วิธี ตรวจ สอบ ประสิทธิภาพ CAP Bank

วิธีการตรวจสอบตู้ CAPACITOR BANK

ตู้ CAP BANK จะประกอบไปด้วย

  • CAP BANK, REACTIVE POWER CONTROLLER, FUSE & FUSE BASE, MAGNETIC CONTACTOR, POWER CABLE, PUSH BUTTON, PILOT LAMP

การตรวจเช็คการทำงาน จะประกอบด้วย การทำงาน 2 แบบ คือแบบ AUTO และ แบบ MANUAL

แบบ AUTO  ตัว REACTIVE POWERCONTROLLER จะสั่งให้ MAGNETIC ทำงานและต่อ CAP BANK เข้าไปในระบบไฟฟ้า เมื่อ POWER FACTOR ต่ำกว่าค่าที่ตั้งไว้ โดยทั่วไปนิยมตั้งไว้ที่ 0.95 เราต้องทดสอบดูว่า ตัว CONTROLLER ยังสามารถสั่งให้ MAGNETIC ทำงานและแก้ POWER FACTOR ได้หรือไม

แบบ MANUAL เราสามารถสั่งให้ MAGNETIC ทำงาน ต่อ CAP BANK เข้าสู่ระบบไฟฟ้าโดยการกด PUSH BUTTON ” ON ” และปลดออกด้วย PUSH BUTTON ” OFF ” สามารถดูการทำงานได้จาก PILOT LAMP และดูว่า POWER FACTOR เพิ่มขึ้น – ลดลง หรือไม่

การตรวจสอบคาปาซิเตอร์แรงต่ำ


             เมื่อต้องการตรวจสอบคาปาซิเตอร์ทั้งที่เป็นการตรวจสอบเพื่อการบำรุงรักษา หรือว่าต้องการตรวจสอบเนื่องจากมีปัญหาในการใช้งาน เราอาจมีการตรวจสอบ ดังนี้

การตรวจสอบสภาพทั่วไป
             เป็นการตรวจสอบลักษณะภายนอกซึ่งเป็นส่วนประกอบต่างๆของคาปาซิเตอร์ ดังนี้

ตัวถัง
             ถ้าปรากฏว่ามีตัวถังบวมหรือแตกและมีรอยไหม้หรือมีสีเปลี่ยนจากเดิม แสดงว่าคาปาซิเตอร์เกิดความผิดปกติขึ้นภายใน

ขั้วต่อสาย
             ตรวจดูขั้วต่อสายซึ่งเป็นจุดต่อว่าหลวมหรือสกปรกหรือไม่ การที่ขั้วหลวมหรือหน้าสัมผัสสกปรกจะทำให้กระแสไหลผ่านไม่สะดวก เกิดความร้อนสะสมอาจทำให้คาปาซิเตอร์ชำรุดเนื่องจากความร้อนสะสม ถ้าพบกรณีดังกล่าวควรทำสะอาดจุดสัมผัสอาจใช้คอมเปาด์ทาช่วยให้จุดสัมผัส สะอาดและนำกระแสไฟฟ้าได้ดีขึ้น และการขันจุดต่อตรงขั้วสายให้แน่น โดยใช้แรงบิด (Torque) ตามข้อแนะนำของบริษัทผู้ผลิต

การตรวจสอบค่าทางไฟฟ้า
เป็นการตรวจสอบคุณสมบัติทางไฟฟ้าของคาปาซิเตอร์ ซึ่งมีการตรวจสอบ ดังนี้

  1. การตรวจสอบค่าความเป็นฉนวน
  2. การตรวจสอบค่ากระแสคาปาซิเตอร์
  3. การตรวจสอบค่าคาปาซิแตนซ์
การตรวจสอบค่าความเป็นฉนวน
             วิธีการตรวจสอบจะต้องทำโดยปลดคาปาซิเตอร์ออกจากระบบ รอเวลาให้คาปาซิเตอร์คายประจุประมาณ 5 นาที แล้วทำการตรวจสอบโดยใช้ เมกกะโอมห์ที่แรงดันขนาด    500 VDC แล้วทำการทดสอบระหว่างขั้วของคาปาซิเตอร์กับตัวถังคาปาซิเตอร์แรงต่ำชนิด SELF HEALING TYPE ควรมีค่าความเป็นฉนวนไม่เกิน 1 เมกกะโอห์ม

การตรวจสอบค่ากระแสคาปาซิเตอร์
             วิธีการตรวจสอบชนิดนี้ทำโดยวัดค่ากระแสคาปาซิเตอร์ขณะใช้งาน โดยแอมป์มิเตอร์ ชนิดแคลมป์มิเตอร์นำไปคล้องกับสายเฟสของคาปาซิเตอร์ ค่าที่อ่านได้จะเป็นกระแสเฟสของคาปาซิเตอร์ โดยสามารถคำนวณกระแสของคาปาซิเตอร์ปกติได้ เช่น ถ้าเป็นคาปาซิเตอร์แบบ 3 เฟส แรงดัน 400 V จะคำนวณกระแสได้จากสูตร
   
วิธี ตรวจ สอบ ประสิทธิภาพ CAP Bank
 

หรือถ้าเป็นคาปาซิเตอร์แบบ 1เฟส แรงดัน 220 V จะใช้สูตร
วิธี ตรวจ สอบ ประสิทธิภาพ CAP Bank

ค่า แรงดันเป็นค่าแรงดันจริงของระบบขณะวัด ส่วนค่า kVAr อ่านได้จากเนมเพท ค่ากระแสที่อ่านได้จะมีค่าอยู่ในช่วงระหว่าง -5% ถึง10% ของค่าที่คำนวณได้เป็นคาปาซิเตอร์ใหม่ที่ยังไม่เคยใช้งาน ถ้าค่าที่อ่านได้มีค่าต่ำแสดงว่าคาปาซิเตอร์ มีการเสื่อมสภาพมากจนค่า PF ของระบบต่ำกว่าที่ต้องการจึงควรเปลี่ยนใหม่ ถ้าที่ค่าอ่านได้มีค่าสูงกว่าค่าที่คำนวณแสดงว่า เกิดโอเวอร์โหลดที่สามารถทำให้ค่าคาปาซิเตอร์เสื่อมเร็วกว่าปกติได้ ควรหาสาเหตุให้พบแล้วทำการแก้ไข ตัวอย่างของสาเหตุที่เกิดการโอเวอร์โหลดคือ มีปัญหาฮาร์มอนิกหรือแรงดันระบบสูงเกินพิกัดของคาปาซิเตอร์
หมายเหตุ เนื่องจากการตรวจสอบกระแสจะต้องทำการวัดค่าขณะคาปาซิเตอร์ใช้งานอยู่ ซึ่งต้องระมัดระวังอันตรายจากไฟฟ้า ดูดโดยสวมถุงมือป้องกันไฟทุกครั้ง และวิธีการแคล้มป์มิเตอร์นี้ห้ามใช้กับแรงดันเกินกว่า 600 V   เนื่องจากเครื่องมือโดยส่วนใหญ่จะทนแรงดันได้ไม่สูงนัก เพื่อเป็นความปลอดภัยในการวัด

การตรวจสอบค่าคาปาซิแตนซ์
             วิธีการวัดค่าคาปาซิเตอรแรงต่ำจะต้องทำการวัดขณะคาปาซิเตอร์ไม่จ่ายไฟและ ต้องดิสชาสต์คาปาซิเตอร์ไม่ให้มีประจุค้าง เหลืออยู่ในคาปาซิเตอร์ โดยอาจวัดแรงดันที่ค้างอยู่ในคาปาซิเตอร์ซึ่งเป็นแรงดันไฟตรง ถ้ามีแรงดันค้างอยู่ควรดิสชาร์จ แรงดันทิ้งโดยใช้กราวด์ สำหรับเครื่องมือที่ใช้มักเป็นมิเตอร์ที่อ่านค่าคาปาซิแตนซ์ได้ การวัดจะต้องปลดคาปาซิเตอร์ไม่ให้ต่อร่วมกับวงจรอื่นกรณีคาปาซิเตอร์แบบ 3 เฟส จะต้องวัดค่าเฟสต่อเฟส (Phase to Phase or line to line ) เช่น
วิธี ตรวจ สอบ ประสิทธิภาพ CAP Bank

รวม ทั้ง 3 ค่า ค่าที่อ่านได้จะมีค่าใกล้เคียงกันและมีค่าอยู่ระหว่าง -5% ถึง10% ของค่าพิกัดตามตาราง ตัวอย่าง เมื่อผ่านการใช้งาน ค่าคาปาซิแตนซ์นี้จะมีค่าลดลงเรื่อยๆ ถ้าที่อ่านได้มีค่าต่ำมากจนค่า PF ของระบบต่ำกว่าที่ต้องการ จึงควรเปลี่ยนใหม่ตารางค่ามาตรฐานกระแส , แรงดันและ ค่าคาปาซิแตนซ์ขนาด kVArค่ากระแส Ampค่าแรงดัน Voltค่าคาปาซิแตนซ์  Microfarad1520.9400149.22027.8400198.93041.7400298.85069.6400497.375104.3400746.0หมายเหตุ : ค่าคาปาซิแตนซ์ ที่คำนวณจากคาปาซิเตอร์แบบแรงต่ำที่ต่อวงจรแบบเดลตา

 

ในทางปฏิบัติการจะดูว่าคาปาซิเตอร์เสื่อมมากเพียงใด ควรพิจาราณาถึงค่ากระแสและค่าคาปาซิแตนซ์รวมกัน เพื่อให้แน่ใจว่าไม่เกิดความผิดพลาดในการวัด อัตราเสื่อมของคาปาซิเตอร์ขึ้นอยู่กับสภาพการใช้งาน และคุณภาพของคาปาซิเตอร์เองสำหรับการตัดสินใจว่าควรเปลี่ยนคาปาซิเตอร์เมื่อ ไร นอกจากดูค่า PF โดยรวมแล้วยังขึ้นกับสะดวกในการเปลี่ยนแปลงอีกด้วยเช่น หากการดับไฟเพื่อคาปาซิเปลี่ยนทำได้ยาก จึงอาจเปลี่ยนคาปาซิเตอร์ทีละหลายๆตัวพร้อมกัน ทั้งตัวเสื่อมมากและเสื่อมน้อย เพื่อให้แน่ใจว่ามีเตอร์เพียงพอตลอดเวลาในอนาคต

เอกสารอ้างอิง
วารสาร คุณภาพไฟฟ้า Vol11 / July - September 2002 ; ABB LIMITED

 

Back