พระ ราช กรณียกิจ ร 7 ที่ สําคัญ

วันที่ 8 พฤศจิกายน 2564 เป็นวันครบรอบปีที่ 128 แห่งการเสด็จพระบรมราชสมภพในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 7 พระองค์ทรงพระราชสมภพ เมื่อวันพุธ แรม 14 ค่ำ เดือน 11 ร.ศ. 112 ปีมะเส็ง ตรงกับวันที่ 8 พฤศจิกายน 2436 ณ พระที่นั่งสุทธาศรีอภิรมย์ในพระบรมมหาราชวัง เป็นพระโอรสพระองค์สุดท้ายในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับสมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ ได้รับพระราชทานพระนามว่า “สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ ชเนศรมหาราชาธิราช จุฬาลงกรณ์นารถวโรรส อุดมยศอุกฤษฐศักดิ์ อุภัยปักษนาวิล อสัมภินชาติพิสุทธิ์ มหามกุฎราชพงษ์บริพัตร บรมขัตติยมหารัชฎาภิสิญจน์พรรโษทัย มงคลสมัยสมากร สถาวรวรัจฉริยคุณ อดุลยราชกุมาร”

พระ ราช กรณียกิจ ร 7 ที่ สําคัญ
พระ ราช กรณียกิจ ร 7 ที่ สําคัญ

เมื่อทรงมีพระชนมายุได้ 12 พรรษา พระองค์ได้เข้าศึกษา ในวิทยาลัยทหารบก ณ ประเทศอังกฤษ และได้เสด็จกลับมารับราชการในรัชกาลที่ 6 โดยได้รับยศเป็นนายพันโททหารบกมีตําแหน่งเป็นราชองครักษ์ ต่อมาภายหลังได้เลื่อนตําแหน่งเป็นลําดับจนเป็นนายพันเอก มีตําแหน่งเป็นปลัดกรมเสนาธิการทหารบก ก่อนขึ้นครองราชสมบัติมีตําแหน่งเป็นผู้บัญชาการกองพลทหารบก

พ.ศ.2461 พระองค์ทรงขอพระราชทานพระบรมราชาอนุญาตอภิเษกสมรสกับหม่อมเจ้าหญิงรำไพพรรณี สวัสดิวัตน์ ต่อมาในปี พ.ศ.2468 ทรงได้รับการสถาปนาเลื่อนพระอิสริยยศเป็น “สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา” และในวันที่ 26 พฤศจิกายน 2468 พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต บรรดาพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นผู้ใหญ่และเหล่าเสนาบดีพร้อมกันกราบบังคมทูลเชิญเสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติสืบราชสันตติวงศ์เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๗ พระนามว่า “พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว”

เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2477 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสละราชสมบัติ ขณะประทับอยู่ที่บ้านโนลแครนลี ประเทศอังกฤษ เนื่องด้วยความคิดเห็นที่ขัดแย้งทางการเมืองบางประการ หลังจากนั้นได้ประทับอยู่ที่ประเทศอังกฤษจนกระทั่งสวรรคตเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2484 ขณะมีพระชนมายุ 48 พรรษา

พระ ราช กรณียกิจ ร 7 ที่ สําคัญ
พระ ราช กรณียกิจ ร 7 ที่ สําคัญ
ทรงเยี่ยมผู้ป่วยโรคเรื้อน

ตลอดระยะเวลา 9 ปีที่เสด็จสถิตในสิริราชสมบัติ พระองค์ทรงประกอบพระราชกรณียกิจสำคัญนานับประการที่ก่อประโยชน์แก่มวลอาณาประชาราษฎร์ ด้วยหลักทศพิธราชธรรม อาทิ โปรดเกล้าฯ อุปถัมภ์บำรุงกิจการหอสมุด จัดตั้งพิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนคร สร้างสะพานปฐมบรมราชานุสรณ์พระนคร (สะพานพระพุทธยอดฟ้าฯ) ทรงส่งเสริมการศึกษาของชาติ โปรดเกล้าฯ ให้เร่งรัดการประกาศใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษาในท้องที่มณฑลกรุงเทพฯ ทั้งทรงให้ยกเลิกการเก็บเงินบำรุงการศึกษาในโรงเรียนประชาบาล เร่งรัดการประกาศพระราชบัญญัติประถมศึกษา และทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์แรกที่เสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาในระดับอุดมศึกษาครั้งแรกที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พระราชกรณียกิจด้านการศาสนา ประเพณีและวัฒนธรรม ได้โปรดเกล้าฯ ให้จัดพิมพ์พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐเพื่อเผยแพร่พระพุทธศาสนา ตราพระราชบัญญัติภาพยนตร์แห่งชาติ พุทธศักราช 2473 ตราพระราชบัญญัติคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรม พุทธศักราช 2474 และตราพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายลักษณะผัวเมีย พ.ศ. 2473 ริเริ่มให้มีการจดทะเบียนสมรส ทะเบียนหย่า ทะเบียนรับรองบุตร นอกจากนี้ยังเสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมราษฎรตามหัวเมืองต่างๆ และทรงพัฒนาการเมืองระดับท้องถิ่น โดยจัดการปกครองแบบเทศบาล หรือเรียกว่า “ประชาภิบาล” เพื่อเป็นการฝึกฝนให้ราษฎรเรียนรู้วิถีทางประชาธิปไตย ยังทรงเจริญสัมพันธไมตรีกับนานาประเทศ ด้วยการเสด็จฯ ประพาสต่างประเทศเพื่อทอดพระเนตรการพัฒนาประเทศนั้นๆ และจัดทำสนธิสัญญาไมตรี

เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2536 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้รับการยกย่องจากองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก เนื่องในวโรกาสฉลองวันพระราชสมภพครบ 100 ปี

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี  พระราชสมภพเมื่อวันอังคาร เดือน 10 แรม 3 ค่ำ ที่ 20 กันยายนพ.ศ. 2396 ซึ่งในวันที่ 20 กันยายนนี้เอง ที่เป็นวันคล้ายพระราชสมภพของรัชกาลที่ 5 วันนี้สกูปเอ็มไทย จึงนำข้อมูลพระราชประวัติอย่างย่อ ของรัชกาลที่ 5 มาฝากกันครับ

พระ ราช กรณียกิจ ร 7 ที่ สําคัญ

พระราชประวัติ

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นามเต็มคือ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 20 กันยายน พงศ. 2396 เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 9 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 พระองค์มีพระขนิษฐาและพระอนุชารวม 3 พระองค์ ได้แก่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจันทรมณฑล กรมหลวงวิสุทธิกระษัตริย์, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงศ์ และ สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช

การศึกษา

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงได้รับการศึกษาเบื้องต้นในสำนักพระเจ้าอัยยิกาเธอ กรมหลวงวรเสรฐสุดา ทรงศึกษาภาษาเขมรจากหลวงราชาภิรมย์ อีกทั้งทรงรับการยิงปืนไฟจากพระยาอภัยเพลิงศรอีกด้วย

พระ ราช กรณียกิจ ร 7 ที่ สําคัญ

พระราชลัญจรกรประจำพระองค์

พระราชลัญจกรประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าอยู่หัว เป็นตรางา ลักษณะกลมรี กว้าง 5.5 ซ.ม. ยาว 6.8 ซ.ม. โดยมีตรา พระเกี้ยว หรือ พระจุลมงกุฏ ซึ่งประดิษฐานบนพานแว่นฟ้า 2 ชั้น มีฉัตรบริวารตั้งขนาบทั้ง 2 ข้าง ถัดออกไปจะมีพานแว่นฟ้า 2 ชั้น ทางด้านซ้ายวางสมุดตำรา และทางด้านขวาวางพระแว่นสุริยกานต์เพชร โดยพระราชลัญจกรของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้นเป็นการเจริญรอยจำลองมาจากพระราชลัญจกรของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระ ราช กรณียกิจ ร 7 ที่ สําคัญ

พระราชกรณียกิจที่สำคัญ

พระราชกรณียกิจที่สำคัญของรัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้มีการ เลิกทาส การป้องกันการเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส และจักรวรรดิอังกฤษ นอกจากนี้ังนำระบบความเจริญก้าวหน้าของชาติตะวันตกมาใช้พัฒนาในประเทศไทย เช่น ระบบการใช้ธนบัตรและ เหรียญบาท สร้างระบบเขตการปกครองใหม่ เช่น จังหวัด อำเภอ และได้มีการสร้างรถไฟ สายแรก คือ กรุงเทพฯ ถึง เมืองนครราชสีมา เมื่อวันที่ 1 มีนาคม ร.ศ. 109 (พ.ศ. 2433) เป็นต้น

พระ ราช กรณียกิจ ร 7 ที่ สําคัญ

สวรรคต

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตด้วยโรคพระวักกะ (ไต) เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 เวลา 2.45 นาฬิกา ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต รวมพระชนมพรรษาได้ 57 พรรษา ทั้งนี้ รัฐบาลได้จัดให้วันที่ 23 ตุลาคม ของทุกปี เป็นวันปิยมหาราช และเป็นวันหยุดราชการ


ประวัติ ร.5

พระราชกรณียกิจ ร.7

ด้านการทำนุบำรุงบ้านเมือง

เศรษฐกิจ สืบเนื่องจากผลของสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ประเทศทั่วโลกประสบปัญหาภาวะเศรษฐกิจ ตกต่ำ ซึ่งมีผลกระทบกระเทือนมาสู่ประเทศไทย พระองค์ได้ทรงพยายามแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น การควบคุมงบประมาณ ตัดทอนรายจ่าย ลดอัตราเงินเดือนข้าราชการ รวมถึงการลดจำนวนข้าราชการ ปรับปรุงระบบภาษี การเก็บภาษีเพิ่มเติม ยุบรวมจังหวัด เลิกมาตรฐานทองคำเปลี่ยนไปผูกกับค่าเงินของอังกฤษ เป็นต้น รวมทั้งส่งเสริมกิจการสหกรณ์ให้ประชาชนได้มีโอกาสร่วมกันประกอบกิจการทางเศรษฐกิจ โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2471 ขึ้น

การสุขาภิบาลและสาธารณูปโภค โปรดให้ปรับปรุงงานสุขาภิบาลทั่วราชอาณาจักรให้ทัดเทียมอารยประเทศ ด้านการสื่อสารและการคมนาคมนั้น ได้มีการอัญเชิญกระแสพระราชดำรัสของพระองค์จากพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย พระบรมมหาราชวัง ถ่ายทอดเสียงทางวิทยุเป็นครั้งแรกของประเทศไทยในพิธีเปิดสถานีวิทยุกรุงเทพฯ ที่พระราชวังพญาไท ในส่วนกิจการรถไฟ ขยายเส้นทางรถทางทิศตะวันออกจากทางจังหวัดปราจีนบุรี จนกระทั่งถึงต่อเขตแดนเขมร

ในปี พ.ศ. 2475 เป็นวาระที่กรุงเทพมหานครมีอายุครบ 150 ปี ทรงจัดงานเฉลิมฉลองโดยทำนุบำรุงบูรณปฏิสังขรณ์สิ่งสำคัญอันเป็นหลักของกรุงเทพมหานครหลายประการ คือ บูรณะวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระบรมมหาราชวัง, สร้างปฐมบรมราชานุสรณ์และสะพานพระพุทธยอดฟ้าเชื่อมฝั่งกรุงเทพมหานครและฝั่งธนบุรีเพื่อเป็นการขยายเขตเมืองให้กว้างขวาง เป็นต้น สำหรับในเขตหัวเมือง ทรงได้จัดตั้งสภาจัดบำรุงสถานที่ชายทะเลทิศตะวันตกขึ้น เพื่อทำนุบำรุงหัวหินและใกล้เคียงให้เป็นสถานที่ตากอากาศชายทะเล

ด้านการปกครอง

พระ ราช กรณียกิจ ร 7 ที่ สําคัญ

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงลงพระปรมาภิไธยในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชปรารภจะพระราชทานรัฐธรรมนูญ แต่ถูกทักท้วงจากพระบรมวงศ์ชั้นผู้ใหญ่จึงได้ระงับไปก่อนซึ่งหม่อมเจ้าพูนพิศมัย ดิศกุล มีดำรัสถึงเรื่องนี้ว่า “ส่วนพระเจ้าอยู่หัวเองนั้น [พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว] ทรงรู้สึกยิ่งขึ้นทุกทีว่าการปกครองบ้านเมืองในสมัยเช่นนี้ เป็นการเหลือกำลังของพระองค์ที่จะทรงรับผิดชอบได้โดยลำพังแต่ผู้เดียว พระองค์ทรงรู้ดีว่า ทรงอ่อนทั้งในทาง physical และ mental จึงมีพระราชปรารถนาจะพระราชทานรัฐธรรมนูญให้ช่วยกันรับผิดชอบให้เต็มที่อยู่เสมอ”

แต่ก็เกิดเหตุการณ์ปฏิวัติโดยคณะราษฎร ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 โดยพระองค์ทรงยินยอมสละพระราชอำนาจและเป็นพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ ทรงให้ตรวจตราตัวบทกฎหมายรัฐธรรมนูญที่จะเป็นหลักในการปกครองอย่างถี่ถ้วน

ทรงแก้ไขกฎหมายองคมนตรี ด้วยการออกพระราชบัญญัติองคมนตรี เมื่อปี พ.ศ. 2470 โดยให้สภากรรมการองคมนตรีมีอำนาจหน้าที่ในการให้คำปรึกษาในการร่างกฎหมาย โดยมีพระราชดำริให้สภาองคมนตรีเป็นที่ฝึกการประชุมแบบรัฐสภา กรรมการสภาองคมนตรีอยู่ในตำแหน่งวาระละ 3 ปี ทรงตราพระราชบัญญัติควบคุมการค้าขายอันกระทบถึงความปลอดภัยหรือความผาสุกแห่งสาธารณชน พ.ศ. 2471 เพื่อคุ้มครองสวัสดิการของปวงชนชาวไทย โดยมีขอบเขตครอบคลุมการค้าขายที่เป็นสาธารณูปโภคและการเงิน เช่น การประปา การไฟฟ้า การรถไฟ การเดินอากาศ การชลประทาน การออมสิน และการประกันภัย อันเป็นรากฐานของระเบียบปฏิบัติ ที่ใช้กันมาจนทุกวันนี้

มีพระราชดำริให้จัดระเบียบการปกครองรูปแบบเทศบาลขึ้น เพื่อให้ประชาชนในท้องถิ่นรู้จักเลือกตัวแทนเข้าไปบริหารและจัดการงานต่าง ๆ ของชุมชน โดยโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติเทศบาล ขึ้นแต่มิได้เป็นไปตามพระราชประสงค์เนื่องจากเกิดการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475

ด้านการศาสนา การศึกษา ประเพณีและวัฒนธรรม

พระ ราช กรณียกิจ ร 7 ที่ สําคัญ

พระบรมฉายาลักษณ์ขณะทรงซออู้

ทรงส่งเสริมการศึกษาของชาติทั้งส่วนรวมและส่วนพระองค์ โปรดให้สร้างหอพระสมุดสำหรับพระนคร เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าศึกษาได้อย่างเสรี ทรงตั้งราชบัณฑิตยสภา เพื่อมีหน้าที่บริหารและเผยแพร่วิชาการด้านวรรณคดี โบราณคดี และศิลปกรรม ในด้านวรรณกรรม โปรด ตราพระราชบัญญัติคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรมใน พ.ศ. 2475 พระราชทานเงินส่วนพระองค์ เป็นรางวัลแก่ผู้แต่งหนังสือยอดเยี่ยม และให้ทุนนักเรียนไปศึกษาวิชาวิทยาศาสตร์จากต่างประเทศ การศาสนา ทรงปลูกฝังเยาวชนให้มีคุณธรรมดีงาม โดยยึดหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา โปรดให้ราชบัณฑิตยสร้างหนังสือสอนพระพุทธศาสนาสำหรับเด็ก ซึ่งนับว่าพระองค์เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกที่ทรงสร้างหนังสือสำหรับเด็ก ส่วนการศึกษาในพระพุทธศาสนานั้น โปรดให้สร้างหนังสือพระไตรปิฎก เรียกว่า ฉบับสยามรัฐ โดยหนึ่งชุดมีจำนวน 45 เล่ม เพื่อเป็นอนุสาวรีย์เชิดชูพระเกียรติยศของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

ในด้านศิลปวัฒนธรรมของชาตินั้น พระองค์ทรงสถาปนาราชบัณฑิตย์สภาขึ้น (เดิมคือ กรรมการหอพระสมุดสำหรับพระนคร) เพื่อจัดการหอพระสมุดสำหรับพระนครและสอบสวนพิจารณาวิชาอักษรศาสตร์ เพื่อจัดการพิพิธภัณฑสถานตรวจรักษาโบราณสถานและโบราณวัตถุ และเพื่อจัดการบำรุงรักษาวิชาช่าง ผลงานของราชบัณฑิตสภาเป็นผลดีต่อการอนุรักษ์และส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมของชาติเป็นอย่างมาก เช่น การตรวจสอบต้นฉบับเอกสารโบราณออกตีพิมพ์เผยแพร่ มีการส่งเสริมสร้างสรรค์วรรณกรรมรุ่นใหม่ด้วยการประกวดเรียบเรียงบทประพันธ์ทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง

ทรงอนุรักษ์ดนตรีไทยไว้ด้วยพระองค์เอง ทั้งนี้เพราะได้ทรงสนพระราชหฤทัยในวิชาดนตรีไทย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) เข้าถวายการฝึกสอนจนสามารถ พระราชนิพนธ์ทำนองเพลงไทยได้ ถึง 3 เพลง คือ เพลงราตรีประดับดาวเถา เพลงเขมรลออองค์เถา และเพลงโหมโรงคลื่นกระทบฝั่ง

ทางด้านวัฒนธรรมและสถาปัตยกรรม ทรงสละทรัพย์ส่วนพระองค์ปฏิสังขรณ์วัดสุวรรณดาราราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โปรดฯให้เขียนภาพพงศาวดารสมเด็จพระนเรศวรมหาราชไว้ที่ผนังพระวิหาร

ทรงพยายามสร้างค่านิยมให้มีสามีภรรยาเพียงคนเดียว โปรดให้ตราพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายลักษณะผัวเมีย พ.ศ. 2473 ริเริ่มให้มีการจดทะเบียนสมรส ทะเบียนหย่า ทะเบียนรับรองบุตร อันเป็นการปลูกฝังค่านิยมแบบใหม่ทีละน้อยตามความสมัครใจ นอกจากนี้ยังทรงปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างโดยทรงมีแต่พระบรมราชินีเพียงพระองค์เดียว

พระ ราช กรณียกิจ ร 7 ที่ สําคัญ

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีเสด็จเยือนประเทศเยอรมนี ในปี ค.ศ. 1934

นอกจากนี้แล้ว เมื่อทรงว่างจากพระราชภารกิจ พระองค์โปรดในการถ่ายภาพนิ่งและถ่ายภาพยนตร์ ทรงมีกล้องถ่ายภาพและภาพยนตร์จำนวนมากที่ทรงสะสมไว้ สะท้อนให้เห็นพระอุปนิสัยโปรดการถ่ายภาพและภาพยนตร์ ภาพยนตร์ทรงถ่ายมีเนื้อหาทั้งที่เป็นสารคดีและที่ให้ความบันเทิง ในจำนวนภาพยนตร์เหล่านี้ เรื่องที่เป็นเกียรติประวัติของวงการภาพยนตร์ไทยและแสดงพระราชอัจฉริยภาพดีเยี่ยมในการสร้างโครงเรื่อง กำกับภาพ ลำดับฉาก และอำนวยการแสดง คือ เรื่องแหวนวิเศษ นับได้ว่าพระองค์เป็นหนึ่งในบุคคลที่บุกเบิกวงการภาพยนตร์ไทยอีกพระองค์หนึ่ง นอกจากนี้ทรงสละพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์สร้างโรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมกรุง ซึ่งนับเป็นโรงภาพยนตร์ทันสมัยในสมัยนั้น นับเป็นโรงมหรสพแห่งแรกในเอเชียที่มีเครื่องปรับอากาศระบบไอน้ำ

ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ

ในต้นรัชสมัยได้ทรงดำเนินกิจการสำคัญที่ทรงเกี่ยวข้องกับต่างประเทศที่ค้างมาตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวให้สำเร็จลุล่วงไป เช่น การให้สัตยาบันสนธิสัญญาต่าง ๆ นอกจากนี้ยังทรงทำสัญญาใหม่ ๆ กับประเทศเยอรมนีหลังสถาปนาความสัมพันธ์ขั้นปกติ เมื่อ พ.ศ. 2471 และทำสนธิสัญญากับฝรั่งเศสเกี่ยวกับดินแดนในลุ่มแม่น้ำโขง เรียกว่า สนธิสัญญาอินโดจีน พ.ศ. 2469 โดยกำหนดให้ มีเขตปลอดทหาร 25 กิโลเมตร ทั้งสองฝั่งของแม่น้ำโขงแทนที่จะมีเฉพาะฝั่งสยามแต่เพียงฝ่ายเดียว

พระบรมราชานุสรณ์

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวว่ปฏิบัติพระราชกรณียกิจนานัปการจึงมีการสร้างพระบรมราชานุสรณ์หลายแห่งเพื่อเป็นการรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ เช่น

วันพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

คณะรัฐมนตรีได้กำหนดให้วันที่ 30 พฤษภาคมของทุกปี ซึ่งเป็นวันสวรรคตของพระองค์เป็น “วันพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว” เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติให้เป็นที่ประจักษ์และเป็นการน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ที่มีต่อปวงชนชาวไทยนานัปการ

วังศุโขทัย

วังศุโขทัย ตั้งอยู่มุมถนนขาวและถนนสามเสน โดยสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พระพันปีหลวง โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อพระราชทานเป็นของขวัญในการอภิเษกสมรสของ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมขุนศุโขไทยธรรมราชา (พระยศขณะนั้น) กับหม่อมเจ้าหญิงรำไพพรรณี สวัสดิวัตน์ (พระยศขณะนั้น) เมื่อปี พ.ศ. 2461 โดยได้รับพระราชทานนามวังจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า “วังศุโขไทย”

ถนนประชาธิปก

ถนนประชาธิปก เป็นถนนที่เริ่มตั้งแต่สะพานพระพุทธยอดฟ้าถึงวงเวียนใหญ่ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงตั้งชื่อถนนถวายพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า “ถนนพระปกเกล้า” หรือ “ถนนประชาธิปก” เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงสร้างสะพานพระพุทธยอดฟ้าและถนนเพื่อเชื่อมฝั่งพระนครกับฝั่งธนบุรี โดยพระองค์พระราชทานนามถนนนี้ว่า “ถนนประชาธิปก”

สถาบันพระปกเกล้า

สถาบันพระปกเกล้า เป็นสถาบันพัฒนาประชาธิปไตยที่จัดตั้งขึ้นในวโรกาสครบรอบ 100 ปี วันพระราชสมภพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้พระราชทานรัฐธรรมนูญแก่ประชาชนชาวไทย โดยได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชให้เชิญพระนามของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวมาเป็นชื่อของสถาบัน

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เป็นมหาวิทยาลัยเปิดโดยใช้ระบบการศึกษาทางไกล ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อมหาวิทยาลัยตามพระนามเดิมของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อครั้งทรงดำรงพระอิสริยยศที่ “กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา” นอกจากนี้ ยังพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้พระราชลัญจกรในรัชกาลที่ 7 นำมาประกอบกับเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของกรุงสุโขทัยเป็นตราประจำมหาวิทยาลัยด้วย

โรงพยาบาลพระปกเกล้า

โรงพยาบาลพระปกเกล้า เดิมชื่อ โรงพยาบาลจันทบุรี คณะรัฐมนตรีมีมติให้เปลี่ยนชื่อเป็นโรงพยาบาลพระปกเกล้าเพื่อน้อมเกล้าถวายเป็นพระบรมราชานุสรณ์แด่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2496 นอกจากนี้ ยังมีการสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและตึกต่างๆ เช่น อาคารประชาธิปก อาคารประชาธิปกศักดิเดชน์ ภายในโรงพยาบาล รวมทั้ง มีการจัดตั้งโรงเรียนพยาบาลผดุงครรภ์และอนามัยขึ้นที่โรงพยาบาลพระปกเกล้า ปัจจุบัน คือ วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ยังได้พระราชทานพระราชทรัพย์จัดตั้ง “ทุนประชาธิปก” (ต่อมาเปลี่ยนเป็น มูลนิธิประชาธิปก-รำไพพรรณี) เพื่อสนับสนุนกิจการของโรงพยาบาลพระปกเกล้า, วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี และมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี

พระบรมราชานุสาวรีย์

พระ ราช กรณียกิจ ร 7 ที่ สําคัญ

พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งอยู่ ณ อุทยานการศึกษารัชมังคลาภิเษก มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัฐสภา)

พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งอยู่หน้าตึกรัฐสภา พระราชวังดุสิต กรุงเทพมหานคร มีขนาดหนึ่งเท่าครึ่งพระองค์จริง ทรงเครื่องพระบรมราชภูษิตาภารณ์ฉลองพระองค์ครุยสวมพระชฎามหากฐินปักขนนกการเวก เสด็จประทับเหนือพระที่นั่งพุดตาญจนสิงหาสน์ พระหัตถ์วางเหนือพระเพลาทั้งสองข้าง ออกแบบโดยนาวาเอกสมภพ ภิรมย์ โดยจะมีพิธีถวายบังคมพระบรมราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวในวันที่ 10 ธันวาคมเป็นประจำทุก

พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (โรงพยาบาลพระปกเกล้า)

พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งอยู่หน้าอาคารประชาธิปกศักดิเดชน์ โรงพยาบาลพระปกเกล้า จังหวัดจันทบุรี มีขนาด 2 เท่าของพระองค์จริง สูง 3.14 เมตร ฐานสูง 20 เซนติเมตร แท่นฐานสูง 2.60 เมตร โดยมีพันโทนภดล สุวรรณสมบัติ เป็นประติมากร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในการเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2551

พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช)

พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งอยู่ ณ อุทยานการศึกษารัชมังคลาภิเษก มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมารเสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ทรงเปิดเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2536 ในโอกาสครบ 100 ปี วันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ

พิพิธภัณฑ์

พระ ราช กรณียกิจ ร 7 ที่ สําคัญ

พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว บริเวณสี่แยกผ่านฟ้า เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพิพิธภัณฑ์ในความดูแลของสถาบันพระปกเกล้า ตั้งที่อาคารกรมโยธาธิการเดิม บริเวณสี่แยกผ่านฟ้า เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ซึ่งสถาบันพระปกเกล้าได้บูรณะเพื่อจัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์เพื่อรวบรวมข้าวของเครื่องใช้ส่วนพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี จัดแสดงภาพถ่าย เอกสาร และพระราชประวัติของพระองค์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมารเสด็จฯ แทนพระองค์ทรงเปิดพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2545

พิพิธภัณฑ์อาคารที่ประทับประชาธิปกศักดิเดชน์

พิพิธภัณฑ์อาคารที่ประทับประชาธิปกศักดิเดชน์ ตั้งอยู่ในกองพลทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน เป็นอาคารที่พำนักของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ในสมัยที่พระองค์ทรงรับราชการเป็นนายทหารเหล่าทหารปืนใหญ่ (พ.ศ. 2458 – พ.ศ. 2464) สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2463 เป็นบ้านไม้ชั้นเดียว ใต้ถุนสูง หลังคามุงด้วยกระเบื้องลูกว่าว แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ด้านหน้าจะมี 3 ห้อง คือ ห้องทรงงาน ห้องบรรทม และห้องพระกระยาหาร ส่วนด้านหลังเป็นห้องเตรียมพระกระยาหารและยังมีชานโล่งสำหรับพักผ่อนภายนอก อาคารนี้ได้รับการบูรณะเมื่อ พ.ศ. 2541 เพื่อจัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์เผยแพร่พระเกียรติคุณและน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์

พิพิธภัณฑ์สถาน พระปกเกล้ารำไพพรรณี เฉลิมพระเกียรติ

พิพิธภัณฑ์สถาน พระปกเกล้ารำไพพรรณี เฉลิมพระเกียรติ ตั้งอยู่ที่วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี สร้างขึ้นเพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ที่มีพระมหากรุณาธิคุณแก่ปวงชนชาวไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งแก่ชาวจังหวัดจันทบุรีและวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทำพิธีเปิดแพรคลุมป้ายพิพิธภัณฑ์ในวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2551

พระราชลัญจกร

พระ ราช กรณียกิจ ร 7 ที่ สําคัญ

พระราชลัญจกรประจำพระองค์

พระราชลัญจกรประจำพระองค์ เรียกว่า พระแสงศร เป็นรูปพระแสงศร 3 องค์ วางอยู่บนราวพาดที่เบื้องบนเป็นตรามหาจักรีบรมราชวงศ์ภายใต้พระมหาพิชัยมงกุฎ เบื้องซ้ายและเบื้องขวาของราวพาดพระแสงศร ตั้งบังแทรกสอดแทรกด้วยลายกระหนกอยู่บนพื้นตอนบนของดวงตรา

พระราชลัญจกรองค์นี้ออกแบบโดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ที่ทรงนำพระบรมนามาภิไธยเดิมของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้แก่ ประชาธิปกศักดิเดชน์ ซึ่งคำว่า เดชน์ แปลว่า ลูกศร มาใช้ในการออกแบบ ดังนั้น พระราชลัญจกรประจำพระองค์จึงเป็นรูปพระแสงศร อันประกอบด้วย พระแสงศรพรหมาสตร์ พระแสงศรประลัยวาต และพระแสงศรอัคนีวาต ซึ่งเป็นพระแสงศรที่ใช้ในพระราชพิธีศรีสัจจปานกาล (พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา)

 

พระราชกรณียกิจ ร.9


พระราชกรณียกิจ ร.9

พระราชกรณียกิจ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช เสด็จขึ้นสืบราชสันตติวงศ์ต่อจากสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช เป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ ๙ แห่งบรมราชจักรีวงศ์ เมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๙ จากวันนั้นจนถึงวันนี้ เป็นเวลา ๖๐ ปีที่พระองค์ทรงดำรงฐานะเป็นพระประมุขของชาติ เป็นระยะเวลาการครองราชย์ที่ยาวนานกว่ามหาราชาองค์ใดในโลกและบูรพกษัตริย์องค์ใดในแดนสยาม และเป็นเวลา ๖๐ ปีนี้เอง ที่พระองค์ทรงทุ่มเทพระวรกาย พระสติปัญญาความสามารถ และพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจอยู่เป็นนิจนานัปการ ด้วยหวังให้มหาชนชาวสยามถึงพร้อมด้วยประโยชน์สุข ซึ่งเป็นสิ่งที่พระองค์ทรงตั้งพระราชหฤทัยไว้ตั้งแต่สมัยเมื่อเสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติ ดังพระปฐมบรมราชโองการที่ได้พระราชทานแก่พสกนิกรชาวไทยเมื่อครั้งพระราชพิธีบรมราชาภิเษก วันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๓ ว่า เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแก่มหาชนชาวสยาม

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงงานหนักที่สุดพระองค์หนึ่งของโลก พระราชกรณียกิจของพระองค์มีมากมาย ทั้งในด้านการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านการแพทย์และสาธารณสุข ด้านการศึกษา ด้านศาสนา ด้านความมั่นคงภายในประเทศ ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ด้านศิลปะวัฒนธรรม และด้านการกีฬา

แต่พระราชกรณียกิจหลักของพระองค์คือ การยกระดับสภาพความเป็นอยู่ และพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยพระองค์จะเสด็จพระราชดำเนินไปยังท้องที่ต่างๆ พร้อมทอดพระเนตรสภาพปัญหาในท้องที่เหล่านั้นด้วยพระองค์เอง พระองค์จะใช้เวลาส่วนใหญ่ในแต่ละปี เสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐานไปประทับแรม ณ พระตำหนักตามภูมิภาคต่างๆ และจะทรงหาโอกาสเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมเยียนราษฎรในพื้นที่ใกล้เคียงอยู่เสมอ จนอาจกล่าวได้ว่า ไม่มีพื้นที่แห่งใดในประเทศไทย ที่พระองค์ไม่เคยเสด็จพระราชดำเนินไปถึง

ตลอด ๖๐ ปีที่ผ่านมา เป็นช่วงเวลาที่พระองค์ทรงงานอย่างไม่เคยว่างเว้น และทรงประกอบพระราชกรณียกิจที่ถึงพร้อมทั้งความบริสุทธิ์บริบูรณ์ จึงเป็นช่วงเวลา ๖๐ ปีที่พสกนิกรชาวไทยอยู่ได้อย่างร่มเย็นเป็นสุขภายใต้ร่มพระบารมี พระราชกรณียกิจทั้งหลายที่พระองค์ทรงบำเพ็ญ นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดไม่ได้ที่พระองค์ทรงมีต่อประเทศชาติและประชาชนชาวไทย

การเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรทั่วประเทศ

พระองค์เสด็จเยี่ยมราษฎรในทุกท้องถิ่น ทุกจังหวัด ทุกภาคของประเทศ ในปี พ.ศ. ๒๔๙๘ เสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมราษฎรภาคกลางเป็นภาคแรก และเสด็จเยี่ยมภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นเวลานาน ถึง ๑๙ วัน ประชาชนในท้องถิ่นจังหวัดต่างๆ เฝ้ารอรับเสด็จด้วยความปิติยินดี บางคนรับเสด็จที่จังหวัดหนึ่งแล้วตามไปเฝ้ารอรับเสด็จอีกจังหวัด

ใน ปี ๒๕๐๑ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมราษฎรภาคเหนือครบทุกจังหวัด และเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรในภาคใต้ ในปีต่อมา พ.ศ. ๒๕๐๒ การเสด็จเยี่ยมราษฎรทุกภาคของประเทศ ได้ทอดพระเนตรชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน โดยเฉพาะท้องถิ่นทุรกันดาร ทรงสอบถามข้อมูล รับทราบความทุกข์ยากของราษฎรอย่างใกล้ชิด ทำให้พระองค์ได้ทรงทราบปัญหาของราษฎรด้วยพระองค์เอง ภาพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จในท้องถิ่นต่างๆ ในพระหัตถ์มีแผนที่ หรือเอกสารข้อมูลและดินสอดำ ที่พระศอมีกล้องถ่ายภาพคล้องอยู่ จึงเป็นภาพที่ชินตาพสกนิกรไทย ตลอด ๖๐ ปีที่ผ่านมา

การเสด็จแปรพระราชฐานไปประทับแรมที่พระตำหนักตามภูมิภาคต่างๆ พระราชประสงค์ที่สำคัญ คือ เยี่ยมราษฎรในท้องถิ่นทุรกันดาร แทบจะไม่มีพื้นที่ใดในประเทศไทยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่ทรงรู้จัก การเสด็จพระราชดำเนินไปทรงรับรู้ทุกข์สุขของราษฎรทำให้มีพระราโชบายว่า “การที่จะแจกสิ่งของหรือเงินแก่ราษฎรนั้นเป็นการช่วยเหลือชั่วคราว ไม่ยั่งยืน การที่จะช่วยประชาชนอยู่รอดได้ก็คือการให้อาชีพ”

โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

โครงการช่วยเหลือราษฎรของพระองค์ก่อนที่จะพระราชทานไปนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงศึกษาทดลองจนรู้จริง จากสภาพแวดล้อม ภูมิประเทศ จากความเห็นของราษฎร และ นักวิชาการในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อไม่ให้เกิดผลเสียหาย และติดตามผลด้วยพระองค์เอง

โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริกว่า ๓,๐๐๐ โครงการ ได้บูรณาการให้หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนร่วมมือกันดำเนินโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตของราษฎรทั่วทุกภาค เช่น โครงการด้านเกษตรกรรม การสาธารณสุข สิ่งแวดล้อม การชลประทาน การประมงการสหกรณ์ ฯลฯ

ตัวอย่างโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่เกิดประโยชน์ต่อชุมชนชนบท เป็นพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต เป็นแหล่งศึกษาหาความรู้เพื่อการพัฒนาอาชีพ สร้างรายได้ให้กับประชาชนในท้องถิ่น ทรงมีพระราชดำริจัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ๖ แห่ง ทั่วประเทศ ที่จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดสกลนคร จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดจันทบุรี และจังหวัดนราธิวาส เพื่อเป็นตัวอย่างกับเกษตรกรและประชาชนครอบคลุมทุกภูมิภาค

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจ เพื่อประโยชน์สุขแก่ชาวไทยทุกเชื้อชาติ ศาสนา ทั่วทุกภาคของประเทศ เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนของราษฎรอย่างแท้จริง พระองค์ได้พระราชทานแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งเป็นแก่นแท้ของการ พัฒนาที่ยั่งยืน