วิธี ขับรถเกียร์ ออ โต้ ยา ริ ส ขึ้นเขา

เทคนิคขับรถขึ้นเขา-ลงเขา ด้วยเกียร์ออโต้


สำหรับคนมีรถการได้ขับขี่ไปในเส้นทางต่าง ๆ และไปให้ถึงจุดหมายปลายทางอย่างปลอดภัย คือความสะดวกสบายที่หลายคนต้องการ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่ามีบางเส้นทางที่เรียกได้ว่า “ปราบเซียน” คนขับรถยู่เหมือนกัน โดยเฉพาะมือใหม่หัดขับและคนที่ไม่คุ้นเคยเส้นทางมาก่อน อย่างเช่นการขับรถขึ้นเขา-ลงเขาที่สูงชัน หรือมีทางคดเคี้ยวตามผาสูงชัน


แม้ว่าจะขับรถด้วยเกียร์ออโต้ก็ใช่ว่าจะขับรถขึ้นเขาหรือลงเขาได้อย่างสบายใจ เพราะหากกใช้เกียร์ผิดชีวิตก็เปลี่ยนได้เช่นกัน โดยเฉพาะผู้ที่ไม่ชำนาญเส้นทาง วันนี้ เกร็ดความรู้กับโตโยต้า ลีสซิ่ง จึงมีเทคนิคขับรถขึ้นเขาและลงเขาด้วยเกียร์ออโต้มาฝากกัน   
เทคนิคขับรถขึ้นเขาด้วยเกียร์ออโต้


การขับรถขึ้นเขาด้วยเกียร์ออโต้นั้นให้เริ่มต้นด้วยเกียร์ D หรือหากเส้นทางชันมาก ก็ควรปรับตำแหน่งเกียร์เป็น D2 หรือ D1 ขึ้นอยู่กับระดับความชัน ณ เวลานั้น ซึ่งเกียร์ D1 หมายถึงเกียร์ต่ำ มักใช้เมื่อขับบนเส้นทางที่มีความลาดชันมาก ส่วนเกียร์ D2 จะมีลักษณะการทำงานคล้ายเกียร์ D1 แต่จะเป็นทางที่ไม่ลาดชันมากนัก


สำหรับการแตะคันเร่งนั้นให้เหยียบเบา ๆ เพื่อเป็นตัวช่วยส่งให้รถเคลื่อนที่ โดยให้สังเกตรอบเครื่องยนต์อยู่ที่ประมาณ 2,000-3,500 รอบ และควรใช้ความเร็วที่ประมาณ 50-80 กิโลเมตร/ชั่วโมง ให้เน้นความปลอดภัยเป็นลำดับแรก และที่สำคัญอย่าลืมเว้นระยะห่างจากรถคันหน้าประมาณ 30-50 เมตรด้วย
เทคนิคขับรถลงเขาด้วยเกียร์ออโต้


การขับรถลงเขาก็ไม่ต่างจากเทคนิคขับรถขึ้นเขาเพราะเราจะใช้เกียร์ D เหมือนเดิม และปรับไปที่ตำแหน่ง D2 และ D1 ตามระดับความชันในแต่ละช่วง สิ่งสำคัญที่ต้องจำไว้เลยก็คือไม่ควรใส่เกียร์ว่าง (เกียร์ N) เป็นอันขาดเพราะรถจะไหลลงเขาด้วยความเร็วสูง ทำให้เสี่ยงเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย
ส่วนการแตะเบรกนั้น ให้แตะเบา ๆ เป็นจังหวะ อย่าเหยียบเบรกค้างไว้เพราะจะทำให้ผ้าเบรกไหม้ได้ แต่ให้ใช้การปรับตำแหน่งเกียร์ที่ D2 และ D1 แทน ซึ่งจะช่วยให้ไม่ต้องเหยียบเบรกอยู่ตลอดเวลา และควรรักษาระดับความเร็วระหว่างลงเขาให้อยู่ที่ 40-50 กิโลเมตร/ชั่วโมง


เคล็ดลับควรรู้ในการขับรถขึ้น-ลงเขา
1. อย่าแซงทางโค้ง
การขับรถขึ้นเขาและลงเขาสิ่งสำคัญที่สุดก็คือ “มองให้ไกล” กวาดสายตาไปกว้าง ๆ ตามเส้นถนน และเมื่อเข้าจุดอับสายตาอย่างทางโค้งก็ไม่ควรแซงเด็ดขาด ทั้งนี้ เพื่อความปลอดภัยของเราและเพื่อนร่วมทางคนอื่น ๆ ด้วย


2. ใช้เกียร์ต่ำเสมอ
อย่างที่เน้นย้ำกันไปเรื่องเทคนิคการขับรถขึ้นและลงเขาว่าต้องใช้เกียร์ D  และปรับเกียร์ต่ำ (D2 D1) ตามความเหมาะสมกับระดับความชันของถนนแต่ละช่วง


3. ขับรถเลนซ้าย
ขับรถเลนซ้ายเสมอและพยายามขับให้ชิดขอบทางซ้ายเพื่อความปลอดภัย ไม่จำเป็นต้องอยู่เลนขวา และไม่ควรเร่งเครื่องระหว่างขึ้นเขาหรือลงเขา


4. ให้สัญญาณรถคันอื่น
เมื่อเข้าสู่ทางโค้ง ทางเลี้ยว หรือจุดอับสายตา พยายามบีบแตรหรือใช้สัญญาณไฟอยู่เสมอ เพื่อเป็นการให้สัญญาณเตือนรถคันอื่นที่อาจสวนทางมา
การขับรถขึ้นเขาอาจจะยากสำหรับมือใหม่ แต่หากขับจนคุ้นเคยแล้วก็จะกลายเป็นเรื่องง่ายขึ้น นอกจากนี้ อย่าลืมว่าทุกครั้งที่เราขับรถขึ้นหรือลงเขา ต้องมีสติ ไม่ประมาท และใจเย็นอยู่เสมอ เพื่อความปลอดภัยทั้งของตัวเอง ผู้โดยสารคนอื่น ๆ และรถคันอื่นที่ขับอยู่บนเส้นทางเดียวกับเราด้วย 


นอกจากนี้ การมีประกันภัยที่ครบวงจรก็จะช่วยให้อุ่นใจยามเมื่อเกิดอุบัติเหตุ หรือเหตุฉุกเฉินที่ไม่คาดคิดได้ หากสนใจประกันรถยนต์อย่างครบวงจร*  สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://toyotainsurancebroker.com/index.php


หมายเหตุ - *รายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้น เป็นไปตามที่บริษัทประกันภัยกำหนด บริษัท โตโยต้า อินชัวรันซ์ โบรกเกอร์ จำกัด ให้บริการด้านนายหน้าประกันภัยในเครือโตโยต้า ลีสซิ่ง

อ่านเกร็ดความรู้อื่นๆ ได้ที่ https://www.tlt.co.th/news/knowledge

เข้าใจว่าใช้เวลาลงเขาใช่หรือไม่คะ อยากทราบข้อมูลดังนี้ค่ะ

1. เวลาเปลี่ยนเกียร์ คือต้องเริ่ม N - D -S หรือ B
หรือสามารถ จาก N - S หรือ B ได้เลยคะ

2.  เวลาเปลี่ยนเกียร์จาก D ไป S หรือ B ต้องเหยียบเบรคไหมคะ

3. เคยขับแซงสิบล้อครั้งนึง เร่งเครื่องแบบเหยียบมิด เสียงเครื่องดังมากกกกก ถ้าใช้เกียร์อื่นแซงจะดีกว่าไหมคะ

รบกวนผู้รู้ด้วยค่ะ

วิธีใช้เกียร์ CVT แบบขั้นบันไดของ โตโยต้า ยาริส 1.2 นั้นไม่ได้ยากเลยขับง่ายขับสบายขับได้ทุกวัย ของแค่มีใบขับขี่ก็พอแล้ว ผู้เขียนจะนำประสบการณ์จริงจากการใช้รถรุ่นนี้อยู่พอดี มาแชร์ให้ท่านที่ยังไม่เคยลองขับเกียร์ auto แบบขั้นบันไดของ โตโยต้า ยาริส 1.2 ให้ได้ทราบกัน ว่าแล้วก็ลองไปดูการใช้แต่ละเกียร์กันเลย

วิธีใช้เกียร์ P

ยาริส 1.2 จะมีเกียร์ทั้งหมดคือเกียร์ P,R,N,D,S,B เริ่มจากบนสุดเลยคือเกียร์ P จะไม่อธิบายนะครับว่าเกียร์ P,R,N,D,S,B ย่อมาจากอะไร เอาเป็นว่าแต่ละเกียร์เขาจะใช้สัญญาลักษณ์ตัวอักษรประมาณนี้เลย เกียร์ P ที่ผมใช้เป็นประจำคือตอนจอดที่บ้านที่ทำงาน หรือจอดที่อื่นๆ บางกรณี จะใช้จอดเฉพาะที่มีที่จอดแบบเรียบร้อยที่จอดเป็นของตัวเอง จะไม่ใช้เวลาจอดแบบซ้อนคัน

วิธี ขับรถเกียร์ ออ โต้ ยา ริ ส ขึ้นเขา
วิธีใช้เกียร์ CVT แบบขั้นบันไดของ โตโยต้า ยาริส 1.2

วิธีใช้เกียร์ R

เกียร์ R ที่รู้ๆ กันทั้งบ้านทั้งเมืองก็คือเกียร์ถอยหลังนี่แหล่ะง่ายๆ เลยคือเกียร์ถอย

วิธีใช้เกียร์ N

เกียร์ N ก็คือเกียร์ว่างดีๆ นี่เองครับผมจะใช้เกียร์ N เวลาจอดรถซ้อนคันอื่นในห้างเข้าเกียร์ N และไม่ดึงเบรกมือ การเข้าเกียร์ N หากรถยังติดเครื่องอยู่สามารถ ผลักเกียร์มาที่ตำแหน่ง N ได้เลยแต่อย่าลืมเหยียบเบรคก่อนล่ะค่อยเลื่อนเกียร์ ถ้าหากดับเครื่องรถไปแล้วแต่อยากจะจอดรถในตำแหน่งเกียร์ว่าง N นี้ก็ทำได้ง่ายๆ โดยการหาเหล็กแบนๆ หรือดอกกุญแจก็ได้เสียบลงไปในช่องเล็กๆ สี่เหลี่ยมด้านบนใกล้กับเกียร์ เสียบลงไปเบาๆแล้วมืออีกข้างก็เลื่อนคันเกียร์มาที่ N ได้เลยง่ายๆ เท่านี้เอง หากต้องการสตาร์จเครื่องรถยนต์อีกครั้ง ก็เหยียบเบรกแล้วสตาร์จเครื่องได้เลย หรืออาจเลื่อนเกียร์ไปที่ P ก่อนแล้วค่อยสตาร์จก็ยิ่งดีทำตามคู่มือแนะนำเลย ดูวิดีโอประกอบ>> วิธีขับรถเกียร์ auto แบบขั้นบรรไดของ toyota yaris 1.2

วิธีใช้เกียร์ D

การใช้เกียร์ D ของผมก็คือ การขับขี่ปกติในชีวิตประจำวันเลยบนถนนปกติทั่วไปเราก็จะใช้เกียร์นี้ตลอดไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนนอกจากตอนจอด

วิธีใช้เกียร์ S

ส่วนเกียร์ S ที่ผมใช้ประจำก็น่าจะเป็นตอนขับออกต่างจังหวัดเวลาที่ต้องการความเร็วแรงในการแซงคันอื่นวิธีใช้ในการเร่งแซงคือ ยกเท้าจากคันเร่งในขณะขับแล้วผลักคันเกียร์ไปที่เกียร์ S เลยจากนั้นก็เหยียบคันเร่งแซงได้เลย บางคนอาจจะไม่ยกเท้าจากคันเร่งก่อนเลื่อนเกียร์ไปที่ S ก็ได้เหมือนกัน แต่แนะนำว่ายกเท้าจากคันเร่งก่อนแล้วค่อยเปลี่ยนเกียร์มาที่ S น่าจะเหมาะสมกว่า เกียร์ S ยังสามารถใช้ในการขึ้นและลงเขาได้ด้วย หรือใช้ช่วยแรงเบรคตอนฉุกเฉินก็ได้ ช่วยตอนลงเขาโดยไม่ต้องเหยียบเบรคบ่อย ๆ ก็ทำได้ดีเหมือนกันแต่ส่วนใหญ่ผมใช้รถยนต์อยู่แต่กรุงเทพฯ จึงไม่ค่อยได้ใช้เลยใช้ทีก็ตอนออกต่างหวัดเท่านั้น

วิธีใช้เกียร์ B

อย่างที่บอกเลยครับว่าผมส่วนใหญ่จะใช้รถอยู่แต่ที่กรุงเทพฯ เกียร์ B ไม่ได้ใช้เลยเคยใช้ครั้งหนึ่งตอนขึ้นลงเขาที่สูงชันมากๆ แต่ใช้แค่แป๊บเดียวครับเนื่องจากเห็นว่าเกียร์ S ที่ใช้อยู่ตอนแรกก็เอาอยู่แล้ว สำหรับผมเปรียบเกียร์ B นี่เท่ากับเกียร์ 1-2 ส่วนเกียร์ S 1-3 ประมาณนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวนะครับ ยังไงก็ลองหาข้อมูลเพิ่มเติมเอาเองก็แล้วกันครับหากอยากรู้เพิ่มเติม

สรุป วิธีใช้เกียร์ CVT แบบขั้นบันไดของ โตโยต้า ยาริส 1.2

การใช้รถยนต์และเกียร์อย่างถูกต้องและเหมาะสมนั้น แนะนำเพื่อนๆ อ่านจากข้อมูลในคู่มือรถของแต่ละคนจะเป็นการดีและถูกต้องที่สุด เนื้อหาทั้งหมดนี้ผมเองก็ได้มาจากคู่มือบ้างได้มาจากการใช้งานจริงบ้าง อาจจะไม่ถูกต้องทั้งหมดก็ขออภัยท่านผู้รู้ทั้งหลายในที่นี้ด้วย ฝากไว้อีกนิดครับ “ขับรถให้ถูกกฎ จอดรถให้ถูกเกียร์” นะครับ สวัสดีครับ

ติดตามเราทางยูทูป