บริษัทหลักทรัพย์มีหน้าที่อะไรบ้าง

19 มิ.ย. 2019

ธุรกิจหลักทรัพย์ กำไรดีไหม / โดย ลงทุนแมน

เวลาที่เราซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์
จะมีตัวกลางมาทำหน้าที่จับคู่คำสั่งซื้อขายให้แก่เรา
ซึ่งตัวกลางที่ว่าก็คือ บริษัทหลักทรัพย์หรือ Broker
ที่น่าสนใจคือ ไม่ว่าเราจะซื้อหรือขายหุ้น
ไม่ว่าเราจะกำไรหรือขาดทุน
บริษัทเหล่านั้นจะคิดค่าธรรมเนียมทุกครั้ง

เราเคยสงสัยไหมว่า ธุรกิจหลักทรัพย์นั้นกำไรดีไหม
วันนี้ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง

ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจกันก่อนว่า ธุรกิจหลักทรัพย์นั้นให้บริการอะไรแก่ลูกค้าบ้าง

ธุรกิจหลักทรัพย์ ประกอบไปด้วย
1. การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์
2. การเป็นที่ปรึกษาการลงทุน
3. การจัดจำหน่ายหลักทรัพย์
บางบริษัทยังให้บริการจัดการกองทุนส่วนบุคคลแก่ลูกค้าอีกด้วย

ปัจจุบัน ในตลาดหลักทรัพย์มีบริษัทหลักทรัพย์ถึง 50 ราย ดังนั้น ถ้าดูจากตัวเลขนี้ ก็น่าจะถือว่า ธุรกิจหลักทรัพย์เป็นธุรกิจที่มีการแข่งขันกันสูงพอสมควร

เราลองมาดูส่วนแบ่งตลาดของบริษัทหลักทรัพย์ 3 ลำดับแรกในปี 2018
1. ดีบีเอส วิคเคอร์ส ส่วนแบ่งตลาด 6.8%
2. เมย์แบงก์ กิมเอ็ง ส่วนแบ่งตลาด 6.1%
3. เอเชีย เวลท์ ส่วนแบ่งตลาด 5.8%

จะเห็นว่า แม้แต่บริษัทหลักทรัพย์ที่มีส่วนแบ่งตลาดสูงสุดก็ยังไม่ถึง 7% ของตลาด และส่วนแบ่งตลาดก็ไม่ได้อยู่ห่างจากลำดับที่ 2 และ 3 มากนัก

รายได้และกำไร ล่าสุด ของบริษัทหลักทรัพย์ 3 ลำดับแรก

ปี 2017 บล. ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด รายได้ 846 ล้านบาท กำไร 8.7 ล้านบาท
ปี 2018 บมจ. หลักทรัพย์ เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) รายได้ 2,799 ล้านบาท กำไร 391 ล้านบาท
ปี 2018 บล. เอเชีย เวลท์ จำกัด รายได้ 571 ล้านบาท ขาดทุน 34 ล้านบาท

ที่น่าสนใจคือ รายได้ของธุรกิจหลักทรัพย์ขึ้นอยู่กับปริมาณการซื้อขายกว่า 60%
แม้จะลดลงจากอดีตที่เฉลี่ยอยู่สูงกว่า 90% แต่ก็ยังถือว่ามีสัดส่วนที่สูง

หมายความว่า ถ้าช่วงไหนที่ตลาดหุ้นคึกคัก มูลค่าการซื้อขายสูง ธุรกิจหลักทรัพย์ก็จะมีกำไรดี แต่ถ้าช่วงไหนตลาดหุ้นซบเซา มูลค่าการซื้อขายลดลง ธุรกิจหลักทรัพย์ก็มักมีกำไรลดลง

สิ่งที่ถือเป็นความท้าทายของธุรกิจหลักทรัพย์คือ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ที่ส่งผลให้ค่าธรรมเนียมการซื้อขายมีแนวโน้มลดลง

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ อินเทอร์เน็ต

บริษัทหลักทรัพย์มีหน้าที่อะไรบ้าง
Cr. Calamatta Cuschieri

รู้ไหมว่า ปัจจุบัน สัดส่วนการส่งคำสั่งผ่านอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ในปี 2018 สัดส่วนมูลค่าซื้อขายผ่านระบบอินเทอร์เน็ตต่อมูลค่าการซื้อขายรวมเท่ากับ 28% เทียบกับปี 2008 ที่เท่ากับ 16%

สิ่งนี้เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้รายได้ค่าธรรมเนียมการซื้อขายลดลง เพราะค่าธรรมเนียมการซื้อขายผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ตจะถูกกว่าผ่านเจ้าหน้าที่การตลาดอย่างมาก

ดังนั้น สิ่งเหล่านี้ถือเป็นความท้าทายที่ทำให้ธุรกิจหลักทรัพย์ต้องปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี

ซึ่งเป็นคำถามที่ผู้บริหารบริษัทหลักทรัพย์ ต้องวางแผนให้ดี

เพราะในที่สุดแล้ว Technology Disruption จะเกิดกับอุตสาหกรรมที่มีตัวกลาง

ตราสารแห่งทุน

การเงิน กองทุน ตราสารแห่งทุน ตราสารแห่งหนี้ ตราสารอนุพันธ์


นายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ คือบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตห้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ ทำหน้าที่เป็นตัวแทนในการซื้อหรือขายหลักทรัพย์ให้แก่ผู้ลงทุน โดยได้รับค่าธรรมเนียมหรือค่านายหน้าจากผู้ลงทุนเป็นผลตอบแทน

ภาพรวมองค์กร

ความเป็นมาและบทบาท

ตลาดทุนไทยยุคใหม่มีจุดเริ่มต้นจากการประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2504 - 2509)
เพื่อรองรับการเติบโตและส่งเสริมความมั่นคงทางเศรษฐกิจและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ต่อมา แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2510 - 2514)
ได้เสนอให้มีการจัดตั้ง ตลาดหลักทรัพย์ที่มีระบบระเบียบขึ้นเป็นครั้งแรก

ตลาดทุนไทยยุคใหม่มีจุดเริ่มต้นจากการประกาศใช้แผน
พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1
(พ.ศ. 2504 - 2509)เพื่อรองรับการเติบโต
และส่งเสริมความมั่นคงทางเศรษฐกิจ
และพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน
ต่อมาแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 2
(พ.ศ. 2510 - 2514)ได้เสนอให้มีการจัดตั้ง
ตลาดหลักทรัพย์ที่มีระบบระเบียบขึ้นเป็นครั้งแรก

“โดยเน้นให้มีบทบาทสำคัญในการเป็นแหล่งระดมเงินทุน 
เพื่อสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของประเทศ” 

พัฒนาการของตลาดทุนของไทยในยุคใหม่นั้น สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ยุค
เริ่มจาก "ตลาดหุ้นกรุงเทพ" (Bangkok Stock Exchange)
ซึ่งเป็นองค์กรเอกชน และต่อมาเป็น "ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย"
ภายใต้ชื่อภาษาอังกฤษว่า "The Securities Exchange of Thailand"

พัฒนาการของตลาดทุนของไทยในยุคใหม่นั้น
สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ยุค
เริ่มจาก "ตลาดหุ้นกรุงเทพ"
(Bangkok Stock Exchange)
ซึ่งเป็นองค์กรเอกชน และต่อมาเป็น
"ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย"
ภายใต้ชื่อภาษาอังกฤษว่า
"The Securities Exchange of Thailand"

2505
การจัดตั้งตลาดหุ้นกรุงเทพ

บริษัทหลักทรัพย์มีหน้าที่อะไรบ้าง

การจัดตั้งตลาดหุ้นของไทยเริ่มขึ้นในเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2505 ในรูปห้างหุ้นส่วน จำกัด โดยในปีต่อมาได้จดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดและเปลี่ยนชื่อเป็น "ตลาดหุ้นกรุงเทพ" (Bangkok Stock Exchange)

ถึงแม้ว่าจะมีพื้นฐานในการจัดตั้งที่ดีการซื้อขายหุ้นในตลาดหุ้นกรุงเทพก็ ไม่ได้รับความสนใจมากนัก มูลค่าการซื้อขายมีเพียง 160 ล้านบาทในปี พ.ศ.2511 และ 114 ล้านบาทในปี พ.ศ.2512 การซื้อขายมีปริมาณลดลงเป็น 46 ล้านบาทในปี พ.ศ.2513 และลดลงเหลือ 28 ล้านบาทในปี พ.ศ.2514 การซื้อขายหุ้นกู้มีมูลค่าถึง 87 ล้านบาทในปี พ.ศ.2515 แต่การซื้อขายหุ้นก็ยังคงไม่เป็นที่สนใจ โดยมูลค่าการ ซื้อขายหุ้นที่ต่ำสุดมีเพียง 26 ล้านบาทเท่านั้นและในที่สุดตลาดหุ้นกรุงเทพก็ต้องปิด กิจการลงเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าตลาดหุ้นกรุงเทพไม่ประสบความสำเร็จเท่า ที่ควร เนื่องจากขาดการสนับสนุนจากภาครัฐ ประกอบกับประชาชนยังขาดความรู้ ความเข้าใจที่เพียงพอในเรื่องตลาดทุน

2510-2514
การเสนอแผนการจัดตั้งตลาดทุน 

ถึงแม้ว่าตลาดหุ้นกรุงเทพจะไม่ประสบความสำเร็จ แต่แนวความคิดเกี่ยวกับ การจัดตั้ง ตลาดหลักทรัพย์ที่มีระบบระเบียบและได้รับการสนับสนุนอย่างเป็น ทางการนั้นได้รับ ความสนใจจากประชาชนเป็นอย่างมาก ดังนั้นแผนพัฒนา เศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2510 - 2514) จึงได้เสนอแผน การจัดตั้งตลาดทุนดังกล่าวขึ้นเป็นครั้งแรกโดยให้มีเครื่องมืออำนวยความ สะดวกและมาตรการ สำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์ที่เหมาะสม ในปี พ.ศ. 2512 รัฐบาลได้ทำการว่าจ้าง ศาสตราจารย์ซิดนีย์ เอ็ม รอบบิ้นส์ ศาสตราจารย์ ประจำภาควิชาการเงิน จากมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย สหรัฐอเมริกา เพื่อมาทำการศึกษาช่องทางการพัฒนาตลาดทุนไทยในเวลาต่อมา

2510-2514
การเสนอแผนการจัดตั้งตลาดทุน 

2517
การประกาศใช้ พ.ร.บ.
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

บริษัทหลักทรัพย์มีหน้าที่อะไรบ้าง

2517
การประกาศใช้ พ.ร.บ.
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ในปี พ.ศ. 2515 รัฐบาลได้เข้ามามีบทบาทโดยการแก้ไข "ประกาศคณะปฏิวัติ ที่ 58 เกี่ยวกับการควบคุมธุรกิจ การค้าที่มีผลกระทบต่อความปลอดภัยและความเป็นอยู่ ของประชาชน" การแก้ไขดังกล่าวส่งผลให้รัฐบาลสามารถกำกับดูแลการดำเนินงาน ของบริษัทเงินทุนและหลักทรัพย์ ซึ่งทำให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีระเบียบ และยุติธรรม หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2517 ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2517 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจะจัดให้มีแหล่ง กลางสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์เพื่อส่งเสริมการออมทรัพย์และการระดมเงินทุน ในประเทศ ตามมาด้วยการแก้ไขบทบัญญัติเกี่ยวกับรายได้เพื่อให้สามารถนำเงินออม มาลงทุนในตลาดทุนได้ ในปี พ.ศ. 2518

2518
การเปิดทำการซื้อขายอย่างเป็นทางการครั้งแรก
รูปแบบทางกฎหมายต่างๆ ได้รับการปรับแก้จนลงตัว และใน วันที่ 30 เมษายน พ.ศ.2518 ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ชื่อภาษาอังกฤษในขณะนั้นคือ The Securities Exchange of Thailand) ได้เปิดทำการซื้อขายขึ้นอย่างเป็นทางการครั้งแรก และได้ทำการเปลี่ยนชื่อภาษาอังกฤษเป็น "The Stock Exchange of Thailand" (SET) เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2534

บริษัทหลักทรัพย์มีหน้าที่อะไรบ้าง

2526
ย้ายที่ทำการมายังอาคารสินธร ถ.วิทยุ

บริษัทหลักทรัพย์มีหน้าที่อะไรบ้าง

2526
ย้ายที่ทำการมายังอาคารสินธร ถ.วิทยุ

2541
ย้ายมายังอาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ถ. รัชดาภิเษก เขตคลองเตย 

บริษัทหลักทรัพย์มีหน้าที่อะไรบ้าง

2559
เปิดอาคารสำนักงานแห่งใหม่
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
พิธีเปิดอาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยแห่งใหม่ ถ. รัชดาภิเษก เขตดินแดง โดย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นประธานในพิธีเปิดอาคารฯ เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2559
รายละเอียดเพิ่มเติม

บริษัทหลักทรัพย์มีหน้าที่อะไรบ้าง

2559
เปิดอาคารสำนักงานแห่งใหม่
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
พิธีเปิดอาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยแห่งใหม่ ถ. รัชดาภิเษก เขตดินแดง โดย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นประธานในพิธีเปิดอาคารฯ เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2559
รายละเอียดเพิ่มเติม

บทบาทตลาดหลักทรัพย์
ตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ตลาดหลักทรัพย์มีบทบาทสำคัญ ดังนี้

01
บริษัทหลักทรัพย์มีหน้าที่อะไรบ้าง

ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการซื้อขายหลักทรัพย์ จดทะเบียน และพัฒนา ระบบต่างๆ ที่จำเป็น เพื่ออำนวยความสะดวกในการซื้อขายหลักทรัพย์

02
บริษัทหลักทรัพย์มีหน้าที่อะไรบ้าง

ดำเนินธุรกิจใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขาย หลักทรัพย์ เช่น การทำหน้าที่เป็นสำนัก หักบัญชี (Clearing House) ศูนย์รับฝาก หลักทรัพย์ นายทะเบียน หลักทรัพย์หรือ
กิจกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

03
บริษัทหลักทรัพย์มีหน้าที่อะไรบ้าง

การดำเนินธุรกิจอื่น ๆ ที่ได้รับความ เห็นชอบจากคณะกรรมการกำกับ หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์

ที่มาของตราสัญลักษณ์ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

บริษัทหลักทรัพย์มีหน้าที่อะไรบ้าง

บริษัทหลักทรัพย์มีหน้าที่อะไรบ้าง

บริษัทหลักทรัพย์มีหน้าที่อะไรบ้าง
   ตราประจำตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้รับการออกแบบในปี 2518 มี 2 ส่วนประกอบกันเป็นวงกลม โดยส่วนบนเป็นสีทองและส่วนล่างเป็นสีดำซึ่งมีลายสลักรูปปลาคู่ที่มีลักษณะว่ายเวียนหนึ่งหัวจรดหนึ่งหาง ว่ายวนกันต่อเนื่องไม่สิ้นสุด 

สอดคล้องกับหลักธรรมในลัทธิเต๋า ที่กล่าวถึงความสมดุลของสองสิ่ง ที่เป็นทั้งคู่และสิ่งที่ตรงข้ามกัน คือ หยิน กับ หยาง เปรียบเสมือนสตรีกับบุรุษความมืดกับความสว่าง อันอาจอุปมาได้ถึงสัจธรรมของการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ ที่มีอุปสงค์และอุปทาน มีผลตอบแทนและความเสี่ยงมีความคึกคักและซบเซา เป็นสองสิ่งที่ท้าทายผู้ลงทุนเสมอมาทุกยุคทุกสมัย 

บริษัทหลักทรัพย์มีหน้าที่อะไรบ้าง


บริษัทหลักทรัพย์มีหน้าที่อะไรบ้าง

นายศุกรีย์ แก้วเจริญ กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยคนแรก 
ดำรงตำแหน่ง 20 ธันวาคม 2517–29 มิถุนายน 2521