วิธีการสร้างเสริมและดำรงประสิทธิภาพของระบบประสาทอย่างไรบ้าง

         อวัยวะทุกส่วนในร่างกายของคนเราทำงานสัมพันธ์กันเป็นระบบ ทุกระบบต่างมีความสำคัญต่างร่างกาย หากระบบใดทำงานผิดปกติก็จะส่งผลกระทบต่อระบบอื่นๆด้วย ระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์ และ ระบบต่อมไร้ท่อ ต่างมีความสำคัญต่อร่างกาย โดยระบบประสาทช่วยควบคุมการทำงานและรับความรู้สึกของอวัยวะทุกส่วน ช่วยให้ร่างกายทำงานได้ตามต้องการ ระบบสืบพันธุ์ช่วยในการสืบทอดเผ่าพันธุ์ให้คงอยู่ต่อไป และระบบต่อมไร้ท่อผลิตฮอร์โมนไปตามกระแสเลือดเพื่อทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของระบบต่างๆ

วิธีการสร้างเสริมและดำรงประสิทธิภาพของระบบประสาทอย่างไรบ้าง

แผนภาพแสดงการจัดลำดับกลุ่มเซลล์ที่ประกอบเป็นระบบร่างกาย

           ร่างกายของมนุษย์ประกอบด้วยเซลล์ มีรูปร่างและขนาดที่แตกต่างกัน เซลล์ กลุ่มเซลล์ที่ร่วมกันทำหน้าที่เฉพาะอย่าง เรียกว่า เนื้อเยื่อ เนื้อเยื่อชนิดเดียวกันหรือต่างชนิดกัน เมื่อร่วมกันทำหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่ง เรียกว่า อวัยวะอวัยวะหลาย ๆ อวัยวะทำงานประสานกันเกิดเป็น ระบบ ที่สำคัญต่าง ๆ ในร่างกายระบบต่าง ๆ ในร่างกายทำหน้าที่แตกต่าง แต่ต้องทำงานสอดคล้องสัมพันธ์กับร่างกายจึงจะสามารถดำรงอยู่ได้อย่างปกติ

          1. ความสำคัญ และหลักการของกระบวนการสร้างเสริม และดำรงประสิทธิภาพการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย

   การทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย มนุษย์จะดำรงอยู่ได้ด้วยการทำงานของอวัยวะต่างๆ ระบบทุกระบบในร่างกายต้องทำงานสัมพันธ์กัน หากมีอวัยวะหรือระบบใดทำงานผิดปกติ ก็ย่อมส่งผลกระทบต่อระบบอื่น ๆ ต่อเนื่องกันเป็นลูกโซ่ด้วยเหตุนี้เราจึงต้องรักษาสุขภาพร่างกายให้สมบูรณ์แข็งแรงอยู่เสมอ เพื่อดำรงประสิทธิภาพการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกายให้อยู่ในภาวะปกติ

   หลักการของกระบวนการสร้างเสริมและดำรงประสิทธิภาพการทำงานของระบบต่างๆในร่างกาย มีแนวทางในการปฏิบัติ ดังนี้

1.  รักษาอนามัยส่วนบุคคล เช่น อาบน้ำให้สะอาดทุกวัน สระผมอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ถ่ายอุจจาระให้เป็นเวลาทุกวัน เป็นต้น

2. บริโภคอาหารให้ถูกต้องและเหมาะสม โดยคำนึงถึงคุณค่าทางโภชนาการและความสะอาดปลอดภัย

3. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคจึงควรออกกำลังกายเป็นประจำอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง

4. พักผ่อนให้เพียงพอ การพักผ่อนที่ดีที่สุดคือ การนอนหลับควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย

5. ทำจิตในให้ร่าเริงแจ่มใสอยู่เสมอ เป็นวิธีผ่อนคลายความเครียดและความวิตกกังวลอีกอย่างหนึ่งที่ส่งผลต่อสุขภาพจิตและสุขภาพกาย

6. หลีกเลี่ยงอบายมุขและสิ่งเสพติดให้โทษ สิ่งต่าง ๆเหล่านี้ล้วนบั่นทอดสุขภาพและนำมาสู่โรคต่าง ๆ 

7.  ตรวจเช็คร่างกาย ชั่งน้ำหนักเป็นประจำ เพื่อควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ควรไปพบแพทย์ เพื่อตรวจเช็คร่างกายอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

          2. ระบบประสาท (NervousSystem)

     คือระบบที่ประกอบด้วยสมอง ไขสันหลัง และเส้นประสาททั่วร่างกายซึ่งจะทำหน้าที่ร่วมกันในการควบคุมการทำงานและการรับความรู้สึกของอวัยวะทุกส่วนรวมถึงความรู้สึกสมองและไขสันหลังจะเป็นศูนย์กลางคอยรับการกระตุ้นจากสิ่งเร้าทั้งภายในและภายนอกร่างกายแล้วส่งกระแสคำสั่งผ่านเส้นประสาทที่กระจายอยู่ตามส่วนต่าง ๆของร่างกายให้ทำงานตามที่ต้องการ

วิธีการสร้างเสริมและดำรงประสิทธิภาพของระบบประสาทอย่างไรบ้าง

        2.1องค์ประกอบของระบบประสาท ระบบประสาทของคนเราแบ่งออกเป็น 2ส่วนใหญ่ ๆ คือ ระบบประสาทส่วนกลาง และระบบประสาทส่วนปลาย

      1. ระบบประสาทส่วนกลาง (central nervoussystem)

  ระบบประสาทส่วนกลางประกอบด้วยสมอง (brain) และไขสันหลัง (spinal card)ซึ่งเป็นศูนย์กลางควบคุมและประสานการทำงานของร่างกายทั้งหมด

วิธีการสร้างเสริมและดำรงประสิทธิภาพของระบบประสาทอย่างไรบ้าง

  สมองเป็นอวัยวะที่สำคัญและมีขนาดใหญ่กว่าส่วนอื่น ๆ ของระบบประสาทบรรจุอยู่ภายในกะโหลกศีรษะ สมองแบ่งออกเป็น 2 ชั้น คือชั้นนอกมีสีเทา เรียกว่า เกรย์แมตเตอร์ ซึ่งเป็นที่รวมของเซลล์ประสาทและแอกซอนชนิดที่ไม่มีเยื่อหุ้ม ส่วนชั้นในมีสีขาว เรียกว่า ไวท์ แมตเตอร์ ป็นส่วนของใยประสาทที่ออกจากเซลล์ประสาท สมองแบ่งออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ๆ คือสมองส่วนหน้า สมองส่วนกลาง และสมองส่วนท้าย

 ไขสันหลัง เป็นส่วนที่ต่อจากสมองลงไปตามแนวช่องกระดูกสันหลัง ไขสันหลังจะมีเยื่อหุ้ม 3 ชั้น และมีของเหลวบรรจุอยู่ในเยื่อหุ้มสมอง หากมีเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อไวรัสหลุดเข้าไปในเยื่อหุ้มไขสันหลังเชื่อโรคจะกระจายได้อย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดการอักเสบของไขสันหลังอย่างรุนแรงได้ ไขสันหลังทำหน้าที่รับกระแสประสาทจากส่วนต่างๆ ของร่างกายส่งต่อไปยังสมอง และรับกระแสประสาทตอบสนองจากสมองเพื่อส่งไปยังอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย นอกจากนี้ยังควบคุมปฏิกิริยารีเฟลกซ์ (reflax actionหรือปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งเร้าอย่างกะทันหันโดยไม่ต้องรอคำสั่งจากสมอง

            2.ระบบประสาทส่วนปลาย(peripheralnervous system)

  ระบบประสาทส่วนปลาย ประกอบด้วยเส้นประสาทสมอง เส้นประสาทไขสันหลัง และประสาทระบบอัตโนมัติระบบประสาทส่วนปลายจะทำหน้าที่นำความรู้สึกจากส่วนต่าง ๆของร่างกายเข้าสู่ระบบประสาทส่วนกลางไปยังอวัยวะปฏิบัติงาน

1) เส้นประสาทสมอง มีอยู่ 12 คู่ทอดมาจากสมองผ่านรูต่าง ๆ ของกะโหลกศีรษะ

       2) เส้นประสาทไขสันหลัง มีอยู่ 31 คู่ออกจากไขสันหลังเป็นช่วง ๆ ผ่านรูระหว่างกระดูก

สันหลังไปสู่ร่างกายแขน และขา

                       3) ประสาทระบบอัตโนมัติ (autonomic nervoussystem

ประสาทระบบอัตโนมัติเป็นระบบ

ประสามที่ควบคุมการทำงานของอวัยวะที่อยู่ภายนอกอำนาจของจิตใจโดยไม่รู้สึกตัว


             2.2 การทำงานของระบบประสาท 

ระบบประสาทเป็นระบบที่ทำงานประสานกันกับระบบกล้ามเนื้อ

ระบบประสาทยังรับกระแสประสาทจากอวัยวะภายในต่าง ๆและส่งคำสั่งกลับไปควบคุมการเต้นของหัวใจ ความดันเลือด อัตราการหายใจ

และระบบอื่น ๆ ให้ทำงานตามปกติการที่นักเรียนสามารถเคลื่อนไหวร่างกายเพื่อทำกิจกรรมหลาย ๆ อย่างในเวลาเดียวกันได้


           2.3  การบำรุงรักษาระบบประสาท 

แนวทางการบำรุงรักษาประสาทมีดังนี้ 


1.  ระวังไม่ให้เกิดการกระทบกระเทือนบริเวณศีรษะ


2.  ระมัดระวังป้องกันไม่ให้เกิดโรคทางสมองโดยใช้วิธีการต่าง ๆ


3.  หลีกเลี่ยงยาชนิดต่าง ๆ ที่มีผลต่อสมองรวมทั้งยาเสพติดและเครื่องดื่มที่มีแอลกฮอล์


4.  พยายามผ่อนคลายความเครียดหากปล่อยให้ความเครียดสะสมเป็นเวลานาน จะก่อให้เกิดผลเสียทั้งต่อร่างกายและจิตใจ


      5

.  รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายโดยเฉพาะอาหารที่ให้วิตามินบี 1 สูง 


 
              3 ระบบสืบพันธุ์ (Reproductive System)
               ระบบสืบพันธุ์ เป็นระบบที่เกี่ยวกับการเพิ่มจำนวนของสิ่งมีชีวิตให้มากขึ้นตามธรรมชาติ และเป็นการทดแทนสิ่งมีชีวิตรุ่นเก่าที่ตายไป เพื่อให้ดำรงเผ่าพันธุ์ไว้ได้ ซึ่งการสืบพันธุ์ไว้ได้ ซึ่งการสืบพันธุ์ของมนุษย์เป็นการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ ต้องอาศัยอวัยวะสืบพันธุ์ของเพศชายและเพศหญิง
 
            3.1 อวัยวะสืบพันธุ์เพศชาย
อวัยวะสืบพันธุ์เพศชาย ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนี้

วิธีการสร้างเสริมและดำรงประสิทธิภาพของระบบประสาทอย่างไรบ้าง

ภาพแสดงอวัยวะในระบบสืบพันธุ์เพศชาย


        3.2 อวัยวะสืบพันธ์เพศหญิง
     อวัยวะสืบพันธ์เพศหญิง ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนี้

วิธีการสร้างเสริมและดำรงประสิทธิภาพของระบบประสาทอย่างไรบ้าง

ภาพแสดงอวัยวะในระบบสืบพันธุ์เพศหญิง


 3.3 การบำรุงรักษาระบบสืบพันธุ์

             1.ดูแลร่างกายให้แข็งแรงอย่าสม่ำเสมอโดยรับประทานอาหาร 5 หมู่

             2. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ  อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง

             3. งดเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ 

             4. พักผ่อนให้เพียงพอ ไม่เคร่งเครียด

             5. ทำความสะอาดร่างกายอย่างทั่วถึงและสม่ำเสมอ อ

             6. สวมใส่เสื้อผ้าที่สะอาด ไม่อับชื้นและอย่ารัดแน่น

             7. ไม่ใช้เสื้อผ้า ผ้าเช็ดตัว และเครื่องนุ่มห่มร่วมกับผู้อื่น

             8. ไม่สำส่อนทางเพศ งดเว้นการเปลี่ยนคู่นอน อาจติดเชื้อเอดส์

             9. เมื่อเกิดสิ่งผิดปกติใดๆ ควรรีบปรึกษาแพทย์

      ระบบต่อมไร้ท่อ เป็นระบบที่ผลิตสารที่เรียกว่า ฮอร์โมน เป็นต่อมที่ไม่มีท่อหรือรูเปิด จึงลำเลียงสารเหล่านั้นไปตามกระแสเลือดไปสู่อวัยวะเป้าหมาย เพื่อทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของระบบต่าง ๆ ฮอร์โมนจะทำงานโดยประสานกับระบบประสาท เราจึงเรียกระบบต่อมไร้ท่อและระบบประสาทนี้ว่า ระบบประสานงาน

     4.1   ต่อมไร้ท่อในร่างกาย

วิธีการสร้างเสริมและดำรงประสิทธิภาพของระบบประสาทอย่างไรบ้าง

                        1. ต่อมใต้สมอง                   2. ต่อมหมวกไต     

                  3. ต่อมไทรอยด์                  4. ต่อมพาราไทรอยด์     

                  5. ต่อมที่อยู่ในตับอ่อน        6. รังไข่ในเพศหญิง,ชาย   

                  7. ต่อมไทมัส     

    4.2 การบำรุงรักษาระบบต่อมไร้ท่อ

         1. เลือกรับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการครบทั้ง 5 หมู่

          2. ดื่มน้ำในปริมาณทั้เพียงพอ  ประมาณ 6-8 แก้ว/วัน

          3. ออกกำลังกายอยู่สม่ำเสมอ

          4. ลดปริมาณเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

          5. หลีกเลี่ยงสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อระบบต่อมไร้ท่อ

          6. พักผ่อนให้เพียงพอ มีความคิดสร้างสรรค์ คิดในเชิงบวก