5% x 100,000,000 = 500,000 บาทต่อปี

โดยส่วนแบ่งค่าธรรมเนียมการจัดการจะได้รับเป็นรายเดือนต่อเนื่องตราบใดที่ลูกค้ายังคงเงินลงทุนในกองทุนรวมที่ IFA เป็นผู้แนะนำ

นอกจากค่าธรรมเนียมการจัดการที่ได้รับเป็นรายเดือนแล้ว IFA จะได้รับส่วนแบ่งค่าธรรมเนียมการขายหน่วยลงทุนครั้งแรกที่ได้รับแบบครั้งเดียวอีกด้วย

กรณีแนะนำผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตประเภท Term Insurance สมมติว่าได้รับส่วนแบ่งค่าธรรมเนียมในอัตรา 10% ของเบี้ยประกันชีวิตต่อปีตลอดอายุสัญญากรมธรรม์

สมมติ IFA ดูแลลูกค้า 100 คน ที่ทำประกันคุ้มครองประเภท Term Insurance เป็นระยะเวลา 15 ปี โดยแต่ละคนจ่ายค่าเบี้ยประกันเฉลี่ยคนละ 80,000 บาทต่อปี จะเท่ากับมีเบี้ยประกันรวม 100 x 80,000 บาท = 8,000,000 บาท

IFA จะได้รับส่วนแบ่งค่าธรรมเนียมเป็นมูลค่า 10% x 8,000,000 = 800,000 บาทต่อปีตลอดอายุกรมธรรม์ 15 ปี

จากตัวอย่างข้างต้นจะเห็นได้ว่าอาชีพ IFA นั้นต่างจากอาชีพฟรีแลนซ์ทั่ว ๆ ไปที่มีรายได้ไม่สม่ำเสมอขึ้นอยู่กับจำนวนโปรเจกต์งานที่ได้รับในแต่ละเดือน ขณะที่งาน IFA นั้นสามารถสร้างรายได้แบบต่อเนื่องเป็นประจำทุกเดือน ทุกปี ซึ่งตอบโจทย์การสร้างความมั่นคงในด้านการเงินกับผู้ที่ประกอบอาชีพนี้ ขณะที่ยังคงไว้ซึ่งความอิสระในการทำงานในเวลาเดียวกัน

อย่างไรก็ตามอาชีพ FA นั้นก็เป็นอาชีพที่ต้องมีความรู้ ความรับผิดชอบ และต้องมีจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพสูง เพราะแก่นของอาชีพนี้คือการรับผิดชอบเงินออม เงินลงทุน ของผู้คนที่เก็บหามาทั้งชีวิต ลูกค้าแต่ละคนมีครอบครัวหลาย ๆ ชีวิตที่ต้องดูแล ผู้ที่ประกอบอาชีพนี้จึงต้องมีความซื่อสัตย์ต่อตัวเอง และต่อผู้อื่น รวมถึงต้องมีความรู้เรื่องการวางแผนการเงิน และการแนะนำการลงทุนที่ถูกต้อง โดยผู้ที่จะประกอบอาชีพนี้ต้องมีใบอนุญาตจากหน่วยงานกำกับดูแล เช่น ใบอนุญาตผู้แนะนำการลงทุน ใบอนุญาตตัวแทน/นายหน้าประกันภัย และควรมีคุณวุฒิอย่าง CFP (Certified Financial Planner) CFA (Chartered Financial Analyst) หรือ FChFP (Fellow Chartered Financial Practitioner) เพื่อเป็นเครื่องการันตีความรู้ความสามารถในงานสายนี้อีกด้วย