การก่อหนี้สาธารณะ

หนี้สาธารณะของไทย 2564 ส่วนใหญ่เป็น “หนี้ในประเทศ” อยู่ในรูปสกุลเงินบาท คิดเป็น 98.2% ถ้าเทียบกับวิกฤตต้มยำกุ้ง 2540 ที่ไทยเป็นหนี้นอกประเทศ คิดเป็น 90.25% ถือว่าตอนนี้ “เสี่ยงต่ำ” กว่า
  • หนี้สาธารณะต่อ GDP ปี 2564 ของหลายประเทศ ลดลงได้เป็นเพราะ การควบคุมโรคระบาดที่มีประสิทธิภาพ  ส่งผลให้สามารถกลับมาดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้ใกล้เคียงเดิมมากที่สุด ซึ่งทำให้ GDP เพิ่มขึ้น และสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ลดลงในที่สุด 
  • ส่วนตัวพี่ทุยคิดว่าถ้าหากเกิดกรณีเลวร้ายที่สุดคือหนี้ที่สร้างเพิ่มขึ้นมา ไม่สามารถสร้างรายได้ในภาพรวมของประเทศได้ ผลจะกลับมาที่ “ภาษี” ที่โดนเรียกเก็บมากขึ้น การวางแผนภาษีเพื่อให้เราจ่ายภาษีน้อยลงอย่างถูกต้องก็จะเป็นเรื่องที่เราจะใส่ใจกันมากขึ้น

  • รูปบน ของ desktop
    รูปล่าง ของ mobile

    การก่อหนี้สาธารณะ

    การก่อหนี้สาธารณะ

    “หนี้สาธารณะ” คนไทยน่าจะได้ยินคำนี้บ่อย ๆ ในปี 2564 และข่าวส่วนใหญ่ก็ออกมาในทางว่า เราจะเป็นหนี้กันเพิ่มขึ้น คำว่า “หนี้” ฟังอย่างไรก็รู้สึกไม่ค่อยสบายใจ วันนี้พี่ทุยเลยจะมาไขข้อข้องใจเกี่ยวกับคำคำนี้

    ประเทศหนึ่ง ๆ เปรียบเสมือนครัวเรือนหลังใหญ่ เมื่อประเทศเผชิญกับ “โควิด-19” ที่กินเวลายาวนาน คนในประเทศไม่มีรายได้จากการที่หลายธุรกิจต้องหยุดชะงักเป็นการชั่วคราว รายได้จากรัฐที่ส่วนใหญ่มาจาการเก็บภาษีก็ลดต่ำลงไป

    รัฐจึงต้องไปกู้เงินมา เพื่อให้เงินกู้บวกกับรายได้ของรัฐ แล้วได้สิ่งที่เราเรียกว่า “รายรับของรัฐ” สามารถครอบคลุมรายจ่ายทั้งหมดได้ ไม่ว่าจะเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ สาธารณสุข โครงสร้างพื้นฐาน และการเยียวยาไปยังภาคประชาชน ซึ่งการกู้นั้น ทำให้เกิด “หนี้สาธารณะ” (Public Debt)

    “หนี้สาธารณะ” ไทยตอนนี้มีเท่าไหร่ แล้วใครเป็นเจ้าหนี้

    หนี้สาธารณะของไทย ข้อมูลเดือน ก.ย. 2564 พบว่ามีหนี้สาธารณะรวมทั้งหมด 9.3 ล้านล้านบาท  แบ่งเป็นหนี้ในประเทศ 9.16 ล้านล้านบาท คิดเป็น 98.2% ซึ่งส่วนใหญ่เป็น “หนี้ในรูปสกุลเงินบาท” ถือว่าเป็นเรื่องที่ดีเพราะการบริหารจัดการเงินบาททำได้ง่ายกว่าสกุลเงินต่างประเทศมาก อีกทั้งส่วนใหญ่หนี้สาธารณะเป็นหนี้ระยะยาว มีอายุเฉลี่ยประมาณ 9 ปี ซึ่งเป็นเวลามากพอที่จะหาเงินมาจ่ายหนี้ได้ 

    และหนี้นอกประเทศ 0.16 ล้านล้านบาท คิดเป็น 1.8% ซึ่งถือว่าสัดส่วนหนี้นอกประเทศอยู่ในระดับที่เสี่ยงต่ำ ถ้าเทียบกับวิกฤตต้มยำกุ้ง 2540 ที่ไทยเป็นหนี้นอกประเทศ คิดเป็น 90.25% และหนี้ในประเทศ 9.75% แล้วนั้นถือว่าแตกต่างกันมาก เนื่องจากใน “ปัจจุบันเราสามารถกำหนดทิศทางนโยบายต่าง ๆ ได้เอง” โดยไม่มี IMF เข้ามาควบคุมแบบในอดีต 

    ในปัจจุบันนั้นแหล่งเงินกู้โดยส่วนใหญ่ก็มาจากสถาบันการเงินภายในประเทศ หรือ “การออกพันธบัตรรัฐบาล” ที่ออกโดยธนาคารกรุงไทย ที่คนแห่กันไปซื้อหมดภายในไม่กี่นาทีหลังจากการเปิดขายนั้นแหละ บางทีพี่ทุยก็คิดว่าเราอาจจะเป็นเจ้าหนี้ตัวเองโดยไม่รู้ตัวก็ได้ 

    สถานการณ์ประเทศอื่นเป็นอย่างไร

    การก่อหนี้สาธารณะ

    หากเราเทียบแค่กับไทยเองอาจจะไม่เห็นภาพมากนัก ดังนั้น ส่วนใหญ่จึงนิยมนำไปเปรียบเทียบหนี้สาธารณะต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือ GDP กับประเทศอื่น โดยในปี 2563 และ 2564 ทั้งประเทศที่พัฒนาแล้ว และประเทศที่กำลังพัฒนา พบว่าทุกประเทศมีหนี้สาธารณะต่อ GDP เพิ่มขึ้นทุกประเทศในปี 2563 

    แต่กลับพบว่า ในปี 2564 ส่วนใหญ่หลายประเทศมี “หนี้สาธารณะต่อ GDP ที่มีแนวโน้มลดลง” ทั้ง ๆ ที่ยังมีการ “ก่อหนี้เพิ่มขึ้น” ในปี 2564

    การก่อหนี้สาธารณะ

    นั่นก็เป็นเพราะประเทศต่าง ๆ เหล่านั้นมี GDP ที่เพิ่มขึ้นจากการ “กลับมาดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ” ได้ใกล้เคียงเดิมมากที่สุด เนื่องจากการควบคุมโรคระบาดที่มีประสิทธิภาพ 

    รวมไปถึงมีความสามารถในการนำเงินกู้ไปใช้ให้เกิดประสิทธิภาพรอบด้าน ทั้งการควบคุมโรค การจัดหาและการกระจายวัคซีนอย่างทั่วถึง การกระตุ้นเศรษฐกิจ และการเยียวยาภาคการผลิตให้กลับมาดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้ทันกับความต้องการบริโภคที่เริ่มทยอยกลับมา 

    ซึ่งเป็นส่วนไปช่วยกระตุ้นให้มูลค่า GDP กลับมาเติบโตได้อีกครั้งเมื่อเทียบกับปี 2563 จะเห็นได้จากการประเมินอัตราการเติบโตของ IMF ที่คาดการณ์ว่าประเทศส่วนใหญ่ในปี 2564 จะมีอัตราการเปลี่ยนแปลงของ GDP ที่เป็น “บวกหรือเติบโตขึ้น” ก็ทำให้ “สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP นั้นลดลงได้” และอยู่ในกรอบที่กฎหมายกำหนดได้โดยไม่จำเป็นต้องขยายเพดานหนี้บ่อยครั้ง (ทำไมไทยต้องขยายเพดานหนี้สาธารณะเป็น 70% ? อ่านที่นี่)

    การก่อหนี้สาธารณะ

    แต่หากมาลองพิจารณาเหตุผลของการขยายเพดานหนี้สาธารณะรอบนี้ของไทย เป็นเพราะสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ของไทยปัจจุบันอยู่ที่ 55.6% ซึ่งหากกู้เงินครบเต็มจำนวนจากส่วนที่เหลือของ พ.ร.ก.กู้เงิน ปีงบประมาณ 2564 ทั้ง 2 รอบวงเงิน 1.5 ล้านล้านบาท จะทำให้สัดส่วนนี้เพิ่มขึ้นแตะเพดานที่ตั้งไว้ของรัฐบาลที่ 60% ต่อ GDP

    อีกทั้งทางกระทรวงการคลังยังคาดการณ์ว่าสิ้นปีงบประมาณ 2565 จะมีหนี้สาธารณะต่อ GDP สูงถึง 62% รัฐบาลไทยจึงได้ขยายกรอบเพดานสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP จากเดิมไม่เกิน 60% เป็น 70% ซึ่งเป็นการขยายแบบชั่วคราว โดยมีเงื่อนไขว่าต้องกลับมาต่ำกว่า 60% ต่อ GDP ภายใน 10 ปี โดยที่เศรษฐกิจไทยต้องเติบโตปีละ 3-5%

    แล้วจะเป็นอย่างไรเมื่อรัฐบาลสร้าง “หนี้สาธารณะ” เพิ่ม

    ถ้ามองกันตามความเป็นจริงแล้วการสร้าง “หนี้สาธารณะ” เพิ่มเติม ไม่ได้เป็นเรื่องน่ากังวลมากนัก เนื่องจากเป็นหนี้ระยะยาวมีเวลาในการทยอยชำระหนี้ แต่สิ่งที่น่ากังวลก็คือเงินที่กู้มาถูกนำไปใช้กับอะไรมากกว่า 

    ถ้ากู้มาเพื่อบริโภคระยะสั้น ไม่ก่อให้เกิดรายได้ในอนาคตเลย แบบนี้ค่อนข้างอันตรายมาก แต่ถ้ากู้มาลงทุนสร้างโครงการต่าง ๆ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ แล้วคาดว่าจะมีมีผลตอบแทนทั้งในรูปตัวเงินและไม่ใช่ตัวเงินกลับมาเพื่อให้ระบบเศรษฐกิจเดินต่อได้แบบนี้ถือว่าเป็นการสร้างหนี้สาธารณะที่ดี 

    การสร้างหนี้อย่างมีประสิทธิภาพ จะทำให้ในอนาคตประชาชนมีรายได้มากขึ้น ในภาพรวมประเทศจะมีรายได้เพิ่มขึ้น ก็จะยิ่งทำให้สามารถเก็บภาษีได้เพิ่มขึ้น ก็จะมีเงินจ่ายคืนทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยที่กู้ยืมมาได้อย่างไม่มีปัญหานั่นเอง

    ซึ่งจะเห็นได้ว่าปัญหาไม่ใช้การสร้างหนี้สาธารณะเพิ่ม แต่สิ่งสำคัญคือ เอาเงินที่ถูกกู้เพิ่มไปใช้อย่างไรต่างหาก ที่เราทุกคนต้องจับตามองเป็นหูเป็นตากันให้ดี 

    ซึ่งคำว่าการสร้างหนี้อย่างประสิทธิภาพ อาจจะมีทั้งระยะสั้นที่แก้ปัญหาเฉพาะหน้าอย่าง  การนำมาเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ผู้ประกอบการต่าง ๆ การจัดซื้อวัคซีนเพื่อให้ทุกคนได้เข้าถึงวัคซีนที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด เพื่อให้ประเทศกลับมาดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้

    รวมไปถึงการแก้ปัญหาระยะยาว เช่น การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคม ส่งเสริมความสามารถของเศรษฐกิจไทยในอนาคต ก่อให้เกิดการจ้างงานและรายได้ เพื่อให้ประชาชนมีรายได้อย่างสม่ำเสมอ 

    รัฐเอาเงินที่ไหนมาใช้หนี้

    คำตอบง่าย ๆ ที่พี่ทุยเชื่อว่าทุกคนรู้กันอยู่อย่างแน่นอนก็คือ “ภาษี” ซึ่งภาษีที่เราถูกเรียกเก็บกันอยู่ทุกวันก็จะมีทั้งภาษีทางตรงอย่าง “ภาษีเงินได้ (Income Tax)” และภาษีทางอ้อมอย่าง “ภาษีมูลค่าเพิ่ม” (Value Added Tax)

    แน่นอนว่าตามหลักการแล้วถ้าหากการก่อหนี้เพิ่ม ช่วยทำให้รายได้ทุกคนในประเทศเพิ่มขึ้น เราก็จะเสียภาษีเงินได้เพิ่มโดยอัตโนมัติ รวมถึงภาษีทางอ้อม ก็เพิ่มจากการจับจ่ายใช้สอยที่มากขึ้นด้วย แต่หากการก่อหนี้นั้นไม่ก่อให้เกิดรายได้มากขึ้น รายได้เข้ารัฐไม่เพิ่ม เราก็จะเห็นรัฐเรียกเก็บภาษีในอัตราที่เพิ่มขึ้น รวมไปจนถึงเรียกเก็บภาษีจากฐานภาษีใหม่ ๆ เพิ่มเติม 

    เราควรเตรียมรับมือทางการเงินอย่างไร ?

    ส่วนตัวพี่ทุยคิดว่าถ้าหากเกิดกรณีเลวร้ายที่สุดคือหนี้ที่สร้างเพิ่มขึ้นมา ไม่สามารถสร้างรายได้ในภาพรวมของประเทศได้ ผลจะกลับมาที่ “ภาษี” ที่โดนเรียกเก็บมากขึ้น การวางแผนภาษีเพื่อให้เราจ่ายภาษีน้อยลงอย่างถูกต้องก็จะเป็นเรื่องที่เราจะใส่ใจกันมากขึ้น

    เราก็จะต้องศึกษาเงื่อนไขภาษีต่าง ๆ ว่ามีช่องทางในการลดหย่อนภาษีอย่างไรบ้าง การจัดตั้งบริษัทหรือเป็นนิติบุคคลจะช่วยทำให้เราลดหย่อนภาษีได้หรือไม่ พี่ทุยว่าน่าจะเป็นทางออกสำหรับการจัดการเรื่องภาษีทีอาจจะถูกเรียกเก็บมากขึ้นได้ดีที่สุด 

    การก่อหนี้สาธารณะ มีอะไรบ้าง

    หลักการจัดการการก่อหนี้สาธารณะ 1. การให้ได้เงินกู้ครบถ้วนตามวงเงินที่ก าหนด 2. การประหยัดค่าใช้จ่ายและได้อัตราดอกเบี้ยต ่าสุด 3. การให้ได้การกระจายของภาระหนี้ที่สม ่าเสมอ 4. การให้สอดคล้องกับสถานการณ์ทางการเงินของประเทศ 5. การรักษาตลาดของหลักทรัพย์รัฐบาลให้คงอยู่ในความสนใจ หรือเป็นที่นิยมของตลาด 6. การกระจายเงินกู้

    การก่อหนี้สาธารณะของรัฐบาลมีวัตถุประสงค์เพื่ออะไร

    วัตถุประสงค์ในการก่อหนี้สาธารณะ ตามพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 ได้กำหนดให้กระทรงการคลังกู้เงินได้เฉพาะเพื่อวัตถุประสงค์อย่าง ใดอย่างหนึ่ง ได้แก่ 1. (1) ชดเชยการขาดดุลงบประมาณ หรือเมื่อมีรายจ่ายสูงกว่ารายได้ (2) พัฒนาเศรษฐกิจและสังคม (3) ปรับโครงสร้างหนี้สาธารณะ

    ใครเป็นผู้ก่อหนี้สาธารณะ

    หนี้สาธารณะ (อังกฤษ: Public debt) หรือ หนี้ของรัฐบาล (อังกฤษ: Government debt) คือหนี้ที่ถือโดยรัฐบาลกลาง, หน่วยการปกครองส่วนท้องถิ่น, องค์กรของรัฐ รวมไปถึง รัฐวิสาหกิจ ตลอดจนการค้ำประกันหนี้สินโดยรัฐบาล ซึ่งการเกิดขึ้นของหนี้สาธารณะส่วนใหญ่ของรัฐบาลทั่วโลก มาจากการดำเนินนโยบายของรัฐแบบขาดดุล หรือก็คือรายได้ของรัฐน้อย ...

    การก่อหนี้สาธารณะจะมีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจอย่างไร

    การก่อหนี้สาธารณะจะส่งผลกระทบต่อตัวแปรต่างๆทางเศรษฐกิจได้ หนึ่งในนั้นคือการ เปลี่ยนแปลงปริมาณเงินภายในระบบเศรษฐกิจซึ่งจะส่งผลให้ระดับอัตราดอกเบี้ยเปลี่ยนแปลง ไป และการที่อัตราดอกเบี้ยเปลี่ยนแปลงนั้นย่อมจะกระทบต่อเนื่องกับระบบเศรษฐกิจ อาทิ การลงทุนภาคเอกชนภายในประเทศ ซึ่งหากรัฐบาลดําเนินนโยบายก่อหนี้สาธารณะ ภายในประเทศ ...