ราชบัณฑิตยสถาน ศัพท์บัญญัติ

ศัพท์แพทยศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสภาที่เผยแพร่นี้มีจุดประสงค์เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน...

Posted by สำนักงานราชบัณฑิตยสภา on Thursday, May 7, 2020

เวลามีคำศัพท์ใหม่ๆ เกิดขึ้นมาในโลกหล้า แล้วยังไม่มีคำศัพท์นั้นในภาษาไทย ก็จะเป็นหน้าที่ของหน่วยงานที่เรียกว่า ราชบัณฑิตยสภา ครับ แล้วในสังคมโลกยุคโซเชียลมีเดีย เวลาที่มีศัพท์ใหม่ๆ ออกมา แล้วราชบัณฑิตยสภาเขามีการบัญญัติคำศัพท์ภาษาไทยขึ้นมาแปลกๆ มันก็จะมีการเก็บเอามาแซะเอามาแซวกัน และเมื่อเร็วๆ นี้ก็เช่นกัน เมื่อราชบัณฑิตยสภาเขาบัญญัติคำว่า Metaverse ว่าสามารถเขียนเป็นทับศัพท์ เมตาเวิร์ส ก็ได้ หรือจะใช้คำภาษาไทยว่า จักรวาลนฤมิต ก็ได้เช่นกัน ก็มีคนแซวมากๆ เพราะชื่อภาษาไทยมันดูลิเกเอาเรื่องเลยครับ และก็มีสื่อบางแห่งที่ไปรวบรวมเอาคำศัพท์มากมายที่ว่ากันว่าบัญญัติโดยราชบัณฑิตยสภาแล้วมันฟังยากๆ ทั้งๆ ที่มีความหมายที่ง่ายกว่าในภาษาไทยเยอะมาก เอามาโพสต์ แล้วคนก็แห่แชร์กันเยอะมาก แต่ปรากฏว่าความจริงมันมีอะไรที่ลึกลับซับซ้อนมากกว่านั้น ผมเลยไปไล่หาข้อมูลมาเพิ่ม เพื่อให้สร้างความเข้าใจเรื่องการบัญญัติคำศัพท์ของราชบัณฑิตยสภากันมากขึ้นนะครับ

ราชบัณทิตยสถาน vs ราชบัณฑิตยสภา

เราจะได้ยินชื่อสองชื่อนี้สลับๆ กันในไม่กี่ปีมานี้ ประวัติของหน่วยงานนี้ อ้างอิงจากเว็บไซต์ของราชบัณฑิตยสภา เริ่มต้นเมื่อวันที่ 19 พ.ศ. เมษายน 2469 เมื่อรัชกาลที่ 7 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ประกาศให้จัดตั้ง “ราชบัณฑิตยสภา” ขึ้น ภายหลังในปี 2476 สภาผู้แทนราษฎรได้ถวายคำปรึกษาแด่รัชกาลที่ 7 ว่าสมควรมีการจัดตั้งราชบัณฑิตยสถาน ทำหน้าที่ค้นคว้านำความรู้มาเผยแพร่แก่ประชาชนและสร้างตำรับตำราให้แพร่หลาย ก็เลยกลายมาเป็นพระราชบัญญัติว่าด้วยราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2476 และยกเลิกประกาศตั้งราชบัณฑิตยสภา ฉบับลงวันที่ 19 เมษายน 2469 ไป

ราชบัณฑิตยสถาน ศัพท์บัญญัติ
ราชบัณฑิตยสถาน ศัพท์บัญญัติ
ที่มา: Wikipedia

เราก็จะได้ยินชื่อของราชบัณฑิตยสถานเรื่อยมาจากสื่อต่างๆ รวมถึงพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานที่เห็นในรูปด้านบนครับ แต่พอมาถึง พ.ศ. 2556 ราชบัณฑิตยสภาโดยสภาราชบัณฑิต ก็เห็นสมควรที่จะเปลี่ยนชื่อ ราชบัณฑิตยสถาน กลับมาเป็น ราชบัณฑิตยสภา ซึ่งเป็นชื่อดั้งเดิมสมัยรัชกาลที่ 7 เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติในโอกาส 120 ปี พระบรมราชสมภพ แล้วก็จะมีเรื่องการปรับปรุงอำนาจหน้าที่ ให้มีการจัดตั้งกองทุนสวัสดิการสมาชิกราชบัณฑิตยสภา และมีการกำหนดให้รายได้ที่ราชบัณฑิตยสภาได้รับจากการบริหารทางด้านวิชาการและการจัดอบรม สามารถนำไปใช้ได้ตามอำนาจหน้าที่ของสำนักงานราชบัณฑิตยสภา โดยไม่ต้องนำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน ในปี 2558 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 จึงได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ประกาศว่าเป็นการสมควรในการปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยราชบัณฑิตยสถาน แล้วชื่อของหน่วยงาน ราชบัณฑิตยสถาน ก็เลยกลายเป็น สำนักงานราชบัณฑิตยสภา และ สภาราชบัณฑิต ก็กลายเป็น ราชบัณฑิตยสภา ตั้งแต่วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2558 เป็นต้นมา

ชื่อของหน่วยงานเดิมคือ ราชบัณฑิตยสถาน The Royal Institute of Thailand โดยมีเว็บไซต์คือ http://www.royin.go.th ก็เปลี่ยนมาเป็น สำนักงานราชบัณฑิตยสภา Office of the Royal Society และเว็บไซต์ก็เปลี่ยน URL เป็น www.orst.go.th ครับ

การบัญญัติศัพท์โดยราชบัณฑิตยสภา

เวลามีคำศัพท์ใหม่ๆ เกิดขึ้นมาแล้วราชบัณฑิตยสภาจะบัญญัติศัพท์ขึ้นมา มันไม่ได้ทำกันได้ตามใจชอบนะครับ มันมีอะไรหลายๆ อย่างเกี่ยวข้องกันอยู่นะครับ ถ้าเอาเรื่องของกระบวนการ มันก็จะเป็นประมาณนี้ครับ

✏️ ต้องพิจารณาก่อนว่า คำศัพท์นั้นเป็นศัพท์ในศาสตร์แขนงใด

✏️ ราชบัณฑิตยสภาจะแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมา ซึ่งประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิในศาสตร์แขนงนั้นๆ จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมีการแต่งตั้ง 2 ลักษณะ คือ แต่งตั้งเป็นผู้แทนของหน่วยงาน (อยู่ที่ว่าหน่วยงานจะพิจารณาให้ใครเป็น) และ แต่งตั้งตัวบุคคลโดยตรง โดยมีเจ้าหน้าที่ของราชบัณฑิตยสภาทำหน้าที่เป็นฝ่ายเลขานุการ

✏️ คณะกรรมการก็จะมีการประชุมกัน เสนอคำศัพท์ที่สมควรบัญญัติขึ้นในภาษาไทย โดยอิงจากศัพท์ในภาษาอังกฤษเป็นหลัก คำศัพท์ก็อาจจะเริ่มนำไปทดลองหมุนเวียนใช้เป็นการภายในจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อน

✏️ พอผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการแล้ว ก็จะมีการเสนอให้คณะกรรมการบัญญัติศัพท์ภาษาไทยของราชบัณฑิตยสถานพิจารณาอีกเป็นครั้งสุดท้าย เมื่อผ่านแล้วก็จะตีพิมพ์เผยแพร่

✏️ ศัทพ์ที่เผยแพร่ไปแล้ว หากไม่ติดตลาด หรือมีผู้ท้วงติงว่าไม่ถูกต้องหรือไม่เหมาะสม ก็จะมีการนำมาพิจารณาแก้ไขกันใหม่

ฉะนั้น ถ้าสังเกตดีๆ จะเห็นว่า คำศัพท์คำเดียวอาจจะถูกบัญญัติได้หลายแบบ โดยขึ้นอยู่กับว่าคำศัพท์คำนั้นจะถูกนำไปใช้ในศาสตร์แขนงไหน และบ่อยครั้งที่เราก็จะเจอคำศัพท์ที่ไม่ได้รับการบัญญัติในภาษาไทยไว้ แต่ให้ใช้เป็นทับศัพท์ หรือบางทีก็มีทั้งศัพท์ที่บัญญัติไว้ และมีแบบทับศัพท์ให้เลือกด้วย (เช่น Computer จะใช้ว่า คณิตกรณ์ หรือ คอมพิวเตอร์ ก็ได้)

* อ้างอิงจากบทความ เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการบัญญัติศัพท์ ของ สมศีล ฌานวังศะ จากเว็บไซต์สถาบันภาษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ที่มาของศัพท์บัญญัติแปลกๆ ของราชบัณฑิตยสภาที่คนเขาแซะกัน

เคยเห็นโพสต์บนโลกโซเชียลที่แซะกันเรื่องคำศัพท์บัญญัติของราชบัณฑิตยสถาน หรือ ราชบัณฑิตยสภา (แล้วแต่ว่าโพสต์มันของปีไหน) เช่น Twitter คือ สำเนียงสกุณา Joystick คือ แท่งหรรษา หรือ Big data คือ ข้อมูลมหัต Category คือ ปทารถะ อะไรแบบนี้บ้างไหมครับ? เราเห็นแล้วขึ้นไหมล่ะ แทนที่จะเรียกทับศัพท์ไปเลย หรือแปลแบบง่าย ให้คนเข้าใจได้ โดยไม่ต้องแปลไทยเป็นไทยอีกรอบ ดันบัญญัติมาซะเวอร์วังอลังการ

แต่จริงๆ แล้ว เรื่องราวมันซับซ้อนซ่อนเงื่อนกว่านั้นเยอะครับ หลายคำที่ร่ำลือกันบนโซเชียลมีเดีย เช่น สำเนียงสกุณา (Twitter) แท่งหรรษา (Joystick) กระด้างภัณฑ์ (Hardware) อะไรพวกเนี้ย ราชบัณฑิตยสภาไม่เคยได้บัญญัติออกมาแบบนี้เลยครับ มันเป็นแค่มุกตลกโลกโซเชียลที่แชร์กันขำๆ แล้วคนแชร์ต่อๆ กันจนลืมที่มาที่แท้จริง และหลงเชื่อว่าเป็นการบัญญัติโดยราชบัณฑิตยสภาจริงๆ ไปซะงั้น

ซึ่งเรื่องนี้ รายการชัวร์ก่อนแชร์ ของ @yoware เคยทำคลิปอธิบายเอาไว้แล้ว เปิดดูกันได้ครับ แต่ถ้าไม่ดู เดี๋ยวผมเขียนอธิบายด้านล่างอยู่ดีแหละ 🤪🤪

นอกจากศัพท์บัญญัติที่ไม่ได้ถูกบัญญัติโดยราชบัณฑิตยสภาจริงๆ แล้ว อีกหลายๆ คำนั้น แม้จะถูกบัญญัติโดยราชบัณฑิตยสภาจริง แต่ก่อนที่จะแซะว่าบัญญัติมาได้แบบชนิดต้องแปลไทยเป็นไทย เราต้องย้อนกลับไปอ่านเรื่องกระบวนการในการบัญญัติคำศัพท์ที่ผมพูดถึงไปเมื่อกี้ก่อนนะครับ จะเห็นว่า คำศัพท์มันถูกบัญญัติสำหรับศาสตร์แขนงต่างๆ ด้วย

คำศัพท์หลายๆ คำ ราชบัณฑิตยสภามีการบัญญัติเป็นคำภาษาไทยและบาลี-สันสกฤตเอาไว้ ซึ่งอันที่เป็นบาลี-สันสกฤตก็มักจะเป็นคำที่เอาไว้ใช้กับแวดวงสาขาวิชาต่างๆ แต่พอคนมาเห็นคำศัพท์เวอร์ชันบาลี-สันสกฤต ก็เอามาล้อเลียน เอามาแซะ จนคนเข้าใจผิดกัน เช่น

📌 Intuition มีการบัญญัติเอาไว้ในสาขาวิทยาศาสตร์ว่า สหัชญาณ สาขาวิชาปรัชญาใช้คำว่า อัชฌัตติกญาณ และ การรู้เอง ส่วนภาษาศาสตร์ทั่วไป ใช้คำว่า การรู้เอง

📌 Category มีการบัญญัติเอาไว้สำหรับสาขาวิชาปรัชญาคือ ปทารถะ และ ประเภท ส่วนสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ สังคมวิทยา และภาษาศาสตร์ทั่วไป ใช้คำว่า ประเภท

คำศัพท์บางคำที่ราชบัณฑิตสภาเคยบัญญัติไว้ แต่ไม่ติดตลาด และถูกปัดตกไป (แต่ก็ยังคงถูกบันทึกเอาไว้ในพจนานุกรมศัพท์บัญญัติ) ก็มี เช่น Computer ที่ถูกบัญญัติไว้เป็น คณิตกรณ์ แต่สุดท้าย คำที่ติดตลาดกลับเป็น คอมพิวเตอร์ ที่เป็นคำทับศัพท์ ซึ่งเมื่อพิจารณาจากสิ่งที่เคยเกิดขึ้นนี้ ก็มีความเป็นไปได้ว่า คำว่า Metaverse ที่บัญญัติโดยคณะกรรมการสาขาวิชานิเทศศาสตร์ร่วมสมัย เป็น จักรวาลนฤมิต ก็น่าจะไม่ติดตลาด และสุดท้ายคำทับศัพท์ เมตาเวิร์ส ก็จะกลายเป็นคำศัพท์ที่ถูกใช้ เหมือนที่เคยเกิดขึ้นมากับคำว่า Computer มาก่อนแล้ว

การบัญญัติศัพท์ใหม่ยังจำเป็นอยู่ไหม?

ผมว่าเป็นคำถามที่ดีนะ เพราะศัพท์ใหม่ๆ เกิดขึ้นมาเยอะมาก และรวดเร็วมาก จนเรียกได้ว่าราชบัณฑิตยสภาบัญญัติกันไม่ทันละครับ เช่น คำว่า Engagement ที่ใช้กันในทางการตลาด หรือ คอมพิวเตอร์ จนป่านนี้ก็ยังไม่มีการบัญญัติคำนะครับ เราก็ใช้ทับศัพท์ Engagement กันอยู่เลย (ทับศัพท์แบบสะกดภาษาไทยอย่างเป็นทางการก็ยังไม่มี) ราชบัณฑิตยสภาบัญญัติไว้แล้วในสาขานิติศาสตร์ว่า ข้อผูกพัน ซึ่งดูก็รู้เลยว่ามันใช้กับสาขาการตลาดหรือคอมพิวเตอร์ไม่ได้เลย

และเราก็ต้องเข้าใจถึงความยากลำบากของราชบัณฑิตยสภาเหมือนกันนะครับ โลกยุคนี้ศัพท์ใหม่เกิดขึ้นมาเร็วมาก และก็ตายไปอย่างรวดเร็วเช่นกัน การจะเลือกว่าจะบัญญัติคำศัพท์ไหนบ้าง มันก็ต้องพิจารณาให้ดีๆ ไม่งั้น สุมหัวคิดกันหัวแทบแตก ศัพท์ตกยุคไปซะงั้น จบกัน เสียเวลาฟรี

ในบทความ ‘ราชบัณฑิต’ ยุคใหม่ กับ ‘ศัพท์บัญญัติ’ ดิสรัปชัน ของกรุงเทพธุรกิจ เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2563 ก็มีการพูดถึงเรื่องนี้ ผมก็อยากแนะนำให้ไปอ่านกัน คือ มันจะมีคนบางกลุ่มที่อาจจะไม่เข้าใจคำศัพท์ในภาษาอังกฤษ จึงต้องมีการบัญญัติคำในภาษาไทย ที่เป็นแบบง่ายๆ (ไม่ใช่แบบบาลี-สันสกฤต ที่คนเอามาล้อเลียน) แต่ในอนาคตก็ไม่แน่ เมื่อคนรุ่นใหม่ที่มีความคล่องแคล่วด้านภาษาอังกฤษมีมากขึ้น การใช้คำศัพท์แบบทับศัพท์อาจจะไม่มีปัญหาเลยก็ได้

สำหรับตัวผมเอง ผมว่าบางคำก็ยังมีความจำเป็นอยู่ ก็อย่างที่พูดถึงไปย่อหน้าที่แล้วแหละ บางคน บางกลุ่ม เขายังไม่เข้าใจศัพท์แบบทับศัพท์โดยตรง การบัญญัติศัพท์ขึ้นมาก็อาจจะยังมีความจำเป็น เพียงแต่ต้องคำนึงถึงความเข้าใจให้มากๆ เพราะคำศัพท์ใหม่ควรทำให้คนเข้าใจได้ว่าหมายถึงอะไร ไม่ใช่ต้องเปิดพจนานุกรมเพื่อแปลไทยเป็นไทยอีกที แต่แน่นอนว่าศัพท์ที่บัญญัติบางคำ แม้จะเข้าใจได้ง่าย แต่เมื่อกาลเวลามันผ่านไป การทับศัพท์อาจเป็นที่เข้าใจได้ง่ายกว่าและแพร่หลายกว่า ดังเช่นคำว่า Email ที่มีการบัญญัติเป็น จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ แต่สุดท้าย ผู้คนเข้าใจคำว่า อีเมล มากกว่า เป็นต้น

แล้วเราจะรู้ได้ยังไง ว่าคำไหนบัญญัติโดยราชบัณฑิตยสภา คำไหนไม่ใช่?

ง่ายครับ ไปที่เว็บไซต์ราชบัณฑิตยสภาสิ ที่นี่เลยครับ ศัพท์บัญญัติ ๑๕ สาขาวิชา สำนักงานราชบัณฑิตยสภา (orst.go.th) เราจะสามารถค้นหาคำศัพท์บัญญัติได้ครับ อย่างไรก็ดี ผมก็แอบแปลกใจว่าทำไมเขาไม่มีสาขาวิชาปรัชญา และนิเทศศาสตร์ร่วมสมัย ในนี้ ก็เลยค้นหาคำว่า Category ไม่เจอคำว่า ปทารถะ เลย และตอนนี้ก็ยังไม่มีคำว่า Metaverse ในนั้นด้วยแฮะ ฉะนั้นก็ยังพึ่งพาฟังก์ชันการค้นหานี่ไม่ได้ 100% นะ

ราชบัณฑิตยสถาน ศัพท์บัญญัติ
ราชบัณฑิตยสถาน ศัพท์บัญญัติ

แต่ไม่ต้องห่วง หากหาไม่เจอ แชทคุยกับสำนักงานราชบัณฑิตยสภาเลยครับ สามารถสอบถามเรื่องศัพท์บัญญัติ และคำทับศัพท์ได้เลย แต่แนะนำให้ล็อกอินด้วย Facebook และฝากช่องทางติดต่อกลับด้วย เพราะบางคำถามอาจใช้เวลาสืบค้นนาน และ Facebook Messenger มันให้เพจเขาติดต่อคนได้แค่ในระยะเวลาจำกัด นับจากเริ่มการสนทนา ฉะนั้น หากผ่านไปนานๆ เขาจะไม่สามารถทักเราเพื่อบอกผลการค้นหาได้ครับ

ราชบัณฑิตยสถานแปลว่าอะไร

ที่สำคัญคือ ราชบัณฑิตยสถานเป็นหน่วยงานหลักที่มีหน้าที่กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการใช้ภาษาไทย การอนุรักษ์ภาษาไทยมิให้แปรเปลี่ยนไปในทางที่เสื่อม และการส่งเสริมภาษาไทยซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของชาติให้ปรากฏเด่นชัดยิ่งขึ้น ผลงานของราชบัณฑิตยสถานที่เป็นที่รู้จักคือ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน นอกจากนี้ ยังมีการบัญญัติศัพท์สาขาวิชา ...

บัญญัติศัพท์ มีอะไรบ้าง

ตัวอย่างศัพท์บัญญัติ.

คำว่าออเดอร์เขียนยังไง

การออกเสียงแก้ไข.

สารสนเทศเป็นศัพท์บัญญัติไหม

ไม่มีศัพท์บัญญัติ “spec” เขียนทับศัพท์ว่า “สเปก” ... ศัพท์บัญญัติของสำนักงานราชบัณฑิตยสภา.