สาขาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม คือ

หลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิต

PRODUCTION TECHNOLOGY

หลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิต

มุ่งเน้นให้นักศึกษาได้มีความรู้พื้นฐานทางวิยาศาสตร์และการจัดการที่เกี่ยวข้องกับระบบการดำเนินงานของอุตสาหกรรมการผลิตอันประกอบด้วยกระบวนการผลิต การจัดการการตลาด ระบบประเมินคุณภาพและการออกแบบการควบคุม

ปรัชญา

มุ่งเน้นผลิตบัณฑิตให้มีความรู้และทักษะในด้านกระบวนการผลิต การออกแบบ การวางแผนและควบคุม และเทคโนโลยีการจัดการ อุตสาหกรรมเพื่อรองรับความเจริญเติบโตและแก้ปัญหาภาคการผลิตของอุตสาหกรรมในประเทศและภูมิภาคอาเซียน นอกจากนี้ยังมุ่งเน้นการพัฒนาประสบการณ์การเรียนรู้รวมทั้งการฝึกปฏิบัติด้านการวิจัยและการบริการวิชาการที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีการผลิต เพื่อสร้างบัณฑิตให้มีความพร้อมในการทำงาน การแก้ปัญหาและการพัฒนาความรู้ในสาขาวิชา พร้อมด้วยคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณในวิชาชีพ รวมทั้งมีความเข้าใจในสถานการณ์ของโลกและสังคมที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา นอกจากนี้หลักสูตรนี้ได้ก่อตั้งขึ้นเพื่อบูรณาการและเผยแพร่องค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีการผลิต รวมทั้งสร้างโอกาสในการพัฒนาการวิจัยทั้งในด้านสาขาวิชาและด้านการศึกษา.

สาขาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม คือ

วัตถุประสงค์เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณสมบัติดังนี้

1. มีความรู้และความสามารถในการปฏิบัติงานด้านสาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิต
2. มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์แยกแยะและริเริ่มสร้างสรรค์ สามารถประยุกต์ใช้ทฤษฎีและหลักการ
ความรู้ในการแก้ปัญหาการทำงานจริงได้อย่างเหมาะสม
3. มีทักษะความสามารถด้านการวิเคราะห์วิจัย และพัฒนาองค์ความรู้
4. มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณทางวิชาชีพ รวมทั้งมีทัศนคติที่ดีต่อสังคม การทำงานและการใช้
ชีวิตในอนาคต
5. มีความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร การศึกษาเรียนรู้ และปฏิบัติงานได้
6. มีความเป็นผู้นำและผู้ร่วมงานที่ดี ใฝ่เรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเองและวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง

สาขาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม คือ

โครงสร้างหลักสูตร

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร
139 หน่วยกิต
โครงสร้างหลักสูตร

สาขาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม คือ

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังจบการศึกษา

บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรเป็นผู้มีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานได้ทั้งในหน่วยงานภาครัฐ ภาคอุตสาหกรรม-เอกชน การประกอบวิชาชีพอิสระ รวมถึงการมีธุรกิจส่วนตัวในสาขาวิชาที่เรียนมา โดยสามารถปฏิบัติงานได้หลากหลาย เช่น งานปรับปรุงประสิทธิภาพสายการผลิต งานควบคุมคุณภาพ งานควบคุมการผลิต งานการตลาด งานจัดการโลจิสติกส์ เจ้าหน้าที่ฝ่ายขาย เจ้าหน้าที่ฝ่ายวางแผนการผลิต เจ้าหน้าที่ฝ่ายวิเคราะห์ต้นทุน เจ้าหน้าที่ฝ่ายจัดซื้อ ที่ปรึกษาด้านระบบการผลิตในโรงงาน ภาครัฐและรัฐวิสาหกิจ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ศูนย์เพิ่มผลผลิตแห่งประเทศไทย กรมโรงงานอุตสาหกรรม สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม และอาจารย์ในสถาบันการศึกษา

มุ่งเน้นผลิตบัณฑิตให้มีความรู้และทักษะในด้านกระบวนการผลิต การออกแบบ การวางแผนและควบคุม และเทคโนโลยีการจัดการ อุตสาหกรรมเพื่อรองรับความเจริญเติบโตและแก้ปัญหาภาคการผลิตของอุตสาหกรรมในประเทศและภูมิภาคอาเซียน

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ตั้งขึ้นตามประกาศของสภามหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2551 โดยการโอนย้ายศาสตร์ สาขาวิชา และคณาจารย์ทางด้านวิทยาศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ประยุกต์ จากคณะเทคโนโลยี และการจัดการ และคณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มารวมกันภายใต้คณะใหม่ เพื่อให้เกิดการบูรณาการองค์ความรู้ และการใช้ทรัพยากรบุคคลร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มีวิสัยทัศน์ คือ เป็นคณะชั้นนำของประเทศไทยที่ผลิตบัณฑิต งานวิจัย และนวัตกรรมทางด้านวิทยาศาสตร์ประยุกต์และเทคโนโลยี โดยเน้นองค์ความรู้ที่ตอบสนองต่อความต้องการของตลาดแรงงาน ทั้งภาคธุรกิจ ภาคการเกษตร และภาคอุตสาหกรรมในระดับภูมิภาคและระดับประเทศ นอกจากนี้ ยังมีภารกิจในการถ่ายทอดองค์ความรู้ที่เป็นศาสตร์ของคณะ หรือองค์ความรู้ที่ได้จากงานวิจัยให้แก่ท้องถิ่นและสังคม ผ่านกระบวนการให้บริการวิชาการ รูปแบบต่าง ๆ

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มีพันธกิจหลัก ดังนี้

  1. ผลิตบัณฑิตด้านวิทยาศาสตร์ประยุกต์ และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ที่มีสมรรถนะสากล มีคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณทางวิชาชีพ และมีความสุข
  2. ผลิตงานวิจัยและนวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชน
  3. บริการวิชาการที่ตอบสนองต่อความต้องการของชุมชน 4. ส่งเสริมและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

ข้อมูลคณะ

  1. หลักสูตรของคณะ เป็นหลักสูตรที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานภาคธุรกิจ ภาคเกษตร และภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมหลักของภูมิภาค เช่น อุตสาหกรรมยาง ปาล์ม อุตสาหกรรมอาหารและอาหารแปรรูป อุตสาหกรรมเกษตรอื่น และมีการปรับปรุงหลักสูตรให้มีความทันสมัย สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว
  2. หลักสูตรทุกหลักสูตร จะเน้นให้บัณฑิตมีความรู้ทั้งทางทฤษฎี และทักษะการปฎิบัติงานจริง โดยผ่านกระบวนการเรียนการสอนรูปแบบต่างๆ เช่น งานสหกิจศึกษา การฝึกงานในสถานประกอบการ การทำโครงงานนักศึกษา นักศึกษาบางส่วนจะได้รับการสนับสนุนให้ไปศึกษา ดูงาน หรือการฝึกงานในต่างประเทศ
  3. นักศึกษาทุกหลักสูตร จะได้รับการพัฒนาทักษะทางการบริหารจัดการ การใช้ภาษาต่างประเทศ การใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้เป็นบัณฑิตที่มีสมรรถนะสากล
  4. คณาจารย์มีคุณวุฒิที่หลากหลาย ครอบคลุมทั้งวิทยาศาสตร์พื้นฐาน และวิทยาศาสตร์ประยุกต์ด้านต่างๆ อันจะเป็นจุดเด่นในการดำเนินงานตามพันธกิจ ทั้งการสร้างการปรับปรุงรายวิชา หรือหลักสูตรใหม่ และการทำวิจัย ซึ่งในปัจจุบันมักจะต้องใช้องค์ความรู้หลากหลายด้านบูรณาการเข้าด้วยกัน
  5. สัดส่วนของอาจารย์ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญาเอกที่สูงถึง 50% ของอาจารย์ทั้งหมด จึงทำให้มีทรัพยากรบุคคลที่มีความพร้อมต่อการทำงานตามภารกิจโดยเฉพาะการพัฒนาหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา และการสร้างงานวิจัย

จุดเด่นของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สามารถสรุปเป็นประเด็นสั้น ๆ ดังต่อไปนี้

  • หลักสูตร สอดคล้องกับตลาดแรงงาน และมีการปรับปรุงให้ทันสมัยอย่างสม่ำเสมอ
  • การเรียนการสอน เน้นทั้งทางทฤษฎี และการทักษะในการปฎิบัติผ่าน กระบวนการ ฝึกงาน สหกิจศึกษา และโครงงานนักศึกษา
  • สร้างให้บัณฑิตที่มีสมรรถนะสากลและมีความพร้อมในการเป็นประชากรโลก
  • คณาจารย์มีคุณวุฒิหลากหลาย และมีผู้จบการศึกษาระดับปริญญาเอกในสัดส่วนที่สูง

หลักสูตรที่เปิดสอน

ระดับปริญญาตรี

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต

  • สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564
  • สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรมวัสดุ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564
  • สาขาวิชาเคมีเพื่ออุตสาหกรรม หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564
  • สาขาวิชาสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต

  • สาขาวิชาการจัดการงานวิศวกรรม หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562

ระดับบัณฑิตศึกษา

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

  • สาขาวิชาเทคโนโลยียาง หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562
  • สาขาวิชาเคมีประยุกต์ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564
  • สาขาวิชาคณิตศาสตร์ประยุกต์และวิทยาการคำนวณ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต

  • สาขาวิชาเทคโนโลยียาง หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562

คณะ เทคโนโลยีอุตสาหกรรม สาขาอะไรบ้าง

คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สาขาต่างๆ.
สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม.
สาขาวิชาวิศวกรรมการจัดการอุตสาหกรรม.
สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกลยานยนต์.
สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า.
สาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์.

เทคโนโลยีอุตสาหกรรม เรียนกี่ปี

: ทล.บ. (เทคโนโลยีอุตสาหกรรม) : Bachelor of Technology(Industrial Technology) : B.Tech. (Industrial Technology) เวลาเรียน ตลอดหลักสูตร 2 ปี จำนวน 73 หน่วยกิต

เทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรม ทํางานอะไร

การเรียนในสาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรม เราจะได้เรียนในวิชาต่างๆ ที่จะเน้นไปที่การจัดการในอุตสาหกรรมอย่างที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น ทำให้เราสามารถเข้าทำงานในตำแหน่งที่หลากหลายในภาคอุตสาหกรรมอีกด้วย อาทิ เช่น วิชาการควบคุมคุณภาพ (QC) เราก็สามารถเข้าทำงานในฝ่ายตรวจสอบ ควบคุมคุณภาพ และประกันคุณภาพของสินค้าได้ , วิชาการวางแผนและ ...

สาขาวิชาเทคโนโลยีไฟฟ้าอุตสาหกรรมเรียนอะไรบ้าง

เรียนเกี่ยวกับอะไรบ้าง การเขียนแบบไฟฟ้า, คณิตศาสตร์วิศวกรรมไฟฟ้า,วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์, การติดตั้งระบบไฟฟ้าภายในและภายนอกอาคาร,การวัดและเครื่องมือวัดทางไฟฟ้า, การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เบื้องต้นในงานอุตสาหกรรม, ปฏิบัติการวงจรไฟฟ้า, เครื่องกลไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์กำลัง, วงจรดิจิทัลและการออกแบบวงจรลอจิก เป็นต้น