เช็ค ประกันสังคมมาตรา 33 ยัง ไง

เช็กสิทธิประกันสังคม ม.33 ม.39 ม.40 ทำได้ไม่ยาก โดยใช้เลขบัตรประชาชน 13 หลักเท่านั้น สำหรับผู้ที่อยากรู้ว่า เงินสมทบที่ผู้ประกันตนจ่ายเข้ากองทุนประกันสังคมมีจำนวนเท่าไหร่? หากเราแก่ตัวไปจะได้สิทธิประกันสังคมอะไรบ้าง และจะได้เงินชราภาพเท่าไหร่ Sanook Money ขอพาทุกๆ คนมา ตรวจสอบสิทธิประกันสังคม รวมถึงจำนวนเงินที่ถูกหักสมทบไปผ่านทางเว็บไซต์ได้ง่ายๆ โดยมีรายละเอียดดังนี้

Show

วิธีเช็กสิทธิประกันสังคม ม.33 ม.39 ม.40

  1. เช็กสิทธิประกันสังคม ขั้นตอนแรกคือ เข้าเว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม หรือคลิกที่นี่ www.sso.go.th

  2. ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ

    • กรณีที่ผู้ใช้งานเป็นสมาชิกอยู่แล้ว กรอกรหัสผู้ใช้งาน รหัสผู้ใช้งานเป็นหมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน 13 หลัก และกรอกรหัสผ่าน และสามารถใช้งานได้ทันที

    • กรณีที่ผู้ใช้งานยังไม่เคยสมัคร ให้คลิก "สมัครสมาชิก"

  3. ติ๊กที่ช่อง "ฉันยอมรับข้อตกลงในการบริการ" และคลิก "ถัดไป"

  4. กรอกข้อมูลส่วนตัวดังนี้

    • หมายเลขบัตรประชาชน (13 หลัก)

    • เบอร์มือถือ

    • รหัสผ่าน และ ยืนยันรหัสผ่าน

    • คำนำหน้า ชื่อ และนามสกุล

    • วันเกิด

    • อีเมล

      และคลิก "ถัดไป" ระบบจะส่ง OTP ตามเบอร์ที่เรากรอก เพื่อยืนยันตัวตน

      สมัครสมาชิกเช็กสิทธิประกันสังคม กรณียังไม่เคยสมัคร

  5. กรอกหมายเลข OTP 

  6. ลงทะเบียนเพื่อเข้าเช็กสิทธิประกันสังคมได้ทันที

ตรวจสอบ เช็คสิทธิประกันสังคม ได้มีรายละเอียดดังนี้

  1. ข้อมูลการส่งเงินสมทบ
  2. ยื่นแบบขอเปลี่ยนสถานพยาบาล
  3. ประวัติการเปลี่ยนแปลงสถานพยาบาล
  4. การใช้สิทธิประโยชน์ทดแทน
  5. การคำนวณเงินสงเคราะห์ชราภาพ
  6. ขอเบิกสิทธิประโยชน์กรณีคลอดบุตร
  7. ขอเบิกสิทธิประโยชน์กรณีสงเคราะห์บุตร
  8. ขอเบิกสิทธิประโยชน์กรณีว่างงาน
  9. ขอเบิกสิทธิประโนชน์กรณีชราภาพ
  10. เลือกบัญชีธนาคารเพื่อรับเงิน
  11. ประวัติการทำรายการ
  12. ระบบทันตกรรม

ที่สำคัญผู้ประกันตน ประกันสังคมมาตรา 39 และ ประกันสังคมมาตรา 40 สามารถตรวจสอบข้อมูลด้านสิทธิประโยชน์ประกันสังคมได้เช่นกัน

หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติม สามารถติดต่อ โทรสอบถาม รายละเอียดสำนักงานประกันสังคมได้ที่สายด่วน 1506 หรือเว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม www.sso.go.th

  • ประกันสังคม ชี้จ่ายแค่ 432 บาท ก็เป็นผู้ประกันตนในระบบได้
  • ประกันสังคม ชวนแรงงานอิสระสมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 ทางเลือกใหม่

เช็ค ประกันสังคมมาตรา 33 ยัง ไง
ตรวจสอบสิทธิประกันสังคม

หลายๆ คนประกอบอาชีพเป็นพนักงานประจำ ซึ่งในทุกๆ เดือนเงินส่วนหนึ่งจะถูกนำจ่ายไปเป็นค่าประกันสังคม เพื่อให้ได้รับความคุ้มครองต่างๆ จากสิทธิประกันสังคมจากภาครัฐบาล

แต่เราจะรู้ได้อย่างไรว่าประกันสังคมนั้นให้สิทธิประโยชน์อะไรกับเราได้บ้าง และจะทำการตรวจสอบได้อย่างไร? บทความนี้เงินติดล้อจะขอแนะนำวิธีเช็คสิทธิประกันสังคมออนไลน์ ให้คุณสามารถทำการตรวจสอบข้อมูลต่างๆ ด้วยตัวเองได้ภายในเวลาไม่นาน

มาดูกันเลยครับว่าต้องทำอย่างไร!

เช็คสิทธิประกันสังคมออนไลน์ ทำอย่างไร?

เงินติดล้อจะพาคุณมาเช็คสิทธิประกันสังคมออนไลน์กันทีละขั้นตอน ตามนี้เลยครับ

  1. เข้าสู่เว็บไซต์ประกันสังคมออนไลน์ >>> www.sso.go.th

    เช็ค ประกันสังคมมาตรา 33 ยัง ไง
  2. เมื่อเข้าสู่หน้าระบบสมาชิกผู้ประกันตน กดที่ปุ่ม “สมัครสมาชิก”

    เช็ค ประกันสังคมมาตรา 33 ยัง ไง
  3. กดยอมรับข้อตกลงการให้บริการ แล้วกดปุ่มถัดไป

    เช็ค ประกันสังคมมาตรา 33 ยัง ไง
  4. กรอกข้อมูลส่วนตัวให้ครบ จากนั้นกดถัดไป

    เช็ค ประกันสังคมมาตรา 33 ยัง ไง
  5. กดปุ่ม “คลิกที่นี่ เพื่อขอรับรหัส OTP” จากนั้นนำ SMS บนมือถือมาใส่ในช่องรหัส จากนั้นกดปุ่มยืนยัน

    เช็ค ประกันสังคมมาตรา 33 ยัง ไง
  6. หากลงทะเบียนสำเร็จ ระบบจะแสดงผลดังนี้

    เช็ค ประกันสังคมมาตรา 33 ยัง ไง
  7. จากนั้นให้ไปที่หน้าเข้าสู่ระบบ กรอกรหัสตามที่สมัครไปในข้างต้น

    เช็ค ประกันสังคมมาตรา 33 ยัง ไง
  8. กดปุ่มที่ “ผู้ประกันตน”

    เช็ค ประกันสังคมมาตรา 33 ยัง ไง
  9. เท่านี้ก็สามารถตรวจสอบข้อมูลสิทธิประกันสังคมออนไลน์ได้เรียบร้อยแล้วครับ

    เช็ค ประกันสังคมมาตรา 33 ยัง ไง

สิทธิประกันสังคมช่วยอะไรเราได้บ้าง

หลายๆ คนอาจจะไม่รู้ว่าสิทธิประกันสังคมนั้นสามารถช่วยเหลืออะไรได้บ้าง เดี๋ยวเงินติดล้อจะทำการสรุปสิทธิประโยชน์จากประกันสังคมแบบคร่าวๆ ให้ ตามนี้เลยครับ

  • กรณีประสบอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วย

    ได้รับการให้บริการทางการแพทย์จนสิ้นสุดการรักษา รวมถึงการบำบัดไต ปลูกถ่ายอวัยวะ บริการด้านทันตกรรม และเงินทดแทนขาดรายได้ขณะเจ็บป่วย

  • กรณีทุพพลภาพ

    • ค่ารักษาพยาบาล + เงินทดแทนขาดรายได้
    • ค่าใช้จ่ายในกระบวนการฟื้นฟูสมรรถภาพทางกายของผู้ทุพพลภาพ ทั้งร่างกาย จิตใจ และอาชีพ เป็นจำนวนไม่เกิน 40,000 บาทต่อราย
    • ค่าอวัยวะเทียม + อุปกรณ์
    • ค่าพาหนะรับ - ส่งผู้ทุพพลภาพ 500 บาทต่อเดือน
  • กรณีเสียชีวิต

    รับค่าทำศพ 40,000 บาท + เงินสงเคราะห์กรณีเสียชีวิต

  • เงินสมทบค่าคลอดบุตร

    • ค่าคลอดบุตรเหมาจ่ายไม่จำกัดจำนวนครั้ง เบิกได้ 13,000 บาทต่อครั้ง
    • ผู้ประกันตนฝ่ายหญิงจะได้รับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรอีกในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ย เป็นเวลา 90 วัน (เบิกได้ไม่เกิน 2 ครั้ง)
    • ค่าตรวจและรับฝากครรภ์ ตามหลักเกณฑ์ที่สำนักงานประกันสังคมประกาศกำหนด
  • เงินสมทบชราภาพ

    • อายุครบ 55 ปี สมทบไม่ครบ 180 เดือน (15 ปี) ได้บำเหน็จ
    • อายุครบ 55 ปี สมทบตั้งแต่ 180 เดือนขึ้นไป (15 ปี) ได้บำนาญ
    • ถ้าค่าจ้างเกินกว่าเดือนละ 15,000 บาท สมทบไม่ครบ 180 เดือน (15 ปี) จะได้บำนาญเดือนละ 3,000 บาท หากส่งเกิน 180 เดือน (15 ปี) จะได้เพิ่มปีละ 225 บาท
  • เงินสงเคราะห์บุตร

    บุตรตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 ปีบริบูรณ์ จะได้รับเงินสงเคราะห์บุตร 600 บาทต่อเดือนต่อคน ครั้งละไม่เกิน 3 คน

  • เงินสมทบกรณีว่างงาน

    กรณีเลิกจ้าง: ได้เงินทดแทน 50% ของค่าจ้างปีละไม่เกิน 180 วัน (6 เดือน)

    กรณีลาออก: ได้เงินทดแทน 30% ของค่าจ้างปีละไม่เกิน 90 วัน (3 เดือน)

    เหตุสุดวิสัย: ได้เงินทดแทน 50% ของค่าจ้างปีละไม่เกิน 180 วัน (6 เดือน)

ไม่ได้ทำงานประจำ ทำประกันสังคมได้หรือไม่?

สำหรับหลายๆ คนที่ไม่มีงานประจำก็สามารถมีสิทธิประกันสังคมได้ครับ! ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบอาชีพอิสระ เจ้าของกิจการ หรือแม้แต่ผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป (แต่ไม่เกิน 65 ปี) ก็สามารถทำได้

โดยจะนับเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 มีสิทธิประโยชน์ให้เลือกจ่ายด้วยกันอยู่ 3 ทางเลือก ได้แก่

  • ทางเลือกที่ 1: จ่ายเงินสมทบ 70 บาทต่อเดือน สิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง 3 กรณี ได้แก่
    • กรณีประสบอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วย ทดแทนการขาดรายได้สูงสุด 300 บาทต่อวัน ไม่เกินปีละ 30 วัน
    • กรณีทุพพลภาพ ทดแทนการขาดรายได้ 500 - 1,000 บาทต่อเดือน ไม่เกิน 15 ปี
    • กรณีเสียชีวิต รับค่าทำศพ 20,000 บาท และได้เพิ่มอีก 3,000 บาทหากจ่ายเงินสมทบเกิน 60 เดือน
  • ทางเลือกที่ 2: จ่ายเงินสมทบ 100 บาทต่อเดือน สิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง 4 กรณี ได้แก่
    • กรณีประสบอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วย ทดแทนการขาดรายได้สูงสุด 300 บาทต่อวัน ไม่เกินปีละ 30 วัน
    • กรณีทุพพลภาพ ทดแทนการขาดรายได้ 500 - 1,000 บาทต่อเดือน ไม่เกิน 15 ปี
    • กรณีเสียชีวิต รับค่าทำศพ 20,000 บาท และได้เพิ่มอีก 3,000 บาทหากจ่ายเงินสมทบเกิน 60 เดือน
    • บำเหน็จชราภาพ 50 บาทต่อเดือน ออมเพิ่มได้ 1,000 บาทต่อเดือน
  • ทางเลือกที่ 3: จ่ายเงินสมทบ 300 บาทต่อเดือน สิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง 5 กรณี ได้แก่
    • กรณีประสบอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วย ทดแทนการขาดรายได้สูงสุด 300 บาทต่อวัน ไม่เกินปีละ 90 วัน
    • กรณีทุพพลภาพ ทดแทนการขาดรายได้ 500 - 1,000 บาทต่อเดือนตลอดชีวิต
    • กรณีเสียชีวิต รับค่าทำศพ 40,000 บาท
    • บำเหน็จชราภาพ 150 บาทต่อเดือน ออมเพิ่มได้ 1,000 บาทต่อเดือน
    • เงินสงเคราะห์บุตร 200 บาทต่อเดือนต่อคน ครั้งละไม่เกิน 2 คน

โดยสามารถจ่ายเงินสมทบเพื่อเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 ได้ ผ่านสำนักงานประกันสังคมทั่วประเทศ โทรศัพท์สายด่วน 1506 และจุดให้บริการเคาน์เตอร์เซอร์วิสต่างๆ

สรุป

ประกันสังคมเป็นหนึ่งในการประกันตนพื้นฐานที่ทุกๆ คนควรมี เนื่องจากไม่มีใครรู้ว่าอุบัติเหตุนั้นจะเกิดขึ้นกับตัวเมื่อไหร่ การมีประกันป้องกันไว้จะช่วยให้คุณหมดห่วงด้านค่าใช้จ่ายไปได้ในระดับหนึ่ง แล้วก็อย่าลืมศึกษาวิธีเช็คสิทธิประกันสังคมออนไลน์เพื่อตรวจสอบสิทธิของตัวเองกันด้วยนะครับ

นอกจากประกันสังคมที่เป็นหลักประกันขั้นพื้นฐานจากภาครัฐบาลแล้ว อย่าลืมใส่ใจความปลอดภัยบนท้องถนนจากอีกหนึ่งประกันจากรัฐบาล นั่นก็คือ พ.ร.บ. รถยนต์นั่นเองครับ ศึกษาการซื้อ พ.ร.บ. รถยนต์ผ่านช่องทางออนไลน์ได้ที่บทความนี้เลยครับ

หรือเลือกช่องทางที่ง่ายกว่า ด้วยการต่อ พ.ร.บ. ออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชัน “เงินติดล้อ” จัดการได้ง่ายๆ ไม่ยุ่งยาก เพียง 5 ขั้นตอน ไม่เกิน 5 นาที รถของคุณก็จะสามารถต่อ พ.ร.บ. ใหม่เอี่ยมได้เรียบร้อย!

สามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชันตามระบบปฏิบัติการโทรศัพท์มือถือของคุณ ตามลิงก์นี้เลยครับ

  • ระบบปฏิบัติการ IOS (Iphone)
  • ระบบปฏิบัติการ Android (โทรศัพท์อื่นๆ ที่ไม่ใช่ Iphone)

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการซื้อ พ.ร.บ. ผ่านแอปพลิเคชันเงินติดล้อได้ที่ >>> https://www.tidlor.com/th/ntlapp.html#ctp