สอบสัมภาษณ์ นักวิชาการคอมพิวเตอร์

10. แนวคำถามและตอบในการสอบสัมภาษณ์ 

ตอบ ผู้สมัครควรศึกษาแนวคำถาม และตอบอย่างคร่าวๆ ว่า คำถามในการสอบสมั ภาษณ์จะเป็ นอย่างไรได้บ้าง และเมื่อเผชิญกับคำถามประเภทนี้ จะต้องตอบในลักษณะใดจึงจะเหมาะสมและมีนํ้าหนักพอที่จะทำให้เรามีความโดดเด่นกว่าผู้สมัครรายอื่นๆ ได้

1. ชีวประวัติเบื้องต้น

แนวถาม: บางครั้งที่ผู้สัมภาษณ์ถามคำถามเหล่านี้ ก็เพื่อตรวจสอบดูว่าผู้สมัครเป็นอย่างไร ในขณะที่มาในฐานและโอกาสแตกต่างกัน เช่น ผู้สมัครสองคนอาจสอบได้คะแนนดีทั้งคู่ แต่พื้นฐานและโอกาสอาจจะมีไม่เท่ากัน เป็นต้นว่า คนแรกอาจจะมาจากครอบครัวที่มี ฐานะดี มีผู้ปกครองคอยช่วยเหลือ ถึงจะพลาดงานนี้ ก็ไม่เดือดร้อนเรื่องสถานภาพทางด้านการเงิน จึงอาจไม่ค่อยกระตือรือร้นแต่ในทางกลับกัน ผู้สมัครคนที่สองมาจากครอบครัวที่ยากจน และต้องคอยช่วยเหลือพ่อแม่ในการทำงาน แต่มีความตั้งใจจริงและอยากได้งานทำเพราะต้องการแบ่งเบาภาระของบุพการี ในลักษณะเช่นนี้ ผู้สัมภาษณ์ก็อาจจะให้คะแนนผู้สมัครคนที่สองมากกว่า เพราะมีความกระตือรือร้นและตั้งใจจริงมากกว่า ถึงแม้จะเรียนดีด้วยกันทั้งคู่ แต่องค์ประกอบอื่น ๆ ก็นับเป็นตัวแปรที่สำคัญอีกด้วย

แนวตอบ: ความจริงแล้วค ◌ำถามประเภทนี้ เป็นค ◌ำถามประเภทตรงไปตรงมา สามารถคาดการณ์

ล่วงหน้าได้ และยังง่ายต่อการตอบอีกด้วย แต่ผู้สมัครบางคนก็อาย ไม่กล้าที่จะเปิดเผยพื้นเพครอบครัวของตนเอง เพราะเกรงว่าจะถูกหัวเราะเยาะ ที่จริงแล้วผู้สมัครไม่ควรอายที จะตอบ หรือพยายามปกปิดข้อเท็จจริงและที่สำคัญคือไม่ควรพูดเท็จและควรตอบตามความเป็นจริง

2. การศึกษาและการฝึกงาน

แนวถาม: คำถามลักษณะนี้จะมุ่งไปยังการหาข้อมูลเกี่ยวกับการเรียนและคะแนนที่ ผู้สมัครได้รับโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่ผู้สมัครไม่มีประสบการณ์การทำงานมาก่อนเลย หรือมีบ้างนิดหน่อยผู้สัมภาษณ์ก็จะเน้นไปยังจุดนี้ และนอกจากนี้ ก็อาจจะรวมคำถามเกี่ยวกับกิจกรรมนอกหลักสูตร เข้าไว้ด้วย เช่น การเป็นสมาชิกของชมรมต่างๆ ระหว่างเรียน ข้อมูลเหลานี้จะช่วยให้ผู้สัมภาษณ์ทำการประเมินผลการให้คะแนนได้ง่ายขึ้น เพราะพอจะมองออกว่าผู้สมัครเป็นคนเช่นไร

แนวตอบ: ในทำนองเดียวกัน คำถามเกี่ยวกับการศึกษาและการฝึกงานก็ง่ายต่อการตอบเช่นกัน นอกเสียจากผู้สมัครไม่ได้เตรียมการไว้ล่วงหน้า ในกรณีที่ ผู้สมัครทำคะแนนได้ไม่ดีผู้สัมภาษณ์ก็อาจจะถามถึงสาเหตุที่ทำให้เขาได้คะแนนไม่ดี แต่ผู้สมัครก็ไม่ควรจะแก้ตัวไปเสียทุกกรณีไป ควรยอมรับในจุดด้อยของตนเองบ้าง เพราะความจริงแล้ว ผู้สัมภาษณ์อาจไม่ต้องการถามลึกไปถึงเหตผุลของการทำคะแนนได้ดีหรือไม่ดี แต่ที่ถามเพราะต้องการที่จะทดสอบว่า ผู้สมัครมีความสามารถในการแสดงออกได้ดีแค่ไหนเพียงใดเมื่อต้องเผชิญกับคำถามในลักษณะนี้

3. ประสบการณ์ในการทำงาน

แนวถาม: ที่จริงแล้วในจดหมายสมัครงาน และประวัติย่อก็จะให้รายละเอียดเกี่ยวกับประวัติการทำงานอยู่แล้ว แต่ที่ต้องถามลึกลงไปอีก ก็เพื่อดูรายละเอียดอื่นๆ เป็นต้นว่า ความสามารถในการ

เปิดติวออนไลน์และติวทางไปรษณีย์ รายละเอียดที่ www.งานราชการไทย.com

ทำงานเป็นอย่างไร การทำตัวเข้ากับเพื่อนร่วมงานเป็นอย่างไร และทำไมจึงออกจากงานที่ว่านี้ นอกจากนี้ ก็เพื่อเป็นการทดสอบดูว่าผู้สมัครจะตอบคำถามตรงกับข้อมูลที่ให้ไว้ก่อนหน้านี้ในจดหมายสมัครงานและประวัติย่อหรือไม่ งานประเภทใดที่เหมาะสมกับผู้สมัครนี้ ถึงแมว่าคำถามนี้อาจจะใช้ไม่ได้กับนักศึกษาจบใหม่ๆ แต่บางรายก็ปีระสบการณ์ในการทำงานนอกเวลามาก่อนก็มี แต่ก็จะถามได้ไม่ละเอียดเหมือนกับผู้ที่เคยทำงานเต็มเวลาก่อนอยู่ดีนั่นเอง

แนวตอบ: คำตอบที่ควรเตรียมไว้ล่วงหน้าเกี่ยวกับประสบการณ์ในการทำงาน ก็คือ

- เหตผุลที่ออกจากงานเก่า

- ทำไมจึงต้องการทำงานที่นี้

- เคยทำงานอะไรในตำแหน่งใดเป็นงานทีม มีส่วนช่วยส่งเสริมงานที่สมัครนี้หรือไม่

- เคยประสบความสำเร็จในการทำงานประเภทใดมาก่อนบ้างหรือไม่

- เคยมีปัญหาอะไรบ้างและแก้ไขปัญหานั้นอย่างไร

- เข้ากับเพื่อนร่วมงานได้ดีหรือไม่เพียงใด

สำหรับสองข้อแรก ก็อาจจะตอบได้ว่า เพื่อต้องการเพิ่มประสบการณ์ หาความก้าวหน้าหรืองานที่มี ความรับผิดชอบมากขึ้น หรือไม่ก็หน่วยงานที่สมัครนี้ มีชื่อเสียง หรือให้สวัสดิการดี

4. สิ่งกระตุ้นและแรงดลใจ

แนวถาม: ผู้สัมภาษณ์อาจต้องการทราบสิ่งกระตุ้นใจ และความกระตือรือร้นของผู้สมัครว่าสนใจ

งานประเภทใดเป็นพิเศษ ซึ่งก็อาจจะถามคำถามประเภท เช่น ทำไมเลือกสมัครตำแหน่งนี้ คำถาม

ลักษณะนี้ ผู้สัมภาษณ์สามารถตรวจสอบได้ว่าผู้สมัครมีความทะเยอทะยานสูงหรือตํ่า เป็นไปได้หรือไม่หรือเป็นแค่เพียงความฝันเท่านั้น

แนวตอบ: ผู้สมัครควรรู้ตัวเองว่า เราต้องการทำอะไรในขณะนี้ มีแผนการอะไรบ้าง

มีแผนการอะไร ไม่ควรตอบว่า ยังไม่มีแผนการที่แน่นอน เพราะจะทำให้ดูเหมือนว่า เป็นคนหลักลอยและไม่สามารถรับผิดชอบตัวเองได ◌้ควรแสดงความกระตือรือร้นและความทะเยอทะยานแต่พอดีไม่มากหรือน้อยเกินไป และผู้สมัครไม่ควรแสดงออกถึงความเป็นผู้มีความทะเยอทะยานจนเกินไป เพราะจะทำให้พลาดโอกาสได้ ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่าผู้สัมภาษณ์อาจมองว่าผู้สมัครมีความทะเยอทะยานมาก อาจไม่ค่อยจะพอใจกับอะไรได้ง่ายๆ และอาจจะอยู่ทำงานได้ไม่นานก็ออกไปหางานใหม่ทำซึงจะทำให้หน่วยงานเสียเงินและเสียเวลาในการคัดเลือกผู้สมัครประเภทนี้ไปโดยเปล่าประโยชน์ ค ◌ำถามว่า “ถ้าคุณต้องไปทำงานต่างจังหวัดคุณจะไปได้หรือไม่ ” ก็ไม่ควรด่วนตัดสินใจปฏิเสธควรคิดให้รอบคอบเสียก่อนหรือถ้าไม่มีปัญหาอะไร ก็ควรแสดงให้เห็นว่า เรามีความต้องการทำงานนี้ จริงๆ แต่ทั้งนี้ ผู้สมัครก็ควรเตรียมให้พร้อมว่าสามารถปฏิบัติตามนั้นได้หรือไม่

5. ความสนใจยามว่างและงานอดิเรก

แนวถาม: คำถามเกี่ยวกับเรื่องนี้ส่วนใหญ่จะเป็นคำถามแบบกว้าง ๆ เช่น ใช้เวลาว่างทำอะไรบ้างหรือมีงานอดิเรกบ้างหรือไม่ คำถามประเภทนี้ จะช่วยให้ผู้สัมภาษณ์ทราบได้ว่า ผู้สมัครมี

เปิดติวออนไลน์และติวทางไปรษณีย์ รายละเอียดที่ www.งานราชการไทย.com

ความสามารถในการแสดงออกอย่างไร มีความชัดเจนเพียงพอหรือไม่ ทั้งยังเป็นการตรวจสอบดูว่างานอดิเรกของผู้สมัครมีผลดีต่องานที่สมัครนั้นอย่างไร

แนวตอบ: ในการตอบคำถามเกี่ยวกับความสนใจยามว่างระวังอย่าพูดเท็จ แล้วก็อย่าตอบเพียงเพื่อเอาใจ ผู้สัมภาษณ์เป็นอันขาด ถ้าจะบอกว่างานอดิเรกของเราคืออะไรแล้ว ก็ต้องมีความมั่นใจว่าเราทำในสิ่งนั้นบ่อย ๆ จนเป็นนิสัย และสามารถพดูคุยให้รายละเอียดเกี่ยวกับงานอดิเรกประเภทนั้นได้เป็นอย่างดีเพราะมิฉะนั้น จะทำให้เราเสียเครดิต ซึ่งอาจจะมีผลทำให้ผู้สัมภาษณ์หมดความเชื่อถือในตัวเราเกือบทุกๆ เรื่องที่เราตอบไปแล้วก็ได้

6. ความชำนาญพิเศษ

แนวถาม: งานประเภทที่ต้องอาศัยความชำนาญพิเศษ เช่น ทางด้านวิทยาศาสตร์หรืองานประเภทวิชาชีพ

ต่าง ๆ ซึ่งในการทดสอบผู้สมัครนั้น นอกจากจะให้ผู้สมัครทำข้อสอบข้อเขียนแล้ว ผู้สัมภาษณ์

อาจจะต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม โดยเรียกเข้ารับการสอบสัมภาษณ์สักครั้งหนึ่ง ก่อนตัดสินใจ

ผู้ใดผู้หนึ่งเข้าทำงาน และการให้มีการสอบสัมภาษณ์ด้วยนี้ ยังจะสามารถทดสอบได้ว่า ผู้สมัครมี

ความฉับไวในการตอบข้อซักถามได้ดีเพียงใด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลา เร่งด่วนจะแก้สถานการณ์เฉพาะหน้าได้ดีเพียงใดเป็นต้น

แนวตอบ: ควรติดตามข่าว และความเคลื่อนไหวในเหตุการณ์รอบๆ ตัวเรา โดยผ่านสื่อต่าง ๆ เช่น

โทรทัศน์ วิทยุ และหนังสือพิมพ์ หรือนิตยสารต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความเคลื่อนไหวและกิจการของหน่วยงานหรือหน่วยงานที่เราต้องการสมัครเข้าทำงานนั้น ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้

7. สุขภาพ

แนวถาม: โดยมากเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพนี้ ผู้สัมภาษณ์สามารถดูได้จากใบรับรองแพทย์ที่แนบมา

ด้วย แต่บางครั้งที ต้องถามเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพอีก ก็เพราะว่างานบางอย่างก็ต้องการทราบรายละเอียดเกี่ยวกับสุขภาพเป็นพิเศษ

แนวตอบ: เกี่ยวกับเรื่องสุขภาพนี้ก็คงไม่ต้องเตรียมตัวอะไรมากเพียงแต่ตอบไปตามความจริง และควรพิจารณาดูว่าสุขภาพของเราเป็นอย่างไร เป็นอุปสรรคต่องานที่จะทำหรือเปล่า และงานนั้นระบุคุณสมบัติของผู้สมัครไว้อย่างไรความจริงแล้วเราไม่สามารถเดาใจผู้สัมภาษณ์ได้ทั้งหมดว่าเขาจะถามเราอย่างไร เพราะเขามีสิทธิ เลือกถามได้ทั่วไป ผู้สมัครได้แต่เพียงเตรียมตัวไว้ล่วงหน้าสำหรับถามหลักเท่านั้น ดังนั้น วิธีที่ดีที่สุดคือผู้สมัครไม่ควรแสดงอาการตื่นเต้น เมื่อเจอ

เปิดติวออนไลน์และติวทางไปรษณีย์ รายละเอียดที่ www.งานราชการไทย.com

คำถามทีไม่ได้คาดการณ์ไว้ล่วงหน้าควรอยู่ในอาการสงบและตั้งใจตอบคำถามให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ถ้าไม่เข้าใจคำถาม ก็อย่าพยายามดันทุรังตอบ เมื่อไม่เข้าใจก็ควรบอกผู้สัมภาษณ์ตามตรงว่า

“ดิฉัน/ผมไม่ค่อยจะเข้าใจความหมาย” หรือ “ดิฉัน/ผมไม่ค่อยจะแน่ใจว่าดิฉันจะเข้าใจค ◌ำถาม” และขอความกรุณาให้ถามหรืออธิบายอีกครั้ง

11. ข้อแนะนำอื่น ๆ ในการสอบสัมภาษณ์

ตอบ 1. ไม่ควรพูดในความหมายที่ว่าไม่ได้ตั้งใจมาสมัครงาน เช่น ถูกพี่สาวบังคับให้มา เพาระไม่อยากขัดใจแม่เพื่อนชวนก็เลยลองมาสมัครดูถึงแม้ว่าจะเป็ นการพูดคุยในระหว่างเพื่อน ฝูงที พบกันโดยบังเอิญที่หน่วยงานก็ตาม ถ้าฝ่ายบุคคลปะปนอยู่ในขณะนั้นได้ยินเข้าก็จะเป็นผลเสียสำหรับคุณอย่างยิ่ง

2. ถ้าฝ่ายบุคคลถามว่าคุณต้องการทำงานอะไรอย่าตอบว่า งานอะไรก็ได้หน่วยงานไหนก็ได้การตอบแบบนั้นเป็นการตอบที่เลื่อนลอยไม่มีเป้าหมายในการทำงาน

3. อย่าพูดว่าต้องการมาทำงานในระยะเวลาอันสั้น ๆ เท่านั้น

4. อย่าเส้นตื้น หัวเราะในสิ่งที ไม่ควรหัวเราะเพราะคุณกำลังอยู่ในระหว่างการสัมภาษณ์จึงควรควบคุมอารมณ์ให้อยู่ในอาการสำรวมพอสมควร

5. อย่าเคร่งขรึม หน้านิ้วคิ้วขมวดในระหว่างสัมภาษณ์ซึ่งมีผลทำให้เสียบรรยากาศในการสัมภาษณ์

6. อย่าโอ้อวดว่ารู้จักมักคุ้นกับผู้บริหารระดับสูงของ

7. อย่าพูดว่าต้องไปปรึกษาผู้ปกครองก่อน การกล่าวเช่นนั้นแสดงว่าคุณยังไม่มีความกล้าในการตัดสินใจด้วยตนเอง

8. อย่าใช้อารมณ์หรือแสดงอารมณ์รุนแรงในขณะสัมภาษณ์

9. อย่าแก้ตัวปิดบังหรือหลีกเลี่ยงในกรณีที่ กรรมการสัมภาษณ์รู้เรื่ องราวของคุณแล้ว หรือมี

หลักฐานอ้างอิงได้คุณควรรับความจริง

10. อย่าเล่าเรื่องที ไม่ประสบความสำเร็จ หรือความทกุข์

11. ไม่ควรพูดจาในลักษณะที่สอดหรือแทรกในขณะผู้สัมภาษณ์กำลังพูดแต่ควรพยายามใช้ความสังเกตศึกษาสิ่งที่ ผู้สัมภาษณ์สนใจ

12. ไม่ควรพูดจาอ้อมค้อม หรือนอกประเด็น โดยเฉพาะในเรื่องซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งงานที่สมัคร

13. การพูดจาฉะฉาน ชัดเจน และง่ายแก่การเข้าใจ ทั้งนี้ ต้องไม่ดังหรือค่อยจนเกินไป

การสอบสัมภาษณ์นั้นไม่มีหลักเกณฑ์แน่นอนตายตัวเพราะผลลัพธ์ที่ออกมา ขึ้นอยู่กับ เปิดติวออนไลน์และติวทางไปรษณีย์ รายละเอียดที่ www.งานราชการไทย.com

ความคิดแห็น และการตัดสินใจของผู้สัมภาษณ์แต่ละคน ดังนั้นผู้สมัครจำเป็นจะต้องมีความอดทนและพร้อมมทีจะยอมรับความผิดหวังใด ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น ดังนั้น ควรจะได้หันมาพิจารณาศึกษาข้อบกพร่อง ซึ่งอาจเกิดขึ้นในครั้งก่อน ๆ เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงตัวเอง เพื่อการเข้าสอบสัมภาษณ์ในคราวต่อไปให้ได้ผลดียิ่งขึ้น

12. เคล็ดลับสู่ความสำเร็จในการสัมภาษณ์ (โดยสรุป)

ตอบ 1. ตรงต่อเวลา หรือควรไปถึงสถานที่นัดหมายก่อนเวลานัดจริงประมาณ 30 นาที ถึง 1 ชั่วโมง

2. แต่งกายให้สะอาดสุภาพ สมฐานานุรูปและถูกกาลเทศะ

3. วางตัวสุภาพเรียบร้อยเป็นธรรมชาติ

4. ก่อนเข้าห้องสัมภาษณ์ควรเคาะประตูก่อนแล้วขออนุญาตเข้าไป เมือ พบหน้าผู้สัมภาษณ์

ควรยกมือไหว้ทักทายกล่าวคำสวัสดีครับหรือสวัสดีค่ะ โดยไม่ต้องทราบก่อนว่าผู้สัมภาษณ์นั้นจะ

อ่อนหรือแก่กว่าเราหรือไม่ และจะนั่งได้ก็ต่อเมื่อผู้สัมภาษณ์กล่าวเชิญแล้วเท่านั้น หลังจากนั้นควรแนะนำ

ตัวเองว่า ชื่ออะไร เพื่อเป็นการสร้างบรรยากาศที่เป็นกันเอง

5. ตั้งใจฟังคำถามหรือข้อซักถามอย่างระมัดระวั งแตไม่ต้องเกร็ง

6. หยุดคิดสักครู่ก่อนตอบคำถาม (เมื่อมั่นใจว่าเข้าใจคำถามอย่างแท้จริง) และต้องตอบให้ชัดเจนที่สุด

7. ยกเว้นการพูดโจมตีหรือพาดพิงบุคคลที่สาม

8. ควรควบคุมอารมณ์ตนเอง พยายามอดกลั้นไม่ควรแสดงกิริยาโต้ตอบ

9.สบตาพูดกับผู้สัมภาษณ์ เพราะการก้มหน้าพูดคล้ายเป็นการซ่อนเร้นอะไรบางอย่าง และแสดงถึงความเป็นคนไม่เปิดเผยจริงใจ

10.เมื่อการสัมภษณ์สร็จสิ้น ผู้สัมภาษณ์อาจจะให้กล่าวอะไรบางอย่างที่จะเป็นประโยชน์

กับผู้สมัครเองสิ่งที่ควรจะกล่าวคือผู้สมัครมีความตั้งใจที่จะมาทำงานกับหน่วยงาน หรือหน่วยงานแห่งนี้ อย่างไร

ครับก็อย่างที่พูดไว้ ในตอนที่แล้วว่า ในตอนนี้เราจะได้พูดถึงเรื่องการสอบสัมภาษณ์งาน แต่ก่อนอื่นเราก็ต้องทราบความหมายและวิธีการเสียก่อนดังนี้ครับ การสอบสัมภาษณ์งาน (Job Interview) กระบวนการสุดท้าย ของการสมัครงาน ก็คือ การสอบสัมภาษณ์ หรือ "interview" ดังนั้น จึงอาจกล่าว ได้ว่าการสอบสัมภาษณ์ ถือเป็นกุญแจสำคัญ ในอันที่จะก้าวไปสู่ความสำเร็จ ของการสมัครงาน และในที่นี้ผู้เขียนได้รวบรวมคำถามและคำตอบ ที่พบเห็นอยู่บ่อยๆ ตามสากลนิยม และครอบคลุมหน่วยงานทุกสาขาวิชา ซึ่งโดยมากก็จะยึดคำถาม และคำตอบเหล่านี้เป็นหลัก

คำนิยามของคำว่า "สัมภาษณ์" (Definition of interview)

คำว่า "interview" สืบความหมายมาจาก คำว่า "sight between" หรือ "view between" ดังนั้นคำว่า "interview" จึงมีความหมายว่า การพบกันระหว่างบุคคล 2 คน (หรืออาจมากกว่านี้ ในกรณีสัมภาษณ์หมู่) กล่าวคือระหว่างผู้สัมภาษณ์ (interviewer) และผู้ถูกสัมภาษณ์ (intervicwee) เพื่อเรียนรู้ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน อันจะเป็นประโยชน์แก่ทั้งผู้รับ (employer)และผู้สมัคร (candidate) หรือ (job applicant) จุดมุ่งหมายของการสัมภาษณ์งาน (Purpose of the job interview) ถ้าผู้สมัครต้องการสอบสัมภาษณ์ให้ได้ดี ก็จำเป็นที่จะต้องเข้าใจ จุดมุ่งหมายของการสอบสัมภาษณ์ อย่าคิดแต่เพียงว่าการสอบสัมภาษณ์ คือการที่เราต้องไปนั่งตอบคำถามยากๆ ที่เกี่ยวกับตัวเราเองเท่านั้น ในทางตรงกันข้าม เราควรคิดว่าการสอบสัมภาษณ์ ก็คือการที่เราได้มีโอกาสได้แลกเปลี่ยน ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ แก่ผู้ที่อาจจะเป็นเจ้านายของเราในอนาคต กล่าวง่ายๆ การสอบสัมภาษณ์งาน ก็คือการที่เราได้มีโอกาสพูดคุย เพื่อโฆษณาขายตัวเองให้หน่วยงาน (To sell yourself to the company) นั่นเอง และที่สำคัญ การสอบสัมภาษณ์มีประโยชน์ดังนี้ คือ

1. เพื่อตรวจสอบคุณสมบัติ และความเหมาะสมกับงานของผู้สมัคร (To judge the applicant's qualifications and suitability for the job.)

2. เพื่อให้ข้อมูลแก่ผู้สมัคร ซึ่งจะเป็นประโยชน์ ต่อการตัดสินใจของเขา ก่อนการรับข้อเสนอเข้าทำงาน (To provide the applicant with the information he needs to decide about the job.)

3. เพื่อทดสอบดูว่า ท่านมีความสนใจงาน ที่สมัครจริงหรือไม่ และนโยบายของหน่วยงาน พร้อมทั้งโอกาส ที่จะได้เลื่อนตำแหน่ง เป็นที่สนใจของท่านจริงหรือไม่ (To find out if you will like the job you are applied for, whether the company's policies and prospects for promotion re attractive ehough for you to want the job.)